ศิลปะ Archives - room

Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) เปลี่ยนพื้นที่รกร้าง เป็นสถานแห่งงานศิลป์แบบเต็มพิกัด!

หอศิลป์เปิดใหม่! รีโนเวทจากอาคาร โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ที่ใครต่อใครต่างรู้จักกันดีในย่านเยาวราช ซอยนานา (ถ้าไม่คุ้นก็ดรุณศึกษาที่เราเคยอ่านกันนั่นไง) วันนี้ ตึกเก่าอายุกว่า 60 ปี ทั้ง 3 หลังจะได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นพื้นที่สุดพิเศษสำหรับการจัดแสดงงานศิลปะ และอีเวนต์ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายในอนาคต ในนาม Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) โดยผู้ขับเคลื่อนโปรเจ็กต์นี้ก็คือคุณ มาริษา เจียรวนนท์ ผู้อยู่เบื้องหลังโปรเจ็กต์ศิลปะมากมาย เช่น การพา “เจ๊ไฝ” ไปแสดงศิลปะการทำอาหารในต่างประเทศ แผนขั้นสมบูรณ์ของ Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) นั้นจะกลายเป็นพื้นที่ศิลปะขนาดหลายพันตารางเมตร โดยมีงานศิลปะใหญ่ 4 ครั้งต่อปี มีสเตฟาโน ราโบลลี แพนเซรา อดีตผู้อำนวยการแกลเลอรี Hauser & Wirth จากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มาเป็นภัณฑารักษ์ แม้ว่าโครงการทั้งหมดยังไม่แล้วเสร็จ แต่วันนี้ทุก ๆ คนก็สามารถแวะไปชมนิทรรศการพิเศษที่ชั้นล่างของอาคารได้แล้วกับงานแรกนี้ Nine Plus Five โดยศิลปินมิเชล โอแดร์ […]

ถอดบทเรียน 10 ข้อจากเสวนา BACC circle หัวข้อ “20 ปีแห่งการเดินทาง การสร้างเขตวัฒนธรรมเกาลูนตะวันตก  WEST KOWLOON ให้อะไร?” ต่อคุณและวงการศิลปะไทย

West Kowloon Cultural District Authority พื้นที่สำหรับประชาชน และความเป็นไปได้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะ ในการที่ศิลปินท้องถิ่นจะไม่ถูกทอดทิ้ง และการขยับเข้าสู่ระดับโลกคือสิ่งเป็นไปได้ นี่คือ 10 บทเรียนที่ คุณเบอร์นาร์ด ชาญวุฒ ชาญ รองประธานและคณะกรรมการของ West Kowloon Cultural District Authority พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศิลป์และประธานบริหาร บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ มาร่วมถ่ายทอดให้เราฟัง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 นอกจากการพูดคุยที่สนุกสนาน คุณเบอร์นาร์ด ชาญวุฒ ชาญ รองประธานและคณะกรรมการของ West Kowloon Cultural District Authority พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศิลป์และประธานบริหาร […]

COLLECTIVE by Cloud 11 เทศกาลศิลปะวัฒนธรรม ตึกเก่าร่วมสมัย งานศิลป์ เวทีใหม่ของนักสร้างสรรค์ ณ South Sukhumvit

COLLECTIVE by Cloud 11 ครีเอเตอร์เฟสติวัล ครั้งแรก! ที่รวมงานนิทรรศการ ดนตรี ทอล์ค และเหล่าครีเอเตอร์กว่า 50 ชีวิต ลงทะเบียนเข้าชมงาน: https://bit.ly/COLLECTIVE2023 COLLECTIVE by Cloud 11 งานครีเอเตอร์เฟสติวัลครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดขึ้นโดย Cloud 11 ฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยมีเป้าหมายให้เป็นงานที่รวบรวมกลุ่มครีเอเตอร์ที่ต้องการสร้างสรรค์ผลงานและคอนเทนต์รูปแบบใหม่ๆ จากการการดำเนินงานร่วมกัน (Synergy) ความร่วมมือ (Collaboration) และการแบ่งปัน (Sharing) ทักษะ ความรู้ และความสามารถเฉพาะตัวของครีเอเตอร์แต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ การออกแบบ วัฒนธรรม ความคิด นวัตกรรม ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์อันน่าทึ่งเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ Cloud 11 ที่มีแนวคิด “Empowering Creators” ติดปีกคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ผ่านความตั้งใจที่จะเป็นฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่มีระบบนิเวศการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ครบถ้วน และเปิดเวทีแสดงออกให้เหล่านักสร้างสรรค์และคนรุ่นใหม่ได้จุดประกายแรงบันดาลใจ สนับสนุนการทำงานข้ามอุตสาหกรรม และสะท้อนศิลปะวัฒนธรรมของครีเอเตอร์ไทยผ่านงานนี้ ภาพ และเรียบเรียง: Wuthikorn Sut

นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul เสียงจากที่ไกล เสียงจากหัวใจที่ต้องการเพียง “สื่อสารกัน” ณ BACC

ฉับพลันที่เดินเข้ามาในห้องจัดแสดงของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร(BACC) ความวุ่นวายของแยกปทุมวันก็มลายหายไปทันใดที่ปิดประตู คงเหลือแต่สรรพเสียงที่เราไม่คุ้นชิน เสียงของธรรมชาติที่คล้ายแว่วมาจากที่ไกล เสียงของ “ชีวิต” ที่กำลังถูกใช้ในบริบทที่ไม่ใช่เมือง อาจจะเป็นป่าในภูเขาสักที่ เสียงที่กำลัง “พูด” ด้วยภาษาที่เราไม่คุ้นเคย “เสียง” ที่รับรู้ได้ แม้ไม่เข้าใจความหมาย แต่กลับสื่อสารกันเข้าใจ นี่คือ นิทรรศการที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในชื่อว่า “นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul” โดยความร่วมมือระหว่าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกลุ่มศิลปิน Hear&Found, ศุภชัย เกศการุณกุล และ DuckUnit ซึ่งในวันนี้ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณ ฟ้า กัณหรัตน์ เลี่ยมทอง หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม และ ภัณฑารักษ์ (Curator) ของนิทรรศการในครั้งนี้ รวมทั้งศิลปินที่มาร่วมจัดแสดงทั้งสามกลุ่ม ถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่แฝงอยู่ใน “เสียง” ที่พวกเขาเลือกนำมาจัดแสดง นำเสนอประเด็นปัญหาผ่านภาษาศิลปะ “ประเด็นด้านความเหลื่อมล้ำ เป็นความสนใจของตัวฟ้าเองอยู่แล้ว นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งใจสร้างให้เกิดเป็นนิทรรศการนี้ขึ้น แต่ในนิทรรศการนี้จะเลือกใช้ “เสียง” เป็นสิ่งแทนของผู้คนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มันเป็นสิ่งที่เรานึกถึงเมื่อต้องนำมาผูกโยงกับคำว่า […]

OUR MOMENT IN MINE  ด้วยจังหวะและความบังเอิญ

OUR MOMENT IN MINE คือนิทรรศการภาพถ่ายเพื่อแบ่งปันความทรงจำของช่วงเวลาที่ไกลบ้านและความต่างของวัฒนธรรมและตะวันตกตลอดช่วงเวลา2-3ปีที่ผ่านมาของศิลปิน ผู้มาชมไม่เพียงได้เสพสุนทรียะจากภาพถ่ายที่น่าสนใจแต่หากสังเกตุทั้งการจัดวางและเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในนิทรรศการ อาจได้พบความหมายของการดูภาพและการเก็บภาพเป็นของตัวเองเป็นที่ระลึก และด้วยความไม่จงใจและเป็นอิสระจากกฎขณะที่ถ่ายภาพนั้น จิรันธนิน เธียรพัฒนพล หรือ “กัสจัง” ยูทูปเบอร์ นักศึกษา และช่างภาพอิสระวัย 18 ปี จึงผลงานคว้ารางวัล Gold Key จากงานประกวดภาพถ่ายเวที Scholastic Art & Writing Awards 2022 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา องค์ประกอบสำคัญคือการเชื่อมโยงรายละเอียดที่อยู่ภายใน “ก่อนอื่นผมต้องอธิบายก่อนว่าทำไมไตเติ้ลมันต้องเป็น Our Moment in Mine” กัสจังเล่าขณะที่ชี้ชวนให้เรามองไปยังมุมต่างๆของแกลลอรี่ “มันมีphaseภาษาอังกฤษอันนึงที่พูดว่า Moment in Time(ชั่วขณะหนึ่ง) ผมชอบวลีนี้มากเลยนะ ยิ่งพอมารวมกับ our(เรา) แล้วเปลี่ยนคำลงท้ายเล่นคำว่า time ให้เป็น mine(ของฉัน) มันเหมือน เราที่หมายถึงตัวผม และเราที่เป็นคนดูได้แชร์เรื่องราวเดียวกันอยู่ในชั่วเวลาหนึ่งครับ แล้วเรื่องราวนั้นมันก็ถูกรวบรวมเข้ามาไว้ในนิทรรศการนี้” “อย่างรูปตรงมุมโน้นคือรูปสถานีรถไฟใต้ดิน เป็นเรื่องการเดินทางของตะวันตก ส่วนฝั่งตรงข้ามกันผมตั้งใจวางรูปคนปั่นจักรยานในกรุงเทพไว้ ถ้าเรามายืนอยู่ตรงที่ว่างตรงกลางของสองภาพ […]

