Design Archives - Page 8 of 36 - room

The Growing Pavilion สถาปัตยกรรมจากเห็ดรา

ช่วงนี้ฝนตกบ่อยอากาศอับชื้น มองไปที่โต๊ะก็พบว่า ขนมปังที่ซื้อมาวันก่อนราขึ้นไปเสียแล้ว หลังจากนำไปทิ้งก็เลยคิดขึ้นมาได้ว่า ในโลกของงานออกแบบเราสามารถนำเห็ดรามาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง? แล้วก็ไปเจอผลงานหนึ่งที่เคยจัดแสดงเมื่อปี 2019 ในงาน Dutch Design Week 2019 ซึ่งมีชื่อว่า The Growing Pavilion ความพิเศษของอาคารนี้ไม่ธรรมดาเพราะใช้ “เห็ดรา” เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างกันเลยทีเดียว เจ้าเห็ดราที่ว่านี้เรียกว่า Mycelium ซึ่งแปลตรงตัวว่า “เส้นใยเห็ด” เจ้าเส้นใยนี่แหละที่ค่อยช่วยให้เห็ดหรือราสามารถยึดเกาะอยู่บนพื้นผิวเช่นผนังหรือตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้ คล้ายรากของพืชไม้เลื้อย และด้วยการวิจัยกว่า 2 ปีของทีมงาน Company New Heroes ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นพันธุ์ที่มี Mycelium หนาแน่นแข็งแรงคล้ายแผ่นโฟมอย่างที่เห็น เป็นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมวงการวัสดุเพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย และในอนาคตอาจจะสามารถผลิตได้ในราคาที่ย่อมเยาว์อีกด้วย อาคารแห่งนี้มีโครงสร้างหลักเป็นไม้รีไซเคิลที่นำมาทำเป็นโครงรูปทรงกระบอก จากนั้นจึงติดตั้งแผ่น Mycelium ลงไปตามช่องว่างของโครงสร้าง โดยที่แผ่นเห็ดราเหล่านี้ก็ยังสามารถเติบโตต่อไปได้ หากเกิดความเสียหายสามารถเลี้ยงต่อให้ซ่อมแซมตัวเองได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในอนาคตไม่แน่เราอาจได้เห็นอาคารที่ใช้เห็ดราเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงสร้างและพื้นผิวอาคารไปพร้อมกันเลยก็เป็นได้ และสำหรับใครที่อยากสัมผัสของจริง เรามีข่าวดีเพราะ The Growing Pavilion จะไปจัดแสดงอีกครั้งที่ Floriade Expo […]

BURNT CORK เฟอร์นิเจอร์ไม้คอร์ก ที่ฟื้นคืนชีพจากเถ้าถ่าน

จากครั้งหนึ่งที่เคยเป็นฉนวนกันไฟให้ต้นไม้รอดจากไฟป่า เศษไหม้ดำของเปลือกต้นคอร์กโอ๊กกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่ด้วยฝีมือของ MADE IN SITU ดีไซน์สตูดิโอจากโปรตุเกส “ไม้คอร์ก” ที่เรารู้จักกันนั้นคือเปลือกไม้ชั้นนอกของต้นโอ๊ก ซึ่งเมื่อลอกออกจากต้นโอ๊กแล้ว เปลือกชั้นนอกก็จะเติบโตขึ้นใหม่ในรอบระยะเวลา 9-10 ปี และโปรตุเกสก็คือประเทศที่ส่งออกไม้คอร์กเป็นอันดับต้นๆ ของโลก 

ต้นคอร์กโอ๊ก (Quercus suber) หรือที่เรียกกันว่า “sobreiro” ในภาษาโปรตุกีส นั้นมักตกอยู่ในอันตรายจากไฟป่า และในช่วงหน้าร้อนปี 2017 Noé Duchaufour-Lawrance นักออกแบบชาวฝรั่งเศสกำลังเดินทางมาโปรตุเกส เขาขับผ่าน Pedrógão Grande เส้นทางใกล้เคียงกับพื้นที่ไฟป่าครั้งใหญ่ที่รุนแรงอย่างมาก ซึ่งกลายเป็นประสบการณ์ฝังใจ และนำไปสู่จุดเริ่มต้นของคอลเล็กชั่น Burnt Cork แรงบันดาลใจ ตั้งแต่ปี 2018 เขาและทีมงานเริ่มทำการการสำรวจ พบปะกับช่างฝีมือในชุมชนที่ยังทำอุตสาหกรรมไม้คอร์กของโปรตุเกส พวกเขาได้พบกับ Tania และ Nuno ผู้สืบทอดกิจการ NF Cork หัตถอุตสาหกรรมผลิตบล็อกไม้คอร์กสำหรับเป็นฉนวนในงานสถาปัตยกรรม ในระหว่างการเยี่ยมชมโรงงาน และกระบวนการแปรรูปไม้คอร์ก Noé สังเกตเห็นเปลือกไม้คอร์กโอ๊กไหม้ดำมากมายที่ถูกกองทิ้งไว้ เศษซากไม้คอร์กเหล่านี้ ครั้งหนึ่งเคยทำหน้าที่เป็นเปลือกหุ้มกันไฟให้กับต้นคอร์กโอ๊กในช่วงไฟป่า และเมื่อถึงช่วงเวลาลอกเปลือกมาทำไม้คอร์ก ส่วนเปลือกที่ไหม้ดำก็จะถูกลอกแยกทิ้ง […]

