room Archives - Page 23 of 139 - room

FO SHO BRO คาเฟ่ฟีลพักร้อน เหมือนอยู่ในแคลิฟอร์เนียตอนใต้

FO SHO BRO คาเฟ่คาแร็กเตอร์ชัดย่านบางนา จัดบรรยากาศเหมือนบ้านพักในแคลิฟอร์เนีย บ้านในฝันของคุณเปี้ยก-พิพัฒนพล พุ่มโพธิ์ ที่อยากเปิดให้ทุกคนได้แวะเข้ามาพักผ่อน ปล่อยใจไปกับบรรยากาศและเครื่องดื่มคลายร้อนแสนสดชื่น ที่นี่คือคาเฟ่ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านในฝันของเจ้าของ เปิดบ้านชักชวนให้ทุกคนเข้ามาพักผ่อน กับ FO SHO BRO คาเฟ่บรรยากาศสุดชิลน้องใหม่ย่านบางนา โดดเด่นกับการออกแบบตกแต่งที่ให้ความรู้สึกเหมือนหลุดเข้ามาสู่ดินแดนแคลิฟอร์เนียตอนใต้ ดื่มด่ำไปกับสายลมแสงแดด และสวนไม้ทะเลทราย ปล่อยใจไปกับบรรยากาศและเครื่องดื่มคลายร้อนแสนสดชื่น เจ้าของและผู้ออกแบบก็ไม่ใช่ใคร สำหรับคนในแวดวงเบียร์คราฟต์เมืองไทย ต้องบอกว่าย่อมรู้จักเขาดีนั่นคือคุณเปี้ยก – พิพัฒนพล พุ่มโพธิ์ แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาธุรกิจคราฟต์เบียร์ต้องเจอมรสุมหลายอย่าง บวกกับสถานการณ์โควิด ร้าน Let the Boy Die ภายใต้การดูแลขอเขาจึงต้องขอหยุดไว้ก่อน ก่อนหันมาให้ความสนใจกับการเปิดคาเฟ่ดูบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมต้องมีความพิเศษที่ไม่ธรรมดา ด้วยการขอสวมบทเป็นทั้งสถาปนิก อินทีเรียร์ดีไซเนอร์ เจ้าของร้าน และบางวันก็ขอสลับโหมดไปเป็นลูกค้า โดยยังคงให้ความสำคัญกับเครื่องดื่ม ที่ขอใส่ความครีเอตลงไปในกาแฟแบบไม่มีใครเหมือน เรียกว่าพิถีพิถันไม่ต่างจากตอนทำเบียร์คราฟต์เลย “ที่นี่เราพยายามสร้างสเปซที่ค่อนข้างใหญ่ มีพื้นที่เผื่อให้คนมานั่งทำงาน มานั่งคุยพบปะเพื่อน และในอนาคตยังอาจเปิดเป็นบาร์ในเวลากลางคืน จึงได้เผื่อสเปซในการใช้งานอนาคตไว้ด้วย ตอนออกแบบเราพยายามหารูปแบบที่ดูแล้วไม่เยอะมากไป ผมอยากเน้นรูปแบบที่จัดวางได้ เปลี่ยนใหม่ได้ แล้วมาดูว่าสไตล์ไหน สีแบบไหนที่ตอบโจทย์กับบรรยากาศแบบนี้ เลยมาจบที่บรรยากาศแบบเน้นความโปร่ง และเป็นการวางสเปซแบบแนวนอน […]

