ไม้ไผ่ Archives - room

CHATA THAMMACHART คาเฟ่ไม้ไผ่กลางผืนนา วิวอลังการกลางธรรมชาติ

ร้านอาหารในอาคารโครงสร้างไม้ไผ่ท่ามกลางผืนนากว่า 10 ไร่ ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นำเสนอประสบการณ์การพักผ่อนที่เชื่อมโยงระหว่างผู้คน สถาปัตยกรรม และธรรมชาติ Chata Thammachart DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: ธ.ไก่ชน THAI Bamboo Architecture รูปทรงของตัวอาคารร้านอาหาร Chata Thammachart มีลักษณะคล้ายศาลาขนาดใหญ่ ล้วนเกิดจากเหตุผลด้านโครงสร้าง และแนวคิดการลดทอนโครงสร้างไม้ไผ่ให้เรียบง่าย มีความซับซ้อนน้อยที่สุด โดยปราศจากวัสดุเหล็กเสริมใด ๆโครงสร้างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอาคารที่เห็น เกิดจากระยะที่กว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระหว่างเสาแกนกลางกับเสาไม้ไผ่ที่รับโครงสร้างหลังคาโดยรอบ ทำให้เกิดพื้นที่ใช้งานโปร่งโล่งรอบเสากลาง ส่วนหลังคาไม้ไผ่สับฟาก มุงเหลื่อมซ้อนชั้นดูคล้ายหมวกทรงสูง ความชันของหลังคาช่วยลดการขังของน้ำฝน ลดการรั่วซึม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไม้ไผ่ผุเร็ว พื้นที่ในร้านประกอบด้วย 3 ส่วน หลัก ๆ ได้แก่ อาคารใหญ่ที่มีทั้งโซนคาเฟ่ในห้องปรับอากาศ และพื้นที่นั่งรับประทานอาหารกึ่งกลางแจ้ง เชื่อมต่อกับโซนอัฒจรรย์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้นั่งชมความงามแห่งธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา พื้นที่ส่วนเซอร์วิสและออฟฟิศในอาคารเล็กด้านหลังนอกเหนือไปจากสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติรอบข้าง เมนูอาหาร และกาแฟก็เน้นการใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้ชีวิตท่ามกลางวิถีชุมชนอย่างสมบูรณ์แบบ ภายใต้แนวคิดการทดลองใช้ชีวิตในวิถีชุมชนภายใต้แนวคิด “อยู่กับธรรมชาติ อย่างเป็นธรรมชาติ” IDEA TO STEAL แม้จะเป็นโครงสร้างที่เรียบง่ายไร้การตกแต่ง แต่เส้นสายที่เกิดขึ้นจากลำไม้ไผ่ […]

คุยกับ ANTON NEGODA ชาวรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญบ้านไม้ไผ่ บนเกาะพะงัน

