คาเฟ่ระยอง Archives - room

Odeum Cafe คาเฟ่ระยอง เชื่อมโยงความหลงใหลในดนตรีและกาแฟเข้าด้วยกัน

คาเฟ่ระยอง ย่านมาบตาพุด ที่มีแรงบันดาลใจมาจากเจ้าของผู้หลงใหลในดนตรี Alternative Rock DESIGNER DIRECTORYออกแบบ:  SA-ARD architecture & construction Odeum Cafe ที่นี่เริ่มต้นมาจากความหลงใหลในกาแฟและเสียงดนตรีของเจ้าของคาเฟ่ จนนำมาสู่การตั้งชื่อร้านว่า “Odeum” ซึ่งหมายถึง “โรงแสดงดนตรี” มาใช้ตั้งชื่อคาเฟ่ระยองแห่งนี้ ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบร้านโดย SA-ARD architecture & construction ที่ตีความภาษาดนตรีสู่ภาษางานออกแบบ จนกลายเป็นอาคารโมเดิร์นลอยโดดเด่นจากบริบท ใช้บันไดที่นำพาผู้คนจกระดับถนนไปสู่ทางเข้าอาคารด้านบน สร้างภาพจำให้แก่งานออกแบบในแนวทางที่เรียกว่า Modern Retro มีเอกลักษณ์ด้วยเปลือกอาคาร หรือฟาซาด ที่มีไอเดียมาจาก Piano Keyboard Diagram เพิ่มความเชื้อเชิญในการเข้าถึงภายในอาคาร สถาปนิกเลือกใช้วัสดุปิดผิวอาคารจากแผ่นเมทัลชีทผิวด้าน สามารถช่วยลดการสะท้อนของแสง และสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมให้กับพื้นที่โดยรอบ นอกจากนี้ยังทำการเพิ่มช่องแสงด้านหน้าอาคาร เพื่อให้เกิดการเชื่มต่อของพื้นที่ทางสายตาระหว่างนอกกับในอาคาร การวางผังใช้งานเป็นไปตามแนวยาวของอาคาร แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน Café และ Back of house ออกจากกันด้วยห้องน้ำที่กั้นอยู่ตรงกลาง และเชื่อมต่อกับหลังอาคารและห้องพักพนักงาน โดยจัดให้ห้องน้ำสามารถเข้าถึงได้จากภายในคาเฟ่ โดยตรง โดยไม่ทำลายบรรยากาศภายในร้าน การตกแต่งภายในของ Odeum […]

LEILO COFFEE SPACE ความสุขในคาเฟ่มินิมัลแสนสงบ

Leilo coffee space (เลโล คอฟฟี่ สเปซ) คาเฟ่เมืองระยอง ที่เกิดจากการปรับร้านใหม่ให้เรียบนิ่งในสไตล์มินิมัล ซ่อนตัวอยู่หลังกำแพงสีเบจสูงทึบ เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัว ตัดขาดจากบริบทความวุ่นวายของถนนด้านนอก ชวนทุกคนให้เข้ามาดื่มด่ำกับกาแฟและบรรยากาศเงียบสงบโอบล้อมด้วยสีเขียวจากธรรมชาติ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ:  SA-ARD architecture & construction Leilo coffee space เดิมที่นี่มีชื่อว่า Happy Cup หลังจากสั่งสมประสบการณ์การเปิดคาเฟ่มาระยะหนึ่ง เจ้าของมีความต้องการอยากปรับรูปแบบใหม่ทั้งตัวร้านและแนวทางการทำกาแฟ จนเกิดเป็นการรีแบรนด์ดิ้งขึ้นมา โดยได้มีการ Collaboration กับแบรนด์ Cozy Factory ที่เชี่ยวชาญด้านกาแฟและการคั่วกาแฟ เพื่อช่วยชูรสชาติกาแฟของร้านให้เด่นชัดและจัดเต็มยิ่งกว่าเดิม ขณะที่การรีโนเวตร้านเป็นหน้าที่ของ SA-ARD architecture & construction โดยผู้ออกแบบได้นำความต้องการของเจ้าของที่อยากให้ร้านเป็นเสมือนห้องนั่งเล่นมาคลี่คลายสู่บรรยากาศร้านใหม่ ภายใต้แนวคิด Minimalism เพิ่มความอบอุ่นให้ร้านด้วยสีเอิร์ธโทนและวัสดุธรรมชาติ โดยผู้ออกแบบยังคงเก็บอาคารเดิมไว้ทั้งหมด แต่ปรับให้พิเศษยิ่งขึ้น อาทิ พื้นที่ผนังกระจกหน้าร้าน จากเดิมที่อยู่จนสุดผนังทำให้มิติของร้านดูแบน ได้รับการปรับใหม่ให้ร่นระยะเข้ามาเพื่อให้ด้านหน้ามีสเปซมากขึ้น แล้วทำฐานซีเมนต์ให้ยื่นออกไป สร้างมุมมองให้เหมือนตัวอาคารลอยสูงขึ้นจากพื้น ขณะที่สีของอาคารก็เปลี่ยนเป็นสีคาราเมล หรือสีเบจตามที่เจ้าของชื่นชอบ แล้วแต่งผนังเป็นลายลูกฟูกช่วยสร้างเท็กซ์เจอร์ไม่ให้ผนังดูเรียบจนเกินไป เมื่อมีแสงแดดตกกระทบจะทำให้เห็นมิติของลวดลายที่ชัดเจน […]

