คุยกับ ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ถึงการออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่า - room

คุยกับ ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ถึงการออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการทำความเข้าใจใน “ความหมาย”

แน่นอนว่าบริบทนั้นจะส่งเสริมคุณค่าให้กับงานสถาปัตยกรรม แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่านั้นอาจไม่ใช่การทำภายในระยะเวลาอันสั้นหรือการทำอย่างฉาบฉวย การออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการลงลึกไปในความหมายด้วยการค่อยๆทำความเข้าใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ

     จากความโกลาหลในกรุงเทพมหานคร กลิ่นอายทะเลเริ่มแทนที่หมอก PM2.5 ในอากาศ ตามเส้นทางยาวไกลที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดปลายสุดของภาคตะวันออกด้วยระยะทางที่ไกลกว่า 300 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - จังหวัดตราด เมืองซึ่งยังไม่ถูกจัดว่าวุ่นวาย ทว่าเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอ ๆ กับเมืองหลวง ในปี พ.ศ. 2514 ตราดได้กำเนิดร้านบะหมี่เกี๊ยวร้านแรก และยังคงเปิดขายยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน

“เขาเป็นบะหมี่เจ้าแรกของตราดคุณพ่อเข้ามาค้าขายเมื่อ50ปีที่แล้วกระทั่งถึงรุ่นลูกเขาอยากจะปรับลุคร้านใหม่ให้ทันสมัยขึ้น”

คุณภัทราวุธ จันทรังษี เริ่มเล่าถึงที่มาที่ไปของงานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เก่าแก่ ในนาม บริษัท ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ให้เราฟัง

     “แทนที่เราจะเปลี่ยนลุคใหม่ให้ดูใหม่ไปเลยเราคุยกับเจ้าของว่าน่าจะลองใช้ของเดิมนี่แหละมาปรับให้ดูน่าสนใจขึ้นเราพูดกันว่าเราน่าจะ‘ปลุกตำนาน’ร้านเกี๊ยวหนองบัวกลับมาโดยมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถดึงคนอายุ50ปีขึ้นไปที่เป็นลูกค้าเก่าแก่กลับมาอุดหนุนพร้อมกับคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมากเพราะกลายเป็นเหมือนเราทำสัญญาใจกันว่าเราจะไม่ได้ออกแบบแค่ตึกสวยแต่เราจะต้องทำให้เขาขายดีขึ้นต่อไปด้วย

     “ทำอย่างไรให้ร้านอยู่ได้อีก50ปีมันคงไม่ใช่ดีไซน์ที่หวือหวาหรือแฟชั่นจี๊ดจ๊าดแต่ต้องดูถ่อมตัวมากพอแต่อะไรล่ะคือตรงกลาง”

     โดยพื้นฐานทั่วไป งานออกแบบที่ดีนั้นอาจถูกวัดได้จากความสำเร็จไม่กี่ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพลักษณ์หรือฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการ อย่างไรก็ตาม การทำงานของตื่น ดีไซน์ สตูดิโอนั้น พวกเขากล่าวว่า ในทุก ๆ งานพยายามมุ่งความสนใจไปสู่ประเด็นที่ลึกซึ้งกว่านั้น ด้วยความเชื่อร่วมกันว่า งานออกแบบควรเป็นสิ่งที่มากกว่าแค่ฟังก์ชันหรือสินค้า แต่เป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงจิตใจผู้คน มีความหมาย และมีคุณค่าอันนำมาซึ่งความสุขต่อผู้ใช้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ

     ร้านเกี๊ยวหนองบัว งานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เกี๊ยวและของฝากในตึกแถว 3 คูหาใกล้กับตลาดโต้รุ่งไร่รั้งในตัวเมืองตราดก็เป็นหนึ่งในนั้น พวกเขาได้พยายามสร้างคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับงาน เพื่อความสมบูรณ์ของการใช้งานในระยะยาว หากจะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งที่ทำ เข้าใจบริบทแวดล้อม และเข้าใจผู้ใช้งานให้มากที่สุดก่อนเท่าที่จะเป็นไปได้

