รีโนเวตตึกแถว Archives - room

lei ơi càphê ร้านกาแฟตึกแถว เวียดนาม สัมผัสความสงบและธรรมชาติจากภายใน

lei ơi càphê บ้านกึ่ง ร้านกาแฟตึกแถว สีส้มอิฐ ที่ชวนทุกคนทิ้งความวุ่นวายไว้ภายนอก เพื่อมาสัมผัสความสงบและธรรมชาติจากภายใน ท่ามกลางย่านชุมชนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ที่ห้อมล้อมไปด้วยบ้านตึกแถว หรือบ้านหน้าแคบ นับเป็นบริบทที่ท้าทายนักออกแบบจาก TRAN TRUNG Architects ในการออกแบบพื้นที่ ร้านกาแฟตึกแถว ให้ผสมผสานไปกับพื้นที่พักอาศัยที่อยู่ชั้น 2 และ3 มีมุมมองจากภายในที่ดูเปิดโปร่ง ชักนำแสงและลมให้สามารถไหลเวียนได้อย่างทั่วถึงทุกชั้น เมื่อมองเข้ามาจากพื้นที่หน้าร้าน นับเป็นโชคดีของที่นี่ที่มีต้นไม้ใหญ่จากฟุตบาทคอยช่วยสร้างร่มเงาดูร่มรื่น โดยสีเขียวของต้นไม้ดูตัดกันดีกับผนังอาคารสีส้ม และฟาซาดสังกะสีสีสนิมที่นำมาใช้ปิดบังมุมมองเพื่อความเป็นส่วนตัว ชักชวนให้อยากละทิ้งจังหวะที่เร่งรีบของเมืองภายนอก ก่อนจะค่อย ๆ ชะลอจังหวะให้ช้าลง จนสัมผัสได้ถึงความนิ่ง สงบ และกลิ่นกาแฟอันหอมกรุ่น รอต้อนรับอยู่ภายใน การออกแบบมาจากแนวคิดที่ต้องการเปิดพื้นที่ตรงกลางให้เปิดทะลุถึงด้านบน โดยมีเส้นทางสัญจรอย่างบันไดเหล็กเจาะรูที่ดูโปร่งเบาทำหน้าที่แจกจ่ายผู้คนไปยังแต่ละชั้น แถมยังยอมให้แสงและลมลอดผ่านลงมาถึงชั้นล่าง ซึ่งมีคอร์ตยาร์ด หรือพื้นที่สีเขียวปลูกต้นไม้เขียวชอุ่มสดชื่น เคล้าไปกับกลิ่นหอมหวนของกาแฟ ตัวอาคารไม่เพียงแต่ผสมผสานกับสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง ซึ่งสามารถรับรู้ได้ของการเคลื่อนไหวของลมและแสงที่ปรับทิศทางไปตามช่วงเวลา สังเกตได้จากการตกกระทบของแสงเงาที่ปรากฏบนผนัง นอกจากนี้ การออกแบบของสถาปนิกยังสะท้อนถึงแนวคิด “Reviving the Life Cycle” จากการก่อสร้างและใช้วัสดุที่ถูกทิ้ง หรือถูกมองข้ามให้ได้รับการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นแผงสังกะสีลอนลูกฟูก […]

GRAPH PHUKET ชุบชีวิตตึกเก่าเป็นคาเฟ่ เพื่อส่งต่อรสชาติกาแฟจากเหนือสู่แดนใต้

ท่ามกลางความเคลื่อนไหวของเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ริมถนนพังงาที่มุ่งหน้าสู่สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ด ปรากฏคาเฟ่ชื่อ GRAPH Phuket สาขาน้องใหม่ล่าสุดของ GRAPH แบรนด์คาเฟ่ชื่อดังจากเชียงใหม่ ที่เจ้าของแบรนด์อย่าง คุณฆฤพร สาตราภัย ขอขยายสาขามุ่งหน้าลงใต้ สู่ร้าน GRAPH Phuket เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่นักดื่มกาแฟ พร้อมการนำตัวเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ภายในตึกแถวสไตล์ชิโน-ยูโรเปียนอายุกว่าร้อยปี จากแนวทางของ GRAPH หลาย ๆ สาขา จะพบว่ามักตั้งอยู่ในเมืองเก่าที่มีคาแร็คเตอร์ชัดเจน ทั้งวัฒนธรรมและการเป็นเมืองท่องเที่ยว สำหรับที่ภูเก็ตก็เช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ภูเก็ตถูกเลือกให้เป็นทำเลใหม่ของการขยายสาขาเป็น GRAPH Phuket ครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องราวให้พูดถึงไม่แพ้สาขาอื่น เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ยังเก็บรายละเอียดของสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปียนไว้ให้คงเสน่ห์และกลิ่นอายดั้งเดิม ร่วมกับแนวทางการรีโนเวตที่กลมกลืนกับอาคารหลังอื่น ๆ ในย่านโอล์ดทาวน์ของภูเก็ต คุณฆฤพร สาตราภัย เจ้าของแบรนด์ GRAPH เล่าว่า เดิมที่นี่เป็นตึกร้างและทรุดโทรมมานาน กระทั่งได้ตัดสินใจเช่าและรีโนเวตใหม่ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านสถาปัตยกรรมเป็นหลัก สิ่งต่อเติมใดที่ไม่ตรงกับยุคของอาคาร และวัสดุที่ชำรุดจะถูกรื้อออกเกือบหมด เช่น หลังคาสังกะสี ฝ้า โครงสร้างไม้ และบันไดผุพัง ก่อนเสริมด้วยโครงสร้างใหม่ให้แข็งแรง อย่างพื้นชั้น 2 ที่นำไม้เนื้อแข็งมาปูลงไปใหม่ ตงและคานไม้ก็เปลี่ยนใหม่เช่นกัน […]

