เกี๊ยวหนองบัว Archives - room

KIEW NONG BUA ร้านบะหมี่เก่าแก่ในจังหวัดตราด กับการรีแบรนด์ใหม่ที่ดึงดูดลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่

รีโนเวตร้าน “เกี๊ยวหนองบัว” ร้านบะหมี่เก่าแก่ประจำจังหวัดตราด ให้มีความโดดเด่นด้วยตัวอาคารสีขาวดีไซน์เรียบง่าย และปนกลิ่นอายวินเทจ เพื่อบ่งบอกว่า ถึงจะรีแบรนด์ใหม่อย่างไร แต่รสชาติความอร่อยที่ผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน ก็ยังคงเอกลักษณ์ไว้เหมือนเดิม เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจและตอบโจทย์คนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ “เกี๊ยวหนองบัว” หลังจากที่ดำเนินกิจการมากว่า 50 ปี และกำลังอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่าง “รุ่นพ่อ” กับ “รุ่นลูก” การรีโนเวตและรีแบรนด์ใหม่เพื่อให้ตอบรับกับรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนยุคนี้ จึงเป็นการสานต่อมรดกวัฒนธรรมของครอบครัว โดยการออกแบบใหม่ในครั้งนี้ก็เป็นไปด้วยความเคารพและตั้งใจนำพาเอกลักษณ์ของร้าน ที่อบอวลทั้งบรรยากาศ และรสชาติอาหารดั้งเดิม ให้ก้าวต่อไปสู่ยุคสมัยอนาคต การออกแบบตั้งใจให้ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ ขณะเดียวกันก็ยังคงใส่ใจกับลูกค้าเก่า ภายนอกของอาคารจึงได้มีการใช้กระเบื้องสีขาวกรุรอบฟาซาดเดิมทั้งหมด สร้างการจดจำที่ไม่ทิ้งบรรยากาศเก่า ๆ เพราะกระเบื้องสีขาวเป็นหนึ่งในวัสดุหลักที่เรามักพบเห็นได้ในร้านอาหารประเภทนี้ ส่วนการออกแบบภายในร้านคงกลิ่นอายความวินเทจไว้ ด้วยรูปแบบการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบร้านบะหมี่ดั้งเดิม แต่คุมโทนด้วยสีขาวและไม้สีอ่อน จุดที่เสริมเข้าไปในการออกแบบคือการเพิ่มคอร์ตกลางให้กับอาคารได้รับแสงธรรมชาติอย่างทั่วถึง จากเดิมที่เป็นตึกแถวสามคูหา แสงส่องเข้าไปไม่ถึงภายใน ก็กลายเป็นพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ที่ดูสดชื่นและเปี่ยมด้วยพลังงาน ที่นี่จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการตีความสิ่งเก่าให้กลับมาดูดีเหมือนใหม่ ในแบบที่ประนีประนอมต่อความดั้งเดิม และความร่วมสมัยเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัว ที่ตั้ง 121-123 ถนนสุขุมวิท ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราดพิกัด https://goo.gl/maps/uU8QorLNDs4y2p5t8เปิดวันจันทร์ – เสาร์ เวลา 06.00น.– […]

คุยกับ ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ถึงการออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการทำความเข้าใจใน “ความหมาย”

