Design Archives - Page 10 of 36 - room
สายแคมป์ ต้องหยุดมองเพราะมองยังไงก็ภาพซ้อน แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะนี่คือชุดแต่งรถลากของ Toyota Racing Development หรือ TRD นั่นเอง

ตัวจบของกระบะสายแคมป์ TRD SPORT TRAILER

สายแคมป์ ต้องหยุดมองเพราะมองยังไงก็ภาพซ้อน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เพราะนี่คือชุดแต่งรถลากของ Toyota Racing Development หรือสำนักแต่งรถของโตโยต้าที่เรารู้จักกันในนาม TRD นั่นเอง อ่าน : จาก STUDIO 248 สู่ CAMP STUDIO ก้าวใหม่ที่สะท้อนความหลงใหลและประสบการณ์ในการออกแบบ TRD Sport Trailer มาด้วยรูปลักษณ์เข้าคู่กับกระบะของ Hilux USA ปี 2020 ซึ่งเอาจริง ๆ เราคิดว่า ทีมได้ตัดกระบะมาต่อเติมดื้อ ๆ นั่นแหละ แต่เอาเถอะก็มันสวยซะขนาดนี้ ของมันต้องมีแหละจริง ๆ นะ เจ้ากระบะพ่วงน้อยคันนี้ ไม่ได้เล็กอย่างหน้าตา เพราะเขาออกแบบมาให้เป็นกระบะสารพัดประโยชน์อย่างแท้จริง กับการออกแบบที่สามารถเปลี่ยนการใช้งานแบบโมดูลาร์ได้นั่นเอง ทำให้เจ้ากระบะพ่วงคันนี้เป็นทุกอย่างให้คุณแล้วตั้งแต่ห้องน้ำ ห้องส้วม ตู้เย็น รถปั่นไฟ ถังสำรองน้ำ เตาบาร์บีคิว ห้องครัวเคลื่อนที่ หรือแม้แต่เต็นท์ขนาด 4 คนนอน ก็ยัดรวมมาไว้ได้หมด จึงเรียกได้เต็มปากเลยว่าเจ้านี่ก็คือ […]

คุยกับ ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ถึงการออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการทำความเข้าใจใน “ความหมาย”

