room Archives - Page 32 of 139 - room

JETTY GARDEN สวนสาธารณะริมท่าเทียบเรือ ที่ส่งเสริมทั้งการพักผ่อนและภูมิทัศน์อันสวยงามในประเทศอินเดีย

สวนสาธารณะ ริมท่าเทียบเรือ Nani Daman ในเมือง Daman ประเทศอินเดีย อยู่ใกล้กับป้อมปราการ St. Jerome ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ย้อนไปแต่เดิมที่นี่เคยเป็นพื้นที่สวนสาธารณะมาก่อน แต่กลับถูกเลิกใช้และปล่อยให้เสื่อมโทรมอยู่เป็นเวลานาน เพราะไม่ตอบโจทย์ความต้องการของชาวบ้านเท่าไหร่นัก กระทั่งมีนโยบายให้ฟื้นฟูและออกแบบใหม่ โดยครั้งนี้เป็นหน้าที่ของทีมออกแบบจาก ARUR, KTA ซึ่งให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้งาน และบริบทที่ตั้งเป็นสำคัญ การออกแบบ สวนสาธารณะ นี้ เรียกว่าถูกกำหนดด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ ปัจจัย นอกจากโจทย์ด้านการใช้งานแล้ว ยังต้องตอบโจทย์ด้านภูมิทัศน์ด้วย เนื่องจากทำเลสามารถมองเห็นความสวยงามของวิวริมน้ำ โดยเฉพาะฝั่งตรงข้ามที่มองเห็นป้อมปราการ St. Jerome และภาพเรือประมงหลากสีสันที่สัญจรผ่านไปมาบนผิวน้ำ ซึ่งเหมาะแก่การมาพักผ่อนชมวิวเป็นอย่างมาก взять автокредит онлайн เพื่อตอบสนองจุดประสงค์การใช้งานดังกล่าว จึงออกแบบอาคารพาวิเลียนให้ขนานไปกับแนวถนนชายฝั่ง แล้วทำทางเดินชั้นบนให้เชื่อมต่อถึงกันได้ แบบยาว ๆ ให้เดินเล่นชมวิวมุมสูงได้แบบจุใจ โดยพาวิเลียนแต่ละหลังจะไม่บดบังกัน หลังคาด้านบนทำจากไม้ระแนงเพื่อช่วยกรองแสงเท่านั้น จึงเป็นภาพโครงสร้างที่ดูโปร่งเบา ขณะที่ชั้นล่างก็ได้ร่มเงาจากใต้ท้องอาคาร ช่องว่างด้านล่างของพาวิเลียนที่สร้างแบบสับหว่างกัน ทำพื้นที่เป็นคอร์ตสวนขนาดเล็ก ปลูกไม้ยืนต้นที่ขุดล้อมมาจากสวนเก่ากว่า 20 ต้น เติมด้วยไม้พุ่มทรงเตี้ยที่มีใบสีสันสดใสช่วยเพิ่มความสดชื่น และเมื่อยอดไม้แผ่กิ่งก้านเติบโตเต็มที่ก็จะกลายเป็นร่มเงาแผ่ปกคลุมไปทั่วทั้งบริเวณ ช่วยให้อาคารไม่ร้อนจนเกิน […]

KIEW NONG BUA ร้านบะหมี่เก่าแก่ในจังหวัดตราด กับการรีแบรนด์ใหม่ที่ดึงดูดลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่

