“เช้าวันใหม่ ตื่นนอนคล้าย ๆ กัน…เดินทางดั่งทุกวันเพื่อออกฝ่าฟัน ปัญหาความเป็นอยู่…”
ท่อนหนึ่งของเพลง “วันต่อวัน” โดย พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ บรรยายชีวิตของคนหาเช้ากินค่ำในเมืองกรุง ผู้มาสุดทางฝันและรำพันพอใจอยู่กับการ “มีชีวิตได้เจอคนรักคนเก่า ได้เดินบนถนนสายเก่า ขึ้นรถเมล์คันเก่า ได้เจอเพื่อนเก่า ๆ”
พงษ์สิทธิ์ไม่ได้ให้คำตอบว่าบุคคลในเพลงจะหลุดจากวงจร “เก่าๆ” นี้ได้อย่างไรแต่สิ่งที่น่าคิดคือ เป็นการยุติธรรมแล้วหรือไม่ที่ “เขา” (ในเพลงหรือใครก็ตาม) จะใช้ชีวิตได้แค่การดิ้นรนแบบ “เก่าๆ” อยู่ในเมืองเช่นนี้และอะไรกันแน่ที่เป็นกรงกักขังอิสรภาพไม่ให้โผบิน
ราว 200 ปีก่อน จำนวนประชากรโลกมีน้อยกว่าหนึ่งพันล้านคน ก่อนจะก้าวกระโดดขึ้นแตะ “หนึ่งพันล้านคน” เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จาก “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” หลังจากนั้นประชากรโลกก็เพิ่มขึ้นสู่สองพันล้านคน และพุ่งทะยานขึ้นอีกเท่าตัวในช่วงทศวรรษ 1960 - 1980 ซึ่งอัตราการเพิ่มนี้นับวันจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี สังคมแปรสภาพเป็นสังคมเมืองตามผู้คนที่เพิ่มขึ้น เมืองเริ่มประสบภาวะขาดแคลนที่อยู่อาศัย ตามมาด้วยปัญหาแหล่งที่อยู่เสื่อมโทรม ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นของปัญหาต่าง ๆ ทั้งมลภาวะ อาชญากรรม และสิ่งเสพติดที่ค่อย ๆ บานปลาย
ปัจจุบันประชากรโลกคาบเกี่ยวอยู่ที่ราว 7,500 ล้านคน กว่า 900 ล้านคนอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด และยังคาดการณ์กันว่า ในปี ค.ศ. 2025 อาจมีผู้คนจำนวนมากถึง 1,600 ล้านคนต้องอาศัยในชุมชนแออัดนี้ แม้จะแก้ปัญหากันมาโดยตลอด แต่ทุกประเทศต่างก็กำลังกังวลกับวิกฤตที่เรียกว่า “Global Housing Crisis” ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นจากชาติในโลกตะวันตก ซึ่งเป็นชาติแรก ๆ ที่ประสบปัญหานี้ โดยได้ดำเนินการแก้ไขเรื่องนี้มาอย่างยาวนานด้วยการย้ายคนออกจากเมืองแล้วสร้างที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ให้ “Public Housing” หรือ “Social Housing” เป็นนวัตกรรมที่พักอาศัยพร้อมอยู่ราคาถูกที่รัฐเป็นผู้จัดสวัสดิการให้แก่ประชาชน
กลไกดังกล่าวมีบทบาทช่วยแก้ปัญหาเมืองและสร้างสังคมเมืองทั่วโลกมายาวนาน แต่ในแง่หนึ่ง Public Housing ก็เป็นเรื่องของนโยบายที่ซับซ้อน กระทบกับคนหมู่มาก โดยเฉพาะหากนโยบายนั้นไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคม Public Housing ก็อาจกลายเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาเสียเอง
แต่ถ้ารัฐสามารถสร้างที่อยู่อาศัยที่สัมพันธ์กับความต้องการพื้นฐานอย่างการอยู่ใกล้ สถานรักษาพยาบาล สถานศึกษา แหล่งงานในเมือง หรือมีระบบขนส่งสาธารณะที่เข้าถึงง่าย กลุ่มคนผู้มีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยก็จะได้รับประโยชน์เต็มที่ ไม่เกิดการเรียกร้องหรือตอบโต้จนเกิดปัญหารุนแรงหรือปัญหาทางสังคมอื่น ๆ ตามมา
“เขา” ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตแบบ “เก่าๆ” เมื่อสวัสดิการรัฐได้มอบสถานที่พร้อมอยู่อันเป็นพื้นฐานของชีวิต ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น หรือแม้แต่มีอิสรภาพมากพอที่จะทำตามสิ่งที่รัก
และหลังทำนอง “…หวังแค่เพียงผ่านวันได้พ้นวัน…มีชีวิตถึงวันรุ่งเช้าตื่นนอนเหมือนกันอย่างวานซืน…” แว่วผ่านวิทยุวันนั้นก็อาจกลายเป็นวันใหม่ที่แตกต่างจากเดิมของ “เขา” และเราทุกคน
อ่านทั้งหมดของเรื่อง สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP1 : READY TO LIVE IN สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP2 : MADE IN WAR กำเนิดจากซากปรักหักพัง
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP3 : AFTER DISATERS ความหวังหลังภัยพิบัติ
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP4 : NEAVE BROWN สถาปนิกผู้บุกเบิก
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP5 : SUSTAINABILITY เคหะยั่งยืน
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP6 : COHOUSING ชุมชนรวมบ้าน
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP7 : GENTRIFICATION หรือคนจนไม่ควรอยู่ในเมือง
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP8 : LAST SHELTER ราคาของวาระสุดท้าย
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP9 : HOUSES FOR EVERYONE บ้านสำหรับทุกคน
เรื่อง : Monosoda, กรกฏา
TOTAL NEW LOOK! พบ room โฉมใหม่ฉบับราย 2เดือน ได้ 1 พ.ย. นี้ เล่มนี้ว่ากันด้วยเรื่องราว
Design Cases
– Residential : Riz Carlton Residences Bangkok ห้องพักหรูระฟ้าบนตึกมหานคร
– Bar : Soi 16 บาร์เปิดใหม่กลางเมืองพัทยา
– Restaurant : Nowhere ร้านอาหารสไตล์โมเดิร์นบนรู
Theme
– Design Documentary : สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวัน
– Special Scoop : 20 Best Design housing of 2017 รวมโครงการอยู่อาศัยที่เราว
Home
– TRIANGLE HOUSE เรื่องราวของรูปสามเหลี่ยมก
– READY-TO-PAINT CANVAS อิสระในการอยู่อาศัย เติมเต็มชีวิตให้บ้านไม่ต่า
– HUAMARK 09 บ้านมิกซ์ยูสรวมฟังก์ชันออฟ
Inspiration
Product
– Ong-Orn แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไม้ เข้าถึงตัวตนผู้ใช้ด้วยการผ
Material
– แนะนำพรมรุ่นใหม่จาก Express Carpet ตอบโจทย์ดีไซน์ที่หลากหลายข
Event
– Dyson Singapore Technology Centre ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีของไดสั
สอบถามสั่งซื้อนิตยสาร Room ได้ที่ช่องทางต่อไปนี้
1. ฝ่ายสมาชิกนิตยสาร Room: โทร 02-423-9889
2. ID Line : @naiinfanclub
3. Inbox FB : www.facebook.com/messages/
4. Website naiin.com : naiin.com/