roomDesignUpdate Archives - room

เฟอร์นิเจอร์จากใย กัญชง อัด ทำเองได้ง่ายนิดเดียว สู่การใช้งานใหม่ที่หลากหลายยิ่งขึ้น

Hannah Segerkrantz นักศึกษาจาก Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เลือกทำวิทยานิพนธ์ซึ่งต่อยอดวัสดุ Hempcrete หรือก้อนอิฐจากใยกัญชงอัด ให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ในหลากหลายการใช้งาน โดยมาพร้อมคุณสมบัติที่ทนทาน ปลอดภัย ใช้งานง่าย เข้ากับทุกการตกแต่ง ทั้งยังกันน้ำได้อีกด้วย ด้วยวิธีที่การเหมือนจะง่าย(แต่จริง ๆ แล้วไม่ง่ายเท่าไหร่) Hannah เลือกที่จะออกแบบเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้จากรูปทรงพื้นฐานคล้ายรูปถ้วย 6 ขนาด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะจำกัดขนาดของแม่พิมพ์ให้ไม่มากจนเกินไป รูปถ้วยเหล่านี้นอกจากจะเป็นรูปทรงที่มั่นคงแล้ว ยังสะดวกต่อการเข้าพิมพ์และแกะออกจากพิมพ์อีกด้วย พิมพ์ที่ใช้นั่นเป็นแม่พิมพ์ผ้าซึ่งใช้วิธีรัดเข้าให้พอดี จากนั้นจึงกรอกใยกัญชงที่ผสมน้ำแล้วลงไป และนำแม่พิมพ์สองชิ้นที่เลือกมาประกบกัน ด้วยวิธีการนี้เมื่อใยกัญชงจากทั้งสองพิมพ์เชื่อมติดกัน เราจะได้ผลลัพธ์คือเฟอร์นิเจอร์สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันถึง 15 แบบ ตั้งแต่เก้าอี้ทรงเตี้ย ไปจนถึงโต๊ะข้างทรงเตี้ย หรือแท่นวางของ Hannah ตั้งใจให้ HEMP-IT-YOURSELF เป็นวิธีการที่เปิดกว้างที่จะช่วยผลักดันให้ใครก็ตามที่ได้ทดลองได้ตระหนักถึงความเป็นไปได้จากวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งคุณค่าของรูปทรงเรียบง่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ร่วมออกแบบบรรยากาศโดยรอบของเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้เอง สำหรับใครที่สนใจและอยากลองทำเฟอร์นิเจอร์จากใยกัญชงแบบ Hannah ดูบ้าง ลองเข้าไปศึกษาได้ที่ https://hannahsegerkrantz.com/hemp-it-yourself-process ข้อมูลเพิ่มเติม https://hannahsegerkrantz.com ภาพ: Luca Tichelman, Hannah Segerkrantzเรื่อง: Wuthikorn Sut […]

SOAPBOTTLE ขวดสบู่ที่ทำมาจากสบู่

ละลายจนหมด ไม่เหลือเป็นขยะ กับสบู่ที่มีขวดทำมาจากสบู่อีกที แนวคิดแหวกแนวที่ใช้ได้จริง SOAPBOTTLE เริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึงบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้กับสิ่งของในชีวิตประจำวันที่มักลงเอยกลายเป็นขยะอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสระผม น้ำยาล้าง หรือที่เราเรียกรวม ๆ ว่าเป็น Daily Use Product เพราะใช้ทุกวันนั่นก็คือเรากำลังก่อขยะมากขึ้นในทุกวันนั่นเอง อีกทั้งบรรจุภัณฑ์สำหรับของเหลวเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะทำขึ้นจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พูดง่าย ๆ คือ Recycle ได้ยากนั่นแหละ Jonna Breitenhuber จึงได้เริ่มต้นโครงการนี้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ก่อนจะขยายผลโดยการร่วมทุนใน Kickstarter และด้วยผู้สนับสนุนที่มีแนวคิดรักษ์โลกเช่นเดียวกับเธอ SOAPBOTTLE จึงได้เริ่มต้นวางจำหน่ายจริงในที่สุด การออกแบบนั้นได้แนวคิดมาจากอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักจะเห็นการบรรจุอาหารลงในสิ่งที่สามารถรับประทานได้ เช่น เนื้อในขนมปังกลายเป็นแฮมเบอร์เกอร์ หรือไอศกรีมที่นำไปใส่ในเวเฟอร์เป็นไอศกรีมโคน ความจริงแล้วทั้งขนมปังและเวเฟอร์นั้นเป็นบรรจุภัณฑ์แบบหนึ่ง และอันตรธานหายไปเมื่อเรารับประทานจนหมด ถ้าอย่างนั้นสำหรับผลิตภัณฑ์ความสะอาดส่วนตัว เราจะใช้วิธีเดียวกันได้หรือไม่? หลักการของ SOAPBOTTLE นั้นง่ายมาก คือ บรรจุผลิตภัณฑ์เหลวไว้ในขวดที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์เดียวกันในเวอร์ชั่นที่คงรูปกว่า เมื่อต้องการใช้ก็เพียงตัดเปิดบรรจุภัณฑ์ที่มุมขวด จากนั้นก็สามารถจะเทของเหลวออกมาเมื่อต้องการใช้ SOAPBOTTLE มีคลิปสำหรับใช้ตัดและปิดฝาในตัวเองแยกจำหน่าย คลิปนี้สามารถนำกลับมาใช้อีกได้ตลอดไป จนเมื่อเราใช้ส่วนที่เป็นของเหลวจนหมด ก็สามารถนำเอาบรรจุภัณฑ์นั้นมาถูใช้เป็นเหมือนสบู่ก้อน(หรือยาสระผมแบบก้อน)ได้ต่อ สุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงไม่เหลือขยะใด ๆ เลยในที่สุด ปัจจุบัน […]