รีโนเวตร้าน “เกี๊ยวหนองบัว” ร้านบะหมี่เก่าแก่ประจำจังหวัดตราด ให้มีความโดดเด่นด้วยตัวอาคารสีขาวดีไซน์เรียบง่าย และปนกลิ่นอายวินเทจ เพื่อบ่งบอกว่า ถึงจะรีแบรนด์ใหม่อย่างไร แต่รสชาติความอร่อยที่ผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน ก็ยังคงเอกลักษณ์ไว้เหมือนเดิม เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจและตอบโจทย์คนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ “เกี๊ยวหนองบัว” หลังจากที่ดำเนินกิจการมากว่า 50 ปี และกำลังอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่าง “รุ่นพ่อ” กับ “รุ่นลูก” การรีโนเวตและรีแบรนด์ใหม่เพื่อให้ตอบรับกับรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนยุคนี้ จึงเป็นการสานต่อมรดกวัฒนธรรมของครอบครัว โดยการออกแบบใหม่ในครั้งนี้ก็เป็นไปด้วยความเคารพและตั้งใจนำพาเอกลักษณ์ของร้าน ที่อบอวลทั้งบรรยากาศ และรสชาติอาหารดั้งเดิม ให้ก้าวต่อไปสู่ยุคสมัยอนาคต การออกแบบตั้งใจให้ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ ขณะเดียวกันก็ยังคงใส่ใจกับลูกค้าเก่า ภายนอกของอาคารจึงได้มีการใช้กระเบื้องสีขาวกรุรอบฟาซาดเดิมทั้งหมด สร้างการจดจำที่ไม่ทิ้งบรรยากาศเก่า ๆ เพราะกระเบื้องสีขาวเป็นหนึ่งในวัสดุหลักที่เรามักพบเห็นได้ในร้านอาหารประเภทนี้ ส่วนการออกแบบภายในร้านคงกลิ่นอายความวินเทจไว้ ด้วยรูปแบบการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบร้านบะหมี่ดั้งเดิม แต่คุมโทนด้วยสีขาวและไม้สีอ่อน จุดที่เสริมเข้าไปในการออกแบบคือการเพิ่มคอร์ตกลางให้กับอาคารได้รับแสงธรรมชาติอย่างทั่วถึง จากเดิมที่เป็นตึกแถวสามคูหา แสงส่องเข้าไปไม่ถึงภายใน ก็กลายเป็นพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ที่ดูสดชื่นและเปี่ยมด้วยพลังงาน ที่นี่จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการตีความสิ่งเก่าให้กลับมาดูดีเหมือนใหม่ ในแบบที่ประนีประนอมต่อความดั้งเดิม และความร่วมสมัยเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัว ที่ตั้ง 121-123 ถนนสุขุมวิท ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราดพิกัด https://goo.gl/maps/uU8QorLNDs4y2p5t8เปิดวันจันทร์ – เสาร์ เวลา 06.00น.– […]

FUJITA COFFEE คาเฟ่ญี่ปุ่น สไตล์อินดัสเทรียล เรียบง่ายเปิดเผย มองเห็นทุกการเคลื่อนไหวภายใน

