room Archives - Page 49 of 139 - room

มือถือจอพับ พับ พับ จาก OPPO ที่ออกแบบโดย nendo

มือถือจอพับ ที่ไม่ใช่จอพับธรรมดา แต่พับมาถึงหลายตลบ เพราะ slide-phone โดย Nendo เครื่องนี้ออกแบบมาให้สะดวกทั้งการพกและการใช้ เมื่อพับเก็บทั้งหมด ขนาดของโทรศัพท์จะเหลือเท่ากับขนาดของเครดิตการ์ดเท่านั้น(54 mm x 86 mm) จึงทำให้ความรู้สึกเมื่อพกพา slide-phone นั้นเหมือนกับการพกกล่องนามบัตรเท่านั้น การใช้งานนั้นสามารถประยุกต์ได้หลากหลาย ทั้งการเปิดหน้าจอบางส่วนแบบ 1/4 หรือ 3/4 ก็สามารถใช้ดูได้ทั้งสายโทรเข้า ข้อมูลการเดินทางหรือพยากรณ์อากาศ จนเมื่อพับจอเปิดออกทั้งหมดโทรศัพท์เครื่องนี้จะมีหน้าจอยาว 7 นิ้ว ในอัตราส่วน 3.5 : 1 เลยทีเดียว ซึ่งทำให้สามารถโทร Video Call พร้อมแบ่งหน้าจอไปเสิร์ชข้อมูล หรือ Share Screen ได้พร้อม ๆ กัน ในยุคที่เทคโนโลยีการพับจอ OLED นั้นเริ่มกลายเป็นของสามัญมากขึ้นในปัจจุบัน ก็ทำให้เราได้เห็นแนวทางใหม่ ๆ ในการออกแบบสมาร์ทโฟนที่สนุกและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น คิด ๆ ไปก็นึกถึงสมัยมือถือรุ่นปุ่มกดที่แต่ละค่ายนั้นขยันออกดีไซน์ใหม่ ๆ กันมาทุกปี และ slide-phone […]

นอนเต็นท์ กันได้ทุกวันด้วย “Jupe travel pods”

นอนเต็นท์ กิจกรรมยอมนิยมในพ.ศ.นี้ และถ้าจะอยู่แทนบ้านก็คงเหมือนพูดเป็นเล่น แต่เป็นไปได้จริงๆแล้วด้วย “Jupe travel pods” บ้านขนาดเล็กในแบบ Tiny House ที่ออกแบบมาเพื่อไลฟ์สไตล์แบบ Off Grid หรือการออกไปอยู่แบบไม่พึ่งพาระบบสาธารณูปโภค จะอยู่ถาวรก็ไม่ขัด หรือจะขนไปประกอบที่ไหนก็ได้ตามสบายเลย บรรยากาศ นอนเต็นท์ อ่าน : ไอเดียจัดมุมปิกนิกนั่งเล่นกลางแจ้งในสวนหลังบ้าน “Jupe travel pods” ออกแบบโดยทีมงานที่เคยทำงานกับ Airbnb Tesla และ Space X จึงแน่นอนว่าเจ้าเชลเตอร์สีขาวเรืองแสงทรงล้ำนี้ต้องไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน เพราะในแง่ของการออกแบบนั้น “Jupe travel pods” ได้ถูกวางเอาไว้เพื่อยกระดับและเป็นตัวเลือกของการท่องเที่ยวแบบ Glamping ที่ผสานการผจญภัย ความหรูหรา และบรรยากาศล้ำยุคเข้าไว้ด้วยกัน “เราก็แค่เปลี่ยนให้การนอนเต็นท์กลายเป็นไอเดียที่น่าตื่นใจและสร้างแรงบันดาลใจยิ่งขึ้น” Jeff Wilson หนึ่งในผู้ก่อตั้งของ Jupe กล่าว “ยังจำเจ้าแท่งปริศนาใน 2001: A Space Odyssey กันได้หรือไม่? มันได้ส่งสัญญาณไปยังดาวพฤหัสบดีจากดวงจันทร์ และเจ้าเชลเตอร์ของเราก็เหมือนถูกสร้างจากแบบร่างที่ส่งกลับมาจากดาวพฤหัสบดีนั่นเอง และนั่นคือวิธีที่เราสรรค์สร้าง […]

