room Archives - Page 24 of 139 - room

SEE JORAKAY FLAGSHIP STORE รวมแรงบันดาลใจด้านสีสันและ Lifestyle โดย “สีจระเข้”

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “สีสัน” ที่เห็นผ่านสายตาในชีวิตประจำวันมีผลต่อความรู้สึกของเราไม่น้อย ทั้งสีสันที่ให้ความสนุกสนาน กระปรี้กระเปร่า และนิ่งสงบ การเลือกใช้สีให้เหมาะกับการออกแบบตกแต่งจึงสำคัญ และจะดียิ่งขึ้นไปอีกหากสีที่เลือกใช้ดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เล็งเห็นความสำคัญ และนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาโดยตลอด จนปัจจุบัน SEE JORAKAY คือแบรนด์สีทาบ้านรายแรกที่ทำมาจากหินปูนธรรมชาติ ปลอดภัยสูง ไร้กลิ่นฉุน ไม่เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม  เพื่อให้นักออกแบบ หรือแม้แต่เจ้าของโครงการ สามารถเข้าถึงสีสันที่หลากหลาย แถมเพลิดเพลินไปกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สีทาอาคารในบรรยากาศที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แบบไม่น่าเบื่อ บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จึงได้เปิดตัว “SEE JORAKAY Flagship Store” ย่านกรุงเทพกรีฑา จัดแสดง 3 กลุ่มสี ได้แก่  Natural Color สีทาบ้านไร้กลิ่นฉุน เป็นสีที่ปลอดภัยที่สุด Art Color สีฉาบสร้างลายได้เหมือนหินอ่อน มีทั้งแบบเงาและแบบด้าน Texture Color สีสร้างลายสามมิติ ให้ผิวสัมผัสเหมือนหินธรรมชาติ พร้อมเปิดพื้นที่เป็น Co-Working Space ที่โดดเด่นด้านการดีไซน์มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร […]

Module collection จาก DEESAWAT โต๊ะก็ดี เก้าอี้ก็ได้ กระถางต้นไม้ก็ยังได้อีก!

Module collection โปรเจ็คต์ที่เกิดจากความร่วมมือของ DEESAWAT x SCG x Jacob Jensen Design|KMUTT ที่พยายามพลิกมุมมองเพื่อสร้าง “ความยั่งยืน” ในงานออกแบบ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แม้ปัจจุบันได้มีผู้ประกอบการหลายรายนำวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งหรือลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ทำอยู่นั้น อาจเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และหากไม่มีการออกแบบที่ครบวงจรเพื่อลดปัญหาดังกล่าว เราก็คงต้องปัญหานั้นอย่างไม่มีวันจบสิ้น MODULE collection ออกแบบภายใต้การคำนึงถึงการออกแบบที่ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ Lifecycle แรกของตัวสินค้า และยังมีการออกแบบฟังก์ชั่นให้ Lifecycle ที่ 2 อีกด้วย ในส่วนของที่นั่งไม้สัก เป็นไม้ที่มีการใช้งานได้คงทนทั้งภายนอกภายใน จึงมีการออกแบบให้เรียบง่าย และมีกระบวนการไสไม้ให้น้อยที่สุด เผื่อว่าอนาคตสามารถนำไม้ดังกล่าวไปใช้เป็นวัสดุใหม่ในการทำผลิตภัณท์ต่างๆ และส่วนของซีเมนต์จาก SCG นั้น ผลิตด้วยกระบวนการ 3D printing เพื่อลดการทำแม่พิมพ์ในการขึ้นชิ้นงาน และยังมีการออกแบบเซาะร่องในตัวชิ้นงาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นสนาม หรือรั้วต้นไม้ได้ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานแล้วหรือมีการแตกหักเสียหาย DEESAWAT เลือกร่วมงานกับ SCG โดยมีเป้าหมายในการทดลองนำปูนซีเมนต์กลับมารีไซเคิล ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะมีต้นทุนในการขนย้ายสูง และต้องใช้เครื่องจักรที่ใหญ่มากในการบดย่อยสลาย ดังนั้นถ้าเจ้าของสินค้าสามารถนำชิ้นงานซีเมนต์ไปใช้ใหม่ได้ด้วยตัวเอง […]

