Design Archives - Page 9 of 43 - room

พื้นที่แห่งความสุขที่สะท้อนออกมาจากภายใน ด้วยเฉดสีที่เลือกสรรโดย Tastespace

ณ ห้วงความคิดของการค้นหาความหมายในความสงบของจิตใจ เรามักพบความสุขเมื่อค้นลึกลงไปสู่ตัวตนภายใน ก่อนจะกลายเป็นความปิติยินดีเอ่อล้นออกมา การสร้างช่วงเวลาแห่งการแบ่งปัน จึงนับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสร้างให้ความสุขนั้นคงอยู่ตลอดไป เช่นเดียวกับการทำงานของ Tastespace หนึ่งในออฟฟิศออกแบบที่ชำนาญการออกแบบร้านอาหาร คาเฟ่ และบาร์ ที่ใช้วิธีสร้างความสุขผ่านงานออกแบบ ในฐานะผู้ทำหน้าที่มอบบรรยากาศ และช่วงเวลาดี ๆ ให้เกิดขึ้นแก่ผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาแห่งการพบปะสังสรรค์ กินดื่ม และรับประทานอาหาร ภายในร้านต่าง ๆ ที่ Tastespace เป็นผู้ออกแบบ วันนี้ room ได้มีโอกาสมาพูดคุยกับคุณฮิม– กิจธเนศ ขจรรัตนเดช ดีไซน์ ไดเรกเตอร์ แห่ง Tastespace ถึงเคล็ดลับการออกแบบ และวิธีคิดในการเลือกสรรองค์ประกอบต่าง ๆ ให้แก่พื้นที่ สำหรับช่วงเวลาอันพิเศษเหล่านั้น “ยกตัวอย่าง ร้าน Maré Seafood ที่เชียงใหม่ เราเลือกช่วงเวลาอาทิตย์ตก ซึ่งมีภาพคนหาปลากำลังเดินเรือกลับเข้าสู่ฝั่งมาใช้เป็นธีมหลักในการสร้างสรรค์บรรยากาศ ด้วยความที่เป็นร้านอาหารทะเล การนำพาเรื่องราวจากทะเลสู่ฝั่ง ก่อนนำมาสู่จานอาหารตรงหน้า สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยสร้างบรรยากาศให้แก่ผู้มารับประทานอาหารทั้งสิ้น เพราะการรับประทานอาหารไม่ใช่แค่เรื่องของการกิน แต่ยังเป็นประสบการณ์ที่จะสร้างความทรงจำให้แก่ลูกค้าทุกคน โดยร้านนี้มีการเลือกใช้สีน้ำเงิน และสีทองแดง เป็นภาพตัวแทนของท้องทะเล และพระอาทิตย์ […]

BOGOR CREATIVE HUB ครีเอทีฟฮับของคนรักงานสร้างสรรค์ ศูนย์กลางช่วยส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประจำเมือง

ครีเอทีฟฮับ ดีไซน์โดดเด่นรูปตัวซี (C) สีขาว ที่เปิดให้เหล่านักคิดนักสร้างสรรค์ รวมถึงชาวเมืองทุกคน ได้มีพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อน และระดมความคิด เพื่อช่วยการส่งเสริมและพัฒนาเมือง Bogor Creative Hub ครีเอทีฟฮับ แห่งนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่อาคารประวัติศาสตร์เก่าแก่ประจำเมือง Bogor ประเทศอินโดนีเซีย เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อน และระดมความคิด เพื่อช่วยการส่งเสริมและพัฒนาเมือง ผ่านพื้นที่ที่ได้รับการออกแบบฟังก์ชันการใช้งานเพื่อกระตุ้นไอเดียไว้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ ฮอลล์สำหรับจัดงานประชุม ห้องเวิร์กชอป และแกลเลอรี่แสดงงานศิลปะ โดดเด่นด้วยตัวอาคารรูปตัวซี (C) สีขาว เปิดโล่งเพื่อเชื่อมต่อกับลานกลางแจ้งที่ขยายไปยังสวนสาธารณะที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ มองไปด้านหน้าจะเห็นอาคารเก่าสไตล์โคโลเนียลซึ่งยังคงอยู่ในสภาพดี จากทำเลที่ตั้งที่เปรียบเสมือแลนด์มาร์กหนึ่งของเมือง Local Architecture Bureau จึงหยิบองค์ประกอบอย่างซุ้มโค้งของอาคารเก่ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาคารครีเอทีฟฮับแห่งนี้ด้วย เห็นได้จากการออกแบบทางเข้าอาคารที่มีลักษณะเป็นซุ้มโค้งแบบซ้อนเลเยอร์ เปลี่ยนภาพประตูทางเข้าอาคารที่ซ้ำซากให้มีมิติสวยงาม ระเบียงทางเดินภายในอาคารเปิดมุมมองออกสู่สวนสาธารณะ รองรับการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น อาทิ การเปิดเป็นเวทีกลางแจ้งสำหรับแสดงงานศิลปะ แสดงดนตรี งานเสวนา ฯลฯ   “เราพยายามให้ความเคารพต่อสถานที่ตั้งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เกิดความกลมกลืนระหว่างอาคารประวัติศาสตร์กับอาคารหลังใหม่ นอกจากนี้ยังเน้นการออกแบบที่เรียบง่าย สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น รองรับทุกกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมจิตวิญญาณแห่งการสร้างสรรค์” สถาปนิกผู้ออกแบบอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดที่ต้องการให้ที่นี่เป็นครีเอทีฟฮับประจำเมือง ช่วยสนับสนุนเหล่านักคิดที่เต็มเปี่ยมไปด้วยไอเดีย ได้มีพื้นที่แสดงผลงานและความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งช่วยขับเคลื่อนสังคมในแง่มุมต่าง ๆ […]

