BANGKOK-VENICE เมื่อศิลปะพาเชื่อมจิตสองฝั่งน้ำ
“เมืองที่เต็มไปด้วยคูคลอง สัญจรทางน้ำเป็นนิจ อุดมด้วยวัฒนธรรม คึกคักคลาคล่ำไปด้วยผู้คน และอบอวลบรรยากาศของเมืองเก่า” หากกล่าวประโยคนี้ เราอาจนึกถึง บางกอก หรือกรุงเทพฯ และหากคิดดูอีกที เราก็อาจจะคิดถึงเวนิสได้เช่นกัน เมืองทั้งสองที่เหมือนกับเป็นพี่น้องฝาแฝดซึ่งต่างเกิดมาในต่างมุมโลก แต่มีความผูกพันอันน่าสนใจในหลากหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเมืองที่ใช้คูคลองเป็นทางสัญจรหลัก การเป็นเมืองท่าที่คึกคัก จนทำให้รูปแบบอาคารโดยทั่วไปของเมืองนั้นเป็นอาคารพาณิชย์ หรือตึกแถว ดังเช่นเดียวกับบางกอกในครั้งอดีต ที่เรายังคงเห็นได้ในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ และพื้นที่เยาวราช-ตลาดน้อย แต่เชื่อหรือไม่ว่า เมื่อกว่าร้อยกว่าปีก่อน กษัตริย์ของเราก็เคยเสด็จประพาสมายังนครแห่งสายน้ำแห่งนี้ด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ.1897 และ ค.ศ.1907 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเสด็จฯ ร่วมชมงานเทศกาลศิลปะเวนิสเบียนนาเล่ถึงสองครั้ง และในครั้งที่ 2 นั้น รัชกาลที่ 5 ก็ได้ทรงทอดพระเนตรงานของ กาลิเลโอ คินี (Galileo Chini) หนึ่งในศิลปินดาวรุ่งในยุคนั้น ซึ่งต่อมา นาย กาลิเลโอ คินี คนนี้เอง ก็ได้เดินทางมายังสยามในตอนต้นของรัชกาลที่ 6 เพื่อเริ่มสัญญางานออกแบบ และวาดภาพให้กับท้องพระโรงแห่งใหม่ของสยาม อันมีนามว่า พระที่นั่งอนันตสมาคม จะเห็นได้ว่าอิทธิพลศิลปะ ความงาม และจิตวิญญาณของเวนิส และบางกอกนั้น […]