บ้านไม้ไผ่ Archives - room

บ้านไม้ไผ่ อยู่อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติในกาลาปากอส

บ้านไม้ไผ่ รูปทรงโมเดิร์นตั้งอยู่ที่เกาะซานกริสโตบาล ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะกาลาปากอส ในประเทศเอกวาดอร์ ก่อสร้างขึ้นโดยใช้ทรัพยากร พลังงาน แรงงาน และการขนส่งในพื้นที่ โดยพยายามให้เกิดความยั่งยืนและเป็นมิตรกับธรรมชาติมากที่สุด Dany และ Jenny คู่สามีภรรยาเจ้าของ บ้านไม้ไผ่ ตั้งใจสร้างที่นี่ขึ้น หลังจากที่ทั้งคู่มีลูกคนแรก แล้วต้องการพื้นที่พักอาศัยที่กว้างขึ้น โดยได้รับคำปรึกษาจาก ESEcolectivo ก่อนออกมาเป็นบ้านที่ใช้โครงสร้างไม้ไผ่ทั้งหลัง โดยใช้แรงงานและภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้งบประมาณที่ไม่สูงนัก เพื่อให้เข้ากันดีกับบริบททางธรรมชาติอันเปราะบางของหมู่เกาะกาลาปากอส บ้านทั้งหลังจึงต้องออกแบบให้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล ลดการใช้พลังงาน และพึ่งพาตนเองได้ เห็นได้จากการแบ่งพื้นที่รอบบ้านสำหรับทำแปลงปลูกผักใช้รับประทานในครอบครัว ขณะที่พื้นที่ใช้สอยภายในขนาด 120 ตารางเมตร สถาปนิกได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ชั้น ชั้นล่างประกอบด้วยส่วนห้องน้ำ ส่วนซักล้าง และห้องพักสำหรับผู้สูงอายุ แบ่งพื้นที่รอบแกนบันไดให้มีขนาดกว้าง เพื่อทำหน้าที่เป็นทางเดินไปขึ้นสู่ชั้นบนสุดมองเห็นวิวทะเลได้ ทั้งยังช่วยในการไหลเวียนอากาศทั่วทั้งบ้าน ชั้น 2 มีห้องพัก 2 ห้อง คือ ห้องนอนใหญ่ และห้องเด็กเล่น เผื่อสำหรับในอนาคตเมื่อลูกเติบโตขึ้น เขาสามารถย้ายมาพักที่ห้องนี้ได้เพื่อความเป็นส่วนตัว ส่วนชั้น 3 มีห้องสตูดิโอขนาดเล็ก และจุดชมวิวที่สามารถทอดสายตาชมวิวทะเล และพระอาทิตย์ตกดินได้อย่างโรแมนติก ด้านการตกแต่งเน้นเฟอร์นิเจอร์และส่วนต่าง ๆ […]

คุยกับ ANTON NEGODA ชาวรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญบ้านไม้ไผ่ บนเกาะพะงัน