Fujita Coffee คาเฟ่ญี่ปุ่น ในเมืองฮิกาชิโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่เน้นโชว์โครงสร้างสุดเท่ มองเห็นพื้นที่และการใช้งานภายในอย่างปลอดโปร่ง สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเปิดเป็นศูนย์รวมธุรกิจที่เกี่ยวกับกาแฟแบบครบวงจร ด้วยรูปทรงที่แปลกตาผสมกลิ่นอายของความเป็นอินดัสเทรียลเท่ ๆ สไตล์ญี่ปุ่น  ภาพที่ชวนสะดุดตานั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการออกแบบพื้นทางเดินในอาคารที่ยื่นออกมาเป็นทั้งฟาซาดและชายคาลาดเอียงลดหลั่นกันเป็นเกลียวไล่ระดับจากต่ำไปหาสูง ชวนให้ผู้คนต้องเหลียวมอง คาเฟ่ญี่ปุน ความโดดเด่นของ คาเฟ่ลอฟต์ญี่ปุ่น แห่งนี้ เรียกว่ามาจากจุดประสงค์ของการใช้งาน โดยตั้งใจให้ที่นี่เป็นดังศูนย์กลางของทุก ๆ กิจกรรมที่เกี่ยวกับกาแฟ ทั้งในฐานะของคาเฟ่ที่มีโรงคั่วขนาดใหญ่ตั้งอยู่ภายในบริเวณชั้นหนึ่ง รวมถึงมีพื้นที่เวิร์กชอปทำเบเกอรี่ และเคาน์เตอร์จำหน่ายกาแฟที่ตั้งอยู่บนแกนสี่เหลี่ยมตรงกลางของอาคาร เปิดให้ชาวเมืองและพนักงานออฟฟิศในพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้ามาลิ้มลองรสชาติ และมีปฏิสัมพันธ์กับพนักงานอย่างเป็นกัน สร้างให้เกิดบรรยากาศที่คึกคักเต็มไปด้วยพลังงานดี ๆ ทุก ๆ การเคลื่อนไหวจะปรากฏอยู่ภายในอาคารโปร่งใส ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยยิ้มแย้มกันตรงที่นั่งริมผนังกระจก หรือการเดินขึ้นลงไปมาตามชั้นต่าง ๆ ที่มีการออกแบบทางลาดและทางชันในระดับที่ต่างกันไปตามพื้นอาคาร (อย่างที่เรามองเห็นเป็นเส้นเกลียวพันรอบอาคาร) เป็นภาพที่หมุนเวียนกันไปเช่นนี้ จวบจนถึงเวลาเย็นย่ำ ความหมุนวนของพลังงานที่เกิดจากกิจกรรมของผู้คนภายในอาคารหลังนี้ มาจากไอเดียของทีมสถาปนิก Osamu Morishita Architect & Associates ที่ออกแบบความสูงของพื้นแกนกลางและทางลาดแต่ละชั้นอยู่ที่ 4.5 เมตร และ 3.0 เมตร และกำหนดอัตราส่วนของความชันเป็น 1/12 ความลาดเอียงจากแกนกลางที่ปรับความกว้าง และการไล่ระดับตามฟังก์ชันการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น […]

BAAN PREEDEE 26 มอบความเป็นส่วนตัวท่ามกลางความวุ่นวายของเมือง

แบบบ้านโมเดิร์น ที่ตั้งอยู่ในซอยปรีดีพนมยงค์ 26 หนึ่งในซอยที่มีความพลุกพล่านและถนนกว้างไม่ถึง 4 เมตร จึงออกแบบเพื่อตอบโจทย์เรื่องความเป็นส่วนตัวพร้อมความสงบ เจ้าของ: คุณยงยุทธ องค์วัฒนะพัฒน์ และ คุณมนัญญา วณิชวิศิษฎ์กุล ออกแบบ: Gooseberry design บ้านที่เรียกชื่อตามสถานที่ตั้งอย่างซอยปรีดีพนมยงค์ 26 หรือสุขุมวิท 71 ซึ่งหากใครเคยขับผ่านไปซอยนี้จะรู้ว่ายิ่งขับเข้าไปถนนยิ่งค่อย ๆ แคบลง แคบชนิดที่เรียกว่ากว้างไม่ถึง 4 เมตรเลยด้วยซ้ำส่งผลให้การสัญจรในซอยไม่สะดวกเท่าไหร่ พอตัดสินใจจะสร้างบ้านบนผืนที่ดินซึ่งซื้อไว้นานแล้วในซอยนี้  ซึ่งมีขนาดหน้ากว้าง 10 เมตร ลึก 40 เมตร เจ้าของบ้านอย่าง คุณยงยุทธ องค์วัฒนะพัฒน์ และ คุณมนัญญา วณิชวิศิษฎ์กุล จึงวางให้ใจสถาปนิกจาก Gooseberry design มารับหน้าที่ออกแบบสเปซที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งคู่ โดยโจทย์แรกที่สถาปนิกได้รับคือต้องการที่จอดรถสำหรับรองรับรถ 4 คัน นำมาสู่การออกแบบประตูแบบบานม้วนขึ้นเหมือนประตูการาจให้กว้างเต็มพื้นที่ โดยใช้โครงสร้างแบบ Long Span ช่วยให้ประหยัดพื้นที่ ง่ายต่อการถอยรถเข้า-ออก พร้อมกับร่นระยะหน้าบ้านเข้าไปเป็นเวิ้งพักคอยประมาณ 3 เมตร […]

