Design Archives - Page 6 of 36 - room

BENCHAKITTI RAIN FOREST OBSERVATORY แปลงโฉมสถาปัตยกรรมกลางสวนป่าสู่ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

โครงการออกแบบศาลา และหอสังเกตการณ์กลางสวนป่าภายใต้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ตั้งอยู่ใจกลาง สวนป่าเบญจกิติ แวดล้อมด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และระบบนิเวศทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ผลงานการออกแบบของ HAS design and research โดยงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล WOW อัศจรรย์เมืองน่าอยู่ ซึ่งจะจัดขึ้น ณ สวนเบญจกิติ ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา จากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวขั้นต่ำที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) สวนป่าเบญจกิติ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ จึงเป็นอีกพื้นที่สีเขียว ที่มอบวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีแบบใหม่ให้คนกรุงเทพฯ ด้วยแรงบันดาลใจจากสวนป่า หอสังเกตการณ์แห่งนี้ จึงดูเหมือนถูกปกคลุมด้วยใบไม้จำนวนมาก ไม่เพียงเหมือนเกาะพื้นที่ชุ่มน้ำที่ลอยอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนป่าฝนเขตร้อนล้ำค่าทางระบบนิเวศธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันสำหรับสัตว์และพืช  ช่วงกลางวัน หอสังเกตการณ์แห่งนี้เป็นเหมือนกิ้งก่าที่แฝงตัวในสวนสาธารณะ สมาร์ตบอร์ดเกือบ 100 แผ่นแผ่นทา 4 เฉดสีเขียวที่แตกต่างกัน โดยเลือกใช้สีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนเพื่อให้เกิดความสมดุลที่สมบูรณ์แบบกับสิ่งแวดล้อม ในตอนกลางคืน แถบไฟด้านหลังแผ่นสมาร์ตบอร์ดให้แสงสว่างในหลากหลายมิติ […]

Kevin Lynch

“เมือง และจินตภาพ” ความสำคัญของการอ่านเมืองเพื่อการสร้างความเข้าใจ ใน The Image of the City โดย Kevin Lynch

เมืองเป็นส่วนผสมที่ซับซ้อนของหลายสิ่ง ผู้คน ถนน รถรา ต้นไม้ สวน ตึกรามบ้านช่อง และองค์ประกอบอีกนับไม่ถ้วน นำมาซึ่งข้อสังเกตที่หลายคนเห็นตรงกันว่า เมืองเมืองหนึ่งจะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและแตกต่างจากเมืองเมืองอื่น แต่ในขณะเดียวกัน องค์ประกอบที่หลากหลายของเมืองนั้นก็อาจนำมาซึ่งความสลับซับซ้อนไปจนถึงสับสน หรือกระทั่งถูกมองว่าเป็นปัญหาของผู้อยู่อาศัยในหลายๆ การถกเถียง หนังสือ The Image of the City ตีพิมพ์ในปี 1960 เป็นความพยายามหนึ่งของการทำความเข้าใจและอธิบายความสลับซับซ้อนของเมือง ที่ Kevin Lynch นักคิดนักเขียนด้านผังเมืองชาวอเมริกันได้นำเสนอหนึ่งในวิธีคิดเกี่ยวกับเมืองในช่วงศตวรรษที่ 20 ช่วงเวลาที่หลายทฤษฎีเกี่ยวกับชุมชนเมืองปะทะสังสรรค์กันมากในโลกตะวันตก คำอธิบายของ Lynch ในเวลานั้นนับเป็นแง่มุมใหม่ที่แพร่หลาย และหลายคนก็ได้ยึดใช้เป็นทฤษฎีในการทำความเข้าใจเมือง ที่ยังคงส่งอิทธิพลต่อแนวคิดการออกแบบชุมชนเมืองมาจนถึงเวลาปัจจุบัน บทความนี้จะนำทฤษฎีของ Lynch จากหนังสือ The Image of the City โดย Kevin Lynch มาอธิบายอีกครั้ง โดยจะมาดูว่าใจความสำคัญคืออะไร มีอะไรที่น่ารู้หรือปรับใช้ได้บ้าง และอะไรคือความสำคัญของการ “อ่านเมือง” ที่ผู้เขียนนำเสนอ แนวคิดเรื่องชุมชนเมืองในศตวรรษที่ 20 เพื่อจะทำความเข้าใจความสำคัญของแนวคิดของ Kevin […]