ตรวจรับคอนโด ทั้งมือหนึ่งและมือสองต้องดูอะไรบ้าง

เมื่อเลือกคอนโดมิเนียมได้ตามต้องการแล้ว สิ่งที่ต้องทำก่อนโอนกรรมสิทธิ์คือการตรวจรับห้องชุด เพราะห้องชุดที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วไม่ได้หมายความว่า จะสวยงานเหมือนห้องตัวอย่างเสมอไป ควรตรวจเช็คห้องเพื่อให้มั่นใจว่า ห้องที่ได้อยู่ในสภาพเสร็จสมบูรณ์ และปลอดภัยสำหรับการเข้าอยู่อาศัย ลดโอกาสการเกิดปัญหาที่อาจตามมาภายหลัง เพราะถ้าหากไม่เป็นไปตามข้อตกลง หรือตรวจไม่ละเอียดแล้วเซ็นรับโอนทันที อาจต้องวุ่นวายกับการติดต่อให้โครงการมาซ่อมแซมภายหลัง ขั้นตอนการตรวจรับคอนโดมิเนียมก่อนโอน 1. นัดหมายเจ้าหน้าที่โครงการ 2. เตรียมอุปกรณ์สำหรับการตรวจรับ 3. ตรวจคอนโดตามเช็คลิสต์ 4. แจ้งรายการแก้ไขและสรุปนัดวันตรวจงานกับเจ้าหน้าที่ สามารถแก้ไขงานได้ 2-3 ครั้ง หรือตามเงื่อนไขของโครงการ อุปกรณ์ตรวจรับคอนโดมิเนียม 1.กล้องถ่ายรูป หรือกล้องมือถือ ใช้ถ่ายรูปเพื่อเป็นหลักฐาน 2.กระดาษโพสต์อิท ใช้จดรายละเอียด แล้วแปะตามจุดที่ต้องการให้แก้ไข (ส่วนใหญ่ทางโครงการเตรียมให้) 3.ตลับเมตร ใช้วัดพื้นที่ตามส่วนต่าง ๆ 4.เหรียญ ใช้เคาะพื้น หรือกระเบื้องตรวจดูว่า มีจุดไหนกลวงผิดปกติบ้าง  5.ลูกแก้ว ลูกปิงปอง ไม้วัดระดับน้ำ ตรวจสอบความลาดเอียงและความเรียบของพื้น 6.ถังน้ำ หรือขวดน้ำ ใช้ราดน้ำตรวจสอบความลาดเอียงของพื้นระเบียงและพื้นห้องน้ำ 7.ไขควงวัดไฟ หรือสายชาร์จโทรศัพท์ ใช้ตรวจสอบปลั๊กไฟ และทดสอบระบบไฟฟ้า   Checklist 13 จุด ให้ชัวร์ก่อนโอน   ถ้ามีเช็คลิสต์ไปด้วยตอนตรวจรับคอนโดฯ […]