แน่นอนว่าบริบทนั้นจะส่งเสริมคุณค่าให้กับงานสถาปัตยกรรม แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่านั้นอาจไม่ใช่การทำภายในระยะเวลาอันสั้นหรือการทำอย่างฉาบฉวย การออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการลงลึกไปในความหมายด้วยการค่อยๆทำความเข้าใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ      จากความโกลาหลในกรุงเทพมหานคร กลิ่นอายทะเลเริ่มแทนที่หมอก PM2.5 ในอากาศ ตามเส้นทางยาวไกลที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดปลายสุดของภาคตะวันออกด้วยระยะทางที่ไกลกว่า 300 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - จังหวัดตราด เมืองซึ่งยังไม่ถูกจัดว่าวุ่นวาย ทว่าเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอ ๆ กับเมืองหลวง ในปี พ.ศ. 2514 ตราดได้กำเนิดร้านบะหมี่เกี๊ยวร้านแรก และยังคงเปิดขายยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน “เขาเป็นบะหมี่เจ้าแรกของตราด คุณพ่อเข้ามาค้าขายเมื่อ 50 ปีที่แล้ว กระทั่งถึงรุ่นลูกเขาอยากจะปรับลุคร้านใหม่ให้ทันสมัยขึ้น”  คุณภัทราวุธ จันทรังษี เริ่มเล่าถึงที่มาที่ไปของงานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เก่าแก่ ในนาม บริษัท ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ให้เราฟัง      “แทนที่เราจะเปลี่ยนลุคใหม่ให้ดูใหม่ไปเลย เราคุยกับเจ้าของว่า น่าจะลองใช้ของเดิมนี่แหละมาปรับให้ดูน่าสนใจขึ้น เราพูดกันว่า เราน่าจะ ‘ปลุกตำนาน’ ร้านเกี๊ยวหนองบัวกลับมา โดยมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถดึงคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เป็นลูกค้าเก่าแก่กลับมาอุดหนุนพร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะกลายเป็นเหมือนเราทำสัญญาใจกันว่าเราจะไม่ได้ออกแบบแค่ตึกสวย ๆ แต่เราจะต้องทำให้เขาขายดีขึ้น ๆ ต่อไปด้วย      “ทำอย่างไรให้ร้านอยู่ได้อีก 50 ปี มันคงไม่ใช่ดีไซน์ที่หวือหวาหรือแฟชั่นจี๊ดจ๊าด แต่ต้องดูถ่อมตัวมากพอ แต่อะไรล่ะคือตรงกลาง”      โดยพื้นฐานทั่วไป งานออกแบบที่ดีนั้นอาจถูกวัดได้จากความสำเร็จไม่กี่ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพลักษณ์หรือฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการ อย่างไรก็ตาม การทำงานของตื่น ดีไซน์ สตูดิโอนั้น พวกเขากล่าวว่า ในทุก ๆ งานพยายามมุ่งความสนใจไปสู่ประเด็นที่ลึกซึ้งกว่านั้น ด้วยความเชื่อร่วมกันว่า งานออกแบบควรเป็นสิ่งที่มากกว่าแค่ฟังก์ชันหรือสินค้า แต่เป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงจิตใจผู้คน มีความหมาย และมีคุณค่าอันนำมาซึ่งความสุขต่อผู้ใช้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ      ร้านเกี๊ยวหนองบัว งานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เกี๊ยวและของฝากในตึกแถว 3 คูหาใกล้กับตลาดโต้รุ่งไร่รั้งในตัวเมืองตราดก็เป็นหนึ่งในนั้น พวกเขาได้พยายามสร้างคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับงาน เพื่อความสมบูรณ์ของการใช้งานในระยะยาว หากจะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งที่ทำ เข้าใจบริบทแวดล้อม และเข้าใจผู้ใช้งานให้มากที่สุดก่อนเท่าที่จะเป็นไปได้      “ถ้าเปรียบเทียบกับ
ขั้นตอนการออกแบบปกติ 
เมื่อได้โจทย์จากลูกค้ามา 
ดีไซเนอร์ก็จะลงไปดีไซน์ แล้ว
ใช้วิธี ‘Try and Error’ คือ
ดีไซน์ไปให้ลูกค้าดูว่าถูกใจ
หรือไม่ ชอบไม่ชอบอะไร 
ทำอย่างนี้กลับไปกลับมา 
จนกว่าจะพอใจร้อยเปอร์เซ็นต์ 
แล้วจึงค่อยเขียนแบบก่อสร้าง” 
คุณภคชาติ เตชะอำนวย-
วิทย์ อีกหนึ่งสถาปนิกใน
ทีมกล่าว      “แต่การทำงานของเรา
จะมีการรีเสิร์ชก่อนที่เราจะเริ่มดีไซน์จริง ๆ 
อาจจะใช้เวลามากน้อยต่างกันไปแล้วแต่
โปรเจ็กต์ อาจเดือนหนึ่งหรือสองเดือน เพื่อ
ทำความเข้าใจโจทย์ร่วมกันระหว่างเรากับ
เจ้าของ เช่น เราได้รับความต้องการมา 
เราต้องไปดูที่ตั้งโครงการ ศึกษาเกี่ยวกับเมือง 
ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเก่าที่เกี่ยวข้อง
กับงาน แล้วต้องพยายามคุยกับเจ้าของ
เยอะ ๆ หรือตั้งคำถามในเชิงวิเคราะห์หน่อย      “เช่นคำถามง่าย ๆ ว่า ชีวิตประจำวัน
ในหนึ่งวันเขาทำอะไรบ้าง ห้องแบบไหนที่
เขาชอบ หรือถ้าได้ไปอยู่ในบ้านหลังใหม่จะ
เกิดอะไรขึ้น ไปจนถึงคำถามอย่างถ้าคุณมี
เวลาเหลืออีก 6 เดือนในชีวิต คุณจะทำอะไร”      ในการค้นคว้าสถาปนิกตื่นจะพยายาม
ศึกษางานออกแบบและผู้ใช้งานมากไปกว่าเรื่อง
ดินฟ้าอากาศ ทิวทัศน์รอบด้าน หรือความ
ต้องการพื้นฐาน แต่พวกเขาจะให้การทำงาน
พาเข้าไปในโลกของเจ้าของงานให้มากที่สุด และ
ทำความเข้าใจบริบทในทุกมิติเท่าที่จะเป็นไปได้ 
รวมถึงกำหนดเป้าหมายของงาน โดยไม่ใช่
เฉพาะแค่ด้านภาพลักษณ์ แต่เป็นเป้าหมาย
และคุณค่าที่เจ้าของงานและนักออกแบบ
จะเห็นร่วมกันตั้งแต่ต้น เช่น เป้าหมาย
ว่างานออกแบบนั้นจะส่งผลดีกับเมืองนั้น ๆ 
อย่างไร หรือเป็นเป้าหมายที่มีคุณค่าทางใจ
สำหรับเจ้าของโดยเฉพาะ      “ผมมองว่าจริง ๆ ขั้นตอนของการ
ออกแบบมันเป็นแค่ช่วงสั้น ๆ แต่ช่วงแรก
ก่อนการเกิดขึ้นของบางสิ่งที่มันจะอยู่ไป
อีกนานนี้สำคัญมาก จะเห็นว่าทุกโปรเจ็กต์
เราจะเน้นให้เจ้าของเข้ามามีส่วนร่วมเยอะ 
เพราะตัวเขาเองเป็นคนใช้งาน ถ้าเขาเข้าใจ
ที่มาที่ไปของสิ่งที่มันจะอยู่ไปอีกนาน ผมว่า
นั่นถือเป็นประโยชน์ในระยะยาว” คุณ
ภคชาติกล่าว      “การรีเสิร์ชหรือการทำอะไรเยอะ ๆไม่ใช่แค่เราจะได้เข้าใจเขา แต่ผมว่าเขาจะเข้าใจเรามากขึ้นด้วย” คุณภาสพงศ์ มณี-วัฒนา อีกหนึ่งสถาปนิกในกลุ่มกล่าวเสริม“เขาจะเข้าใจกระบวนการทำงาน แล้วเขาจะรู้ว่า โอเค บางอย่างที่มันต้องเป็นอย่างนี้นั้นเป็นเพราะอะไร หรือทำไมมันถึงต้องใช้เวลา”      จึงกล่าวได้ว่า นอกจากการให้ความสำคัญกับมิติรอบด้านของตัวงาน การให้เจ้าของงานได้มีบทบาทกับงานของตัวเองอย่างมาก ก็เป็นแนวทางการทำงานที่กลุ่มสถาปนิกตื่นเห็นตรงกันว่า จะทำให้ได้งานออกแบบที่มีคุณค่ามากที่สุด มากกว่าที่ “สถาปนิก” จะเป็นผู้กะเกณฑ์ฝ่ายเดียว เรือนพินรัตน์ บ้านไม้สองชั้นของ
ครอบครัวรอดสุดในจังหวัดพัทลุง อีกหนึ่ง
ผลงานของสำนักงาน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดี
ของการให้เจ้าของบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม
กับงานออกแบบอย่างลึกซึ้ง      “ตัวเจ้าของบ้านค่อนข้างชัดมากว่าต้องการอะไร” คุณภคชาติเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของบ้าน “เขาถึงขนาดสเก็ตช์รูปมาให้ว่าอยากให้บ้านออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเราก็ยึดสเก็ตช์ตัวนี้แหละเป็นเครื่องมือ เราไม่ได้อยากจะสร้างหรือเปลี่ยนภาพลักษณ์อะไรใหม่ เราให้ความเคารพกับสิ่งที่ออกมาจากตัวเขา ซึ่งสิ่งนั้นก็คือความทรงจำ โดยที่เขาอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามันคือส่วนผสมระหว่างความทรงจำที่เขามีกับบ้านคุณตาคุณยายเขากับชีวิตสมัยใหม่ที่เขาอยากจะเป็นในบ้านหลังนี้”      เรือนพินรัตน์เกิดจากความคิดของคุณวิวัฒน์ รอดสุด เจ้าของบ้าน ที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหม่ให้เป็นสัญลักษณ์ของการระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยนอกจากการนำไม้เก่าจากบ้านคุณตาคุณยายมาใช้ การมีมุมติดรูปคุณตาคุณยายไว้ที่มุมหนึ่งของข้างฝา การใช้รูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่อ้างอิงกับเรือนพื้นถิ่นภาคใต้แบบที่คล้ายกับบ้านหลังเก่า ชื่อของบ้านยังได้มาจากชื่อของคุณยายพินและคุณตาวิรัตน์ ทั้งหมดรวมกันจึงเป็นบ้านที่ประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบทางความทรงจำ และความหมายที่มีคุณค่าต่อเจ้าของบ้านโดยเฉพาะอย่างลึกซึ้ง      ท้ายที่สุดการให้ความสำคัญกับการเน้นความหมายที่อยู่ในแต่ละสถานที่มากกว่าการกำหนดออกมาจากตัวนักออกแบบเอง จึงเป็นสิ่งที่กลุ่มสถาปนิกตื่นมุ่งหวังมาโดยตลอด ดังที่คุณภคชาติกล่าวสรุปในตอนท้าย      “เรื่องนี้มันสะท้อนในวิธีคิดของพวกเราเหมือนกัน คือเรารู้สึกว่าบางทีสถาปนิก หรือดีไซเนอร์นั้นไม่ได้เป็นเจ้าของความสวยงาม หรือว่าสิ่งที่ออกมาจากดีไซเนอร์เท่านั้นที่มันจะสวย      “งานพื้นถิ่น หรือถ้าเป็นในเมืองถือเป็นงานแนวสตรีทดี ๆ นี่เอง ซึ่งล้วนแต่มีความงามติดตัวมาอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะเห็นมันหรือเปล่า ความธรรมดาและความเรียบง่ายมันมีอยู่ทุกที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นดีไซเนอร์เท่านั้นที่จะสร้างสรรค์ความงามออกมาได้” เรื่อง : กรกฎา, โมโนโซดาภาพ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ

