Art Archives - room

บทสนทนาของช่างปั้นหม้อ พิม สุทธิคำ ที่เชื่อมโยงความทรงจำผ่านผืนดิน

พูดคุยกับ พิม สุทธิคำ และผลงานล่าสุดซึ่งจัดแสดงอยู่ใน BkkArtBiennale 2024 ณ One Bangkok “A Conversation with a Potter” บทสนทนาระหว่างช่างปั้นหม้อจากสองกาลเวลาที่เชื่อมโยงความทรงจำของผืนดินด้วยดินจากแผ่นเปลือกโลกเดียวกันที่ผ่านเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน ที่มาของผลงาน “ดินผืนเดียวกัน” “ผลงานชุดนี้เริ่มต้นจากการที่พิมเติบโตและอาศัยในใจกลางเมืองหลวงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเมืองใหญ่ จึงได้ตั้งข้อสังเกตต่อการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ขุดเจาะผืนดินลึกลงไปจากพื้นถนนจนพบดินเหนียวในชั้นดินลึก ซึ่งมีลักษณะไม่ต่างกันกับดินเหนียวที่มนุษย์นำมาใช้ทำภาชนะดินเผาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดินเหนียวแบบเดียวกันนี้เองที่ก่อตัวขึ้นในกาลเวลาที่ย้อนไปไกลนับล้านปี สู่สภาพก่อนจะกลายมาเป็นเมือง เชื่อมต่อเป็นดินก้อนเดียวกัน จากแผ่นเปลือกโลกเดียวกันกับแหล่งวัฒนธรรมบ้านเก่า ซึ่งอยู่บริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย” “พิมนำดินเหนียวที่อยู่ลึกลงไปใต้ชั้นดินจากโครงการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่ประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯและโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินในจุดต่างๆ โครงการรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน การสร้างตึกสูง หรือแม้แต่ในโครงการ One Bangkok นี้ก็ตาม มาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำและสร้างภาชนะขึ้นด้วยมือและปลายนิ้วของตนด้วยกระบวนการภายใต้ข้อจำกัดของเครื่องมือและเทคนิคเช่นเดียวกับช่างปั้นหม้อในอีกกาลเวลาหนึ่ง ภาชนะที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกันกับภาชนะดินเผาก่อนประวัติศาสตร์และภาชนะที่มีรูปทรงที่สะท้อนการใช้งานในปัจจุบันเหล่านี้เป็นเสมือนสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน” บทสนทนาของช่างปั้นต่างยุค “แม้ว่าจะเป็นดินผืนเดียวกัน แต่ผลงานชิ้นนี้ก็เกิดขึ้นจากดินในหลายแห่งของกรุงเทพมหานคร โดยที่ตั้งใจให้รูปฟอร์มที่เกิดขึ้นนั้น มีลักษณะคล้ายชิ้นงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นทิศทางที่สังคมกำลังมุ่งไป แต่ในขณะเดียวกันผลงานชิ้นนี้ก็ได้แฝงเอาไว้ถึงความตั้งใจในการที่จะสื่อสารกับศิลปินเครื่องปั้นดินเผาปัจจุบันที่สามารถเลือกเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีที่ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้นได้ แต่กลับย้อนไปใช้วิธีการเดียวกันกับหม้อสามขาโบราณ โดยแทบไม่ได้ใช้เครื่องมือในปัจจุบันเลย ทั้งการใช้เตาฟืน การเลือกแหล่งดินในพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนวิธีการขึ้นรูป เกิดเป็นบทสนาทนาของช่างปั้นหม้อก่อนประวัติศาสต์ สู่งานในศตรวรรษที่ 21 นี้” ประวัติศาสตร์ผ่านพื้นผิวของผลงาน “การใช้เทคนิค […]

งานศิลป์ ก็ต้องชมที่หอศิลป์ และนี่คืองาน BAB2024 ซึ่งจัดแสดง ณ The National Gallery of Thailand หอศิลปเจ้าฟ้า