ศูนย์บริการฉีดวัคซีน ในไอเดียแบบ “ด่านเก็บค่าผ่านทาง” เพื่อการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

ศูนย์บริการฉีดวัคซีน เริ่มเป็นพื้นที่จำเป็นในช่วงนี้ของไทยเราอย่างมาก เพราะจากกรณีที่รัฐบาลไทย นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทวงกลาโหมตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีนให้ได้ครบ 100 ล้านโดส ครอบคลุมคนไทยจำนวน 50 ล้านคน คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร ให้สำเร็จภายในปี 2564 นั้น ทำให้เมื่อคำนวญถึงสถานการณ์ปัจจุบันแล้วจะพบว่า จากวันนี้ไปจนถึงสิ้นปีซึ่งก็คือ 200 กว่าวัน การฉีดวัคซีนจะต้องมีผู้รับวัคซีนถึงวันละ 450,000 โดสขึ้นไป จึงจะสำเร็จได้ ซึ่งปัจจุบันก็เรียกได้ว่ายังถือว่าห่างไกลอยู่หลายเท่านัก แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกันไปเพราะยังมีอีกหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้ในที่สุด NBBJ บริษัทออกแบบชั้นนำที่มีออฟฟิสกระจายอยู่ทั่วโลกนั้น ได้นำเสนอวิธีการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้สามารถกระจายการให้วัคซีนได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วเข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ ด้วยการปรับช่องการจราจรหรือพื้นที่จอดรถ ให้กลายเป็นศูนย์บริการฉีดวัคซีนแบบ “Drive-through” หรือก็คือการขับรถเข้าไปรับวัคซีนแบบไม่ต้องลงมาติดต่อเลย ด้วยโครงสร้างผนังที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย ออกแบบมาให้ปรับใช้กับลักษณะการจราจรโดยทั่วไปได้ทันที ขนส่งด้วยรถเทรลเลอร์และประกอบเข้าด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว ผนังโค้งเหล่านี้จะมีระบบอำนวยความสะดวกสำหรับแพทย์และพยาบาลในการแจกจ่ายวัคซีนโดยง่าย สามารถนำไปติดตั้งตามพื้นที่สัญจรหรือลานจอดรถในทุกพื้นที่ของเมืองเมื่อผู้ต้องการรับวัคซีนขับรถมาถึงจุดจอด ด้วยระบบการลงทะเบียนออนไลน์ที่กำหนดให้ผู้ที่อยู่ในรถสามารถเข้ารับวัคซีนได้แล้วนั้น ผู้รับวัคซีนก็เพียงแค่แสดง QR ยืนยันการอนุมัติการรับวัคซีนจากระบบ และเข้ารับวัคซีนในพื้นที่ใดก็ได้ที่มีศูนย์ “Vaccine Drive-through” เมื่อพยาบาลได้ฉีดวัคซีนให้แล้ว ก็นั่งดูวิดีทัศน์เพื่อสอบอาการ ก่อนจะขับออกไปสู่จุดหมายปลายทางในที่สุด และเมื่อพื้นที่ดังกล่าวได้รับการปูพรมวัคซีนจนครบแล้วก็สามารถรื้อถอนโครงสร้างไปยังพื้นที่ต่อไปได้โดยง่าย การรับวัคซีนในรถเช่นนี้ ช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อจากการชุมนุมได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน เอาเข้าจริง ถ้าคำนวญจากปริมาณรถที่วิ่งเข้า “ด่านเก็บค่าผ่านทางด่วน” […]

