Bonsai House Ratchaburi คาเฟ่และคอมมูนิตี้ของคนรักบอนไซ
Bonsai House Ratchaburi สร้างสรรค์พื้นที่ให้อยู่ในอาคารทรงปั้นหยาโปร่งสบายปกคลุมด้วยธรรมชาติ อันมีจุดกำเนิดมาจากความหลงใหลในบอนไซของคุณพ่อเจ้าของสถานที่ ก่อนจะได้รับการบ่มเพาะและทำนุบำรุงให้เติบโตโดยผู้เป็นลูก สื่อสารและส่งต่อให้นักออกแบบผู้เคารพในบริบทธรรมชาติอย่าง Studio Miti DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studio Miti Bonsai House Ratchaburi ตั้งอยู่ในจังหวัดราชบุรี เรียกได้ว่าเป็นแหล่งพักใจของคนที่รักในการปลูกบอนไซ รวมถึงผู้คนทั่วไปที่สามารถแวะเวียนมาพักผ่อนดื่มด่ำกับชาและกาแฟ ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่น นับเป็นจุดเชื่อมโยงสานสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่มีโอกาสได้แวะเวียนมาทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความหลงใหลที่มีต่อธรรมชาติร่วมกันอย่างเป็นกันเอง โดดเด่นด้วยอาคารโปร่งสบายปกคลุมด้วยพืชไม้เลื้อยอย่างต้นเหลืองชัชวาลย์แห่งนี้ เดิมทีเป็นพื้นที่พักบอนไซอยู่ด้านหน้าที่อยู่อาศัยของพ่อผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ทว่าเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณพื้นที่นี้ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ธุรกิจเล็ก ๆ โดย ทัศพงศ์ บัวผัน ลูกชาย พร้อมด้วยภรรยา ผู้ปรารถนาอยากละทิ้งชีวิตการทำงานแสนเหนื่อยล้า แล้วมาประกอบธุรกิจที่บาลานซ์ชีวิตด้วยความสุขในการดูแลพ่อ และการทำคอมมูนิตี้แก่คนรักบอนไซและคนชื่นชอบกาแฟ อาคารทรงปั้นหยาที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติแห่งนี้ออกแบบโดยอ้างอิงจากคาแรกเตอร์ของพ่อผู้มีความใจเย็น สังเกตได้จากต้นไม้แต่ละต้นที่แวดล้อมตัวบ้านนั้นได้รับการดูแลเป็นอย่างดีและใช้เวลาจนแตกใบเขียวชอุ่ม ตัวอาคารนี้จึงได้พยายามสื่อสารถึงตัวตนของคุณพ่อด้วยตัวของมันเอง สภาพแวดล้อมของที่ดินแห่งนี้มีฝั่งหนึ่งติดกับทุ่งนา ส่วนด้านหลังมีต้นไม้ล้อมรอบ ฉะนั้นเพื่อใช้ประโยชน์จากบริบทที่ตั้งได้อย่างเต็มที่ ตัวอาคารจึงถูกออกแบบให้แบ่งเป็น 2 ส่วน เชื่อมต่อกันเป็นรูปตัวแอล (L) และตั้งอยู่สูงกว่าถนนทางเข้าเล็กน้อยเพื่อรับลม โดยอาคารส่วนแรกเป็นทางเข้าที่ติดกับถนนด้านหน้านั้นเป็นอาคารชั้นเดียว รองรับส่วนคาเฟ่สำหรับผู้ที่ตั้งใจมาดื่มกาแฟ มีเคาน์เตอร์บาร์ขนาดพอดีทำจากไม้ที่ลูกชายเป็นผู้ออกแบบช่วยเสริมบรรยากาศให้มีความเป็นกันเองร่วมกับเฟอร์นิเจอร์ไม้โดยรอบ นอกจากนี้ ยังออกแบบให้อาบพื้นที่ภายในด้วยแสงธรรมชาติซึ่งลอดผ่านหลังคาลอนใส ปกคลุมและกรองแสงด้วยต้นเหลืองชัชวาลย์ อันมีโครงเหล็กใต้หลังคาช่วยในการรับน้ำหนัก รับกับองศาความเอียงของจั่วที่เอียงองศาด้านหน้าให้ลาดลงมามากกว่าอีกฝั่ง เพื่อเปิดพื้นที่ให้แสงได้หล่อเลี้ยงต้นเหลืองชัชวาลย์ที่แผ่ปกคลุม ประกอบกับการออกแบบหลังคายืดสูงยังช่วยระบายความร้อนก่อนเข้ามาภายในอาคารได้ด้วย […]