แน่นอนว่าบริบทนั้นจะส่งเสริมคุณค่าให้กับงานสถาปัตยกรรม แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่านั้นอาจไม่ใช่การทำภายในระยะเวลาอันสั้นหรือการทำอย่างฉาบฉวย การออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการลงลึกไปในความหมายด้วยการค่อยๆทำความเข้าใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ      จากความโกลาหลในกรุงเทพมหานคร กลิ่นอายทะเลเริ่มแทนที่หมอก PM2.5 ในอากาศ ตามเส้นทางยาวไกลที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดปลายสุดของภาคตะวันออกด้วยระยะทางที่ไกลกว่า 300 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - จังหวัดตราด เมืองซึ่งยังไม่ถูกจัดว่าวุ่นวาย ทว่าเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอ ๆ กับเมืองหลวง ในปี พ.ศ. 2514 ตราดได้กำเนิดร้านบะหมี่เกี๊ยวร้านแรก และยังคงเปิดขายยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน “เขาเป็นบะหมี่เจ้าแรกของตราด คุณพ่อเข้ามาค้าขายเมื่อ 50 ปีที่แล้ว กระทั่งถึงรุ่นลูกเขาอยากจะปรับลุคร้านใหม่ให้ทันสมัยขึ้น”  คุณภัทราวุธ จันทรังษี เริ่มเล่าถึงที่มาที่ไปของงานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เก่าแก่ ในนาม บริษัท ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ให้เราฟัง      “แทนที่เราจะเปลี่ยนลุคใหม่ให้ดูใหม่ไปเลย เราคุยกับเจ้าของว่า น่าจะลองใช้ของเดิมนี่แหละมาปรับให้ดูน่าสนใจขึ้น เราพูดกันว่า เราน่าจะ ‘ปลุกตำนาน’ ร้านเกี๊ยวหนองบัวกลับมา โดยมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถดึงคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เป็นลูกค้าเก่าแก่กลับมาอุดหนุนพร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะกลายเป็นเหมือนเราทำสัญญาใจกันว่าเราจะไม่ได้ออกแบบแค่ตึกสวย ๆ แต่เราจะต้องทำให้เขาขายดีขึ้น ๆ ต่อไปด้วย      “ทำอย่างไรให้ร้านอยู่ได้อีก 50 ปี มันคงไม่ใช่ดีไซน์ที่หวือหวาหรือแฟชั่นจี๊ดจ๊าด แต่ต้องดูถ่อมตัวมากพอ แต่อะไรล่ะคือตรงกลาง”      โดยพื้นฐานทั่วไป งานออกแบบที่ดีนั้นอาจถูกวัดได้จากความสำเร็จไม่กี่ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพลักษณ์หรือฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการ อย่างไรก็ตาม การทำงานของตื่น ดีไซน์ สตูดิโอนั้น พวกเขากล่าวว่า ในทุก ๆ งานพยายามมุ่งความสนใจไปสู่ประเด็นที่ลึกซึ้งกว่านั้น ด้วยความเชื่อร่วมกันว่า งานออกแบบควรเป็นสิ่งที่มากกว่าแค่ฟังก์ชันหรือสินค้า แต่เป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงจิตใจผู้คน มีความหมาย และมีคุณค่าอันนำมาซึ่งความสุขต่อผู้ใช้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ      ร้านเกี๊ยวหนองบัว งานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เกี๊ยวและของฝากในตึกแถว 3 คูหาใกล้กับตลาดโต้รุ่งไร่รั้งในตัวเมืองตราดก็เป็นหนึ่งในนั้น พวกเขาได้พยายามสร้างคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับงาน เพื่อความสมบูรณ์ของการใช้งานในระยะยาว หากจะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งที่ทำ เข้าใจบริบทแวดล้อม และเข้าใจผู้ใช้งานให้มากที่สุดก่อนเท่าที่จะเป็นไปได้      “ถ้าเปรียบเทียบกับ
