10 DESIGN PLAYGROUNDS 10 สนามเด็กเล่น ที่ผู้ใหญ่เห็น ยังต้องร้องว้าว! - room

10 สนามเด็กเล่น ที่ผู้ใหญ่เห็น ยังต้องร้องว้าว!

สำหรับเด็ก ๆ นอกจากเรื่องเรียนแล้ว ก็เห็นจะมีเรื่องเล่นนี่แหละที่เป็นงานหลักของพวกเขา

และถ้าจะพูดถึงเรื่องเล่นแล้ว สำหรับเด็ก ๆ ที่ที่ดีที่สุดที่จะเล่น ได้พบเจอเพื่อนใหม่ ๆ ได้ใช้พลังอย่างเต็มที่ ที่แห่งนั้นก็คงจะไม่พ้นสนามเด็กเล่นนั่นเอง วันนี้เว็บไซต์บ้านและสวน จึงอยากขอพาคุณผู้อ่านไปลองชม สนามเด็กเล่น ที่ไม่ได้มาเล่น ๆ แต่มีดีไซน์ที่น่าสนใจจนผู้ใหญ่ต้องร้องว้าว! เลยทีเดียว

  1. Monstrocity, The City Museum | St.Louis, Missouri, USA
ภาพ : CHRISTOPHER JOBSON | https://www.thisiscolossal.com/

Monstro City เป็นส่วนหนึ่งของ City Museum แห่งเมือง St Louis รัฐ  Missouri ซึ่ง Bob Cassilly ได้ใช้เวลากว่า 30 ปีในการค่อยๆสร้างพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ขึ้นมา เด็ก ๆ สามารถปีนไปตามโครงสร้างที่เกิดจากสิ่งของต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกัน ตั้งแต่เศษเหล็กจากโรงงานจนไปถึงซากเครื่องบินไอพ่นเก่า เป็นภาพแปลกตาที่เด็ก ๆ จะต้องชอบอย่างแน่นอน

ภาพ : CHRISTOPHER JOBSON | https://www.thisiscolossal.com/
ภาพ : CHRISTOPHER JOBSON | https://www.thisiscolossal.com/
  1. Knitted Wonder Space 2 | Hakone, Japan
ภาพ : Mazaki Koisumi

เป็นทั้งงานศิลปะและพื้นที่กิจกรรม สนามเด็กเล็กที่เกิดจากการถักนิตติ้งขนาดยักษ์โดยศิลปิน Toshiko Horiuchi MacAdam ซึ่งเบื้องหลังความคิดของสนามเด็กเล่นแห่งนี้ ก็คือพื้นที่ซึ่งเป็นมิตรกับทุก ๆ คน และสามารถเล่นร่วมกันได้อย่างอ่อนโยน

ภาพ : Mazaki Koisumi
  1. Bounce Below | Northern Wales, UK
ภาพ : zip world

ลองจินตนาการถึงตาข่ายยางยืดขนาดยักษ์ที่ขึงไว้ระหว่างหุบเหวในถ้ำของประเทศเวลส์(สหราชอาณาจักร) เป็นความรู้สึกแปลกตาและแปลกใจเล็กน้อย แต่เชื่อเหลือเกินว่า เด็ก ๆ คนรู้สึกสนุกกับพื้นที่แห่งนี้ได้สุด ๆ ไปเลยทีเดียว

ภาพ : zip world
  1. Red Planet | Shanghai, China
ภาพ : Amey Kandalgaonkar – 100architects

ออกแบบโดย 100architects เพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะของเมืองในย่านช๊อปปิ้งเกิดเป็นพื้นที่ “กึ่งส่วนตัว” ให้เด็กได้วิ่งเล่นกัน ซึ่งเด็ก ๆ หรือแม้แต่ผู้ปกครองเองก็อาจจะได้รู้จักเพื่อนบ้านมากขึ้นผ่านพื้นที่แห่งนี้อีกด้วย

ภาพ : Amey Kandalgaonkar – 100architects
ภาพ : Amey Kandalgaonkar – 100architects
  1. Gallery of Park ‘n’ Play | Copenhagen, Denmark
ภาพ : jaja architects