Taya Living งานคราฟต์อเนกประสงค์ สะท้อนวิถีเรียบง่ายและยั่งยืน

Taya Living นำเสนอผลิตภัณฑ์คราฟต์ดีไซน์เรียบง่ายในหมวดโฮมโปรดักต์และแฟชั่น ที่แตกต่างด้วยฟังก์ชั่นอเนกประสงค์ ตอบโจทย์วิถีชีวิตยุคใหม่ แบรนด์เล็กๆ เริ่มต้นจากตัวตนของ คุณณัฐฑยา สวาทสุต ผู้ประกอบการสาวไฟแรง ที่กลั่นกรองทั้งความหลงใหลและประสบการณ์ เพื่อสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ให้เป็นเหมือนคอมมูนิตี้ของสาวๆ พร้อมกับการให้ความสำคัญกับแนวคิดด้านความยั่งยืน และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จากเจ้าของร้านค้าแฟชั่นออนไลน์ แอร์โฮสเตส และและนักพัฒนาธุรกิจคุณณัฐฑยานำพาประสบการณ์ทั้งหมดมาพลิกไลฟ์สไตล์ส่วนตัวให้กลายเป็น Taya Living แบรนด์ทางเลือกใหม่สำหรับสินค้าในชีวิตประจำวัน ที่ยังคงกลิ่นอายความเรียบง่าย และเสน่ห์ของงานคราฟต์ไว้อย่างกลมกลืน “แบรนด์นี้เกิดจากไลฟ์สไตล์และความชื่นชอบของณัฐเอง เราชอบกระเป๋าสาน ชอบไปทะเล และชอบบ้านสไตล์สแกนดิเนเวียน  кредитные займы онлайнถ้าเกิดจะไปเที่ยวก็จะนึกถึงเกาะไมโคนอส (Mykonos) ในกรีซ ซึ่งพอเราชื่นชอบสิ่งเหล่านี้ มันก็เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ที่สะท้อนตัวตนของเรา” พลิกโฉมพลาสติกใกล้ตัวสู่คราฟต์ที่แตกต่าง เมื่อตั้งใจจะสร้างแบรนด์ใหม่ นอกเหนือจากดีไซน์ วัสดุก็เป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างแท้จริง คุณณัฐฑยาออกตามหาวัสดุใหม่ ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านการใช้งาน และกระบวนการผลิต ซึ่งตั้งใจให้ Taya Living คงกลิ่นอายของงานหัตถกรรมงานจักสานท้องถิ่นไว้ “ถึงจะชอบกระเป๋าสานมาก แต่ด้วยความที่มักทำมาจากวัสดุธรรมชาติเลยมีอายุการใช้งานสั้น และดีไซน์ก็ยังไม่ได้ถูกใจเท่าไหร่ หรือถ้าเป็นสไตล์แฟชั่นหน่อยก็จะมีการตกแต่งที่ยังไม่ถูกใจเรา […]

JETTY GARDEN สวนสาธารณะริมท่าเทียบเรือ ที่ส่งเสริมทั้งการพักผ่อนและภูมิทัศน์อันสวยงามในประเทศอินเดีย