FAN WORKING BEIJING ร้านขายและพื้นที่เวิร์คชอป “พัด”

ร้านขายพัดพร้อมพื้นที่เวิร์กชอปแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนเฉียนเหมิน ถนนที่ถูกขนานนามว่าถนนสายวัฒนธรรมในกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่นี่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมพัดจีนที่มีมาอย่างยาวนานให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญ จึงวางใจให้สถาปนิกจาก Golucci Interior Architects เข้ามา รีโนเวตตึกแถว ขนาด 2 ชั้นให้ดูเรียบง่าย สวยงาม และใช้งานได้จริงเหมือนกับ “พัด” ถนนเฉียนเหมินเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นย่านที่มีบ้านแบบหูตง หรือบ้านแบบดั้งเดิมของจีนที่เก่าแก่ที่สุดในปักกิ่ง ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้แวะเวียนมาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย โดยปัจจุบันพื้นที่ย่านนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกาลเวลาที่เปลี่ยนไป กลายเป็นพื้นที่ผสมผสานระหว่างความเก่ากับความใหม่ รวมไปถึงการ รีโนเวตตึกแถว เป็นร้านพัดแห่งนี้เช่นกัน พัดพกพานี้นับเป็นสิงประดิษฐ์เก่าแก่ที่มีถิ่นกำเนิดจากทั้งจีนและญี่ปุ่น อาจพูดได้ว่าต่างคนต่างเป็นแรงบันดาลซึ่งกันและกันก็คงไม่ผิดนัก ผู้ออกแบบจึงนำประวัติศาสตร์นี้มาประยุกต์ลงไปในการออกแบบสเปซ โดยแทรกกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นลงไปในอาคารเก่าแบบสถาปัตยกรรมจีน ผ่านการตกแต่งภายใน จากลักษณะของพื้นที่อาคารขนาดสองชั้นที่ไม่ได้มีพื้นที่เต็มตลอดทั้งตึก จึงแบ่งโปรแกรมออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ชั้นล่างที่มีขนาดเพียงหนึ่งคูหาเป็นส่วนของหน้าร้าน แล้วชั้นบนเป็นพื้นที่เวิร์กชอปให้บุคคลทั่วไปที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้การทำพัดแบบดั้งเดิมด้วยมือของคุณเอง สำหรับการตกแต่งภายในนอกจากความสวยงามแล้ว ยังออกแบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วย พื้นหินขัดเข้าคู่กับผนังสีขาวโพลน เสริมด้วยตู้เครื่องมือไม้สีอ่อนที่ใช้งานได้จริงพร้อมเป็นตัวแบ่งสเปซภายในไปในตัว ช่วยสะท้อนอัตลักษณ์ของพัดที่ว่าเรียบง่ายแต่ใช้งานได้จริง  ออกแบบ: Golucci International Design 古魯奇建築諮詢公司 ภาพ: : Lulu Xi เรียบเรียง: Woofverine QISHER COURTYARD รีโนเวตบ้านจีนโบราณ […]

Modular-Boxes กล่องต่อกล่อง สถาปัตยกรรมที่เกิดมาเพื่อการ “ประท้วง”