กากกาแฟ สู่แก้วดีไซน์สวย KAFFEEFORM

จาก “กาก” สู่ “แก้ว” ใช้ซ้ำดี รีไซเคิลได้ เกิดขึ้นจากสิ่งที่รู้กันว่าในทุก ๆ เช้า ชาวโลกไม่ว่าจะชาติใดต่างก็ต้องการ “กาแฟ” แก้วแรกกันอยู่เสมอ ซึ่งนั่นก็ทำให้เกิดผลสืบเนื่องอันเป็นขยะปริมาณมหาศาลในทุกเช้าด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะจากแก้วกาแฟใช้แล้วทิ้ง หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น หลอด และไม้คนกาแฟ KAFFEEFORM บริษัทจากประเทศเยอรมนี จึงเกิดความคิดที่จะสร้างแก้วกาแฟที่ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น และผลิตจากเศษเหลือในอุตสาหกรรมร้านกาแฟ เพื่อให้เกิด Close Loop หรือการหมุนเวียนทรัพยากรอย่างสมบูรณ์ใน Circular Economy และสิ่งที่ถูกเลือกมาใช้เป็นวัสดุนั่นก็คือ “กากกาแฟ” นั่นเอง กว่า 3 ปี ที่ KAFFEEFORM ได้ทดลองสูตรลับเฉพาะในการขึ้นรูปแก้วกาแฟจากกากกาแฟให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีพอ น่าใช้ และดูดีเป็นมิตรต่อนักดื่ม ผลลัพธ์ที่ได้จึงกลายมาเป็นแก้วที่มีผิวสัมผัสเรียบเนียนแต่ผสมไปด้วยเส้นใยจากกากกาแฟ สามารถฉีดขึ้นรูปได้หลากหลาย ตั้งแต่แก้วที่ล้อเลียนมาจากแก้วใช้แล้วทิ้ง แก้ว Espresso แก้ว Cappucino และ แก้ว Latte มีความทนทาน ทั้งสามารถใส่ของร้อนได้ และตกไม่แตกอีกด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ใช้สูตรลับที่เป็น Plant […]

U-bolt Furniture เฟอร์นิเจอร์สุดอาร์ตจากฮาร์ดแวร์งานประปา

เปลี่ยน U-bolt สลักเกลียวรัดท่อให้เป็นข้อต่อเฟอร์นิเจอร์ระบบโมดูลาร์ดีไซน์สนุก ฝีมือการออกแบบของ 1/plinth studio สตูดิโอออกแบบจากกรุงโซล เกาหลีใต้ ที่ตั้งใจนำเสนอชิ้นส่วนอุตสาหกรรมเรียบง่ายให้กลายเป็นงานสร้างสรรค์ชิ้นใหม่ คอลเล็กชั่น U-bolt Furniture น่าสนใจด้วยการหยิบยกฮาร์ดแวร์งานประปา ซึ่งเป็นชิ้นส่วนในงานอุตสาหกรรมที่เห็นได้ทั่วไป มาเป็นหัวใจหลักในการสร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์คอลเล็กชั่นใหม่ได้อย่างน่าสนใจ เฟอร์ิเจอร์แต่ละชิ้นมีที่มาจากท่อ และฉากอะลูมิเนียม ประกอบกันเป็นโครงสร้างโดยใช้ ยูโบลต์ หรือที่ไทยเราเรียก สลักเกลียวรูปตัว U (ยู) ซึ่งมักใช้กับการติดตั้งท่อประปา มาใช้แทนข้อต่อ โดยไม่มีการเชื่อมหรือใช้วัสดุกาวยึดติดอื่นใด เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกผสมผสานวัสดุ และจับคู่สีสันของแต่ละชิ้นส่วน ทั้ง ยูโบลต์ ท่อหรือฉากอะลูมิเนียม รวมถึงท้อปกระจก ได้ตามใจชอบ 
คอลเล็กชั่นนี้มีทั้งรุ่นโต๊ะตัวเล็ก UM (u-bolt module) ที่สามารถนำแต่ละยูนิตมาวางซ้อนกันให้เป็นชั้นวางสูงได้ หรือจะขยับขยายทางกว้าง เพื่อให้เกิดฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมี UT (u-bolt trolley) ชั้นวางแบบรถเข็นติดล้อด้านล่าง   งานศิลปะที่เกิดจากอุตสาหกรรม คือความตั้งใจของนักออกแบบในการสร้างความขัดแย้งที่น่าสนใจ จากสินค้าอุตสาหกรรมที่ทำซ้ำจำนวนมาก ที่นำไปสู่อิสระในการสร้างสรรค์ของผู้ใช้งาน 1/plinth studio สตูดิโอออกแบบจากกรุงโซล […]