สวนสาธารณะ ริมท่าเทียบเรือ Nani Daman ในเมือง Daman ประเทศอินเดีย อยู่ใกล้กับป้อมปราการ St. Jerome ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ย้อนไปแต่เดิมที่นี่เคยเป็นพื้นที่สวนสาธารณะมาก่อน แต่กลับถูกเลิกใช้และปล่อยให้เสื่อมโทรมอยู่เป็นเวลานาน เพราะไม่ตอบโจทย์ความต้องการของชาวบ้านเท่าไหร่นัก กระทั่งมีนโยบายให้ฟื้นฟูและออกแบบใหม่ โดยครั้งนี้เป็นหน้าที่ของทีมออกแบบจาก ARUR, KTA ซึ่งให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้งาน และบริบทที่ตั้งเป็นสำคัญ การออกแบบ สวนสาธารณะ นี้ เรียกว่าถูกกำหนดด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ ปัจจัย นอกจากโจทย์ด้านการใช้งานแล้ว ยังต้องตอบโจทย์ด้านภูมิทัศน์ด้วย เนื่องจากทำเลสามารถมองเห็นความสวยงามของวิวริมน้ำ โดยเฉพาะฝั่งตรงข้ามที่มองเห็นป้อมปราการ St. Jerome และภาพเรือประมงหลากสีสันที่สัญจรผ่านไปมาบนผิวน้ำ ซึ่งเหมาะแก่การมาพักผ่อนชมวิวเป็นอย่างมาก взять автокредит онлайн เพื่อตอบสนองจุดประสงค์การใช้งานดังกล่าว จึงออกแบบอาคารพาวิเลียนให้ขนานไปกับแนวถนนชายฝั่ง แล้วทำทางเดินชั้นบนให้เชื่อมต่อถึงกันได้ แบบยาว ๆ ให้เดินเล่นชมวิวมุมสูงได้แบบจุใจ โดยพาวิเลียนแต่ละหลังจะไม่บดบังกัน หลังคาด้านบนทำจากไม้ระแนงเพื่อช่วยกรองแสงเท่านั้น จึงเป็นภาพโครงสร้างที่ดูโปร่งเบา ขณะที่ชั้นล่างก็ได้ร่มเงาจากใต้ท้องอาคาร ช่องว่างด้านล่างของพาวิเลียนที่สร้างแบบสับหว่างกัน ทำพื้นที่เป็นคอร์ตสวนขนาดเล็ก ปลูกไม้ยืนต้นที่ขุดล้อมมาจากสวนเก่ากว่า 20 ต้น เติมด้วยไม้พุ่มทรงเตี้ยที่มีใบสีสันสดใสช่วยเพิ่มความสดชื่น และเมื่อยอดไม้แผ่กิ่งก้านเติบโตเต็มที่ก็จะกลายเป็นร่มเงาแผ่ปกคลุมไปทั่วทั้งบริเวณ ช่วยให้อาคารไม่ร้อนจนเกิน […]

LET’S (NOT) KICK BUTT เปลี่ยนก้นบุหรี่เป็นวัสดุใหม่ดั่งงานศิลป์

ก้นบุหรี่ ภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าหลอดพลาสติก เชื่อหรือไม่ว่า ขยะที่ปนเปื้อนไหลลงทะเลนั้น มากกว่าหลอดพลาสติก มันคือก้นบุหรี่ที่เป็นขยะยากแก่การรีไซเคิล อาจจะดูเหมือนเป็นวัสดุนุ่มนิ่มที่น่าจะรีไซเคิลได้ไม่ยาก แต่แท้จริงแล้วก้นบุหรี่เหล่านี้ประกอบขึ้นจากพลาสติก ประเภทเซลลูโลสอะซีเตต (Cellulose Acetate) เป็นประเภทเดียวกับที่ใช้ทำแผ่นฟิล์มกันแสงจอโทรทัศน์ ฟิล์มถ่ายรูป และฝาครอบหลอดไฟ มีความเหนียว และทนทานต่อแรงกระแทก ซึ่งจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ในการย่อยสลายเลยทีเดียว และมักจะจบลงที่การนำไปฝังกลบ โดยเฉพาะก้นบุหรี่ใช้แล้วยังมีเศษยาสูบที่มีสารท็อกซิน นิโคติน สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็ง และเอทิลฟีนอล ซึ่งเป็นสารพิษที่จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อฝังกลบแล้ว อาจถูกพัดพาไป จนเป็นขยะทางทะเลในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง Sachi Tungare นักออกแบบชาวอินเดีย จึงเริ่มต้นโปรเจ็กต์ let’s (not) kick butt ตั้งแต่ปี 2019 โดยเป็นหนึ่งในโปรเจ็กต์ทางการศึกษาที่ Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ก่อน ซึ่งในโครงการนี้ก็คือการหาวิธีที่จะนำเอาเศษก้นบุหรี่เหลือทิ้ง มาขจัดสารพิษออกด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนจะผสมสีลงไปในวัสดุเพื่อให้ดูเป็นมิตร และน่านำกลับไปใช้มากขึ้น ก่อนจะทดลองการขึ้นรูปให้กลายเป็นชิ้นงานต่อไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันการขึ้นรูปนั้นยังทำได้ในระดับหนึ่ง ผลลัพธ์ในตอนนี้จึงเป็นเหมือนกับผลงานศิลปะ […]

“CDC Designer Workplace”

“CDC Designer Workplace” ซัพพอร์ตดีไซเนอร์ให้งานนี้ไม่มีสะดุด จุดประกายความคิด “แดน ศรมณี” ร่วมแชร์ทริคครีเอทีฟไม่มีกั๊ก

