บ้าน Archives - Page 4 of 5 - room

มุ้งลวด ที่ดีเป็นอย่างไร

อยู่เมืองไทยต้องเผชิญทั้งยุง แมลง และสัตว์เลื้อยคลาน หลายบ้านจึงติดตั้ง “มุ้งลวด” เพื่อป้องกันเจ้าตัวร้ายเหล่านี้ แล้วจะเลือกมุ้งลวดแบบไหนดีให้ทนทานใช้ได้นาน และเหมาะกับบ้านและไลฟ์สไตล์ มาพิจารณาจากข้อมูลเหล่านี้กัน วัสดุมุ้งลวด มุ้งลวดอลูมิเนียม มีความแข็งแรง เงางาม มีสีเงินกับสีดำ แต่ข้อเสียคือ เวลาขาด อาจมีส่วนแหลมคมทำให้เกิดอันตรายได้ มุ้งลวดไฟเบอร์ มีความอ่อนนุ่ม ไม่ลามไฟ และมีหน้ากว้างให้เลือกอีกหลายขนาด จึงเหมาะกับบานประตู หน้าต่างขนาดใหญ่ แต่ข้อเสียคือ ฉีกขาดง่าย มุ้งลวดไนลอน ซึ่งเป็นใยสังเคราะห์ มีเส้นใยเหนียวและหนา จึงมีความทนทาน ข้อเสียคือเส้นใยค่อนข้างหนา อากาศถ่ายเทไม่ค่อยดี มุ้งลวดโพลีเอทิลีน (PE) มีความยืดหยุ่นและขาดยากกว่ามุ้งทั่วไป ซึ่งทั้งด้านบนและด้านล่างยึดติดกับตัวรางทำให้แมลงไม่สามารถลอดผ่านได้ จึงกันยุง แมลง หรือสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ได้ดีกว่า ความถี่ตาข่าย ด้วยความถี่ของช่องมุ้งลวดมีขนาดเล็กมาก ทำให้ยุงหรือแมลงจากภายนอกไม่สามารถเข้ามาภายในบ้านได้ ซึ่งโดยปกติแล้วตาข่ายมุ้งลวดมักมีความถี่ 16-20 ช่องต่อตารางนิ้ว แต่ปัจจุบันแบรนด์มุ้งลวด IN-NET จากบริษัท NISSHO ที่เป็นผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างที่ทำจากอะลูมิเนียมเป็นหลัก โดยมีเทคโนโลยีและประสบการณ์ที่เกี่ยวกับบานมุ้งลวดรอบด้านและผลิตภัณฑ์มุ้งลวดที่หลากหลายที่มีคุณภาพระดับต้นๆ ในประเทศญี่ปุ่นได้ขยายสาขามาเปิดตลาดในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้นมียุงและแมลงเยอะกว่าจึงผลิตมุ้งลวดให้มีความถี่ตาข่ายมากขึ้นถึง 24 ช่องต่อตารางนิ้ว จึงมั่นใจได้ว่ากันแมลงได้ดีกว่า สีของมุ้งลวด สีของมุ้งลวดก็มีทั้งสีขาว สีดำ และสีอื่น ๆ ซึ่งมุ้งลวดสีขาวจะกระจายแสงได้ตลอดทั้งผืน จึงทำให้ดูมัว ๆ มองทะลุได้ไม่ชัด ส่วนมุ้งลวดสีดำนั้นทำให้แสงทะลุผ่านได้ดีกว่า […]