บ้านโมเดิร์น บ้านตากอากาศในเวียดนาม

รุ่งอรุณ ขุนเขา และดาดฟ้าที่ไร้เส้นกั้น กับบ้านตากอากาศในเวียดนาม

บ้านตากอากาศในเวียดนาม หลังบ้านติดภูเขา วิวหน้าบ้านหันสู่ทิศตะวันออก รับแสงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ นี่คือ Tam Dao Villa วิลล่าตากอากาศที่ตั้งอยู่ในเมือง Tam Dao ประเทศเวียดนาม โดย Tropical Space ด้วยรูปทรงที่เหลี่ยมง่าย เป็นกล่องด้านเท่าขนาด 22m x 22m เปิดพื้นที่กึ่งกลางขนาด 6.5m x 6.5 เมตร ซ้อนกันสามชั้น จึงทำให้บ้านหลังนี้ไม่เพียงเปิดมุมมองสู่ภายนอก แต่ยังเชื่อมโยงพื้นที่ภายในเข้าหากันได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะการเปิดรับแสงธรรมชาติเข้าสู่แต่ละส่วนของตัวบ้านอย่างพอดิบพอดี ผ่านการวางตัวแบบ Interlocking ของห้องต่างๆภายในบ้านที่หลบเยื้องให้ทุกห้องต่างได้รับ “บรรยากาศที่ดี” ถ้วนทั่วกัน เริ่มจากหน้าบ้าน สระว่ายน้ำที่ทอดยาว ไม่เพียงใช้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ แต่ยังช่วยสร้างอากาศเย็นให้พัดผ่านเข้าไปในตัวบ้านผ่านคอร์ตกลางที่เปิดโล่ง ทางเข้านั้นหลบตัวอยู่ด้านข้างของบ้านที่ต้องเดินผ่านแปลงผักรูปขั้นบันไดซึ่งทำหน้าที่เป็นบันไดขึ้นบ้าน ก่อนจะเปิดเข้าสู่พื้นที่ภายในที่คอร์ตกลาง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ไม่บดบังบริบทของเชิงเขาด้านหลังนั่นเอง พื้นที่ภายในนั้นมีชานและ Common Area ให้เลือกพักผ่อนได้หลากหลายเพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในการมาพักผ่อนตามสภาพอากาศแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม อาจจะนั่งริมชานในวันอากาศดี หรือจิบชาอุ่นๆในโถงด้านในสำหรับวันฝนพรำ ทั้งหมดล้วนแต่ถูกคิดเผื่อมาแล้วให้สมกับที่เป็นวิลล่าตากอากาศ สุดท้ายคือพื้นที่ดาดฟ้าที่ตั้งใจออกแบบให้เป็นพื้นที่สังสรรค์ในแบบ Wooden Deck Camp Ground สำหรับจัดปาร์ตี้สไตล์แคมปิ้ง หรือจะนั่งเล่นพักผ่อนในบรรยากาศเงียบสงบ ยามเช้าและยามเย็นก็เหมาะสม […]

