บ้านหน้าแคบ Archives - room

House 3.5 x 7 บ้านหน้าแคบ สานสัมพันธ์ ด้วยพื้นที่กิจกรรมโปร่งสบาย

บ้านหน้าแคบ ขนาด 5 ชั้น ในกรุงโฮจิมินห์ ที่มีรูปลักษณ์แสนคับแคบเมื่อมองจากภายนอก แต่ภายในกลับโปร่งโล่งโอบอุ้มสมาชิกทั้ง 4 คน ให้สามารถใช้ชีวิตส่วนตัวอย่างมีความสุข ขณะเดียวกัน บ้านหน้าแคบ หลังนี้ ยังได้สร้างพื้นที่ผ่อนคลายให้ทุกคนในครอบครัวได้มานั่งจิบชาและกาแฟร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนบทสนทนา ทั้งยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์มองเห็นทุก ๆ คนในบ้านผ่านสเปซที่เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งบรรยากาศที่แสนอบอุ่นเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดโดย Story Architecture สตูดิโอออกแบบสัญชาติเวียดนาม บนที่ดินขนาด 59.5 ตารางเมตร กว้าง 3.5 เมตร ลึก 17 เมตร ตามชื่อบ้าน ที่นี่ได้รับการออกแบบให้เป็นบ้านขนาด 5 ชั้น เพื่อให้เพียงพอต่อการบรรจุฟังก์ชันแก่สมาชิกทุก ๆ คน มีทั้งพื้นที่ส่วนตัวอันประกอบด้วยห้องนอน 3 ห้อง รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมให้ทุกคนได้พบปะและทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ห้องครัว และห้องรับประทานอาหาร ห้องรับแขก สระว่ายน้ำ และห้องสักการะบรรพบุรุษ นอกจากนี้ บ้านก็จำต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่าง ลิฟต์ ที่ติดตั้งให้สามารถเดินทางขึ้น-ลงบ้านได้ โดยการจัดสัดส่วนให้บ้านมีพื้นที่ใช้สอยเหล่านี้ทั้งหมด นับว่าเป็นเป็นโจทย์ที่ท้าทายไม่น้อยสำหรับสถาปนิกที่ต้องแทรกไอเดียลงไปในบ้านหน้าแคบหลังนี้ แนวคิดหลักของการออกแบบ […]

ความรื่นรมย์ในบ้านตึกกลางเมืองที่ออกแบบไว้อย่างแยบยล

บ้านหลังนี้เป็นบ้านในที่ดินหน้าแคบเพียง 8 เมตร ตั้งอยู่ในย่านสาทรลึกเข้าไปในพื้นที่ที่ค่อนข้างเงียบสงบ แต่ด้วยลักษณะที่ดิน และความต้องการพื้นที่ใช้สอย การออกแบบให้บ้านหลังนี้มีลักษณะแบบตึกสูง 4 ชั้น จึงเป็นคำตอบ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INchan Atelier ด้วยฝีมือการออกแบบของ INchan Atelier บ้านหลังนี้ จึงไม่ใช่เพียงบ้านตึกหน้าแคบธรรมดา แต่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยสุนทรียะ และความรื่นรมย์ ผ่านการผสานธรรมชาติ และการสร้างองค์ประกอบของความเป็นบ้านให้สอดประสานไปในทุกพื้นที่อย่างลงตัว บ้านที่หายใจได้ เพราะการออกแบบบ้านที่มีลักษณะแคบลึกยาวเข้าไปถึงด้านในของที่ดินนั้น มักประสบกับการที่ลักษณะของผังการใช้งานจะมีช่องเปิดที่ด้านหน้า และด้านหลัง แต่สำหรับบ้านหลังนี้นั้น มีการคิดคำนึงถึงการสร้างช่องเปิดที่สอดคล้องไปกับการใช้งาน จากชั้นล่างที่เป็นส่วนต้อนรับ และพื้นที่ส่วนกลางของตัวบ้าน ผู้ออกแบบได้เลือกใช้พื้นที่หลังบ้านเป็นโต๊ะกลางที่สามารถใช้รับแขก และเป็นพื้นที่รับประทานอาหารได้ พื้นที่ส่วนนี้มีการเปิดพื้นที่โดยรอบเป็นสวนขนาดเล็กที่ริมบ้าน ได้ทั้งความสงบ และความร่มรื่น ประกอบกับการออกแบบพื้นที่ให้มีลักษณะเป็น Double Volume จึงทำให้พื้นที่ชั้นล่าง และชั้นลอยที่เป็นพื้นที่นั่งเล่นของบ้านหลังนี้มีความเชื่อมโยง และยังคงไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ต่อกัน คำว่า “หายใจได้” นั้น ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่การเปิดรับลมธรรมชาติเพียงเท่านั้น แต่จังหวะของมวลที่ว่าง ภายในบ้านจะช่วยลดความอึดอัดของการเป็นบ้านแบบอาคารหลายชั้นลง สร้างความรู้สึกสบายอย่างที่บ้านควรจะเป็นได้มากขึ้น นอกจากนี้ในชั้น 3 และ 4 ของบ้านหลังนี้ ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวอย่างห้องนอนนั้น […]