บ้านไม้ไผ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ไปปลูกสร้างบนเกาะสวย ๆ อย่างพะงันแล้วละก็ เชื่อว่าเป็นฝันของใครหลาย ๆ คนที่รักทะเลเป็นแน่แท้ วันนี้ room ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับชาวรัสเซียที่ลงมือปลูกบ้านไม้ไผ่ด้วยตัวเอง จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญในที่สุด บ้านไม้ไผ่ที่ปลูกเองได้ จนถึงวิธีการจัดการไม้ไผ่จะเป็นอย่างไร เลื่อนลงไปอ่านได้เลย Bamboo design : derived from passion “ผมไม่ได้เรียนเรื่องการก่อสร้าง แต่ผมจบด้านการทำอาหารมา ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้ผมกลับหลงใหลในการสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เรียกว่าตอนนี้ผมปรุงไม้ไผ่แทนอาหารก็แล้วกัน“ Anton Negoda ชายหนุ่มชาวรัสเซีย เปิดบทสนทนากับเราได้น่ารักมาก ๆ เขาเริ่มหลงรักและสนใจในวัสดุไม้ไผ่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตอนที่มาเกาะพะงันใหม่ ๆ “ตอนมาถึงที่นี่ครั้งแรก หลังจากเดินทางหลายประเทศในเอเชีย ผมมีความรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน รู้สึกอบอุ่น และถูกยอมรับจากพลังงานธรรมชาติบนเกาะ ในช่วงเริ่มแรกผมสนใจในการทำ dome สำหรับ Inipi ( sweat lodge ) ceremony ซึ่งมันคือพิธีกรรมโบราณของชาวอินเดียนแดง เพื่อชำระล้างจิตวิญญาณ กาย ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วยการเข้าไปนั่งในกระโจม หรือโดมที่มีหินร้อนอยู่ข้างใน คล้ายกับการซาวน่า หรือสตรีม ซึ่งรูปแบบของกระโจมก็เป็นตัวแทนของครรภ์มารดา  ซึ่งโครงสร้างของโดม หรือกระโจมนั้น ผมทำจากไม้ไผ่ ซึ่งขนาดที่ใช้ในพิธีกรรมไม่ได้ใหญ่มาก คนเข้าไปได้ประมาณ 10 คน หลังจากนั้นผมก็ทดลองทำขนาดที่ใหญ่ขึ้นในรูปทรงแบบโดมเหมือนเดิม แต่ปิดด้านนอกด้วยใบจาก ซึ่งโปรเจ็กต์แรกที่ทำ ผมสร้าง Play House ในโรงเรียนอนุบาล หลังจากนั้นผมก็ทดลองสร้างในขนาดที่ใหญ่ขึ้น กับรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป ทั้งในศูนย์วิปัสสนา วัด โรงโยคะ โรงเรียนอนุบาล ไม่ใช่สำหรับ Sweat Lodge เท่านั้น ซึ่งในแต่ละครั้ง มันเหมือนเป็นการทดลอง ใน 2 ปีนี้ผมมีความเข้าใจและค้นพบเทคนิคต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูกมากขึ้น และที่น่าประทับใจมาก ๆ ก็คือตอนนี้ผมมีลูกทีมถึง 6 คน ที่มาช่วยทำในโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ซึ่งคนเหล่านี้ไม่เคยจับงานไม้ไผ่มาก่อนเลย พวกเขาถนัดแต่งานคอนกรีต แต่ว่าตอนนี้พวกเขากลับหลงรัก และได้แรงบันดาลใจในงานไม้ไผ่เหมือนผม” งานไม้ไผ่ช่วงแรกของ Anton ตอนที่เริ่มทำ Sweat Lodge เป็นไม้ไผ่ที่บาง แต่พอเขาขยับขึ้นมาทำงานที่ใหญ่ขึ้น เขาก็เริ่มหาข้อมูลการทำโครงสร้างไม้ไผ่ที่แข็งแรงและทนทาน อีกทั้งยังมีความยั่งยืน ใช้งานได้ยาวนาน ด้วยเทคนิคที่แตกต่างออกไป  “ หลายคนคิดว่างานไม้ไผ่ไม่คงทน เสียหายได้ง่ายจากสภาพอากาศและแมลง เพราะความคิดเหล่านี้ทำให้บ้านไม้ไผ่ไม่เป็นที่นิยม แต่ความจริงแล้วถ้าเราทรีตไม้ไผ่อย่างดี และสร้างถูกหลักการ โครงสร้างไม้ไผ่ก็สามารถอยู่เป็น 100 ปี ได้เช่นกัน  […]