บ้านอิฐ

P HOUSE บ้านอิฐดินเผา ที่เย็นสบายด้วยวัสดุและแนวคิดแบบยั่งยืน

โปรเจ็กต์การออกแบบ บ้านอิฐดินเผา ในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม พร้อมโจทย์การออกแบบที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน ผ่านการเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่นเดียวกับการออกแบบพื้นที่เพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต P House หรือ บ้านอิฐดินเผา หลังนี้ เป็นผลงานการออกแบบของ T H I A architecture ซึ่งมาพร้อมกับโจทย์ที่สร้างความท้าทายให้แก่สถาปนิกไม่น้อย เนื่องจากทำเลที่ตั้งมีความกว้างแค่เพียง 4.3 x 15 เมตร แถมยังถูกขนาบข้างด้วยอาคารเพื่อนบ้านและโรงงานเก่าทั้งสองด้าน ทำให้มีช่องเปิดมีอยู่แค่เฉพาะพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น การออกแบบจึงต้องเน้นย้ำเรื่องความปลอดโปร่งและแสงสว่างเป็นสำคัญ สถาปนิกจึงได้จัดการแก้ปัญหาทางกายภาพของที่ตั้ง ไปพร้อมกับการเน้นใช้วัสดุที่มีความยั่งยืน โดยส่วนใหญ่เป็นวัสดุทำมาจากธรรมชาติไร้การปรุงแต่ง เช่น อิฐ ไม้ และคอนกรีต ซึ่งสัมพันธ์กับธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ ช่วยให้บ้านมีทั้งความสวยงามและอยู่สบาย รูปลักษณ์ของอาคารมีจุดโดดเด่นคือ เปลือกอาคารอิฐดินเผาสีส้ม ที่ออกแบบให้มีระยะยื่นออกจากตัวบ้าน เพื่อไม่ให้แดดส่องเข้ามาถึงภายในบ้านโดยตรง อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นราวระเบียงและแผงกันแดดที่มีการจัดเรียงอิฐเป็นแพตเทิร์นง่าย ๆ โดยในวันอากาศดีสามารถเปิดผนังกระจกบานเลื่อนที่ซ้อนอยู่หลังระเบียงของแต่ละชั้นออกได้จนสุด เพื่อให้ลมพัดพานำความเย็นสบายและถ่ายเทความร้อน ขณะที่สีส้มของอิฐดูตัดกับใบไม้สีเขียวของพรรณไม้เลื้อยที่ห้อยระย้าลงมาจากระเบียงหลังคาเหนือพื้นที่จอดรถ ช่วยให้เกิดมุมมองที่สดชื่นสบายตา ลดความแข็งกระด้างจากวัสดุและอาคารทรงเหลี่ยมได้เป็นอย่างดี เมื่อเข้ามาภายในตัวบ้าน ชั้น 1 จะพบกับลานโล่งที่เชื่อมต่อกับคอร์ตสวนหลังบ้าน ก่อนจะขึ้นมาที่ชั้น 2 ชั้นนี้ประกอบด้วยมุมโซฟาสำหรับพักผ่อน โต๊ะรับประทานอาหาร […]

CHERNYI บาร์ที่ใช้แสงไฟในการดึงดูดใจคุณประหนึ่งเป็นแมงเม่าตัวน้อย

บาร์ CHERNYI ตั้งอยู่ยังจุดศูนย์กลางของเมืองคาร์คิฟ ประเทศยูเครน โดยวางตัวอยู่ในชั้นล่างของอาคารที่พักอาศัย โดยก่อนตัดสินใจรีโนเวตพื้นที่นี้ เจ้าของได้ทำการรื้อพาร์ทิชั่นเดิมออกทั้งหมด แล้วขยายช่องแสงด้วยการทลายหน้าต่างให้มีความสูงเพิ่มขึ้นจากพื้นจรดฝ้าเพดาน ก่อนจะแทนที่ด้วยกระจกสี รวมถึงทำประตูทางเข้าให้สามารถเข้าถึงได้จากถนนหลัก สำหรับความท้าทายในการรีโนเวตร้าน CHERNYI ครั้งนี้ นั่นก็คือโครงสร้างเสา 2 ต้น ที่ยังคงอยู่กลางพื้นที่ สถาปนิกจึงแบ่งการใช้งานทั้งหมดออกเป็นโซนเล็ก ๆ โดยแต่ละโซนจะมีฟังก์ชันที่ต่างกันออกไป โดยมีแนวคิดที่มาจากการสังเกตพฤติกรรมของแมงเม่าที่มักหลงเพริดไปกับแสงสี มาใช้ในการออกแบบพื้นที่ที่มีทั้งมืดและสว่างในการดึงดูดผู้คน “Chernyi” ถูกออกแบบสเปซให้มีแสงและเงาซึ่งเป็นที่มาของสีดำ สะดุดตาด้วยการเพิ่มพื้นผิวสะท้อนแสงเรียบลื่นในส่วนของเคาน์เตอร์เพื่อเสริมลุคให้ดูหรูหราและสร้างมิติที่หลากหลายลุ่มลึก โดยเท็กซ์เจอร์ที่เห็นเกิดจากความร่วมมือกับ TSEKH ในการสร้างผนังใหม่กับผิวสัมผัสทรายควอตซ์สีดำ ซึ่งเกิดจากการทดลองสัดส่วนระหว่างผนังทรายกับผนังแบบทาสี จนเกิดเป็นภาพในอุดมคติในที่สุด และเพื่อลดทอนความแข็งกระด้างของพื้นผิวทราย จึงได้เพิ่มสเตนเลสขัดเงาลงไป ซึ่งต้องใช้มืออาชีพและความชำนาญในการทำเป็นพิเศษ ทีมผู้ออกแบบจึงตัดสินใจสะท้อนความเป็นมืออาชีพในการชงกาแฟและค็อกเทลผ่านผิวสัมผัสนี้ เราจึงเห็นผิวสัมผัสดังกล่าวปรากฏอยู่บนทั้งพื้นผิวของเฟอร์นิเจอร์ ผนัง และฝ้าเพดาน เพื่อสร้างการสะท้อนที่น่าสนใจและมีเอกลักษณ์ โดยการทำฝ้าเพดานซ้อนอีกชั้นในระดับที่ต่ำลงมานั้น ก็ยังช่วยให้เกิดช่องว่างสำหรับใช้ซ่อนท่อระบายอากาศและหลอดไฟ ก่อให้เกิดเอ็ฟเฟ็กต์ดึงดูดใจให้หลงใหลเข้าไปกับแสงสีแบบไม่รู้ตัว ออกแบบ: Ponomarenko bureau ภาพ: Ivan Avdeenko photography เรียบเรียง: BRL ESCAPE BANGKOK เติมอารมณ์ให้สายปาร์ตี้ไปกับบีชบาร์สไตล์บาหลี CACTUS BANGKOK […]

