ตำถาด Time of Togetherness รวมไอเดียรสนัวใน งานสถาปนิก'66 - บ้านและสวน

ตำถาด: Time of Togetherness รวมไอเดียรสนัวในงานสถาปนิก’66

ครั้งแรกของการเชื่อมโยง 5 เครือข่ายในแวดวงสถาปนิก ใน งานสถาปนิก’66 ปีนี้มาแบบแซ่บนัวครบเครื่อง ในคอนเซ็ปต์ “ตำถาด Time of Togetherness” จัดหนัก จัดเต็ม พร้อมเสิร์ฟให้คุณลิ้มลองด้วยตัวเอง จัดแสดงให้ชมฟรี ระหว่างวันที่ 25 – 30 เมษายน 2566 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

เตรียมพบกับ งานสถาปนิก หรือ งานอาษา (ASA) ครั้งที่ 35 เป็นครั้งแรกของการเชื่อมโยงเครือข่ายในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับแวดวงสถาปนิก ทั้ง 5 ได้แก่ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย และสภาสถาปนิก ซึ่งเป็นที่มาของคอนเซ็ปต์ “ตำถาด Time of Togetherness” ที่จัดหนัก จัดเต็ม แซ่บนัวครบเครื่อง ด้วยการการนำเหล่านักออกแบบมารวมตัวกัน เพื่อ พูดคุย ตั้งคำถาม และช่วยกันหาคำตอบและแนวทางที่มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติวิชาชีพทุกแขนงทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ภายในงานจะได้ชมนวัตกรรมด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมจากผู้จัดแสดงสินค้าทั่วโลกมากกว่า 800 ราย ร่วมด้วยนิทรรศการ สัมมนา และกิจกรรมสร้างสรรค์ อาทิ ห้องสมุดมนุษย์, การแสดงผลงานการออกแบบ และเทคโนโลยีการก่อสร้าง, เวิร์กช็อป, ร้านจำหน่ายสินค้า, นิทรรศการงานออกแบบ ที่เปรียบเสมือนอาหารรสชาติแซ่บนัว พร้อมเสิร์ฟให้คุณได้ลิ้มลองด้วยตัวเอง จัดแสดงให้ชมฟรี ตลอด 6 วัน บนพื้นที่กว่า 10 สนามฟุตบอล ระหว่างวันที่ 25 – 30 เมษายน 2566 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

และนี่คือไฮไลต์ภายใน งานสถาปนิก’66 ที่ บ้านและสวน อยากชวนคุณไปชม

นิทรรศการ ALL MEMBER : Design Showcase

นำเสนอผลงานของสมาชิกสมาคม ประกอบด้วย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมมัณฑนากร แห่งประเทศไทย สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย แสดงให้เห็นถึงความแนวความคิด การบวนการทำงาน และแนวทางการออกแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น อาคาร บ้านเรือน สภาพแวดล้อมภายในเมือง หรือสถาปัตยกรรมในรูปแบบอื่น โดยคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันของทุกสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างยั่งยืน

ภายในโซนแสดงผลงานออกแบบที่น่าสนใจในหลายรูปแบบให้เราได้ชมแนวความคิด และวิธีการสร้างสรรค์ว่ากว่าจะออกมาเป็นงานสถาปัตยกรรมสักแห่ง เหล่าสถาปนิกมีวิธีคิดอย่างไร

ตัวอย่างนิทรรศการ :
ผลงานแสดงแนวทางการปรับปรุงอาคารโรงมหรสพเดิม ‘หลักเมืองภาพยนตร์’
อาคารโรงภาพยนตร์สแตนอโลน อายุกว่า 54 ปีในจังหวัดกาฬสินธุ์

