แบบบ้านโมเดิร์น DETAILS OF LIFE บ้านทรงกล่อง เรียบง่าย - room life

DEMOH HOME บ้านทรงกล่องซ่อนความละเอียดลออ

หากให้จินตนาการถึงบ้านของสถาปนิกสักหลัง คุณคิดว่าจะเป็นแบบไหน บ้านที่มีฟังก์ชันมาก ๆ ดีไซน์จัดจ้าน รูปทรงแสนประหลาด หรือมีลูกเล่นสลับซับซ้อน หากแต่ บ้านโมเดิร์น ของสถาปนิกหลังนี้กลับดูเรียบง่าย มีเสน่ห์ด้วยแสงเงา และผิวสัมผัสจากแมททีเรียลที่หลากหลาย

DESIGNER DIRECTORY
ออกแบบ: Lynk Architect

ภายใต้รูป แบบบ้านโมเดิร์น ทรงกล่องขนาด 350 ตารางเมตรหลังนี้ ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเก่าแก่อายุกว่า 30 ปี ย่านบางนา-ตราด มี คุณลิงก์ – เอกลักษณ์ สถาพรธนพัฒน์ สถาปนิกและกรรมการผู้จัดการ บริษัท Lynk Architect เป็นเจ้าของและผู้ออกแบบ

คุณลิงก์เล่าความรู้สึกของการเริ่มเข้ามาอยู่บ้านหลังนี้ให้ฟังว่า “ตอนแรกที่เข้ามาอยู่ ผมยังรู้สึกไม่ค่อยชินเท่าไหร่ เมื่อก่อนอาศัยในคอนโดเล็ก ๆ แถวสี่พระยาใกล้ออฟฟิศเก่า พอย้ายมาอยู่ที่นี่ ซึ่งมีขนาดเกือบ 300 ตารางเมตร ถือว่าใหญ่มากสำหรับผม เวลาจะทำอะไรดูเหมือนว่าต้องเดินไกล ทุกวันนี้ก็ยังไม่ค่อยชินครับ เนื่องจากบ้านมีพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ จึงมีอะไรต้องดูแลเยอะ ทั้งสวน และไฟสนาม บางวันเดี๋ยวก็หลอดไฟเสีย เดี๋ยวก็หลอดไฟขาด มีอะไรเพิ่มขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน” 

ที่ตั้งของบ้านคุณลิงก์เดิมคือสวนของบ้านคุณแม่ ซึ่งไม่ค่อยได้รับการดูแลเนื่องจากมีทางเข้าและลานจอดรถขวางอยู่ตรงกลาง พื้นที่ตรงนี้จึงไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ เมื่อคุณลิงก์มีโครงการจะสร้างบ้านใหม่ เขาจึงตัดสินใจรีโนเวตบ้านให้มีพื้นที่สอดคล้องกับการใช้งาน โดยเปลี่ยนทางเข้าและลาดจอดรถไปอยู่ข้างบ้าน แล้วสร้างบ้านของตัวเองขึ้นในบริเวณสวนเก่า

ส่วนการออกแบบบ้าน คุณลิงก์ได้นำแปลนบ้านที่เคยออกแบบให้เพื่อนมาดัดแปลงเป็นที่อยู่อาศัยของตัวเอง ตามลักษณะการใช้สอย

ส่วนรับแขกดีไซน์ให้เปิดโล่งเป็นโถงสูงถึงชั้น 2 ทำผนังด้านหน้าทั้งหมดเป็นกระจกสูง 5 เมตร ช่วยให้อากาศถ่ายเทและแสงแดดเข้าถึงได้ตลอดทั้งวัน
ส่วนรับแขกดีไซน์ให้เปิดโล่งเป็นโถงสูงถึงชั้น 2 ทำผนังด้านหน้าทั้งหมดเป็นกระจกสูง 5 เมตร ช่วยให้อากาศถ่ายเทและแสงแดดเข้าถึงได้ตลอดทั้งวัน
ภาพถ่ายประดับผนังบ้านทุกชิ้นเป็นผลงานของคุณลิ้งขณะฝึกถ่ายภาพด้วยฟิล์มขาว - ดำ ทั้งล้างและอัดภาพเอง จนออกมาเป็นของตกแต่งบ้านที่ไม่มีใครเหมือน สะท้อนตัวตนของเจ้าของบ้านได้ดี
ภาพถ่ายประดับผนังบ้านทุกชิ้นเป็นผลงานของคุณลิ้งขณะฝึกถ่ายภาพด้วยฟิล์มขาว – ดำ ทั้งล้างและอัดภาพเอง จนออกมาเป็นของตกแต่งบ้านที่ไม่มีใครเหมือน สะท้อนตัวตนของเจ้าของบ้านได้ดี

