sustainability Archives - room

BLOCK WALL HOUSE บ้านบล็อกช่องลมกลางป่า ที่สร้างด้วยคอนกรีตรักษ์โลก

บ้านช่วยโลก เมื่อบ้านของเราสร้างจากวัสดุที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ได้! นี่คือบ้านท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นแบบของวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนแห่งอนาคตอันใกล้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: nendo บล็อกช่องลมที่สร้างจากวัสดุ CO2-SUICOM จำนวน 2,050 ก้อน ได้รับการนำมาใช้ในการสร้างแนวผนังของบ้านหลังนี้ โดยวัสดุนี้เป็นส่วนผสมครึ่งต่อครึ่งระหว่างปูนซีเมนต์กับวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสร้างให้เกิดกระบวนการดักจับ CO2 ในขั้นตอนของการแข็งตัวของซีเมนต์ เป็นผลให้วัสดุ CO2-SUICOM สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี โดยวัสดุนี้เป็นการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือของบริษัท Kajima, The Chugoku Electric Power Co., Denka, และ Landes Co. จนเกิดเป็นคอนกรีตที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นครั้งแรกของโลก บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดนากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น ท่ามกลางธรรมชาติอันไร้ซึ่งสิ่งรบกวน ความโดดเด่นของบ้านหลังนี้ คือแนวผนังที่ใช้อิฐบล็อกก่อเป็นบล็อกช่องลมที่มีการหันแนวช่องเปิดแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของอาคาร สัมพันธ์ไปกับรูปแบบการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ทั้งยังช่วยพรางอาคารทั้งหลังให้กลมกลืนไปกับผืนป่ารอบด้านได้อย่างดี ช่องเปิดเหล่านี้ เป็นตัวกำหนดมุมมอง และแนวลมที่ไหลผ่านตัวบ้านไปพร้อมกัน ในส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวจะมีแนวกำแพงซ้อนกันสองชั้นเพื่อให้มุมมองที่ดูเหลื่อมซ้อนกัน สร้างให้เกิดความจำเพาะของตำแหน่งที่มองทะลุผ่านได้ แม้จะช่วยปิดกั้นสร้างความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังรู้สึกปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด แม้วัสดุ CO2-SUICOM ที่นำมาใช้ก่อสร้างบ้านหลังนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา แต่คาดว่าจะสามารถออกสู่ท่องตลาดได้จริงก่อนปี 2030 อย่างแน่นอน เพื่อแก้ปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง […]

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

Prague Design week 2020 คืองานแสดงงานออกแบบซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปราก เมืองหลวงที่สุดแสนโรมแมนติกใจกลางยุโรป เป็นเวลา 7 วันเต็มๆ โดยคอนเซ็ปของการจัดงานและการคัดเลือกนักออกแบบในปีนี้ นอกจากจะเน้นการออกแบบที่ร่วมสมัยและสามารถใช้งานได้จริงแล้ว ยังเน้นการนำเสนอทักษะด้านงานฝีมือ และไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยี พร้อมเรื่องราวแนวคิดของแบรนด์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทางของผลิตภัณฑ์เลยทีเดียว ในวันนี้เราได้คัดสรรค์งานออกแบบสไตล์รักษ์โลก ที่มีความโดดเด่นทางนวัตกรรมด้านความคิดมาฝากกันถึง 4 งานด้วยกัน “ เมื่อฝูงผึ้ง..กลายเป็นนักออกแบบจำเป็นของแบรนด์ Beehive ” Seibert Eduard นักออกแบบผู้มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติและป่าเขาลำเนาไพร เกิดไอเดียเด็ดในการทำงานกับ “ผึ้ง” ใช่ค่ะ..เรากำลังพูดถึงผึ้ง! แมลงสีเหลือง-ดำปีกใสสุดน่ารัก ที่เป็นฮีโร่ในการออกแบบและสร้างสรรค์ colloection โคมไฟและเทียนไข รูปแบบสุดเอ็กซ์คลูซีฟในครั้งนี้ โดยขั้นตอนการสร้างสรรค์งานศิลปะจากผึ้งชิ้นนี้ Seibert Eduard เล่าว่า เขาเป็นผู้ริเริ่มทำโมลด์นวัตกรรม ที่มีส่วนผสมพิเศษ สามารถส่งกลิ่นหอม เย้ายวนให้ฝูงผึ้งเริ่มบินมาทำรัง และด้วยความสามัคคีของเหล่าผึ้งนี้เอง ทำให้รังเริ่มใหญ่ขึ้นและมีรูปร่างที่สวยงามแตกต่างกันไปจนเกิดเป็นผลงานชิ้นเอกในคอลเล็คชันนี้ขึ้น นอกจากนี้รายได้บางส่วนที่เกิดจากการจำหน่ายผลงานคอลเล็คชันนี้ ยังถูกส่งกลับไปสนับสนุนกลุ่มคนเลี้ยงผึ้งในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของพื้นที่อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงระบบนิเวศอย่างครบวงจรอย่างแท้จริง “ Tomas Holub เครื่องประดับมินิมอลจากขยะอลูมิเนียม ” คอลเล็คชันเครื่องประดับสไตล์มินิมอลเหล่านี้ หากเราไม่พูดคุยกับนักออกแบบ หรืออ่านเรื่องราวของแบรนด์ […]