บ้านหน้าแคบ สไตล์ตึกแถว ในประเทศเวียดนาม เชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวผ่านการใช้พื้นที่แนวตั้ง

จากโจทย์หลักของเจ้าของบ้านที่ต้องการเติมพื้นที่โล่งและแสงธรรมชาติให้เข้าสู่ภายใน เพื่อแก้ปัญหาความทึบตันเช่นเดียวกับตึกแถว หรือ บ้านหน้าแคบ ทั่วไป ที่พบเห็นได้อย่างดาษดื่นในเวียดนาม เนื่องจาก บ้านหน้าแคบ หรือบ้านคล้ายตึกแถว ไม่สามารถออกแบบให้มีหน้าต่างด้านข้างได้ จึงต้องมีการออกแบบช่องเปิดตรงหน้าบ้านและหลังบ้านแทนและมีอีกแนวทาง นั่นคือการเลือกใช้สีขาว และการเปิดให้แสงธรรมชาติผ่านเข้ามาจากช่องเปิดของระเบียง เพื่อให้แสงสะท้อนเข้าไปถึงพื้นที่ภายในได้อย่างทั่วถึง แต่ในขณะเดียวกันระยะร่นของระเบียงก็ช่วยให้แสงที่ส่องเข้ามาไม่เจิดจ้าจนเกินไป สร้างสรรค์ผ่านสไตล์ที่ดูเรียบเกลี้ยงแบบมินิมัล แต่การเติมพื้นผิวจากวัสดุธรรมชาติ เช่น การใช้เสื่อสานในการสร้างพื้นผิวให้กับเพดาน และการเลือกใช้พรรณไม้ รวมทั้งการจัดวางให้ต้นไม้มีการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละชั้นด้วย ในส่วนของการจัดการสภาพอากาศภายใน มีการทำช่องเปิดให้เกิดการไหลเวียนในแนวตั้ง โดยมีสกายไลท์เพื่อสร้างให้ลมร้อนที่ชั้นบนของอาคารช่วยดึงอากาศทั้งหมดให้ไหลเวียนได้โดยสะดวก บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการออกแบบที่สอดคล้องกับภูมิอากาศ และเป็นตัวอย่างที่ดีของการออกแบบบ้านหน้าแคบอย่างตึกแถวไปพร้อมกัน ออกแบบ: S+Na. – Sanuki + Nishizawa architectsภาพ: Hiroyuki Okiเรียบเรียง: Wuthikorn Sut

