room Archives - Page 87 of 139 - room

BOYY AND SON CAFÉ ช็อปปิ้งประสบการณ์ผ่านคาเฟ่

แวดวงแฟชั่นนิสต้าคงคุ้นหูคุ้นตากันเป็นอย่างดีกับแบรนด์ไทยที่ดังไกลระดับสากลอย่าง BOYY ได้ยินชื่อเป็นต้องนึกถึงกระเป๋ารุ่นฮิตที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ด้วยสายเข็มขัดหัวโต บนกระเป๋าหนังเรียบหรู รูปทรงสุดโมเดิร์น อันเป็นที่ใฝ่ฝันของสาวๆ ทั่วบ้านทั่วเมือง หากคุณยังนึกไม่ออกให้ลองเสิร์ชชื่อรุ่น Bobby หรือ Karl ที่ขายดีตลอดกาลดู แล้วคุณจะร้องอ๋อ !! ตามไปดูร้านใหม่ BOYY AND SON CAFÉ กันเลย ด้วยงานดีไซน์สุดยูนีค และคุณภาพที่เกินราคา ทำให้ครีเอทีฟไดเร็คเตอร์อย่าง คุณบอย-วรรณศิริ คงมั่น และพาร์ทเนอร์ คุณเจสซี่ ดอร์ซี่ ตัดสินใจเปิดแฟล็กชิปสโตร์สาขาล่าสุด ณ ห้างเกษร วิลเลจ เพื่อตอบรับกระแสความต้องการของเหล่าสาวกแบรนด์ ความพิเศษของสาขาใหม่นี้คือการเพิ่มฟังก์ชัน “คาเฟ่” ในนาม BOYY AND SON CAFÉ ให้นักช็อปทั้งหลายได้นั่งพักผ่อนหลังจากสนุกกับการเลือกซื้อสินค้า โซนรีเทล และคาเฟ่เชื่อมต่อกันด้วยประตูบานน้อยที่เปิดกว้าง รอคอยให้เราเข้าไปสัมผัสเรื่องราวของแบรนด์ ซึ่งได้รับการบอกเล่าผ่านงานออกแบบของทั้งคู่ ในส่วนของพื้นที่บูทีค คุมบรรยากาศด้วยโทนสีขาว-เทาของพื้นหินแกรนิตบราซิลและผนังทรายล้างสีอ่อน ช่วยขับเน้นให้กระเป๋าหนังใบน้อยใหญ่ที่ถูกดิสเพลย์บนชั้นวางดูโดดเด่นยิ่งขึ้น ประกอบกับรูปแบบชั้นวางที่ออกแบบให้เป็นระนาบโค้งไปกับผนังโดยรอบ จึงช่วยให้จังหวะการเดินชมสินค้าลื่นไหล ไม่สะดุด สร้างจุดเด่นใจกลางร้านด้วยแท่นวางสินค้ารูปทรงอิสระ ทำจากเรซินผิวด้าน ดูต่อเนื่องกับภาพงานศิลปะขนาดใหญ่บนผนังหลังเคาน์เตอร์ คาเฟ่นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเติมเต็มชีวิตชีวาให้แฟล็กชิปสโตร์แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี […]

ประกิจ กัณหา

หลับให้สบาย ประกิจ กัณหา สถาปัตยกรรมที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติจะอยู่ในใจของเราเสมอ