INFINITUDE ด้วยวัฏจักรอันไม่มีที่สิ้นสุด

PIPATCHARA แบรนด์แฟชั่นไทยในเวทีโลกที่บอกเลยว่าไม่ธรรมดา โดย คุณเพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา และ คุณทับทิม-จิตริณี แก้วจินดา ด้วยแนวคิดการใช้แรงขับเคลื่อนของโลกแฟชั่นเพื่อสร้างการมีส่วนรวมย้อนกลับไปช่วยเหลือชุมชน จนเกิดเป็นคอลเลคชั่น Infinitude ที่ไม่เพียงเลือกช่างฝีมือไทยในการผลิตเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุหลักของคอลเลคชั่นเป็น “พลาสติกกำพร้า” อีกด้วย Fashion for Community หรืองานออกแบบที่สร้างการมีส่วนร่วมกลับคืนสู่สังคม คือแนวทางการทำงานของ PIPATCHARA ตลอดมา เมื่อมาถึงคอลเลคชั่น Infinitude นี้ จึงเริ่มมองหามิติของความยั่งยืนที่หลากหลายออกไป ความไม่มีที่สิ้นสุดในความหมายของ Infinitude นั้นสามารถแปลออกมาได้ทั้งมิติของการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเลือกทำงานกับครูที่แม่ฮ่องสอนเพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับเหล่าครู ออกแบบชิ้นส่วนต่างๆโดยคำนึงถึงการทำงานกับคนในชุมชน ตลอดจนวัตถุดิบที่เหลือใช้ก็มาจากการรวมรวบขยะพลาสติกที่ไม่สามารถนำกลับเข้าระบบได้ หรือที่เรียกว่า ‘พลาสติกกำพร้า’ มาใช้เป็นวัสดุหลัก จึงเป็นที่มาของคำว่า Infinitude เราต้องการต่อยอดความเป็นไปได้เหล่านี้ให้ต่อเนื่องไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากตัวชิ้นงานเองแล้ว ก็หวังว่าคอลเลคชั่นนี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆของ Circular Economy ที่จับต้องได้เช่นกัน พลาสติกกำพร้า เหมือนไร้ค่า แต่สร้างสรรค์ได้ด้วยงานออกแบบ พลาสติกที่เลือกใช้ในคอลเลคชั่นนี้ทั้งหมดคือ ‘พลาสติกกำพร้า’ ซึ่งเป็นขยะที่ไม่มีมูลค่าในตลาด ไม่ถูกนำไปใช้ซ้ำ รีไซเคิลก็ให้กลับมาเป็นตัวมันเองก็ไม่ได้ เราใช้พลาสติกที่มาจาก Post-Consumer Waste ซึ่งคือพลาสติกที่ผ่านการใช้มาจากในครัวเรือนมาแล้ว […]