THAN / LAB บาร์ลับคอนเซ็ปต์สนุก ชวนนึกถึงห้องหลบภัยใต้ดิน

Than / lab โปรเจ็กต์รีโนเวตตึกธนาคารเก่าขนาด 3 ชั้น ใกล้ชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สู่ร้านอาหารและบาร์ลับบรรยากาศเหมือนห้องหลบภัยชั้นใต้ดิน ที่สลับอารมณ์ผ่านบรรยากาศ 3 สไตล์แบบไม่ซ้ำ Charrette Studio ได้ใส่ไอเดียสนุกๆ ลงไปใน Than / lab คอมมูนิตี้ที่รวบรวมทั้งร้านอาหารและบาร์บรรยากาศแปลกใหม่ สำหรับให้ผู้คนได้เข้ามาหลบลี้หนีความวุ่นวายอยู่ภายใน เสมือนที่หลบภัยลับที่ซ่อนตัวอยู่กลางเมือง ตัดขาดจากภายนอก โชว์ความดิบผ่านร่องรอยการทุบรื้อ หลังจากได้รับโจทย์ สถาปนิกได้ใส่ไอเดียจากซีรีส์เรื่องโปรดของสถาปนิกอย่าง Money Heist เริ่มตั้งแต่เมื่อเดินจากริมถนนเข้ามาถึงพื้นที่ด้านหน้า ซึ่งจะยังคงเห็นบานโรลลิ่งชัตเตอร์เดิม แล้วเปลี่ยนผนังด้านหน้าให้ปิดทึบ ชวนสงสัยว่าภายในคืออะไร และมีความน่าสนใจอย่างไร ขณะที่คนด้านในก็จะรู้สึกถึงการตัดขาดจากภายนอก โซนชั้น 1 เปิดเป็นร้านอาหารตกแต่งด้วยใต้ธีม Underground จัดเสิร์ฟเมนูประเภทสเต็ก อาหารตะวันตกรับประทานง่าย และอาหารประเภทเทปันยากิ ออกแบบให้มีบาร์ทำอาหารขนาดยาว บรรยากาศให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในห้องหลบภัยลับชั้นใต้ดิน รอบ ๆ เป็นผนังผิวขรุขระไร้การปรุงแต่ง เสมือนห้องที่ผ่านการบุกทลาย โชว์ความดิบและร่องรอยที่เกิดจากการทุบรื้อสเปซออกไปบางส่วน ตกแต่งไลท์ติ้งให้บรรยากาศดูสลัวราง แสงไฟที่สาดไปกระทบกับผนังจะช่วยขับเน้นเท็กซ์เจอร์ให้เห็นมิติสูงต่ำที่เกิดจากรอยปูนปุปะ ด้านหลังมี Smoking Area เป็นพื้นที่เปิดโล่งเดียวที่ยอมให้แสงสาดเข้ามา ช่วยให้พื้นที่ภายในชั้น […]