HAPPIELAND กัญชาไลฟ์สไตล์สโตร์ในบรรยากาศชวนฉงน

HAPPIELAND ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาย่านเจริญกรุง โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร พร้อมบรรยากาศน่าฉงนชวนให้ทุกคนค้นหาไปพร้อมกัน มองจากภายนอก คงยากจะบอกว่าตึกแถวห้องริมสุดบนหัวมุมถนนเจริญกรุง 82 เป็นสำนักงาน ร้านค้า ร้านอาหาร หรือมีอะไรซ่อนอยู่ภายใน และด้วยผนังสีเทาทึบที่ทั้งหลบเร้นเข้าไปภายใน รวมถึงชื่อ HAPPIELAND บนผนัง ที่ทิ้งให้เปลือยเปล่าไว้ราวกับยังทาสีไม่เสร็จ ก็ทำให้ที่นี่ยิ่งน่าค้นหาขึ้นไปอีก ที่นี่ริเริ่มและดำเนินกิจการโดยกลุ่มเพื่อนครีเอทีฟ และนักออกแบบที่มีความสนใจร่วมกันในพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยอย่างกัญชา โดยการออกแบบร้านค้าแห่งใหม่เพื่อรองรับกิจกรรมที่รอวันเสรีอย่างสมบูรณ์นี้ก็สอดคล้องไปกับการออกแบบแบรนด์ในภาพรวม ที่เน้นความสนุกสนานและความคิดสร้างสรรค์ โดยแรกสุดนั้น ชื่อร้านมาจากไอเดียสนุกของการเล่นคำอังกฤษผสมการพ้องเสียงไทย อย่างการรวมคำว่า Happy กับ Hippie กลายเป็น Happie รวมกับการตั้งใจให้อ่านชื่อแบรนด์ “HAPPIELAND” อย่างไทยเป็น “แฮบ – พี้ – แลน” ที่ก็พ้องความหมายไปกับกิจกรรมการใช้กัญชาในเชิงสันทนาการ อารมณ์ขันและความสนุกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะหนึ่งของกัญชา จึงเป็นเนื้อหาหลักในการแบรนด์และการออกแบบร้านค้าไปพร้อมกัน โดยในส่วนของร้านค้านั้น สิ่งที่ผู้เยี่ยมชมจะสัมผัสได้เป็นอย่างแรกหลังจากเดินเข้าสู่พื้นที่ภายในคือบรรยากาศของห้องสีขาว สะอาด สว่าง ซึ่งตรงกันข้ามทุกประการกับบริบทและสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายภายนอกของเมืองกรุงเทพฯ โดยภายในตัวร้านค้านี้ ผู้ออกแบบได้สร้างสเปซใหม่เป็นการเฉพาะสำหรับหน้าร้านด้วยการกั้นพื้นที่ชั้นหนึ่งของตึกแถวเดิมด้วยการวางแผงกระจกล้อมเป็นวงกลม และเอนแผงกระจกทั้งหมดนั้นออก ผลลัพธ์ที่ได้ จึงเป็นห้องวงกลมที่ให้ความรู้สึกเหมือนผู้เยี่ยมเยือนจะยืนอยู่ในห้องกระจกรูปทรงกรวยกลับหัวอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับการได้พื้นที่เศษเหลือโดยรอบจากการล้อมกรอบพื้นที่ใช้สอยใหม่ในห้องของตึกเก่า ที่ระบุรูปทรงไม่ได้ ที่เอื้อให้เกิดพื้นที่ใช้ประโยชน์อย่างเคาน์เตอร์ชำระเงิน ช่องสต็อกสินค้า […]

รักษ์โลก ไปกับ MADMATTER STUDIO แบรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่เติบโตไปกับความยั่งยืน