LEILO COFFEE SPACE ความสุขในคาเฟ่มินิมัลแสนสงบ

Leilo coffee space (เลโล คอฟฟี่ สเปซ) คาเฟ่เมืองระยอง ที่เกิดจากการปรับร้านใหม่ให้เรียบนิ่งในสไตล์มินิมัล ซ่อนตัวอยู่หลังกำแพงสีเบจสูงทึบ เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัว ตัดขาดจากบริบทความวุ่นวายของถนนด้านนอก ชวนทุกคนให้เข้ามาดื่มด่ำกับกาแฟและบรรยากาศเงียบสงบโอบล้อมด้วยสีเขียวจากธรรมชาติ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ:  SA-ARD architecture & construction Leilo coffee space เดิมที่นี่มีชื่อว่า Happy Cup หลังจากสั่งสมประสบการณ์การเปิดคาเฟ่มาระยะหนึ่ง เจ้าของมีความต้องการอยากปรับรูปแบบใหม่ทั้งตัวร้านและแนวทางการทำกาแฟ จนเกิดเป็นการรีแบรนด์ดิ้งขึ้นมา โดยได้มีการ Collaboration กับแบรนด์ Cozy Factory ที่เชี่ยวชาญด้านกาแฟและการคั่วกาแฟ เพื่อช่วยชูรสชาติกาแฟของร้านให้เด่นชัดและจัดเต็มยิ่งกว่าเดิม ขณะที่การรีโนเวตร้านเป็นหน้าที่ของ SA-ARD architecture & construction โดยผู้ออกแบบได้นำความต้องการของเจ้าของที่อยากให้ร้านเป็นเสมือนห้องนั่งเล่นมาคลี่คลายสู่บรรยากาศร้านใหม่ ภายใต้แนวคิด Minimalism เพิ่มความอบอุ่นให้ร้านด้วยสีเอิร์ธโทนและวัสดุธรรมชาติ โดยผู้ออกแบบยังคงเก็บอาคารเดิมไว้ทั้งหมด แต่ปรับให้พิเศษยิ่งขึ้น อาทิ พื้นที่ผนังกระจกหน้าร้าน จากเดิมที่อยู่จนสุดผนังทำให้มิติของร้านดูแบน ได้รับการปรับใหม่ให้ร่นระยะเข้ามาเพื่อให้ด้านหน้ามีสเปซมากขึ้น แล้วทำฐานซีเมนต์ให้ยื่นออกไป สร้างมุมมองให้เหมือนตัวอาคารลอยสูงขึ้นจากพื้น ขณะที่สีของอาคารก็เปลี่ยนเป็นสีคาราเมล หรือสีเบจตามที่เจ้าของชื่นชอบ แล้วแต่งผนังเป็นลายลูกฟูกช่วยสร้างเท็กซ์เจอร์ไม่ให้ผนังดูเรียบจนเกินไป เมื่อมีแสงแดดตกกระทบจะทำให้เห็นมิติของลวดลายที่ชัดเจน […]

QUB ROOMS รีโนเวตตึกแถวเป็นโรงแรมลอฟต์สีดำ

รีโนเวตตึกแถว เป็นโรงแรมลอฟต์ มอบความสงบแม้พักผ่อนอยู่ใจกลางเมืองดึงดูดสายตาอยู่ที่เปลือกอาคาร (Facade) รูปทรงคิวบิกซึ่งทำจากเหล็กสีดำหลากหลายขนาด Qub Rooms รีโนเวตตึกแถว 3 ชั้น ให้กลายเป็นโรงแรมสไตล์ลอฟต์ที่มีเสน่ห์และโดดเด่นที่สุดในย่านการค้าใจกลางเมืองเซมารัง ประเทศอินโดนีเซีย มีจุดเด่นดึงดูดสายตาอยู่ที่เปลือกอาคาร (Facade) รูปทรงคิวบิกซึ่งทำจากเหล็กสีดำหลากหลายขนาด ตรงกลางกรุกระจกเพื่อเป็นช่องนำแสงเข้าสู่ภายในห้องพัก จัดวางสลับกันเพื่อเป็นการหลอกสายตา แทนการแบ่งเปลือกอาคารเป็นชั้น ๆ ทำให้เป็นเสมือนอาคารขนาดใหญ่ เป็นลูกเล่นที่น่าสนใจและช่วยสร้างอัตลักษณ์ที่มีเสน่ห์น่าค้นหาให้แก่โรงแรม จนเกือบลืมไปเลยว่าเดิมที่นี่เคยเป็นแค่ตึกแถวธรรมดา การเปลี่ยนแปลงบทบาทใหม่ครั้งนี้ โครงสร้างเดิมอาทิ ฝ้าเพดาน ผนัง และบันไดได้ถูกรื้อถอนออกไป เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับโรงแรมมากขึ้น บริเวณล็อบบี้และโถงทางเดินใช้เหล็กสีดำในการตกแต่ง บันไดทำจากแผ่นเหล็กเจาะรูเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก แถมสามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวผ่านความโปร่งของบันได สร้างความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าให้กับพื้นที่ส่วนกลาง และหน้าต่างบานเกล็ดทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวอาคารยังทำให้ภายในโรงแรมมีอากาศถ่ายเทตลอดเวลา การตกแต่งภายเน้นใช้ธีมสีโมโนโทนเพื่อช่วยให้ที่นี่ดูเรียบหรูมีสไตล์ ผนังห้องพักแต่ละห้องใช้อิฐทาสีดำกรุเป็นฉากหลัง ผนังโค้งมนด้านนอกห้องพักใช้สีขาวเรียบจับคู่กับความดิบของเพดานปูนเปลือย ประดับท่อสายไฟที่หุ้มด้วยเหล็กสีดำ สร้างบรรยากาศสไตล์ลอฟต์กลิ่นอายโมเดิร์น เป็นความเรียบง่ายที่ซ่อนความเท่ไว้ด้วยโทนสีและเหล่าเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นทำจากงานเหล็กเช่นเดียวกัน และเนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ในเขตเมือง เพื่อลดปัญหาด้านมลพิษและช่วยให้ผู้เข้าพักได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ สถาปนิกจึงใช้ต้นไม้เข้ามาช่วยกรองมลพิษอีกชั้นที่บริเวณผนังบานเกล็ดข้างทางเดินบันไดเหล็กเจาะรูสีดำ เป็นมุมมองที่ช่วยความรู้สึกสบายตาและสดชื่นขึ้นมาทันที นอกจากนี้ยังประดับกระถางต้นไม้ตามจุดต่าง ๆ ด้วย เป็นอีกโปรเจ็กต์การรีโนเวตอาคารขนาดเล็กให้กลายเป็นโรงแรมที่ท้าทายสถาปนิกอย่างมาก ทั้งการเอาชนะข้อจำกัดของอาคารที่ทั้งแคบ แถมยังตั้งอยู่ในย่านที่มีตึกแถวแออัดและพลุกพล่านให้เป็นที่พักผ่อนกลางใจเมือง มอบประสบการณ์การพักผ่อนให้ยิ่งพิเศษมากขึ้นกว่าเคย ออกแบบ : Tamara Wibowo Architects […]