QUB ROOMS รีโนเวตตึกแถวเป็นโรงแรมลอฟต์สีดำ

รีโนเวตตึกแถว เป็นโรงแรมลอฟต์ มอบความสงบแม้พักผ่อนอยู่ใจกลางเมืองดึงดูดสายตาอยู่ที่เปลือกอาคาร (Facade) รูปทรงคิวบิกซึ่งทำจากเหล็กสีดำหลากหลายขนาด Qub Rooms รีโนเวตตึกแถว 3 ชั้น ให้กลายเป็นโรงแรมสไตล์ลอฟต์ที่มีเสน่ห์และโดดเด่นที่สุดในย่านการค้าใจกลางเมืองเซมารัง ประเทศอินโดนีเซีย มีจุดเด่นดึงดูดสายตาอยู่ที่เปลือกอาคาร (Facade) รูปทรงคิวบิกซึ่งทำจากเหล็กสีดำหลากหลายขนาด ตรงกลางกรุกระจกเพื่อเป็นช่องนำแสงเข้าสู่ภายในห้องพัก จัดวางสลับกันเพื่อเป็นการหลอกสายตา แทนการแบ่งเปลือกอาคารเป็นชั้น ๆ ทำให้เป็นเสมือนอาคารขนาดใหญ่ เป็นลูกเล่นที่น่าสนใจและช่วยสร้างอัตลักษณ์ที่มีเสน่ห์น่าค้นหาให้แก่โรงแรม จนเกือบลืมไปเลยว่าเดิมที่นี่เคยเป็นแค่ตึกแถวธรรมดา การเปลี่ยนแปลงบทบาทใหม่ครั้งนี้ โครงสร้างเดิมอาทิ ฝ้าเพดาน ผนัง และบันไดได้ถูกรื้อถอนออกไป เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับโรงแรมมากขึ้น บริเวณล็อบบี้และโถงทางเดินใช้เหล็กสีดำในการตกแต่ง บันไดทำจากแผ่นเหล็กเจาะรูเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก แถมสามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวผ่านความโปร่งของบันได สร้างความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าให้กับพื้นที่ส่วนกลาง และหน้าต่างบานเกล็ดทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวอาคารยังทำให้ภายในโรงแรมมีอากาศถ่ายเทตลอดเวลา การตกแต่งภายเน้นใช้ธีมสีโมโนโทนเพื่อช่วยให้ที่นี่ดูเรียบหรูมีสไตล์ ผนังห้องพักแต่ละห้องใช้อิฐทาสีดำกรุเป็นฉากหลัง ผนังโค้งมนด้านนอกห้องพักใช้สีขาวเรียบจับคู่กับความดิบของเพดานปูนเปลือย ประดับท่อสายไฟที่หุ้มด้วยเหล็กสีดำ สร้างบรรยากาศสไตล์ลอฟต์กลิ่นอายโมเดิร์น เป็นความเรียบง่ายที่ซ่อนความเท่ไว้ด้วยโทนสีและเหล่าเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นทำจากงานเหล็กเช่นเดียวกัน และเนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ในเขตเมือง เพื่อลดปัญหาด้านมลพิษและช่วยให้ผู้เข้าพักได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ สถาปนิกจึงใช้ต้นไม้เข้ามาช่วยกรองมลพิษอีกชั้นที่บริเวณผนังบานเกล็ดข้างทางเดินบันไดเหล็กเจาะรูสีดำ เป็นมุมมองที่ช่วยความรู้สึกสบายตาและสดชื่นขึ้นมาทันที นอกจากนี้ยังประดับกระถางต้นไม้ตามจุดต่าง ๆ ด้วย เป็นอีกโปรเจ็กต์การรีโนเวตอาคารขนาดเล็กให้กลายเป็นโรงแรมที่ท้าทายสถาปนิกอย่างมาก ทั้งการเอาชนะข้อจำกัดของอาคารที่ทั้งแคบ แถมยังตั้งอยู่ในย่านที่มีตึกแถวแออัดและพลุกพล่านให้เป็นที่พักผ่อนกลางใจเมือง มอบประสบการณ์การพักผ่อนให้ยิ่งพิเศษมากขึ้นกว่าเคย ออกแบบ : Tamara Wibowo Architects […]

MADI BKK คาเฟ่มินิมอล-นอร์ดิกฟีลอบอุ่น ที่เชื่อว่าวงจรของเพื่อนนำมาซึ่งเรื่องราวดี ๆ