โฮมออฟฟิศ

NATURA BUILDING อาคารมิกซ์ยูสที่ดึงธรรมชาติเข้ามาช่วยสร้างสรรค์พื้นที่ชีวิต

อาคาร NATURA Building ของกลุ่มสถาปนิก  Diez+Muller Arquitectos จากประเทศเอกวาดอร์ เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์อาคารสำนักงานแบบมิกซ์ยูสที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างสิ่งแวดล้อม เพื่อการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพนักงาน ออกแบบสถาปัตยกรรม: Diez+Muller Arquitectos ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม : Clemencia Echavarria ที่ตั้งของอาคาร Natura Building นั้น อยู่ห่างจากกีโต เมืองหลวง เป็นระยะทาง 24 กิโลเมตร และเป็นพื้นที่ที่กำลังพัฒนาเป็นแถบที่อยู่อาศัย โจทย์ทางบริบทที่สำคัญของอาคารแห่งนี้จึงอยู่ที่สภาพภูมิอากาศแบบพิเศษอันเนื่องมาจากพื้นที่ตั้งที่อยู่ในเขตภาคพื้นดินที่เป็นภูเขาซึ่งมีระดับต่ำกว่าตัวเมือง และรูปแบบการใช้ชีวิตที่ต้องเดินทางจากบ้านมาถึงที่ทำงาน ซึ่งมีความยากทั้งในเรื่องระยะทาง รูปแบบการเดินทาง มลภาวะ จำนวนผู้คนในชุมชนขยาย ซึ่งส่งผลไปสู่การขาดแคลนบริการที่จำเป็น โจทย์จึงอยู่ที่การทำให้อาคารแห่งนี้เป็นทั้งบ้านและที่ทำงานในพื้นที่เดียวกัน รวมทั้งข้อสำคัญคือ ต้องใกล้ชิดธรรมชาติ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเมือง จากสภาพแวดล้อมของผืนที่ดินเดิมอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณดั้งเดิมของพื้นที่ที่อยู่มาหลายทศวรรษ ตัวอาคาร 3 ชั้น ขนาด 2,500 ตารางเมตร แห่งนี้ จึงพยายามออกแบบให้กลมกลืนกับบรรยากาศของพื้นที่เดิม ให้ความเคารพกับต้นไม้เดิมในพื้นที่ และยังมองไปเผื่ออนาคตหากมีเพื่อนบ้านรายล้อมด้วยการใช้อาคารเป็นตัวกำหนดขอบเขตอย่างชัดเจนให้กับที่ดิน บริบทอีกประการที่สำคัญของผืนที่ดินคือ ระดับของที่ดินแบบสโลปตามแนวยาวของรูปแบบที่ดิน ตัวอาคารจึงเล่นระดับตามธรรมชาติของพื้นที่ นัยหนึ่งเพื่อรักษาความเป็นธรรมชาติของพรรณไม้เก่าแก่ ไปพร้อมกับการสร้างประสบการณ์การใช้พื้นที่ภายในอาคารที่แตกต่างจากปกติ ส่วนหน้าสุดของอาคารเปิดต้อนรับด้วยบันไดและฟาซาดระนาบแนวนอน ทำหน้าที่ต้อนรับผู้คนเข้าไปสู่พื้นที่ภายในอาคารส่วนแรกซึ่งเป็นลานกว้าง ทำหน้าที่เป็นส่วนกลางเชื่อมต่อทุกพื้นที่ของอาคารเข้าไว้ด้วยกัน […]