บ้านหน้าแคบ โชว์คานคอนกรีตดิบ ๆ กับฟาซาดมีชีวิตจากเหล่าต้นไม้สีเขียว

บ้านหน้าแคบ ขนาดจำกัด ที่เจ้าของอยากมีพื้นที่สวนสำหรับพักผ่อน ดื่มด่ำกับธรรมชาติได้ทุกอณูหลังนี้ ตั้งอยู่ที่จังหวัด Bac Ninh ประเทศเวียดนาม เด่นด้วยหน้าตาของ บ้านหน้าแคบ ทรงกล่องคอนกรีตสูงชะลูด ด้านหน้าเต็มไปด้วยแมกไม้สีเขียว ทำหน้าที่ราวกับเป็นฟาซาดธรรมชาติ ช่วยให้บ้านร่มรื่นเย็นสบาย และซ่อนพื้นที่พักอาศัยไว้ด้านใน เพื่อปกป้องสายตาจากภายนอกและมลภาวะของเมือง  จุดเริ่มต้นของการสร้างบ้านรูปทรงสะดุดตา อัดแน่นด้วยต้นไม้เกือบทุกพื้นที่หลังนี้ มีต้นทางมาจากการเอาชนะปัญหาหลาย ๆ ข้อที่บ้านนี้ต้องพบเจอ เช่น 1.ลักษณะของที่ดินที่ทั้งแคบและลึกเพียง 80 ตารางเมตร (4 x 20 เมตร) 2.มีเพียงหน้าบ้านที่ติดถนนด้านเดียว ที่เปิดรับแสงสว่างและอากาศได้ 3.เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น และอยู่ใกล้เขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้มักมีปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางเสียง ทีมผู้ออกแบบจาก Kien Truc NDT จึงต้องการหาวิธีแก้ปัญหาและข้อบกพร่องเหล่านี้ให้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยตั้งใจให้บ้านที่หันหน้าออกไปทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นทิศที่ไม่ได้รับแสงแดดตรง ๆ ให้มีพื้นที่ไว้นั่งเล่นยื่นยาวออกมา เจ้าของบ้านสามารถพักผ่อนนั่งเล่น หรือปลูกต้นไม้ได้ตามชอบใจ เปรียบเสมือนเป็นพื้นที่กันชนกลางแจ้งที่เหมาะกับทั้งการเจริญเติบโตของต้นไม้ รวมถึงช่วยนำแสงสว่างและระบายอากาศให้บ้านปลอดโปร่งตลอดทั้งวัน แล้วร่นระยะพื้นที่พักอาศัยให้ขยับไปไว้ด้านหลังแทนเพื่อความเป็นส่วนตัว นอกจากนี้การทำพื้นที่หน้าบ้านให้มีแต่ต้นไม้ราวกับเป็นกำแพงนี้ ยังเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงเสียงและฝุ่นละอองในเมืองได้ด้วย พื้นที่ภายในบ้านขนาด 4 ชั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วนแยกกัน […]

2Hien House บ้านหน้าแคบ เด่นด้วยผนังกระเบื้องเกล็ดปลาวัสดุจากบ้านเก่าที่นำมาใช้ใหม่ได้ลุคน่ารัก

บ้านหน้าแคบ ทรงกล่องที่ขอเลือกนำกระเบื้องเกล็ดปลาจากบ้านเก่า มาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นผนังบ้านที่มีรายละเอียดดูน่ารัก แม้จะตั้งอยู่ในที่ดินหน้าแคบและลึก แต่กลับสามารถออกแบบบ้านให้ดูปลอดโปร่ง มีช่องแสงสกายไลท์อยู่ตรงกลางระหว่างอาคารสองก้อน ช่วยให้บ้านทั้งหลังดูสว่าง ไม่มืดทึบจากผนังสูงใหญ่ซึ่งถูกขนาบข้างดูเป็นส่วนตัวจากเพื่อนบ้านรอบ ๆ จุดเริ่มต้นของการออกแบบ บ้านหน้าแคบ หลังนี้ มาจากเจ้าของบ้าน เมื่อถึงคราวต้องขยับขยายสร้างบ้านใหม่บนที่ดินเดิมซึ่งทั้งแคบและยาว แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาของคู่สามีภรรยาเจ้าของบ้าน ผู้หลงใหลในธรรมชาติและความสงบเงียบเรียบง่าย กับบ้านที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นบนพื้นที่ที่ให้มีความเป็นส่วนตัวจากเพื่อนบ้าน ด้วยผนังบ้านทั้งสองด้านที่สูงชะลูด เด่นเป็นพิเศษด้วยการนำกระเบื้องเกล็ดปลา วัสดุจากบ้านเก่าที่ถูกนำมาเล่าใหม่ ให้กลายเป็นผนังและหลังคาบ้านส่วนหน้าที่แตกต่างไม่เหมือนใคร ที่นี่ออกแบบโดย CTA | Creative Architect ทีมสถาปนิกสัญชาติเวียดนาม บ้านขนาดสองชั้นที่เห็น ถูดจัดแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นพื้นที่ครึ่งหนึ่งด้านหน้าที่กำหนดให้เป็นสวนหย่อมเล็ก ๆ ก่อนเข้าสู่ตัวบ้านด้านในที่มีการแยกก้อนอาคารออกเป็นสองส่วน โดยมีเฉลียงขนาดกว้างสำหรับไว้ใช้นั่งเล่นพักผ่อน เชื่อมโยงสมาชิกให้ทุกคนมองเห็นกันและกันได้ง่าย ไม่ว่าจะใช้เป็นพื้นที่รับประทานอาหารว่างร่วมกัน หรืออ่านหนังสือ ชายคาที่ลดระดับลงได้โอบล้อมพื้นที่การเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทำให้เกิดพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย แต่ยังคงความโปร่งและยืดหยุ่นเอาไว้ โดยมีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคารทั้งสองเข้าด้วยกัน และรับแสงสว่างจากหลังคาสกายไลท์ด้านบน ช่วยให้บ้านมีแสงสว่างที่ทั่วถึง ลดความมืดทึบได้อย่างดี ในแง่ของวัสดุบ้านนี้เน้นใช้อิฐสีแดง และกระเบื้องเกล็ดปลาเก่า ซึ่งใกล้เคียงกับธรรมชาติ และให้ความรู้สึกที่โดดเด่น ไร้การปรุงแต่ง เพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นเรียบง่าย แต่ยังคงสร้างอารมณ์ที่หนักแน่นและมั่นคง นอกจากวัสดุที่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติแล้ว มุมสวนสีเขียวเจ้าของบ้านก็เลือกให้ความสำคัญไม่แพ้กัน อย่างการแบ่งพื้นที่ให้มีสวนตรงพื้นที่บริเวณหน้าบ้าน ขณะที่หลังบ้านก็มีมุมนั่งเล่นพักผ่อนเช่นกัน เพื่อให้คุณสามีได้ปลูกต้นไม้ […]