MADI BKK คาเฟ่มินิมอล-นอร์ดิกฟีลอบอุ่น ที่เชื่อว่าวงจรของเพื่อนนำมาซึ่งเรื่องราวดี ๆ

มาดิ! คำชักชวนสั้น ๆ ระหว่างเพื่อนได้กลายมาเป็นชื่อ Madi Bkk คาเฟ่ดีไซน์เรียบง่าย สถานที่ที่อยากให้เหล่าเพื่อน ๆ ได้มาพบปะและใช้เวลาร่วมกัน ตามคอนเซ็ปต์ที่คุณจี๊ป-สาธิยา ศิริพจนากร และคุณเมย์-เมธิกานต์ ขวัญเมือง สองสาวเจ้าของร้านเพื่อนซี้ที่ตั้งใจอยากส่งต่อความเป็น Circle of Friends ให้อบอวลไปด้วยรอยยิ้ม ความสุข และความอบอุ่น ไม่แพ้บรรยากาศของคาเฟ่ที่ตกแต่งสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก เพราะเชื่อในวงจรและพลังของความเป็นเพื่อน แม้ต้องเจอเรื่องราวแย่ ๆ มา ถ้าเรามีเพื่อนที่ดีก็จะช่วยซัพพอร์ตให้ผ่านเรื่องยาก ๆ เหล่านั้นไปได้ จากนิยามความเป็นเพื่อน ผสมผสานกับความฝันของทั้งคู่ที่อยากเปิดร้านกาแฟควบคู่ไปกับ Creator Hub หลังจากมองหาทำเลอยู่นาน ในที่สุดก็มาพบกับตึกแถวเก่าใกล้ปากซอยเจริญกรุง 43 ก่อนลงมือรีโนเวตเปลี่ยนตึกแถวสภาพทรุดโทรมให้กลายเป็น Madi Bkk คาเฟ่บรรยากาศอบอุ่น โดยยังคงเก็บรายละเอียดของอาคารบางอย่างไว้ เพื่อสร้างเสน่ห์และเล่าเรื่องราวการตั้งอยู่ในย่านเก่า คุณจี๊ปเล่าว่า “หลังจากที่มาดูตึก เรารู้สึกชอบที่นี่มาก จึงให้โจทย์อินทีเรียร์ไปว่า อยากได้ร้านสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก ขอแสงธรรมชาติเยอะ ๆ จะเห็นว่าพื้นที่ด้านหลังร้านได้รื้อพื้นไม้ชั้นสองออก เพื่อทำดับเบิ้ลสเปซ มีสกายไลท์ด้านบน ส่วนหน้าต่างก็เปลี่ยนเป็นหน้าต่างกระจกกรอบวงกบไม้ สิ่งที่เก็บรักษาไว้มีแค่ผนังอิฐ กับพื้นไม้จริงชั้นสองเท่านั้น” […]

HOUSE OF WINE อนุรักษ์อาคารเก่าจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 ให้กลายเป็นบาร์ดีไซน์ร่วมสมัย

