THE STACK - บ้านกล่อง 3 ชั้น สีขาว เรียบง่าย ที่ไม่ธรรมดา - room

THE STACK บ้านนี้มีครัวเป็นหัวใจหลัก

หนึ่งในเส้นทางปราบเซียนสายหนึ่งในบ้านเรา ไม่มีใครไม่รู้จัก “ซอยศูนย์วิจัย” ซึ่งมีตรอกซอกซอยซับซ้อนมากมาย จน อาจทำให้มือใหม่ที่เพิ่งเคยมาเยือนย่านนี้รู้สึกมึนงง แต่สำหรับ room เราเชื่อว่าของดีไม่มีทางที่จะได้มาง่าย ๆ ครั้งนี้ก็เช่นกัน หลังจากเราหลงอยู่ในซอยศูนย์วิจัยกันสักพัก ในที่สุดเราก็เจอ ของดีที่ว่า นั่นคือ “ บ้านกล่อง 3 ชั้น สีขาว” ที่ทำให้คำว่า “ธรรมดา”ไม่มีทางหลุดออกจากปากผู้ที่ได้พบเห็นเลย

DESIGNER DIRECTORY
ออกแบบ: Sook Architects

บ้านกล่อง 3 ชั้น สีขาว
บ้านสีขาวเหมือนกล่องสามใบมาวางซ้อนกันเรียบง่ายด้วยเส้นสายตรงไปตรงมา ใช้หลังคาทรงหน้าจั่วเพื่อสร้างรูปลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นบ้านที่อบอุ่น

บ้านกล่องสามชั้นหลังนี้ได้รับการออกแบบและก่อสร้าง บนที่ดินของคุณพ่อที่มอบให้คุณ คุณโอ – นันทพร ลีลายนกุลเชฟฝีมือดี และ คุณอาร์ต – ธีรยุทธ คงดี สำหรับสร้างเป็น เรือนหอเริ่มต้นชีวิตครอบครัว โดยมีบ้านของคุณพ่อคุณแม่ อยู่ในละแวกเดียวกัน ภายใต้การวางใจให้ SOOK Architects  ซึ่งเป็นเพื่อนกับน้องชายมาช่วยออกแบบบ้านหลังนี้ให้ เพื่อ ถ่ายทอดเรื่องราวของเจ้าของบ้าน รวมไปถึงการคิดฟังก์ชัน เผื่อถึงอนาคตให้กับ น้องอิ่มบุญ ลูกสาววัยกำลังน่ารักของ คุณโอและคุณอาร์ต

บ้านกล่อง สีขาว แบบห้องครัว
ชั้น 1 ของบ้านถือเป็นพื้นที่ SemiPublic เนื่องจากเป็นการรวมฟังก์ชันของห้องครัวและสตูดิโอทำอาหารในชั้นเดียว มีโถงหน้าบันไดทำหน้าที่แบ่งฟังก์ชันออกจากกัน แทนการกั้นด้วยพาร์ทิชันแบบปิดทึบ

แต่เนื่องจากพื้นที่เดิมเป็นหมู่บ้านจัดสรรเก่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ถนนหน้าบ้านจึงมีความกว้างเพียง 4.50 เมตร ทำให้พื้นที่ ในการก่อสร้างมีข้อจำกัดตามกฎหมายการก่อสร้างอาคาร เรื่องระยะร่น (โดยปกติต้องถอยร่นจากกึ่งกลางถนน 8 – 10เมตร) ทำให้ต้องสร้างบ้านเต็มพื้นที่เท่าที่กฎหมายจะอำนวย โดยไม่ลืมเพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าบ้านสำหรับใช้งานอเนกประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดปาร์ตี้แบบเอ๊าต์ดอร์หรือใช้จอดรถที่สามารถ จอดได้ถึง 4 คัน

erm_165_p100-114_rm-to-rm-03-16
เนื่องจากพื้นที่นี้มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมบ่อย จึงแก้ปัญหาด้วยการยกบ้านให้สูงขึ้นประมาณ1 เมตร นอกจากนี้พื้นที่ใต้ถุนบ้านยังช่วยระบายความชื้นได้ด้วย