ศูนย์บำบัดผู้พิการที่สร้างจากดินและไม้ไผ่โดยฝีมือชาวบ้านในชุมชน

Anandaloy คือศูนย์สำหรับผู้พิการที่มีสตูดิโอขนาดเล็กสำหรับทำงานสิ่งทอรวมอยู่ด้วย ที่นี่โดดเด่นด้วยการก่อสร้างด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่าง ดิน และ ไม้ไผ่ ออกแบบโดย Anna Heringer จาก Studio Anna Heringer ซึ่งเธอมีความเชื่อว่า “งานสถาปัตยกรรมคือเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน” เช่นเดียวกับโปรเจ็กต์อื่น ๆ ของเธอที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป แอฟริกา หรือเอเชีย ซึ่งล้วนแต่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก รวมไปถึงอาศัยฝีมือและแรงงานจากช่างท้องถิ่น เนื่องจากตัวอาคารทำจากดินเหนียวและ ไม้ไผ่ งบประมาณส่วนใหญ่จึงตกไปอยู่ที่ค่าแรงงานของช่างฝีมือหญิง ตัวอาคารนึ้จึงทำหน้าที่เป็นมากกว่างานสถาปัตยกรรม แต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาในระดับชุมชน โครงการนี้คือการนำประสบการณ์จาก 5 โครงการที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ นำมาพัฒนาร่วมกับ Montu Ram Shaw ผู้รับเหมาชาวบังกลาเทศ และทีมทำโครงสร้างดินและไม้ไผ่จากในหมู่บ้าน รวมไปถึงผู้พิการบางคนที่ขอเข้ามามีส่วนร่วม สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ของ Studio Anna Heringer นับเป็นกุญแจสำคัญที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ด้านการออกแบบและก่อสร้างได้ถูกส่งต่อไปยังผู้คนและชุมชนอย่างหยั่งรากลึก บ่อยครั้งที่ความเป็นคนพิการของคนบังกลาเทศมักถูกมองว่าเป็นเพราะพวกเขาถูกลงโทษจากพระเจ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องอยู่กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ และถูกทิ้งให้ใช้ชีวิตตามลำพัง ในขณะที่คนอื่น ๆ ในบ้านต้องออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ภายใต้ปัญหาความยากจน พื้นที่สำหรับบำบัดเยียวคนพิการจึงแทบหาได้ยากมาก […]

ARROM ORCHID ชมกล้วยไม้ใต้สถาปัตยกรรมไม้ไผ่

จาก “สวนบัวแม่สา” แหล่งท่องเที่ยวสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่บนถนนสายแม่ริม-สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตอนนี้ได้รับการแปลงโฉมให้กลายเป็นร้านอาหารและคาเฟ่ในสวนกล้วยไม้ในชื่อ ARROM ORCHID (อารมณ์ ออร์คิด) เชียงใหม่นอกจากมีมนต์เสน่ห์ด้านวัฒนธรรม ขนมธรรมเนียมประเพณี และธรรมชาติสวย ๆ แล้ว อีกสิ่งที่น่าจดจำคืองานหัตถกรรม หรืองานคราฟต์ ที่ละเอียดลออ ผ่านสองมือของสล่า (ช่างพื้นบ้าน) โดยเฉพาะงานจักสานและไม้ไผ่ เมื่อถึงคราวปรับโฉมสวนบัวแม่สา มาเป็น “ARROM ORCHID” ไอเดียการรังสรรค์ความงามให้แก่ของพื้นที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอย่างกล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ พร้อมการนำเสนอตนเองเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเลือกใช้ไม้ไผ่เพื่อทำเป็นโครงสร้าง รวมกับความชำนาญในงานไม้ไผ่ของช่างท้องถิ่น เกิดโปรเจ็กต์งานออกแบบที่สวยงามสื่อถึงธรรมชาติอย่างกลมกลืน การออกแบบโดยรวมเป็นวางผังโดยได้คงโครงสร้างหลักที่เป็นเหล็กกาวาไนซ์เดิมไว้ และใช้วัสดุ “ไม้ไผ่” ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ เเละมีน้ำหนักเบา เข้าไปติดตั้งร่วมกับโครงสร้างเดิมสำหรับตกแต่งในส่วนของฟาซาด ฝ้าเพดาน เเละผนัง โดยใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดนำมาประกอบกันหลายรูปแบบ จนเกิดเเพตเทิร์นเเละเส้นสายเเสงเงาที่สวยงาม ยามเมื่อเเสงลอดผ่านลงมายังพื้นที่ด้านใน  การใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดและรูปทรงมาประกอบการตกแต่งทั้งภายในร้านอาหารและภายนอกซึ่งเป็นสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่นั้น ทำให้ภาพของไม้ไผ่ดูทันสมัยขึ้น ทั้งจากเส้นสายลวดลายกราฟิกและแสงเงาที่ส่องผ่านเข้ามา อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกรองเเสง ดีทั้งกับลูกค้าผู้มาใช้บริการ รวมถึงบรรดากล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ที่อยู่ในโรงเพาะชำ ซึ่งสถาปนิกได้จัดวางผังทางเดินใหม่ให้ลดเลี้ยวไปมา จึงสามารถเดินชมกล้วยไม้ที่ออกดอกบานสะพรั่งได้อย่างใกล้ชิด  เรียกว่ามาถึงที่นี่เเล้วได้ชมทั้งสวนกล้วยไม้ และรับประทานอาหารรสชาติอร่อยไปพร้อมกัน ครบจบในที่เดียว ที่ตั้ง 332 หมู่ที่ 1 […]