ไวน์บาร์ ที่ซ่อนตัวอยู่ในอาคารเก่าแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการฟื้นฟูและ อนุรักษ์อาคารเก่า ซึ่งเป็นโรงเบียร์จากยุคคริสต์ศตวรรษที่19 ใจกลางย่านประวัติศาสตร์ของเมืองซนอยโม สาธารณรัฐเช็ก ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งภายใต้การออกแบบที่ร่วมสมัย ซึ่ง House Wine มีแนวคิดการออกแบบการ อนุรักษ์อาคารเก่า ที่เน้นการสอดแทรกพื้นที่การใช้งานใหม่บรรยากาศสดใสเข้าไปในอาคารเก่า โดยปรับเปลี่ยนกายภาพของตัวอาคารให้น้อยที่สุด เล่าย้อนบรรยากาศไปอาคารเดิมมีลักษณะเป็นอาคารปูนขนาดใหญ่ สถาปนิกเลือกเก็บโครงสร้างภายนอกของอาคารไว้ดังเดิม เพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่จะปรากฏขึ้นในใจกลางเขตเมืองเก่าไม่ดูโดดเด่นหรือแปลกแยก ในขณะเดียวกันก็รื้อการใช้งานภายในออกให้เหลือเป็นเพียงโถงโล่งกว้าง เพื่อจะได้บรรจุการใช้งานใหม่ได้อย่างยืดหยุ่นและอิสระ  โดยฟังก์ชันที่ใส่เข้าไปใหม่นั้นมีลักษณะเป็นกล่องไม้สูงขึ้นไปประกอบด้วยชั้นลอย 2 ชั้น  โดยใช้โครงสร้างที่แยกขาดจากตัวอาคารเดิมอย่างชัดเจน เป็นเหมือนการบรรจุไส้ในของตัวอาคารใหม่ โดยใช้โครงสร้างอาคารเดิมทำหน้าที่เป็นเพียงกล่องหุ้มในด้านรูปลักษณ์สถาปนิกเปลี่ยนกรอบอาคารเดิมให้เป็นสีขาวสะอาด แล้วออกแบบฟังก์ชันที่ใส่เข้าไปใหม่ให้มีสีสันเพื่อเน้นให้พื้นที่ใช้งานดูสนุกสนานและเป็นกันเอง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไม้กับพื้นและผนังที่เป็นโครงสร้างคดโค้ง สร้างความรู้สึกลื่นไหลให้กับพื้นที่  ขณะที่เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ที่มีสีสันสดใสอย่าง สีเหลือง แดง เเละน้ำเงิน เพื่อปรับบรรยากาศให้ดูสนุก ในขณะกันก็ยังสามารถรับรู้สภาพดั้งเดิมของอาคาร และมองผ่านหน้าต่างออกไปเห็นโบราณสถานใกล้เคียงได้ อันเป็นประสบการณ์จากการอาคารอนุรักษ์ที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ข้อมูล เจ้าของ : Vinařství LAHOFER ออกแบบ : CHYBIK + KRISTOF ภาพ : Laurian Ghinitoiu,  Alexandra Timpau   […]