5 เครื่องฟอกอากาศในบ้าน รับมืออากาศแย่ในฤดูฝุ่น PM2.5

เครื่องฟอกอากาศในบ้าน กลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นสำหรับทุกบ้านไปแล้ว เพราะปัญหามลพิษ ฝุ่น PM2.5 รุนแรงขึ้น รวมถึงมีเชื้อโรค ไวรัสและแบคทีเรียเจือปนอยู่ในอากาศ ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรา โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ ซึ่งต้องยอมรับว่าหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้ยากเต็มที เราจึงต้องมี เครื่องฟอกอากาศในบ้าน มาเป็นตัวช่วยทำให้อากาศสะอาดขึ้น กล้าหายใจได้อย่างเต็มปอด ครั้งนี้เรามาแกะกล่องเปิดเครื่องรีวิว 5 เครื่องฟอกอากาศในบ้าน ที่คัดสรรตัวเด็ด ดีลโดนใจจาก NocNoc มาให้ดูข้อมูลและคุณสมบัติกันชัดๆ ว่าแต่ละรุ่นรับมือกับอากาศแย่ได้ดีแค่ไหน ใครถูกใจรุ่นไหน สั่งซื้อได้ง่ายๆ ที่ bit.ly/3mO5L8b Daikin MC55UVM6-7 จิ๋วแต่แจ๋ว กำจัดเรียบทั้ง PM2.5 แบคทีเรียและไวรัส เครื่องฟอกอากาศขนาดกะทัดรัดที่สามารถวางได้ทุกมุมห้อง ใช้พื้นที่เพียง 27×27 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น การทำงานของเครื่องจะดูดอากาศเข้าจาก 3 ทิศทาง คือ ด้านหน้า ด้านซ้าย และด้านขวา เมื่อฟอกอากาศเสร็จแล้ว ลมจะกระจายออกด้านบน ส่งอากาศบริสุทธิ์ไปทั่วทั้งห้อง ครอบคลุมพื้นที่ 41 ตารางเมตร ที่สำคัญรุ่นนี้ยังทำงานเงียบเชียบ ไม่มีเสียงลมเป่าให้กวนใจ ตัวเครื่องจะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับฝุ่นความละเอียดสูง แยกระหว่างฝุ่นขนาดใหญ่และขนาดเล็กกว่า PM2.5 […]

ปิดล้อมสู่ความสงบใน พื้นที่สีเขียว ส่วนตัว

บ้านหลังนี้โดดเด่นด้วยการสร้างพื้นที่ส่วนตัวในแบบ พื้นที่สีเขียว ซึ่งมีต้นไม้และช่องเปิดสำหรับแสงธรรมชาติอยู่ภายใน การออกแบบพื้นที่ใช้สอยจากพื้นที่เล็กๆให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยยังเชื่อมโยงกับธรรมชาติโดยรอบ จึงเป็นตัวอย่างที่ดีมากอีกหลังหนึ่งของการอยู่อาศัยในเขตเมืองอย่างเช่นกรุงเทพในทุกวันนี้ และผู้ที่ออกแบบบ้านหลังนี้ก็คือ TOUCH ARCHITECTS นั่นเอง เจ้าของ: คุณกายแก้ว อัมพรวิวัฒน์ และคุณสิริยศ ภูนุชออกแบบ: TOUCH ARCHITECT ความเป็นส่วนตัวที่ยังเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ด้วยความที่เดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรค์ ที่ดินของบ้านแต่ละหลังจึงค่อนข้างอยู่ติดกันไปเสียหมด การออกแบบพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัว จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปิดกั้นพื้นที่ภายในจากพื้นที่ภายนอกเสีย แต่หากปิดกั้นไปเสียหมดแล้วก็จะทำให้รู้สึกอึดอัด ขาดการรับรู้ถึงบริบท และคงทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยภายในรู้สึกไม่ดีเป็นแน่ การออกแบบ facade skin หรือเปลือกอาคาร จึงเป็นสร้างองค์ประกอบที่จะช่วยพรางตาและสร้างความเป็นส่วนตัวได้โดยที่ผู้ที่อยู่ภายในยังรู้สึกสัมผัสกับธรรมชาติและบริบทรอบด้านได้อยู่ ผู้ออกแบบ เลือกที่จะใช้ระแนงเหล็กกล่องเพื่อพรางตาและสร้างความเป็นส่วนตัว แสงธรรมชาติที่ลอดผ่านซี่ระแนงนั้นยังคงทำให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนไปของบริบทโดยรอบอยู่นั่นเอง นอกจากนี้ การใช้ระแนงโลหะเป็นเปลือกอาคารยังทำให้ผู้ที่อยู่ภายนอกไม่สามารถมองเห็นผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่อยู่ภายในยังสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวบ้านได้โดยทั่วเช่นเดิม พื้นที่จตุรัส ใช้งานได้คุ้มค่า สำหรับบ้านพื้นที่น้อย พื้นที่ของบ้านหลังนี้นั้นตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 50 ตารางวา หลังจากรื้อถอนบ้านเดิมออกแล้ว การออกแบบเพื่อตอบสนองการใช้งานใหม่จึงต้องมีการจัดวางผังเสียใหม่ ผู้ออกแบบเลือกวางผังบนกริดตารางแบบสี่เหลี่ยมจตุรัส เพื่อให้แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นพื้นที่ต่างๆได้ครบถ้วนกว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้า(ในขนาดพื้นที่เดียวกันที่ดินแบบจตุรัสจะใช้งานได้มากกว่าแบบผืนผ้า) โดยที่เลือกให้ห้องรับแขกนั้นอยู่ด้านในจากหน้าบ้านเข้ามา และแบ่งพื้นที่ด้านหน้าออกเป็นห้องทำงานแบบ WFH ที่ต่อไปจะใช้เป็นห้องนอนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในอนาคต และพื้นที่ชั้นสองที่เป็นห้องนอนทั้งสองฝั่ง การเลือกให้ห้องนั่งเล่นอยู่ด้านในของตัวบ้านนั้นก็เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวจากถนนหน้าบ้านด้วยเช่นกัน โดยที่ห้องนั่งเล่นนี้จะสามารถเปิดออกไปยังชานหลังบ้านและรับกับสวนกลางบ้านได้พร้อมๆกัน ด้วยความที่บ้านหลังนี้มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด พื้นที่สัญจรภายในบ้านจึงเลือกที่จะหยิบยืมเอาจากพื้นที่ใช้งานต่างๆ […]