เปลี่ยนแก้วพลาสติกเหลือใช้ เป็นอาคารทรงล้ำ PEA ECO-PAVILION

เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการลด Carbon Foot Print PEA Plastic cup Eco-Pavilion จึงเกิดขึ้น โดยมีโจทย์คือการให้ชีวิตที่สองกับขยะและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หมดประโยชน์ในทุก ๆออฟฟิศสำนักงาน และในนิทรรศการที่จัดให้กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA ณ สำนักงานใหญ่นี้ Context Studio ได้รับแรงบันดาลใจจากแก้วพลาสติกที่ใช้แล้ว ซึ่งมีลักษณะที่ใสและแข็งแรงทนทาน ยากต่อการย่อยสลายของพลาสติกเหมาะสมมากกับการนำมาใช้เป็นวัสดุภายนอกของ Green office Pavilion ที่ต้องอยู่ภายนอกอาคาร และต้องทนทานต่อแดดและฝนตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่จัดแสดง เพราะพลาสติกไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป หากรู้จักใช้และเข้าใจในคุณลักษณะของพลาสติก ถ้าย่อยสลายได้ยาก ก็แปลว่ามันทนทาน ลักษณะของอาคารที่มีรูปทรงโค้งมนเป็นโดมขนาดใหญ่ 3 อาคาร มารวมกัน ซึ่งถูกกำหนดมาจาก Geometry ทรงโคนของแก้วพลาสติก สร้างให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการใช้พลาสติก โดยสามารถนำมาปรับใช้ในฟอร์มที่ดูคล้ายฟอร์มจากสิ่งมีชีวิต ทั้งยังโดดเด่นแตกต่างจากบริบทอาคารที่ดูแข็งและทึบตันรอบข้าง ภายในอาคารได้จัดนิทรรศการกรีนออฟฟิศ ส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้จากออฟฟิศต่าง ๆ มาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ DIY โครงสร้างของนิทรรศการทำมาจาก นั่งร้านเหล็กสีขาวที่สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมบางส่วนของบอร์ดนิทรรศการได้ทำมาจากท็อปโต๊ะสำนักงานที่ชำรุดแล้ว ในส่วนของพื้นภายในนิทรรศการได้ตั้งใจใช้กรวดแม่น้ำสีขาว มีเสียงเบา ๆ ระหว่างเดินรอบนิทรรศการ […]

SOAPBOTTLE ขวดสบู่ที่ทำมาจากสบู่

ละลายจนหมด ไม่เหลือเป็นขยะ กับสบู่ที่มีขวดทำมาจากสบู่อีกที แนวคิดแหวกแนวที่ใช้ได้จริง SOAPBOTTLE เริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึงบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้กับสิ่งของในชีวิตประจำวันที่มักลงเอยกลายเป็นขยะอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสระผม น้ำยาล้าง หรือที่เราเรียกรวม ๆ ว่าเป็น Daily Use Product เพราะใช้ทุกวันนั่นก็คือเรากำลังก่อขยะมากขึ้นในทุกวันนั่นเอง อีกทั้งบรรจุภัณฑ์สำหรับของเหลวเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะทำขึ้นจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พูดง่าย ๆ คือ Recycle ได้ยากนั่นแหละ Jonna Breitenhuber จึงได้เริ่มต้นโครงการนี้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ก่อนจะขยายผลโดยการร่วมทุนใน Kickstarter และด้วยผู้สนับสนุนที่มีแนวคิดรักษ์โลกเช่นเดียวกับเธอ SOAPBOTTLE จึงได้เริ่มต้นวางจำหน่ายจริงในที่สุด การออกแบบนั้นได้แนวคิดมาจากอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักจะเห็นการบรรจุอาหารลงในสิ่งที่สามารถรับประทานได้ เช่น เนื้อในขนมปังกลายเป็นแฮมเบอร์เกอร์ หรือไอศกรีมที่นำไปใส่ในเวเฟอร์เป็นไอศกรีมโคน ความจริงแล้วทั้งขนมปังและเวเฟอร์นั้นเป็นบรรจุภัณฑ์แบบหนึ่ง และอันตรธานหายไปเมื่อเรารับประทานจนหมด ถ้าอย่างนั้นสำหรับผลิตภัณฑ์ความสะอาดส่วนตัว เราจะใช้วิธีเดียวกันได้หรือไม่? หลักการของ SOAPBOTTLE นั้นง่ายมาก คือ บรรจุผลิตภัณฑ์เหลวไว้ในขวดที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์เดียวกันในเวอร์ชั่นที่คงรูปกว่า เมื่อต้องการใช้ก็เพียงตัดเปิดบรรจุภัณฑ์ที่มุมขวด จากนั้นก็สามารถจะเทของเหลวออกมาเมื่อต้องการใช้ SOAPBOTTLE มีคลิปสำหรับใช้ตัดและปิดฝาในตัวเองแยกจำหน่าย คลิปนี้สามารถนำกลับมาใช้อีกได้ตลอดไป จนเมื่อเราใช้ส่วนที่เป็นของเหลวจนหมด ก็สามารถนำเอาบรรจุภัณฑ์นั้นมาถูใช้เป็นเหมือนสบู่ก้อน(หรือยาสระผมแบบก้อน)ได้ต่อ สุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงไม่เหลือขยะใด ๆ เลยในที่สุด ปัจจุบัน […]