กิจกรรม Human Library : Let’s talk and share

ชวนวิทยากรนักออกแบบจากหลากหลายสายงาน ทั้งสถาปนิกชื่อดังจาก 4 สาขา และ Influencer ที่มีชื่อเสียง รวม 27 คน มาแชร์ประสบการณ์ในชีวิต ทั้งแนวคิด วิธีการแก้ปัญหา และมุมมองต่อการออกแบบ ในฐานะ “หนังสือมนุษย์” เพื่อให้ผู้สนใจเข้าไปพูดคุยเสนอมุมมอง หรือแลกเปลี่ยนกับบุคคลเหล่านั้นอย่างเปิดกว้าง เฉกเช่นการเดินเข้าห้องสมุดแล้วเลือกอ่านหนังสือสักเล่มโดยไม่ตัดสินจากหน้าปกเพียงอย่างเดียว ผู้ร่วมกิจกรรมสามารถเดินไปเลือกคุยกับวิทยากรคนใดก็ได้ เพื่อพูดคุยในประเด็นที่ตนสนใจ โดยต้องเป็นประเด็นที่คู่สนทนาอยากพูดหรือสบายใจที่จะแชร์ ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ www.asaexpo.org/human-library

นิทรรศการสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย : TIDA

พื้นที่จัดแสดงที่ “รวมมิตร” มาใช้สัมผัสทั้งการออกแบบ การประกวด และเสวนา โดย สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย หรือ TIDA ภายในงานแบ่งออกเป็นหลายโซน อาทิ  TIDA LOUNGE แนะนำสมาคมฯ และรับสมัครสมาชิก รวมทั้งแจกไอศครีมรวมมิตรให้แก่ผู้เข้าร่วม, TIDA SOCIETY พื้นที่จัดเสวนา TIDA Talk และงานประกาศผล TIDA Thesis Awards 2022, TIDA SALONE โชว์เคสที่แสดงถึงไอเดียสร้างสรรค์ของเหล่านักออกแบบภายใน และ TIDA EXHIBITION แสดงผลงานการประกวด TIDA Awards  2019 and  TIDA Thesis Awards 2022

นิทรรศการสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย : TALA

เพราะทุกความรู้ล้วนมีค่า “Cause knowledges are all worthwhile.” สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย หรือ TALA จึงใช้โอกาสนี้รวมแขนงความรู้ทางภูมิสถาปัตย์มาให้ชมกัน ผ่านกิจกรรม TALA CLASSROOM นิทรรศการและพื้นที่สัมมนาวิชาการ ร่วมกับวิทยากร และภาคีวิชาชีพต่างๆ ทั้ง โครงการเกษตรยั่งยืน โครงการลานกีฬากรุงเทพมหานคร

อาทิ หัวข้อเสวนา เรื่อง โภชนาที่ดี กับการจัดสวน, ดินดีมีประโยชน์อะไรบ้าง, ภูมิสถาปนิกต้องรู้ เรื่องเกษตรกรรม ที่ซุ้ม TALA Salad นอกจากนี้ยังใช้เป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรม Workshop ต่างๆ ที่จะจัดขึ้นภายในงานด้วย

รวมทั้ง TALA Green System Exhibition จัดแสดงแผนที่ความสัมพันธ์ของโครงสร้างพื้นที่สีเขียวในเมืองกรุงเทพมหานคร ณ ปัจจุบัน และ/หรือ อนาคต และ TALA SHOP & SERVICES พื้นที่จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึก, หนังสือวิชาการจากสถาบันการศึกษา และประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ ของสมาคม ฯ

นิทรรศการสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย : TUDA

แบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซน ดังนี้ 

1. โซน TUDA ZEB (แซบ) การจัดแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ ผลงานออกแบบและการศึกษาวิจัยจากสถาบันการศึกษา

2. โซน TUDA X Muang (เมือง) การจัดแสดงผลงานการประกวดแบบเมืองพัทยา และเมืองอื่นๆ ที่ TUDA ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมการพัฒนาเมือง

3. โซน TUDA X Mhu (หมู่) or TUDA and Friends การจัดแสดงงานของหน่วยงาน บริษัทที่มีผลงานโดดเด่น ด้านการออกแบบและพัฒนาเมือง

4. โซน TUDA Khak (คัก) โชว์เคส โชว์คัก ผลงานการออกแบบเมือง ที่เป็นผลงานของสมาชิก TUDA

5. โซน TUDA Muan (ม่วน) พื้นที่ให้สมาชิกได้พัก นั่งพูดคุย และจัดเสวนา

หนึ่งในนิทรรศการโดย TUDA
โครงการปรับปรุงย่านเมืองเก่า – หนองหูลิง เทศบาลตำบลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ดโดย URBAN ROOM (บริษัท เออเบิ้น รูม จำกัด)