CASA CLOUD บ้านที่เชื่อมโยงธรรมชาติสู่พื้นที่ภายใน

การบรรจบของ ธรรมชาติ อันสวยงามสู่พื้นที่พักอาศัยภายในสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “บ้าน” โดย BOONDESIGN เกิดเป็นเส้นสายอาคารที่งดงามบนความสงบนิ่ง สมชื่อ Casa Cloud ก้อนเมฆที่เป็นจุดบรรจบระหว่างผืนดินกับผืนฟ้า ออกแบบ: BOONDESIGN โดย คุณบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์เจ้าของ: คุณชาลี สมุทรโคจร พื้นที่สัมพันธ์ของธรรมชาติและการอยู่อาศัย บ้านหลังนี้ใช้การยกระดับพื้นที่ขึ้นมาสู่ชั้น 2 เป็นพื้นที่หลักโดย เชื่อมโยง สวนและธรรมชาติที่นอกบ้านนั้นจะมีการไล่ระดับตามกันขึ้นมาจนถึงระเบียงห้องรับแขก การยกพื้นที่หลักมาไว้ที่ชั้นสองนั้นสร้างความเป็นส่วนตัวที่ดีกว่าพื้นที่ชั้นล่าง ทั้งยังเปิดโอกาสให้สามารถเปิดรับธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ เพราะเป็นระดับที่พ้นจากสายตาโดยทั่วไปแล้วนั่นเอง เมื่ออยู่ในห้อง กระจกบานใหญ่สูง 4 เมตรจะสร้างบรรยากาศที่เหมือนสวนกับห้องรับแขกเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกัน ไม่มีการแบ่งกั้น พื้นที่ยาว 12 เมตรจึงให้ความรู้สึก คุณบุญเลิศตั้งใจออกแบบพื้นที่ส่วนนี้ให้มีความลื่นไหลต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นส่วนเดียวกันทั้งหมดเพราะไม่ต้องการให้พื้นที่ภายในถูกมองว่าเป็นเพียงอาคาร และพื้นที่ภายนอกเป็นเพียงแค่สวน แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นสัมพันธ์กันเกิดเป็นสถาปัตยกรรมนั่นเอง แม้แต่การเลือกวัสดุที่คำนึงถึงความการเชื่อมโยงธรรมชาติเข้ากับองค์ประกอบต่างๆเช่นเดียวกัน “ถ้านิยามว่าเป็นเพียงอาคาร นั่นอาจเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้าง แต่เราคิดไปมากกว่านั้น เราออกแบบพื้นที่ว่าง อย่างห้องนั่งเล่นนี้ที่ออกแบบเป็นพื้นที่ภายใน ดึงเอาธรรมชาติเข้ามา การยื่นชายคา การเลือกหินอ่อนดำที่จะไม่รบกวนทิวทัศน์ภายนอก ตลอดจนกรอบบานสีน้ำตาลเข้มที่กลมกลืนล้อไปกับแนวต้นไม้กิ่งไม้ก็เป็นความตั้งใจทั้งหมด เพราะธรรมชาติคือความงามที่สุดแล้ว ความโปร่งโล่งและสัมผัสได้ถึงธรรมชาติจึงเป็นการอยู่อาศัยในบ้านหลังนี้ที่ผมตั้งใจออกแบบให้กับเจ้าของบ้าน” อยู่สบาย เป็นส่วนตัว รับแดด ลม ฝน แม้บ้านหลังนี้จะหันหน้าทางทิศตะวันตก […]