เสื้อ “คนเลี้ยงช้าง” ที่บอกเล่าประเด็นสิ่งแวดล้อมโดย RENIM PROJECT

แบรนด์แฟชั่นที่ยั่งยืนอย่าง RENIM PROJECT บอกเล่าประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมไทยผ่านเสื้อผ้ามาแล้วหลากหลายคอลเล็กชั่น ไม่ว่าจะเป็นสายไฟในกรุงเทพฯ SS19 คนเก็บขยะรีไซเคิล FW 19 ไปจนถึงคนงานก่อสร้าง SS20 และล่าสุดสำหรับคอลเล็กชั่น Fall/Winter2020 หรือในชื่อว่า “Dark Forest” ที่ได้ร่วมเดินแฟชั่นโชว์ที่เวียนนาแฟชั่นวีค ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา มีแรงบันดาลใจจากหนังเรื่อง “คนเลี้ยงช้าง” โดย ม.ล.ชาตรีเฉลิม ยุคล ปี 2533 นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี เป็นคนเลี้ยงช้างชื่อนายบุญส่ง และขี่ช้างป่าชื่อ แตงอ่อน ที่คอยลากไม้จากคนลักลอบตัดไม้ เรื่องราวในหนังเป็นการต่อสู้ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับคนที่ลักลอบตัดไม้ป่า โดยมีนายทุนเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ท้ายที่สุดแล้วแตงอ่อนได้คอยขับไล่พวกลักลอบตัดไม้ไปจนพ้น เพื่อปกป้องผืนป่าไว้ โดยเรื่องราวในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อุทิศให้แก่ สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติไทย ด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับช้างและป่าไม้ จึงเป็นที่มาของชื่อคอลเล็กชั่นว่า “Dark Forest” เพื่อให้คนได้ตระหนักถึงช้างป่าไทยที่ลดลงเป็นจำนวนมาก ดังที่เห็นในข่าวว่า ช้างถูกรถชน ถูกล่างา และต้องตายจากการย้ายแหล่งหาอาหาร เพราะป่าไม้ถูกทำลาย […]