ชวนเปลี่ยน “เศษ” ให้อัพเกรดคุณค่าด้วยดีไซน์

รู้หรือไม่ว่า ในกระบวนการทอผ้าแบบอุตสาหกรรม จะเกิดขยะหรือเศษเหลือทิ้ง 10% ของการผลิตทั้งหมด ลองคิดเป็นมูลค่าง่ายๆ เช่น ผ้าล็อตนี้ผลิตได้ 1,000 หลา แต่สุดท้ายจะเหลือขายได้แค่เพียง 900 หลาเท่านั้น ซึ่งสิบเปอร์เซ็นต์ที่หายไปนั้น เกิดจากกลไกของเครื่องจักรที่ต้องทอผ้าด้วยระยะเวลาอันรวดเร็ว ด้วยระบบของการทอคือการส่งเส้นด้ายไปทางเดียวแล้วยึดเกี่ยวเส้นด้ายไว้กับอีกฝั่ง ไม่เหมือนกับการทอด้วยกี่ทอผ้าแบบดั้งเดิมที่กระสวยส่งไป-กลับทำให้ริมผ้าเรียบทั้งสองด้าน ส่งผลให้มีฝั่งหนึ่งของผืนผ้าที่จะมีปลายด้ายรุ่ยๆ ออกมา หรือที่เรียกว่า “หางด้าย” ซึ่งในทุกวันนี้หางด้ายไม่สามารถนำไปรีไซเคิลหรือถูกนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่น จึงกลายเป็นขยะที่เกิดขึ้นทุกวันไปโดยปริยาย และถูกทิ้งอย่างไร้ค่า รวมไปถึงม้วนผ้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานก็ยังคงรอวันที่จะถูกต่อลมหายใจ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำไปประยุกต์ใช้กับวงการเกษตรกรรม เช่น นำไปปูทับในส่วนที่ไม่ต้องการให้หญ้าหรือวัชพืชขึ้นเนื่องจากตัวผ้ามีคุณสมบัติในการกรองแสง หรือ นำไปปลูกเห็ดเพราะผ้าโพลีเอสเตอร์เป็นผ้าที่ไม่เก็บความชื้น ทำให้ไม่ไปแย่งความชื้นที่จำเป็นในการเพาะเห็ด ในครั้งนี้เองที่ Homework Fabrics ในเครือบริษัท โกลด์เฮาส์เดคคอร์ จำกัด บริษัทอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ให้ความสำคัญกับการกำจัดขยะในโรงงานและต้องการต่อชีวิตให้กับสิ่งไร้ค่าเหล่านี้กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง จึงอยากเชิญชวนนักศึกษาและบุคคลทั่วไปผู้สนใจ เสนอไอเดียผ่านโครงการประกวดออกแบบ Lifestyle Product จากวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมสิ่งทอในกิจกรรม  “Show them! WASTE is WORTH !! : ท้าให้เปลี่ยน จากเศษเป็นสไตล์” ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้า ของใช้ ของตกแต่ง เครื่องแต่งกาย และ […]

Homework ผู้ผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ไม่ทอดทิ้งปัญหาสิ่งแวดล้อมไว้เบื้องหลัง

