Design Archives - Page 12 of 43 - room

FH Office ถอดรหัสสุขภาพด้วยโมดูลาร์สถาปัตยกรรม

หากกล่าวถึงชื่อ FH Office หรือ ฟาร์มาฮอฟ เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะคุ้นหู แต่หากเป็นชื่อ ฟาสซิโน (Fascino) ร้านจำหน่ายยา และเวชภัณฑ์แบบครบวงจรที่มีสาขาทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง นั้น หลายคนอาจคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เนื่องจากแบรนด์ฟาสซิโนนั้นเป็นหนึ่งในเครือของบริษัทฟาร์มาฮอฟ และด้วยการดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 37 ปี ทำให้พื้นที่สำนักงานเดิมไม่ตอบโจทย์กับการเติบโตของธุรกิจและทีมงาน ทางบริษัทจึงตัดสินใจขยับขยายพื้นที่ใช้งาน โดยได้วางใจให้ คุณวรัญญู มกราภิรมย์ และคุณสณทรรศ ศรีสังข์ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง TA-CHA Design มารับหน้าที่ในการออกแบบในครั้งนี้ FH Office เป็นอาคารประเภทมิกซ์ยูสประกอบด้วยพื้นที่สำนักงาน 5 ชั้น โดยชั้น 6-7 เป็นพื้นที่พักผ่อนของผู้บริหาร รูปทรงอาคารมีลักษณะคล้ายตัวแอล (L) และเว้นระยะร่นตามที่กฎหมายควบคุมอาคารกำหนดไว้สำหรับรถดับเพลิงสามารถขับได้รอบอาคาร ซึ่งก่อนจะเป็นอาคารที่เห็นในปัจจุบัน แรกเริ่มนั้นพื้นที่โครงการมีอาคารสูง 3 ชั้น อยู่ก่อนแล้ว โดยจุดประสงค์แรกเริ่มคือการรีโนเวตอาคารเดิม แต่เมื่อทดลองกำหนดพื้นที่ใช้สอยในผังแล้ว ก็พบว่าอาคารดังกล่าวไม่สามารถรองรับความต้องการด้านการใช้งานได้เพียงพอ ดังนั้น จากแนวคิดการรีโนเวต จึงเปลี่ยนเป็นการรื้อถอนอาคารเดิม และสร้างอาคารใหม่สูง 7 ชั้น […]

AUA โฉมใหม่ เมื่อ “อิฐ” ถ่ายทอดภาษาสถาปัตยกรรม

อาคารใหม่ของ AUA (เอยูเอ) หรือโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา สะท้อนถึงอีกก้าวของการเติบโตผ่านภาพของสถาปัตยกรรมอิฐสูงตระหง่าน ที่เด่นสง่าท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อมย่านราชดำริ ที่นี่คืออาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาใช้งานได้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน หากใครมีโอกาสใช้เส้นทางถนนราชดำริหรือใช้บริการ BTS สายสีลมเชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่สะดุดตากับอาคารอิฐสูงตระหง่านที่โดดเด่นท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อม อาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาหรือ AUA (เอยูเอ) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2495 ก่อนจะย้ายมาเช่าที่ดินของสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันตั้งแต่ปีพ.ศ.2505 เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทางเอยูเอได้หมดสัญญาเช่าและจะต้องทำการส่งมอบที่ดินคืน แต่ด้วยความที่ผูกพันกับที่ดินผืนนี้มายาวนาน ทำให้ทางนายกสมาคมฯ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่จะขยับขยายให้อาคารทำหน้าที่มากกว่าโรงเรียนสอนภาษาอย่างที่ผ่านมา เพื่อให้กลายเป็นอาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมของประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาจัดกิจกรรมได้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอ ได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของ AUA โฉมใหม่ สำหรับการสร้างอาคารสาธารณะบนที่ดินที่มีศักยภาพสูงและมูลค่ามหาศาลใจกลางเมืองนั้นต้องอาศัยผู้ที่มองอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันระหว่าง AUA และบริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) โดยได้แบ่งที่ดินขนาด 5.6 ไร่ที่เช่าสำนักงานพระคลังข้างที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรก คือ ส่วนครึ่งด้านหน้าที่ดินที่ติดกับถนนราชดำริ สำหรับเป็นโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และพื้นที่ส่วนครึ่งหลังของที่ดินนั้น ในอนาคตจะกลายเป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี่ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกานั้นได้รับการออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ […]