ลำดับต่อมาที่สถาปนิกคำนึงถึงคือ การออกแบบฟังก์ชัน ภายในบ้านให้ตรงกับกิจกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตของ เจ้าของบ้านให้มากที่สุด โดยเลือกวางตำแหน่งพื้นที่ใช้งานหลัก อย่างพื้นที่ส่วนกลางและห้องนอนหลักไว้หน้าบ้านซึ่งเป็น ทิศเหนือ เหมาะสำหรับใช้ประโยชน์ได้ตลอดวัน อีกทั้ง เจ้าของบ้านยังเป็นเชฟทั้งคู่ ฉะนั้นห้องครัวจึงเป็นพื้นที่ที่ทั้ง สองคนให้ความสำคัญมากที่สุด เลือกไอส์แลนด์คิตเช่น เคาน์เตอร์ และซิงค์ต่าง ๆ ที่ทำจากสเตนเลส มีคุณสมบัติ ทนความร้อนสูง ทำความสะอาดง่าย และมีความทนทาน กว่าวัสดุอื่น แต่ห้องครัวขนาดใหญ่นั้นไม่ได้มีฟังก์ชันเพื่อให้เชฟทั้งสองคนแสดงฝีมือเท่านั้น แต่ยังเป็นห้องครัวหลักเพื่อ รองรับลูกศิษย์ของคุณโอที่สนใจเข้ามาเรียนทำอาหารที่สตูดิโอ ด้านหน้าของบ้านด้วย

แบบห้องครัว
ห้องครัวถือเป็นหัวใจของบ้าน เพราะเจ้าของบ้านเป็นเชฟทั้งคู่โดดเด่นด้วยไอส์แลนด์คิตเช่นขนาดใหญ่ สำหรับให้สมาชิกในครอบครัวมานั่งรับประทานอาหารร่วมกัน และเผื่อสำหรับน้องอิ่มบุญมารอชิมอาหารฝีมือคุณพ่อคุณแม่ในครัวด้วย
erm_165_p100-114_rm-to-rm-03-5
สตูดิโอสอนทำอาหารตกแต่งเรียบง่ายด้วยสีโทนสว่าง และมีโต๊ะขนาดใหญ่รองรับได้14 ที่นั่ง รวมถึงมีเคาน์เตอร์บาร์ที่นำมาติดเพิ่มเติม เป็นฟังก์ชันไว้นั่งดื่มกาแฟชมสวนหรือจะใช้รองรับนักเรียนที่มีเพิ่มขึ้นก็ได้

ส่วนพื้นที่บริเวณโถงบันไดรูปตัวยู (U) สถาปนิกตั้งใจ เปิดสเปซโถงบันไดนี้ให้สูงขึ้นไปถึงชั้นสาม เพื่อเชื่อมพื้นที่ ให้เกิดความต่อเนื่องไม่รู้สึกอึดอัด อีกทั้งยังใช้เป็นฟังก์ชัน ในการแบ่งพื้นที่ใช้งานได้ในตัว ส่วนพื้นที่ชั้น 2 และ 3 ได้รับการออกแบบให้เหมือนยูนิตขนาดเล็กในคอนโดมิเนียม ประกอบด้วย 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ 1 ห้องแต่งตัว และ 1 ห้องนั่งเล่น เพื่อความเป็นส่วนตัวสำหรับน้องอิ่มบุญใน อนาคต

erm_165_p100-114_rm-to-rm-03-11
ส่วนหนึ่งของห้องนั่งเล่น คุณโอได้แบ่งพื้นที่ไว้สำหรับให้น้องอิ่มบุญได้อ่านหนังสือ โดยเลือกเฟอร์นิเจอร์เป็นชุดโต๊ะญี่ปุ่นขนาดเล็กดูเรียบง่ายและอบอุ่นในคราวเดียว
untitled-3
โถงบันไดเป็นจุดศูนย์กลางในการสัญจรของบ้าน ช่วยให้สมาชิกสามารถเข้าถึงพื้นที่โดยไม่ต้องผ่านส่วนอื่นของบ้าน
erm_165_p100-114_rm-to-rm-03-7
สเปซที่เกิดจากการออกแบบโถงบันไดให้เปิดโล่ง นอกจากความสวยงามแล้ว ยังทำให้อากาศหมุนเวียนได้ดี
erm_165_p100-114_rm-to-rm-03-6
ความแข็งของเส้นตรงบริเวณโถงบันไดถูกลดทอนให้ดูนุ่มนวลขึ้นด้วยหน้าต่างแบบบานเปิดทรงโค้งมน
erm_165_p100-114_rm-to-rm-03-10
สถาปนิกให้ความสำคัญกับลำดับการใช้งานในแต่ละส่วน เห็นได้จากการออกแบบให้พื้นที่ชั้น 2 และ3 มีฟังก์ชันเหมือนคอนโดมิเนียมประกอบด้วยห้องนอน ห้องน้ำห้องแต่งตัว และพื้นที่ส่วนนั่งเล่น