Modular-Boxes เป็นงานออกแบบที่เกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วงต่อการการเพิกเฉยต่อปัญหา climate change ของรัฐบาลอังกฤษโดย Extinction Rebellion ออกแบบโดยหนึ่งในพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมนั่นก็คือ Architect’s Climate Action Network (ACAN) โดยใช้งานออกแบบเดิมของ Studio Bark ที่ชื่อว่า U-Build System เป็นฐานคิดสำคัญ จุดเด่นของเจ้ากล่อง Modular Boxes เหล่านี้ก็คือ มันมีขนาดและน้ำหนักที่ง่ายต่อการขนย้าย ผู้ชุมนุมสามารถขนย้ายสิ่งเหล่านี้เข้ามาในพื้นที่ได้โดยง่าย ไม้อัดที่ประกอบขึ้นเป็นกล่องเหล่านี้เป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นมิตรต่อสายตาผู้คนรอบข้าง คุณสามารถขนมันเข้าสู่ที่ชุมนุมได้โดยไม่สร้างความรู้สึกคุกคามต่อคนบนท้องถนน และแน่นอนที่สุดคือมันแข็งแรงอย่างเหลือเชื่อ ด้วยโครงสร้างแบบกล่อง ประกอบกับความสะดวกของการเชื่อมต่อโครงสร้างไม้ และขนาดที่ใหญ่คล้ายอิฐขนาดยักษ์ (ชม Diagram การประกอบใน comment) ผู้ชุมนุมสามารถประกอบกันเข้าเป็นเวทีเตี้ย เวทีสูง สำหรับปราศัย กำแพง ที่นั่งพัก พื้นที่รวมตัว หรือแม้แต่หอคอยที่จะใช้เป็นหมุดสายตาได้อย่างรวดเร็ว สามารถเสริมความแข็งแรงได้ด้วยการเพิ่มโครงสร้างและร้อยเข้าไประหว่างรูบนกล่องแต่ละใบ ทั้งกล่องที่เหลืออยู่อาจนำมาเป็นที่นั่งในการปักหลักชุมนุมได้อีกทาง นอกจากนี้ยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้เพราะสามารถรื้อถอนได้อย่างรวดเร็ว และผู้ชุมนุมก็ช่วยกันถือออกไปคนละกล่องก่อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เอากล่องกลับบ้านไปคนละใบ รอใช้ต่อในงานต่อไปลด Carbon Footprint ได้มากมาย ในยุคที่การชุมนุมเกิดขึ้นรายวันเช่นนี้ เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องประท้วง […]

CHING CHAIR สตูลไม้ไผ่ ชูเนื้อแท้ความงามของธรรมชาติ

ในไต้หวันผู้คนมองว่าไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่ยังคงมีบทบาทต่อวิถีชีวิต ไม่ว่าจะใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ และวัสดุก่อสร้าง นั่นจึงทำให้สองดีไซเนอร์ Ta-Chih Lin และ Yi-Fan Hsieh เลือกนำไม้ไผ่มาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้ไม้ไผ่ ของพวกเขาในชื่อ “Ching Chair” โดยให้ความสำคัญกับความเป็นวัสดุดั้งเดิม ผ่านทางความรู้สึกทั้งการสัมผัสและการมองเห็น โดยกระบวนการออกแบบ เก้าอี้ไม้ไผ่ ครั้งนี้ ล้วนตั้งต้นมาจากคุณสมบัติของไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่ใช้งานได้แบบอรรถประโยชน์ และมีความยืดหยุ่นสูง   เริ่มจากการเลือกลำไม้ไผ่ที่มีความสมบูรณ์เพียงต้นเดียวมาตัดและแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ตามแบบที่ได้ดีไซน์ไว้ โดยดีไซเนอร์ได้สร้างแม่พิมพ์หลายชิ้นสำหรับแต่ละส่วน เพื่อให้ไม้ไผ่สามารถทำเก้าอี้ได้ง่ายและแม่นยำ พร้อมกันนั้นยังได้รักษาผิวไม้ไผ่ด้วยวิธีการพิเศษ เพื่อช่วยกักเก็บคลอโรฟิลล์ไว้ที่ผิวไม้ไผ่ให้ยังคงสีสันเขียวสดดูสวยงามแบบไม่มีวันซีดจาง ขณะที่ส่วนที่ยากที่สุดของการผลิตเก้าอี้ก็คือการดัดชิ้นไม้ไผ่ด้วยความร้อน ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงานเป็นเวลาหลายปี จนได้เคล็บลับที่ไม่ทำให้ผิวไม้ไหม้ ก่อนจะเชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกันด้วย Joint ไม้ไผ่ ตรงส่วนขาของเก้าอี้แต่ละข้างซึ่งถูกคิดมาอย่างดี โดยไม่มีวัสดุใดเข้ามาช่วยผสานเลย อีกทั้งยังได้ประกอบชิ้นส่วนไปตามทิศทางของเส้นใยไม้ไผ่ในแนวตั้ง เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้เก้าอี้ไม้ไผ่มีความแข็งแรงมากเพียงพอ สำหรับรองรับน้ำหนักของคนนั่งได้ นอกจากข้อดีในแง่ของการหยิบวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นซึ่งเราต่างคุ้นเคยกันอย่างดี มาใช้เป็นวัตถุดิบในงานออกแบบแล้ว ในอีกแง่หนึ่งไม้ไผ่ยังถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในกระบวนการผลิต และกระบวนการย่อยสลาย เก้าอี้ดีไซน์เรียบง่ายชิ้นนี้จึงสามารถบอกเล่าคุณสมบัติของไม้ไผ่ออกมาได้อย่างครบถ้วนด้วยตัวของมันเอง ออกแบบ : Ta-Chih Lin & Yi-Fan Hsieh  ภาพ : […]