THE RUBBERER ถอดรายละเอียดโรงงานยางพารา สู่คาเฟ่ตกแต่งสไตล์มินิมัลกลิ่นอายญี่ปุ่น

The Rubberer คาเฟ่ดีไซน์เรียบง่าย แต่โดดเด่นด้วยการนำเสนอเรื่องราวของยางพารา อีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง ผ่านการออกแบบคาเฟ่ที่มีแรงบันดาลใจจากอาคารโรงงานยางพารา DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ:  SA-ARD architecture & construction ที่นี่มีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจของครอบครัวเจ้าของคาเฟ่ ซึ่งอยู่ในระบบอุตสาหกรรมยางพาราแบบครบวงจร ทั้งการทำสวนยางพารา และโรงงานรีดแผ่นยางฯ ของตนเอง สำหรับ The Rubberer จึงเสมือนเป็นการต่อยอดธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่ในฐานะของร้านกาแฟ แต่ยังเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ ที่เก็บรวบรวมเรื่องราวและความทรงจำ สะท้อนถึงบริบทที่ตั้ง และความเป็นมาของธุรกิจครอบครัว ซึ่งมีประวัติมาอย่างยาวนาน ริมถนนหมายเลข 4040 ภายในพื้นที่กว้างขวางของโรงงานแปรรูปและตากยางพารา ส่วนหนึ่งได้รับการจัดสรรให้เป็นที่ตั้งของคาเฟ่ ซึ่งมีรูปทรงเป็นอาคารชั้นเดียวยาว 20 เมตร ได้ไอเดียมาจากโรงงานยางพาราหลังเดิมที่ตั้งอยู่ไม่ไกล ทั้งยังเลือกใช้แมททีเรียลในการก่อสร้างที่คล้ายกันเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ถูกนำมาจัดเรียงเป็นองค์ประกอบใหม่ ภาษาใหม่ ดัดแปลงเข้ากับการตกแต่งสไตล์ญี่ปุ่น ตามความชื่นชอบของเจ้าของ เพื่อให้มีรายละเอียดน่าสนใจและอบอุ่นมากขึ้น “สถาปัตยกรรมในยุคเดียวกับการ์ตูนเรื่องอิคคิวซังถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร เกิดจากการสังเกตความชอบของเจ้าของคาเฟ่ว่า เขาเป็นคนชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นยุค 80’s ผมเลยนำสิ่งนั้นมาตีความ และใส่รายละเอียดให้อาคารมีกลิ่นอายของความเป็นญี่ปุ่น เช่น การออกแบบหลังคาให้มีความลาดต่ำลง ดึงเชิงชายข้างอาคารให้กว้างขึ้น แล้วเลือกใช้กระเบื้องแบบลอนคู่มามุงหลังคา ลักษณะคล้ายวัด […]