คอลเล็กชั่น fall winter 2022 ที่ Madmatter ได้ปล่อยออกมาโดยต้องการให้เป็น คอลเลคชั่น Fall Winter 2022 ที่ Madmatter Studio ได้ปล่อยออกมา โดยต้องการให้เป็นคอลชั่นที่จริงจังมากขึ้น ซึ่งมีจุดเด่นคือเป็นการร่วมกันกับแบรนด์ knit circle เพื่อทดลองด้วยการนำวัสดุที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาให้เป็น full-line fashion แบบครบจบทั้งตัวในคอลเลคชั่นเดียว จนเกิดเป็นไอเท็มใหม่ ๆ อย่างเสื้อไหมพรม เสื้อโปโล และเสื้อยืดซึ่งเป็นไอเท็มที่สามารถใส่ได้ทุกวัน ทุกโอกาส แต่อะไรคือแก่นความคิดที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาแบรนด์ครั้งนี้ จนได้มาถึงจุดสมดุลระหว่างธุรกิจแฟชั่น และความยั่งยืนใส่ใจสิ่งแวดล้อม ก่อเกิดเป็นผลงานที่ดีไซน์มาแล้วใช้ได้จริง นี่คือบทสัมภาษณ์ผู้อยู่เบื้องหลัง Madmatter Studio ผู้สนใจธุรกิจแฟชั่นดีไซน์บนความยั่งยืน

เปิดแล้ว! LIXIL Experience Center  สัมผัสประสบการณ์ใหม่ของห้องครัวและห้องน้ำจากหลากแบรนด์ดัง

ลิกซิล (LIXIL) ผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดการน้ำและที่อยู่อาศัย เปิดตัว LIXIL Experience Center หรือ LEC โชว์รูมมิติใหม่ในสไตล์การตกแต่งเรียบหรูแบบญี่ปุ่น ที่จะมอบประสบการณ์การเข้าชมที่เรียกว่า multi-sensory experience ให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสทั้งผลิตภัณฑ์จริง และผ่านโลกดิจิทัลด้วยตัวเองในรูปแบบที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน LIXIL Experience Center ได้รับการออกแบบเพื่อปลุกเร้าทุกประสาทสัมผัสด้วยดีไซน์ เสียง และกลิ่นที่ล้ำสมัยและเป็นเอกลักษณ์  โดยผู้เข้าชมจะได้สัมผัสนวัตกรรมจากพาวเวอร์แบรนด์ของลิกซิล ได้แก่ โกรเฮ่ (GROHE) อเมริกันสแตนดาร์ด(American Standard) และ อิแน็กซ์ (INAX) ที่มาพร้อมดีไซน์ที่โดดเด่นและโซลูชันที่หลากหลาย เพื่อสร้างความเป็นไปได้แบบไร้ขีดจำกัด นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์พิเศษราวกับอยู่ในสปาส่วนตัวในพื้นที่จัดแสดง GROHE SPA ที่มาพร้อม GROHE AquaSymphony ที่แสดงการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันน้ำตามความต้องการใช้งาน หรือชมการสาธิตนวัตกรรมการใช้น้ำ ณ  พื้นที่จัดแสดงพิเศษหลายจุดที่กระจายอยู่ทั่วทั้ง LEC ซาโตชิ โคนาไก (Satoshi Konagai) ลีดเดอร์ LIXIL Water Technology ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีเพื่อการจัดการน้ำ ลิกซิลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก ความใกล้ชิดของเรากับผู้บริโภคทำให้ได้รู้ข้อมูลตลาดเชิงลึกในส่วนที่ไม่มีใครเข้าถึงมาก่อน ซึ่งเรามองว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญหน้ากับแนวโน้มระดับมหภาค (macro trends) ที่สำคัญสามด้าน ทั้งด้านสุขภาพและความเป็นที่อยู่ที่ดี ความยั่งยืน และการขยายตัวของสังคมเมือง LEC กรุงเทพฯ จะช่วยปูทางประสบการณ์ส่วนบุคคลให้ได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์หลากหลายหมวดหมู่ และจากหลากหลายแบรนด์ภายใต้ลิกซิล […]

Loqa แบรนด์วัสดุที่ตั้งใจสร้างการหมุนเวียนของเศษวัสดุก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์

