SUSTAINABLE DESIGN สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ที่ส่งเสริมความยั่งยืนในชุมชน
สถาปัตยกรรมท้องถิ่น sustainable design

4 สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ที่ส่งเสริมความยั่งยืนในชุมชน

Sustainable Design คือการออกแบบที่สอดคล้องกับบริบทโดยรอบและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกหนึ่งการปรับตัวของสถาปัตยกรรมเพื่อให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยาวนาน ซึ่งในปัจจุบันนี้มีงานออกแบบอย่างยั่งยืนที่หลากหลายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ROOM จึงอยากชวนคุณไปชม 4 สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ที่ออกแบบเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในชุมชน อันได้แก่

Stilts House อยู่กับวัสดุธรรมชาติในบ้านไร้หน้าต่างบานกระจก

สถาปัตยกรรท้องถิ่น sustainalbe design บ้านไร้หน้าต่างบานกระจก

บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Villamil ประเทศเอกวาดอร์ ในบริเวณย่านที่อยู่อาศัยของชาวประมงที่ UNESCO ยกให้เป็นพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศดีที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก Stilts House จึงได้รับการออกแบบรวมองค์ประกอบดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมท้องถิ่นโดยใช้บานหน้าต่างกรอบไม้แทนบานกระจก รวมถึงการใช้วัสดุก่อสร้างในท้องถิ่นอย่าง “อิฐ” ก่อผนังแบบทึบและก่อเว้นช่องลม เพื่อแบ่งกั้นสเปซทั้ง public และ private โดยอิฐถือเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการระบายอากาศได้ดี

Stilts House บ้านไร้หน้าต่างบานกระจก สถาปัตยกรรมท้องถิ่น sustainable design

นอกจากนี้ยังโดดเด่นด้วยโครงสร้างเสาไม้ที่รองรับอาคาร 2 ชั้นที่เน้นรูปแบบของสถาปัตยกรรมในระนาบแนวนอน (Horizontal plane) โดยชั้นล่างออกแบบพื้นที่ให้เชื่อมต่อสู่สวนด้านนอกด้วยโถงอเนกประสงค์ที่ไว้ใช้ทำกิจกรรมระหว่างวันซึ่งเป็นพื้นที่นั่งเล่นประดับด้วยเปลญวนแขวนระหว่างเสา ส่วนชั้นบนเป็นโซนที่อยู่อาศัยที่ประกอบด้วย ห้องนอน, ห้องครัว และห้องนั่งเล่น ซึ่งออกแบบให้สเปซภายในให้มีอากาศถ่ายเททั่วถึงทุกบริเวณผ่านการเลือกใช้วัสดุกับการออกแบบที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ากับความทันสมัยแบบยั่งยืน

Stilts House บ้านไร้หน้าต่างบานกระจก sustainable design สถาปัตยกรรมท้องถิ่น

ออกแบบ: natura futura
เครดิตรูปภาพ: JAG studio


La Caja De Luz บ้านพักในเมืองสำหรับหญิงสาวผู้ไร้บ้านจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว

Sustainable Design La Caja De Luz สถาปัตยกรรมท้องถิ่น

บ้านพักแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณ Bahía De Caráquez ประเทศเอกวาดอร์ ได้รับการออกแบบให้เป็นบ้านสองชั้นเพื่อรองรับการอยู่อาศัยของหญิงสาวผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเมือง โดยมีชื่อเรียกว่า The Lighthouse ที่โดดเด่นด้วยผิวอาคารช่องลมและผนังแบบโปร่งแสง (Semi-transparent Polycarbonate) ที่ส่องแสงสว่างจากชั้นบนสู่ชั้นล่างในเวลากลางคืน

Sustainable Design สถาปัตยกรรมท้องถิ่น La Caja De Luz

พื้นที่ภายในบ้านถูกแบ่งออกเป็น 2 ยูนิตหลัก ชั้นล่างเป็นพื้นที่สำหรับลูกค้า ส่วนชั้นบนเป็นพื้นที่อยู่อาศัยให้เช่าในราคาถูกสำหรับหญิงสาวผู้ประสบภัยที่แบ่งออกเป็นหลายยูนิตประกอบด้วย ห้องนอน, ห้องน้ำ, ห้องนั่งเล่น (Social room), ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัวแบบ Open kitchen ที่เปรียบเสมือนแกนเชื่อมต่อบริเวณส่วนที่แคบที่สุดของอาคาร โดย The Lighthouse แห่งนี้เป็นส่วนผสมที่ลงตัวขององค์ประกอบท้องถิ่น (Manifests Urban Vernacular Traditions) ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุ การก่อสร้างอาคารที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อม รวมถึงสภาพภูมิอากาศที่มีการไหลเวียนของอากาศในอาคาร และแสงธรรมชาติที่เข้าถึงสเปซภายในอย่างทั่วถึงอีกด้วย นอกจากนี้ยังดีไซน์ผิวอาคารแบบด้านเดียว (Single Façade) หันหน้าออกสู่ถนนภายนอก โดยทำหน้าที่เป็น Buffer zone และทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ภายในกับภายนอกอีกด้วย