ด้วยประสบการณ์ที่โลดแล่นอยู่ในสายงานออกแบบ อีกทั้ง CDC ยังเป็นดีไซน์เซ็นเตอร์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย จึงเข้าใจความรู้สึกของสถาปนิกและนักออกแบบทุกคน ที่อยากมีพื้นที่ที่ตอบโจทย์ในการทำงาน ได้ใช้สมองปล่อยไอเดียได้ไม่รู้จบ แถมยังสบายตา สบายใจ ให้สมองได้โลดแล่นทำงานอย่างราบรื่น CDC Designer Workplace KE Group จึงเนรมิตพื้นที่ทำงาน “CDC Designer Workplace” ให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้มาเอ็นจอยในการทำงาน ผ่าน Co-Working Space ซึ่งเป็นพื้นที่ในการหาแรงบันดาลใจและศูนย์รวมข้อมูลในทุกเรื่องดีไซน์ เรียกว่าเป็น Workplace, Designer และ Creative Community มาครบจบที่เดียวได้ทั้งาน และได้แชร์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนในวงการเดียวกัน ไม่เพียงแค่พร้อมต้อนรับนักออกแบบที่จะมาเอ็นจอยในการทำงานไปด้วยกัน ในงานกิจกรรม Opening เปิดตัวสุดปังเชิญ Guest พิเศษ “แดน ศรมณี” Former Global Brand Lead จาก LINE Company (Thailand) มาแชร์ประสบการณ์เรื่อง Branding Creative Branding แบบไม่มีกั๊ก ให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้ฟังเพื่อต่อยอดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานออกแบบ […]

เปลี่ยนรังผึ้ง เป็นโหลน้ำผึ้ง ที่ทำมาจากขึ้ผึ้ง Bee Loop

ใช้เพียงขึ้ผึ้งร้อยเปอร์เซ็นต์ และเชือกลินินเท่านั้น เพื่อสร้างโหลใส่น้ำผึ้งนี้ขึ้นมา ด้วยเหตุนี้เองภาชนะใส่น้ำผึ้งจาก Bee Loop จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นกัน และมากกว่านั้นคือโหลน้ำผึ้งนี้ไม่เป็นพิษ สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรีย มีความเป็นออร์แกนิกถึงขนาดที่ถ้าจะกินก็กินเข้าไปได้โดยปลอดภัย(แต่ไม่น่าอร่อย และเชือกที่มาด้วยกันน่าจะทานยาก) Bee Loop ได้สร้างเทคนิคการบรรจุและขึ้นรูปขึ้ผึ้งให้กลายเป็นภาชนะขึ้นมา โดยใช้สีและพื้นผิวของโหลในการแยกประเภทของน้ำผึ้งออกจากกันคือ สีเหลืองหม่นจะเป็นน้ำผึ้งป่า สีเหลืองเข้มสำหรับน้ำผึ้งบัควีท และสีเหลืองอ่อนสำหรับนึกปกติ บนภาชนะมีเพียงการปั้๊มโลโก้ของ Bee Loop ด้วยความร้อนเพียงเท่านั้น และฝั่งเชือกลินินไว้สำหรับรูดเปิดฝาที่ซีลไว้กับตัวภาชนะ(ฝาก็คือขี้ผึ้งที่หลอมเป็นชิ้นเดียวกันจากโรงงาน) ในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ใช้อาจนำภาชนะที่เหลือไปใช้ทากระดาษเพื่อกันน้ำ ใช้จุดเป็นเชิงเทียน นำไปใส่ของ และอีกมากมาย หรือทิ้งไปตามธรรมชาติก็ย่อมได้ การออกแบบนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าหลักการ Zero Waste เกิดขึ้นได้จริง และ Circular Economy นั้น สามารถเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้หากเราค่อยปรับวิถีชีวิตของเราให้ดีต่อโลกมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะงานออกแบบที่ดีจะช่วยให้คุณค่อย ๆ ปรับตัวไปกับวิถีที่ดีต่อโลกได้ในทุกวันแน่นอน ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.beeloop.lt ออกแบบโดย: Pencil and Lion (fb.com/pencilandlion) ภาพ: Bee Loop เรียบเรียง: Wuthikorn […]