บ้านหน้าแคบ เล็ก(สวน)ภายในใหญ่ เปิดรับธรรมชาติแบบทอปปิคัลด้วยบล็อกช่องลม ในประเทศเวียดนาม

บ้านหน้าแคบ ที่มีหน้าบ้านเล็ก แต่สวนภายในเปิดกว้างสอดรับกับห้องรับแขกหลังนี้ มีการเปิดรับธรรมชาติแบบทอปปิคัลด้วยบล็อกช่องลมจากภายใน สร้างความเป็นไปได้ในการให้ธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสภาวะสบายให้กับบ้าน ลงตัวทั้งทิศแดด ลม และการกันฝนไปพร้อมๆกัน ออกแบบ : 90°design ประเทศเวียดนาม บ้านหน้าแคบ หลังนี้สร้างขึ้นบนที่ดินเดิมของเจ้าของบ้านซึ่งมีลักษณะหน้าแคบแต่เปิดกว้างในส่วนท้าย นี่จึงเป็นโจทย์ท้าทายให้สถาปนิก 90odesign ต้องออกแบบบ้านทาวน์เฮ้าส์ที่โดดเด่นด้วยบรรยากาศแบบทรอปิคัลโดยซ่อนสวนอยู่ด้านใน ด้วยต้องการความเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้าน บ้านหลังนี้จึงมุ่งเน้นการสร้างพื้นที่ภายในและสวนข้างบ้าน อันถือเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับสร้างความผูกพันของคนครอบครัว ให้สามารถออกมาใช้เวลาว่างพักผ่อนร่วมกันได้ บรรยากาศแบบทรอปิคัลของประเทศเวียดนาม รวมถึงการเลือกวางตัวบ้านให้เป็นแนวยาว จึงสามารถเปิดพื้นที่ด้านข้างที่ค่อย ๆ ขยายจากพื้นที่ด้านหน้าให้กลายเป็นสวนได้ ช่วยสร้างความสดชื่นให้กับพื้นที่นั่งเล่น โต๊ะรับประทานอาหารครัว และห้องนอนใหญ่ไปพร้อม ๆ กัน จากนั้นจึงเผื่อพื้นที่ด้านหลังเป็นห้องนอน ห้องน้ำ และลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ โดยสามารถเข้าถึงได้จากทางสัญจรข้างบ้าน นอกจากใช้เป็นวิวให้กับบ้านแล้ว แสงธรรมชาติที่ส่องผ่านสวนเข้ามา ยังเติมเต็มพลังงานดี ๆ ให้ไหลเวียนไปยังทุกพื้นที่.และอีกสิ่งหนึ่งที่เด่นชัดของบ้านหลังนี้ก็คือ การเลือกใช้ “บล๊อกช่องลม” เป็นวัสดุกรุผนังหน้าบ้าน ยอมให้ลมสามารถพัดผ่านจากหน้าบ้านเข้าไปยังสวน และเข้าสู่ตัวบ้านผ่านบานเปิดกระจกตลอดแนวอาคาร เป็นความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากเสน่ห์ของภูมิอากาศแบบร้อนชื้นแสนชุ่มฉ่ำ เติมเต็มความสุขให้กับบ้านอย่างที่ภูมิประเทศแถบอื่นให้ไม่ได้ บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดการพื้นที่เเบบแคบยาว และอาจจะรวมถึงที่ดินที่มีรูปทรงไม่ปกติ ทั้งยังเป็นการใช้ประโยชน์จากภูมิอากาศและเปิดรับธรรมชาติในจังหวะที่น่าสนใจ เหมาะกับใครที่กำลังมีแผนจะรีโนเวต หรือสร้างบ้านในพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวอย่างยิ่ง ภาพ : Cung […]