ขั้นตอนการออกแบบปกติ 
เมื่อได้โจทย์จากลูกค้ามา 
ดีไซเนอร์ก็จะลงไปดีไซน์ แล้ว
ใช้วิธี ‘Try and Error’ คือ
ดีไซน์ไปให้ลูกค้าดูว่าถูกใจ
หรือไม่ ชอบไม่ชอบอะไร 
ทำอย่างนี้กลับไปกลับมา 
จนกว่าจะพอใจร้อยเปอร์เซ็นต์ 
แล้วจึงค่อยเขียนแบบก่อสร้าง” 
คุณภคชาติ เตชะอำนวย-
วิทย์ อีกหนึ่งสถาปนิกใน
ทีมกล่าว      “แต่การทำงานของเรา
จะมีการรีเสิร์ชก่อนที่เราจะเริ่มดีไซน์จริง ๆ 
อาจจะใช้เวลามากน้อยต่างกันไปแล้วแต่
โปรเจ็กต์ อาจเดือนหนึ่งหรือสองเดือน เพื่อ
ทำความเข้าใจโจทย์ร่วมกันระหว่างเรากับ
เจ้าของ เช่น เราได้รับความต้องการมา 
เราต้องไปดูที่ตั้งโครงการ ศึกษาเกี่ยวกับเมือง 
ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเก่าที่เกี่ยวข้อง
กับงาน แล้วต้องพยายามคุยกับเจ้าของ
เยอะ ๆ หรือตั้งคำถามในเชิงวิเคราะห์หน่อย      “เช่นคำถามง่าย ๆ ว่า ชีวิตประจำวัน
ในหนึ่งวันเขาทำอะไรบ้าง ห้องแบบไหนที่
เขาชอบ หรือถ้าได้ไปอยู่ในบ้านหลังใหม่จะ
เกิดอะไรขึ้น ไปจนถึงคำถามอย่างถ้าคุณมี
เวลาเหลืออีก 6 เดือนในชีวิต คุณจะทำอะไร”      ในการค้นคว้าสถาปนิกตื่นจะพยายาม
ศึกษางานออกแบบและผู้ใช้งานมากไปกว่าเรื่อง
ดินฟ้าอากาศ ทิวทัศน์รอบด้าน หรือความ
ต้องการพื้นฐาน แต่พวกเขาจะให้การทำงาน
พาเข้าไปในโลกของเจ้าของงานให้มากที่สุด และ
ทำความเข้าใจบริบทในทุกมิติเท่าที่จะเป็นไปได้ 
รวมถึงกำหนดเป้าหมายของงาน โดยไม่ใช่
เฉพาะแค่ด้านภาพลักษณ์ แต่เป็นเป้าหมาย
และคุณค่าที่เจ้าของงานและนักออกแบบ
จะเห็นร่วมกันตั้งแต่ต้น เช่น เป้าหมาย
ว่างานออกแบบนั้นจะส่งผลดีกับเมืองนั้น ๆ 
อย่างไร หรือเป็นเป้าหมายที่มีคุณค่าทางใจ
สำหรับเจ้าของโดยเฉพาะ      “ผมมองว่าจริง ๆ ขั้นตอนของการ
ออกแบบมันเป็นแค่ช่วงสั้น ๆ แต่ช่วงแรก
ก่อนการเกิดขึ้นของบางสิ่งที่มันจะอยู่ไป
อีกนานนี้สำคัญมาก จะเห็นว่าทุกโปรเจ็กต์
เราจะเน้นให้เจ้าของเข้ามามีส่วนร่วมเยอะ 
เพราะตัวเขาเองเป็นคนใช้งาน ถ้าเขาเข้าใจ
ที่มาที่ไปของสิ่งที่มันจะอยู่ไปอีกนาน ผมว่า
นั่นถือเป็นประโยชน์ในระยะยาว” คุณ
ภคชาติกล่าว      “การรีเสิร์ชหรือการทำอะไรเยอะ ๆไม่ใช่แค่เราจะได้เข้าใจเขา แต่ผมว่าเขาจะเข้าใจเรามากขึ้นด้วย” คุณภาสพงศ์ มณี-วัฒนา อีกหนึ่งสถาปนิกในกลุ่มกล่าวเสริม“เขาจะเข้าใจกระบวนการทำงาน แล้วเขาจะรู้ว่า โอเค บางอย่างที่มันต้องเป็นอย่างนี้นั้นเป็นเพราะอะไร หรือทำไมมันถึงต้องใช้เวลา”      จึงกล่าวได้ว่า นอกจากการให้ความสำคัญกับมิติรอบด้านของตัวงาน การให้เจ้าของงานได้มีบทบาทกับงานของตัวเองอย่างมาก ก็เป็นแนวทางการทำงานที่กลุ่มสถาปนิกตื่นเห็นตรงกันว่า จะทำให้ได้งานออกแบบที่มีคุณค่ามากที่สุด มากกว่าที่ “สถาปนิก” จะเป็นผู้กะเกณฑ์ฝ่ายเดียว เรือนพินรัตน์ บ้านไม้สองชั้นของ