GOOSE LIVING บูติกโฮเทลสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัลในตึกแถวเก่า

จากโมเมนต์ประทับใจในสวนสาธารณะกลางมหานครนิวยอร์กสู่บูติกโฮเทลสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัลใจกลางเมือง GOOSE living โรงแรมและคาเฟ่ในตึกแถวเก่าย่านสุขุมวิท คือผลลัพธ์จากการตีความการพักผ่อนรูปแบบใหม่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “living a goose life… wild, fresh and free.”  หลังจากจบการศึกษาด้านการทำอาหารที่นิวยอร์ก คุณสราภา เวชภัทรสิริ กลับมาพร้อมกับความทรงจำ และโมเมนต์สุดประทับใจ เพื่อเริ่มต้นต่อยอดความฝันในการสร้างสรรค์ร้านอาหารและโรงแรมใจกลางกรุง  ด้วยเหตุนี้ อาคารพาณิชย์ 2 คูหาเก่าแก่ของครอบครัวย่านพระโขนงอายุกว่า 40 ปี แห่งนี้ จึงได้รับการแปลงโฉมให้กลายเป็นทั้งบูติกโฮเทล และร้านอาหาร ภายใต้แนวคิดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากวิถีชีวิตของ ‘goose’ หรือ ‘ห่าน’ ที่อาศัยท่ามกลางธรรมชาติอย่างเรียบง่ายและรักอิสระ ซึ่งเป็นความประทับใจที่คุณสราภาได้พบเห็นระหว่างเดินเล่นในสวนสาธารณะกลางนิวยอร์ก GOOSE living จึงเชิญชวนทุกคนมาใช้ชีวิตในไลฟ์สไตล์ที่เรียบง่าย ยืดหยุ่น หากแต่แฝงไปด้วยมุมมองที่กล้าจะทดลองประสบการณ์ใหม่ โครงการนี้ได้ทีมสถาปนิกจาก SIM STUDIO มารับหน้าที่ชุบชีวิตตึกแถวเก่า 5 ชั้น แห่งนี้ ให้กลับมาสร้างชีวิตชีวาให้ย่านสุขุมวิท 71 อีกครั้ง พื้นที่ใช้สอยขนาด 900 ตารางเมตร ประกอบด้วยพื้นที่คาเฟ่บนชั้นล่าง ห้องพัก 20 ห้อง และบาร์บนชั้นดาดฟ้า พื้นที่ภายในออกแบบผ่านการตีความจากที่อยู่อาศัยของฝูงห่าน […]