“ผมอยากให้คนที่เข้ามาในพื้นที่นี้ได้ลดอัตตาของตัวเอง ได้อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับปัจจุบันผ่านงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่แตะผืนดินอย่างแผ่วเบา” บทสนทนาช่วงจังหวะหนึ่งของเรากับ คุณบั๊ม-ประกิจ กัณหา สถาปนิกผู้ออกแบบ “บ้านมะขาม” ที่บางน้ำผึ้ง ย่านบางกระเจ้า เกิดขึ้นเมื่อประมาณสองเดือนที่แล้ว แต่ความรู้สึกราวกับว่าเหมือนเราเพิ่งนั่งคุยกันไปเมื่อวาน   ด้วยท่วงท่าที่สบาย ๆ กับการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ทำให้เราสามารถนั่งสัมภาษณ์และพูดคุยกับคุณบั๊มถึงแนวคิดในการทำงานของเขาจนกินเวลาเป็นชั่วโมง ๆ ท่ามกลางสายลมพัดเอื่อย แสงแดดที่ค่อย ๆ อาบไล้ไล่เข้ามา พร้อมกับท่าทีกระตือรือร้นของเขาที่จะพาเราเดินไปดูดีเทลต่าง ๆ ที่เขาออกแบบด้วยความภูมิใจ   หนึ่งในคีย์เวิร์ดที่เรารู้สึกว่าคุณบั๊มต่างจากสถาปนิกคนอื่น คือการออกแบบที่เริ่มจากสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เป็นหลัก การอ่อนน้อมถ่อมตนและให้เกียรติธรรมชาติ ก่อนที่จะคำนึงว่างานที่จะออกแบบนั้นจะสวยแค่ไหน จะหน้าตาเป็นอย่างไร เขามักจะเลือกวางแผนก่อนเสมอว่าจะทำอย่างไรถึงจะเบียดเบียนต้นไม้ ใบหญ้า ทางน้ำเดิม วิถีชีวิตเดิมๆ เรื่อยไปจนถึงวัสดุที่เลือกมาใช้ก็ต้องทำลายธรรมชาติให้น้อยที่สุด   ถึงแม้ว่าครั้งนั้นมันจะเป็นครั้งสุดท้ายที่เราจะได้มีโอกาสสัมภาษณ์ พูดคุยกับคุณบั๊ม แต่เราก็เชื่อว่าแนวคิดและความตั้งใจที่เขาพยายามสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติจะยังคงอยู่ และไม่ว่าเมื่อใดที่เรานึกถึง แค่ก้าวไปในสเปซนั้น ๆ ที่คุณบั๊มทิ้งไว้ เราก็จะสามารถรับรู้ได้ถึงสารเหล่านั้นอย่างแน่นอน คุณบั๊มเป็นสถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอมิติ ขึ้นในปี 2553 ด้วยความเชื่อที่ว่า สถาปัตยกรรมสามารถเข้าไปแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้ งานออกแบบของพวกเขาจึงสะท้อนไปถึงการพยายามศึกษาและออกแบบสถาปัตยกรรมโดยคำถึงถึงมิติต่างๆ ในการรับรู้ของมนุษย์ รวมถึงบริบททางสภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม […]

JARUN 69 บ้านหลังเล็ก ดีเทลลึก

บริบทร่วมสมัยของย่านฝั่งธนฯ ขับเน้นให้ บ้านหลังเล็ก เส้นสายเฉียบเรียบดูโดดเด่นเป็นพิเศษ ประตูรั้วเหล็กฉีกสีขาวโปร่ง เป็นเหมือนเลเยอร์บางๆ ที่ช่วยกรองสายตาผู้คนที่ผ่านไปมา โดยไม่ทำให้พื้นที่ด้านหน้าดูอึดอัดจนเกินไป แม้ตัวบ้านจะดูเรียบง่าย แต่กว่าจะออกมาเหมาะเจาะลงตัวทั้งรูปลักษณ์ และการใช้งาน ย่อมผ่านการคิดออกแบบมาอย่างลงลึกในทุกดีเทล เมื่อสองปีก่อน คุณปิยะบุตร ซุ่นทรัพย์ วางแผนสร้างเรือนหอหลังใหม่บนที่ดินขนาด 47 ตารางวาในซอยเล็กๆ บนถนนจรัญสนิทวงศ์ จึงปรึกษาเพื่อนสถาปนิกอย่าง คุณกาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ จาก Physicalist ผู้รับหน้าที่ถ่ายทอดทุกความละเอียดความต้องการให้ บ้านหลังเล็ก หลังนี้กลายเป็นรูปธรรมอย่างสมบูรณ์           “ตอนแรกเจ้าของบ้านทำโมเดลสามมิติมาเรียบร้อยเพื่อให้ดูรูปแบบที่อยากได้ แต่ด้วยความที่ที่ดินแปลงนี้มีขนาดค่อนข้างเล็ก และเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู แบบร่างเบื้องต้นเลยมีหลายจุดที่ผิดกฎหมายควบคุมอาคาร จึงต้องนำฟังก์ชั่นที่ต้องการทั้งหมดมาจัดวางใหม่” เมื่อโจทย์หลักคือการจัดสรรสเปซภายในให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในพื้นที่จำกัด โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย สถาปนิกจึงเริ่มต้นจากการกำหนด “แนวผนังทึบ” ที่เว้นระยะจากแนวเขตที่ดินรูปสี่เหลี่ยมคางหมูโดยรอบด้านละ 50 เซนติเมตร* เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ใช้สอยภายใน บ้านหลังเล็ก ให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้   ในกรณีนี้  ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 บ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ให้ก่อสร้างผนังทึบห่างจากแนวเขตที่ดินอย่างน้อย 50 […]