ทาวน์เฮาส์รีโนเวท หลังนี้มีการจัดการกับพื้นที่และการเข้าถึงคือหัวใจสำคัญของการรีโนเวท เพราะด้วยความที่เป็นร้านของชำติดริมถนน

ทาวน์เฮาส์รีโนเวท จากร้านของชำ 2 ชั้นบนถนนเจริญนคร ที่ดูร่วมสมัยและใช้งานได้ดี

ทาวน์เฮาส์รีโนเวท หลังนี้มีการจัดการกับพื้นที่และการเข้าถึงคือหัวใจสำคัญของการรีโนเวท เพราะด้วยความที่เป็นร้านของชำติดริมถนน จึงทำให้พื้นที่ส่วนตัวและความเป็นสาธารณะนั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด สถาปนิกจึงเลือกที่จะกำหนดขอบเขตของพื้นที่ขึ้นจากองค์ประกอบภายในบ้านเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของการใช้งานแต่ละพื้นที่ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: OPH Architects อ่าน : F HOUSE บ้านไม้ที่ใช้ม่านแบ่งห้อง และมีหน้าผาจำลองให้เด็กได้ปีนป่าย ประตูบานม้วนเหล็กถูกใช้กำหนดพื้นที่ระหว่างคนเดินถนนกับภายในบ้าน เคาน์เตอร์กระจกและชั้นวางถูกใช้ในการกำหนดขอบเขตของร้านของชำ จากนั้นด้วยภาษาทางสถาปัตยกรรม การคุมโทนสีขาวและพื้นผิวไม้ที่ดูสะอาดตา พื้นที่เหล่านั้นจะกลายเป็นพื้นที่ส่วนตัวไปโดยปริยาย สร้างให้การใช้งานบ้านมีระเบียบและรู้สึกเป็นส่วนตัวมากขึ้น ผนังกระจกและบานกระทุ้งนั้นถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความหลากหลายในการใช้งาน นั่นคือการเปิดและปิดที่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด แต่มากกว่านั้น จากปัญหาที่พบก่อนการรีโนเวทนั่นคือลักษณะที่ค่อนข้างมืดและการระบายอากาศที่ถ่ายเทได้ไม่ดี ด้วยเหตุนี้เองผนังกั้นที่ชั้น 2 ของบ้านจึงถูกรื้อออกและแทนที่ด้วยบานกระจกฝ้าที่สามารถกระจายแสงธรรมชาติสู่พื้นที่กลางบ้านได้ รวมทั้งการใส่บานกระทุ้งก็สร้างให้การถ่ายเทอากาศทั่วทั้งบ้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิ เมื่อพูดถึงการรีโนเวท บ่อยครั้งที่เราจะนึกภาพไปถึงการเปลี่ยนโฉมจากรูปแบบเดิมๆของอาคาร แต่สำหรับบ้านหลังนี้ สถาปนิกเลือกที่จะใส่ใจกับความคุ้นชินเดิมๆและแก้ปัญหาในการใช้งานเสียมากกว่า เพื่อให้ภาพลักษณ์เมื่อเสร็จสิ้นแล้วยังคงความเป็นมิตรที่ดูอบอุ่นสำหรับชุมชน ลูกค้า และผู้ที่เดินผ่านไปมาเมื่อเช่นเดิม ไม่ทำให้เกิดความตะขิดตะขวงใจในการเดินเข้ามาซื้อสินค้าในร้านชำ ซึ่งนี่ก็คือความใส่ใจที่มากไปกว่าแค่งานออกแบบที่น่าสนใจในรูปแบบเพียงเท่านั้น ออกแบบ : OPH Architects โดย ไพลิน หงษ์วิทยากร และ กิตติศักดิ์ ศุภคติธรรภาพ : Napat Pattrayanondเรื่อง : Wuthikorn Sut อัพเดตโลกดีไซน์ได้ทุกวันที่ facebook.com/roomfan

