GRAPH PHUKET คาเฟ่ภูเก็ต เล่ารสชาติกาแฟจากเหนือสู่แดนใต้ - room

GRAPH PHUKET ชุบชีวิตตึกเก่าเป็นคาเฟ่ เพื่อส่งต่อรสชาติกาแฟจากเหนือสู่แดนใต้

ท่ามกลางความเคลื่อนไหวของเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ริมถนนพังงาที่มุ่งหน้าสู่สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ด ปรากฏคาเฟ่ชื่อ GRAPH Phuket สาขาน้องใหม่ล่าสุดของ GRAPH แบรนด์คาเฟ่ชื่อดังจากเชียงใหม่

ที่เจ้าของแบรนด์อย่าง คุณฆฤพร สาตราภัย ขอขยายสาขามุ่งหน้าลงใต้ สู่ร้าน GRAPH Phuket เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่นักดื่มกาแฟ พร้อมการนำตัวเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ภายในตึกแถวสไตล์ชิโน-ยูโรเปียนอายุกว่าร้อยปี

GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต
เก็บรายละเอียดของสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปียนไว้ให้คงเสน่ห์และกลิ่นอายดั้งเดิม
GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต
เดิมที่นี่เป็นตึกร้างและทรุดโทรมมานาน กระทั่งได้ตัดสินใจเช่าและรีโนเวตใหม่ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านสถาปัตยกรรมเป็นหลัก
นำไม้เนื้อแข็งมาปูลงไปใหม่ ตงและคานไม้ก็เปลี่ยนใหม่ ทั้งยังลดทอนความสูงของโถงอาคารที่สูงถึง 4 เมตร ด้วยการเพิ่มพื้นที่ชั้นลอยให้เพียงพอกับการใช้งาน

จากแนวทางของ GRAPH หลาย ๆ สาขา จะพบว่ามักตั้งอยู่ในเมืองเก่าที่มีคาแร็คเตอร์ชัดเจน ทั้งวัฒนธรรมและการเป็นเมืองท่องเที่ยว สำหรับที่ภูเก็ตก็เช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ภูเก็ตถูกเลือกให้เป็นทำเลใหม่ของการขยายสาขาเป็น GRAPH Phuket ครั้งนี้

ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องราวให้พูดถึงไม่แพ้สาขาอื่น เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ยังเก็บรายละเอียดของสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปียนไว้ให้คงเสน่ห์และกลิ่นอายดั้งเดิม ร่วมกับแนวทางการรีโนเวตที่กลมกลืนกับอาคารหลังอื่น ๆ ในย่านโอล์ดทาวน์ของภูเก็ต

GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต
สีเก่าและร่องรอยบนผนังยังคงเก็บไว้ เพื่อบ่งบอกประวัติศาสตร์ของอาคาร
GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต
GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต

คุณฆฤพร สาตราภัย เจ้าของแบรนด์ GRAPH เล่าว่า เดิมที่นี่เป็นตึกร้างและทรุดโทรมมานาน กระทั่งได้ตัดสินใจเช่าและรีโนเวตใหม่ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านสถาปัตยกรรมเป็นหลัก สิ่งต่อเติมใดที่ไม่ตรงกับยุคของอาคาร และวัสดุที่ชำรุดจะถูกรื้อออกเกือบหมด เช่น หลังคาสังกะสี ฝ้า โครงสร้างไม้ และบันไดผุพัง ก่อนเสริมด้วยโครงสร้างใหม่ให้แข็งแรง อย่างพื้นชั้น 2 ที่นำไม้เนื้อแข็งมาปูลงไปใหม่ ตงและคานไม้ก็เปลี่ยนใหม่เช่นกัน ทั้งยังลดทอนความสูงของโถงอาคารที่สูงถึง 4 เมตร ด้วยการเพิ่มพื้นที่ชั้นลอยให้เพียงพอกับการใช้งาน

GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต
GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต
บันไดเก่าถูกแทนที่ด้วยบันไดเวียนตรงกลาง ด้วยโครงสร้างที่วิ่งขึ้นไปเป็นทรงกระบอกไม้กลม ๆ จึงช่วยเซฟเรื่องพื้นที่ได้อย่างดี
GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต
GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต
GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต

บันไดเก่าถูกแทนที่ด้วยบันไดเวียนตรงกลาง ด้วยโครงสร้างที่วิ่งขึ้นไปเป็นทรงกระบอกไม้กลม ๆ จึงช่วยเซฟเรื่องพื้นที่ได้อย่างดี ทั้งยังดูสวยงามในแง่สถาปัตยกรรม ส่วนสีเก่าและร่องรอยบนผนังยังคงเก็บไว้ เพื่อบ่งบอกประวัติศาสตร์ของอาคาร ช่วยเปลี่ยนตึกร้างที่ไร้การเหลียวแลมานาน ให้กลับมามีชีวิตและคุณค่าอีกครั้ง

