จากมุมมองของผู้คนทั่วไปรูปลักษณ์อันคุ้นชิน ของสถาปัตยกรรม “สมัยใหม่” คงดูไม่เก่าแก่ พอจะให้นึกไปถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันอาคารที่เก่าคร่ำคร่าผ่านการ ใช้งานมาอย่างยาวนานและต้องอาศัย งบประมาณก้อนโตในการบำรุงรักษา หลาย คนอาจมองว่าไม่เอื้อต่อการอนุรักษ์สักเท่าไร ซึ่งในสภาพ “กลางเก่ากลางใหม่” เช่นนี้ คุณค่าของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จึงดู คลุมเครือยิ่งนักในบริบทปัจจุบัน แต่สำหรับ วีระพล สิงห์น้อย หรือ ช่างภาพสถาปัตยกรรมอิสระที่หลายคนรู้จัก ในนาม Beersingnoi ความงามของอาคาร เหล่านี้กลับสะดุดตาเขาจนกลายเป็นความ สนใจที่มาของโปรเจ็กต์งานอดิเรกในการ ติดตามเก็บบันทึกภาพงานสถาปัตยกรรม สมัยใหม่ในประเทศไทย ด้วยความตั้งใจ ที่จะเก็บบันทึกมุมมองความงามทางสถาปัตยกรรมในแบบของเขา บนความไม่แน่นอนว่า อาคารเหล่านั้นจะ”อยู่รอด”ถึงเมื่อไร
และเมื่อชุดภาพเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่ ผ่านเพจ Foto_momo มุมมองผ่านเลนส์ ที่เฉียบขาดของวีระพลก็ดูเหมือนจะช่วย จุดประกายคุณค่าและความสนใจของคน รุ่นใหม่ในสถาปัตยกรรมจากยุคโมเดิร์น ได้ไม่น้อย ซึ่งเบื้องหลังการออกเดินทาง ตามหาตึกเก่า เขาได้พบกับอาจารย์ฤกษ์ดี โพธิวนากุล อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยก ร รมศาสต ร์ มหาวิทยาลัยศิลปาก ร ผู้มีความสนใจในสถาปัตยกรรม Modern Architecture เช่นเดียวกัน มิตรภาพที่ เบ่งบานท่ามกลางบรรยากาศโมเดิร์นนิสม์ จึงเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลสำคัญของการ ส่งต่อ”ลายแทง”อาคารยุคโมเดิร์นระดับ มาสเตอร์พีซให้แก่เขา ผ่านบันทึกออนไลน์ ที่รวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์มหาศาล โดยมีที่มาจากความสนใจส่วนบุคคลล้วนๆ
มาถึงวันนี้งานอดิเรกของวีระพลเข้มข้น ขึ้นเรื่อยๆ และคอลเล็กชั่นภาพถ่ายสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในทุกมุมเมืองทั่วประเทศไทย ก็ใกล้จะครบถ้วนเต็มที นี่คงมิใช่เพียงการบันทึกภาพอาคารเก่า แต่ยังบันทึกเพื่อบอกเล่าวิถีชีวิตของเมืองและผู้คนในยุคสมัยหนึ่ง แม้ว่านโยบายการอนุรักษ์อาคารเหล่านี้อย่าง จริงจังจะเป็นไปได้ยาก แต่ทั้งคู่ก็คาดหวัง ว่าบทบันทึกของพวกเขาอาจช่วยตั้งคำถาม เกี่ยวกับ “คุณค่า” และพิทักษ์อาคารเก่า เหล่านี้ให้รอดจากการทุบทำลายได้บ้าง… ไม่มากก็น้อย