บ้านทาวน์โฮม ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ถูกรีโนเวทอย่างตั้งใจ จัดการพื้นที่ใช้สอยอย่างลงตัวด้วยวิธีการที่แยบยล เติมกลิ่นอายความละเมียดแบบล้านนาด้วยงานไม้และหินขัด

บ้านทาวน์โฮมที่รีโนเวตอย่างละเมียด วางผังแบบญี่ปุ่นแต่แฝงกลิ่นอายแบบนอร์ดิก

บ้านทาวน์โฮม ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับการรีโนเวทอย่างตั้งใจ จัดการพื้นที่ใช้สอยอย่างลงตัวด้วยวิธีการที่แยบยล เติมกลิ่นอายความละเมียดแบบล้านนาด้วยงานไม้ และหินขัด(Terrazzo) และหัวใจสำคัญคือการเปิดรับแสงธรรมชาติให้กับบ้านที่ตามปกติแล้วยากที่จะได้รับ นี่คือบ้านของคุณนา-ชนาพร มหายศนันท์ จาก Chana Mahayosanun (fb.com/Chana.Mahayosanun) ผู้เป็นทั้งเจ้าของและสถาปนิกที่ออกแบบทุกสิ่งอย่างตั้งแต่สถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน จนถึงเฟอร์นิเจอร์ใน บ้านทาวน์โฮมหลังนี้ รีโนเวตตึกแถวเก่าให้กลายเป็นบ้านเดี่ยวทันสมัยพร้อมสวนในบ้าน บ้านหลังนี้เป็นบ้านเดิมที่คุณนาเคยอยู่กับพี่สาวตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย จนกระทั่งได้ไปเรียนต่อทางด้านสถาปัตยกรรมที่กรุงเทพฯ บ้านก็ถูกทิ้งร้างไว้ไม่ได้มีคนเข้าไปใช้การมากนัก คุณนาได้บอกกับเราว่า แต่เดิมบ้านหลังนี้เป็นบ้านขนาด 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ แต่ด้วยขนาดที่ไม่มากนัก จึงทำให้ทุกอย่างค่อนข้างคับแคบ ตอนเรียนมัธยมก็ไม่ค่อยรู้สึก แต่พอกลับมาดูอีกทีก็คิดว่าน่าจะจัดการให้ดีกว่านั้นได้ ประกอบกับที่คุณพ่อและคุณแม่ของคุณนาเองจะได้สามารถมาใช้เป็นที่พักเวลามาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลในตัวเมืองได้อีกด้วย หลังจากที่คุณนาจบการศึกษาที่โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก จึงถือโอกาสจัดการบ้านหลังนี้ให้เรียบร้อยลงตัวและพร้อมใช้เสียเลย พื้นที่ไม่มาก แต่ใช้ได้มากสิ่งแรกที่คุณนาได้ออกแบบลงไปใหม่ในบ้านหลังนี้ก็คือ การออกแบบให้การใช้งานทั้งหมดของบ้านไปรวมกันอยู่ด้านเดียว ไม่ว่าจะเป็นครัว หรือตู้เก็บของต่าง ๆ จากผังจะเห็นได้ว่า ส่วนใช้งานทั้งหมดนั้นจะไปกองอยู่ทางผนังด้านซ้ายของตัวบ้าน เมื่อมองจากหน้าบ้านจะมองทะลุไปยังหลังบ้านได้เลย ด้วยวิธีการนี้เอง ทำให้พื้นที่ในบ้านและดูกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งยังทำให้มีพื้นที่พอที่จะเพิ่มครัวแบบไอส์แลนด์ และโต๊ะรับประทานอาหารไว้กลางบ้านได้อีกด้วย ซึ่งจุดนี้เองเธอได้เล่าให้ฟังว่า เป็นความคุ้นชินจากที่เคยไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการใช้สอยพื้นที่อย่างคุ้มค่าเป็นอย่างมาก เมื่อกลับมาทำบ้านของตัวเอง จึงเลือกที่จะออกแบบพื้นที่ทั้งหมดให้สามารถถูกเก็บซ่อนได้โดยง่าย ทั้งประหยัดพื้นที่ และดูสะอาดตาไปพร้อม ๆ […]