ปิดล้อมสู่ความสงบใน พื้นที่สีเขียว ส่วนตัว

บ้านหลังนี้โดดเด่นด้วยการสร้างพื้นที่ส่วนตัวในแบบ พื้นที่สีเขียว ซึ่งมีต้นไม้และช่องเปิดสำหรับแสงธรรมชาติอยู่ภายใน การออกแบบพื้นที่ใช้สอยจากพื้นที่เล็กๆให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยยังเชื่อมโยงกับธรรมชาติโดยรอบ จึงเป็นตัวอย่างที่ดีมากอีกหลังหนึ่งของการอยู่อาศัยในเขตเมืองอย่างเช่นกรุงเทพในทุกวันนี้ และผู้ที่ออกแบบบ้านหลังนี้ก็คือ TOUCH ARCHITECTS นั่นเอง เจ้าของ: คุณกายแก้ว อัมพรวิวัฒน์ และคุณสิริยศ ภูนุชออกแบบ: TOUCH ARCHITECT ความเป็นส่วนตัวที่ยังเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ด้วยความที่เดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรค์ ที่ดินของบ้านแต่ละหลังจึงค่อนข้างอยู่ติดกันไปเสียหมด การออกแบบพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัว จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปิดกั้นพื้นที่ภายในจากพื้นที่ภายนอกเสีย แต่หากปิดกั้นไปเสียหมดแล้วก็จะทำให้รู้สึกอึดอัด ขาดการรับรู้ถึงบริบท และคงทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยภายในรู้สึกไม่ดีเป็นแน่ การออกแบบ facade skin หรือเปลือกอาคาร จึงเป็นสร้างองค์ประกอบที่จะช่วยพรางตาและสร้างความเป็นส่วนตัวได้โดยที่ผู้ที่อยู่ภายในยังรู้สึกสัมผัสกับธรรมชาติและบริบทรอบด้านได้อยู่ ผู้ออกแบบ เลือกที่จะใช้ระแนงเหล็กกล่องเพื่อพรางตาและสร้างความเป็นส่วนตัว แสงธรรมชาติที่ลอดผ่านซี่ระแนงนั้นยังคงทำให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนไปของบริบทโดยรอบอยู่นั่นเอง นอกจากนี้ การใช้ระแนงโลหะเป็นเปลือกอาคารยังทำให้ผู้ที่อยู่ภายนอกไม่สามารถมองเห็นผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่อยู่ภายในยังสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวบ้านได้โดยทั่วเช่นเดิม พื้นที่จตุรัส ใช้งานได้คุ้มค่า สำหรับบ้านพื้นที่น้อย พื้นที่ของบ้านหลังนี้นั้นตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 50 ตารางวา หลังจากรื้อถอนบ้านเดิมออกแล้ว การออกแบบเพื่อตอบสนองการใช้งานใหม่จึงต้องมีการจัดวางผังเสียใหม่ ผู้ออกแบบเลือกวางผังบนกริดตารางแบบสี่เหลี่ยมจตุรัส เพื่อให้แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นพื้นที่ต่างๆได้ครบถ้วนกว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้า(ในขนาดพื้นที่เดียวกันที่ดินแบบจตุรัสจะใช้งานได้มากกว่าแบบผืนผ้า) โดยที่เลือกให้ห้องรับแขกนั้นอยู่ด้านในจากหน้าบ้านเข้ามา และแบ่งพื้นที่ด้านหน้าออกเป็นห้องทำงานแบบ WFH ที่ต่อไปจะใช้เป็นห้องนอนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในอนาคต และพื้นที่ชั้นสองที่เป็นห้องนอนทั้งสองฝั่ง การเลือกให้ห้องนั่งเล่นอยู่ด้านในของตัวบ้านนั้นก็เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวจากถนนหน้าบ้านด้วยเช่นกัน โดยที่ห้องนั่งเล่นนี้จะสามารถเปิดออกไปยังชานหลังบ้านและรับกับสวนกลางบ้านได้พร้อมๆกัน ด้วยความที่บ้านหลังนี้มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด พื้นที่สัญจรภายในบ้านจึงเลือกที่จะหยิบยืมเอาจากพื้นที่ใช้งานต่างๆ […]

