THE SAMSEN STREET HOTEL หยิบ "นั่งร้าน" มาสร้างเอกลักษณ์ให้กับโรงแรม
THE SAMSEN STREET HOTEL

THE SAMSEN STREET HOTEL หยิบนั่งร้านในงานก่อสร้าง มาสร้างเอกลักษณ์ให้กับโรงแรม

หลังผ่านโครงการทำวิจัยมากว่า 5 ปี CHAT Architects ได้ตกตะกอนความคิดในการบอกเล่านิยามของกรุงเทพฯ อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านงานออกแบบ The Samsen Street Hotel ซึ่งนับเป็นงานออกแบบชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของสถาปนิก

“นั่งร้าน” คือโจทย์สำคัญที่สถาปนิกเลือกนำมาใช้เป็นพระเอกคนสำคัญของงานออกแบบ เพราะนั่งร้านคืออุปกรณ์ชิ้นสำคัญในงานก่อสร้าง และเป็นหน้ากากของงานสถาปัตยกรรมที่เราเห็นกันจนชินตาในเมืองไทย เมื่อผนวกรวมกับแนวคิดตั้งต้นที่ต้องการเปลี่ยนแปลงฟังก์ชันการใช้งาน จากที่เคยซ่อนกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ภายในอาคารแบบปิด ครั้งนี้สถาปนิกพยายาม ‘ตลบ’ พื้นที่ปิดซ่อนเหล่านั้น ให้เปิดออกสู่สาธารณชนและชุมชนที่อยู่รายรอบ เพื่อใช้งานสถาปัตยกรรมในการสร้างกิจกรรมทางสังคม (Social Activities) ให้เกิดขึ้นในย่านสามเสนสถานที่ตั้งของโรงแรม

The Samsen Street Hotel โรงแรมเปิดใหม่ chat architects The Samsen Street Hotel โรงแรมเปิดใหม่ chat architects The Samsen Street Hotel โรงแรมเปิดใหม่ chat architects The Samsen Street Hotel โรงแรมเปิดใหม่ chat architects

โดยมีนั่งร้านที่เปรียบดังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมคอยทำหน้าที่แสดงบุคลิกของโรงแรม เป็นลูกเล่นทั้งด้านภาพลักษณ์และการใช้งาน รวมถึงบ่งบอกเอกลักษณ์ความเป็นเมืองแบบสรีต ๆ ของกรุงเทพฯ โดยนั่งร้านที่เห็น ได้รับการออกแบบให้เรียงต่อกันแบบแนวตั้ง เพื่อใช้เป็นทั้งฟาซาดและระเบียงที่นั่งห้อยขาได้ โดยมีทั้งที่หันหน้าเข้าสู่คอร์ตยาร์ดส่วนกลางของโรงแรมซึ่งเป็นโรงหนังกลางแปลง และหันออกสู่เพื่อนบ้านโดยรอบ นอกจากนี้นั่งร้านยังทำหน้าที่เป็นระเบียงชายคาให้กับทางเดินด้านล่าง และพื้นที่อเนกประสงค์ ซึ่งเกิดจากระยะที่ร่นเข้าไป สำหรับใช้เป็นทั้งร้านกาแฟ ร้านอาหารสตรีตฟู้ด และพื้นที่นั่งเล่นของเเขกผู้มาใช้บริการ

The Samsen Street Hotel โรงแรมเปิดใหม่ chat architects The Samsen Street Hotel โรงแรมเปิดใหม่ chat architects The Samsen Street Hotel โรงแรมเปิดใหม่ chat architects The Samsen Street Hotel โรงแรมเปิดใหม่ chat architects The Samsen Street Hotel โรงแรมเปิดใหม่ chat architects

อีกหนึ่งดีเทลสำคัญที่อดกล่าวถึงไม่ได้ นั่นคือการเลือกใช้ “สีเขียว” เป็นสีหลักในการออกแบบ เพราะสีเขียวเป็นสีที่เห็นแล้วสร้างความรับรู้ได้อัตโนมัติว่ากำลังอยู่ในบ้านแบบไทย ๆ เนื่องจากสีเขียวพาสเทลมักแฝงอยู่ในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของบ้านยุคเก่าเสมอ เช่น พื้นหินขัด หรือราวบันได รวมทั้งบริบทของอาคารที่อยู่รอบ ๆ ก็มีสีเขียวอ่อนแอบแฝงอยู่ นั่นเท่ากับเป็นการหลอมรวมงานสถาปัตยกรรมเข้ากับบริบทของเมือง โดยใช้องค์ประกอบที่สร้างความรับรู้ในระดับจิตใต้สำนึก สร้างความเป็นกันเองให้กับการใช้งานพร้อมกับสร้างอาคารที่เป็นจุดสนใจได้อย่างชาญฉลาด

The Samsen Street Hotel โรงแรมเปิดใหม่ chat architects The Samsen Street Hotel โรงแรมเปิดใหม่ chat architects แบบห้องน้ำ

IDEA TO STEAL

กราฟิกที่ผสานไปกับการออกแบบภายใน

อีกสิ่งที่โดดเด่นในโรงแรมนี้ คือลูกเล่นการใช้กราฟิกเป็นป้ายบอกตำแหน่งและทิศทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นประบนพื้นที่นำไปสู่ห้องต่าง ๆ หรือใช้ฟอนท์ภาษาไทยแบบแบบเก่า ๆ ที่มักพบได้ตามป้ายร้านค้าสมัยก่อนมาประดับพร้อมบอกตำแหน่งงานระบบต่าง ๆ  เช่น เครื่องปรับอากาศ  ท่อน้ำ ท่อสายไฟ และฯลฯทั่วทั้งโรงแรม นอกจากจะช่วยเรื่องภาพลักษณ์แบบ “สตรีท ๆ” ยังช่วยเรื่องการดูแลและบำรุงรักษาอาคารอย่างตรงไปตรงมา

ที่ตั้ง : 66 ซอยวรพงษ์ ถนนสามเสน แขวงบ้านพามถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ
ติดต่อ : โทร. 0-2126-7606
Website  : www.samsenstreethotel.com

 

เจ้าของ : คุณสัญชัย โลจนะรุ่งศิริ
ออกแบบ : CHAT ARCHITECTS


ภาพ : นันทิยา, อนุพงษ์

อ่านต่อ HOTEL LABARIS KHAOYAI โรงแรมลึกลับกลางเขาใหญ่ และโลกพร่าเลือนในนิทาน