     ถ้าเปรียบเทียบกับขั้นตอนการออกแบบปกติเมื่อได้โจทย์จากลูกค้ามาดีไซเนอร์ก็จะลงไปดีไซน์แล้วใช้วิธี‘TryandError’คือดีไซน์ไปให้ลูกค้าดูว่าถูกใจหรือไม่ชอบไม่ชอบอะไรทำอย่างนี้กลับไปกลับมาจนกว่าจะพอใจร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วจึงค่อยเขียนแบบก่อสร้างคุณภคชาติ เตชะอำนวย-วิทย์ อีกหนึ่งสถาปนิกใน
ทีมกล่าว

     “แต่การทำงานของเราจะมีการรีเสิร์ชก่อนที่เราจะเริ่มดีไซน์จริงอาจจะใช้เวลามากน้อยต่างกันไปแล้วแต่โปรเจ็กต์อาจเดือนหนึ่งหรือสองเดือนเพื่อทำความเข้าใจโจทย์ร่วมกันระหว่างเรากับเจ้าของเช่นเราได้รับความต้องการมาเราต้องไปดูที่ตั้งโครงการศึกษาเกี่ยวกับเมืองศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเก่าที่เกี่ยวข้องกับงานแล้วต้องพยายามคุยกับเจ้าของเยอะหรือตั้งคำถามในเชิงวิเคราะห์หน่อย

     เช่นคำถามง่ายว่าชีวิตประจำวันในหนึ่งวันเขาทำอะไรบ้างห้องแบบไหนที่เขาชอบหรือถ้าได้ไปอยู่ในบ้านหลังใหม่จะเกิดอะไรขึ้นไปจนถึงคำถามอย่างถ้าคุณมีเวลาเหลืออีก6เดือนในชีวิตคุณจะทำอะไร

     ในการค้นคว้าสถาปนิกตื่นจะพยายาม
ศึกษางานออกแบบและผู้ใช้งานมากไปกว่าเรื่อง
ดินฟ้าอากาศ ทิวทัศน์รอบด้าน หรือความ
ต้องการพื้นฐาน แต่พวกเขาจะให้การทำงาน
พาเข้าไปในโลกของเจ้าของงานให้มากที่สุด และ
ทำความเข้าใจบริบทในทุกมิติเท่าที่จะเป็นไปได้ 
รวมถึงกำหนดเป้าหมายของงาน โดยไม่ใช่
เฉพาะแค่ด้านภาพลักษณ์ แต่เป็นเป้าหมาย
และคุณค่าที่เจ้าของงานและนักออกแบบ
จะเห็นร่วมกันตั้งแต่ต้น เช่น เป้าหมาย
ว่างานออกแบบนั้นจะส่งผลดีกับเมืองนั้น ๆ 
อย่างไร หรือเป็นเป้าหมายที่มีคุณค่าทางใจ
สำหรับเจ้าของโดยเฉพาะ

     ผมมองว่าจริงขั้นตอนของการออกแบบมันเป็นแค่ช่วงสั้นแต่ช่วงแรกก่อนการเกิดขึ้นของบางสิ่งที่มันจะอยู่ไปอีกนานนี้สำคัญมากจะเห็นว่าทุกโปรเจ็กต์เราจะเน้นให้เจ้าของเข้ามามีส่วนร่วมเยอะเพราะตัวเขาเองเป็นคนใช้งานถ้าเขาเข้าใจที่มาที่ไปของสิ่งที่มันจะอยู่ไปอีกนานผมว่านั่นถือเป็นประโยชน์ในระยะยาว คุณ
ภคชาติกล่าว

     “การรีเสิร์ชหรือการทำอะไรเยอะๆไม่ใช่แค่เราจะได้เข้าใจเขาแต่ผมว่าเขาจะเข้าใจเรามากขึ้นด้วย”คุณภาสพงศ์ มณี-วัฒนา อีกหนึ่งสถาปนิกในกลุ่มกล่าวเสริม“เขาจะเข้าใจกระบวนการทำงานแล้วเขาจะรู้ว่าโอเคบางอย่างที่มันต้องเป็นอย่างนี้นั้นเป็นเพราะอะไรหรือทำไมมันถึงต้องใช้เวลา”