วัสดุเหล่านี้อาจดูเหมือนวัสดุก่อสร้างโดยทั่วไป แต่แท้จริงแล้วนี่คือวัสดุที่ตั้งใจสร้างการหมุนเวียนของเศษเหลือวัสดุ เพื่อเกิดเป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์และวัสดุก่อสร้างแนว Circular Design ในนาม loqa Loqa เป็นแบรนด์ไทยที่ก่อตั้งโดย คุณนนท์-นรฤทธิ์ วิสิฐนรภัทร และ คุณมาย-มนัสลิล มนุญพร ด้วยความหวังในการเริ่มต้น “ทำ” ในสิ่งที่ทำได้ เพื่อความยั่งยืนของโลกอย่างเป็นรูปธรรม วัสดุก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ คือสิ่งที่ทั้งสองให้ความสนใจ และด้วยพื้นฐานธุรกิจทางบ้านของคุณนนท์ที่เป็นผู้ผลิตอิฐทนไฟ การเริ่มต้นกับวัสดุประเภทอิฐจึงไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินกำลัง Loqa เริ่มต้นจากการทดลองใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งหลากหลาย เช่น เซรามิก แก้วจากขวดเก่า หรือวัสดุอื่นๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ หรือขยะทางการเกษตร ณ ปัจจุบัน Loqa แบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นคือ กลุ่มประเภท Surface เช่น วัสดุก่อผนัง ปูพื้น และอิฐช่องลม และกลุ่มประเภทงาน Casted หรือการหล่อขึ้นรูปเป็นชิ้นงาน เช่น แจกัน ประติมากรรม เชิงเทียง และกระถาง จุดเด่นของ Loqa […]

Module collection จาก DEESAWAT โต๊ะก็ดี เก้าอี้ก็ได้ กระถางต้นไม้ก็ยังได้อีก!

Module collection โปรเจ็คต์ที่เกิดจากความร่วมมือของ DEESAWAT x SCG x Jacob Jensen Design|KMUTT ที่พยายามพลิกมุมมองเพื่อสร้าง “ความยั่งยืน” ในงานออกแบบ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แม้ปัจจุบันได้มีผู้ประกอบการหลายรายนำวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งหรือลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ทำอยู่นั้น อาจเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และหากไม่มีการออกแบบที่ครบวงจรเพื่อลดปัญหาดังกล่าว เราก็คงต้องปัญหานั้นอย่างไม่มีวันจบสิ้น MODULE collection ออกแบบภายใต้การคำนึงถึงการออกแบบที่ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ Lifecycle แรกของตัวสินค้า และยังมีการออกแบบฟังก์ชั่นให้ Lifecycle ที่ 2 อีกด้วย ในส่วนของที่นั่งไม้สัก เป็นไม้ที่มีการใช้งานได้คงทนทั้งภายนอกภายใน จึงมีการออกแบบให้เรียบง่าย และมีกระบวนการไสไม้ให้น้อยที่สุด เผื่อว่าอนาคตสามารถนำไม้ดังกล่าวไปใช้เป็นวัสดุใหม่ในการทำผลิตภัณท์ต่างๆ และส่วนของซีเมนต์จาก SCG นั้น ผลิตด้วยกระบวนการ 3D printing เพื่อลดการทำแม่พิมพ์ในการขึ้นชิ้นงาน และยังมีการออกแบบเซาะร่องในตัวชิ้นงาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นสนาม หรือรั้วต้นไม้ได้ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานแล้วหรือมีการแตกหักเสียหาย DEESAWAT เลือกร่วมงานกับ SCG โดยมีเป้าหมายในการทดลองนำปูนซีเมนต์กลับมารีไซเคิล ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะมีต้นทุนในการขนย้ายสูง และต้องใช้เครื่องจักรที่ใหญ่มากในการบดย่อยสลาย ดังนั้นถ้าเจ้าของสินค้าสามารถนำชิ้นงานซีเมนต์ไปใช้ใหม่ได้ด้วยตัวเอง […]