การออกแบบภายในสถาปนิกเลือกใช้สีและองค์ประกอบ ทางสถาปัตยกรรมจากบริบทรอบ ๆ ในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น หลังคาทรงหน้าจั่วหรือการกรุผนังด้วยไม้สีครีมให้ความรู้สึก อบอุ่นกลมกลืน แถมยังช่วยให้บ้านสว่างไม่ทึบตัน หน้าต่าง บางส่วนเป็นบานเลื่อนใช้งานง่าย บ้างก็เป็นประตูขนาดสูงใหญ่ จากพื้นจรดฝ้าเพดาน ส่วนเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งเน้นทำจากไม้ เข้ากันดีกับโทนสีของบ้าน โดยมีกลิ่นอายสไตล์ ญี่ปุ่นและฝรั่งเศสตามที่คุณโอได้ซึมซับมาเมื่อครั้งไปเรียนต่อ

erm_165_p100-114_rm-to-rm-03-12
มุมมองจากชานพักบันไดชั้น 2 ไปสู่ชั้น 3เห็นได้ชัดว่าเส้นของราวกันตกนั้นทำให้สัดส่วนของบ้านดูเป็นงานกราฟิก มีเส้นสายชัดเจนตรงไปตรงมาตัดกับผนังสีขาวอย่างสวยงาม
erm_165_p100-114_rm-to-rm-03-15
ความพิเศษของชั้น 3 คือการมีฝ้าเพดานที่กรุไปตามทรงของหลังคาทรงจั่ว ช่วยให้สเปซของชั้นนี้ต่างจากชั้นอื่นที่เป็นเพียงห้องสี่เหลี่ยมธรรมดา

บ้านกล่องสามชั้นที่เราเปรียบเหมือน “ของดี” ที่พบเจอใน “เขาวงกต” ย่านซอยศูนย์วิจัยนั้นเข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน แต่ในความเรียบง่ายนั้นได้ผ่านกระบวนการคิดและวิเคราะห์ บริบทอย่างรอบคอบ กว่าจะออกมาเป็นบ้านที่ตอบโจทย์ ทั้งในเรื่องของฟังก์ชันการใช้งาน ความรู้สึกอบอุ่นอยู่สบาย ไปจนถึงการใส่ใจเพื่อนบ้านและชุมชน เหมือนอย่างที่เรา บอกตั้งแต่แรกแล้วว่า “ของดี” นั้นไม่มีทางที่จะได้มาโดยง่าย

4
ซ้าย พื้นที่ระเบียงชั้น 2 และ 3 เกิดจากการถอยร่นและใช้หลังคาของชั้นล่างมาเป็นพื้นระเบียง เพิ่มฟังก์ชันให้ราวกันตกเป็นกระบะปลูกต้นไม้แทนที่จะมีฟังก์ชันแค่อย่างเดียว ขวา เนื่องจากโครงสร้างของบ้านเป็นโครงสร้างเหล็ก (H-BEAM) เจ้าของบ้านจึงทำชั้นวางหนังสือเหล็กให้ยึดติดกับเสาโครงสร้างและทาสีขาวเพื่อให้ดูกลมกลืนกับพื้นที่อื่น ๆ ของบ้าน

เจ้าของ : คุณธีรยุทธ คงดี และ คุณนันทพร ลีลายนกุล
ออกแบบ : SOOK Architects  โทร. 0-2381-9791


เรื่อง Ektida N. ภาพ นันทิยา, Spaceshift Studio
สไตล์ ประไพวดี ภาพประกอบ คณาธิป

อ่านต่อ : 0.60 EXTREME NEATNESS