     จึงกล่าวได้ว่า นอกจากการให้ความสำคัญกับมิติรอบด้านของตัวงาน การให้เจ้าของงานได้มีบทบาทกับงานของตัวเองอย่างมาก ก็เป็นแนวทางการทำงานที่กลุ่มสถาปนิกตื่นเห็นตรงกันว่า จะทำให้ได้งานออกแบบที่มีคุณค่ามากที่สุด มากกว่าที่ “สถาปนิก” จะเป็นผู้กะเกณฑ์ฝ่ายเดียว

เรือนพินรัตน์ บ้านไม้สองชั้นของ
ครอบครัวรอดสุดในจังหวัดพัทลุง อีกหนึ่ง
ผลงานของสำนักงาน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดี
ของการให้เจ้าของบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม
กับงานออกแบบอย่างลึกซึ้ง

     “ตัวเจ้าของบ้านค่อนข้างชัดมากว่าต้องการอะไร” คุณภคชาติเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของบ้าน “เขาถึงขนาดสเก็ตช์รูปมาให้ว่าอยากให้บ้านออกมาเป็นอย่างไรซึ่งเราก็ยึดสเก็ตช์ตัวนี้แหละเป็นเครื่องมือเราไม่ได้อยากจะสร้างหรือเปลี่ยนภาพลักษณ์อะไรใหม่เราให้ความเคารพกับสิ่งที่ออกมาจากตัวเขาซึ่งสิ่งนั้นก็คือความทรงจำโดยที่เขาอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามันคือส่วนผสมระหว่างความทรงจำที่เขามีกับบ้านคุณตาคุณยายเขากับชีวิตสมัยใหม่ที่เขาอยากจะเป็นในบ้านหลังนี้”

     เรือนพินรัตน์เกิดจากความคิดของคุณวิวัฒน์รอดสุด เจ้าของบ้าน ที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหม่ให้เป็นสัญลักษณ์ของการระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยนอกจากการนำไม้เก่าจากบ้านคุณตาคุณยายมาใช้ การมีมุมติดรูปคุณตาคุณยายไว้ที่มุมหนึ่งของข้างฝา การใช้รูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่อ้างอิงกับเรือนพื้นถิ่นภาคใต้แบบที่คล้ายกับบ้านหลังเก่า ชื่อของบ้านยังได้มาจากชื่อของคุณยายพินและคุณตาวิรัตน์ ทั้งหมดรวมกันจึงเป็นบ้านที่ประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบทางความทรงจำ และความหมายที่มีคุณค่าต่อเจ้าของบ้านโดยเฉพาะอย่างลึกซึ้ง

     ท้ายที่สุดการให้ความสำคัญกับการเน้นความหมายที่อยู่ในแต่ละสถานที่มากกว่าการกำหนดออกมาจากตัวนักออกแบบเอง จึงเป็นสิ่งที่กลุ่มสถาปนิกตื่นมุ่งหวังมาโดยตลอด ดังที่คุณภคชาติกล่าวสรุปในตอนท้าย

     “เรื่องนี้มันสะท้อนในวิธีคิดของพวกเราเหมือนกันคือเรารู้สึกว่าบางทีสถาปนิกหรือดีไซเนอร์นั้นไม่ได้เป็นเจ้าของความสวยงามหรือว่าสิ่งที่ออกมาจากดีไซเนอร์เท่านั้นที่มันจะสวย

ภาพสเก็ตช์บ้านของคุณวิวัฒน์ ที่ใช้สื่อสารกับทีมสถาปนิกตื่น

     “งานพื้นถิ่นหรือถ้าเป็นในเมืองถือเป็นงานแนวสตรีทดีนี่เองซึ่งล้วนแต่มีความงามติดตัวมาอยู่แล้วเพียงแต่เราจะเห็นมันหรือเปล่าความธรรมดาและความเรียบง่ายมันมีอยู่ทุกที่ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นดีไซเนอร์เท่านั้นที่จะสร้างสรรค์ความงามออกมาได้”

เรื่อง : กรกฎา, โมโนโซดา
ภาพ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