V.O. ร้านอาหารจีน ไฟน์ไดนิ่ง ตกแต่งสไตล์คอนเทมโพรารีร่วมสมัยมากลูกเล่น

ร้านอาหารจีน ไฟน์ไดนิ่ง ในเมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดดเด่นด้วยการตกแต่งสไตล์คอนเทมโพรารี เน้นนำเสนอความอร่อยผ่านบรรยากาศที่มีความทันสมัย ไปจนถึงบรรยากาศที่มีลูกเล่นของพื้นที่ เพื่อสร้างประสบการณ์ระหว่างมื้ออาหารอันสุนทรีย์ ถ่ายทอดการจัดการสเปซ ร้านอาหารจีน แห่งนี้ ผ่านลูกเล่น รูปร่าง และระดับที่หลากหลาย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Wandering in Valleys – ท่องทั่วทิวหุบเขา” ตั้งแต่ส่วนฟาซาดสีบรอนซ์ทรงสูงที่ช่วยป้องกันแสงจ้าในเวลากลางวัน ทางเดินที่ล้อไปตามระนาบความโค้งของผนัง ฝ้าเพดานที่กดต่ำลง ระยะกว้างแคบและองศาทั้งหมดช่วยสะท้อนบรรยากาศราวกับเดินอยู่ท่ามกลางหุบเขาที่มีพรรณไม้สูงต่ำสลับซับซ้อน ก่อนจัดเสิร์ฟอาหารจีนที่ได้รับการสร้างสรรค์อย่างพิถีพิถัน เด่นด้วยวัตถุดิบชั้นดีที่ส่งตรงจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร อันเป็นหัวใจสำคัญของร้านนี้ เพื่อถ่ายทอดความงดงามทุกกระบวนการ ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก วัตถุดิบจากฟาร์มออร์แกนิก การทำอาหารที่ผสานเทคนิคแบบจีนแท้ ๆ แต่สามารถเข้ากับรูปแบบการนำเสนอสมัยใหม่  ที่ล้อไปกับบรรยากาศของพื้นที่ที่มีมุมมองแปลกใหม่ ไม่ธรรมดา เรียกว่าทุกองค์ประกอบจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดการทดลองทำงานกับวัสดุ ก่อนจะส่งไม้ต่อให้เมนูอาหารเป็นบทสรุปของไฟน์ไดนิ่งในแต่ละวัน Idea To Steal การเล่นสนุกกับการซ่อนไฟ (Indirect Light) ผ่านตัวกลางรูปแบบต่าง ๆ  เช่น ซ่อนใต้ฝ้าที่เบิ้ลระดับขึ้นอีกชั้น หรือการเบิ้ลผนังซ่อนไฟให้เหมือนกับผนังลอยได้ หรือซ่อนกับขอบด้านในของประตู เหมาะกับบาร์ที่ต้องการสร้างบรรยากาศจากแสงไฟสีนุ่มนวล ข้อมูล เจ้าของ : Voisin Organique […]

KIEW KAI KA ยกทัพสำรับไทย จัดเสิร์ฟในร้านบรรยากาศยุโรป

ร้านเขียวไข่กา l Kiew Kai Ka สาขาลาซาล อิ่มอร่อยกับอาหารไทยภาคกลาง-ใต้ ในร้านสีเขียวลุคเฟมินีน สวยหรูสไตล์วินเทจ อีกหนึ่งร้านอาหารไทยรสชาติถึงเครื่อง กับการขยายสาขาใหม่ล่าสุดมายังย่านบางนา ภายในโครงการ Sunny at Summer Lasalle โดยครั้งนี้ขอแตกต่างด้วยสไตล์การตกแต่งที่ฉีกแนวออกจากสไตล์อินดัสเทรียลสุดเคร่งขรึมในเรือนกระจก ซึ่งเป็นภาพที่แฟนประจำของร้านจดจำได้จากสาขาแรกที่ซอยนาคนิวาส มาสู่ลุคความเป็นเฟมินีนดูโก้หรู เจือกลิ่นอายย้อนยุค เมื่อมองเข้ามาจากถนนในซอยลาซาล ตัวร้านจะอยู่ใต้อาคารที่ยังคงโดดเด่นด้วยธีมสีเขียว เรียกว่ามองปราดเดียวก็รู้ว่านี่คือ ร้านเขียวไข่กา ผนังร้านถูกล้อมด้วยช่องแสงกระจกทรงโค้งตัดขอบด้วยกรอบสีทองดูหรูหรา แม้ตัวร้านจะเป็นส่วนหนึ่งของอาคารในโครงการ Sunny at Summer Lasalle แต่ก็ยังไม่ลืมภาพของความเป็นร้านอาหารบรรยากาศกลาสเฮ้าส์ ด้วยการนำมาสร้างสรรค์กับสาขานี้ด้วย ทั้งยังปรับเปลี่ยนจากสไตล์อินดัสเทรียล มาสู่บรรยากาศหรูหรา และมีความเป็นแฟมินีนมากขึ้น คุณดนัย สุราสา ได้เล่าถึงแนวคิดการออกแบบเขียวไข่กาสาขาลาซาลให้ฟังว่า “จากความต้องการของเจ้าของที่อยากให้สาขาใหม่ยังคงมีบรรยากาศแบบกลาสเฮ้าส์ เราจึงเลือก The Crystal Palace ในกรุงลอนดอน ซึ่งสร้างขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมมาเป็นต้นแบบ ด้วยการหยิบเอกลักษณ์การขึ้นโครงเหล็กทรงโค้งที่ดูบางเบามาเป็นไอเดีย โดยนำเส้นสายพวกนั้นมาใช้แบบกลับหัว ในส่วนของช่องแสงรอบผนังร้าน รวมถึงองค์ประกอบงานตกแต่งภายในต่าง ๆ ” เช่นเดียวกับธีมการใช้สีเขียวที่ครั้งนี้มีความเทรนด์ดี้มากขึ้น ด้วยการเลือกใช้สี Teal Blue […]