งานทดลองวัสดุ ใหม่จากดอกไม้ใบหญ้าเหลือทิ้ง LUKYANG MATERIAL TESTING NO.1

งานทดลองวัสดุ ที่ทีมนักออกแบบลุกขึ้นมาทำการทดลอง ด้วยการเลือกวัสดุจากธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวมาหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เพื่อเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเลือกวัสดุธรรมชาติเหลือทิ้งในกลุ่มพืชล้มลุกและเปลือกผลไม้ มาแปรรูปแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งยังเป็นการรณรงค์ในการช่วยกันลดของเสียในครัวเรือน โดยการนำกลับมาแปรรูปใหม่อีกครั้ง สำหรับชุดการทดลองครั้งแรก ได้หยิบวัสดุธรรมชาติมาทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ดอกดาวเรือง ต้นปอเทือง ดอกอัญชัน ดอกกล้วยไม้แห้ง และเปลือกมังคุด ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป 1.ดอกอัญชัน ดอกไม้ที่คุ้นเคยในการนำมาสกัดเป็นสีธรรมชาติ เมื่อตัวดอกดูดซับน้ำแล้วจะเกิดการพองตัว ด้านคุณสมบัติมีความโปร่ง แต่เปราะบางและไม่ยืดหยุ่น เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 2.ต้นปอเทือง พืชที่มักเห็นได้ตามท้องนาเนื่องจากมีคุณสมบัติในการบำรุงและรักษาหน้าดินในช่วงฤดูพักปลูกข้าว เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ในระดับหนึ่งคล้ายนกระดาษสาและแข็งแรง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง 3.ดอกกล้วยไม้แห้ง ดอกไม้ที่พบในตลาดอุตสาหกรรม สีสันสวยงาม อยู่ได้นาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติโปร่งแสง แต่เปราะบางและไม่คงรูป เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 4.เปลือกมังคุด วัสดุที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติความแข็งแรงในระดับหนึ่ง แต่ยืดหยุ่นน้อย มีความทึบแสง เหมาะสำหรับนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ 5.ดอกดาวเรือง หากคุณเป็นสายไหว้พระ คงพบว่ามีดอกดาวเรืองเหลือทิ้งเต็มไปหมด ตัวดอกมีเส้นใยสูง เมื่อแห้งแล้วสีของดอกยังคงติดทนนาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ระดับหนึ่ง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง หลังจากทดลองและทราบคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดแล้ว จึงนำไปสู่การทดลองออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์เชิงดีไซน์ […]

Recycle เศษวัสดุก่อสร้าง ให้เป็นแผ่นวัสดุอเนกประสงค์สไตล์สัจวัสดุ

ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะ SEMBA บริษัทก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่น จึงได้เริ่มโครงการ Recycle เศษวัสดุก่อสร้าง SEMBA ethical design thinking โดยมี we+ ทีมดีไซเนอร์หัวก้าวหน้า เข้ามาช่วยจุดประกายในโครงการนี้ จนออกมาเป็นวัสดุที่น่าสนใจในวิธีการใช้งานที่ยืดหยุ่น และที่สำคัญ “มันเคยเป็นขยะ” เนื่องจากอาคารในประเทศญี่ปุ่น มักมีอายุการใช้งานประมาณ 5-10 ปี ตั้งแต่ก่อสร้างจนถูกทุบทำลาย we+ จึงมองเห็นว่ามันช่างเป็นอายุการใช้งานที่สั้น ซึ่งส่งผลไปถึงปัญหา “ขยะ” ที่เกิดจากการทุบทำลาย โดยเศษวัสดุเหล่านั้นแทบไม่มีค่าไปกว่าการนำถมที่ดินเลย ดังนั้นการหาทางออกให้กับการจัดการขยะจากอาคารเก่าจึงเริ่มต้นขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุให้สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ ทั้งตัวของวัสดุ และวิธีการความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของกระบวนการออกแบบก่อสร้าง “Link” คือชื่อของโปรเจ็กต์นี้ ด้วยการออกแบบวัสดุอเนกประสงค์ชนิดแผ่น ที่สามารถนำมาต่อเข้าด้วยกันนี้ ซึ่งเกิดจากการศึกษาความเป็นไปได้อันหลากหลายผ่านวัสดุที่มาจากซากตึก ตั้งแต่เศษไม้ อิฐ หิน และเหล็ก ตลอดจนวัสดุอย่าง เศษพรม ผ่านม่าน หรือแม้แต่แผ่นปูพื้น โดย we+ ได้นำซากวัสดุมาผสมรวมกันด้วยการบดให้กลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนจะหลอมและเทวัสดุประสาน รวมทั้งเศษวัสดุต่าง ๆ ลงไปในแม่พิมพ์ […]