เชื่อว่าในทุกๆ อุตสาหกรรม กระบวนการผลิตย่อมก่อให้เกิดมลพิษหรือสิ่งปฏิกูลไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งมักตามมาด้วยผลกระทบและปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ทว่าความน่าสนใจคือแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมจะมีวิธีการอย่างไรในการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นต่างหาก เนื่องจากกระบวนการกำจัดหรือบำบัดของเสียเหล่านี้เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ ความเข้าใจ และงบประมาณในการจัดการ ทำให้หลายๆ โรงงานอุตสาหกรรมเลือกที่จะมองข้ามหรือละเลยไป แต่สำหรับ Homework Fabrics  ผู้นำด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอขนาดใหญ่ ซึ่งมีโรงงานอันได้มาตรฐานในการผลิต ที่ให้ความสำคัญและใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงมีกระบวนการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นอย่างจริงจังในทุกขั้นตอน เพื่อตอกย้ำแบรนด์ผู้ผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน หนึ่งในประเด็นที่ผู้บริโภคในหลายประเทศกำลังหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อบ่งชี้ในการตัดสินใจว่าจะสั่งซื้อผลิตภัณฑ์หรือไม่ สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอนี้ สามารถแยกประเภทของขยะที่เกิดขึ้นได้ออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ ขยะแห้งและขยะเปียก โดยขยะเปียกที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือน้ำเสีย อันเกิดจากกระบวนการต่างๆ ในการทอผ้า ดังนี้ กระบวนการเตรียมเส้นด้าย เนื่องจากเส้นด้ายที่ใช้ทอมีหลากหลายขนาดตามแต่ความละเอียดของเนื้อผ้าที่ต้องการ ทำให้เส้นด้ายที่มีขนาดเล็กต้องถูกนำมาผ่านการเคลือบด้วยกาวผสมน้ำแบบชั่วคราวก่อน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นด้าย ส่งผลให้เวลานำไปเข้าเครื่องทอในความเร็วสูงเส้นด้ายจะไม่ขาด กระบวนการล้างกาว หลังจากเคลือบกาวแบบชั่วคราวแล้ว ก่อนเข้าสู่กระบวนการย้อมสี จะต้องทำการล้างกาวหรือแป้งออกให้หมด มิเช่นนั้นสีย้อมจะไม่สามารถเข้าไปจับกับเส้นด้ายได้ ทำให้เกิดการด่างเนื่องจากบางส่วนกินสีได้ บางส่วนที่กาวยังอยู่จะกินสีไม่ติด   กระบวนการทอผ้าแบบระบบน้ำ เป็นเครื่องทอที่ใช้น้ำเป็นพาหะในการผูกเส้นด้าย ลองนึกภาพกี่ทอผ้าแบบดั้งเดิมที่ต้องใส่หลอดด้ายเข้าไปในกระสวยแล้วทำการสอดกระสวยกลับไป-มา ซึ่งในระบบอุตสาหกรรมที่ต้องผลิตในปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต น้ำจึงทำหน้าที่ประหนึ่งกระสวยที่นำพาเส้นด้ายทอในความเร็วพันรอบต่อนาที ซึ่งน้ำตรงนี้เองที่ไม่เพียงแต่เป็นตัวนำส่งเส้นด้าย แต่ยังชะล้างกาวบนเส้นด้ายที่หลงเหลือให้ปะปนลงมากับน้ำด้วย จากทั้งสามกระบวนการทำให้ได้มาซึ่งน้ำเสีย ที่ปะปนไปด้วยไขมัน แว็กซ์ และสิ่งสกปรกต่างๆ  จากทั้งกาว […]

PAYAA HOTEL โรงแรมพัทยา กับคอนเซ็ปต์ “ทัพพระยา” หรูหราในคืนพักแรม

Payaa hotel โรงแรมเล็ก ๆ แต่เล่นใหญ่ ในเรื่องคอนเซ็ปต์และงานดีไซน์ ด้วยการนำเกร็ดประวัติศาสตร์เมืองพัทยา สิ่งที่หลายคนไม่เคยรู้ และค่อนข้างเป็นนามธรรมมาคลี่คลาย แล้วสื่อสารผ่านงานออกแบบตกแต่งอย่างสวยงาม พร้อมจัดเสิร์ฟประสบการณ์การพักผ่อนในรูปแบบและบรรยากาศไม่เหมือนใคร เพื่อให้ทุกคนที่มาที่ Payaa hotel ได้รับความประทับใจกลับไปแบบเต็มเปี่ยม ที่นี่ได้แรงบันดาลใจมาจากประวัติศาสตร์ของเมืองพัทยา ซึ่งมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า สมัยกรุงศรีอยุธยาแตก พระยาตาก(สิน)ได้ถอยทัพมาทางตะวันออก ระหว่างทางไปเมืองจันทบุรีได้มีการพักทัพ ณ สถานที่เมืองชายทะเลเล็ก ๆ ที่ไม่มีใครรู้จัก เพื่อค้างแรมและพักทัพ รวบรวมไพร่พล จนในที่สุดก็สามารถกู้เอกราชกลับคืนมาได้ โดยบริเวณที่กองทัพได้พักค้างแรมนี้ ชาวบ้านพากันเรียกขานว่า “ทัพพระยา” แล้วต่อมาเพี้ยนเสียงเป็น “พัทยา” จากที่มาดังกล่าว นั่นจึงเป็นไอเดียให้เจ้าของและสถาปนิกนำมาใช้เป็นคอนเซ็ปต์หลัก ทุกพื้นที่แทรกรายละเอียดที่บอกเล่าถึงการเดินทาง และการพักแรม มีกลิ่นอายสื่อถึงความเป็นเอเชียนที่เข้าใจง่าย จากพื้นที่ด้านหน้าที่เรียบง่าย เมื่อเข้ามาด้านในกลับพบบรรยากาศชวนตื่นเต้น ต้อนรับด้วยพื้นที่ล็อบบี้โรงแรมซึ่งเป็นเสมือนที่รวมพล โดดเด่นด้วยภาพกราฟิกหลังเคาน์เตอร์ต้อนรับ ถือเป็น Key Visual สำคัญที่ช่วยสื่อเรื่องราวการพักทัพ-พักแรมตามคอนเซ็ปต์ โดยภาพวาดนี้มีทั้งภาพคน ช้าง เต็นท์ที่พัก และภาพวิวทิวทัศน์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงภูมิประเทศในแผนที่ นับเป็นสิ่งสำคัญมากของการศึกในสมัยก่อน ใช้เทคนิคเดียวกันกับที่ใช้วาดธนบัตร ผสมเทคนิคภาพพิมพ์หินกับสีฝุ่น และศิลปะแบบคอนราจ โดยเอกลักษณ์ของรูปภาพมีทั้งความเป็นตะวันตกและตะวันออก […]