น่าดูชมสมชื่อสถานที่เพราะนี่คือผลงานศิลปะสุดจัดจ้านแบบ “ตัวแม่” ซึ่งสะท้อนผ่านสีสันและแนวคิดแปลกตา ฉีกบรรยากาศหอแสดงงานศิลปะแห่งชาติในความทรงจำโดยสิ้นเชิง งานจัดแสดงที่กล่าวถึง “ความเป็นแม่” ตามธรรมชาติ อย่าง พระแม่ธรณี คือผืนดินที่เปรียบเสมือนเป็นแม่ผู้โอบอุ้มสรรพสิ่งเอาไว้ มีผลงานศิลปะที่เล่าเรื่องชนเผ่าชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ใกล้ชิดผืนดิน ไปจนถึงผลงานการตีความหญิงสาวในความเชื่อแบบเทวนิยม สู่งานประติมากรรมที่ท้าทายความเชื่อ ในผลงาน Project Pleiades ของ Agnes Arellano รูปเทพี 4 องค์ ที่ศิลปินตีความใหม่เป็นรูปปั้นที่มีสีสัน ศิลปินรวมเทพีทั้งสี่ให้อยู่ใน ‘กายา‘ หรือจักรวาลที่เป็นหนึ่งเดียวภายในห้องสี่เหลี่ยมแสงไฟสลัว ให้ผู้ชมสัมผัสถึงบรรยากาศความเป็นขั้วตรงข้ามกัน คือ พลังอำนาจ ความแข็งแกร่งของเทพีหรือพระแม่ทั้งสี่ที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความเป็นผู้หญิง ที่แผ่กระจายรัศมีของแต่ละองค์อยู่ในอาณาพื้นที่ซึ่งศิลปินสร้างขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลงานศิลปะที่น่าสนใจอีกหลายชิ้น ซึ่งสอดแทรกอยู่ในหอศิลป์ ที่ยังจัดแสดงผลงานศิลปะของศิลปินเอกของไทยที่เป็นผลงานบันทึกประวัติศาสตร์ จัดแสดงสลับห้องกันกับผลงานของงาน BAB สร้างความแปลกตา และบรรยากาศที่แตกต่างกลายเป็นความพิเศษเฉพาะตัวในการเดินชมผลงานภายในหอศิลป์ ที่เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในความทรงจำ สำหรับแนวคิดหลักในปีนี้ “รักษา กายา (Nurture Gaia)” จะเป็นการมุ่งเน้นที่จะถ่ายทอดความหมายที่แตกต่างของธรรมชาติ การเลี้ยงดู ความเป็นผู้หญิง และการครุ่นคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยา การเมือง หรืออำนาจเหนือธรรมชาติต่าง ๆ ผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัยจากทั่วโลกด้วยสื่อศิลปะที่หลากหลาย เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัจจุบัน กระตุ้นให้ฉุกคิด รวมทั้งมองหาวิธีใหม่ในการจัดการกับประเด็นปัญหาของอนาคตในด้านสังคม […]

เมื่อศิลปะสมัยใหม่ แนบเนียนไปวัตถุโบราณ ท้าทายให้คุณมาชี้ชัด ว่าคุณค่าของงานศิลป์คืออะไร? ใน BAB2024

ในปีนี้ Bangkok Art Biennale 2024 ได้มีพื้นที่ในการจัดแสดงที่น่าสนใจอย่างยิ่งนั่นคือที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร หรือ National Museum Bangkok (Phranakorn) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชม ได้รับชมทั้งโบราณวัตถุ และชิ้นงานศิลปะร่วมสมัยไปพร้อมกัน เป็นประสบการณ์ที่พิเศษน่าสนใจอย่างที่ไม่มีใครเหมือนเลยจริงๆ โดยที่เดิมทีนั้นภายในอาคารศิวโมกขพิมาน ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร หรือวังหน้า เป็นสถานที่จัดแสดงวัตถุโบราณของกรมศิลปากร แต่วันนี้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นพื้นที่ใหม่ของเทศกาลศิลปะ Bangkok Art Biennale 2024 ใครไปชมรับรองอาจต้องแปลกใจว่าชิ้นไหนของใหม่ ชิ้นไหนของเก่า ชิ้นไหนเป็นศิลปะร่วมสมัย ชั้นไหนเป็นโบราณวัตถุ เพราะผลงานศิลปินที่จัดแสดงที่นี่นั้นจัดวางได้อย่างแนบเนียนไปกับศิลปะวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ ชวนไปผู้เข้าชมเชื่อมร้อยเรื่องราวของแต่ละยุคสมัยเข้าหากันด้วยจินตนาการที่เกิดจากประสบการณ์ของตัวเอง หากคุณเดินชมผลงานศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เป็นเครื่องปั้นดินเผารูปวัว แล้วถัดไปอีกหน่อยก็อาจเจอกับโมเดลของ ‘หมูเด้ง‘ ซึ่งเป็นรูปทรงของสัตว์เหมือนกัน ด้วยเหตุแห่งการก่อเกิดงานศิลป์ที่คล้ายกัน แต่มาจากคนละยุค คนละบริบทช่วงเวลาโดยสิ้นเชิง “สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนบทสนทนาของความคิดที่ต่างยุคสมัย และเป็นสิ่งที่ภัณฑารักษ์ต้องการจะชวนให้ทุกคนตั้งคำถาม กับวัตถุจัดแสดงที่ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ว่าชิ้นไหนเป็นของจริง และชิ้นไหนเป็นของทำใหม่ และอีกหนึ่งคำถามก็คือบทบาทของพิพิธภัณฑ์กับแกลเลอรี่ ว่าทั้งสองสถานที่นั้นมีหน้าที่ทำอะไร พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่สำหรับเก็บสะสมงานในประวัติศาสตร์อย่างเดียว หรือสามารถที่จะจัดแสดงผลงานที่ทำขึ้นใหม่ เฉกเช่นแกลเลอรี่ได้หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คืองานในประวัติศาสตร์นั้นครั้งหนึ่งก็เคยเป็นผลงานที่ทำขึ้นใหม่ในยุคสมัยนั้นนั้น จึงกลายเป็นการรวบรวมคำถามที่ชวนผู้ชมให้ได้มาตื่นเต้นกับการค้นพบสิ่งใหม่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติแห่งนี้” Parvati โดย Ravinder Reddy (คำอธิบายผลงานโดย Bangkok […]