งานอดิเรกของช่างภาพและนักเก็บบันทึกออนไลน์
วีระพล : “ตอนนั้นผมบังเอิญมีโอกาสได้ไป ถ่ายภาพอาคารอนุรักษ์ของสมาคมสถาปนิก สยามฯ เมื่อได้ถ่ายภาพก็รู้สึกว่าชอบตึก สไตล์นี้ จึงกลับมาตามหาข้อมูลของอาคาร ยุคนี้จากโซเชียลมีเดียของอาจารย์ฤกษ์ดี เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการไปตามล่า ถ่ายภาพตึกต่างๆ อาจารย์จึงถือว่าเป็นแหล่ง ข้อมูลสำคัญของผม ต่างคนต่างแอบดู อัพเดตข้อมูล หรือผลงานต่างๆ จะเรียกว่า เราเป็นแฟนคลับซึ่งกันและกันก็ได้”
อ.ฤกษ์ดี: “การเก็บข้อมูลสถาปัตยกรรม สมัยใหม่เป็นงานอดิเรกของผมเช่นกัน ซึ่ง เริ่มมานานพอสมควรแล้ว เนื่องจากผมได้ เห็นเพื่อนที่เมืองนอกโพสต์ภาพตึกต่างๆ แล้วบอกว่าอยากเห็น Modern Architecture ของประเทศอื่นบ้าง ผมเลยโพสต์ภาพอาคาร ในไทยเพื่อแลกกันดู ซึ่งบางส่วนก็เป็นงาน ที่นักเรียนทำการบ้านส่งมา รวมทั้งจาก บทความในนิตยสารและบทสัมภาษณ์ของ สถาปนิกรุ่นเก่า หรือบางคนมีโอกาสได้ เข้าไปดูตึกแปลก ๆ ด้วยตัวเองก็นำข้อมูลมา แลกเปลี่ยนกัน”
วีระพล : “จริงๆงานที่พวกเราทำคือการเก็บ บันทึกที่ไม่เป็นทางการ แต่ถ้าเป็นสถาบัน การศึกษาอย่างคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ อาจารย์ผุสดี ทิพทัส ท่านก็เคยจัดเก็บ บันทึกไว้เป็นระบบแบบวิชาการ โดยมีการ จัดทำหนังสือรวบรวมผลงานของสถาปนิก รุ่นเก่าหลายๆท่านให้เราได้ศึกษา”
อ.ฤกษ์ดี: “ซึ่งผมก็นำผลงานของอาจารย์ หลาย ๆ ท่านมาย่อยให้คนอื่นดูอีกที เพราะเมื่อพ้นยุคการสร้างสรรค์ผลงานของอาจารย์ บางท่าน เราก็แทบจะไม่ได้เห็นงานสไตล์นี้ อีก บางตึกก็ถูกทุบไปแล้ว ยากที่จะส่งต่อ เพื่อบอกแก่คนรุ่นหลังว่าตึกเหล่านี้เคยอยู่ ตรงนี้นะ และมีหน้าตาเป็นอย่างนี้”
การกลับมาของกระแสนิยมโมเดิร์น
วีระพล : “จริงๆ ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่สนใจ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่กันมานานแล้ว แต่ ยังไม่ได้เป็นระบบอะไรชัดเจน ใครมีข้อมูล อะไรก็มาแชร์กัน ส่วนเราก็ทำงานถ่ายภาพ ตึกเหล่านี้ไปเรื่อย ๆ อยู่ๆ ก็มีคนเริ่มมาสนใจ มากขึ้น เราก็แปลกใจเหมือนกัน อย่าง ภาพชุดแรก ๆ ที่เริ่มทำอย่างจริงจังก็จะเป็น อาคารที่คุณอมร ศรีวงศ์ ออกแบบ เช่น ตึกฟักทองและตึกสตางค์ในมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ฯลฯ ก็ได้รับการพูดถึงเยอะ “ผมถ่ายภาพอาคารที่ได้รับรางวัล อนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นมา 7-8 ปี แล้ว ยุคแรก ๆ มักจะเป็นประเภทวังหรือวัด จนกระทั่งหลังๆ นี้เริ่มมีผลงานอาคารโมเดิร์น เยอะขึ้น เช่น ตึกฟักทองที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์ ศิลปสถาปัตยกรรม จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ ทำให้รู้สึกว่าคนไทยมีแนวโน้มเริ่ม ให้ความสำคัญกับอาคารสไตล์นี้มากขึ้น”
บันทึกความผูกพัน
วีระพล : “จุดประสงค์แรกตอนเริ่มทำงานนี้ผมเองก็มีเป้าหมายในการอนุรักษ์ ด้วย ความที่เราชอบประวัติศาสตร์อยู่แล้ว แต่ ไม่ถนัดทางด้านวิชาการ จึงอาศัยเล่าเรื่อง ผ่านภาพถ่าย เหมือนเป็นสารคดีแบบหนึ่ง ที่บันทึกภาพทุก ๆอย่างไว้”
อ.ฤกษ์ดี: “ภาพถ่ายของเขาเข้าถึงผู้คน ได้มากกว่าการบอกเล่าเชิงวิชาการ เพราะ เป็นตึกที่ใกล้ชิดกับชีวิตประจำวัน อย่าง โรงหนังเก่าก็เป็นอาคารที่คนเข้าถึงง่าย พอได้เห็นรูปอีกครั้งก็ทำให้นึกถึงตอนที่แม่ เคยจูงมือไปดูหนังตอนเด็ก ๆ อะไรแบบนี้
วีระพล : “บางทีคุณค่าของตึกก็มาจาก ความผูกพัน เนื่องจากอาคารประเภทโรงหนัง หรืออาคารในสถาบันการศึกษามักมีความ ผูกพันกับผู้ใช้งานจำนวนมาก หลายคน จึงมีอารมณ์ร่วมเมื่อได้ชมผลงานภาพถ่าย เหล่านี้ พอถึงจุดหนึ่งที่อาคารนั้น ๆ หายไป จากละแวกบ้านก็จะรู้สึกเสียดาย
“หรืออย่างตอนไปถ่ายภาพที่โรงหนัง ตะพานหินรามา ในจังหวัดพิจิตร ขณะที่ ไปยืนถ่ายรูปก็บังเอิญไปเจอกับเจ้าของนั่งอยู่ พอเห็นว่าเราชอบตึกเก่า เขาก็พาเข้าไปถ่ายรูป ข้างใน ไปดูเก้าอี้เก่าๆ รูปภาพเก่าๆ แล้วบอกเล่าประวัติความเป็นมาให้ฟัง ยิ่งได้ดู รูปภาพเก่าประกอบกันยิ่งทำให้เห็นภาพ ความรุ่งเรืองในอดีต ว่าคนในชุมชนมีความ ผูกพันกับโรงหนังนี้มากแค่ไหน หลายคนที่ เคยมีประสบการณ์ร่วม เมื่อทราบว่าผม สนใจก็เข้ามาเล่าบรรยากาศสมัยก่อนให้ฟัง
“และไม่นานมานี้ผมเพิ่งได้ไปถ่ายภาพ ที่โรงแรมดุสิตธานี เนื่องจากเจ้าของท่าน เห็นผลงานโรงแรมอินทราของผมแล้วชอบ เลยเรียกไปถ่ายภาพอาคารก่อนที่จะทุบตึก ทิ้ง ซึ่งจริงๆเรามีความผูกพันกับโรงแรมนี้ มาตั้งแต่เริ่มอาชีพช่างภาพ เข้าๆออก ๆ บริษัทอินทีเรียร์ที่มีสำนักงานอยู่ด้านบนของ โรงแรมอยู่เป็นประจำ จึงรู้สึกเป็นเกียรติ มาก ไม่คิดว่าวันหนึ่งจะได้มาถ่ายรูปตึกของ โรงแรมดุสิตธานีก่อนการปรับโฉมใหม่ ยิ่ง ได้คุยกับคุณชนินทธ์ โทณวณิก แม้จะ ไม่นาน แต่ก็รับรู้ได้ว่าเขาผูกพันกับตึกนี้”
ไว้รอจนเก่าแล้วเราค่อยอนุรักษ์(?)