GATHER GROUND CAFE คาเฟ่พัทยา ชูรสชาติกาแฟไทย ในบรรยากาศคลาสสิก

Gather Ground Cafe คาเฟ่พัทยา คาเฟ่เล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ภายในชั้นล่างของโรงแรม Payaa hotel เปิดต้อนรับลูกค้าทั้งภายในโรงแรมและภายนอกให้ได้มาสัมผัสชาติกาแฟไทย ท่ามกลางบรรยากาศหรูหราเหมือนคาเฟ่ต่างประเทศ อีกหนึ่ง คาเฟ่พัทยา Gather Ground Cafe บอกเลยว่า บรรยากาศไม่ธรรมดา และคอกาแฟทั้งหลายห้ามพลาด! ต้องมาลองสักครั้งให้ได้ เพราะที่นี่พร้อมเสิร์ฟเมนูกาแฟไทยคุณภาพที่นำมาเบลน คั่ว และบดที่นี่เองเพื่อให้ได้รสชาติมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร พร้อมกับบรรยากาศดีแบบมีรสนิยม การตกแต่งให้ความรู้สึกหรูหราและเข้มขรึม ด้วยดีเทลของงานทองเหลือง ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ต่อเนื่องมาจากห้องอาหารชาญ ผสมผสานกับงานไม้สีเข้มและงานหวาย เน้นกาแฟไทยคุณภาพดีเป็นหลัก ซึ่งคัดสรรมาจากไร่ทางภาคเหนือ ทั้งจากปางขอน จังหวัดน่าน ดอยช้าง ดอยแม่เจดีย์ จังหวัดเชียงราย แล้วนำมาคั่วโดยใช้เครื่อง The San Franciscan Roaster เครื่องคั่วกาแฟแฮนด์เมดจากอเมริกา ใช้ระบบแบบแมนนวลที่ต้องอาศัยความสามารถของผู้คั่วเป็นพิเศษ โดยลูกค้าสามารถมองเห็นเครื่องคั่วรูปทรงคลาสสิกนี้ ได้จากห้องกรุกระจกที่อยู่ใกล้ ๆ หากวันไหนมาแล้วโชคดีก็จะได้เห็นการคั่วกาแฟแบบสด ๆ ให้ชมด้วย มีเมนูเด่นอยากนำเสนอคือ Modern Espresso ซึ่งทางคาเฟ่ใช้วิธีการชงที่แตกต่าง เพื่อให้ได้รสชาตินุ่มนวล ดื่มง่าย ด้วยการบดกาแฟให้หยาบกว่าปกติเล็กน้อย […]

ADIUVAT COFFEE ROASTER QUINHON ยกบรรยากาศบ้านเวียดนามดั้งเดิม มาไว้ใน คาเฟ่ตึกแถว