HOT WIRE EXTENSIONS เฟอร์นิเจอร์จากผงพลาสติกเหลือทิ้งใน 3D PRINTING

Hot Wire Extensions แบรนด์ของนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรง Fabio Hendry นำเสนอคอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์ ที่เกิดจากการรีไซเคิลผงพลาสติกไนลอนเหลือทิ้งในกระบวนการพิมพ์สามมิติ การออกแบบที่ผสานนวัตกรรมเข้ากับหัตถกรรม นำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ไม่รู้จบอันเกิดขึ้นจากการคิดค้นวัสดุ และกระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ พร้อม ๆ กับแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จุดเริ่มต้น Hot Wire Extensions ให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อความยั่งยืน และมุ่งมั่นผสมผสานนวัตกรรมวัสดุ และการทดลองทางวิศวกรรมเข้ากับงานออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ จุดเริ่มต้นของคอลเล็กชั่นนี้มาจากความพยายามในการสร้างกระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณผงไนลอนเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพิมพ์แบบสามมิติ โดยผงไนลอน (Nylon) หรือผงพลาสติกพอลิเอไมด์ (Polyamide, PA) นั้นคือวัตถุดิบหลักของกระบวนการพิมพ์สามมิติแบบ SLS ซึ่งเป็นการยิงแสงเลเซอร์พลังงานสูง ไปยังผงวัสดุให้เกิดการหลอมเหลวแล้วยึดติดกันเป็นเนื้อเดียวเพื่อขึ้นรูปชิ้นงาน ซึ่งผงไนลอนเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ใหม่ได้เพียง 20-50% เท่านั้น และยังไม่ได้รับการรีไซเคิลอย่างจริงจังในอุตสาหกรรมหลักที่ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติแบบ SLS กระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ ด้วยแรงบันดาลใจจากการเติบโตของเถาวัลย์ที่พันรัดรอบต้นไม้ Hendry สร้างสรรค์กระบวนการผลิตใหม่ โดยใช้วิธีการขึ้นรูปทรงของชิ้นงานด้วยลวดนิโครม (Nichrome) และติดตั้งในภาชนะที่ประกอบด้วยส่วนผสมของผงไนลอนเหลือทิ้ง และทรายซิลิกาบริสุทธิ์ เมื่อส่งผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด ความร้อนจะหลอมไนลอนโดยรอบ ทำให้ส่วนผสมแข็งตัวไปตามแนวโครงลวดเกิดเป็นรูปทรงใหม่ ทรายทำหน้าที่เป็นทั้งวัสดุฟิลเลอร์ตัวนำความร้อน และป้องกันไม่ให้ผงไนลอนหลุดออกจากลวด โดยความหนาของชิ้นงานจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า คอลเล็กชั่น หลากหลายคอลเล็กชั่นที่นำเสนอประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ทั้งเฟอร์นิเจอร์ […]