BIRMINGHAM COFFEE AND MINI APARTMENT อพาร์ตเมนต์ที่ซ่อนคาเฟ่ไซซ์มินิไว้ใต้อาคารหน้าแคบ

รีโนเวตตึกแถว หน้าแคบ ที่มีขนาดจำกัดเพียง39 ตารางเมตร และมีรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ให้ออกมามีฟังก์ชัน 2 รูปแบบ คือเป็นทั้งคาเฟ่ และอพาร์ตเมนต์ให้เช่าจำนวน 2 ห้อง อีกตัวอย่างการออกแบบพื้นที่พักอาศัยแบบมัลติฟังก์ชันที่สร้างรายได้ให้แก่เจ้าของอาคารในคราวเดียว ผลงานการรีโนเวตตึกแถว แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองญาจาง ประเทศเวียดนาม เป็นผลงานการออกแบบโดยทีมสถาปนิกจาก Chơn.a  มีความท้าทายอยู่ที่การออกแบบฟังก์ชันการใช้งานภายในอาคารที่แคบแสนแคบออกมาอย่างไรให้น่าอยู่ เหมาะสมกับการใช้งานทั้งการเปิดเป็นคาเฟ่ และอพาร์เมนต์ให้เช่า ตัวอาคารด้านหน้าโดดเด่นสะดุดตาด้วยฟาซาดที่ดูคล้ายเส้นริบบิ้นที่โรยตัวลงมาปกคลุมอาคารไว้สร้างเส้นสายดูพลิ้วไหว ฟาซาดที่เห็นทำจากเหล็กตาข่ายทำสีแดง สำหรับทำหน้าที่ช่วยกรองแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้ตกกระทบเข้าสู่พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารโดยตรง อีกทั้งยังเปิดรับแสงสว่างและให้ความโปร่งไปพร้อมกัน สามารถมองเห็นวิวต้นไม้และความเป็นไปภายนอกอาคารได้ โดยไม่ถูกปิดกั้นมุมมองและปิดทึบจนเกินไป ขณะเดียวกันแสงที่ส่องผ่านฟาซาดตาข่ายเหล็กเข้ามานี้ ยังช่วยสร้างแสงเงาตกกระทบลงบนพื้นผิววัสดุให้ดูมีมิตินุ่มนวลมากขึ้น สิ่งที่ชวนสังเกตอีกอย่าง การออกแบบให้มีช่องสกายไลท์วงกลมด้านบนบันไดวนที่นำสู่พื้นที่ชั้นบน เพื่อทำหน้าที่เชื่อมต่อธรรมชาติไว้ตรงกลาง พื้นที่แกนกลางนี้จึงรับหน้าที่ช่วยกระจายแสงให้ทั่วถึง ช่องบันไดด้านล่างและระหว่างชานพักออกแบบให้มีมุมปลูกต้นไม้ในร่มเล็ก ๆ สีเขียวสดของใบไม้ดูตัดกันดีกับขั้นบัน และผนังหินขัดสีแดง วัสดุที่ใช้สถาปนิกให้ความสำคัญกับวัสดุที่ทำด้วยมือและธรรมชาติแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นหินขัด หรือหินปูนธรรมชาติ เพื่อสร้างพื้นผิวที่สวยงามยามถูกแสงแดดตกกระทบอย่างผนังแต่ละด้านของราวบันได สัมผัสได้ถึงบรรยากาศและการเปลี่ยนผ่านของแสงอาทิตย์ที่ผาดผ่านในแต่ละช่วงเวลา ขณะที่ในยามค่ำคืนได้ติดตั้งไฟที่ช่วยสร้างแสงเงา ขับเน้นให้เกิดเสน่ห์ด้านมุมมอง เป็นตัวอย่างการออกแบบอาคารที่สร้างมูลค่าได้ทั้งสองธุรกิจ อีกแง่คือเป็นตัวอย่างของการจัดสรรพื้นที่ใช้งานให้อาคารขนาดเล็กไม่ใช่อุปสรรคของการอยู่อาศัย เป็นคำตอบว่า สถานที่แคบก็ใช่จะหาความสงบงามจากธรรมชาติไม่ได้ ออกแบบ – ภาพ : Chơn.a […]