เอฟ.วี คาเฟ่กึ่งแกลเลอรี่ย่านทรงวาด ที่มีเรือนไทยอีสานกลางตึกแถว

เอฟ.วี (F.V) ตั้งอยู่ในตึกแถวย่านทรงวาด ที่นี่คือคาเฟ่กึ่งแกลเลอรี่ที่ไม่ลับแต่ซับซ้อนและน่าค้นหามากที่สุดแห่งหนึ่งในย่านนี้ ด้วยแนวความคิดที่จะพัฒนาต่อยอด “สิ่งที่ไม่มีใครต้องการหรือมองข้าม” อย่างทรัพยากรจากผืนดิน น้ำ หรือพืชพรรณธัญญาหารของไทย เพื่อสร้างสรรค์ความเป็นไปได้ใหม่ พร้อมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน . แนวคิดการก่อตั้ง เอฟ.วี เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2559 หรือในช่วงหลังการเสด็จสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้คุณโอภาส จันทร์คำ เจ้าของโครงการต้องการที่จะสานต่อความดี และทำให้ที่นี่กลายเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาความยั่งยืนให้เเก่ประเทศไทย จากความตั้งใจนี้ได้รับการส่งต่อให้กับทีมบริหารโครงการที่หวนกลับไปพิจารณาถึงทรัพยากรอันล้ำค่าในบ้านเรา นั่นก็คือดิน น้ำ และพืชพรรณธัญญาหารทั้งหลาย ที่แม้จะสำคัญมากขนาดไหน แต่ทรัพยากรเหล่านี้กลับถูกเพิกเฉยด้านการให้คุณค่า จึงเป็นที่มาของแนวคิดการออกแบบ “UNWANTED” ที่พยายามดึงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่มีใครต้องการกลับมาสร้างคุณค่าให้กับตัวเองและชุมชนต่อไป F.V หรือ Fruit and Vegetable คือชื่อของร้านที่ต้องการแสดงถึงความตรงไปตรงมาเพื่อสื่อถึงผลิตภัณฑ์ผ่านการตั้งใจเลือกสรรพืชพรรณต่าง ๆ ที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งผัก และผลไม้ที่หาได้ทั่วไปตามฤดูกาลมาสร้างคุณค่า และความหมายในรูปแบบที่ตอบโจทย์ ไลฟ์สไตล์ผู้คนยุคปัจจุบัน ผ่านการวิจัยอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้สัดส่วนของส่วนประกอบที่มีประโยชน์ต่อร่างกายลูกค้า โดยมีเมนูยอดฮิตอย่างชาไมยราบ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้หลับสบาย และมะกรูดเชื่อม สมุนไพรขึ้นชื่อของไทยที่มีกลิ่นหอมชวนผ่อนคลาย นอกจาก 2 เมนูนี้เเล้วยังมีเครื่องดื่ม […]

เพ้นต์เฮ้าส์สไตล์อินดัสเทรียลของหนุ่มโสด เพิ่มเติมลูกเล่นสนุก ๆ แนวไซไฟ

ดึงแพสชั่นของหนุ่มโสดอารมณ์ติสต์ มาสะท้อนผ่านการออกแบบเพ้นต์เฮ้าส์ส่วนตัวให้มีบรรยากาศดิบเท่ สไตล์อินดัสเทรียล ที่แอบแทรกดีเทลสนุก ๆ สุดโฉบเฉี่ยว ชวนให้นึกถึงยานอวกาศ Ecopark Penthouse ห้องพักหรูขนาด 180 ตารางเมตร บนชั้น 33 ของคอนโดมิเนียมสูงระฟ้าในเวียดนาม บอกเล่าไลฟ์สไตล์ของชายหนุ่มผู้เป็นเจ้าของ ผ่านการตกแต่ง สไตล์อินดัสเทรียล สุดเท่ที่ถูกฉาบไล้ไปทั่วทุกอณู เพิ่มความไม่ธรรมดาด้วยดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ชวนให้นึกถึงหนังแนวไซไฟ ร่วมด้วยของสะสมที่บ่งบอกความสนใจและกิจกรรมตามแบบฉบับของชายหนุ่ม ซึ่งกลายมาป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบตกแต่งห้องพักแห่งนี้ให้น่าอยู่ และพรั่งพร้อมด้วยฟังก์ชันการใช้งานไม่ต่างจากบ้านหลังใหญ่ ๆ ด้วยความที่เจ้าของเป็นคนที่ชื่นชอบงานศิลปะ เขาจึงต้องการที่พักที่มีบรรยากาศเหมือนสตูดิโอที่ประดับตกแต่งด้วยเหล่างานศิลป์ และสิ่งของที่บอกเล่าไลฟ์สไตล์ความชื่นชอบของตนเอง Lê house สตูดิโอผู้ออกแบบ จึงจับสไตล์อินดัสเทรียลที่เน้นพื้นผิวของวัสดุดิบเท่อย่าง ผนังคอนกรีต อิฐ และเหล็กที่เป็นสนิม มาผสานเข้ากับดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ดูโมเดิร์นทันสมัยแนวมิลเลนเนียม หรืออวกาศล้ำ ๆ เช่น ของใช้ที่มีพื้นผิวมันวาวจากสเตนเลส ขาโต๊ะดีไซน์โฉบเฉี่ยวเหมือนขายานอวกาศ(ในจินตนาการ) ฯลฯ ภายใต้สเปซโปร่งโล่ง ไม่อึดอัด เนื่องจากห้องมีระดับฝ้าเพดานที่สูง สถาปนิกจึงสามารถออกแบบพื้นที่ใช้สอยได้เป็น 2 ส่วน คือ ชั้นล่าง […]