นิทรรศการประกวดแบบเชิงแนวความคิด ASA Experimental Design Competition: Not Only Human

การแสดงผลงานประกวดแบบระดับนานาชาติในโครงการ “ASA Experimental Design 2023” การแข่งขันเชิงความคิดที่ชวนตั้งคำถามต่อลักษณะพื้นฐานของสถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับสิ่งอื่น มาร่วมสำรวจว่าสถาปัตยกรรมจะสามารถโอบรับความซับซ้อนของสภาวะแวดล้อมที่รวมสรรพชีวิตที่ไม่ใช่แค่เพียงมนุษย์ไว้ได้อย่างไรบ้าง เป็นไปได้หรือไม่ที่จะรวมสรรพชีวิตอื่นในระบบนิเวศให้มาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น?
มาร่วมชมผลงานออกแบบที่ไม่เพียงคิดถึงการอยู่อาศัยของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่งในโลกด้วย

ร่วมด้วย นิทรรศการจากสมาคม และวิชาชีพอื่นๆ ดังนี้

นิทรรศการรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566
นำเสนอผลงานที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566 ที่คัดเลือกโดยสมาคม สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

นิทรรศการ ASA VERNADOC บ้านห้วยทรายเหนือ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี 
นำเสนอผลงานการเก็บข้อมูลของอาคารที่ทรงคุณค่าด้วยวิธี VERNADOC คือการเก็บข้อมูลอาคารด้วยวิธีพื้นถิ่น ทั้งการเขียนมือ ใช้ปากกา ดินสอ เขียนแบบ

นิทรรศการผลงานนักศึกษา
นำเสนอผลงานการออกแบบผลงานของนิสิต-นักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

นิทรรศการงานประกวดแบบภาครัฐและองค์กรอื่นๆ
นำเสนอผลงานออกแบบของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางการออกแบบสถาปัตยกรรมและเมือง

นิทรรศการรอยต่อไม้ในงานสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น By Unesco และ ไร่แม่ฟ้าหลวง
ผลงานการศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมรอยต่อไม้แบบจารีตนิยม ซึ่งพบในงานสถาปัตยกรรมไม้ในประเทศไทยนำมาจัดสร้างหุ่นจำลองรอยต่อมาตราส่วนจริง เพื่อถอดรหัสภูมิปัญญาช่างไม้ในอดีต

นิทรรศการย่านเก่าเล่าเรื่อง
การลงสำรวจและเก็บข้อมูลในพื้นที่ ย่านชุมชนเก่า โรงงานมักกะสัน และ การรถไฟ โดยนักศึกษาภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นิทรรศการ ASA Platform Selected Materials 2023
โครงการคัดเลือกวัสดุและผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง ที่น่าจับตามองในปี 2023 เพื่อแนะนำวัสดุและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่น่าสนใจในมิติต่างๆ

นิทรรศการ WOW : Wonder of Well Being อัศจรรย์เมืองน่าอยู่
จัดแสดงถึง “Well-Being City” เมืองที่น่าอยู่ ต่างจากเมืองที่อยู่ได้ เพื่อสร้างความเข้าใจว่าเมืองที่น่าอยู่เป็นอย่างไร นำไปสู่การวางแผนพัฒนาเมืองแบบมีเป้าหมายและมีภาพเมืองที่ดีร่วมกัน

นอกจากนิทรรศการน่าสนใจเหล่านี้ ยังมีนวัตกรรมก่อสร้างที่ได้รับความร่วมมือจากผู้แสดงสินค้าทั้งในไทยและต่างประเทศ มาร่วมจัดแสดงให้ชมภายในงานอย่างคับคั่ง พบกับ งานสถาปนิก’66 คอนเซ็ปต์ “ตำถาด” งานรวบรวมความสร้างสรรค์ทางการออกแบบรสนัวที่รอให้คุณไปชิม ระหว่างวันที่ 25 – 30 เมษายน 2566 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/ASAArchitectExposition