มาดิ! คำชักชวนสั้น ๆ ระหว่างเพื่อนได้กลายมาเป็นชื่อ Madi Bkk คาเฟ่ดีไซน์เรียบง่าย สถานที่ที่อยากให้เหล่าเพื่อน ๆ ได้มาพบปะและใช้เวลาร่วมกัน ตามคอนเซ็ปต์ที่คุณจี๊ป-สาธิยา ศิริพจนากร และคุณเมย์-เมธิกานต์ ขวัญเมือง สองสาวเจ้าของร้านเพื่อนซี้ที่ตั้งใจอยากส่งต่อความเป็น Circle of Friends ให้อบอวลไปด้วยรอยยิ้ม ความสุข และความอบอุ่น ไม่แพ้บรรยากาศของคาเฟ่ที่ตกแต่งสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก เพราะเชื่อในวงจรและพลังของความเป็นเพื่อน แม้ต้องเจอเรื่องราวแย่ ๆ มา ถ้าเรามีเพื่อนที่ดีก็จะช่วยซัพพอร์ตให้ผ่านเรื่องยาก ๆ เหล่านั้นไปได้ จากนิยามความเป็นเพื่อน ผสมผสานกับความฝันของทั้งคู่ที่อยากเปิดร้านกาแฟควบคู่ไปกับ Creator Hub หลังจากมองหาทำเลอยู่นาน ในที่สุดก็มาพบกับตึกแถวเก่าใกล้ปากซอยเจริญกรุง 43 ก่อนลงมือรีโนเวตเปลี่ยนตึกแถวสภาพทรุดโทรมให้กลายเป็น Madi Bkk คาเฟ่บรรยากาศอบอุ่น โดยยังคงเก็บรายละเอียดของอาคารบางอย่างไว้ เพื่อสร้างเสน่ห์และเล่าเรื่องราวการตั้งอยู่ในย่านเก่า คุณจี๊ปเล่าว่า “หลังจากที่มาดูตึก เรารู้สึกชอบที่นี่มาก จึงให้โจทย์อินทีเรียร์ไปว่า อยากได้ร้านสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก ขอแสงธรรมชาติเยอะ ๆ จะเห็นว่าพื้นที่ด้านหลังร้านได้รื้อพื้นไม้ชั้นสองออก เพื่อทำดับเบิ้ลสเปซ มีสกายไลท์ด้านบน ส่วนหน้าต่างก็เปลี่ยนเป็นหน้าต่างกระจกกรอบวงกบไม้ สิ่งที่เก็บรักษาไว้มีแค่ผนังอิฐ กับพื้นไม้จริงชั้นสองเท่านั้น” […]

รีโนเวตทาวน์โฮม ในเชียงใหม่ให้ขาวละมุน

บ้านทาวน์โฮม สองชั้นในเมืองเชียงใหม่ถูกแปลงโฉมรีโนเวตให้กลายเป็นพื้นที่สุดพิเศษนุ่มละมุนในแบบ White and Wood DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INLY STUDIO ออกแบบโดย INLY STUDIO ผู้เคยฝากลงงานไว้ใน Cheeva Spa ซึ่งนอกจากผลงานบ้านอิงธรรรมชาติที่ผ่านหลาย ๆ หลังแล้วนั้น ผลงานตกแต่งภายในในแบบเรียบง่าย แต่อ่อนโยนของพวกเขาก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เติมจังหวะนุ่มนวลให้กับบ้านทาวน์โฮม การเลือกใช้สีขาวเป็นสีหลักนั้น มาจากความต้องการของเจ้าของบ้านที่ชอบสะสมเฟอร์นิเจอร์มีดีไซน์ ประกอบกับแนวทางการตกแต่งที่เน้นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เผื่อการปรับเปลี่ยนตามใจได้ในภายหลัง สีขาวของบ้านหลังนี้จึงเป็นเหมือนกับฉากหลังให้ชีวิตชีวาของการใช้ชีวิต ตลอดจนช่วยให้เฟอร์นิเจอร์ดูโดดเด่นขึ้น เมื่อผสมเข้ากับสีไม้โทนกลาง ๆ อย่างโอ๊ก และบีช ก็ทำให้พื้นที่ทั้งหมดดูอบอุ่นขึ้น ไม่เพียงแค่สีสันแบบ White and Wood ที่สร้างให้บ้านหลังนี้ดูละมุนตาไปทุกสัดส่วน แต่หากสังเกตดูจะเห็นได้ว่าเกือบทุกพื้นที่จะมีเส้นโค้งมารับอยู่ทุกมุมมอง เส้นโค้งเหล่านี้สร้างให้บ้านสี่เหลี่ยมดูมีมิติน่าค้นหา ลดความแข็งกระด้างของพื้นที่สี่เหลี่ยมลง แก้ปัญหาบ้านหน้าแคบอย่างบ้านทาวน์โฮมได้อย่างดี เกิดเป็นพื้นที่พิเศษที่แตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของบ้าน ปรับพื้นที่เปิดโล่งให้ลงตัวแบบพอดี หนึ่งในปัญหาของบ้านทาวน์โฮมโดยมาก คือการที่พื้นที่ทั้งหมดต่อเชื่อมเป็นพื้นที่เดียวกันแบบ Open Plan จะกั้นห้องก็ทำให้เสียพื้นที่ จะใช้แบบเดิม ๆ ก็ขาดความเป็นสัดส่วน ผู้ออกแบบจึงเลือกการแบ่งพื้นที่ผ่านซุ้มโค้งที่แตกต่างกันสองซุ้ม แบ่งเป็น 3 พื้นที่ […]

EUPHORIA BRIDAL GALLERY โชว์รูมชุดเจ้าสาวที่ซ่อนอยู่ใน ตึกแถวหน้าแคบ คล้ายกล่องดีไซน์เรียบง่าย