คาเฟ่ตึกแถว อบอุ่นเหมือนนั่งจิบกาแฟสบาย ๆ ในบ้านไม้ ชวนให้นึกย้อนรำลึกถึงวันวานที่มีทั้งความเรียบง่ายและเงียบสงบ คาเฟ่ตึกแถว แห่งนี้ ตั้งอยู่ในตึกแถวริมถนนสายเก่าแก่ของเมืองกวีเญิน (Quy Nhơn) ประเทศเวียดนาม มาพร้อมแนวคิดที่เอาชนะปัญหาพื้นที่แคบและปิดทึบให้มีความรู้สึกปลอดโปร่งผ่านช่องแสงที่ปรับใหม่ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุซึ่งนิยมใช้ในการสร้างบ้านเวียดนามแบบดั้งเดิมมาผสมผสาน ด้านหน้าสะดุดตาด้วยป้ายชื่อร้านทำจากแผ่นเหล็กฉลุลายตัวอักษรขนาดใหญ่ ผนังและประตูเปลี่ยนมากรุกระจกใสขนาดใหญ่สูงจรดเพดาน เพื่อให้แสงส่องเข้ามาด้านในได้เต็มที่ ภายในจัดเรียงลำดับการใช้งานตามฟังก์ชั่นที่ต่อเนื่อง มีเคาน์เตอร์บาร์ขนาดใหญ่ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญโดยก่อขึ้นจากซีเมนต์ และพื้นเป็นกรวดล้างดูแลรักษาง่าย ผนังร้านกรุแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ลวดลายขรุขระสีเทา ตัดกับผนังไม้เก่าในโซนที่นั่งด้านใน เป็นการใช้วัสดุเพื่อแบ่งโซนให้แตกต่างได้อย่างเป็นสัดส่วน ห้องในสุดใช้เป็นห้องคั่วเมล็ดกาแฟที่กั้นด้วยกระจก ทำให้มองเห็นขั้นตอนการคั่วเมล็ดกาแฟสดๆ ได้ชัดเจน รับกับผนังที่ทำผิวขรุขระเหมือนผนังถ้ำ ตกแต่งต้นไม้และออกแบบแสงสว่าง ช่วยขับเน้นบรรยากาศให้สวยสะดุดตา เป็นอีกมุมไฮไลต์ของคาเฟ่นี้ก็ว่าได้ ขึ้นชั้นบนด้วยบันไดไม้ จำลองบรรยากาศเหมือนบ้านไม้สองชั้น พื้นปูด้วยไม้ หรือแม้แต่ฝ้าเพดานก็ยังออกแบบให้เหมือนบ้านไม้มุงหลังคาสังกะสี เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นหลัก มีการเจาะพื้นเดิมออกเพื่อทำดับเบิ้ลสเปซ ให้แสงที่ผ่านเข้ามาจากผนังกระจกหน้าร้านชั้นสองนี้ สามารถส่องเข้ามายังพื้นที่ด้านในร้านได้ทั่วถึง ลดปัญหาอับทึบของตึกแถวได้อย่างดี ที่นี่จึงเป็นโปรเจ็กต์ที่รวบรวมเทคนิคการก่อสร้างบ้านดั้งเดิมในท้องถิ่นมาหลอมรวมไว้ ให้กลับมาสู่การออกแบบยุคปัจจุบัน เพื่อพาทุกคนคืนสู่ความเรียบง่าย แต่สวยงามถูกใจคนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันเริ่มหาชมบรรยากาศบ้านไม้ท้องถิ่นแบบนี้ได้ยากแล้ว ออกแบบ-ตกแต่ง : A+H architectออกแบบเเสงสว่าง : Ori Lightingก่อสร้าง : Ori Contructionภาพ : Quang […]