ANXIETY STORAGE รสชาติปะแล่มของงานศิลป์ที่ตั้งอยู่บนความวิตก

Anxiety Storage หรือ รุ้ง-นภัสกร นิกรแสน นักออกแบบที่ผันตัวมาสร้างงานศิลปะในแบบที่ตัวเองคิดว่า “นี่แหละ…ฟิน” งานของรุ้งในคอลเล็กชั่นขนาดยาวนามว่า “Error Object” คือเหล่าอุปกรณ์ของใช้ใกล้ตัวในแบบที่ใครเห็นต้องขมวดคิ้ว ร่มที่กันฝนไม่ได้ มีดที่ด้ามเป็นคม หรือไดร์เป่าผมที่พ่นควันออกมาแทนลมร้อน ด้วยสไตล์กราฟิกเรียบเกลี้ยง ผลงานเหล่านี้กระตุกต่อมวิตกในแต่ละคนต่างกัน แต่นั่นคือการตั้งคำถามกับระบบที่ไหลลื่น สร้างจุดสะดุดเปลี่ยนกับคำถามว่า “อย่างนี้ก็ได้หรือ?” เผื่อความแตกต่างเหล่านี้ จะเป็นอีกรสชาติที่เราไม่เคยรู้มาก่อน “เพราะโลกอาจต้องการความไม่สมประกอบเสียบ้าง” รุ้งตั้งคำถามกับตัวเองจากการเลี้ยงแมลงในกล่องกระดาษและเริ่มคิดว่าจักรวาลนี้ช่างดูสมบูรณ์ ลื่นไหล และเป็นไปอย่างลงตัวเสียเหลือเกิน แบบนั้นมันง่ายดายเกินไป เรียบลื่นเกินไป ภารกิจการลุกขึ้นมาสร้างจุดบกพร่องให้กับโลกใบนี้จึงเกิดขึ้น เราทุกคนต่างเป็นมดตัวเล็ก ๆ ในจักรวาลอันสมบูรณ์แบบ “ถ้าถามว่าที่มาของ Error Object และ Anxiety Storage เริ่มต้นมายังไง รุ้งอาจต้องเท้าความกลับไปไกลสักหน่อย คือเราเป็นคนชอบตั้งคำถามกับ Human Being และการมีอยู่ของจักรวาล เราสงสัยมากว่าทำไมทุกสิ่งทุกอย่างถึงได้ลงตัวขนาดนี้ ความเป็นไปของชีวิตที่สอดคล้องเข้าด้วยกัน ทำไมถึงไม่มี Bug หรือ Error ใด ๆ เลย ใครเป็นคนสร้างขึ้นมานะ มันมีคนสร้างรึเปล่า หรืออยู่ดี […]

สีสัน เส้นสาย และความหมายที่ซ่อนอยู่ ของ Naisu.chirat

Naisu.chirat นักวาดภาพประกอบและศิลปินที่มีลายเส้นเฉพาะตัว ลายเส้นที่เป็นอิสระจากรูปแบบ และกรอบความคิดใดๆ เพราะเธอเชื่อว่า ศิลปะที่แท้คืออิสระภาพที่บุคคลหนึ่งๆนั้นจะได้แสดงออก ศิลปะคือเรื่องของภายในที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ ความรู้สึก จินตนาการ และประสบการณ์ทั้งจากตัวเองและการที่ได้แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งนั่นเป็นที่มาของเส้นสายและสีสันแบบ Impressionism ที่น่าสนใจอย่างที่เห็น ซึ่งวันนี้ room ได้รับเกียรติจาก Naisu.Chirat หรือ คุณไนซ์ ปริยนาถ จิรัฐฐิติกาล มาพูดคุยถึงแนวคิด และที่มาของสไตล์งาน รวมถึงเกร็ดการทำงานอันน่าสนใจ ที่จะเป็นอย่างไรนั้น ก็ต้องขอให้ทุกคนลองไปอ่านดูพร้อมๆกัน กว่าจะมาเป็น Naisu.chirat “เราวาดรูปมาตลอดเลย” คุณไนซ์เริ่มต้นเล่าให้เราฟัง “ตั้งแต่จับดินสอได้ก็วาดรูปมาตลอด เราชอบการ์ตูนญี่ปุ่นและโชคดีที่ทางบ้านก็ไม่ได้ว่าอะไร เค้าไม่ได้มีกรอบมาว่าต้องทำอย่างนั้น หรืออย่างนี้ และเพราะอย่างนี้ ทุกๆเวลาว่างตลอดมาของเราก็จะกลายเป็นเวลาของการวาดรูปไปซะหมดเลย” “แต่ในทางตรงกันข้าม เราก็มีคำถามเหมือนกันเมื่อเป็นผลงานที่มีคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเรื่องนึงในความทรงจำก็คือการที่ไนซ์วาดชุดนักเรียนสีดำไปส่งงานคุณครูตอนเด็กๆ คุณครูก็บอกว่าจะให้ดาวเพิ่มนะ ถ้าลบสีดำออกจากชุดนักเรียน เราก็ไม่เข้าใจ เกิดเป็นคำถามว่า ทำไมชุดนักเรียนมันจะเป็นสีดำไม่ได้ล่ะ? มันอาจเปื้อนดิน? อาจเป็นโรงเรียนที่ไม่เหมือนที่อื่น? หรือจริงๆแล้วมันจะเป็นอะไรก็ได้หรือเปล่า?” บางครั้งเวลาเราเศร้า เส้นมันก็จะออกมาเศร้า เวลาเรามีความสุข เส้นมันก็จะดูสดใสขึ้น ปล่อยให้งานเผยสิ่งที่อยู่ข้างใน “จากจุดนี้เองที่ทำให้ไนซ์เริ่มต้นค้นหาคำตอบ เรียนรู้ และทดลองเกี่ยวกับการวาดภาพ […]

