office Archives - room

มองวัสดุในมิติใหม่: โรงคลุมที่คิดต่างด้วยภาษาของดีไซน์

เมื่อต้องออกแบบ โรงคลุม สำหรับชั่งน้ำหนักพืชผลทางการเกษตรโดยมีโจทย์ทางด้านฟังก์ชันคือต้องรองรับรถบรรทุกขนาดใหญ่  และในแง่ดีไซน์เองยังต้องกลมกลืนกับออฟฟิศที่มีอยู่ก่อนซึ่งเป็นสไตล์คอนกรีตเปลือย กลายเป็นความท้าทายสำคัญ ทั้งในแง่การออกแบบและในแง่การเลือกใช้วัสดุ จนได้ผลลัพธ์เป็นโรงคลุมสุดเท่ในมุมมองที่แตกต่าง โรงคลุม ดีไซน์ดิบเท่ที่ล้อไปกับออฟฟิศและบ้านพักอาศัยคอนกรีต สำหรับการออกแบบเจ้าของโครงการวางใจให้ คุณวสุ วิรัชศิลป์ จาก VaSLab Architecture เป็นผู้รังสรรค์สถาปัตยกรรมคอนกรีตเปลือยดิบเท่ที่ให้ความสำคัญกับสถาปัตยกรรมแบบ Timeless Design  ก่อนจะขยายมาสู่การออกแบบออฟฟิศในสไตล์เดียวกันกับตัวบ้านซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ความต้องการพิเศษของออฟฟิศนี้คือต้องมี “ โรงคลุม ” หรืออาคารสำหรับให้รถบรรทุกผลผลิตสามารถขับเข้ามาชั่งน้ำหนักทั้งขาเข้าและขาออกได้ตลอดทั้งปีโดยไม่เกิดความเสียหาย ทนทานต่อการใช้งานและสภาพอากาศโดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนของเพชรบูรณ์ที่ตกนานราว 5-6 เดือนต่อปี ก้าวข้ามอาคารทรงกล่องด้วยดีไซน์และความเข้าใจในวัสดุ เพื่อรองรับการเข้าชั่งของรถตั้งแต่กระบะไปจนถึงรถบรรทุก 24 ล้อ ขนาดของโรงคลุมจึงต้องอยู่ที่ความกว้าง 3.30 เมตร ยาว 18 เมตร และสูง 7 เมตร ผู้ออกแบบจึงมองหาวัสดุที่ตอบโจทย์การออกแบบโครงสร้างที่มีระยะช่วงเสากว้างกว่าปกติ มีน้ำหนักเบาอย่างโครงสร้างเหล็ก แล้วมุงด้วย COLORBOND® steel ทั้งในส่วนของหลังคาและผนัง ซึ่งโครงสร้างเหล็กและวัสดุตัวนี้เอื้อให้ผลงานที่ออกมาสามารถก้าวข้ามรูปทรงมาตรฐานไปได้อีกขั้นตามเอกลักษณ์และภาษาการดีไซน์แบบ VaSLab ส่วนของโรงคลุมทำการพับแบบมีมิติ เกิดระนาบที่ทำให้อาคารดูโฉบเฉี่ยว หลุดออกจากกรอบของอาคารทรงสี่เหลี่ยมทั่วไป มุมมองที่เปลี่ยนไปตามแสงและเวลา สำหรับโครงการนี้เลือกใช้ COLORBOND® steel […]

Office-rice-local-chiangmai

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออฟฟิศริมทุ่งนา ที่ออกแบบอย่างถ่อมตน

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาคารที่รองรับกิจกรรมการทำงานของคนที่หลากหลาย ตั้งแต่นักวิจัยพันธุ์ข้าวในห้องแล็บ พนักงานในออฟฟิศ และชาวนาที่มาติดต่อ ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ หรือใช้ลานอเนกประสงค์เป็นลานตากข้าว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Hanabitate Architect ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา แห่งนี้ เป็นการออกแบบที่สถาปนิกจาก Hanabitate Architect ต้องทำความเข้าใจ และโอบรับผู้ใช้งานเข้าเป็นส่วนหนึ่งโดยไม่ทิ้งใครเอาไว้ เพื่อให้อาคารถูกใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามที่ตั้งใจ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา คือ พื้นที่ทำงานวิจัยพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคเหนือ เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ และต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงพัฒนาข้าวสายพันธุ์บนดอยที่มีความแข็งแรง ลงมาใช้ปลูกในพื้นที่ราบ เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเปิดโล่งแบบใต้ถุน ส่วนชั้นบนเป็นโซนสำนักงาน และห้องทดลองของนักวิจัย วางอาคารตามวิถีคนปลูกข้าว ผังอาคารออกแบบจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานจริง คือ ชาวนาที่ต้องขับรถแทร็คเตอร์เข้ามาติดต่อ ก็ยกอาคารชั้นล่างให้สูงโปร่งเป็นที่จอดรถได้ ชั้นล่างทำเป็นลานโล่งไว้สามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้หลากหลาย เพราะงานวิจัยข้าวไม่ได้ทำเฉพาะในห้อง แต่ต้องออกมาที่หน้างาน พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวบ้านด้วย จึงออกแบบพื้นที่ไว้อย่างหลวมๆ เพื่อรองรับการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น เป็นลานตากข้าว เป็นจุดนัดพบระหว่างนักวิจัย และชาวนา ออกแบบอาคารอย่างถ่อมตนเพื่อคนทุกกลุ่ม “การออกแบบอาคารที่ผู้ใช้งานเป็นคนหลากหลายกลุ่ม ต้องนึกภาพเวลาคนกลุ่มต่างๆ […]