รีโนเวต ตึกแถวหน้าแคบ ในเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นโชว์รูมชุดเจ้าสาวสีขาวละมุนตา ที่มองเผิน ๆ แล้วคล้ายกับกล่องกระดาษสีขาวเจาะรูดีไซน์เรียบง่าย ด้านหน้าร้านโดดเด่นด้วยดิสเพลย์ชุดแต่งงานในกล่องกระจก ซ้อนอยู่ภายในอาคารกล่องคอนกรีต เป็นโปรเจ็กต์การเปลี่ยนบ้านตึกแถวเก่าขนาด 3 ชั้น ซึ่งมีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะปัญหาหน้าแคบ แสงส่องเข้ามาไม่ถึง และข้อบกพร่องทางโครงสร้าง เช่น เสาหลายต้น เดิมพื้นที่เคยเต็มไปด้วยฉากกั้น และตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันตก จนทำให้ได้รับผลกระทบจากความร้อนตลอดเวลา จากปัจจัยดังกล่าวได้กลายมาเป็นภารกิจสำคัญของทีมออกแบบจาก ngoac.space ในการปรับปรุงอาคาร เพื่อเปิดเป็นโชว์รูมชุดเจ้าสาวแห่งใหม่บรรยากาศดี ช่วยส่งเสริมชุดเจ้าสาวให้ยิ่งทวีความสวยงาม ดึงดูดลูกค้าให้อยากเข้ามาเยี่ยมชม ทีมออกแบบมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์พื้นที่ เพื่อให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์กับชุดแต่งงาน ผ่านบรรยากาศและงานดีไซน์ที่ขับเสน่ห์ของชุดแต่งงานให้โดดเด่นขึ้น แถมด้วยการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ไปพร้อมกัน ไม่ได้เน้นการขายชุดเพียงอย่างเดียว  โดยชั้นล่างจัดแสดงนิทรรศการบอกเล่าที่มาที่ไปกว่าจะได้ชุดแต่งงานสวย ๆ ก่อนพาขึ้นสู่ชั้นสองเพื่อสัมผัสกับโซนดิสเพลย์จัดแสดงชุดแต่งงานให้ได้เลือกสรร ซึ่งแขวนประดับอยู่บนราวเสมือนเป็นฉากหลังขนานไปกับแนวผนัง ขณะที่ชั้นสามเป็นส่วนออฟฟิศสำหรับพนักงาน ภายใต้โครงสร้างเก่าผู้ออกแบบเลือกปิดผิวบางส่วนที่ไม่ประณีตไว้ แล้วเผยบางส่วนเพื่อสร้างความคอนทราสต์อย่างมีชั้นเชิง เห็นจากเสาคอนกรีตที่เผยให้เห็นร่องรอยความดิบกระด้าง และผิวสัมผัสเปลือยเปล่าขรุขระ ตัดกันกับภาพชุดแต่งงานสีขาวที่แสนนุ่มนวล และด้วยลักษณะอาคารที่เป็นตึกแถว เรื่องแสงสว่างถือเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้ออกแบบจึงกำหนดแหล่งกำเนิดแสงไว้ 2 แห่งบนหลังคา เพื่อดึงแสงลงมายังพื้นที่ชั้นล่าง แล้วกระจายต่อไปยังพื้นที่ส่วนต่าง ๆ […]

ZORBA SPACE สตูดิโอในตึกแถวเก่าสไตล์โคโลเนียล

รีโนเวตตึกแถวเก่า สไตล์โคโลเนียลสองชั้นบนถนน Nguyen Cong Tru ที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ให้เป็นสตูดิโอทำงานด้านภาพยนตร์และโฆษณาของคนรุ่นใหม่ โดยที่นี่ไม่ได้มีเพียงพื้นที่ของสำนักงานธรรมดา ๆ แต่ยังมีฟังก์ชันการใช้งานที่ยืดหยุ่น เช่น มุมฉายภาพยนตร์ ร้านกาแฟ และแกลเลอรี่ โดยทีมสถาปนิก sgnhA เป็นผู้รับหน้าที่ รีโนเวตตึกแถวเก่า แห่งนี้ โดยยังคงเก็บรายละเอียดที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของสถานที่ตั้งเอาไว้อย่างดี ผสมผสานไปกับวัสดุสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น เรียกได้ว่ารื้อถอนวัสดุหรือโครงสร้างดั้งเดิมน้อยมากที่สุด โดยเลือกที่จะเผยเสน่ห์ของพื้นผิวและองค์ประกอบบางอย่างไว้ อันเป็นของขวัญแห่งกาลเวลา เช่น ร่องรอยของสีลอกล่อนบนผนัง กระเบื้องปูพื้นลายตารางขาว-ดำ ตะแกรงลวดตาข่ายทำมือบริเวณเหนือวงกบไม้ ประตู และหน้าต่างไม้ รวมถึงคอร์ตยาร์ดในอาคาร ขณะที่การรีโนเวตพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งานใหม่ สถาปนิกได้ใช้โครงสร้างเหล็กเข้ามาเป็นส่วนเติมเต็มและเป็นเสมือนการค้ำยันโครงสร้าง ร่วมด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตวัสดุสมัยใหม่ทั้งในส่วนผนังและหลังคาสกายไลท์ เพื่อเรียกแสงธรรมชาติและความปลอดโปร่งเข้ามาสู่พื้นที่ ลดปัญหาความทึบตันของตึกแถวได้อย่างดี พื้นที่เด่น ๆ ที่อยากพูดถึง นั่นคือโถงอเนกประสงค์ซึ่งมีลูกเล่นด้วยการติดตั้งรางโค้งจากโครงเหล็ก ติดแผ่นพอลิคาร์บอเนตที่เลื่อนเปิด-ปิดได้ เมื่อต้องการแบ่งสัดส่วนการใช้งานหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์สีสันจี๊ดจ๊าดแนวสตรีทที่คุ้นตาในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นม้านั่งพลาสติกสีแดงและสีน้ำเงิน เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่นำกลับมาใช้ใหม่ เคล้าด้วยกลิ่นอายวินเทจจากของตกแต่งแนวอวกาศ อีกโซนที่เป็นไฮไลต์คือบันไดวนสีเหลืองสดตรงพื้นที่คอร์ตกลาง ใช้เชื่อมต่อระหว่างชั้นล่างกับชั้นบนนำขึ้นสู่มุมทำงาน ที่มองเห็นบรรยากาศของท้องฟ้าและชมวิวเรือนยอดของต้นไม้อายุกว่าศตวรรษได้ ช่วยให้ไอเดียการสร้างสรรค์งานเป็นไปอย่างบรรเจิดและลื่นไหล ออกแบบ : sgnhA […]