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

Prague Design week 2020 คืองานแสดงงานออกแบบซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปราก เมืองหลวงที่สุดแสนโรมแมนติกใจกลางยุโรป เป็นเวลา 7 วันเต็มๆ โดยคอนเซ็ปของการจัดงานและการคัดเลือกนักออกแบบในปีนี้ นอกจากจะเน้นการออกแบบที่ร่วมสมัยและสามารถใช้งานได้จริงแล้ว ยังเน้นการนำเสนอทักษะด้านงานฝีมือ และไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยี พร้อมเรื่องราวแนวคิดของแบรนด์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทางของผลิตภัณฑ์เลยทีเดียว ในวันนี้เราได้คัดสรรค์งานออกแบบสไตล์รักษ์โลก ที่มีความโดดเด่นทางนวัตกรรมด้านความคิดมาฝากกันถึง 4 งานด้วยกัน “ เมื่อฝูงผึ้ง..กลายเป็นนักออกแบบจำเป็นของแบรนด์ Beehive ” Seibert Eduard นักออกแบบผู้มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติและป่าเขาลำเนาไพร เกิดไอเดียเด็ดในการทำงานกับ “ผึ้ง” ใช่ค่ะ..เรากำลังพูดถึงผึ้ง! แมลงสีเหลือง-ดำปีกใสสุดน่ารัก ที่เป็นฮีโร่ในการออกแบบและสร้างสรรค์ colloection โคมไฟและเทียนไข รูปแบบสุดเอ็กซ์คลูซีฟในครั้งนี้ โดยขั้นตอนการสร้างสรรค์งานศิลปะจากผึ้งชิ้นนี้ Seibert Eduard เล่าว่า เขาเป็นผู้ริเริ่มทำโมลด์นวัตกรรม ที่มีส่วนผสมพิเศษ สามารถส่งกลิ่นหอม เย้ายวนให้ฝูงผึ้งเริ่มบินมาทำรัง และด้วยความสามัคคีของเหล่าผึ้งนี้เอง ทำให้รังเริ่มใหญ่ขึ้นและมีรูปร่างที่สวยงามแตกต่างกันไปจนเกิดเป็นผลงานชิ้นเอกในคอลเล็คชันนี้ขึ้น นอกจากนี้รายได้บางส่วนที่เกิดจากการจำหน่ายผลงานคอลเล็คชันนี้ ยังถูกส่งกลับไปสนับสนุนกลุ่มคนเลี้ยงผึ้งในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของพื้นที่อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงระบบนิเวศอย่างครบวงจรอย่างแท้จริง “ Tomas Holub เครื่องประดับมินิมอลจากขยะอลูมิเนียม ” คอลเล็คชันเครื่องประดับสไตล์มินิมอลเหล่านี้ หากเราไม่พูดคุยกับนักออกแบบ หรืออ่านเรื่องราวของแบรนด์ […]

โชว์สวนดอกไม้ ณ ป้อมมหากาฬ พื้นที่ที่แลกมาด้วยชุมชนชานกำแพงพระนครแห่งสุดท้าย

ก่อนจะเป็น สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ พื้นที่ตรงนี้คือชุมชนป้อมมหากาฬซึ่งเป็น “ชุมชนชานกำแพงพระนคร” ที่เหลืออยู่แห่งสุดท้ายของเกาะรัตนโกสินทร์ ผ่านมากว่า 2 ปีกับการรื้อถอนชุมชนออกเพื่อปรับเป็นสวนสาธารณะอย่างในปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ทางกรุงเทพมหานครได้จัดงาน “ยลป้อมมหากาฬยามสายัณห์…ในวันดอกไม้บาน” เป็นสวนดอกไม้ในพื้นที่ 4 ไร่ ที่เปิดให้คนกรุงได้ชมเชยระหว่างเวลา 05.00 – 21.00 น. ทุกวัน จนถึงต้นปีหน้ากันเลย สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ นอกเหนือจากการไปชมความสวยงามของดอกไม้แล้ว เราควรตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ จึงต้องย้อนกลับไปตั้งคำถามว่า สวนแห่งนี้ได้ทำหน้าที่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ตามที่ กทม.ใช้เป็นเหตุผลในการรื้อชุมชนกลบหน้าประวัติศาสตร์ออกไปหรือไม่ เรามาฟังความคิดเห็นของ ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปนิกผู้เป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และ คุณยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกผู้ชำนาญการพัฒนาเมืองและการมีส่วนร่วมของชุมชน ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นสถาปนิกและนักประวัติศาสตร์ผู้ทำวิจัยเรื่องบ้านโบราณในชุมชนมานานก่อนการไล่รื้อครั้งสุดท้าย และเป็นส่วนหนึ่งที่เสนอให้เก็บบ้านเก่าไว้คู่กับวิถีชีวิตชุมชนเพื่อทำให้เป็น “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” ร่วมกับหลายองค์กรภาคสังคม รวมถึงเป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมหลายแห่งรอบเกาะรัตนโกสินทร์มาเป็นเวลาไม่น้อย ได้ให้ความคิดเห็นว่า สวนสาธารณะที่ถูกปิดล้อม “ตั้งแต่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬมาเป็นสวนสาธารณะกว่า 2 ปี ตามที่เห็นกัน ถือเป็นสวนสาธารณะที่ล้มเหลวตามที่คาดการณ์ไว้ ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและบริบทไม่เหมาะกับการทำเป็นสวนสาธารณะอยู่แล้ว เพราะเป็นพื้นที่ค่อนข้างปิด ขนาบด้วยคลอง และกำแพงเมืองเก่า จึงเข้าถึงพื้นที่ด้านในยาก […]

