17 สถาปัตยกรรม มรดกโลกจาก Le Corbusier - room
17 สถาปัตยกรรมมรดกโลกจาก LE CORBUSIER

17 สถาปัตยกรรมมรดกโลกจาก LE CORBUSIER

หากพูดถึงสถาปนิกระดับตำนานที่เป็นเหมือน “ไอดอล” ให้แก่สถาปนิกรุ่นหลังๆ เชื่อว่าชื่อของ Le Corbusier (ค.ศ. 1887-1965) คงติดโผเป็นอันดับต้นๆแน่นอน ล่าสุดงานสถาปัตยกรรมที่เขาเป็นผู้ออกแบบก็ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกที่มีความพิเศษทางวัฒนธรรมถึง 17 ผลงานเลยทีเดียว

ก่อนจะไปชมผลงานที่ได้ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก เราไปทำความรู้จักเลอกอร์บูซีเยกันสักนิดนะครับ ชื่อจริงๆของเขาก็คือชาร์ล-เอดูอาร์ จาเนอเร-กรี (Charles-Édouard Jeanneret-Gris) เป็นสถาปนิกชาวสวิสผู้แปลงสัญชาติเป็นชาวฝรั่งเศสเมื่อตอนอายุ 43 ปี เขายังเป็นหนึ่งในผู้นำแนวคิดสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Movement) ร่วมกับสถาปนิกคนดังอีกหลายท่าน อาทิ ลุทวิก มีสแวนเดอโร (Ludwig Mies van der Rohe) วอลเตอร์ กรอพิอุส (Walter Gropius) และอัลวาอัลโต (Alvar Aalto)

Le Corbusier
ภาพ : timescape-le-corbusier-_-built-and-unbuilt-projects/

นอกเหนือจากงานสถาปัตยกรรมอันเลื่องชื่อแล้ว ผลงานทางการศึกษาที่สร้างชื่อให้เลอกอร์บูซีเยก็คือการบัญญัติแนวคิด 5 ประการในการออกแบบงานสถาปัตยกรรม (Five Points of Architecture) และการสร้างสัดส่วนที่เรียกว่า “มอดูลอร์” (Modulor) ซึ่งเขาได้ใช้หลักการสองอย่างนี้กับการออกแบบทุกผลงาน ไม่ว่าจะเป็นงานสถาปัตยกรรม ผังเมือง หรืองานศิลปะ

Le Corbusier
ภาพ : https://42ndblackwatch1881.wordpress.com/2009/04/25/le-corbusier-the-father-of-international-style-design/

ทุกวันนี้เราจะเห็นงานสถาปัตยกรรมมากมายที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปนิกชื่อก้องท่านนี้ ทั้งแนวคิดเกี่ยวกับการยกประโยชน์ใช้สอยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของอาคาร การมองอาคารเป็นเสมือนเครื่องจักรสำหรับการอยู่อาศัย การสร้างสัดส่วนรูปทรงและสีสันโดดเด่นชัดเจนคล้ายประติมากรรมปูนปั้น การใช้วัสดุที่แสดงเนื้อแท้ออกมาอย่างเปิดเผย เช่น ปูนเปลือย และการเปิดเผยโครงสร้างของอาคารให้เห็นได้ชัดเจนจากภายนอก ทั้งหมดนี้ล้วนมาจากแนวคิดแบบพิสุทธินิยม (Purism) และแนวคิดแบบกร้าวเถื่อน (Brutalism) ซึ่งนับได้ว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาทั้งสองแนวคิดนี้ให้กว้างไกลออกไป

Le Corbusier

Le Corbusier กับผลงาน
ภาพ : https://42ndblackwatch1881.wordpress.com/2009/04/25/le-corbusier-the-father-of-international-style-design/

ทว่าในความเฉียบคมและแข็งกระด้างอย่างเครื่องจักรของสถาปัตยกรรมตามแนวคิดของเลอกอร์บูซีเย แท้จริงแล้วเขากลับยึดถือความงามตามแบบฉบับประติมากร โดยทุกเช้าก่อนเริ่มทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม เขาจะเริ่มทำงานประติมากรรมก่อน เพื่อเหลาความคิดในเชิงความงามให้แหลมคมอยู่เสมอ จนถึงทุกวันนี้ความงามและคุณค่าในงามสถาปัตยกรรมของเลอกอร์บูซีเยก็ยังคงแหลมคม กระทั่งผ่านกาลสมัยมาสู่การเป็นมรดกโลกอย่างที่เราเห็นกัน

 

รายชื่อผลงานของเลอกอร์บูซีเยที่ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก  

Unité d’habitation Le Corbusier

1. Unité d’habitation เมืองมาร์แซย์ ประเทศฝรั่งเศส

Maison Guiette Le Corbusier
2. Maison Guiette เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยี่ยม

 Capitol Complex Le Corbusier
3. Capitol Complex เมืองจัณฑีครห์ ประเทศอินเดีย

The National Museum of Western Art Le Corbusier
4. The National Museum of Western Art กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

Weissenhof-Siedlung Estate Le Corbusier
5. Weissenhof-Siedlung Estate เมืองชตุทท์การ์ท ประเทศเยอรมนี

Maison Curutchet Le Corbusier

6. Maison Curutchet เมืองลาปลาตา ประเทศอาร์เจนตินา

Dominican Monastery of La Tourette Le Corbusier

7. Dominican Monastery of La Tourette ใกล้เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส

Villa Savoye Le Corbusier

8. Villa Savoye ใกล้กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

Notre-Dame du Haut Le Corbusier

9. Notre-Dame du Haut เมืองรงช็อง ประเทศฝรั่งเศส

Maison La Roche Le Corbusier

10. Maison La Roche กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

Villa Le Lac Le Corbusier
11. Villa Le Lac เมือง Corseaux ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

Cité Frugès Le Corbusier

12. Cité Frugès เมือง Pessac ประเทศฝรั่งเศส

Immeuble Clarté Le Corbusier
13. Immeuble Clarté เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

Immeuble Molitor Le Corbusier
14. Immeuble Molitor กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

Usine Claude et Duval Factory Le Corbusier
15. Usine Claude et Duval Factory เมือง Saint-Dié ประเทศฝรั่งเศส

 Cabanon de Le Corbusier
16. Cabanon de Le Corbusier เมือง Roquebrune-Cap-Martin ประเทศฝรั่งเศส

Maison de la Culture Le Corbusier
17. Maison de la Culture เมือง Firminy ประเทศฝรั่งเศส

 

สืบค้นรายชื่อมรดกโลกที่อื่นๆ ได้ที่ http://whc.unesco.org/en/list

เรื่อง : “วุฒิกร สุทธิอาภา”
ภาพ : www.fondationlecorbusier.fr