Sustainable Design La Caja De Luz สถาปัตยกรรมท้องถิ่น

ออกแบบ: Juan Alberto Andrade
เครดิตรูปภาพ: designboom


หอพักและห้องเรียนแห่งแคมปัสในประเทศ Uganda

Sustainable Design บ้านโครงสร้างไม้ สถาปัตยกรรมท้องถิ่น

อาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Mityana ประเทศยูกันดา ได้รับการออกแบบให้เป็นอาคารเรียน ที่ประกอบด้วยห้องเรียน และห้องครัวที่สร้างจากวัสดุธรรมชาติท้องถิ่นทั้งผนังอิฐฉาบดิน และโครงสร้างไม้ Eucalyptus ที่ใช้ทำหลังคาและผิวอาคาร โดยอาคารแห่งนี้มีแนวคิดแบบ eco solutions ที่มีระบบจัดเก็บน้ำฝนแบบแยกส่วน ห้องครัวที่ติดตั้งเตาประหยัดเชื้อเพลิง เป็นต้น นอกจากนี้ยังดีไซน์ผังอาคารในสไตล์ Dormitory Courtyards ที่มีผังห้องเรียนรูปทรงห้าเหลี่ยมใต้โครงสร้างฝ้าเพดานไม้แบบทรัส

Sustainable Design บ้านโครงสร้างไม้ Eucalyptus สถาปัตยกรรมท้องถิ่น

Sustainable Design บ้านโครงสร้างไม้ Eucalyptus สถาปัตยกรรมท้องถิ่น

ออกแบบ: studio FH
เครดิตรูปภาพ: will boase


Children’s Village ที่ผสมผสานวัฒนธรรมท้องถิ่นและความยั่งยืนของผืนแผ่นดิน

Sustainable Design สถาปัตยกรรมท้องถิ่น Children’s Village

Sustainable Design บ้านดินและอิฐ สถาปัตยกรรมท้องถิ่น Children’s Village

หมู่บ้านของเด็ก ๆ ในรัฐ Tocantins ประเทศบราซิล สร้างขึ้นเพื่อรองรับการอยู่อาศัยของเด็กกว่า 500 ชีวิต จากโรงเรียนประจำ Canuanã โดยได้รับการออกแบบให้เป็นอาคารที่สร้างจากวัสดุธรรมชาติอย่างดินและอิฐ สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อระหว่างคนและแผ่นดิน อีกทั้งยังคงทนต่อสภาพภูมิอากาศและกายภาพของผืนดิน

Sustainable Design บ้านดินและอิฐ สถาปัตยกรรมท้องถิ่น Children’s Village

สถานที่แห่งนี้เปรียบเสมือนโรงเรียนของเด็ก ๆ ที่ประกอบด้วยอาคารหลัก 2 ส่วน คือ หมู่บ้านเด็กชายและเด็กหญิง โดยจัดวางอาคารให้อยู่บริเวณริมขอบเพื่อรองรับการขยายของโซน Farm Complex ซึ่งการออกแบบทั้งหมดเกิดจากความร่วมมือระหว่างผู้ออกแบบและคนในชุมชน ที่ร่วมมือกันเพื่อให้เกิดการรู้จักตนเองและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดเป็นยูนิต 45 ยูนิต โดยแต่ละยูนิตรองรับกลุ่มเด็กได้ 6 คน เพื่อทำกิจกรรมในพื้นที่ภายในสเปซรอบคอร์ทยาร์ดขนาดใหญ่สำหรับปลูกพืชฤดูร้อน อีกทั้งฟังก์ชันห้องต่าง ๆ ในโซน Interacting Areas เช่น ห้องอ่านหนังสือ ห้องทีวี ห้องนั่งเล่นพักผ่อนที่ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของเด็ก ๆ

Sustainable Design บ้านดินและอิฐ สถาปัตยกรรมท้องถิ่น Children’s Village

ออกแบบ: rosenbaum + aleph zero
เครดิตรูปภาพ: Leonardo Finotti

อ่านต่อเรื่อง Modern Living with Nature…สถาปัตยกรรมนำธรรมชาติ คลิก

Modern Living with Nature


เรื่อง: Bundaree D.