พระพิฆเนศ ปางประทานพร รุ่นต้านโควิด

ผลงานศิลปะสะท้อนความเชื่อในยุคโควิด-19 จะเป็นอย่างไรหากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพและยึดเหนี่ยวจิตใจอย่าง “พระพิฆเนศ” จะเปลี่ยนไป ด้วยชุด PPE แบบเต็มยศ แถมยังถือวัคซีนไว้ในมือ สะท้อนให้เห็นว่าในสถานการณ์โรคระบาดที่ย่ำแย่ ความหวังของผู้คนอาจไม่ได้พึ่งเพียงการกราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือไหว้พระให้พ้นภัยเพียงอย่างเดียว เพราะคงไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นองค์ พระพิฆเนศ ทรงเครื่องชุด PPE เต็มยศเช่นนี้ แถมยังถือวัคซีนเอาไว้ในมือ ประหนึ่งทรงเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้นำความหวังมาสู้มวลมนุษย์ อย่างไม่รอช้า room จึงยกหูหาดีไซเนอร์ผู้ออกแบบในทันที “เราต้องการแสดงความเคารพและยกย่องแก่พระสงฆ์ บุคลากรการแพทย์ จิตอาสา ผู้สวมชุดPPE ทุกท่านเพื่อยอมอุทิศชีวิตเพื่อผู้อื่น ซึ่งเวลาที่เราได้เห็นข่าวเหล่านั้นมันทำให้เรามองว่าเขาเป็นเหมือนเทพที่มาช่วยคนที่กำลังลำบากเลยนะ” คุณซัน – รตนพรรณ์ เสน่ห์งามเจริญ ศิลปินผู้ออกแบบได้เล่าให้เราฟัง “เราเองก็บูชาพระพิฆเนศอยู่แล้ว เพราะท่านเป็นเทพแห่งปราชญ์ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศมีความรอบรู้ในศิลปวิทยาทุกแขนง และในหลากหลายตำราก็กล่าวถึงท่านในแง่ของความมีคุณธรรม คอยช่วยเหลือปกป้องสิ่งชั่วร้าย และเป็นยอดกตัญญู เราจึงแทบให้ท่านเป็นเหมือนตัวแทนของฮีโร่ทุกคนในสถานการณ์การระบาดนี้นั่นเอง” “ในอีกทางหนึ่งเราก็หวังว่าประติมากรรมชิ้นนี้จะเป็นเหมือนสิ่งเตือนใจให้ทุกคนลุกขึ้นมาช่วยกัน ช่วยในส่วนของตัวเองก็ได้ เพราะสถานการณ์ตอนนี้มันก็ต้องร่วมมือร่วมแรงกันไม่มากก็น้อย ส่วนหนึ่งประติมากรรมนี้ก็เหมือนเป็นสิ่งเตือนใจ อีกส่วนหนึ่งก็จะนำรายได้ไปช่วยสมทบให้กับหน่วยกู้ภัยที่ทำงานช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบเช่นกัน” องค์พระพิฆเนศปางประทานพรนี้ สูง 16 กว้าง 15 ลึก 10 เซนติเมตร(หน้าตัก 5 นิ้ว) วัสดุเนื้อหินอ่อนเทียม […]

พาส่องงานออกแบบพื้นที่ภายใน “ศูนย์ฯสิริกิติ์” ใหม่ “จากผ้าไทย สู่ดีไซน์ร่วมสมัยที่แตกต่าง”

“ศูนย์ฯสิริกิติ์” หรือในชื่อเต็ม ๆ ว่า ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Queen Sirikit National Convention Center – QSNCC) เป็นศูนย์การประชุมตั้งอยู่บริเวณถนนรัชดาภิเษก ติดกับสวนเบญจกิติ และโรงงานยาสูบเดิม “ศูนย์ฯสิริกิติ์” นับได้ว่าเป็นศูนย์การประชุมระดับนานาชาติตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 เพื่อรองรับการจัดประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร และมีการใช้งานอย่างเนืองแน่นตลอดมากว่า 30 ปี จนกระทั่งได้ปิดปรับปรุงไปในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา เพื่อยกระดับงานออกแบบศูนย์ฯสิริกิติ์ใหม่ทั้งหมด ให้รองรับกับความต้องการการใช้งานที่เปลี่ยนไป รวมทั้งขยายพื้นที่เพื่อรองรับและเชื่อมโยงกับการใช้งานที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจากบริบทเมืองที่เปลี่ยนไป โดยมีพระราชดำรัส “สืบสาน รักษา ต่อยอด” เป็นคอนเซ็ปต์ในการออกแบบ “ศูนย์ฯสิริกิติ์” ในครั้งนี้นั่นเอง วันนี้เราได้รับโอกาสจาก คุณออ-อริศรา จักรธรานนท์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง ONION สำนักงานสถาปนิกที่โดดเด่นเป็นอย่างมากในด้านการออกแบบ “ความเป็นไทย” ให้ “ร่วมสมัย” ดังเช่นผลงานที่ผ่านมาอย่าง SALA Ayutthaya หรือร้านอาหารบ้านป้อมเพชร ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงผลงานล่าสุด […]