4 จุดสุดจริง Bangkok Art Biennale 2024 “Nurture Gaia” เริ่มเที่ยวงาน BAB2024 ไปไหนดี?

จะเที่ยวงาน BAB 2024 เริ่มต้นที่ไหนดี? เพราะนี่คือมหกรรมศิลปะที่รวม 200 ชิ้นงานมาจัดแสดงใน 11 พื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานครแห่งนี้ จาก 76 ศิลปินระดับโลก และอีกมากมาย และเรา คัดมาให้แล้วกับ 4 จุดหมายระดับชาติที่คุณ! พลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง!! เริ่มขึ้นแล้วกับ “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024” BkkArtBiennale บอกเลยว่า ปีนี้จัดใหญ่ จัดจริง เพราะเกือบทุกชิ้นคัดสรรมาแล้วแบบกระแทกหน้ากระแทกใจ ไม่ว่าจะสเกลขนาดที่ใหญ่เต็มตา รับชมได้ในประสบการณ์สุดพิเศษ หรือการเลือกจัดแสดงเปรียบเทียบกับชิ้นงานทางประวัติศาสตร์ด้วยประเด็นที่จะยกระดับแนวคิดไปอีกขั้น ทั้งหมดนี้จัดแสดงทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร ตลอด 5 เดือน จนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์เลยทีเดียว เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะไปชมผลงานทั้งหมด เราอยากจะแนะนำเส้นทางชมงานผ่าน 4 จุดหมายที่น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่เต็มอิ่มอย่างแน่นอน Queen Sirikit National Convention Center (QSNCC) —>National Museum Bangkok (Phranakorn)–> The National Gallery of […]

Telle mère tel fils เครื่องบินที่ถักทอ ดุจมารดา ดั่งบุตร โดย อเดล อับเดสเซเหม็ด

Telle mere tel fils (ดุจมารดาดั่งบุตร) ประกอบด้วยเครื่องบิน สามลำ ห้องนักบิน และลำตัวผ้าสักหลาดเป่าลม ส่วนต่าง ๆ บิดให้พ้นกันยุ่งทำให้เครื่อง บินดูเหมือนงู ราวกับว่าเทคโนโลยีกลศาสตร์ได้ย้อนกลับไปสู่ธรรมชาติดั้งเดิม การพับเช่นนี้มีที่มาจากเทคนิคการทำขนมอบของมารดาของศิลปิน การที่อับเดสเซเหม็ดอ้างถึงมารดาและการทำอาหารของเธอ นำเราไปสู่ความอบอุ่นและสายใยระหว่างลูกชายกับมารดาที่ปรากฏในงาน Bourek (2548) ของเขา ด้วยการเปลี่ยนวลีที่ใช้กันทั่วไปอย่าง “Like father like son” (ดุจบิดาดั่งบุตร) ให้เป็น “like mother like son” (ดุจมารดา ดั่งบุตร) ศิลปินได้แปรรูปเศษโลหะเป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่มีความหมาย มีรูปเชิงสัญลักษณ์ของมารดาเป็นศูนย์กลาง นี่คือ หนึ่งในชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของปีนี้ ให้ความรู้สึกจมลึกเข้าไปร่วมสัมผัสเป็นส่วนหนึ่ง ณ ชั้นใต้ดินของศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีเครื่องบินสามลำ เกี่ยวพันถักทออย่างแฝงนัยยะอันหลากหลาย บ้างก็ตีความถึงการอพยพถิ่นฐาน บ้างก็ตีความถึงทุนนิยมที่กำลังเร่งไป แต่ใดใดคืองานชิ้นนี้ เซลฟี่ด้วยแล้วขึ้นมาก! เราประทับใจกับการจัดแสดงในพื้นที่สุดแสนประหลาดใจนี้ เพราะเมื่อลงบันไดเลื่อน และเดินเข้าสู่ BAB BOX ณ Queen Sirikit National […]