10 ปี ที่ผ่านมาของ BACC สนทนากับ ผอ. ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ถึง 10 ปี หลังจากนี้ไป

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือที่เราคุ้นกันในชื่อหอศิลป์ BACC นั้น เป็นหอศิลปวัฒนธรรมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านสื่อศิลปะและกิจกรรมต่าง ๆ มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนนิทรรศการที่น่าสนใจอยู่เสมอ และหอศิลป์แห่งนี้ก็ได้ดำเนินการมาจนครบ 10 ปี แล้ว ด้วยพันธกิจในการขับเคลื่อนให้ประชาชนเข้าใจคุณค่าและความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นไปจนถึงบริบทของโลก และอย่างที่เป็นข่าวในการต่อสัญญาโดยกรุงเทพมหานครไปอีก 10 ปี วันนี้ room จึงพามาพูดคุยกับ ผอ. ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่-ผู้อำนวยการของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถึง 10 ปี ที่ผ่านมา และอีก 10 ปี ที่หอศิลป์ฯแห่งนี้ กำลังก้าวเดินไป ทั้งบทบาทหน้าที่ที่อาจจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และแนวโน้มของนิยามความเป็นเมืองแห่งศิลปะของกรุงเทพฯ กทม. เคาะต่อสัญญา อีก 10 ปี ให้กับหอศิลป์เกิดอะไร? ทำไมถึงเป็นประเด็น? room : จากข่าวของการต่อสัญญา อีก 10 ปี โดยกรุงเทพมหานครให้กับทางหอศิลป์ฯ จริง ๆ แล้วเกิดอะไรขึ้น หอศิลป์ฯ ยังดำเนินการเหมือนเดิม หรือมีอะไรเปลี่่ยนแปลงไปหรือไม่? BACC : […]

DRAGONERPANZER เมื่อครั้งศิลปะ มีค่ามากกว่ากองทหาร

ผลงานศิลปะ DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์จัดแสดงในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 ณ BACCข้อมูลเพิ่มเติม : bkkartbiennale.com หากจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าสนใจในงาน BAB 2020 หรือ Bangkok Art Biennale 2020 ก็คงจะต้องบอกว่ามีมากมายดารดาษ แต่ถ้าจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าจะเปรียบเปรยและเข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงนี้ของไทยได้อย่างดี (แบบที่ไม่ได้ตั้งใจให้จังหวะการแสดงงานมาประจวบเหมาะกันเช่นนี้) ก็คงต้องยกให้ผลงานที่มีชื่อเรียกว่า DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ กับ รถถังเซรามิกที่กล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ศิลปะเคยมีค่ามากกว่ากองทหารม้ากว่า 600 นาย! ผลงานประติมากรรมเซรามิก DRAGONERPANZER (โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์) ชุดนี้ เกิดจากความรู้สึกประทับใจการใช้เครื่องลายครามของจีนจากราชวงศ์หมิงและชิงแลกกองทหารม้า วศินบุรีจึงสร้างรถถังจากเซรามิกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแลกเปลี่ยนมูลค่าและเงินตรา ในขณะที่แจกันมังกรสีน้ำเงินขาวถูกเรียกว่ามูลค่าทางการเงิน รถถังเซรามิกจะเป็นของสะสมล้ำค่า ในขณะที่รถถังทหารจะกลายเป็นขยะโลหะที่จะถูกขายเป็นเศษเหล็ก “ครั้งแรกที่ได้อ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จากหนังสือ กระเบื้องถ้วย กะลาแตก ของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ที่กล่าวถึงกษัตริย์ Friedrich August Iเจ้าผู้ครองแคว้นแซกโซนี […]