Shma SoEn Archives - room

Harudot Khao Yai หยิบไอเดียตัด-พับกระดาษคิริกามิ สู่ คาเฟ่เขาใหญ่ เด่นตระหง่านกลางธรรมชาติ

Harudot คาเฟ่ชื่อดังขวัญใจนักดื่มกาแฟในเครือ NANA Coffee Roasters ได้ยกแบรนด์จากจังหวัดชลบุรี มาปักหมุดในทำเลใหม่ท่ามธรรมชาติแห่งเขาใหญ่ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา DESIGNER DIRECTORYออกแบบสถาปัตยกรรม: IDIN Architectsออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม: Shma SoEn สิ่งที่แปลกตาไปในสาขา Harudot Khao Yai นี้ เห็นจะเป็นการออกแบบร้านที่เหมือนยกประติมากรรมขนาดใหญ่ เด่นด้วยอัฒจรรย์ขั้นบันไดตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางพื้นที่สีเขียวออกแบบโดยคุณเป้-จีรเวช หงสกุล แห่ง IDIN Architects ซึ่งเคยฝากผลงานมาแล้วกับ Harudot สาขาชลบุรี และสำหรับสาขานี้ เขาได้เพิ่มดีกรีผ่านงานออกแบบเพื่อเล่าตัวตนของแบรนด์ Harudot ควบคู่ไปกับแนวคิดเพื่อให้สถาปัตยกรรมกลมกลืนไปกับธรรมชาติของบริบทเขาใหญ่ สถาปัตยกรรมที่ปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ Harudot Khaoyai สาขานี้ เน้นออกแบบให้ลูกค้าได้เสพวิวธรรมชาติที่รายล้อมอยู่รอบ ๆ บนที่ดินขนาด 23 ไร่ ได้อย่างเต็มเปี่ยม ทำเลที่ตั้งมีลักษณะเป็นเนินดิน (Berm) พร้อมกับมีต้นไม้รูปทรงแปลกตา เบื้องล่างมองเห็นวิวทะเลสาบและพื้นที่สีเขียวที่ยิ่งเสริมให้นักออกแบบได้ตัดสินใจดีไซน์ให้อาคารของคาเฟ่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับธรรมชาติมากที่สุด ริเริ่มมาจากโจทย์ของการสร้างพื้นที่สาธารณะให้คนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็ยังมีมุมส่วนตัวให้ลูกค้าของร้านมานั่งจิบเครื่องดื่มและชมวิวต้นไม้อย่างสงบ แนวคิดหลักของการออกแบบรูปทรงอาคาร สถาปนิกยังคงไว้ซึ่งคอนเซ็ปของแบรนด์ Harudot ที่ต้องแฝงด้วยกลิ่นอาย Modern Japanese Design ก่อนจะประยุกต์ใช้ศิลปะการตัดและพับกระดาษ “คิริกามิ” […]

BAANSOMTAM BANG NA ร้านส้มตำที่เติมความแซ่บและเป็นพื้นที่สีเขียวให้เมือง

“บ้านส้มตำ” ร้านส้มตำสุดเก๋าที่เปิดมายาวนานกว่า 15 ปี และมีสาขาอยู่ทั่วมุมเมือง ล่าสุดกับสาขาที่ 10 สาขานี้เปรียบเสมือนเป็นแฟล็กชิปสโตร์ของบ้านส้มตำ ที่แสดงออกถึงตัวตนและอัตลักษณ์ของเเบรนด์ได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความใส่ใจในรายละเอียด การคัดเลือกวัตถุดิบคุณภาพ และดีเทลในการบริการ ผ่านการวางพื้นที่ใช้สอยและการใช้วัสดุตกแต่งธรรมดาที่ไม่ธรรมดา หลังจากศึกษาและวิเคราะห์ที่ตั้งของร้าน ซึ่งอยู่ในย่านบางนาที่ยังขาดพื้นที่สวนระดับชุมชน หรือไม่มีสวนขนาดเล็กแทรกอยู่ในชุมชนเมืองเลย ประจวบเหมาะกับที่ดินผืนนี้มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ เมื่อหักลบจากพื้นที่ร้าน บ้านส้มตำ และคาเฟ่แล้ว ยังเหลือพื้นที่อีกมาก จึงเกิดเป็นไอเดียในการสร้างสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่ใช้ “พื้นที่สีเขียว” เป็นจุดดึงดูดความสนใจของโครงการ พื้นที่สีเขียวที่เกิดขึ้นอาจจะเรียกว่าสวนกึ่งสาธารณะ นอกจากช่วยดึงผู้คนให้มาใช้พื้นที่ของร้านบ้านส้มตำและคาเฟ่แล้ว ยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง โดยสิ่งนี้ได้กลายเป็นการพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งในเเง่ฟังก์ชันการใช้พื้นที่และโมเดลธุรกิจ และเมื่อพูดถึงอาหารอีสาน หลายคนมักนึกถึงความสนุกสนาน อันเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งที่เป็นเบสิก ท่ามกลางบรรยากาศการรับประทานอาหารที่เป็นการพูดคุยอย่างออกรสเเละเป็นกันเอง อันสื่อถึงความเป็นครอบครัวและความอบอุ่น นำไปสู่การออกแบบตัวอาคารให้มีความกลมกลืนระหว่างฟังก์ชันกับรูปฟอร์มได้อย่างลงตัว ตัวอาคารถูกแบ่งออกเป็นสองก้อนหลัก ๆ คือ ส่วนของร้านบ้านส้มตำ และส่วนของร้านหอมคาเฟ่ที่เชื่อมต่อกันอยู่ในรูปทรงของ Spiral Shape โดยส่วนของคาเฟ่เป็นส่วนของขดก้นหอยที่มีลักษณะเป็นวงกลม ตอบโจทย์การใช้งานของบาร์กาแฟ ขณะหางที่ต่อออกมาใช้เป็นส่วนของบ้านส้มตำ ที่มีลักษณะของอาคารทรงจั่วอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ เอื้อต่อการวางฟังก์ชันครัว ซึ่งทั้งสองมีการเชื่อมต่อทางมุมมองและการเข้าถึงสนับสนุนซึ่งกันและกัน ไฮไลต์ที่อดกล่าวถึงไม่ได้คือพื้นที่สวนโดยรอบอาคารที่ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง สวนด้านหน้าเป็นสวนของไม้ดอกที่มีกลิ่นหอม เช่น จำปี ปีบ […]