วีระพล : “ตอนนี้อาจจะยังไม่ค่อยมีใครให้ คุณค่า แต่เดี๋ยวพอผ่านไปสัก 80 หรือ 100 ปี คนก็น่าจะเริ่มหันมาสนใจกันมากขึ้น แต่ถ้าเราหันมามองตอนนี้จะไม่ดีกว่าหรือ ในเมื่อเดี๋ยวอาคารเก่าก็ต้องอนุรักษ์อยู่ดี ผมต้องรีบทำโปรเจ็กต์นี้ เพราะผมเสียดาย อย่างสมัยก่อนโรงแรมสยามอินเตอร์คอนทิเนนทัลกำลังจะถูกทุบ ตอนนั้นผมยัง เรียนอยู่ เพื่อนก็บอกให้ไปถ่ายรูปเก็บไว้ สุดท้ายก็เถลไถลไปถ่ายไม่ทัน อาคารเก่า ของธนาคารกรุงศรีฯตรงเพลินจิต ก็ถ่าย แค่ข้างนอกเก็บไว้ สุดท้ายข้างในก็ไปถ่าย ไม่ทัน สองกรณีนี้เลยทำให้ตั้งใจว่า ถ้าได้ยินข่าวต้องรีบไป ไม่อย่างนั้นอาจต้อง มานั่งเสียดายทีหลัง”
อ.ฤกษ์ดี: “กำลังนึกอยู่ว่ารางวัลอาคาร ดีเด่นจะช่วยในการอนุรักษ์ได้บ้างไหม อย่างตอนนี้หอประชุมอาคารใหม่สวนอัมพร กับอาคารกรมประชาสัมพันธ์หลังเก่าบน ถนนราชดำเนินไม่มีอยู่แล้ว จึงไม่เหลือ ตัวอย่างโครงสร้าง Folded Plate (หลังคา คอนกรีตเสริมเหล็กแผ่นบางที่เพิ่มความ แข็งแรงด้วยการหักพับไปมาทั่วทั้งผืน) ของจริงให้คนรุ่นต่อไปได้ดูโครงสร้างศักยภาพ สูงที่มาจากการที่สถาปนิกทำงานใกล้ชิดกับ วิศวกรเหมือนแต่ก่อน”
คุณค่าของอาคารอยู่ที่ผู้ใช้งาน
วีระพล : “จริงๆ คุณค่าของอาคารหนึ่งๆ มีหลายปัจจัย ยากจะชี้ชัดลงไปได้เลย บางทีหน่วยงานของส่วนกลาง เช่น สมาคม สถาปนิกฯ หรือกรมศิลปากร ไปให้รางวัล อาคาร แต่เจ้าของไม่ได้ยอมรับคุณค่านั้น”
อ.ฤกษ์ดี: “ที่สำคัญคือต้องอย่าไปปั่น คุณค่าขึ้นมาจนเกินจริงเหมือนปั่นหุ้น ถ้า เกินราคามาตรฐานก็จะไม่ยั่งยืน”
วีระพล : “แต่จากประสบการณ์พบว่า หลาย คนก็ไม่ได้ชอบตึกโมเดิร์น บางตึกเจ้าของ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง อีกทั้งไม่ได้ ชื่นชอบที่จะต้องอยู่ในอาคารเก่า บางทีเรา ไปถ่ายภาพเห็นคราบดำแล้วเห็นว่าสวยดี แต่คนใช้งานจริงเขากลับไม่ชอบ ดังนั้นถ้า อาคารไม่มีคุณค่าต่อเจ้าของก็จะถูกรื้อทิ้ง ผมว่าก็เป็นเรื่องของสัจธรรม บางตึกอาจ ไม่เอื้อต่อการใช้งานอีกแล้วก็ได้ ซึ่งคนที่ จะตอบได้จริงๆคือผู้ใช้งานเอง
“อาคารที่ผมเห็นว่ายังสมบูรณ์น่าจะ เหลือแต่พวกอาคารเล็ก ๆ ที่ไม่ได้ใช้งานอย่าง คุรุสัมมนาคาร ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็น ผลงานของอาจารย์ดร.วทัญญู ณ ถลาง สร้างขึ้นในสมัยที่มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยตาม หัวเมืองต่างๆ เราก็ต้องรีบไปถ่ายเก็บไว้ก่อน”
อ.ฤกษ์ดี: “จริงๆผมปลงแล้วละ แต่อีกด้าน ก็คิดว่าเราควรมีความหลากหลาย บางตึก ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนก็คงต้องเปลี่ยน แต่ ขอให้เปลี่ยนแปลงแบบมีตรรกะ มีเหตุผล สักหน่อย ไม่เช่นนั้นจะเป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่หลักฐานในยุคสมัยหนึ่งจะขาดช่วงไป”
โดยสำนักงานสถาปนิก อินทาเรน
เรื่อง MNSD
ภาพบุคคล นันทิยา
ภาพประกอบ วีระพล สิงห์น้อย