เฟอร์นิเจอร์จากใย กัญชง อัด ทำเองได้ง่ายนิดเดียว สู่การใช้งานใหม่ที่หลากหลายยิ่งขึ้น

Hannah Segerkrantz นักศึกษาจาก Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เลือกทำวิทยานิพนธ์ซึ่งต่อยอดวัสดุ Hempcrete หรือก้อนอิฐจากใยกัญชงอัด ให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ในหลากหลายการใช้งาน โดยมาพร้อมคุณสมบัติที่ทนทาน ปลอดภัย ใช้งานง่าย เข้ากับทุกการตกแต่ง ทั้งยังกันน้ำได้อีกด้วย ด้วยวิธีที่การเหมือนจะง่าย(แต่จริง ๆ แล้วไม่ง่ายเท่าไหร่) Hannah เลือกที่จะออกแบบเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้จากรูปทรงพื้นฐานคล้ายรูปถ้วย 6 ขนาด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะจำกัดขนาดของแม่พิมพ์ให้ไม่มากจนเกินไป รูปถ้วยเหล่านี้นอกจากจะเป็นรูปทรงที่มั่นคงแล้ว ยังสะดวกต่อการเข้าพิมพ์และแกะออกจากพิมพ์อีกด้วย พิมพ์ที่ใช้นั่นเป็นแม่พิมพ์ผ้าซึ่งใช้วิธีรัดเข้าให้พอดี จากนั้นจึงกรอกใยกัญชงที่ผสมน้ำแล้วลงไป และนำแม่พิมพ์สองชิ้นที่เลือกมาประกบกัน ด้วยวิธีการนี้เมื่อใยกัญชงจากทั้งสองพิมพ์เชื่อมติดกัน เราจะได้ผลลัพธ์คือเฟอร์นิเจอร์สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันถึง 15 แบบ ตั้งแต่เก้าอี้ทรงเตี้ย ไปจนถึงโต๊ะข้างทรงเตี้ย หรือแท่นวางของ Hannah ตั้งใจให้ HEMP-IT-YOURSELF เป็นวิธีการที่เปิดกว้างที่จะช่วยผลักดันให้ใครก็ตามที่ได้ทดลองได้ตระหนักถึงความเป็นไปได้จากวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งคุณค่าของรูปทรงเรียบง่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ร่วมออกแบบบรรยากาศโดยรอบของเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้เอง สำหรับใครที่สนใจและอยากลองทำเฟอร์นิเจอร์จากใยกัญชงแบบ Hannah ดูบ้าง ลองเข้าไปศึกษาได้ที่ https://hannahsegerkrantz.com/hemp-it-yourself-process ข้อมูลเพิ่มเติม https://hannahsegerkrantz.com ภาพ: Luca Tichelman, Hannah Segerkrantzเรื่อง: Wuthikorn Sut […]

