House Archives - Page 5 of 25 - room

P30 House ความงามไร้กาลเวลากับ บ้านโมเดิร์น ที่สอดแทรกบรรยากาศทรอปิคัล

ข้อดีของภูมิอากาศแบบเขตร้อนชื้น (Tropical) นั้นทำให้ บ้านโมเดิร์น ที่ออกแบบในพื้นที่แถบนี้สามารถสร้างสรรค์พื้นที่ที่เปิดรับธรรมชาติ และอยู่กับสภาพอากาศได้อย่างดี ไม่เหมือนบ้านในเขตอื่น ๆของโลกที่อาจจะหนาวจนเกินไปจนต้องปิดตัวเองไว้ภายใน หรือร้อนจนต้องทำบังแดดปิดกั้นไม่สามารถใช้ชีวิตแบบ Semi-Outdoor ได้โดยสะดวก นี่คือความละเมียดละไมในงานออกแบบที่คิดคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการเลือกใช้วัสดุ ลักษณะพื้นที่ ให้มีจังหวะที่สอดคล้องไปกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว เกิดเป็นความหรูหราที่ไม่มีที่ใดเหมือน กับ P30 House โดย Normal Practice บ้านที่รุ่มรวยไปด้วยความรื่นรมบนนิยามแบบ Modern Tropical

MPS LOAF HAUS บ้านขนมปังเส้นสายโค้งมน ตอบโจทย์สมาชิกต่างวัย

mps Loaf Haus บ้านโมเดิร์นสีขาว ที่ผสานเส้นสายโค้งมนของสถาปัตยกรรมเข้ากับพื้นที่ใช้สอยภายใต้แปลนตัวยู (U) เพื่อถ่ายทอดตัวตนของเจ้าของบ้านได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อบ้านหลังเดิมที่อยู่กับคุณแม่มีสมาชิกเพิ่มขึ้น พื้นที่ใช้สอยเดิมจึงไม่เพียงพออีกต่อไป คุณอุ๊ก-ปณัฐสา ศิริโพธิ์พันธุ์กุล เจ้าของบ้านจึงตัดสินใจซื้อที่ดินในซอยเดียวกันเพื่อสร้างบ้านหลังใหม่ในฝันของตนเอง โดยมี คุณแพร-เหมือนแพร ฟูเกียรติสุทธิ์ ได้เข้ามาเป็นสมาชิก อาศัยในบ้านใหม่หลังเดียวกัน จนกลายมาเป็นโจทย์สำคัญของการออกแบบ เพื่อให้ทั้งคุณแม่ และสมาชิกในบ้านสามารถอยู่อาศัยในบ้านหลังเดียวกันได้อย่างอบอุ่น แต่ยังคงมีความเป็นส่วนตัว เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ของตนเองได้อย่างสะดวกใจไม่ขัดเขินกัน บ้านโมเดิร์นสีขาว หลังนี้เป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น สร้างใหม่ ขนาดพื้นที่ใช้สอยอยู่ที่ 231 ตร.ม. แปลนบ้านรูปตัวยู (U) เกิดจากความตั้งใจ ที่ต้องการแบ่งพื้นที่ใช้สอยระหว่างเจ้าของบ้าน และคุณแม่ โดยมีทีมสถาปนิกจาก RAD studios มาช่วยออกแบบจัดวางตำแหน่ง และขนาดของพื้นที่ใช้สอยให้ตรงความต้องการของสมาชิกทุกคนในบ้าน เนื่องด้วยขนาดที่ดินที่ค่อนข้างจำกัด จึงออกแบบขนาดพื้นที่ให้ได้มากที่สุดตามที่กฏหมายอาคารกำหนด ดังนั้นผนังบ้านรอบด้านยกเว้นด้านหน้าบ้านจึงเป็นผนังทึบ และเพื่อให้ภายในบ้านมีแสง และลมธรรมชาติเข้ามาได้อย่างพอเพียง สถาปนิกได้เว้นระยะระหว่างพื้นที่เพื่อให้เกิดเป็นระเบียงขนาดเล็กเพื่อดึงแสงและลมธรรมชาติเข้ามาในบ้าน  ในการออกแบบ กำหนดโซนอยู่อาศัยหลักของคุณแม่ไว้ด้านหนึ่งของพื้นที่ชั้น 1 มีลักษณะคล้ายห้องชุด 1 ยูนิตของคอนโด จัดเรียงพื้นที่ใช้สอยตามลำดับการเข้าถึง และความเป็นส่วนตัวให้กับคุณแม่ พร้อมใส่ใจในรายละเอียดสำหรับผู้สูงอายุ […]