UNDER THE SUN คาเฟ่พัทยา กับอาคารสีแดงเล่นได้ รับวิวพระอาทิตย์ตกกลางทะเล

Under the Sun คาเฟ่พัทยา เปิดใหม่ โดดเด่นภายใต้สถาปัตยกรรมครึ่งวงกลมสีแดง ที่มาพร้อมแนวคิดสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนผ่านการเล่น ช่วยให้อาคารมีชีวิตชีวา เหมาะพาครอบครัวมาพักผ่อนรับวิวพระอาทิตย์ตกวงกลม ๆ กลางทะเล DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: POAR  ภาพเด็กเล่นชิงช้า บ้างก็ทิ้งตัวสไลด์ไปตามความโค้งของขอบครึ่งวงกลม เป็นบรรยากาศสนุก ๆ ที่เราได้พบเห็นจากสถาปัตยกรรมซึ่งใช้เป็นอาคารของ Under the Sun คาเฟ่สีแดงดีไซน์โดดเด่นที่ตั้งตระหง่านและมีสีสันสดใสตัดกับสนามหญ้าสีเขียวริมชายหาด พื้นที่ส่วนหนึ่งของโรงแรม ANA ANAN Resort & Villas Pattaya โจทย์การสร้างสรรค์อาคาร เริ่มมาจากทางโรงแรมต้องการให้พื้นที่สนามหญ้าติดชายหาดนี้ ทำหน้าที่เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ สำหรับจัดอีเว้นต์ต่าง ๆ รวมถึงโปรเจ็กต์ร้านอาหารและคาเฟ่ในลักษณะอาคารแบบชั่วคราว ที่เปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตตามการใช้งานที่ดิน โดยมีสถาปนิกจาก POAR ทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ ภายใต้ความท้าทายว่า จะทำอย่างไรให้การมาคาเฟ่ หรือร้านอาหาร ทุก ๆ คนสามารถใช้พื้นที่ร่วมกันได้แบบไม่แบ่งโซนเด็กและผู้ใหญ่ ขณะที่มุมมองของเด็ก อาจไม่ได้รู้สึกอิ่มเอมกับการตกแต่งหรือวิวอย่างผู้ใหญ่ สิ่งสำคัญของเขาคือการเล่นและอยากให้พ่อแม่มาเล่นด้วย ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้จึงกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกใจคนทั้งสองวัย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มาใช้งานและสนุกด้วยกันได้แบบไม่เขิน “รูปทรงอาคารเป็นได้ทั้งเครื่องเล่น ประติมากรรม และงานศิลปะ ซิกเนเจอร์ของ […]