“พอดีเจ้าของแปลนคนเก่ามีปัญหาตอนที่จะลงมือก่อสร้าง โครงการจึงต้องยกเลิกไป ผมเสียดายแบบ พร้อมกับมีโครงการจะสร้างบ้านของตัวเองพอดี จึงนำมาปรับนิดหน่อยเพื่อให้เข้ากับการใช้ชีวิตของผม แล้วลงมือสร้างเองเลย” คุณลิงก์กล่าวถึงที่มาของแปลนบ้านหลังนี้

การนำแปลนบ้านที่เคยออกแบบให้คนอื่นมาดัดแปลงเป็นบ้านของตัวเองนั้น อาจดูเหมือนไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของเจ้าของใหม่มากนัก แต่คุณลิงก์ก็สามารถดัดแปลงให้ลงตัวเข้ากับตัวเองได้ เนื่องจากแปลนบ้านมีฟังก์ชันทุกอย่างครบครัน ขนาดที่ดินพอ ๆ กัน บวกกับเจ้าของเก่ามีอายุ และข้อจำกัดเรื่องงบประมาณคล้าย ๆ กับคุณลิงก์ แบบบ้านนี้จึงค่อนข้างตอบสนองความต้องการของเขาได้อย่างลงตัว โดยมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขเพียงบางส่วนเท่านั้น

สิ่งแรกที่ได้รับการแก้ไขคือ ลานกลางบ้าน เดิมพื้นที่นี้คือไฮไลท์ของบ้านก็ว่าได้ มีระเบียงชั้น 2 อยู่ตรงกลาง สามารถเดินออกมาได้จากโถงทางเดินทั้งสามด้าน เปรียบเสมือนชานบ้านเรือนไทย แต่เมื่อคุณลิงก์นำมาใช้จริง เขาได้ปรับลดขนาดของลานกลางบ้านลง จนสามารถเดินออกได้ทางเดียว และเปลี่ยนมาเพิ่มขนาดดับเบิ้ลสเปซของโถงห้องรับแขกให้ใหญ่ขึ้น เพื่อความโปร่งโล่งอย่างแท้จริงเพราะเป็นพื้นที่ที่ต้องใช้งานมาก

เหตุผลของการยังคงมีลานกลางบ้านเอาไว้ เพราะการมีพื้นที่เอ๊าต์ดอร์มาอยู่กลางบ้าน ทำให้มุมมองจากอาคารชั้น 2 ดูปลอดโปร่ง ทั้งยังเป็นเหมือนช่องเปิดขนาดใหญ่เพื่อรับแสงเข้ามาในบ้านอีกด้วย