บ้านไม้ไผ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ไปปลูกสร้างบนเกาะสวย ๆ อย่างพะงันแล้วละก็ เชื่อว่าเป็นฝันของใครหลาย ๆ คนที่รักทะเลเป็นแน่แท้ วันนี้ room ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับชาวรัสเซียที่ลงมือปลูกบ้านไม้ไผ่ด้วยตัวเอง จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญในที่สุด บ้านไม้ไผ่ที่ปลูกเองได้ จนถึงวิธีการจัดการไม้ไผ่จะเป็นอย่างไร เลื่อนลงไปอ่านได้เลย Bamboo design : derived from passion “ผมไม่ได้เรียนเรื่องการก่อสร้าง แต่ผมจบด้านการทำอาหารมา ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้ผมกลับหลงใหลในการสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เรียกว่าตอนนี้ผมปรุงไม้ไผ่แทนอาหารก็แล้วกัน“ Anton Negoda ชายหนุ่มชาวรัสเซีย เปิดบทสนทนากับเราได้น่ารักมาก ๆ เขาเริ่มหลงรักและสนใจในวัสดุไม้ไผ่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตอนที่มาเกาะพะงันใหม่ ๆ “ตอนมาถึงที่นี่ครั้งแรก หลังจากเดินทางหลายประเทศในเอเชีย ผมมีความรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน รู้สึกอบอุ่น และถูกยอมรับจากพลังงานธรรมชาติบนเกาะ ในช่วงเริ่มแรกผมสนใจในการทำ dome สำหรับ Inipi ( sweat lodge ) ceremony ซึ่งมันคือพิธีกรรมโบราณของชาวอินเดียนแดง เพื่อชำระล้างจิตวิญญาณ กาย ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วยการเข้าไปนั่งในกระโจม หรือโดมที่มีหินร้อนอยู่ข้างใน คล้ายกับการซาวน่า หรือสตรีม ซึ่งรูปแบบของกระโจมก็เป็นตัวแทนของครรภ์มารดา  ซึ่งโครงสร้างของโดม หรือกระโจมนั้น ผมทำจากไม้ไผ่ ซึ่งขนาดที่ใช้ในพิธีกรรมไม่ได้ใหญ่มาก คนเข้าไปได้ประมาณ 10 คน หลังจากนั้นผมก็ทดลองทำขนาดที่ใหญ่ขึ้นในรูปทรงแบบโดมเหมือนเดิม แต่ปิดด้านนอกด้วยใบจาก ซึ่งโปรเจ็กต์แรกที่ทำ ผมสร้าง Play House ในโรงเรียนอนุบาล หลังจากนั้นผมก็ทดลองสร้างในขนาดที่ใหญ่ขึ้น กับรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป ทั้งในศูนย์วิปัสสนา วัด โรงโยคะ โรงเรียนอนุบาล ไม่ใช่สำหรับ Sweat Lodge เท่านั้น ซึ่งในแต่ละครั้ง มันเหมือนเป็นการทดลอง ใน 2 ปีนี้ผมมีความเข้าใจและค้นพบเทคนิคต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูกมากขึ้น และที่น่าประทับใจมาก ๆ ก็คือตอนนี้ผมมีลูกทีมถึง 6 คน ที่มาช่วยทำในโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ซึ่งคนเหล่านี้ไม่เคยจับงานไม้ไผ่มาก่อนเลย พวกเขาถนัดแต่งานคอนกรีต แต่ว่าตอนนี้พวกเขากลับหลงรัก และได้แรงบันดาลใจในงานไม้ไผ่เหมือนผม” งานไม้ไผ่ช่วงแรกของ Anton ตอนที่เริ่มทำ Sweat Lodge เป็นไม้ไผ่ที่บาง แต่พอเขาขยับขึ้นมาทำงานที่ใหญ่ขึ้น เขาก็เริ่มหาข้อมูลการทำโครงสร้างไม้ไผ่ที่แข็งแรงและทนทาน อีกทั้งยังมีความยั่งยืน ใช้งานได้ยาวนาน ด้วยเทคนิคที่แตกต่างออกไป  “ หลายคนคิดว่างานไม้ไผ่ไม่คงทน เสียหายได้ง่ายจากสภาพอากาศและแมลง เพราะความคิดเหล่านี้ทำให้บ้านไม้ไผ่ไม่เป็นที่นิยม แต่ความจริงแล้วถ้าเราทรีตไม้ไผ่อย่างดี และสร้างถูกหลักการ โครงสร้างไม้ไผ่ก็สามารถอยู่เป็น 100 ปี ได้เช่นกัน  […]

THE GUILD อาคารไม้ไผ่แบบโมเดิร์น ที่ผ่านการทดลองวัสดุกว่า 9 ชนิด

การผสมผสานระหว่างของใหม่กับของเก่า กับโปรเจ็กต์รีโนเวตโครงการ “The Guild” อาคารไม้ไผ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ Taman Villa Meruya โดยในโครงการประกอบไปด้วยห้องสมุด คลินิกทันตกรรม ที่พัก และออฟฟิศสถาปนิก Realrich Architecture Workshop (RAW Architecture) อาคารไม้ไผ่ นี้มีฟังก์ชันเดิมของคือห้องสมุด เมื่อมีการปรับปรุงจึงเริ่มทำในส่วนนี้ก่อนเริ่มจากการเพิ่มชั้นหนังสือ ร้านขายหนังสือ และแกลเลอรี่ แล้วทำการแบ่งพื้นที่ไพรเวตและพับลิกออกจากกันด้วยการแยกทางเข้าเป็นสองทาง ส่วนที่เพิ่มเข้ามาใหม่ตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออก มีชื่อว่า GuhaBambu ออกแบบเป็นอาคารขนาด 7.5 x 26 เมตร แบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ชั้น เเละชั้นใต้ดิน เด่นด้วยโครงสร้างไม้ไผ่ ซึ่งเป็นเทคนิคการก่อสร้างไม้ไผ่งานทดลองของ alfa omega project ร่วมกับเหล็กตรงส่วนของโครงสร้างหลังคา ซึ่งการก่อสร้างในครั้งนี้ ทีมออกแบบใช้วัสดุถึง 9 ชนิดด้วยกันในการทดลองและพัฒนาร่วมกับช่างท้องถิ่น ได้แก่ เหล็ก ไม้ แก้ว โลหะ ยิปซัม ไม้ไผ่ พลาสติก หิน […]