JOUER ชุมชนสร้างสรรค์ในกลุ่มบ้านเก่าย่านสุขุมวิท

ท่ามกลางความพลุกพล่านของย่านใจกลางกรุง ซอยสุขุมวิท 32 คือซอยเล็ก ๆ ที่แทรกตัวอยู่ข้างอาคารคอนโดมิเนียมสูงตระหง่าน โดยมี Jouer (ฌูเอ้) ชุมชนสร้างสรรค์ขนาดย่อมตั้งอยู่บนที่ดินด้านในสุด ประกอบไปด้วยร้านตัดผม คาเฟ่ขนมหวาน ร้านทำเล็บ ร้านเฟอร์นิเจอร์ สำนักงานสถาปนิก สตูดิโอสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์ Risograph ไปจนถึงแกลเลอรี่ศิลปะ ทั้งหมดนี้หลอมรวมอยู่ใน “กลุ่มบ้าน” ย้อนยุค 4 หลังท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่ม ที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งรวมคนทำงานสร้างสรรค์ เปิดให้ผู้ที่ชื่นชอบศิลปะเข้ามาเยี่ยมชมได้อย่างอิสระ แถมในบางช่วงยังมีตลาดนัดศิลปะตามวาระอีกด้วย Jouer มีจุดเริ่มต้นจาก Dai Mogi เจ้าของร้านตัดผม Rikyu ในเครือของ Boy Tokyo ที่มีชื่อเสียงมานานแล้วกว่า 20 ปี ในประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้านการผสมผสานการตัดผมเข้ากับศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ และได้เลือกกรุงเทพฯ เป็นสาขาแรกในต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2553 จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา Rikyu ได้ย้ายถิ่นฐานจากซอยสุขุมวิท 24 มายังซอยสุขุมวิท 32 แห่งนี้ แต่แทนที่จะทำร้านตัดผมเพียงอย่างเดียว พวกเขาได้ชักชวนเพื่อน ๆ ในวงการสร้างสรรค์หลายสาขาวิชาชีพให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกครอบครัวใหญ่ด้วยกัน […]

ศูนย์บริการฉีดวัคซีน ในไอเดียแบบ “ด่านเก็บค่าผ่านทาง” เพื่อการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

ศูนย์บริการฉีดวัคซีน เริ่มเป็นพื้นที่จำเป็นในช่วงนี้ของไทยเราอย่างมาก เพราะจากกรณีที่รัฐบาลไทย นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทวงกลาโหมตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีนให้ได้ครบ 100 ล้านโดส ครอบคลุมคนไทยจำนวน 50 ล้านคน คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร ให้สำเร็จภายในปี 2564 นั้น ทำให้เมื่อคำนวญถึงสถานการณ์ปัจจุบันแล้วจะพบว่า จากวันนี้ไปจนถึงสิ้นปีซึ่งก็คือ 200 กว่าวัน การฉีดวัคซีนจะต้องมีผู้รับวัคซีนถึงวันละ 450,000 โดสขึ้นไป จึงจะสำเร็จได้ ซึ่งปัจจุบันก็เรียกได้ว่ายังถือว่าห่างไกลอยู่หลายเท่านัก แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกันไปเพราะยังมีอีกหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้ในที่สุด NBBJ บริษัทออกแบบชั้นนำที่มีออฟฟิสกระจายอยู่ทั่วโลกนั้น ได้นำเสนอวิธีการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้สามารถกระจายการให้วัคซีนได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วเข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ ด้วยการปรับช่องการจราจรหรือพื้นที่จอดรถ ให้กลายเป็นศูนย์บริการฉีดวัคซีนแบบ “Drive-through” หรือก็คือการขับรถเข้าไปรับวัคซีนแบบไม่ต้องลงมาติดต่อเลย ด้วยโครงสร้างผนังที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย ออกแบบมาให้ปรับใช้กับลักษณะการจราจรโดยทั่วไปได้ทันที ขนส่งด้วยรถเทรลเลอร์และประกอบเข้าด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว ผนังโค้งเหล่านี้จะมีระบบอำนวยความสะดวกสำหรับแพทย์และพยาบาลในการแจกจ่ายวัคซีนโดยง่าย สามารถนำไปติดตั้งตามพื้นที่สัญจรหรือลานจอดรถในทุกพื้นที่ของเมืองเมื่อผู้ต้องการรับวัคซีนขับรถมาถึงจุดจอด ด้วยระบบการลงทะเบียนออนไลน์ที่กำหนดให้ผู้ที่อยู่ในรถสามารถเข้ารับวัคซีนได้แล้วนั้น ผู้รับวัคซีนก็เพียงแค่แสดง QR ยืนยันการอนุมัติการรับวัคซีนจากระบบ และเข้ารับวัคซีนในพื้นที่ใดก็ได้ที่มีศูนย์ “Vaccine Drive-through” เมื่อพยาบาลได้ฉีดวัคซีนให้แล้ว ก็นั่งดูวิดีทัศน์เพื่อสอบอาการ ก่อนจะขับออกไปสู่จุดหมายปลายทางในที่สุด และเมื่อพื้นที่ดังกล่าวได้รับการปูพรมวัคซีนจนครบแล้วก็สามารถรื้อถอนโครงสร้างไปยังพื้นที่ต่อไปได้โดยง่าย การรับวัคซีนในรถเช่นนี้ ช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อจากการชุมนุมได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน เอาเข้าจริง ถ้าคำนวญจากปริมาณรถที่วิ่งเข้า “ด่านเก็บค่าผ่านทางด่วน” […]