COLLECTIVE by Cloud 11 เทศกาลศิลปะวัฒนธรรม ตึกเก่าร่วมสมัย งานศิลป์ เวทีใหม่ของนักสร้างสรรค์ ณ South Sukhumvit

COLLECTIVE by Cloud 11 ครีเอเตอร์เฟสติวัล ครั้งแรก! ที่รวมงานนิทรรศการ ดนตรี ทอล์ค และเหล่าครีเอเตอร์กว่า 50 ชีวิต ลงทะเบียนเข้าชมงาน: https://bit.ly/COLLECTIVE2023 COLLECTIVE by Cloud 11 งานครีเอเตอร์เฟสติวัลครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดขึ้นโดย Cloud 11 ฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยมีเป้าหมายให้เป็นงานที่รวบรวมกลุ่มครีเอเตอร์ที่ต้องการสร้างสรรค์ผลงานและคอนเทนต์รูปแบบใหม่ๆ จากการการดำเนินงานร่วมกัน (Synergy) ความร่วมมือ (Collaboration) และการแบ่งปัน (Sharing) ทักษะ ความรู้ และความสามารถเฉพาะตัวของครีเอเตอร์แต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ การออกแบบ วัฒนธรรม ความคิด นวัตกรรม ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์อันน่าทึ่งเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ Cloud 11 ที่มีแนวคิด “Empowering Creators” ติดปีกคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ผ่านความตั้งใจที่จะเป็นฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่มีระบบนิเวศการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ครบถ้วน และเปิดเวทีแสดงออกให้เหล่านักสร้างสรรค์และคนรุ่นใหม่ได้จุดประกายแรงบันดาลใจ สนับสนุนการทำงานข้ามอุตสาหกรรม และสะท้อนศิลปะวัฒนธรรมของครีเอเตอร์ไทยผ่านงานนี้ ภาพ และเรียบเรียง: Wuthikorn Sut

นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul เสียงจากที่ไกล เสียงจากหัวใจที่ต้องการเพียง “สื่อสารกัน” ณ BACC

ฉับพลันที่เดินเข้ามาในห้องจัดแสดงของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร(BACC) ความวุ่นวายของแยกปทุมวันก็มลายหายไปทันใดที่ปิดประตู คงเหลือแต่สรรพเสียงที่เราไม่คุ้นชิน เสียงของธรรมชาติที่คล้ายแว่วมาจากที่ไกล เสียงของ “ชีวิต” ที่กำลังถูกใช้ในบริบทที่ไม่ใช่เมือง อาจจะเป็นป่าในภูเขาสักที่ เสียงที่กำลัง “พูด” ด้วยภาษาที่เราไม่คุ้นเคย “เสียง” ที่รับรู้ได้ แม้ไม่เข้าใจความหมาย แต่กลับสื่อสารกันเข้าใจ นี่คือ นิทรรศการที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในชื่อว่า “นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul” โดยความร่วมมือระหว่าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกลุ่มศิลปิน Hear&Found, ศุภชัย เกศการุณกุล และ DuckUnit ซึ่งในวันนี้ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณ ฟ้า กัณหรัตน์ เลี่ยมทอง หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม และ ภัณฑารักษ์ (Curator) ของนิทรรศการในครั้งนี้ รวมทั้งศิลปินที่มาร่วมจัดแสดงทั้งสามกลุ่ม ถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่แฝงอยู่ใน “เสียง” ที่พวกเขาเลือกนำมาจัดแสดง นำเสนอประเด็นปัญหาผ่านภาษาศิลปะ “ประเด็นด้านความเหลื่อมล้ำ เป็นความสนใจของตัวฟ้าเองอยู่แล้ว นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งใจสร้างให้เกิดเป็นนิทรรศการนี้ขึ้น แต่ในนิทรรศการนี้จะเลือกใช้ “เสียง” เป็นสิ่งแทนของผู้คนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มันเป็นสิ่งที่เรานึกถึงเมื่อต้องนำมาผูกโยงกับคำว่า […]