HOT WIRE EXTENSIONS เฟอร์นิเจอร์จากผงพลาสติกเหลือทิ้งใน 3D PRINTING

Hot Wire Extensions แบรนด์ของนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรง Fabio Hendry นำเสนอคอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์ ที่เกิดจากการรีไซเคิลผงพลาสติกไนลอนเหลือทิ้งในกระบวนการพิมพ์สามมิติ การออกแบบที่ผสานนวัตกรรมเข้ากับหัตถกรรม นำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ไม่รู้จบอันเกิดขึ้นจากการคิดค้นวัสดุ และกระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ พร้อม ๆ กับแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จุดเริ่มต้น Hot Wire Extensions ให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อความยั่งยืน และมุ่งมั่นผสมผสานนวัตกรรมวัสดุ และการทดลองทางวิศวกรรมเข้ากับงานออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ จุดเริ่มต้นของคอลเล็กชั่นนี้มาจากความพยายามในการสร้างกระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณผงไนลอนเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพิมพ์แบบสามมิติ โดยผงไนลอน (Nylon) หรือผงพลาสติกพอลิเอไมด์ (Polyamide, PA) นั้นคือวัตถุดิบหลักของกระบวนการพิมพ์สามมิติแบบ SLS ซึ่งเป็นการยิงแสงเลเซอร์พลังงานสูง ไปยังผงวัสดุให้เกิดการหลอมเหลวแล้วยึดติดกันเป็นเนื้อเดียวเพื่อขึ้นรูปชิ้นงาน ซึ่งผงไนลอนเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ใหม่ได้เพียง 20-50% เท่านั้น และยังไม่ได้รับการรีไซเคิลอย่างจริงจังในอุตสาหกรรมหลักที่ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติแบบ SLS กระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ ด้วยแรงบันดาลใจจากการเติบโตของเถาวัลย์ที่พันรัดรอบต้นไม้ Hendry สร้างสรรค์กระบวนการผลิตใหม่ โดยใช้วิธีการขึ้นรูปทรงของชิ้นงานด้วยลวดนิโครม (Nichrome) และติดตั้งในภาชนะที่ประกอบด้วยส่วนผสมของผงไนลอนเหลือทิ้ง และทรายซิลิกาบริสุทธิ์ เมื่อส่งผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด ความร้อนจะหลอมไนลอนโดยรอบ ทำให้ส่วนผสมแข็งตัวไปตามแนวโครงลวดเกิดเป็นรูปทรงใหม่ ทรายทำหน้าที่เป็นทั้งวัสดุฟิลเลอร์ตัวนำความร้อน และป้องกันไม่ให้ผงไนลอนหลุดออกจากลวด โดยความหนาของชิ้นงานจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า คอลเล็กชั่น หลากหลายคอลเล็กชั่นที่นำเสนอประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ทั้งเฟอร์นิเจอร์ […]

“ตำทองหล่อ” แซ่บนัวในบรรยากาศอีสานโมเดิร์น

หลังจากประสบความสำเร็จมาแล้วกับสาขาแรก “ตำทองหล่อ”  จึงตัดสินใจปักธงลงบนพื้นที่ผืนใหม่ เพื่อรองรับลูกค้าผู้ติดใจรสชาติแบบดั้งเดิม กันที่โครงการสินธรวิลเลจ ซอยหลังสวน โดยยังคงคอนเซ็ปต์เมนูอาหารอีสานรสเเซ่บเช่นเคย ภายใต้การออกแบบตกแต่งร้านสไตล์อีสานเเบบโมเดิร์น ตำทองหล่อ หยิบเมนูสุดฮิตอย่าง “ส้มตำ” ที่เต็มไปด้วยบรรดาสมุนไพรและผักพื้นบ้าน สีสันน่ารับประทาน มาเป็นธีมสีในการตกแต่งร้าน อาทิ การจับคู่สีอย่างสีเขียวเเละน้ำตาล เริ่มจากพื้นที่ฝ้าเพดานที่พลิกเเพลงเส้นสายมาจากหวดนึ่งข้าว โดยนำมาออกแบบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้านในเป็นโครงสร้างเหล็ก ก่อนจะนำหวายเทียมที่จักสานเป็นลวดลายตามที่ออกแบบไว้มาติดตั้งทับลงไป สำหรับบอกอาณาเขตตำเเหน่งโต๊ะรับประทานอาหารเเต่ละยูนิตให้เกิดจังหวะที่สม่ำเสมอ ขณะที่พื้นเลือกใช้อิฐดินเผาที่ผลิตมาจากดินชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำครกตำส้มตำ นำมาปูลวดลายเเบบก้างปลา เข้ากันดีกับเฟอร์นิเจอร์หวายที่จักสานอย่างประณีตเเละมีแพตเทิร์นเฉพาะตัว อีกทั้งยังเลือกกระเบื้องทำมือจากจังหวัดลำปางมากรุลงบนผนัง เเละโคมไฟสั่งทำพิเศษจากหวายฝีมือของชาวบ้านพนัสนิยม จังหวัดชลบุรี  เช่นเดียวกับความต้องการสร้างบรรยากาศภายในร้านให้เป็นหนึ่งเดียว ด้วยการเลือกใช้กระบอกไม้ไผ่ธรรมชาติมาปิดเสาอาคาร ทั้งยังนำไปหุ้มวงกบหน้าต่างทุกบาน เพื่อให้ทุกรายละเอียดแสดงถึงความเป็นอีสานอย่างแท้จริง   หากเปรียบ “ตำทองหล่อ” เป็นอาหาร ก็คงเป็นอาหารอีสานที่ยังคงความแซ่บและนัวได้อย่างไม่ขาดไม่เกิน ที่เพิ่มเติมคือการใช้งานออกแบบสื่อให้เห็นถึงเสน่ห์ของแก่นความเป็นอาหารอีสาน  ผ่านการเลือกใช้สีสันและวัสดุท้องถิ่นที่คุ้นเคย จนเกิดเป็นร้านอาหารที่พร้อมจะมอบประสบการณ์การรับประทานอาหารอีสาน ในบรรยากาศที่ทันสมัยเเละดูแปลกใหม่ขึ้นกว่าเดิม ข้อมูล เจ้าของ : คุณพิมพ์ชนก (พลางกูร) สุภัทรพันธุ์ ออกแบบ :  Context Design Studio ภาพ : Skyground Architectural […]