SEPTEMBER SAIGON คาเฟ่เวียดนาม ดีไซน์คล้ายรังนกที่อบอุ่นและมีสีสันของฤดูใบไม้ร่วง

คาเฟ่เวียดนาม ดีไซน์น่ารัก มีคอนเซ็ปต์ และที่มาสุดน่ารัก ด้วยการจำลองบรรยากาศตัวอาคารคล้ายรังนก ห่มคลุมด้วยบรรยากาศที่แสนอบอุ่น ไว้ให้ลูกค้าเข้ามาหลบพักหลีกหนีจากความวุ่นวาย สานต่อเรื่องราวมาจาก September Cafe & Cake คาเฟ่เวียดนาม สุดคิ้วท์ที่อยู่ในทาวน์เฮ้าส์ไซซ์เล็ก โดยครั้งนี้ทีมสถาปนิกจาก Red5 Studio ขอเล่าเรื่องราวที่ต่อเนื่องมาจากสีสันแห่งฤดูใบไม้ร่วง สู่ September Saigon – The Wind Blows แห่งนี้ ซึ่งเป็นคาเฟ่ขนาดใหญ่สีเบจ เด่นด้วยเส้นสายของฟาซาดอาคาร อันมีไอเดียมาจากการนำเส้นฟางมาถักทอเป็นรวงรังของนกตัวน้อย จากอาคารด้านนอกที่อยู่ชิดริมถนนสุดพลุกพล่านของเวียดนาม ที่นี่ขอเป็นตัวกลางพาทุกคนเข้าสู่บรรยากาศสบาย ๆ ตามคอนเซ็ปต์และไอเดียที่ตีความบรรยากาศอันแสนอบอุ่นของเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงก่อนเตรียมฤดูหนาว ความโรแมนติกจึงถูกถ่ายทอดผ่านโทนสีที่อ่อนโยน เช่น สีขาว สีเบจ สีส้มกุหลาบ และสีไม้ธรรมชาติ โดยสถาปนิกเปรียบตึกแถว 2 คูหา ที่ตั้งของคาเฟ่เป็นดังรังนกขนาดใหญ่ สื่อสารเชิงสัญลักษณ์ผ่านฟาซาดที่เห็นเส้นสายพาดผ่านของโครงเหล็กพลิ้วไหว คล้ายเส้นฟางถักทอขึ้นเป็นรังนก มีลูกเล่นด้วยวงกลมที่แขวนอยู่ตรงทางเข้า โดยจะเคลื่อนไหวได้ยามเมื่อมีลมพัดผ่านมา เปรียบเหมือนภาพนกบนกิ่งไม้เมื่อเข้ามาภายในคาเฟ่ชั้นล่างจะให้ความรู้สึกเหมือนเดินเข้ามาในบ้านที่มีสวน (ในร่ม) บรรยากาศราวกับอยู่กลางแจ้ง รองรับลูกค้าที่เข้ามาสั่งกาแฟแบบใช้เวลารอเครื่องดื่มไม่นาน โดยจัดที่นั่งไว้รอบ ๆ เคาน์เตอร์บาร์ […]

