เซรามิก Archives - room

กระเบื้องดินเผา แฮนด์เมด ด้วย “ดิน” และ “ช่าง” ท้องถิ่น จากเชียงใหม่

เพิ่มความสุนทรีย์ ให้พื้นที่อยู่อาศัย ด้วย กระเบื้องดินเผา แฮนเมด แม่ริม เซรามิค Maerim Ceramic Studio ณ ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ และวัสดุที่ผลิตขึ้นด้วยมือมนุษย์ ได้หวนคืนสู่ความนิยมอีกครั้ง ด้วยสีสัน และผิวสัมผัสที่เกิดจากกระบวนการทำมือ ทำให้ระลึกได้ว่า บางทีสิ่งของเครื่องใช้ก็ไม่จำเป็นต้องเนี้ยบในทุกชิ้น ทุกจุดก็ได้ แต่สามารถเว้นพื้นที่ให้ผู้ใช้งานได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางความรู้สึกนึกคิด เป็นเหมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ที่มีพื้นที่ให้ได้คิดต่อ ซึ่งงานศิลปะชิ้นนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือเป็นวัสดุแต่งบ้าน ที่มาเพิ่มความสุนทรีย์ในการอยู่อาศัยได้ในทุกทุกวัน วันนี้ room พาทุกท่านมารู้จักกับ กระเบื้องดินเผา ท้องถิ่นจากเชียงใหม่ ที่แต่ละชิ้นมีสเน่ห์ที่แตกต่างกัน สร้างความพิเศษด้วยผิวสัมผัสคราฟต์ กระเบื้องดินเผา ผลิตด้วยดินจากอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เคลือบด้วยสีเฉพาะตัว ที่ทางสตูดิโอผสมขึ้นเอง ด้วยสูตรที่คิดค้น และพัฒนาต่อเนื่องมากว่า 50 ปี ผ่านการผลิตโดยช่างในท้องถิ่น ทุกแผ่นทำด้วยมือ แต่ละแผ่นมีเอกลักษณ์ หน้าตา ผิวสัมผัส และสีที่แตกต่างกัน โดยความเข้มอ่อนของสีจะขึ้นอยู่กับความร้อนของแต่ละแผ่นเมื่อนำไปเผาไฟ แผ่นที่โดนความร้อนมาก สีจะเข้ม ส่วนแผ่นที่โดนความร้อนน้อยลงมา สีจะอ่อนลงไป ทำให้เกิดเป็นสเน่ห์ของตัวแผ่น […]

DRAGONERPANZER เมื่อครั้งศิลปะ มีค่ามากกว่ากองทหาร

ผลงานศิลปะ DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์จัดแสดงในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 ณ BACCข้อมูลเพิ่มเติม : bkkartbiennale.com หากจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าสนใจในงาน BAB 2020 หรือ Bangkok Art Biennale 2020 ก็คงจะต้องบอกว่ามีมากมายดารดาษ แต่ถ้าจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าจะเปรียบเปรยและเข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงนี้ของไทยได้อย่างดี (แบบที่ไม่ได้ตั้งใจให้จังหวะการแสดงงานมาประจวบเหมาะกันเช่นนี้) ก็คงต้องยกให้ผลงานที่มีชื่อเรียกว่า DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ กับ รถถังเซรามิกที่กล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ศิลปะเคยมีค่ามากกว่ากองทหารม้ากว่า 600 นาย! ผลงานประติมากรรมเซรามิก DRAGONERPANZER (โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์) ชุดนี้ เกิดจากความรู้สึกประทับใจการใช้เครื่องลายครามของจีนจากราชวงศ์หมิงและชิงแลกกองทหารม้า วศินบุรีจึงสร้างรถถังจากเซรามิกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแลกเปลี่ยนมูลค่าและเงินตรา ในขณะที่แจกันมังกรสีน้ำเงินขาวถูกเรียกว่ามูลค่าทางการเงิน รถถังเซรามิกจะเป็นของสะสมล้ำค่า ในขณะที่รถถังทหารจะกลายเป็นขยะโลหะที่จะถูกขายเป็นเศษเหล็ก “ครั้งแรกที่ได้อ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จากหนังสือ กระเบื้องถ้วย กะลาแตก ของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ที่กล่าวถึงกษัตริย์ Friedrich August Iเจ้าผู้ครองแคว้นแซกโซนี […]