สวยเฉียบ เรียบนิ่ง เข้าได้กับบ้านทุกสไตล์กับ ASUS S500SC

น่าเสียดายไม่น้อยหากคุณตั้งใจออกแบบและตกแต่งบ้านมาเป็นอย่างดี แต่ดันมาเสียบรรยากาศกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ขาดไม่ได้อย่าง คอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกได้ว่าหลาย ๆ คนต้องทำงานอยู่หน้าจอไม่ต่ำกว่า 5-6 ชั่วโมงต่อวันในสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ต้องทำงานอยู่บ้านเช่นนี้ ไม่เพียงแค่พ่อแม่ผู้ปกครองเท่านั้นที่ต้องทำงานอยู่บ้าน ลูก ๆ เองก็จำเป็นต้องเรียนออนไลน์เช่นเดียวกัน หากมีคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทรงประสิทธิภาพ รวมไปถึงมีรูปลักษณ์ที่สวย เรียบง่าย นำไปวางไว้มุมไหนของบ้านก็ไม่รู้สึกเคอะเขินก็คงดีไม่น้อย ราวกับเป็นของประดับบ้านชิ้นหนึ่งก็ว่าได้ หนึ่งในรุ่นของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ตอบโจทย์ดังกล่าวอย่าง  ASUS S500SC ที่มาพร้อมดีไซน์ขนาดกะทัดรัดแต่แข็งแกร่ง ที่ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะก็สามารถวางได้ ช่วยประหยัดพื้นที่ใช้งาน และเอื้อต่อการทำความสะอาดเพราะหลัก ๆ มีเพียงส่วนของหน้าจอและตัว CPU ที่ออกแบบให้จัดวางได้ทั้งแบบตั้งข้าง ๆ หรือจะวางนอนเป็นฐานของหน้าจอคอมไปในตัวได้เลย ด้วยการออกแบบรูปลักษณ์ที่เรียบง่าย คุมโทนด้วยสีสุดคลาสสิกอย่างสีดำทั้งในส่วนหน้าจอและ CPU ทำให้สามารถเข้าได้กับแบบบ้านทุกสไตล์  วางไว้มุมไหนก็สวยเก๋ พร้อมครอบคลุมทุกการทำงานในชีวิตประจำวัน เช่น การเขียนรายงานหรือการท่องอินเทอร์เน็ต ไปจนถึงการดูวีดีโอหรือเล่นเกมกับเด็กๆ ด้วยหน่วยความจำความเร็วสูงในตัวที่ให้ประสิทธิภาพในการตอบสนองที่รวดเร็ว ช่วยเพิ่มความสมจริงอย่างเหลือเชื่อให้กับภาพถ่ายและวีดีโอ สำหรับตัว CPU ขนาดย่อมนี้แต่ภายในประกอบด้วยระบบประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุด มาพร้อมแรมแบบ DDR4 ทำให้ Desktop ASUS S500SC เป็น PC […]

The Growing Pavilion สถาปัตยกรรมจากเห็ดรา

ช่วงนี้ฝนตกบ่อยอากาศอับชื้น มองไปที่โต๊ะก็พบว่า ขนมปังที่ซื้อมาวันก่อนราขึ้นไปเสียแล้ว หลังจากนำไปทิ้งก็เลยคิดขึ้นมาได้ว่า ในโลกของงานออกแบบเราสามารถนำเห็ดรามาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง? แล้วก็ไปเจอผลงานหนึ่งที่เคยจัดแสดงเมื่อปี 2019 ในงาน Dutch Design Week 2019 ซึ่งมีชื่อว่า The Growing Pavilion ความพิเศษของอาคารนี้ไม่ธรรมดาเพราะใช้ “เห็ดรา” เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างกันเลยทีเดียว เจ้าเห็ดราที่ว่านี้เรียกว่า Mycelium ซึ่งแปลตรงตัวว่า “เส้นใยเห็ด” เจ้าเส้นใยนี่แหละที่ค่อยช่วยให้เห็ดหรือราสามารถยึดเกาะอยู่บนพื้นผิวเช่นผนังหรือตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้ คล้ายรากของพืชไม้เลื้อย และด้วยการวิจัยกว่า 2 ปีของทีมงาน Company New Heroes ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นพันธุ์ที่มี Mycelium หนาแน่นแข็งแรงคล้ายแผ่นโฟมอย่างที่เห็น เป็นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมวงการวัสดุเพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย และในอนาคตอาจจะสามารถผลิตได้ในราคาที่ย่อมเยาว์อีกด้วย อาคารแห่งนี้มีโครงสร้างหลักเป็นไม้รีไซเคิลที่นำมาทำเป็นโครงรูปทรงกระบอก จากนั้นจึงติดตั้งแผ่น Mycelium ลงไปตามช่องว่างของโครงสร้าง โดยที่แผ่นเห็ดราเหล่านี้ก็ยังสามารถเติบโตต่อไปได้ หากเกิดความเสียหายสามารถเลี้ยงต่อให้ซ่อมแซมตัวเองได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในอนาคตไม่แน่เราอาจได้เห็นอาคารที่ใช้เห็ดราเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงสร้างและพื้นผิวอาคารไปพร้อมกันเลยก็เป็นได้ และสำหรับใครที่อยากสัมผัสของจริง เรามีข่าวดีเพราะ The Growing Pavilion จะไปจัดแสดงอีกครั้งที่ Floriade Expo […]