OUR MOMENT IN MINE  ด้วยจังหวะและความบังเอิญ

OUR MOMENT IN MINE คือนิทรรศการภาพถ่ายเพื่อแบ่งปันความทรงจำของช่วงเวลาที่ไกลบ้านและความต่างของวัฒนธรรมและตะวันตกตลอดช่วงเวลา2-3ปีที่ผ่านมาของศิลปิน ผู้มาชมไม่เพียงได้เสพสุนทรียะจากภาพถ่ายที่น่าสนใจแต่หากสังเกตุทั้งการจัดวางและเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในนิทรรศการ อาจได้พบความหมายของการดูภาพและการเก็บภาพเป็นของตัวเองเป็นที่ระลึก และด้วยความไม่จงใจและเป็นอิสระจากกฎขณะที่ถ่ายภาพนั้น จิรันธนิน เธียรพัฒนพล หรือ “กัสจัง” ยูทูปเบอร์ นักศึกษา และช่างภาพอิสระวัย 18 ปี จึงผลงานคว้ารางวัล Gold Key จากงานประกวดภาพถ่ายเวที Scholastic Art & Writing Awards 2022 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา องค์ประกอบสำคัญคือการเชื่อมโยงรายละเอียดที่อยู่ภายใน “ก่อนอื่นผมต้องอธิบายก่อนว่าทำไมไตเติ้ลมันต้องเป็น Our Moment in Mine” กัสจังเล่าขณะที่ชี้ชวนให้เรามองไปยังมุมต่างๆของแกลลอรี่ “มันมีphaseภาษาอังกฤษอันนึงที่พูดว่า Moment in Time(ชั่วขณะหนึ่ง) ผมชอบวลีนี้มากเลยนะ ยิ่งพอมารวมกับ our(เรา) แล้วเปลี่ยนคำลงท้ายเล่นคำว่า time ให้เป็น mine(ของฉัน) มันเหมือน เราที่หมายถึงตัวผม และเราที่เป็นคนดูได้แชร์เรื่องราวเดียวกันอยู่ในชั่วเวลาหนึ่งครับ แล้วเรื่องราวนั้นมันก็ถูกรวบรวมเข้ามาไว้ในนิทรรศการนี้” “อย่างรูปตรงมุมโน้นคือรูปสถานีรถไฟใต้ดิน เป็นเรื่องการเดินทางของตะวันตก ส่วนฝั่งตรงข้ามกันผมตั้งใจวางรูปคนปั่นจักรยานในกรุงเทพไว้ ถ้าเรามายืนอยู่ตรงที่ว่างตรงกลางของสองภาพ […]

LET’S (NOT) KICK BUTT เปลี่ยนก้นบุหรี่เป็นวัสดุใหม่ดั่งงานศิลป์

ก้นบุหรี่ ภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าหลอดพลาสติก เชื่อหรือไม่ว่า ขยะที่ปนเปื้อนไหลลงทะเลนั้น มากกว่าหลอดพลาสติก มันคือก้นบุหรี่ที่เป็นขยะยากแก่การรีไซเคิล อาจจะดูเหมือนเป็นวัสดุนุ่มนิ่มที่น่าจะรีไซเคิลได้ไม่ยาก แต่แท้จริงแล้วก้นบุหรี่เหล่านี้ประกอบขึ้นจากพลาสติก ประเภทเซลลูโลสอะซีเตต (Cellulose Acetate) เป็นประเภทเดียวกับที่ใช้ทำแผ่นฟิล์มกันแสงจอโทรทัศน์ ฟิล์มถ่ายรูป และฝาครอบหลอดไฟ มีความเหนียว และทนทานต่อแรงกระแทก ซึ่งจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ในการย่อยสลายเลยทีเดียว และมักจะจบลงที่การนำไปฝังกลบ โดยเฉพาะก้นบุหรี่ใช้แล้วยังมีเศษยาสูบที่มีสารท็อกซิน นิโคติน สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็ง และเอทิลฟีนอล ซึ่งเป็นสารพิษที่จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อฝังกลบแล้ว อาจถูกพัดพาไป จนเป็นขยะทางทะเลในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง Sachi Tungare นักออกแบบชาวอินเดีย จึงเริ่มต้นโปรเจ็กต์ let’s (not) kick butt ตั้งแต่ปี 2019 โดยเป็นหนึ่งในโปรเจ็กต์ทางการศึกษาที่ Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ก่อน ซึ่งในโครงการนี้ก็คือการหาวิธีที่จะนำเอาเศษก้นบุหรี่เหลือทิ้ง มาขจัดสารพิษออกด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนจะผสมสีลงไปในวัสดุเพื่อให้ดูเป็นมิตร และน่านำกลับไปใช้มากขึ้น ก่อนจะทดลองการขึ้นรูปให้กลายเป็นชิ้นงานต่อไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันการขึ้นรูปนั้นยังทำได้ในระดับหนึ่ง ผลลัพธ์ในตอนนี้จึงเป็นเหมือนกับผลงานศิลปะ […]