HOUSE BECOMES CAFE สรุป กฎหมายอาคาร น่ารู้ในการรีโนเวตบ้านเป็นคาเฟ่

เปิดคาเฟ่เล็ก ๆ ต้องรู้เรื่อง กฎหมายอาคาร ด้วยหรือ? ในปัจจุบัน ธุรกิจคาเฟ่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในการสร้างสรรค์พื้นที่คาเฟ่ใหม่สักแห่ง นอกจากต้องคำนึงถึงความสวยงามโดดเด่นแล้ว ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้พื้นที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ทั้งยังอาจรวมไปถึงความคล่องตัวทางธุรกิจในเชิงภาษีและบัญชีอีกด้วย แม้ว่าในบางครั้ง ร้านกาแฟขนาดเล็ก อาจไม่ถูกบังคับภายใต้ข้อกฎหมายบางข้อ แต่การศึกษาทำความเข้าใจ ก็ช่วยให้มองเห็นประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึง และหากปฏิบัติตามได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการในระยะยาวอย่างแน่นอน 01 เปลี่ยนอาคารเดิมเป็นคาเฟ่ จำเป็นต้องยื่นขออนุญาตไหม? ก่อนอื่นต้องทราบว่าอาคารเดิมได้ขออนุญาตไว้เป็นอาคารประเภทใด เช่น หากตามใบอนุญาตก่อสร้างเป็นอาคารพักอาศัย การปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นร้านกาแฟ ซึ่งถือเป็นการใช้สอยเพื่อการพาณิชย์ จำเป็นต้องทำหนังสือขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร (แบบ ข.๓) ต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (เช่น สำนักเขตหรือองค์การบริหารส่วนตำบล) ให้ถูกต้อง เนื่องจากตามกฎหมาย อาคารพาณิชย์จะกำหนดความสามารถของโครงสร้างในการรับน้ำหนักจร (Live load) ที่มากกว่าอาคารพักอาศัย จึงจำเป็นต้องทำการตรวจสอบว่าอาคารดังกล่าวมีความสามารถที่จะรับน้ำหนักจรในระดับเดียวกับอาคารพาณิชย์ได้จริงหรือไม่ โดยแนบเอกสารรับรองที่ออกให้โดยวิศวกรผู้ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังมีกำหนดลักษณะของอาคารพาณิชย์อีกหลายประการที่มีผลกับความปลอดภัยและการใช้งาน ดัดแปลงอาคารแบบไหนไม่ต้องยื่นขออนุญาต หากว่าอาคารเดิมได้รับอนุญาตให้ใช้งานเป็นอาคารพาณิชย์อยู่แล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการดัดแปลงมากน้อยเพียงใด ซึ่งกฎหมายมีระบุขอบเขตไว้ว่าลักษณะใดที่ ไม่ต้องยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคาร ได้แก่ 01 เพิ่มหรือลดพื้นชั้นใดชั้นหนึ่งของอาคารไม่เกิน 5 ตารางเมตร […]

Moonler เล่าเรื่องงานคราฟต์เชียงใหม่ผ่านเฟอร์นิเจอร์ไม้จามจุรี

คอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์ไม้จามจุรีจากแบรนด์ไทย Moonler นำเสนออีกมิติของงานคราฟต์ บอกเล่าเรื่องราวของผืนป่าอันอุดม และวิถีช่างไม้ของเชียงใหม่ พลิกภาพจำงานหัตถกรรมดั้งเดิมสู่ความเป็นไปได้ใหม่ภายใต้รูปลักษณ์ความงามอันเป็นสากล และตอบรับกับวิถีชีวิตร่วมสมัย Moonler เปิดตัวมายาวนานมากกว่าหนึ่งทศวรรษ จากจุดเริ่มต้นในปี 2008 ที่ความหลงใหลในงานไม้ของคุณภูวนาถ ดำรงพร และหุ้นส่วนได้ทำให้เกิดเวิร์กช็อปเฟอร์นิเจอร์ไม้จามจุรีเล็กๆ ย่านบ้านถวายในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยความตั้งใจที่จะนำเสนองานเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่แตกต่างจากในท้องตลาดทั้งในด้านคุณภาพ และรูปลักษณ์ การเติบโตและขยับขยายหลายต่อหลายครั้งตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา พาให้วันนี้มูนเลอร์กลายเป็นโรงงานขนาดใหญ่ในดอยสะเก็ด ที่ก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจส่งออกเฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบหัตถอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว ผสมผสานงานฝีมือที่โดดเด่น และคุณภาพในแบบอุตสาหกรรม ไปพร้อม ๆ กับสั่งสมประสบการณ์การทำงานร่วมกับหลากหลายนักออกแบบทั้งไทย และต่างประเทศ เมื่อ 3 ปีก่อน คุณรัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ นักออกแบบผลิตภัณฑ์มือรางวัล ได้เข้ามารับหน้าที่ดีไซน์ไดเร็กเตอร์คนล่าสุด เขารู้จักกับมูนเลอร์ผ่านโครงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและนักออกแบบโครงการหนึ่งของภาครัฐ และในช่วงนั้นเอง พวกเขาร่วมมือกันสร้างสรรค์คอลเล็กชั่นใหม่ขึ้น 10 ชิ้น เพื่อจัดแสดงในนิทรรศการ “10 Years Moonler” ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ของมูนเลอร์ ยุคแห่งการรีแบรนด์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวงานคราฟต์จากเชียงใหม่ในอีกมิติที่ต่างออกไป พร้อมๆ กับการออกสำรวจเส้นทางใหม่ในโลกการออกแบบ ที่ดีไซน์ไดเร็กเตอร์คนใหม่นี้จะพามูนเลอร์ไป วัตถุดิบหลักของมูนเลอร์คือ ไม้จามจุรีหรือฉำฉา ซึ่งเนื้อไม้มีสีสัน ลวดลายสวยงามคล้ายไม้วอลนัท แข็งแรง […]