INFINITUDE ด้วยวัฏจักรอันไม่มีที่สิ้นสุด

PIPATCHARA แบรนด์แฟชั่นไทยในเวทีโลกที่บอกเลยว่าไม่ธรรมดา โดย คุณเพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา และ คุณทับทิม-จิตริณี แก้วจินดา ด้วยแนวคิดการใช้แรงขับเคลื่อนของโลกแฟชั่นเพื่อสร้างการมีส่วนรวมย้อนกลับไปช่วยเหลือชุมชน จนเกิดเป็นคอลเลคชั่น Infinitude ที่ไม่เพียงเลือกช่างฝีมือไทยในการผลิตเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุหลักของคอลเลคชั่นเป็น “พลาสติกกำพร้า” อีกด้วย Fashion for Community หรืองานออกแบบที่สร้างการมีส่วนร่วมกลับคืนสู่สังคม คือแนวทางการทำงานของ PIPATCHARA ตลอดมา เมื่อมาถึงคอลเลคชั่น Infinitude นี้ จึงเริ่มมองหามิติของความยั่งยืนที่หลากหลายออกไป ความไม่มีที่สิ้นสุดในความหมายของ Infinitude นั้นสามารถแปลออกมาได้ทั้งมิติของการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเลือกทำงานกับครูที่แม่ฮ่องสอนเพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับเหล่าครู ออกแบบชิ้นส่วนต่างๆโดยคำนึงถึงการทำงานกับคนในชุมชน ตลอดจนวัตถุดิบที่เหลือใช้ก็มาจากการรวมรวบขยะพลาสติกที่ไม่สามารถนำกลับเข้าระบบได้ หรือที่เรียกว่า ‘พลาสติกกำพร้า’ มาใช้เป็นวัสดุหลัก จึงเป็นที่มาของคำว่า Infinitude เราต้องการต่อยอดความเป็นไปได้เหล่านี้ให้ต่อเนื่องไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากตัวชิ้นงานเองแล้ว ก็หวังว่าคอลเลคชั่นนี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆของ Circular Economy ที่จับต้องได้เช่นกัน พลาสติกกำพร้า เหมือนไร้ค่า แต่สร้างสรรค์ได้ด้วยงานออกแบบ พลาสติกที่เลือกใช้ในคอลเลคชั่นนี้ทั้งหมดคือ ‘พลาสติกกำพร้า’ ซึ่งเป็นขยะที่ไม่มีมูลค่าในตลาด ไม่ถูกนำไปใช้ซ้ำ รีไซเคิลก็ให้กลับมาเป็นตัวมันเองก็ไม่ได้ เราใช้พลาสติกที่มาจาก Post-Consumer Waste ซึ่งคือพลาสติกที่ผ่านการใช้มาจากในครัวเรือนมาแล้ว […]

นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul เสียงจากที่ไกล เสียงจากหัวใจที่ต้องการเพียง “สื่อสารกัน” ณ BACC

ฉับพลันที่เดินเข้ามาในห้องจัดแสดงของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร(BACC) ความวุ่นวายของแยกปทุมวันก็มลายหายไปทันใดที่ปิดประตู คงเหลือแต่สรรพเสียงที่เราไม่คุ้นชิน เสียงของธรรมชาติที่คล้ายแว่วมาจากที่ไกล เสียงของ “ชีวิต” ที่กำลังถูกใช้ในบริบทที่ไม่ใช่เมือง อาจจะเป็นป่าในภูเขาสักที่ เสียงที่กำลัง “พูด” ด้วยภาษาที่เราไม่คุ้นเคย “เสียง” ที่รับรู้ได้ แม้ไม่เข้าใจความหมาย แต่กลับสื่อสารกันเข้าใจ นี่คือ นิทรรศการที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในชื่อว่า “นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul” โดยความร่วมมือระหว่าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกลุ่มศิลปิน Hear&Found, ศุภชัย เกศการุณกุล และ DuckUnit ซึ่งในวันนี้ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณ ฟ้า กัณหรัตน์ เลี่ยมทอง หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม และ ภัณฑารักษ์ (Curator) ของนิทรรศการในครั้งนี้ รวมทั้งศิลปินที่มาร่วมจัดแสดงทั้งสามกลุ่ม ถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่แฝงอยู่ใน “เสียง” ที่พวกเขาเลือกนำมาจัดแสดง นำเสนอประเด็นปัญหาผ่านภาษาศิลปะ “ประเด็นด้านความเหลื่อมล้ำ เป็นความสนใจของตัวฟ้าเองอยู่แล้ว นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งใจสร้างให้เกิดเป็นนิทรรศการนี้ขึ้น แต่ในนิทรรศการนี้จะเลือกใช้ “เสียง” เป็นสิ่งแทนของผู้คนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มันเป็นสิ่งที่เรานึกถึงเมื่อต้องนำมาผูกโยงกับคำว่า […]