TROPICAL CAVE HOUSE รีโนเวตตึกแถว อุดอู้เป็นบ้านเย็น ด้วยไอเดียเหมือนอยู่ในถ้ำ

บ้านที่น่าสนใจหลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองแบกนินห์ (Bac Ninh) ประเทศเวียดนาม เกิดจากการ รีโนเวตตึกแถว ให้เป็นบ้านของครอบครัวขนาดใหญ่ เหมาะกับการอยู่อาศัยในสภาพอากาศร้อนชื้น ที่นี่มีความน่าสนใจไม่เพียงแค่การ รีโนเวตตึกแถว ให้กลับมาน่าอยู่เหมือนใหม่ แต่ยังเต็มไปด้วยบรรยากาศที่เย็นสบายและมีความสว่างไสว โดยมีไอเดียมาจากถ้ำ สมกับที่มีชื่อเรียกว่า Tropical Cave House บ้านพักสำหรับครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีถึง 4 รุ่น เป็นผลงานการออกแบบโดยทีมสถาปนิกชาวเวียดนาม H&P Architects ที่เข้าใจสภาพพื้นที่และความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้อย่างดี แต่ด้วยลักษณะของอาคารที่ทางเข้าค่อนข้างอยู่ติดกับถนน สถาปนิกจึงออกแบบบานเฟี้ยมประตูเหล็กที่มีแพตเทิร์นบนหน้าบานเล็ก ๆ สำหรับกั้นพื้นที่เพื่อความเป็นส่วนตัวของคนในบ้าน ขณะเดียวกันก็ไม่ปิดทึบเสียทีเดียว โดยยอมให้ลมและแสงลอดผ่านได้ ก่อนจะเปิดเข้าสู่พื้นที่ลานอเนกประสงค์หน้าบ้าน ที่เชื่อมกับส่วนรับประทานอาหารชั้นล่าง ขณะที่ด้านข้างก็มีบันไดสำหรับแขก เพื่อขึ้นสู่ชั้น 2 ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับรับแขกและนั่งเล่น ไฮไลท์ของบ้านคือ “ฟาซาด” ที่เลือกเปลี่ยนผนังทึบของบ้านตึกแถวให้กลายเป็นช่องเปิดขนาดใหญ่ (เปรียบเหมือนปากถ้ำ) มีบานเปิดเรียงต่อกันถึง 10 บาน ทำหน้าที่นำพาแสงและอากาศเข้าสู่ตัวบ้าน โดยแต่ละบานออกแบบให้มีความสูง 6.6 เมตร แบ่งเป็น 2ช่วงคือ ตอลดความสูงของชั้น 2-3 และชั้น 4-5 ควบคุมระบบเปิด-ปิดด้วยพวงมาลัยเพาเวอร์ระบบไฟฟ้าที่ค่อยปรับระดับองศาของบานเปิดได้เมื่อต้องการอากาศที่ปลอดโปร่ง […]

BIRMINGHAM COFFEE AND MINI APARTMENT อพาร์ตเมนต์ที่ซ่อนคาเฟ่ไซซ์มินิไว้ใต้อาคารหน้าแคบ