2021 CREATIVE EXPO TAIWAN อีกเทศกาลสร้างสรรค์น่าจับตาของเอเชีย

กว่าหนึ่งทศวรรษมาแล้วที่ Creative Expo Taiwan ได้สร้างชีวิตชีวาให้กับแวดวงการสร้างสรรค์ของเอเชีย และปีนี้ก็นับเป็นครั้งที่ 11 ที่บรรดานักสร้างสรรค์ในหลากหลายสาขาของไต้หวันได้มารวมตัวกันนำเสนอผลงานใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นการเติบโตในธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงวัฒนธรรม งานศิลปหัตถกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ ​การออกแบบกราฟฟิก อาหารและเครื่องดื่ม ไปจนถึงนวัตกรรมทางเทคโนโลยี แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ปีนี้ room ไม่สามารถเดินทางไปไต้หวันได้ แต่ทางผู้จัดงาน Creative Expo Taiwan ก็ส่งภาพบรรยากาศมาให้อัพเดตกันแบบเต็มอิ่ม โดยงานนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 – 25 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา นำทีมสร้างสรรค์โดยหัวหน้าภัณฑารักษ์ Lin Kun-Ying ที่นำเสนองานภายใต้ธีม Supermicros ซึ่งหมายถึงการเชื่อมโยงหน่วยเล็กๆ ที่นำไปสู่พลังอันยิ่งใหญ่ สะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่างผู้คน ข้อมูล และความศรัทธา Lin Kun-Ying เชื่อว่า แม้ไต้หวันจะเป็นประเทศขนาดเล็ก แต่มีศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ และสามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้เศรษฐกิจระดับโลก ไปพร้อมกับการเติบโตในระบอบประชาธิปไตย และยิ่งชาวไต้หวันเชื่อมั่นในวัฒนธรรมของตัวเอง ก็จะยิ่งสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้มากขึ้นอีก 臺灣文博會 Creative Expo […]

TROPICAL CAVE HOUSE รีโนเวตตึกแถว อุดอู้เป็นบ้านเย็น ด้วยไอเดียเหมือนอยู่ในถ้ำ

บ้านที่น่าสนใจหลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองแบกนินห์ (Bac Ninh) ประเทศเวียดนาม เกิดจากการ รีโนเวตตึกแถว ให้เป็นบ้านของครอบครัวขนาดใหญ่ เหมาะกับการอยู่อาศัยในสภาพอากาศร้อนชื้น ที่นี่มีความน่าสนใจไม่เพียงแค่การ รีโนเวตตึกแถว ให้กลับมาน่าอยู่เหมือนใหม่ แต่ยังเต็มไปด้วยบรรยากาศที่เย็นสบายและมีความสว่างไสว โดยมีไอเดียมาจากถ้ำ สมกับที่มีชื่อเรียกว่า Tropical Cave House บ้านพักสำหรับครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีถึง 4 รุ่น เป็นผลงานการออกแบบโดยทีมสถาปนิกชาวเวียดนาม H&P Architects ที่เข้าใจสภาพพื้นที่และความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้อย่างดี แต่ด้วยลักษณะของอาคารที่ทางเข้าค่อนข้างอยู่ติดกับถนน สถาปนิกจึงออกแบบบานเฟี้ยมประตูเหล็กที่มีแพตเทิร์นบนหน้าบานเล็ก ๆ สำหรับกั้นพื้นที่เพื่อความเป็นส่วนตัวของคนในบ้าน ขณะเดียวกันก็ไม่ปิดทึบเสียทีเดียว โดยยอมให้ลมและแสงลอดผ่านได้ ก่อนจะเปิดเข้าสู่พื้นที่ลานอเนกประสงค์หน้าบ้าน ที่เชื่อมกับส่วนรับประทานอาหารชั้นล่าง ขณะที่ด้านข้างก็มีบันไดสำหรับแขก เพื่อขึ้นสู่ชั้น 2 ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับรับแขกและนั่งเล่น ไฮไลท์ของบ้านคือ “ฟาซาด” ที่เลือกเปลี่ยนผนังทึบของบ้านตึกแถวให้กลายเป็นช่องเปิดขนาดใหญ่ (เปรียบเหมือนปากถ้ำ) มีบานเปิดเรียงต่อกันถึง 10 บาน ทำหน้าที่นำพาแสงและอากาศเข้าสู่ตัวบ้าน โดยแต่ละบานออกแบบให้มีความสูง 6.6 เมตร แบ่งเป็น 2ช่วงคือ ตอลดความสูงของชั้น 2-3 และชั้น 4-5 ควบคุมระบบเปิด-ปิดด้วยพวงมาลัยเพาเวอร์ระบบไฟฟ้าที่ค่อยปรับระดับองศาของบานเปิดได้เมื่อต้องการอากาศที่ปลอดโปร่ง […]