สมกับที่คุณฆฤพรบอกว่า “ถ้าเราทำใหม่ก็คงไม่มีความหมาย ว่าทำไมเราถึงต้องมาอยู่ตรงนี้ จึงคิดว่าควรเก็บรายละเอียดเหล่านั้นไว้ ให้มีฟีลลิ่งของอาคารเดิมอยู่”

GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต
คอนเซ็ปต์การออกแบบเน้นวัสดุแบบเรียลแมททีเรียลและความร่วมสมัย
GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต
GRAPH PHUKETการมาเยือนของคาเฟ่เชียงใหม่ ในย่านเก่ากลางเมืองภูเก็ต
จัดพื้นที่เปิดให้ศิลปินท้องถิ่นได้โชว์ผลงานในรูปแบบนิทรรศการหมุนเวียน

คอนเซ็ปต์การออกแบบเน้นวัสดุแบบเรียลแมททีเรียลและความร่วมสมัย โดยเก็บรักษาและดึงคุณค่าเดิมของอาคารออกมา วัสดุหลักที่เห็นเด่น ๆ คือ “ไม้” ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งชนิดเดียวกับที่ใช้ต่อเรือประมง นำมาใช้ทำเป็นโครงสร้างหลักหลายส่วน โชว์สีและลายไม้จริง ๆ นอกจากนี้ยังมีสายไฟที่เป็นแบบลอยร้อยอยู่ในลูกถ้วยเซรามิก ราวกันตกทำจากกระจกเพื่อลดสิ่งรบกวนสายตาให้น้อยที่สุด ชั้น 2 หรือชั้นบนสุด จัดพื้นที่เปิดให้ศิลปินท้องถิ่นได้โชว์ผลงานในรูปแบบนิทรรศการหมุนเวียน ตามเจตนาที่อยากสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อสร้างแรงบันดาล เป็นส่วนหนึ่งกับชุมชนและบริบทของเมืองนั้น ๆ ที่ GRAPH ไปตั้งอยู่

มีก้อนอาคารขนาดเล็กที่คั่นกลางด้วยคอร์ตบ่อน้ำเก่า แบ่งพื้นที่ใช้งานเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นสต็อกกาแฟ และเครื่องคั่ว
เฟอร์นิเจอร์ทั้งร้านเน้นทำจากไม้ วางเบาะสีกรมท่าสัมผัสนุ่มสบาย ให้ลุคดูสะอาดเรียบร้อย ไม่แย่งซีนอาคารเก่า

นอกจากก้อนอาคารหลัก ด้านหลังยังมีก้อนอาคารขนาดเล็กที่คั่นกลางด้วยคอร์ตบ่อน้ำเก่า แบ่งพื้นที่ใช้งานเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นสต็อกกาแฟ และเครื่องคั่ว ส่วนชั้นบนเป็นที่นั่งใช้รองรับลูกค้าที่ไหลมาจากอาคารด้านหน้า เฟอร์นิเจอร์ทั้งร้านเน้นทำจากไม้ วางเบาะสีกรมท่าสัมผัสนุ่มสบาย ให้ลุคดูสะอาดเรียบร้อย ไม่แย่งซีนอาคารเก่า

ส่วนเมนูกาแฟที่ GRAPH Phuket จัดเสิร์ฟ ได้มีการเพิ่มเบสกาแฟให้หนักขึ้น เพราะคาแร็คเตอร์ของคนดื่มกาแฟทางใต้ค่อนข้างมีความแตกต่างจากทางเหนือ ขณะที่เมนูซิกเนเจอร์ก็ยังคงยกมาเสิร์ฟที่นี่ด้วย เพื่อมอบประสบการณ์การดื่มกาแฟให้กับลูกค้าท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวได้ลิ้มลอง

“เราอยากเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชุมชนนั้น ๆ และนำเสนอกาแฟในแบบของเรา ซึ่งเราก็ได้รับการตอบรับดีนะ คนทำกาแฟที่นี่มีความหลากหลาย มีคาแร็คเตอร์ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งน่าจะดีกับคนดื่มกาแฟ ที่เขาจะได้มีทางเลือกหลากหลาย สร้างความคึกคักให้กับคาเฟ่ในภูเก็ต และบางประสบการณ์ก็สร้างความเซอร์ไพร้ส์ให้กับเราด้วยเช่นกันครับ” คุณฆฤพรกล่าวทิ้งท้าย

ที่ตั้ง
121 ถนนพังงา ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดภูเก็ต
พิกัด https://goo.gl/maps/p1uQqK8ijvdLLR5k6
เปิด ทุกวัน 8.30-17.30 น.
โทร.09-9372-3003
https://www.facebook.com/graphphuket/
เจ้าของ-ออกแบบ : คุณฆฤพร สาตราภัย
ภาพ : วาดแสง
เรื่อง : Phattaraphon