Mr. Green Office สำนักงานกลางแจ้ง บนอาคารสูง ใจกลางเมืองโฮจิมินห์ ที่ตั้งใจออกแบบให้มีสวนครอบคลุมของพื้นที่ทำงาน

ท่ามกลางการพัฒนาของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในเมือง โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ในเมืองกำลังสูญเสียพื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติ และพื้นที่ที่จำเป็นต่อสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยมากขึ้นเรื่อย ๆ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจนั้นทำให้เกิดอาคารบล็อกคอนกรีตสูงขึ้น ในเขตเมือง นักธุรกิจ และคนทำงานรุ่นใหม่ใช้เวลาหลายพันชั่วโมงในพื้นที่ที่จำกัด ข้อจำกัดมากมายในเมืองนี้ กดดันทั้งสภาพจิตใจ และอารมณ์ นั่นจึงเป็นที่มาของ Mr. Green Office ที่มีแนวคิดที่จะก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ ในเพื่อสร้าง “ สำนักงาน กลางแจ้ง “ ด้วยอาคารคอนกรีตสูงใจกลางเมือง

ออฟฟิศ ม่านไม้เลื้อยเพื่อสร้างความสุขในการทำงาน A&P OFFICE BUILDING

หากใครมีโอกาสผ่านเข้าไปในซอยประชาชื่น 31 จะพบอาคารคอนกรีตสูง 5 ชั้นที่ตั้งใจเลือกใช้ฟาซาดจากธรรมชาติ เป็นม่านไม้เลื้อย ซึ่งอาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท เอ แอนด์ พี เมนทิแนนซ์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ในแวดวงธุรกิจจะรู้จักกันดีในชื่อ A&P ซึ่งเป็นบริษัทรับคลีนนิ่งระดับประเทศ ที่รับทำความสะอาดทั้งอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ศูนย์การค้า สนามบิน ตลอดจนหน่วยงานราชการต่างๆ โดยอาคารสำนักงานดังกล่าวเป็นการออกแบบและสร้างใหม่บนที่ดินขนาด 1.5 ไร่ ออกแบบโดยคุณศรีศักดิ์ พัฒนวศิน ภายใต้แนวความคิดการหลอมรวมธรรมชาติให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน เพื่อสร้างความสุขให้กับพนักงานขององค์กรอย่างยั่งยืน อาคารสำนักงานแห่งนี้นับว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของผู้ออกแบบไม่น้อย เนื่องจากต้องทำการออกแบบและก่อสร้างภายใต้ข้อจำกัดมากมาย ทั้งในเรื่องของระยะเวลาและการออกแบบเพื่อให้ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุด ในการออกแบบเบื้องต้น ผู้ออกแบบจึงกำหนดให้ตัวอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 2,000 ตร.ม. วางไว้ด้านในของที่ดิน เนื่องจากทางเจ้าของโครงการมีแผนจะสร้างอาคารเพิ่มเติมยังบริเวณด้านหน้าที่ดินในอนาคต อีกทั้งด้วยตำแหน่งของที่ตั้งทำให้จำเป็นต้องหันด้านหน้าอาคารไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นด้านที่จะได้รับความร้อนตลอดทั้งวัน ผู้ออกแบบจึงกำหนดให้มีชุดผนังกระจกบานเลื่อนซ้อนในทุกๆ ฟังก์ชันเผื่อในกรณีที่ต้องการเปิดรับลมได้มากสุด ก็จะทำให้อากาศนั้นหมุนเวียนไปได้ทั่วอาคาร เสริมกับการเลือกใช้ต้นลีกวนยูมาเป็นฟาซาดด้านหน้าอาคารก็เพื่อช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่เสมือนเป็นอุปกรณ์บังแดดทางธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมให้กับอาคารอีกชั้นหนึ่งด้วย ทั้งนี้ตัวอาคารยังออกแบบพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าด้วยการกำหนดผนังทั้ง 2 ด้านของอาคารนั้นเป็นผนังทึบ ทำให้ระยะร่นระหว่างจากอาคารถึงแนวเขตกำแพงนั้นมีน้อยลงตามที่ข้อกฎหมายได้กำหนด ส่งผลให้อาคารมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นเพื่อช่วยกันความร้อนและเพื่อย่นระยะเวลาในการก่อสร้าง ผู้ออกแบบยังวางตำแหน่งห้องน้ำ บันไดหลักของอาคาร บันไดหนีไฟและลิฟต์ไว้ตำแหน่งตรงกันทุกชั้น เพื่อช่วยให้การติดตั้งงานระบบสุขาภิบาลและไฟฟ้าทำได้ง่ายและรวดเร็ว […]