ECOKID KINDERGARTEN โรงเรียนอนุบาลที่ให้เด็กได้เล่นและฟินกับธรรมชาติ

EcoKid Kindergarten โปรเจ็กต์การ ออกแบบโรงเรียน โดย LAVA ที่เน้นกระตุ้นความปลอดภัยและส่งเสริมการศึกษาอย่างยั่งยืน กับการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ผ่านกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ในเมือง Vinh ใกล้กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เด่นด้วย การออกแบบโรงเรียน ให้มีอาคารเป็นรูปครึ่งวงกลมสามหลังในสามระดับที่เชื่อมโยงกันด้วยสะพาน ซึ่งมีทั้งสร้างบนพื้นที่ในร่มและกลางแจ้งที่เชื่อมต่อกันอย่างสนุกสนานและปลอดภัย ขณะที่งานสถาปัตยกรรม Chris Bosse ผู้อำนวยการ LAVA กล่าวว่า“ ภาษาในการออกแบบเราเล่าผ่านรูปทรงออร์แกนิกที่เรียบง่าย แล้วแต่งแต้มสีสันในส่วนของกรอบหน้าต่างวงกลมที่กระจายอยู่รอบอาคารเพื่อให้มีความโดดเด่น” “โครงการการศึกษาในทุกวันนี้ ท้าทายให้เราตั้งคำถามถึงวิธีการสอนและการเรียนรู้ แทนที่โรงเรียนจะเป็นเหมือนกล่องอาคาร และห้องเรียนสี่เหลี่ยมที่มีเด็ก ๆ นั่งเรียงอยู่หน้ากระดาน เราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ได้ เพื่อส่งเสริมให้พวกเขาเกิดความอยากรู้อยากเห็น แล้วนำไปสู่การค้นพบที่มีค่า ได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติผ่านการเรียนรู้ที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ อิงตามรูปทรงโครงสร้างที่สร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ อยากเล่น เรียน และสำรวจอย่างสนุกสนาน” อาคารต่าง ๆ ได้รับการกำหนดบริบทตามขนาดของภูมิทัศน์เมืองโดยรอบ รูปทรงโค้งช่วยให้สามารถชื่นชมทัศนียภาพของทะเลสาบ Goong ที่อยู่ติดกันได้อย่างเต็มตา พื้นที่ในร่มกับลานกิจกรรมแต่ละแห่งเน้นความแตกต่างกัน หน้าต่างที่ชั้นล่างมีความสูงและขนาดที่แตกต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มอายุ สีของกรอบหน้าต่างดูโดดเด่นบนพื้นหลังสีขาว ทำให้สถานที่มีความน่าสนใจสำหรับเด็ก […]

ULUPINAR SHOWROOM โชว์รูมเสื้อผ้าแฟชั่นดีไซน์ละมุน ลัดเลาะไปตามเส้นสายโค้งพลิ้วไหว

Ulupinar Showroom ที่นี่คือโชว์รูมเสื้อผ้าแฟชั่นที่ออกแบบมาให้การเลือกซื้อเสื้อผ้าเหมือนอยู่ในอาณาจักรส่วนตัว กับการ ออกแบบโชว์รูมสวยๆ  ดีไซน์เนี้ยบ เรียบนิ่ง กลางกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี Zemberek Design ขอสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้ง ผ่านการ ออกแบบโชว์รูมสวยๆ ให้เหมือนพาทุกคนเข้าไปหลบในพื้นที่ที่เงียบสงบ หลีกหนีความวุ่นวายของเมืองภายนอก พร้อมการออกแบบพื้นที่ใช้งานที่ยืดหยุ่น ด้วยฟังก์ชันเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทำให้เกิดการรับรู้และมุมมองที่หลากหลาย หลักเกณฑ์ในการออกแบบโชว์รูมแห่งนี้ มีข้อสำคัญอยู่ที่การสร้างความรู้สึก “ปลอดโปร่ง” ให้แก่ผู้มาเยือน ซึ่งตรงกันข้ามกับความพลุกพล่านของเมืองที่หนาแน่นภายนอก เพราะพวกเขาเชื่อว่าการช้อปปิ้ง หรือใช้เวลาเลือกซื้อเสื้อผ้า ควรเปี่ยมด้วยสุนทรียภาพที่ดี พื้นที่ภายในเน้นการออกแบบชั้นวางและเส้นทางเดินที่ลื่นไหล โดยมีทั้งหมด 4 โซน แต่ละโซนออกแบบเป็นรูปวงกลมกระจายอยู่แต่ละมุม กรุผนังล้อมรอบพื้นที่แต่ละวงกลมนั้นด้วยกระจกใส เพื่อสร้างความปลอดโปร่งให้แก่พื้นที่ และด้วยดีไซน์ความโค้งมนของรูปทรงผนังนี้เอง จึงเหมือนเป็นการแจกจ่ายเส้นทางเดินที่ดูสบายตาเป็นธรรมชาติ ภายใต้ธีมสีพาสเทลดูน่ารักไม่ต่างจากสีสันของเสื้อผ้า ขณะที่โมดูลเฟอร์นิเจอร์อย่างชั้นวาง หรือราวแขวนเสื้อผ้า ก็สามารถเคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้อย่างยืดหยุ่น จากตัวอย่างนี้ เราจะเห็นภาษาในการออกแบบ และการตัดสินใจเลือกวัสดุเพื่อสะท้อนถึงความเป็นหนึ่งเดียวที่เรียบง่ายและสง่างาม ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้สีพาสเทล ทองเหลือง หินอ่อน และผลิตภัณฑ์ของตกแต่งที่มีรูปทรงโค้งมน ช่วยสร้างความมีชีวิตชีวาให้แก่โชว์รูม อันถือเป็นการช่วยเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ไปในตัว เนื่องจาก Ulupinar Tekstil มีจุดเด่นอยู่ที่เสื้อผ้าดีไซน์เรียบง่าย สวมใส่สบาย ใช้ได้กับทุกโอกาส […]