คาเฟ่สัจวัสดุ Archives - room

THE MEMORY CAFE คาเฟ่อุบลราชธานี ดื่มกาแฟชมวิวน่าจดจำริมโขง

ความทรงจำ : The Memory Cafe คาเฟ่อุบล ที่ตั้งใจให้งานสถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำ พร้อมกับวิวพานอรามาของโขงเจียม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ:  SA-ARD architecture & construction คาเเฟ่อุบล แห่งนี้ มีจุดตั้งต้นมาจากแนวคิดการรีแบรนด์ดิ้ง Memory Café จากร้านกาแฟที่ผู้คนมาเพียงซื้อกาแฟ แล้วออกไปเสพวิวแลนด์สเคปที่รังสรรค์โดยธรรมชาติ ให้ร้านกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริบทริมแม่น้ำโขงอย่างกลมกลืน และเป็นจุดหมายใหม่ของการมาเยือนอุบลฯ ออกแบบโดยสถาปนิกจาก SA-ARD architecture & construction ด้วยทำเลและบริบทที่มีศักยภาพสูง อย่างพื้นที่หน้ากว้างของร้านที่เปิดรับวิวพานอรามาริมโขงสวยตราตรึงใจ ประกอบกับทางเจ้าของคาเฟ่ชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม ทุกองค์ประกอบจึงถูกจัดวางอย่างมีที่มา นำมาต่อยอดเป็นแนวความคิดในการออกแบบตัวอาคารใหค่อย ๆ สร้างประสบการณ์การเข้าถึงให้กับลูกค้า หากมองจากหน้าร้านภายนอกจะเห็นฟาซาดแนวเฉียง ระหว่างช่องว่างกรุด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตสีขาวขุ่น จงใจไม่เปิดวิวในคราวเดียว เพราะตั้งใจจะเก็บวิวไว้เป็นเซอร์ไพรส์ในสเปซซีนสุดท้าย มีประตูทางเข้าถูกวางตำแหน่งอยู่ตรงกลางของผนัง ทำหน้าที่เสมือนเป็นวิวไฟน์เดอร์ของกล้อง และหากมองตรงไปจะพบกับเคาน์เตอร์ขนาดใหญ่ และวิวของโขงเจียมที่อยู่ด้านหลัง ประหนึ่งเหมือนเรากำลังกดชัตเตอร์ แล้วจะได้ภาพวิวพานอรามา โดยมีสถาปัตยกรรมเป็นกรอบของภาพ เส้นสายจากฟาดซาดเส้นเฉียงได้ถูกดึงต่อมาเป็นฝ้าภายในคาเฟ่ โดยความเฉียงที่เกิดขึ้นนี้ จะเป็นองศาที่เกิดจาก Mirror เช่นเดียวกับหลักการการสะท้อน เวลาถ่ายรูปจากกล้อง เพื่อให้เส้นสายทั้งภายในและภายนอกเกิดความเชื่อมต่อ อีกทั้งยังออกแบบให้ระดับของฝ้ามีความสูงลดหลั่นกัน จากระดับพื้นถึงฝ้าราว […]

ASTON GILBERT คาเฟ่นครศรีฯ เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติกลางสวนป่ายางพารา

Aston Gilbert คาเฟ่นครศรีฯ กลางสวนยางพารา ในอำเภอพรหมคีรี เกิดขึ้นจากความตั้งใจของคุณแชมป์-ภวัต สุวรรณมาศ เจ้าของร้านที่อยากดึงเอกลักษณ์สภาพแวดล้อมที่ตั้ง ซึ่งอยู่ในสวนยางพารากว่า 30 ไร่ ของครอบครัว ให้มาเป็นส่วนหนึ่งกับอาคารเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์การดื่มกาแฟที่แปลกใหม่ พร้อม ๆ กับการได้เฝ้ามองสีสันของธรรมชาติที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: VARC HD+ID สถาปนิกผู้ออกแบบ Aston Gilbert จาก VARC HD+ID เล่าว่า เนื่องจากบริบทรอบ ๆ ของที่ตั้งอยู่กลางสวนยางพารา รอบ ๆ เป็นสวนผลไม้ และชุมชนเล็ก ๆ มีถนนลัดเลาะไปตามภูเขา จึงออกแบบอาคารของคาเฟ่ให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติ ไม่ดูแปลกแยกจากบริบทจนเกินไป นำมาสู่รูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์โมเดิร์นแบบถ่อมตน โชว์สัจวัสดุและความงามของธรรมชาติรอบ ๆ ที่ตั้ง ซึ่งไม่ซ้ำกันสักวันอย่างในฤดูฝนสวนยางจะเขียวชอุ่มสดชื่น ต่างจากฤดูร้อนที่จะมองเห็นต้นยางทิ้งใบสีน้ำตาล ลำต้นโอนเอนไปตามแรงลม และแสงแดดที่ลอดผ่านกิ่งก้านลงมายังพื้นดินเบื้องล่าง ภาพเหล่านี้ถูกสะท้อนไปที่ฟาซาดกระจกเงานับ 90,000 ชิ้น ซึ่งช่วยเปลี่ยนมู้ดของอาคารไปตามแต่ละช่วงเวลา และกระจกเงาที่ใช้กรุฟาซาดนี้ ยังนับเป็นงานสุดท้าทายของสถาปนิก เสมือนการทดลองเรียนรู้ไปพร้อมกัน ทั้งเจ้าของร้าน ผู้ออกแบบ และช่างประจำท้องถิ่น […]