บ้านตอบโจทย์ครอบครัวต่างวัย เปิดสเปซเชื่อมต่อความสุข

เมื่อถึงคราวต้องปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัย จากบ้านที่เป็นอาคารพาณิชย์ในตัวเมืองเชียงใหม่ สู่การสร้างบ้านหลังใหม่ ซึ่งเป็นอีกบทหนึ่งของชีวิต แน่นอนว่าต้องเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ เหนืออื่นใดคือต้องเติมเต็มความสุขให้สมาชิกทุกคน แม้จะต่างวัยกันแค่ไหน แต่ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างอบอุ่น จากทำเลที่มองเห็นวิวดอยคำ ดอยสุเทพ และใกล้กับอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ในจังหวัดเชียงใหม่ ครอบครัวขยายของสองทันตแพทย์ ทพ. วัลลภ ธีรเวชกุล และ ทพญ. สรินภรณ์ ธีรเวชกุล ได้ไว้วางใจให้ทีมสถาปนิกจาก STUDIO SATi มารับหน้าที่ออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับบริบท และความต้องการของสมาชิก 3 เจเนอเรชั่นที่ย้ายเข้ามาอยู่พร้อมหน้ากันถึง 7 คน โดยมีคุณยาย 2 ท่าน คุณพ่อคุณแม่ ลูกชาย ลูกสาว และหลาน ความท้าทายจึงอยู่ที่การออกแบบให้ทุกคนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กัน ไปพร้อม ๆ กับมีพื้นที่สำหรับกิจกรรมส่วนตัว รวมถึงเป็นพื้นที่ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ๆ ในบ้านด้วย เนื่องจากตัวบ้านหันไปทางทิศใต้กึ่งตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่รับแดดบ่ายโดยตรง การออกแบบสถาปัตยกรรมจึงต้องคำนึงถึงปริมาณแสงและความร้อนเป็นพิเศษ สถาปนิกออกแบบผนังด้านหน้าบ้านเป็นลักษณะแนวผนังทึบก่ออิฐมอญบิดมุมให้เกิดองศาที่พอเหมาะเพื่อช่วยบังสายตาและกันแสงแดด โดยมีช่องเปิดให้ลมพัดผ่านและมองเห็นวิวได้ “เราออกแบบให้ตัวโถงบันไดและสระว่ายน้ำอยู่ด้านหน้าบ้าน ให้เป็นส่วนรับแดดช่วงบ่าย การใช้น้ำมาเป็นองค์ประกอบจะช่วยให้บ้านไม่ร้อนมาก และมีโถงบันไดด้านหน้าซึ่งเป็นจุดรับความร้อนได้ดี ออกแบบให้มีผนังอิฐเฉียงเพื่อบังแดดและบิดมุม […]