สนามเด็กเล่นที่ตั้งอยู่บนอาคารจอดรถของเมืองโคเปนเฮเกน ซึ่งออกแบบด้วยโทนสีโมโนโทน และการจัดวางฟอร์มและกริดที่เรียบง่าย เพื่อให้สนามเด็กเล่นแห่งนี้ เป็นทั้งพื้นที่กิจกรรม และจุดชมเมืองเขตท่าเรือของเมืองไปพร้อม ๆ กัน

ภาพ : jaja architects
  1. Play Landscape be-MINE | Beringen, Belgium
ภาพ : carve

ออกแบบโดย Carve and Omgeving เพื่อทำหน้าที่เป็นอนุสรณ์สถานของเหมืองถ่านหินใน Beringen ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เคยหล่อยเมืองแห่งนี้ เกิดเป็นภูเขาจำลองสูง 60 เมตร นำลักษณะของเหมืองถ่านหินมาตีค่าให้กลายเป็นรูปทรงเรขาคณิต และสร้างความสัมพันธ์ของการเล่นให้ต้อง “ช่วยกัน” เปรียบเหมือนการทำงานร่วมกันของชาวเหมืองในอดีต

ภาพ : carve
ภาพ : carve
  1. Into the Wild | Grevelingenveld, Netherlands
ภาพ : Dmau, Openfabric

ออกแบบโดย Dmau และ Openfabric  โดยเป็นการผสมผสานรูปแบบสนามเด็กเล่นสามแบบเข้าด้วยกันคือความเป็นธรรมชาติในพื้นที่รอบ ๆ พื้นที่เล่นกีฬาผาดโผนอย่างสเก็ตบอร์ด ปีนผา และจักรยานที่ภายนอก และเครื่องเล่นสำหรับเด็ก ภายในสนามเด็กเล่นแห่งนี้ จึงเป็นทั้งสวนและสนามเด็กเล่นที่เชื่อมโยงชุมชนเข้าหากันได้อย่างดี

ภาพ : Dmau, Openfabric
  1. Gyeonggi Children’s Museum | South Korea
ภาพ : luckey climbers

Spencer Luckey เป็นนักออกแบบเครื่องเล่นปีนป่าย และที่ Gyeonggi Children’s Museum แห่งนี้ เขาได้ออกแบบประติมากรรมที่สูงเท่าตึกสามชั้น ดูคล้ายเห็ดยักษ์ที่เด็ก ๆ สามารถกระโดด และปีนเล่นได้อย่างเต็มที่

ภาพ : luckey climbers
  1. Blaxland Riverside Park | Sydney,  Australia
ภาพ : jmddesign

เราอยากเรียกสนามเด็กเล่นแห่งนี้ว่า สวนเทเลทับบี้ส์จริง ๆ ออกแบบโดย JMDdesign ด้วยรูปลักษณ์ของเนินหญ้าอันเกลี้ยงเกลายั่วให้เด็ก ๆ วิ่งเล่นกันอย่างสุดกำลัง เชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆของสนามเด็กเล่นแห่งนี้ด้วยสไลเดอร์ ท่อมุด และตาข่ายสำหรับปีนป่าย สำหรับเด็ก ๆ แล้ว จะมีอะไรดีไปกว่านี้อีกเล่า?

ภาพ : jmddesign
ภาพ : jmddesign
ภาพ : jmddesign
  1. Pole Dance | New York, USA
ภาพ : So – il

ปิดท้ายด้วยสนามผู้ใหญ่เล่นจากปี 2000 ซึ่งเป็นโปรเจคต์ทดลองของ the MoMA และ  the P.S.1 ออกแบบโดย So – il โปรเจ็กต์ Pole Dance สร้างพื้นที่แปลกตาที่ประกอบขึ้นจากลูกบอล ตาข่าย และเสาที่วางตัวกันอย่างเป็นระเบียบ แต่ทั้งหมดนี้จะเกิดปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อมีใครบางคนโหน หรือโยกเสาเหล่านั้น และพาให้ทั้งพื้นที่ขยับไหวไปพร้อม ๆ กัน น่าสนุกใช่ไหมละ? ซึ่งพื้นที่นี้ก็ดูขี้เล่นพอที่จะทำให้ผู้ใหญ่หลาย ๆ คน นึกถึงตอนพวกเขาเป็นเด็ก ๆ ได้ไม่ยาก

ภาพ : So – il
ภาพ : So – il

เรื่อง | วุฒิกร สุทธิอาภา