KATINAT-BINH PHU เปลี่ยนโรงเรียนอนุบาลเป็นคาเฟ่อบอุ่นสีโกโก้

รีโนเวตตึกเก่า ซึ่งเคยเป็นโรงเรียนอนุบาลอยู่บริเวณหัวมุมสี่แยกของถนนสายเก่าแก่ Rue Catinat กลางนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นคาเฟ่คอนเซ็ปต์เหนือกาลเวลา มีเส้นโค้งและสีโกโก้เพิ่มความอบอุ่นให้ทุกอณู ก่อนจะได้รับการปลุกชีพผ่านการ รีโนเวตตึกเก่า ให้เป็นคาเฟ่อีกสาขาหนึ่งของแบรนด์กาแฟ Katinat ซึ่งมีสาขากว่า 50 แห่ง ทั่วประเทศเวียดนาม เจ้าของและทีมสถาปนิกมีความตั้งใจอยากจะอนุรักษ์อาคารดั้งเดิม พร้อมกับมอบประสบการณ์การดื่มกาแฟ ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่นดูทันสมัย หลอมรวมความงามของยุคใหม่กับยุคเก่าให้เป็นหนึ่งเดียว สำหรับ DNA ของคาเฟ่เกือบทุกสาขาของ Katinat นั้น เรียกว่าทุก ๆ แห่ง ล้วนตั้งใจสื่อสารความเป็นจิตวิญญาณ หรือบริบทแวดล้อมที่มีความโดดเด่นของแต่ละท้องถิ่น เพื่อชูเรื่องราวและเอกลักษณ์ซึ่งหาซ้ำไม่ได้จากที่ไหน เช่นเดียวกับที่นี่ที่สร้างความเซอร์ไพรส์ให้แก่ผู้คนในย่าน กับการเปลี่ยนโรงเรียนอนุบาลที่มีสระว่ายน้ำอยู่ข้างใน โดยผู้ออกแบบยังคงรูปลักษณ์ของตัวอาคารเดิมที่ยังมีโครงสร้างที่แข็งแรงไว้เพื่อเชื่อมโยงกับอดีต ภายใต้การมอบประสบการณ์ใหม่ เลือกดีไซน์เคาน์เตอร์โค้ง บันไดโค้ง และหุ้มผิวด้วยสังกะสี เพื่อสะท้อนภาพความแข็งแรงของโครงสร้าง พื้นเป็นหินขัด เสาคอนกรีตเผยให้เห็นร่องรอยของพื้นผิวแบบหยาบ นำแสงเข้าสู่พื้นที่ภายในอาคารด้วยผนังบล็อกแก้วที่สูงขึ้นไปถึงชั้นสอง ตรงกลางมีมุมไฮไลต์คือ บันไดคอนกรีตทรงกลมโค้งมน มีชั้นลอยแบบโค้งมองลงมาเห็นวิวความคึกคักของบรรยากาศชั้นล่าง เคาน์เตอร์บาร์มีรูปทรงแบบฟรีฟอร์มหุ้มหน้าเคาน์เตอร์ด้วยแผ่นสเตนเลส ล้อมกรอบถ้วยแถบอะลูมิเนียมสีบรอนซ์ เช่นเดียวกับแถบตกแต่งผนัง สเตชั่นที่นั่งทำจากคอนกรีตทรงโค้งออร์แกนิกช่วยลดความแข็งกระด้างของโครงสร้างอาคารทั้งหมด โต๊ะเป็นทรงกลมทำจากหินขัด เบาะที่นั่งและพนักพิงบุหนังเทียมสีน้ำตาลโกโก้ เพื่อสื่อถึงสีของกาแฟลาเต้และมอคค่าที่ดูอบอุ่น ตัดกับสีเทาของวัสดุสมัยใหม่อย่างเหล่าคอนกรีต กระจก และบล็อกแก้ว […]