ARROM ORCHID ชมกล้วยไม้ใต้สถาปัตยกรรมไม้ไผ่

จาก “สวนบัวแม่สา” แหล่งท่องเที่ยวสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่บนถนนสายแม่ริม-สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตอนนี้ได้รับการแปลงโฉมให้กลายเป็นร้านอาหารและคาเฟ่ในสวนกล้วยไม้ในชื่อ ARROM ORCHID (อารมณ์ ออร์คิด) เชียงใหม่นอกจากมีมนต์เสน่ห์ด้านวัฒนธรรม ขนมธรรมเนียมประเพณี และธรรมชาติสวย ๆ แล้ว อีกสิ่งที่น่าจดจำคืองานหัตถกรรม หรืองานคราฟต์ ที่ละเอียดลออ ผ่านสองมือของสล่า (ช่างพื้นบ้าน) โดยเฉพาะงานจักสานและไม้ไผ่ เมื่อถึงคราวปรับโฉมสวนบัวแม่สา มาเป็น “ARROM ORCHID” ไอเดียการรังสรรค์ความงามให้แก่ของพื้นที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอย่างกล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ พร้อมการนำเสนอตนเองเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเลือกใช้ไม้ไผ่เพื่อทำเป็นโครงสร้าง รวมกับความชำนาญในงานไม้ไผ่ของช่างท้องถิ่น เกิดโปรเจ็กต์งานออกแบบที่สวยงามสื่อถึงธรรมชาติอย่างกลมกลืน การออกแบบโดยรวมเป็นวางผังโดยได้คงโครงสร้างหลักที่เป็นเหล็กกาวาไนซ์เดิมไว้ และใช้วัสดุ “ไม้ไผ่” ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ เเละมีน้ำหนักเบา เข้าไปติดตั้งร่วมกับโครงสร้างเดิมสำหรับตกแต่งในส่วนของฟาซาด ฝ้าเพดาน เเละผนัง โดยใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดนำมาประกอบกันหลายรูปแบบ จนเกิดเเพตเทิร์นเเละเส้นสายเเสงเงาที่สวยงาม ยามเมื่อเเสงลอดผ่านลงมายังพื้นที่ด้านใน  การใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดและรูปทรงมาประกอบการตกแต่งทั้งภายในร้านอาหารและภายนอกซึ่งเป็นสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่นั้น ทำให้ภาพของไม้ไผ่ดูทันสมัยขึ้น ทั้งจากเส้นสายลวดลายกราฟิกและแสงเงาที่ส่องผ่านเข้ามา อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกรองเเสง ดีทั้งกับลูกค้าผู้มาใช้บริการ รวมถึงบรรดากล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ที่อยู่ในโรงเพาะชำ ซึ่งสถาปนิกได้จัดวางผังทางเดินใหม่ให้ลดเลี้ยวไปมา จึงสามารถเดินชมกล้วยไม้ที่ออกดอกบานสะพรั่งได้อย่างใกล้ชิด  เรียกว่ามาถึงที่นี่เเล้วได้ชมทั้งสวนกล้วยไม้ และรับประทานอาหารรสชาติอร่อยไปพร้อมกัน ครบจบในที่เดียว ที่ตั้ง 332 หมู่ที่ 1 […]

DRAGONERPANZER เมื่อครั้งศิลปะ มีค่ามากกว่ากองทหาร

ผลงานศิลปะ DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์จัดแสดงในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 ณ BACCข้อมูลเพิ่มเติม : bkkartbiennale.com หากจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าสนใจในงาน BAB 2020 หรือ Bangkok Art Biennale 2020 ก็คงจะต้องบอกว่ามีมากมายดารดาษ แต่ถ้าจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าจะเปรียบเปรยและเข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงนี้ของไทยได้อย่างดี (แบบที่ไม่ได้ตั้งใจให้จังหวะการแสดงงานมาประจวบเหมาะกันเช่นนี้) ก็คงต้องยกให้ผลงานที่มีชื่อเรียกว่า DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ กับ รถถังเซรามิกที่กล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ศิลปะเคยมีค่ามากกว่ากองทหารม้ากว่า 600 นาย! ผลงานประติมากรรมเซรามิก DRAGONERPANZER (โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์) ชุดนี้ เกิดจากความรู้สึกประทับใจการใช้เครื่องลายครามของจีนจากราชวงศ์หมิงและชิงแลกกองทหารม้า วศินบุรีจึงสร้างรถถังจากเซรามิกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแลกเปลี่ยนมูลค่าและเงินตรา ในขณะที่แจกันมังกรสีน้ำเงินขาวถูกเรียกว่ามูลค่าทางการเงิน รถถังเซรามิกจะเป็นของสะสมล้ำค่า ในขณะที่รถถังทหารจะกลายเป็นขยะโลหะที่จะถูกขายเป็นเศษเหล็ก “ครั้งแรกที่ได้อ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จากหนังสือ กระเบื้องถ้วย กะลาแตก ของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ที่กล่าวถึงกษัตริย์ Friedrich August Iเจ้าผู้ครองแคว้นแซกโซนี […]