รีโนเวตตึกแถว หน้าแคบ ที่มีขนาดจำกัดเพียง39 ตารางเมตร และมีรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ให้ออกมามีฟังก์ชัน 2 รูปแบบ คือเป็นทั้งคาเฟ่ และอพาร์ตเมนต์ให้เช่าจำนวน 2 ห้อง อีกตัวอย่างการออกแบบพื้นที่พักอาศัยแบบมัลติฟังก์ชันที่สร้างรายได้ให้แก่เจ้าของอาคารในคราวเดียว ผลงานการรีโนเวตตึกแถว แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองญาจาง ประเทศเวียดนาม เป็นผลงานการออกแบบโดยทีมสถาปนิกจาก Chơn.a  มีความท้าทายอยู่ที่การออกแบบฟังก์ชันการใช้งานภายในอาคารที่แคบแสนแคบออกมาอย่างไรให้น่าอยู่ เหมาะสมกับการใช้งานทั้งการเปิดเป็นคาเฟ่ และอพาร์เมนต์ให้เช่า ตัวอาคารด้านหน้าโดดเด่นสะดุดตาด้วยฟาซาดที่ดูคล้ายเส้นริบบิ้นที่โรยตัวลงมาปกคลุมอาคารไว้สร้างเส้นสายดูพลิ้วไหว ฟาซาดที่เห็นทำจากเหล็กตาข่ายทำสีแดง สำหรับทำหน้าที่ช่วยกรองแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้ตกกระทบเข้าสู่พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารโดยตรง อีกทั้งยังเปิดรับแสงสว่างและให้ความโปร่งไปพร้อมกัน สามารถมองเห็นวิวต้นไม้และความเป็นไปภายนอกอาคารได้ โดยไม่ถูกปิดกั้นมุมมองและปิดทึบจนเกินไป ขณะเดียวกันแสงที่ส่องผ่านฟาซาดตาข่ายเหล็กเข้ามานี้ ยังช่วยสร้างแสงเงาตกกระทบลงบนพื้นผิววัสดุให้ดูมีมิตินุ่มนวลมากขึ้น สิ่งที่ชวนสังเกตอีกอย่าง การออกแบบให้มีช่องสกายไลท์วงกลมด้านบนบันไดวนที่นำสู่พื้นที่ชั้นบน เพื่อทำหน้าที่เชื่อมต่อธรรมชาติไว้ตรงกลาง พื้นที่แกนกลางนี้จึงรับหน้าที่ช่วยกระจายแสงให้ทั่วถึง ช่องบันไดด้านล่างและระหว่างชานพักออกแบบให้มีมุมปลูกต้นไม้ในร่มเล็ก ๆ สีเขียวสดของใบไม้ดูตัดกันดีกับขั้นบัน และผนังหินขัดสีแดง วัสดุที่ใช้สถาปนิกให้ความสำคัญกับวัสดุที่ทำด้วยมือและธรรมชาติแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นหินขัด หรือหินปูนธรรมชาติ เพื่อสร้างพื้นผิวที่สวยงามยามถูกแสงแดดตกกระทบอย่างผนังแต่ละด้านของราวบันได สัมผัสได้ถึงบรรยากาศและการเปลี่ยนผ่านของแสงอาทิตย์ที่ผาดผ่านในแต่ละช่วงเวลา ขณะที่ในยามค่ำคืนได้ติดตั้งไฟที่ช่วยสร้างแสงเงา ขับเน้นให้เกิดเสน่ห์ด้านมุมมอง เป็นตัวอย่างการออกแบบอาคารที่สร้างมูลค่าได้ทั้งสองธุรกิจ อีกแง่คือเป็นตัวอย่างของการจัดสรรพื้นที่ใช้งานให้อาคารขนาดเล็กไม่ใช่อุปสรรคของการอยู่อาศัย เป็นคำตอบว่า สถานที่แคบก็ใช่จะหาความสงบงามจากธรรมชาติไม่ได้ ออกแบบ – ภาพ : Chơn.a […]

THE SHOPHOUSE 1527 เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของการอยู่อาศัยผ่านร่องรอยในความดิบ

ร่องรอยเก่าที่สุดที่พอจะระบุความเป็นมาของ อาร์ตสเปซ ในห้องแถวหมายเลข 1527 ภายใน “ชุมชนสามย่าน” ย่านชุมชนการค้าเก่าแก่กลางกรุงเทพฯ ได้ คือรอยโบกปูนรอยหนึ่งซึ่งอุดปิดทับช่องโหว่ขนาดใหญ่ที่กว้างมากพอจนสามารถมองทะลุเห็นผู้ใหญ่ได้แบบครึ่งตัวบนผนังชั้นล่าง เหนือรอยโบกปูนนั้นมีตัวเลขสลักไว้ตามลำดับคือ “31, 1, 2513” ซึ่งไม่ใช่เลขบอกใบ้ให้โชค หรือเลขเดาสุ่มไร้ที่มาประสาคนมือบอน แต่มันคือตัวเลขบอกวัน – เดือน – ปี ที่เจ้าของบ้านสร้างช่องโหว่บนผนังนี้ขึ้นอย่างไม่ตั้งใจเมื่อราว 50 ปีก่อน แล้วทำการซ่อมแซมอุดช่องโหว่นั้นเสีย จนกระทั่งปัจจุบันมันได้กลายเป็นหนึ่งในจุดไฮไลต์ให้แก่ “The Shophouse 1527” พื้นที่ทดลองชั่วคราวสำหรับการทำกิจกรรมสร้างสรรค์หรือ อาร์ตสเปซ แห่งใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวขึ้นได้ไม่นาน   “ตอนที่เข้ามารีโนเวตเราพบร่องรอยความเก่าแก่ในแต่ละจุดของห้องแถวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ” คุณนัฐพงษ์ พัฒนโกศัย หนึ่งในผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ Cloud-Floor ผู้เป็นทั้งเจ้าของโครงการและผู้ออกแบบพัฒนาห้องแถวนี้ ร่วมกับอีกสำนักงานออกแบบ IF (Integrated Field) เล่าให้ฟังถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงอาคาร “พอเริ่มตั้งใจสังเกต เราจะพบเห็นร่องรอยต่าง ๆ ปรากฏอยู่บนผนังมากมาย ซึ่งทั้งหมดเป็นร่องรอยของการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นรอยเขม่า รอยสี และคราบเปื้อน รวมถึงรอยที่เกิดจากการวางเฟอร์นิเจอร์ หรือแขวนข้าวของ เรารู้สึกว่ารอยเหล่านี้ไม่ต่างอะไรจากประวัติศาสตร์ของการอยู่อาศัย […]