HOLLY WATER CABIN บ้านเคบิน ไซซ์กะทัดรัดกลางทุ่งชนบท

Holly Water Cabin บ้านเคบิน หรือกระท่อมพักตากอากาศ ตั้งอยู่อย่างถ่อมตนและดูสงบงาม กลางทุ่งกสิกรรมขนาดกว้างขวาง บนเกาะเดวอน ประเทศอังกฤษ สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศในวันหยุด สำหรับเจ้าของบ้านที่อยากมารับกลิ่นอายและพลังงานบวกจากธรรมชาติรอบตัว บ้านเคบิน ชั้นเดียวกลางทุ่งสีเขียวดูสดชื่นนี้ เป็นผลงานการออกแบบของสตูดิโอสัญชาติอังกฤษ Out of the Valley กับโจทย์ของการสร้างบ้านขนาดเล็กที่ช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถอยู่ร่วมและดื่มด่ำกับธรรมชาติอันสวยงามของเกาะเดวอนได้เต็มที่ ด้านการออกแบบตัวบ้านหรือผนังภายในถูกเคลือบด้วยดินเหนียว ซึ่งช่วยระบายอากาศและควบคุมอุณหภูมิของบ้านได้อย่างดี ภายนอกห่อหุ้มด้วยไม้สนซีดาร์ซึ่งมาจากโรงงานในท้องถิ่น ตัวบ้านเป็นแบบยกพื้นเพื่อไม่ให้กระทบกับพื้นดิน หลังคาเป็นเพิงแหงนพร้อมชายคาที่กว้างขวาง ภายในบ้านเป็นพื้นที่แบบเปิดโล่ง มีมุมห้องครัวยาวขนาดตามแนวผนังด้านหนึ่งที่กรุด้านหลังด้วยไม้โอ๊ก มีห้องน้ำและเตียงนอนแสนสบายที่มองเห็นวิวทุ่งกว้าง ฐานเตียงออกแบบให้มีช่องลิ้นชักอยู่ข้างใต้สำหรับใช้เก็บของได้ ช่องเปิดของบ้านเป็นแบบประตูบานเลื่อนที่เปิดออกได้จนสุด ให้สามารถรับอากาศบริสุทธิ์และภูมิทัศน์ทุ่งเกษตรกรรมที่กว้างถึง 4.5 เอเคอร์ หรือจะออกมานอนแช่อ่างน้ำที่นอกชาน ฟังเสียงธรรมชาติ และดื่มด่ำกับวิวสีเขียวชอุ่มก็ชิลแบบสุด ๆ ออกแบบ : Out of the Valley (https://outofthevalley.co.uk/) ภาพ : Rupert McKelvie, Stephanie Osmond เรียบเรียง : Phattaraphon