บ้านอิฐ

P HOUSE บ้านอิฐดินเผา ที่เย็นสบายด้วยวัสดุและแนวคิดแบบยั่งยืน

โปรเจ็กต์การออกแบบ บ้านอิฐดินเผา ในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม พร้อมโจทย์การออกแบบที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน ผ่านการเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่นเดียวกับการออกแบบพื้นที่เพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต P House หรือ บ้านอิฐดินเผา หลังนี้ เป็นผลงานการออกแบบของ T H I A architecture ซึ่งมาพร้อมกับโจทย์ที่สร้างความท้าทายให้แก่สถาปนิกไม่น้อย เนื่องจากทำเลที่ตั้งมีความกว้างแค่เพียง 4.3 x 15 เมตร แถมยังถูกขนาบข้างด้วยอาคารเพื่อนบ้านและโรงงานเก่าทั้งสองด้าน ทำให้มีช่องเปิดมีอยู่แค่เฉพาะพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น การออกแบบจึงต้องเน้นย้ำเรื่องความปลอดโปร่งและแสงสว่างเป็นสำคัญ สถาปนิกจึงได้จัดการแก้ปัญหาทางกายภาพของที่ตั้ง ไปพร้อมกับการเน้นใช้วัสดุที่มีความยั่งยืน โดยส่วนใหญ่เป็นวัสดุทำมาจากธรรมชาติไร้การปรุงแต่ง เช่น อิฐ ไม้ และคอนกรีต ซึ่งสัมพันธ์กับธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ ช่วยให้บ้านมีทั้งความสวยงามและอยู่สบาย รูปลักษณ์ของอาคารมีจุดโดดเด่นคือ เปลือกอาคารอิฐดินเผาสีส้ม ที่ออกแบบให้มีระยะยื่นออกจากตัวบ้าน เพื่อไม่ให้แดดส่องเข้ามาถึงภายในบ้านโดยตรง อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นราวระเบียงและแผงกันแดดที่มีการจัดเรียงอิฐเป็นแพตเทิร์นง่าย ๆ โดยในวันอากาศดีสามารถเปิดผนังกระจกบานเลื่อนที่ซ้อนอยู่หลังระเบียงของแต่ละชั้นออกได้จนสุด เพื่อให้ลมพัดพานำความเย็นสบายและถ่ายเทความร้อน ขณะที่สีส้มของอิฐดูตัดกับใบไม้สีเขียวของพรรณไม้เลื้อยที่ห้อยระย้าลงมาจากระเบียงหลังคาเหนือพื้นที่จอดรถ ช่วยให้เกิดมุมมองที่สดชื่นสบายตา ลดความแข็งกระด้างจากวัสดุและอาคารทรงเหลี่ยมได้เป็นอย่างดี เมื่อเข้ามาภายในตัวบ้าน ชั้น 1 จะพบกับลานโล่งที่เชื่อมต่อกับคอร์ตสวนหลังบ้าน ก่อนจะขึ้นมาที่ชั้น 2 ชั้นนี้ประกอบด้วยมุมโซฟาสำหรับพักผ่อน โต๊ะรับประทานอาหาร […]