WH cafe วังหิ่งห้อย

WH CAFE รุ่งอรุณแห่งวังหิ่งห้อย ในบรรยากาศของร้านอาหารกลางสวนทรอปิคัล

WH cafe วังหิ่งห้อย ในพาร์ทบรรยากาศยามเช้า ต้อนรับวันใหม่ด้วยอาหารแบบ All Day Breakfast ทั้งอิ่มท้องและสดชื่นกลางสวนสไตล์ทรอปิคัล หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ วังหิ่งห้อย (Wanghinghoi) บาร์และร้านอาหารสไตล์ไฟน์ไดนิ่งที่สร้างสรรค์ประสบการณ์การรับประทานอาหารที่ครบถ้วนทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และแสง ผ่านแนวคิดธาตุทั้ง 4 ท่ามกลางบรรยากาศสลัวรางดูลึกลับในยามค่ำคืน โดยครั้งนี้วังหิ่งห้อยขอเพิ่มทางเลือกใหม่เพื่อจัดเสิร์ฟอาหารสไตล์ All Day Breakfast เปิดบริการในช่วงเวลากลางวัน ท่ามกลางบรรยากาศป่าเขตร้อน โดยใช้ชื่อว่า WH Cafe ย่อมาจาก Wang Hinghoi นั่นเอง WH cafe วังหิ่งห้ จากความพลุกพล่านของย่านอาร์ซีเอ พระราม 9 ที่นี่จะพาทุกคนหลบเข้ามาสู่บรรยากาศของสวนป่ากลางเมือง เริ่มต้นตั้งแต่สองข้างทางเดินด้านนอกที่ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยสวนสีเขียว ก่อนบังคับให้เดินผ่านกำแพงดินสูงตระหง่านราว 5 เมตร ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของโครงการ เดินตามป้ายบอกทางไปเรื่อย ๆ แล้วจะพบกับประตูเหล็กสีขาวขนาดใหญ่เพื่อผลักเข้าสู่พื้นที่ของ WH Cafe ซึ่งเคยเป็นอีกส่วนหนึ่งของวังหิ่งห้อย โดยได้รับการออกแบบต่อเติมใหม่ให้กลายเป็นคาเฟ่บรรยากาศสว่างปลอดโปร่ง สเปซกับบรรยากาศได้รับการออกแบบให้เป็นเหมือนสวนหลังบ้าน ภายใต้แนวคิด Into […]

HACHI HOMESTAY & SPA โฮมสเตย์บ้านไม้ใต้ถุนสูงในสวนส้มโอเมืองเว้

โฮมสเตย์ บ้านไม้ใต้ถุนสูง ในสวนส้มโอเก่า เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวที่อยากเดินทางมาพักผ่อน และซึมซับวิถีชนบทที่ล้อมรอบด้วยธรรมชาติของเมืองเว้ เมืองท่องเที่ยวสำคัญของเวียดนาม HACHI HOMESTAY & SPA โฮมสเตย์ บ้านไม้ใต้ถุนสูง Hachi homestay & spa โฮมสเตย์ บ้านไม้ใต้ถุนสูง แห่งนี้ สร้างขึ้นเพราะเจ้าของอยากจะเชื่อมโยงคนจากภายนอกเข้าสู่ความเป็นท้องถิ่น โดยใช้พื้นที่ของสวนส้มโอเก่าที่ยังคงมีต้นส้มโอขนาดใหญ่ให้เห็น เป็นที่ตั้งของอาคารที่พักรูปตัวยู (U) ซึ่งมีสระว่ายน้ำอยู่ตรงกลาง เปิดมุมมองให้เห็นสวนรอบ ๆ ผ่านพื้นที่พักผ่อนใต้ถุนสูง สะท้อนภูมิปัญญาการสร้างบ้านของชาวอุษาคเนย์ แผนผังรูปตัวยู (U) ช่วยให้กิจกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นรอบพื้นที่สระว่ายน้ำตรงกลางของบ้านพัก พื้นที่ใต้ถุนชั้นล่างเป็นเสมือนพื้นที่ส่วนกลางจัดให้แขกสามารถพักผ่อนและสัมผัสได้ถึงสภาพแวดล้อมและความร่มรื่นของสวนส้มโอ ขณะที่ห้องพักแต่ละไทป์จะอยู่บนชั้นสองของบ้านทั้งหมด ซึ่งมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเปลือยโชว์พื้นผิวและใช้ไม้ในส่วนอื่น ๆ อาทิ ประตู หน้าต่าง ราวระเบียงกันตก บันได และเฟอร์นิเจอร์ แต่ละห้องได้รับการออกแบบให้แยกออกจากกันเพื่อความเป็นส่วนตัว อีกทั้งยังทำให้เกิดช่องว่างที่ช่วยเชื่อมโยงวิวสวนและเกิดการระบายอากาศได้รอบอาคาร มีการตกแต่งห้องพักตามธีม ผ่านการเลือกใช้วัสดุที่ช่วยสร้างบรรยากาศแบบไม่ซ้ำ โดยเน้นโชว์พื้นผิวที่เป็นธรรมชาติให้เห็น อาทิ คอนกรีตเปลือย อิฐ หิน และไม้ หลังคาลาดเอียงขนาด 500 ตารางเมตร ได้รับการออกแบบให้ครอบคลุมตัวอาคารรูปตัวยู […]