THE GUILD อาคารไม้ไผ่แบบโมเดิร์น ที่ผ่านการทดลองวัสดุกว่า 9 ชนิด

การผสมผสานระหว่างของใหม่กับของเก่า กับโปรเจ็กต์รีโนเวตโครงการ “The Guild” อาคารไม้ไผ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ Taman Villa Meruya โดยในโครงการประกอบไปด้วยห้องสมุด คลินิกทันตกรรม ที่พัก และออฟฟิศสถาปนิก Realrich Architecture Workshop (RAW Architecture) อาคารไม้ไผ่ นี้มีฟังก์ชันเดิมของคือห้องสมุด เมื่อมีการปรับปรุงจึงเริ่มทำในส่วนนี้ก่อนเริ่มจากการเพิ่มชั้นหนังสือ ร้านขายหนังสือ และแกลเลอรี่ แล้วทำการแบ่งพื้นที่ไพรเวตและพับลิกออกจากกันด้วยการแยกทางเข้าเป็นสองทาง ส่วนที่เพิ่มเข้ามาใหม่ตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออก มีชื่อว่า GuhaBambu ออกแบบเป็นอาคารขนาด 7.5 x 26 เมตร แบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ชั้น เเละชั้นใต้ดิน เด่นด้วยโครงสร้างไม้ไผ่ ซึ่งเป็นเทคนิคการก่อสร้างไม้ไผ่งานทดลองของ alfa omega project ร่วมกับเหล็กตรงส่วนของโครงสร้างหลังคา ซึ่งการก่อสร้างในครั้งนี้ ทีมออกแบบใช้วัสดุถึง 9 ชนิดด้วยกันในการทดลองและพัฒนาร่วมกับช่างท้องถิ่น ได้แก่ เหล็ก ไม้ แก้ว โลหะ ยิปซัม ไม้ไผ่ พลาสติก หิน […]

ประติมากรรมไม้ไผ่เปลี่ยนสี ในเทศกาลดนตรี THAIBREAK FESTIVAL

ควันหลงจาก Thaibreak Festival เทศกาลดนตรี electronic ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครอบรอบ 20 ปี โดยมีผองเพื่อนนักดนตรีที่รักในเพลงแนวเดียวกันกว่า 500 ชีวิตจากทั่วโลก เข้าร่วมปาร์ตี้เท้าเปล่าบนหาดทรายขาวของเกาะหมาก จังหวัดตราด “Thaibreak Festival เป็นเทศกาลดนตรีของกลุ่มนักดนตรี electronic ชาวเยอรมันที่ส่วนใหญ่ใช้เวลามาพักผ่อนที่ประเทศไทย จนเป็นที่มาของชื่อว่า Thaibreak หรือมาพักเบรกที่ประเทศไทย ปีนี้คือการจัดงานฉลองครอบรอบ 20 ปี เหมารีสอร์ท เหมาเรือ จัดปาร์ตี้ มีดีเจที่ดูจากไลน์อัพของศิลปินจะเป็นดีเจเบอร์ต้นๆ ในแนวดนตรีนี้มาเล่นกันยาวตั้งแต่ 4 โมงเย็นจนถึง 11 เช้าของอีกวัน” คุณตั๊บ-ธนพัฒน์ บุญสนาน สถาปนิกหนุ่มแห่ง ธ.ไก่ชน อธิบายภาพรวมของงานปีนี้ให้เราฟังคร่าวๆ ซึ่งเขาเองได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นปีแรกในเทศกาลดนตรีนี้ ประติมากรรมไม้ไผ่ที่เมื่อตกกลางคืนจะเปลี่ยนสีและลวดลายไปตาม Visual Graphic เป็นการทำงานร่วมกันของสองนักสร้างสรรค์ต่างรูปแบบ นำโดยคุณตั๊บ สถาปนิกเจ้าของผลงานประติมากรรมไม้ไผ่ และคุณกบ-พงษ์ภาสกร กุลถิรธรรม หรือ กบ B.O.R.E.D แห่ง Kor.Bor.Vor:The Labour Party Of Visual Creation ผู้สร้าง Projection […]