Moiré Pattern หรือลายมัวเร คือรูปแบบที่เกิดขึ้นจากลายซ้ำๆ กัน มีการเว้นช่องว่างเป็นระยะ เช่น ลายตารางเล็กๆ หรือลายเส้นที่วางเรียงชิดกัน เมื่อนํามาวางเหลื่อมหรือซ้อนทับกัน สายตาจะสร้างตัวอย่างลายเส้นจากรูปแบบแรก แล้วนําไปเปรียบเทียบกับลายเส้นอีกรูปแบบหนึ่งท่ีอยู่ใกล้กัน หากขยับ หมุน หรือย้ายมุมมองเพียงเล็กน้อย ก็จะเกิดความผิดเพี้ยน เป็น ภาพลวงตา ให้มองเห็นเป็นภาพที่มีลักษณะเหมือนกําลังเคลื่อนไหว
เทคนิคนี้มีจุดเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1960 ในรูปแบบของจิตรกรรมแบบออปอาร์ต (Op Art หรือ Optical Art) เป็น เทคนิคการวาดภาพด้วยการนําเส้นและรูปทรงเรขาคณิตมาจัดรูปแบบร่วมกันบนพื้นผิว โดยใช้การเว้นระยะห่างการเน้นเส้นรอบนอกที่คมชัด รวมถึงการวางทิศทางรูปทรงให้เยื้อง หรือหักเหกัน เพื่อสร้างลักษณะที่คลุมเครือ ทําให้การมองเห็นของผู้ชมผิดเพี้ยนไป โดยเฉพาะเมื่อเราจ้องมองภาพนิ่งๆ สักพัก แล้วเหลือบสายตาให้เคลื่อนไปจากเดิมเล็กน้อย รูปทรงและเส้นสายที่ศิลปินวางไว้ จะทำปฏิกิริยากับการมองเห็น ทำให้เห็นว่า คล้ายมีแสงวาบหรือภาพมีการเคลื่อนไหว เห็นลายเส้นที่มีความโก่งงอ บิดเบี้ยว ในบางกรณีอาจจะเห็นรูปทรงที่มีความนูนสูงขึ้นหรือเว้าต่ำลงอย่างสมจริง ท้ังๆที่เป็นแค่ภาพสองมิติเท่านั้น
PATANA GALLERY อาคารที่สร้างความเคลื่อนไหวให้ผนัง ด้วยเทคนิคแบบ Moiré Pattern (มัวเรแพตเทิร์น)
เรื่องและภาพ : ดำรง