เมื่อเปิดประตูเข้าบ้านจะพบกับโถงทางเข้าที่จัดเป็นส่วนถอดรองเท้าสไตล์ญี่ปุ่น ผนังด้านบนเป็นตู้เก็บรองเท้าแบบบิลท์อินสีขาว ด้านล่างเป็นตู้บิลท์อินเตี้ย ๆ ทำจากไม้แอชสำหรับนั่งใส่รองเท้าและมีลิ้นชักเก็บของ ก่อนยกระดับพื้นขึ้นเพื่อบอกว่ากำลังจะก้าวเข้าสู่ตัวบ้าน
เมื่อเปิดประตูเข้าบ้านจะพบกับโถงทางเข้าที่จัดเป็นส่วนถอดรองเท้าสไตล์ญี่ปุ่น ผนังด้านบนเป็นตู้เก็บรองเท้าแบบบิลท์อินสีขาว ด้านล่างเป็นตู้บิลท์อินเตี้ย ๆ ทำจากไม้แอชสำหรับนั่งใส่รองเท้าและมีลิ้นชักเก็บของ ก่อนยกระดับพื้นขึ้นเพื่อบอกว่ากำลังจะก้าวเข้าสู่ตัวบ้าน
ส่วนรับแขกติดตั้งโครงเหล็กแผ่นเชื่อมติดกับผนังจากด้านหลัง ทำให้มีลักษณะเหมือนลอยตัว สามารถทำเป็นชั้นวางโทรทัศน์และลิ้นชักเก็บของได้ แล้วซ่อนไฟในช่องว่างระหว่างโครงเหล็กกับผนัง ให้แสงไฟส่องกระทบลงบนพื้นช่วยเพิ่มมิติให้บ้าน
ส่วนรับแขกติดตั้งโครงเหล็กแผ่นเชื่อมติดกับผนังจากด้านหลัง ทำให้มีลักษณะเหมือนลอยตัว สามารถทำเป็นชั้นวางโทรทัศน์และลิ้นชักเก็บของได้ แล้วซ่อนไฟในช่องว่างระหว่างโครงเหล็กกับผนัง ให้แสงไฟส่องกระทบลงบนพื้นช่วยเพิ่มมิติให้บ้าน
จากมุมนี้จะมองเห็นโครงสร้างของบ้านชั้นบนที่มีการใช้วัสดุสีเข้มเพื่อแยกโครงสร้างกับชั้นล่างอย่างชัดเจน โดยใช้วัสดุปิดผิวคือไม้ฝาไฟเบอร์ซีเมนต์สีเทา แสดงถึงส่วนของโครงสร้างเหล็กและผนังมวลเบา ส่วนโครงสร้างชั้นล่างทาสีอ่อนเป็นสัญลักษณ์ของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กรับน้ำหนัก
จากมุมนี้จะมองเห็นโครงสร้างของบ้านชั้นบนที่มีการใช้วัสดุสีเข้มเพื่อแยกโครงสร้างกับชั้นล่างอย่างชัดเจน โดยใช้วัสดุปิดผิวคือไม้ฝาไฟเบอร์ซีเมนต์สีเทา แสดงถึงส่วนของโครงสร้างเหล็กและผนังมวลเบา ส่วนโครงสร้างชั้นล่างทาสีอ่อนเป็นสัญลักษณ์ของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กรับน้ำหนัก
โต๊ะรับประทานอาหารที่ตั้งอยู่กลางบ้านทำหน้าที่เหมือนเป็นพระเอก เลือกใช้โต๊ะไม้สีอุ่นและโคมไฟเพดานสีเหลืองส่องลงมากลางโต๊ะอาหารเพิ่มความอบอุ่นให้กับห้องสีขาว ส่วนครัวแบบบิลท์อินดีไซน์ให้ดูไม่ธรรมดา ด้วยการทำเคาน์เตอร์ครัวแบบไอส์แลนด์อยู่ตรงกลาง สามารถใช้ประโยชน์ได้รอบด้าน
โต๊ะรับประทานอาหารที่ตั้งอยู่กลางบ้านทำหน้าที่เหมือนเป็นพระเอก เลือกใช้โต๊ะไม้สีอุ่นและโคมไฟเพดานสีเหลืองส่องลงมากลางโต๊ะอาหารเพิ่มความอบอุ่นให้กับห้องสีขาว ส่วนครัวแบบบิลท์อินดีไซน์ให้ดูไม่ธรรมดา ด้วยการทำเคาน์เตอร์ครัวแบบไอส์แลนด์อยู่ตรงกลาง สามารถใช้ประโยชน์ได้รอบด้าน
คุณลิ้งนั่งพักผ่อนสบาย ๆ กับตัวอี้ตัวโปรด บริเวณส่วนรับแขกของบ้าน
คุณลิ้งนั่งพักผ่อนสบาย ๆ กับตัวอี้ตัวโปรด บริเวณส่วนรับแขกของบ้าน

อ่านต่อหน้า 2 คลิก