ฟื้นซากตึกแถวเก่าให้กลายเป็นบ้านพักอาศัยที่กลมกลืนไปกับบริบทเมืองสงขลา

เสน่ห์อย่างหนึ่งของเมืองเก่าสงขลาคือบรรดา ตึกแถวเก่า หลากหลายยุคที่เรียงรายอยู่ตลอดสองฟากฝั่งของถนนสายเก่าแก่เริ่มตั้งแต่ยุคจีนโบราณ จีนผสมไทย ชิโน -ยูโรเปียน อาร์ตเดโค และโมเดิร์นยุคแรกจึงเป็นเมืองที่น่าศึกษาวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Pakorn Architect เมื่อเจ้าของร้านอาหารชื่อดัง “ร้านข้าวสตูเกียดฟั่ง” ต้องการหาที่อยู่อาศัยใหม่สำหรับครอบครัว บรรดา ตึกแถวเก่า เหล่านี้จึงเป็นที่หมายตา ก่อนจะตัดสินใจซื้อตึกแถวไม้เก่าแก่อายุกว่า 100 ปีบนหัวมุมหนึ่งของถนนนางงาม ไม่ใกล้ไม่ไกลจากที่อยู่เดิม เพื่อปรับปรุงเป็นบ้านพักอาศัยใหม่และเผื่อเป็นร้านขายข้าวสตูในอนาคต “ด้วยสภาพที่ทรุดโทรมมาก บ้านหลังนี้ได้ถูกรื้อทิ้งไป ซึ่งขณะนั้นสถาปนิกคนแรกพยายามจะสร้างกลับมาใหม่แต่ไม่สำเร็จ ความยากอยู่ที่ถ้าสร้างใหม่ เทศบาลมีข้อกำหนดให้เว้นระยะจากถนน 2 เมตร ทำให้พื้นที่ก่อสร้างไม่เพียงพอกับพื้นที่ใช้สอยที่ต้องการ” คุณเป้ – ปกรณ์ เนมิตร-มานสุข สถาปนิกแห่ง PakornArchitect สถาปนิกรายที่ 3 ที่เข้ามารับผิดชอบออกแบบบ้านโบราณอันทรงคุณค่า กับความท้าทายของระยะร่น 2 เมตรตลอดความยาว 2 ด้านที่ติดถนนที่ทำให้พื้นที่ก่อสร้างหายไป จนดูเหมือนว่าบ้านหลังนี้จะไม่สามารถรื้อฟื้น หรือที่เรียกว่า “Reconstruction” กลับมาได้ “ไอเดียที่ปิ๊งขึ้นมาก็คือทำตึกปูนครึ่งหนึ่งและตึกไม้ครึ่งหนึ่ง โดยส่วนที่เป็นตึกปูนจะเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมเต็ม และมีพื้นที่มากกว่าส่วนที่เป็นชั้น 2 ของบ้านไม้สามารถใส่ฟังก์ชันห้องนอนและห้องน้ำที่ต้องปิดทึบให้อยู่ในตึกปูนทั้งหมด […]