IN MY ELEMENT CAFE รวมองค์ประกอบความสุขในคาเฟ่ปูนดิบเท่

In My Element Cafe คาเฟ่คอนกรีตเปลือยรูปทรงเรขาคณิตสไตล์ Brutalist ดิบเท่ไร้การปรุงแต่ง กลางย่านราชพฤกษ์ แปลกตาด้วยรูปทรงคล้ายโดม หรือปล่องควันอย่างโรงงานอุตสาหกรรม เล่นสนุกกับประสบการณ์และจินตนาการของผู้พบเห็นแบบไม่ตีกรอบ คล้ายกับกำลังมาชมงานศิลปะ ความดิบปนเท่ของคอนกรีตเปลือยและรูปทรงเรขาคณิต ภายใต้การตกแต่งที่เน้นสีโมโนโทนเรียบนิ่ง เป็นเสน่ห์ที่คุณดารัตน์ โรจนภักดี เจ้าของคาเฟ่ In my Element Cafe ชื่นชอบและยังช่วยสะท้อนตัวตนของเธอได้อย่างดี โดยในความหมายของชื่อ In My Element ที่เธอคิดขึ้นนั้นคือการนำพาองค์ประกอบที่ใช่และถูกใจมาใส่ไว้ที่เดียว หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า Element ยังหมายถึงธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ดังนั้นสถาปัตยกรรมที่ไร้การปรุงแต่ง หรือสัจวัสดุจึงเป็นอีกนิยามของธรรมชาติ เพื่อให้คอนเซ็ปต์มีความชัด เราจึงได้เห็นไอเดียการดึงแสงธรรมชาติจากภายนอกเข้ามาสู่ภายใน นับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ออกแบบให้ความสำคัญ ผ่านการออกแบบผนังเป็นช่องแสงทั้งสี่เหลี่ยมและครึ่งวงกลม มีมุมไฮไลต์คือสวนหย่อมขนาดเล็ก โดดเด่นด้วยต้นแก้วเจ้าจอม ที่ตัดแต่งทรงพุ่มกลมสวยงาม มีใบสีเขียวอ่อนช่วยลดความดิบกระด้างของอาคารคอนกรีต หลังคาด้านบนซึ่งเป็นส่วนของปล่องอาคารที่สูงขึ้นไปนั้น ออกแบบให้มีช่องแสงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่สามารถมองเห็นท้องฟ้าและนำแสงแดดลอดผ่านลงมาถึงเรือนยอดของต้นไม้ได้อย่างพอดี โดยแสงแดดนี้จะเปลี่ยนองศาไปตามแต่ละช่วงเวลาและฤดูกาล เรียกว่าในแต่ละวันความงามของมุมนี้แทบจะไม่ซ้ำกันเลย จึงเป็นมุมที่ทุกคนมักมาถ่ายรูป โคนต้นปลูกประดับไม้พุ่มขนาดเล็ก และจัดวางประติมากรรมก้อนหิน พื้นโรยหินกรวดและปูแผ่นคอนกรีต เช่นเดียวกับพื้นสวนเอ๊าต์ดอร์ด้านนอก นอกจากนี้ สถาปนิกยังสร้างสรรค์ลวดลายธรรมชาติให้ปรากฏลงบนพื้นผิวต่าง […]