ครอบครัวรอดสุดในจังหวัดพัทลุง อีกหนึ่ง
ผลงานของสำนักงาน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดี
ของการให้เจ้าของบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม
กับงานออกแบบอย่างลึกซึ้ง      “ตัวเจ้าของบ้านค่อนข้างชัดมากว่าต้องการอะไร” คุณภคชาติเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของบ้าน “เขาถึงขนาดสเก็ตช์รูปมาให้ว่าอยากให้บ้านออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเราก็ยึดสเก็ตช์ตัวนี้แหละเป็นเครื่องมือ เราไม่ได้อยากจะสร้างหรือเปลี่ยนภาพลักษณ์อะไรใหม่ เราให้ความเคารพกับสิ่งที่ออกมาจากตัวเขา ซึ่งสิ่งนั้นก็คือความทรงจำ โดยที่เขาอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามันคือส่วนผสมระหว่างความทรงจำที่เขามีกับบ้านคุณตาคุณยายเขากับชีวิตสมัยใหม่ที่เขาอยากจะเป็นในบ้านหลังนี้”      เรือนพินรัตน์เกิดจากความคิดของคุณวิวัฒน์ รอดสุด เจ้าของบ้าน ที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหม่ให้เป็นสัญลักษณ์ของการระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยนอกจากการนำไม้เก่าจากบ้านคุณตาคุณยายมาใช้ การมีมุมติดรูปคุณตาคุณยายไว้ที่มุมหนึ่งของข้างฝา การใช้รูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่อ้างอิงกับเรือนพื้นถิ่นภาคใต้แบบที่คล้ายกับบ้านหลังเก่า ชื่อของบ้านยังได้มาจากชื่อของคุณยายพินและคุณตาวิรัตน์ ทั้งหมดรวมกันจึงเป็นบ้านที่ประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบทางความทรงจำ และความหมายที่มีคุณค่าต่อเจ้าของบ้านโดยเฉพาะอย่างลึกซึ้ง      ท้ายที่สุดการให้ความสำคัญกับการเน้นความหมายที่อยู่ในแต่ละสถานที่มากกว่าการกำหนดออกมาจากตัวนักออกแบบเอง จึงเป็นสิ่งที่กลุ่มสถาปนิกตื่นมุ่งหวังมาโดยตลอด ดังที่คุณภคชาติกล่าวสรุปในตอนท้าย      “เรื่องนี้มันสะท้อนในวิธีคิดของพวกเราเหมือนกัน คือเรารู้สึกว่าบางทีสถาปนิก หรือดีไซเนอร์นั้นไม่ได้เป็นเจ้าของความสวยงาม หรือว่าสิ่งที่ออกมาจากดีไซเนอร์เท่านั้นที่มันจะสวย      “งานพื้นถิ่น หรือถ้าเป็นในเมืองถือเป็นงานแนวสตรีทดี ๆ นี่เอง ซึ่งล้วนแต่มีความงามติดตัวมาอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะเห็นมันหรือเปล่า ความธรรมดาและความเรียบง่ายมันมีอยู่ทุกที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นดีไซเนอร์เท่านั้นที่จะสร้างสรรค์ความงามออกมาได้” เรื่อง : กรกฎา, โมโนโซดาภาพ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