RODAR ซาเล้งดีไซน์โมเดิร์น ที่จะช่วยแก้ปัญหาคนไร้บ้าน

ในยุคที่‘คนไร้บ้าน’ คือหนึ่งในปัญหาที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ชัดเจนที่สุด และเป็นปัญหาสำคัญของเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา Rodar ซาเล้งดีไซน์โมเดิร์น ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นบ้าน (คัน) ใหม่ของคนไร้บ้าน  Andrés Sáenz และ José Alvarez สองนักออกแบบจาก andrés & josé Design Studio ประเทศเม็กซิโก ออกแบบ Rodar รถบ้านขนาดเล็กที่ผลิตง่ายจากวัสดุทั่วไปในท้องถิ่น จึงเข้าถึงง่าย ผลิตได้ทันที และมีความเป็นไปได้สำหรับเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาคนไร้บ้านในเมืองใหญ่ โดยงานต้นแบบนี้คือจุดเริ่มต้นไอเดียที่สามารถพัฒนาปรับประยุกต์ใช้ได้ในบริบทต่างๆ ทั่วโลก คนไร้บ้านคือผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งด้วยสาเหตุต่าง ๆ กันไป ตั้งแต่ปัญหาเศรษฐกิจ ไปจนถึงการลี้ภัยสงคราม ทำให้จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการแบ่งแยกทางสังคมอย่างชัดเจน และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายกาจในสังคมร่วมสมัย Rodar ใช้รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วของ ‘บ้าน’ ที่ใคร ๆ ก็เข้าใจได้ง่ายที่สุด โดยสามารถปรับเปลี่ยนสีสันได้เองรถบ้านนี้ทำหน้าที่เป็นพื้นที่หลบภัยส่วนบุคคล สำหรับกันแดดกันฝน เก็บข้าวของส่วนตัว นอกจากนี้ การเข็นเคลื่อนที่ได้จึงทำให้เกิดการโยกย้าย รวมกลุ่ม เกิดเป็นชุมชน และส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้ใช้งาน ช่วยให้คนไร้บ้านมีคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้น พร้อม ๆ สร้างนิยามใหม่ให้กับการใช้งานพื้นที่สาธารณะ […]

SPIRULINA SOCIETY ระบบเพาะปลูกอาหารแห่งโลกอนาคต

ท่ามกลางปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ร้ายแรงขึ้นเรื่อย ๆ ระบบนิเวศของเราก็กำลังตกอยู่ในอันตราย และหนึ่งในสาเหตุสำคัญก็มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งกว่า 1 ใน 4 ของก๊าซเรือนกระจกเกิดจากอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสำหรับประชากรทั่วโลก ดังนั้น ในฐานะพลเมืองโลกคนหนึ่ง Spirulina Society เชื่อว่าเราสามารถมีส่วนช่วยดูแลโลกได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต และการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน ตามคำแนะนำของสหประชาชาติ (UN) และองค์การอนามัยโลก (WHO) สาหร่ายเกลียวทอง หรือ สไปรูลิน่า (Spirulina) ถือเป็นอาหารชั้นยอด เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ นับเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่สมบูรณ์ ยิ่งไปกว่านั้น Spirulina Society สไปรูลิน่า ยังสามารถเพาะเลี้ยงในบ้านได้ในต้นทุนต่ำ ใช้น้ำและพื้นที่น้อย เพียงแค่มีการสังเคราะห์แสงในสภาวะที่เหมาะสม เราก็สามารถเก็บผลผลิตได้ทุกวัน ถือเป็นอาหารทางเลือกที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้ ชุดอุปกรณ์เพาะเลี้ยงสไปรูลิน่าของ Spirulina Society ออกแบบโดย อัญญา เมืองโคตร มีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบการเพาะปลูกที่ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพสำหรับวิถีชีวิตคนเมือง ให้ทุกคนสามารถผลิตอาหารได้ด้วยตัวเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ขณะเดียวกันก็ช่วยลดการผลิตของเสีย และผลกระทบต่อระบบนิเวศ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดไฟล์โมเดล 3 มิติ และติดต่อกับผู้ผลิตในท้องถิ่น […]

ARMARAPA ร้านนวดไทยแผนใหม่ เปิดประสบการณ์นวดแบบร่วมสมัย

Armarapa ร้านนวดไทยย่านประดิพัทธ์ ที่เปลี่ยนทุกภาพจำของร้านนวดแผนโบราณได้อย่างหมดจด เติมเต็มประสบการณ์แห่งสุนทรียภาพผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ในบรรยากาศเรียบง่าย มีสไตล์ ตามสมัยนิยม หลังจากเปิดตัวอาร์มา (ARMA) ‘ยาดม’ ดีไซน์เท่ที่นำเสนอรูปลักษณ์ใหม่ของยาดมดั้งเดิมไปเมื่อไม่นานมานี้ ที่นี่คือ อาร์มาราภา (Armarapa) แฟล็กชิปสโตร์ล่าสุดในรูปแบบของ ‘ร้านนวดไทย’ ที่จะขยายขอบเขตประสบการณ์ด้าน ‘กลิ่น’ ของแบรนด์ให้ครอบคลุมวิถีชีวิตของผู้คนยุคใหม่ยิ่งขึ้น “จริง ๆ แล้วสมุนไพรไทยเป็นองค์ความรู้พื้นฐานของเรา แต่คนไทยอาจจะไม่ได้ให้คุณค่ามากนัก เราเลยพยายามเปิดมุมมองใหม่ในแง่ของผลิตภัณฑ์กับประสบการณ์ เป็นการดึงองค์ความรู้แบบพื้นบ้านมาประยุกต์ใหม่เพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมสมัย ซึ่งก็หมายถึงรูปแบบสมัยนิยม หรือตามความนิยมในยุคนี้” กฤษณ์ พุฒพิมพ์ แห่ง Dots Design Studio รับหน้าที่แปลงโฉมอาคารตึกแถวย่านประดิพัทธ์ให้กลายเป็นร้านนวดเพื่อสุขภาพ ภายใต้คำถามว่าร้านนวดไทยจำเป็นต้องคงรูปแบบดั้งเดิมเสมอไปหรือไม่ และเพื่อตอบคำถามนั้น อาร์มาราภาจึงเปิดตัวในลุคมินิมัล เรียบง่าย นำเสนอร้านนวดไทยในรูปแบบที่อยู่ระหว่างความดั้งเดิม และความร่วมสมัยของสปายุคใหม่ คอร์ตเล็ก ๆ กลางอาคารช่วยสร้างสเปซที่โปร่งโล่ง สว่างด้วยแสงธรรมชาติจากช่องแสงสกายไลท์ ความเรียบง่ายยิ่งขับเน้นเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งชิ้นไฮไลต์ให้โดดเด่นกว่าเดิม พื้นที่ร้านเริ่มต้นตั้งแต่ชั้นลอยขึ้นไป ประกอบด้วยห้องส่วนตัวเล็ก 2 ห้อง ห้องใหญ่ 1 ห้อง และห้องสำหรับการนวดเท้า โดยมีคอร์สนวดไทยให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่คอร์สนวดน้ำมันแบบซิกเนเจอร์ […]