สนทนากับ รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร ถึงเรื่อง ‘อาคารเขียว’ จากเทรนด์สู่วิถีชีวิตยุคใหม่

อาคารเขียว ไม่ใช่ เทรนด์หรือแนวโน้มความนิยมด้านการออกแบบมากมาย ที่มาแล้วก็ผ่านไปแต่คือแนวคิด ‘เทคโนโลยีอาคาร’ ที่มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน รวมถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแรงผลักดันให้เราทุกคนต้องหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้อย่างจริงจัง room ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการผู้จัดการบริษัท แอฟริคัส จำกัด ( Africvs )มาร่วมพูดคุยให้ความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางอันเหมาะสมในการประยุกต์เรื่องอาคารเขียวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน “ความสุขในการทำงานของเราคือการอยู่แวดล้อมด้วยคนที่มีความเข้าใจในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ก่อนคิดว่าต้องทำอะไรยิ่งใหญ่แบบก้าวกระโดด แต่ถึงตอนนี้เรารู้ว่าต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถึงจะช่วยเปลี่ยนโลกได้ ถ้าเราใจร้อน ไม่มีความสุข เราทำงานตรงนี้ไม่ได้” จุดเริ่มต้นความสนใจใน ‘อาคารเขียว’ “จริง ๆ เรื่องของการประหยัดพลังงานมีมานานแล้ว สมัยผมจบปริญญาตรีแล้วมาทำงานสถาปัตย์ฯ ตอนนั้นเรารู้สึกว่าทำไมเราถึงไม่มีการเรียนการสอนเรื่องพวกนี้เลย แต่ว่าในระดับการศึกษาเดียวกันในต่างประเทศ เขามีการพูดถึงเรื่องการประหยัดพลังงานไปไกลแล้ว เลยตัดสินใจไปเรียนต่อที่อเมริกาทางด้านเทคโนโลยีอาคาร แล้วรู้สึกว่าเปิดมุมมองใหม่ให้เรามาก หลังจากเรียนจบทางด้านนั้นมา ผมก็เรียนต่อปริญญาเอกด้านอาคารสิ่งแวดล้อม ที่อเมริกาหรือในยุโรปเขาศึกษากันเรื่องของอาคารเขียว ซึ่งมาจากเรื่องของการประหยัดพลังงาน เรื่อยมาจนถึงเรื่องการประหยัดวัสดุ และการรักษาสภาพแวดล้อม ระหว่างนั้นก็ได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวกับอาคารเขียวตอนอยู่ที่อเมริกาเพราะเรียนปริญญาเอกอยู่ที่นั่น 5 ปี มีเรื่องของการเข้าไปตรวจวัดประสิทธิภาพ การประเมินอาคาร แล้วมีระบบเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวพ่วงเข้ามา พอเรียนจบผมก็กลับมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ประจวบเหมาะกับว่ามีการประกวดแบบอาคารของปตท. ซึ่งเขาเขียนไว้ว่าต้องเป็นอาคารเขียว ตอนนั้นสถาปนิกบ้านเรายังไม่ค่อยรู้ว่ามันคืออะไร […]