REHABILITACION MEDIA AGUA บ้านชั้นเดียว กับไอเดียใช้ผนังร่วมกับกำแพงอิฐโชว์แนว

เปลี่ยนพื้นที่ว่างริมสวนให้เป็น บ้านชั้นเดียว ขนานไปกับแนวกำแพงอิฐโชว์ลาย ผลงานการออกแบบโดยสตูดิโอออกแบบสัญชาติเอกวาดอร์ El Sindicato Arquitectura กับการพยายามแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่พักอาศัยให้เพียงพอ โดยเฉพาะในครอบครัวขยายที่ต้องการมีที่พักอาศัยแบบเป็นส่วนตัว แต่แนวคิดการสร้าง บ้านชั้นเดียว ให้มีผนังร่วมกับกำแพงอิฐเดิมนี้ กลับไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่าย ๆ เพราะมีปัญหาให้ต้องแก้ไข เช่น ปัญหาเรื่องความชื้น จนนำมาสู่การเว้นระยะห่างเพื่อให้ผนังยังหายใจได้ การสร้างบ้านที่ต้องเว้นระยะห่างระหว่างแนวอิฐดั้งเดิม จึงถูกคั่นด้วยสวนขนาดเล็กที่ลงตัวและช่วยสร้างบรรยากาศให้บ้านดูสดชื่น หลังคาด้านบนเว้นช่องว่างตรงกับระยะห่างระหว่างกำแพงอิฐกับพื้นที่ภายในบ้าน กรุด้วยแผ่นโปร่งแสงเพื่อทำหน้าที่นำแสงสว่างให้ส่องลงมายังพื้นที่ด้านล่าง ทำให้เกิดเป็นเส้นสายของแสงเงา เมื่อตกกระทบกับคานหลังคาไม้ ก่อนทาบลงบนผิวกำแพงอิฐ โดยแสงเงาที่ปรากฏจะเปลี่ยนองศาไปตามแต่ละช่วงเวลาของวัน ขณะที่การวางแปลนตามยาวขนานกับกำแพง ผู้ออกแบบได้กำหนดให้ห้องน้ำเป็นแกนกลาง สำหรับแยกกิจกรรมต่าง ๆ ของบ้านตามลำดับการใช้งาน โดยแบ่งเป็นปีกขวาและซ้าย ฝั่งขวาจัดให้เป็นพื้นที่ของห้องครัว มุมรับประทานอาหาร และมุมนั่งเล่น เปิดวิวออกสู่ชานพักผ่อนสำหรับชมสวนหน้าบ้าน ส่วนฝั่งซ้ายคือห้องนอนที่มีความเป็นส่วนตัวอยู่ลึกเข้าไปด้านในสุด โครงสร้างและเฟอร์เนิเจอร์ส่วนใหญ่ทำจากไม้ทั้งหมด เพื่อให้ความรู้สึกที่อบอุ่น และเข้ากับวัสดุหลักอย่าง อิฐ พร้อมช่องเปิดขนาดใหญ่ ช่วยให้แสงสว่างและอากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นความสัมพันธ์ของพื้นที่ทั้งภายในกับธรรมชาติภายนอก เหมาะเป็นไอเดียสำหรับผู้กำลังมองหาแบบบ้านขนาดเล็ก ที่มีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนเติมเต็ม ให้ทั้งความเรียบง่ายและสะดวกสบาย เพียงพอกับการอยู่อาศัยของครอบครัวขนาดเล็ก ออกแบบ : El Sindicato Arquitectura (https://www.elsindicatoarquitectura.com/)ภาพ : […]

CASCADING HOUSE บ้านคอนกรีต หล่อพร้อมสวน 3 ระดับ

บ้านคอนกรีต ดีไซน์โมเดิร์นในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย กับการออกแบบบ้านเพื่อเอาชนะความลาดชันของที่ดิน พร้อมการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการอยู่อาศัย ด้วยแทรกพื้นที่สวนสำหรับพักผ่อนและนำพาแสง-ลมเข้าสู่บ้าน บ้านคอนกรีต กับการออกแบบบ้านตามระดับความลาดชันของที่ดิน ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับถนนหน้าบ้านลงไปถึง 5 เมตร ขณะที่ที่ดินของบ้านก็มีความแตกต่างกันถึง 3 เมตร แทนที่จะทำให้ตัวเองโดดเด่นจากไซต์ บ้านหลังนี้กลับเน้นการออกแบบให้กลมกลืนไปกับภูมิประเทศของไซต์ ด้วยการจัดเรียงพื้นที่ใช้งานของบ้านให้มีลักษณะแบบลดหลั่นกัน ที่นี่ได้รับการออกแบบมาให้สำหรับคู่รักหนุ่มสาวที่มีลูกเล็ก ๆ 2 คน พร้อมโจทย์ที่อยากให้บ้านมีความเรียบง่าย มีพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะกับการใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย หลังจากศึกษาไซต์เรียบร้อยแล้ว สถาปนิกจาก Tamara Wibowo Architects ได้แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วยพื้นที่ต้อนรับ และโรงรถซึ่งถูกวางไว้ที่ระดับสูงสุดของไซต์ แล้วจึงค่อยเป็นพื้นที่นั่งเล่น และรับประทานอาหารที่วางอยู่ตรงกลาง และระดับต่ำสุดคือ ตำแหน่งห้องนอน 4 ห้อง ที่จัดเป็น 2 ระดับ มวลอาคารทั้ง 3 ระดับจึงดูลดหลั่นกันลงมาตามไซต์ เรียกง่าย ๆ คือความสูงของมวลห้องนอนจึงเท่ากับมวลพื้นที่พักผ่อนของบ้านนั่นเอง แม้จะเป็นโครงสร้างคอนกรีตหนาหนัก แต่ก็ไม่ลืมออกแบบพื้นที่สีเขียวไว้ด้วย เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้หย่อนใจ และพักสายตาไปกับสวนที่แทรกอยู่ระหว่างมวลอาคารทั้ง 3 ระดับ เช่น […]