THE LANTERN – NANOCO SHOWROOM โชว์รูมอิฐช่องลมที่เปล่งแสงยามค่ำคืนราวกับโคมไฟกลางเมือง

ที่นี่เป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่ของบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าจากญี่ปุ่น ตั้งอยู่ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ดูโดดเด่นด้วยอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมที่สร้างจาก อิฐช่องลม ลายดอกไม้ทั้งหลัง ซึ่งแนวคิดนี้มาจาก VTN Architects (Vo Trong Nghia Architects)ที่ต้องการบอกเล่าความเป็นเวียดนามใส่ลงไปในสถาปัตยกรรมทรงเรขาคณิตดีไซน์เรียบง่าย เพื่อให้เป็นที่จดจำของผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน เพราะอาคารหลังนี้จะกลายเป็นกล่องไฟขนาดใหญ่ ดูสว่างไสวกว่าใคร ๆ ในย่าน สมกับเป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่จำหน่ายหลอดไฟฟ้านั่นเอง สำหรับไซต์ที่ตั้งของอาคารถือว่าสร้างความท้าทายให้ไม่น้อย เพราะมีขนาดพื้นที่จำกัดเพียง 72 ตารางเมตร และอยู่ติดกับถนนที่พลุกพล่าน การนำเสนอตัวเองให้เป็นที่น่าจดจำจึงสำคัญ ภายใต้ความเรียบง่ายของวัสดุอย่าง “อิฐช่องลม” ด้วยการนำมาทำเป็นเปลือกอาคารโดยรอบ โดยกรุกระจกใสเป็นผนังซ้อนอยู่ภายในอีกที ด้วยเหตุผลที่ว่าวัสดุชนิดนี้ เป็นวัสดุดั้งเดิมที่ใช้ในเวียดนาม ก่อนที่จะมีเครื่องปรับอากาศใช้ เพราะเป็นวัสดุที่เหมาะสมกับสภาพอากาศเขตร้อน สามารถระบายอากาศได้ดี ช่วยกรองแสงไม่ให้ส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในโดยตรง แถมมีราคาไม่แพง หรือชิ้นละประมาณ 0.42 ปอนด์ สำหรับที่นี่สถาปนิกบอกว่าเขาใช้จำนวนบล็อกช่องลมราว ๆ 5,625 ชิ้น เป็นเงิน จำนวน 2,350 ปอนด์ นอกจากนี้ขั้นตอนการก่อสร้างสามารถสร้างเสร็จได้ง่ายและรวดเร็วด้วย ไม่เพียงเป็นการใช้วัสดุที่เรียบง่าย แต่ทำออกมาได้อย่างน่าทึ่ง สถาปนิกยังให้ความสนใจกับภูมิทัศน์รอบ ๆ […]

Modular-Boxes กล่องต่อกล่อง สถาปัตยกรรมที่เกิดมาเพื่อการ “ประท้วง”

Modular-Boxes เป็นงานออกแบบที่เกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วงต่อการการเพิกเฉยต่อปัญหา climate change ของรัฐบาลอังกฤษโดย Extinction Rebellion ออกแบบโดยหนึ่งในพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมนั่นก็คือ Architect’s Climate Action Network (ACAN) โดยใช้งานออกแบบเดิมของ Studio Bark ที่ชื่อว่า U-Build System เป็นฐานคิดสำคัญ จุดเด่นของเจ้ากล่อง Modular Boxes เหล่านี้ก็คือ มันมีขนาดและน้ำหนักที่ง่ายต่อการขนย้าย ผู้ชุมนุมสามารถขนย้ายสิ่งเหล่านี้เข้ามาในพื้นที่ได้โดยง่าย ไม้อัดที่ประกอบขึ้นเป็นกล่องเหล่านี้เป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นมิตรต่อสายตาผู้คนรอบข้าง คุณสามารถขนมันเข้าสู่ที่ชุมนุมได้โดยไม่สร้างความรู้สึกคุกคามต่อคนบนท้องถนน และแน่นอนที่สุดคือมันแข็งแรงอย่างเหลือเชื่อ ด้วยโครงสร้างแบบกล่อง ประกอบกับความสะดวกของการเชื่อมต่อโครงสร้างไม้ และขนาดที่ใหญ่คล้ายอิฐขนาดยักษ์ (ชม Diagram การประกอบใน comment) ผู้ชุมนุมสามารถประกอบกันเข้าเป็นเวทีเตี้ย เวทีสูง สำหรับปราศัย กำแพง ที่นั่งพัก พื้นที่รวมตัว หรือแม้แต่หอคอยที่จะใช้เป็นหมุดสายตาได้อย่างรวดเร็ว สามารถเสริมความแข็งแรงได้ด้วยการเพิ่มโครงสร้างและร้อยเข้าไประหว่างรูบนกล่องแต่ละใบ ทั้งกล่องที่เหลืออยู่อาจนำมาเป็นที่นั่งในการปักหลักชุมนุมได้อีกทาง นอกจากนี้ยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้เพราะสามารถรื้อถอนได้อย่างรวดเร็ว และผู้ชุมนุมก็ช่วยกันถือออกไปคนละกล่องก่อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เอากล่องกลับบ้านไปคนละใบ รอใช้ต่อในงานต่อไปลด Carbon Footprint ได้มากมาย ในยุคที่การชุมนุมเกิดขึ้นรายวันเช่นนี้ เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องประท้วง […]