ISAN CUBISM หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสาน สู่ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยบอกเล่าอัตลักษณ์ไทย

“ISAN Cubism” หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสานพัฒนาสู่โปรดักต์ดีไซน์ ที่มีต้นทุนมาจากวัฒนธรรมการทอผ้าลายขิด งานไม้ และฮูปแต้มในสิม เพื่อบอกเล่าภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าทึ่ง ในการสร้างสรรค์ลวดลายอย่างง่าย ผ่านรูปทรงเรขาคณิตอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ จากคุณค่าดังกล่าวได้รับการบอกเล่าผ่าน ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ภายใต้แบรนด์ ISAN Cubism หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จุดเริ่มต้น ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ทั้งคู่คืออาจารย์ผู้สอนด้าน Industrial design สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากอุดมการณ์ร่วมกันที่อยากให้งานดีไซน์รับใช้ท้องถิ่น โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ได้มีความเข้าใจและภูมิใจ ในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน นำมาสู่แนวทางการสอนและการลงมือทำจริง อันเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ “ISAN Cubism” “เรามีความคิดกันว่าจะสอนอะไรพวกเขาดี เพราะในกรุงเทพฯ เราจะเห็นงานดีไซน์ที่มีความเป็นสากล แต่พอมาอยู่ที่อีสาน ผมมองว่านักศึกษาที่เรียนออกแบบในพื้นที่ พวกเขามีวัตถุดิบ ไม่ค่อยมีคนดีไซด์งานใหม่ ๆ […]

DRAGONERPANZER เมื่อครั้งศิลปะ มีค่ามากกว่ากองทหาร

ผลงานศิลปะ DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์จัดแสดงในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 ณ BACCข้อมูลเพิ่มเติม : bkkartbiennale.com หากจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าสนใจในงาน BAB 2020 หรือ Bangkok Art Biennale 2020 ก็คงจะต้องบอกว่ามีมากมายดารดาษ แต่ถ้าจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าจะเปรียบเปรยและเข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงนี้ของไทยได้อย่างดี (แบบที่ไม่ได้ตั้งใจให้จังหวะการแสดงงานมาประจวบเหมาะกันเช่นนี้) ก็คงต้องยกให้ผลงานที่มีชื่อเรียกว่า DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ กับ รถถังเซรามิกที่กล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ศิลปะเคยมีค่ามากกว่ากองทหารม้ากว่า 600 นาย! ผลงานประติมากรรมเซรามิก DRAGONERPANZER (โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์) ชุดนี้ เกิดจากความรู้สึกประทับใจการใช้เครื่องลายครามของจีนจากราชวงศ์หมิงและชิงแลกกองทหารม้า วศินบุรีจึงสร้างรถถังจากเซรามิกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแลกเปลี่ยนมูลค่าและเงินตรา ในขณะที่แจกันมังกรสีน้ำเงินขาวถูกเรียกว่ามูลค่าทางการเงิน รถถังเซรามิกจะเป็นของสะสมล้ำค่า ในขณะที่รถถังทหารจะกลายเป็นขยะโลหะที่จะถูกขายเป็นเศษเหล็ก “ครั้งแรกที่ได้อ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จากหนังสือ กระเบื้องถ้วย กะลาแตก ของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ที่กล่าวถึงกษัตริย์ Friedrich August Iเจ้าผู้ครองแคว้นแซกโซนี […]