BAAN BRAIN CLINIC คลินิกในตึกแถวที่อบอุ่นเหมือนบ้าน

Baan Brain Clinic Chiang Rai เป็นโครงการออกแบบเปลี่ยนโฉมตึกแถวตำแหน่งหัวมุมให้กลายเป็นคลินิกด้านสมองและระบบประสาทของ นพ.วัชระรัตนชัยสิทธิ์ คุณหมอด้านประสาทวิทยาที่จังหวัดเชียงราย “อยากให้คนไข้ที่มาที่นี่รู้สึกเหมือนกลับบ้านมาให้ลูกหลานดูแล” คือโจทย์ตั้งต้นในการออกแบบที่คุณหมอให้ไว้ให้กับทีม 1922 Architects ตัวอาคารมีพื้นที่ใช้สอย 70 ตร.ม. ซึ่งมีลักษณะเดิมเป็นโถงสูงด้านหน้าและมีชั้นลอยด้านหลัง เมื่อเทียบกับพื้นที่ใช้งานที่จำเป็นต้องมี ซึ่งได้แก่ โถงพักคอย เคาน์เตอร์ต้อนรับ ห้องตรวจ ห้องหัตถการ ห้องน้ำ พื้นที่พักผ่อนของคุณหมอ และพื้นที่เก็บของ ขนาดพื้นที่ 70 ตร.ม. จึงถือเป็นพื้นที่ที่จำกัดมาก อีกทั้งช่องเปิดที่มีไม่มาก ทำให้ภายในค่อนข้างมืดและอึดอัดตามลักษณะของตึกแถวทั่วไป  ผู้ออกแบบจึงรักษาลักษณะของโถงสูงหรือ Double volume ไว้สำหรับทำเป็นพื้นที่พักคอยและเคาน์เตอร์ต้อนรับด้วยความสูงของฝ้าเพดานเดิม 4.75 ม. ส่วนห้องตรวจและห้องหัตถการที่อยู่ด้านหลังเคาน์เตอร์ ก็วางฝ้าเฉียงล้อไปกับท้องพื้นของบันไดเดิมเพื่อให้ห้องที่ถูกจำกัดหน้ากว้างด้วยความแคบของตึกแถวดูโล่งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อีกทั้งภายในระหว่างห้องตรวจและห้องหัตถการถึงแม้จะมีประตูแยกเข้า แต่ภายในกั้นแยกโดยใช้เพียงผ้าม่านที่สามารถเปิดโล่งเชื่อมกันได้ หากต้องการใช้ห้องตรวจใหญ่เพียงห้องเดียว ซึ่งห้องตรวจนี้หากมองจากโถงต้อนรับจะเห็นเป็นผนังสูงจรดฝ้า โดยตรงมุมห้องถูกออกแบบให้เป็นผนังโค้งแทนมุมห้องสี่เหลี่ยมแบบทั่วไป ช่วยลดความอึดอัดของพื้นที่ เส้นสายที่เกิดขึ้นช่วยสร้างบรรยากาศให้อ่อนละมุนขึ้น ลดทอนความแข็งในเส้นสายขององค์ประกอบอื่นๆ ในอาคารได้อย่างลงตัว แม้ฟังก์ชันจะเรียบง่ายแต่ก็แฝงไปด้วยทุกรายละเอียดในการออกแบบ โดยเฉพาะด้านการสร้างบรรยากาศแวดล้อมภายในคลินิกเพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับคนไข้ที่เข้ามารับบริการ โดยทางผู้ออกแบบได้นำประสบการณ์จากการเป็นหนึ่งในทีมออกแบบโรงพยาบาลราชพฤกษ์ จังหวัดขอนแก่นมาปรับใช้ โดยให้ความสำคัญกับแสงและลมธรรมชาติ เพราะแสงธรรมชาติมีผลต่อความรู้สึกเชิงบวกของผู้ป่วยโดยตรง หน้าต่างและบล็อกแก้วใสจึงถูกนำมาใช้แทนผนังทึบด้านใน […]