RURN DESIGN Archives - room

5 ที่พักสวยด้วย “บล็อกช่องลม”

บล็อกช่องลม  เป็นอีกหนึ่งวัสดุยอดนิยมที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายในงานออกแบบตกเเต่ง ซึ่งปัจจุบันได้รับการออกแบบลวดลายเเละรูปแบบอย่างหลากหลาย ตอบโจทย์ต่อการเลือกใช้ ไม่ว่าจะทำมาจากคอนกรีต ดินเผา หรือเซรามิก ฟังก์ชันหลักของ “บล็อกช่องลม” คือเรื่องการระบายอากาศซึ่งถูกดัดแปลงมาจากช่องลมของบ้านเรือนไทยสมัยก่อน ทั้งยังยอมให้แสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายในได้ หรือจะนำไปใช้ในแง่ของการสร้างความเป็นส่วนตัว การสร้างสเปซแบบกึ่งเอ๊าต์ดอร์ก็นับว่าเป็นวัสดุที่ค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  room จึงได้รวบรวม 5 ที่พัก ซึ่งเด่นด้วยการใช้วัสดุชนิดนี้มาฝาก เพื่อให้คุณนำไปประยุกต์ใช้เป็นไอเดียในการตกแต่งกันครับ 01 | A DAY INN RANONG เปลี่ยนตึกเก่าสไตล์ชิโนโปรตุกีสอายุกว่า 100 ปีเป็นที่พักกลางเมืองระนอง รีโนเวตอาคารพาณิชย์เดิมให้เป็นที่พักสไตล์โฮมมี่ โดยยังคงกลิ่นอายความเป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีสอายุกว่า 100 ปีไว้ ด้วยสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของจังหวัดระนอง จึงใช้ช่องลมเพื่อช่วยระบายอากาศ ทั้งยังกลายมาเป็นกิมมิกของโรงแรมที่น่าสนใจ เนื่องจากตัวอาคารเป็นตึกแถวเก่าซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องความทึบแสง ผู้ออกแบบจึงแก้ปัญหานี้ด้วยการเจาะช่องเปิดโล่งบริเวณกลางอาคาร แล้วติดแผ่นโปร่งแสงกลายเป็นสกายไลท์ตลอดแนวทางเดินใต้หลังคา เพื่อรับแสงและลมธรรมชาติให้พื้นที่ภายในสว่าง โปร่งโล่ง และอากาศถ่ายเทได้สะดวก ประกอบกับระนองเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกทำให้มีความชื้นในอากาศสูง ในขั้นตอนการรีโนเวตฝ้าเพดานจึงถูกยกให้สูงขึ้นเป็นพิเศษ แล้วติดช่องลมสำหรับช่วยระบายอากาศในส่วนของช่องแสงทั้งภายในและภายนอก กลายเป็นการตกแต่งผนังอาคารไปในตัว อ่านต่อฉบับเต็มคลิก ออกแบบ : คุณเกรียงไกร บัวจันทร์ 02 | POTTERY HOMESTAY หยิบความหลงใหลในถ้วยชาจีนมาเป็นพระเอกให้กับโฮมสเตย์สีเขียว สะดุดตาด้วยช่องลมทรงแปลกตาตั้งแต่ส่วนของฟาซาด […]

RURN DESIGN โฮมสเตย์สไตล์อินดัสเทรียลลอฟท์ ที่คำนึงถึงแดด ลม ฝน เป็นสำคัญ

“อยากให้แขกที่มารู้สึกเหมือนอยู่บ้าน หรือเหมือนมานอนบ้านเพื่อน” คือความตั้งใจของสถาปนิกหนุ่ม ผู้เป็นทั้งเจ้าของและผู้ออกแบบ โรงแรมหาดใหญ่ แห่งนี้ โดยใช้ชื่อว่า RURN DESIGN ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับสำนักงานออกแบบเพื่อความไม่ยุ่งยากและง่ายต่อการจดจำ ที่นี่จึงเป็นทั้งออฟฟิศและที่พักขนาดย่อมๆ สองกิจการที่เจ้าของตั้งใจทำพร้อมกันเพื่อสร้างสมดุลในชีวิต หลังตัดสินใจออกจากออฟฟิศที่กรุงเทพฯก็เลือกกลับบ้าน หาซื้อที่ดินเพื่อทำการทดลองออกแบบโฮมสเตย์ตามจริตที่ตัวเองชื่นชอบอย่างสไตล์อินดัสเทรียลลอฟท์ จนมาพบกับที่ดินผืนนี้ที่มีหน้ากว้างเพียง 5 เมตรและลึก 27 เมตร  กลายเป็นอาคารหน้าแคบลึกที่ถูกเว้นพื้นที่ตรงกลางไว้สำหรับปลูกต้นไม้เพื่อเป็นการเปิดช่องแสงให้กับพื้นที่ภายในของ โรงแรมหาดใหญ่ ไปในตัว เมื่อเข้ามาชั้นหนึ่งเราจึงพบกับต้นพุดเขียวชอุ่ม ช่วยพรางตาในส่วนของออฟฟิศสำนักงาน และสร้างความต่อเนื่องขึ้นไปยังชั้นอื่นๆโดยใช้บันไดแยกสำหรับแขกผู้เข้าพักเพื่อนำไปสู่ชั้น 2 กับห้องพักเพียง 4 ห้องที่ทุกห้องสามารถมองเห็นวิวของต้นไม้สบายตา ส่วนพื้นที่ชั้น 3 ออกแบบให้เป็นพื้นที่ common area ครึ่งหนึ่งสำหรับนั่งพักผ่อนนอนเล่น อีกครึ่งเป็นครัวไทยพร้อมโต๊ะไม้ขนาดใหญ่ให้ลงมือทำอาหารง่ายๆกินเองเหมือนได้อยู่บ้านเข้าครัว ตัวอาคารออกแบบในแนวทรอปิคัล ที่เน้นให้แสงแดด ลมตามธรรมชาติได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการอยู่อาศัย ซึ่งเข้ากันดีกับสภาพอากาศร้อนชื้นของภาคใต้ อีกทั้งเน้นใช้วัสดุหาง่ายอย่างอิฐมอญและคอนกรีตขัดมันที่เอื้อกับฝีมือของช่างพื้นที่ ซึ่งเมื่อยอมให้ลมเข้าก็เท่ากับยอมให้ฝนเข้าเช่นกัน จึงใช้การจัดการเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องพื้นลื่น ด้วยการทำรางระบายน้ำในส่วนของพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์และเลือกใช้รองเท้ายางสำหรับใช้เดินภายในอาคารแทน ภายใต้ความไม่เนี้ยบ ดิบๆซึ่งเป็นสเน่ห์ของงานลอฟท์นี้ งานอินทีเรียของที่นี่จึงเป็นงานระบบที่ต้องดูแลรักษาง่าย ช่างทำงานไม่ซับซ้อน และซ่อมง่ายในอนาคต เช่น การเลือกสายไฟแบบไนลอนแทนการร้อยท่อ ทำให้ดูบางลง ไม่อึดอัด แก้ข้อจำกัดเรื่องตึกที่แคบได้เป็นอย่างดี การเลือกแอ๊คเซสซอรี่ของงานระบบให้ดูเท่ […]