บริทาเนีย ต่อยอดแนวคิด สู่ 2 โครงการใหม่

บ้านและทาวน์โฮมซีรีย์ใหม่ที่ขายดีที่สุด พร้อมทำเลดีที่หายาก “บางนา กม. 17” เริ่มต้น 2.79 – 4.89 ล้าน BRITANIA HOME (บริทาเนีย โฮม) และ BRITANIA TOWN (บริทาเนีย ทาวน์) บางนา กม.17 โครงการบ้านและทาวน์โฮมในสไตล์ Modern British โดดเด่นด้วยกลิ่นอายมนตร์เสน่ห์แห่งกรุงลอนดอน ความคลาสสิกที่ผสานกับความทันสมัยสร้างบรรยากาศการอยู่อาศัยที่แตกต่าง พร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่ลงตัวกับครอบครัวยุคใหม่ บนทำเลที่สามารถเชื่อมต่อสู่ใจกลางเมืองได้สะดวกและรวดเร็ว #LONDON VIBES พระราชวังบัคกิ้งแฮม London Eye หอนาฬิกา Big Ben หรือสะพานทาวเวอร์บริดจ์ รวมถึงพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง คือแลนด์มาร์กของกรุงลอนดอนที่ใครหลายคนหลงใหล ด้วยเป็นแหล่งรวมประวัติศาสตร์ ศิลปะ แฟชั่น อาหาร ท่ามกลางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ เอกลักษณ์เหล่านี้ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม และองค์ประกอบต่างๆ ของโครงการบริทาเนีย โฮม และบริทาเนีย ทาวน์ ที่สร้างบรรยากาศพื้นที่ส่วนกลางให้ทุกคนเหมือนได้พักผ่อนอยู่กลางกรุงลอนดอน โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวส่วนกลาง ที่แบ่งโซนให้รองรับหลากหลายกิจกรรมสำหรับทั้งครอบครัว ทั้งลานกีฬา สนามเด็กเล่น […]

นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul เสียงจากที่ไกล เสียงจากหัวใจที่ต้องการเพียง “สื่อสารกัน” ณ BACC

ฉับพลันที่เดินเข้ามาในห้องจัดแสดงของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร(BACC) ความวุ่นวายของแยกปทุมวันก็มลายหายไปทันใดที่ปิดประตู คงเหลือแต่สรรพเสียงที่เราไม่คุ้นชิน เสียงของธรรมชาติที่คล้ายแว่วมาจากที่ไกล เสียงของ “ชีวิต” ที่กำลังถูกใช้ในบริบทที่ไม่ใช่เมือง อาจจะเป็นป่าในภูเขาสักที่ เสียงที่กำลัง “พูด” ด้วยภาษาที่เราไม่คุ้นเคย “เสียง” ที่รับรู้ได้ แม้ไม่เข้าใจความหมาย แต่กลับสื่อสารกันเข้าใจ นี่คือ นิทรรศการที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในชื่อว่า “นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul” โดยความร่วมมือระหว่าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกลุ่มศิลปิน Hear&Found, ศุภชัย เกศการุณกุล และ DuckUnit ซึ่งในวันนี้ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณ ฟ้า กัณหรัตน์ เลี่ยมทอง หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม และ ภัณฑารักษ์ (Curator) ของนิทรรศการในครั้งนี้ รวมทั้งศิลปินที่มาร่วมจัดแสดงทั้งสามกลุ่ม ถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่แฝงอยู่ใน “เสียง” ที่พวกเขาเลือกนำมาจัดแสดง นำเสนอประเด็นปัญหาผ่านภาษาศิลปะ “ประเด็นด้านความเหลื่อมล้ำ เป็นความสนใจของตัวฟ้าเองอยู่แล้ว นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งใจสร้างให้เกิดเป็นนิทรรศการนี้ขึ้น แต่ในนิทรรศการนี้จะเลือกใช้ “เสียง” เป็นสิ่งแทนของผู้คนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มันเป็นสิ่งที่เรานึกถึงเมื่อต้องนำมาผูกโยงกับคำว่า […]