MAYDAY ผู้รังสรรค์ป้ายรถเมล์เปลี่ยนเมือง

ระบบขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกหนึ่งของคนเมืองในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่ระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้ก็มีมากมายหลากรูปแบบ บ่อยครั้งที่การเดินทางเป็นไปได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่างง! จะขึ้นรถไปต่อเรือ หรือหาสายรถเมล์ที่ถูกต้องช่างยากเหลือเกิน MAYDAY ทีมนักออกแบบที่เรียกได้ว่าเป็น “นักสื่อสาร” จึงลุกขึ้นมาทำให้ระบบต่าง ๆ สามารถทำงานเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ทั้งยังเข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยผ่านงานออกแบบ และ room ก็ได้มีโอกาสในการพูดคุยกับพวกเขาถึงมุมมองและวิธีคิดเพื่อให้ระบบขนส่งสาธารณะในประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น MAYDAY นักสื่อสารระบบขนส่งสาธารณะ room : MAYDAY คืออะไร? MAYDAY : “จริง ๆ คนชอบมองว่า เราเป็นนักออกแบบ แต่มากกว่านั้น เราทำเรื่องการพัฒนาสิ่งที่เป็นสาธารณะของสังคมมากกว่า ผ่านการลงพื้นที่ ทำความเข้าใจ เก็บข้อมูล และทำวิจัย จนปลายทางมันออกมาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ “สาธารณะ” ดีขึ้นได้ ในที่นี้พอเป็นป้ายรถประจำทาง จึงเป็นการพัฒนาให้กับ “ระบบขนส่งสาธารณะ” นั่นเอง” ระบบขนส่งสาธารณะแบบเชียงใหม่ room : ล่าสุดที่เห็นป้ายรถประจำทางใหม่ของเชียงใหม่ที่ทาง MAYDAY ได้ไปออกแบบไว้ ส่วนตรงนี้คิดว่า ต่างกับกรุงเทพฯ มากน้อยแค่ไหน MAYDAY : “อย่างในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ […]

แม่แจ่มโมเดลพลัส x room หยุดปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ด้วยงานออกแบบ

แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ได้นำพาให้ทีมงานของ “บ้านและสวน” ไปลงพื้นที่ถึงอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำความเข้าใจการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิของชาวบ้านในการจัดการป่าไม้และที่ดิน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ และเฟอร์นิเจอร์ที่น่าสนใจ ที่ทุก ๆ คนจะได้พบใน บ้านและสวนแฟร์ select 2021 เริ่มต้นด้วยการ “ทำความเข้าใจ” วันแรกของการเดินทาง เราหมดไปกับการทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นที่แม่แจ่ม ผ่าน “คนทำงาน” ที่อยู่ในพื้นที่ นำทีมโดยคุณ เดโช ไชยทัพ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) ที่มาอธิบายให้เราฟังถึง ต้นตอของปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นที่นี่ หากกล่าวโดยสรุปก็คือ ปัญหาหมอกควันเหล่านี้ จะไปโทษเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดว่าบุกรุกผืนป่าก็ไม่ได้ เพราะรากของปัญหานี้มันลึกลงไปกว่านั้น “ปัญหาเรื่องสิทธิในการจัดการป่าไม้และที่ดิน” ของชาวบ้านนั้นเกิดข้อจำกัดขึ้นหลังการประกาศกฎหมายป่าสงวน พวกเขายังอาศัยทำกินอยู่บนที่ดินเดิม แต่สิทธิของพวกเขาได้หายไป กาลเวลาผ่านไป การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า ไม่ทันโลก และไม่ทันปากท้อง การเลือกปลูกพืชที่ขายได้อย่างแน่นอนจึงเป็นทางออกของพวกเขา และข้าวโพดอาหารสัตว์ พืชเชิงเดี่ยวที่ปลูกแล้วแทบไม่ต้องดูแลเป็นคำตอบของสิ่งที่เกิดขึ้น สุดท้ายทางออกของหนึ่งปัญหาก็กลายเป็นปัญหาใหม่เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้นเสื่อมสลายไป การใช้สารเคมีต่าง ๆ จึงเป็นคำตอบ รวมถึงการแผ้วถางเตรียมพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูกเช่นกัน และนั่นคือปลายทางที่เรา ๆ ต่างรู้กันในชื่อของ “ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ” การแก้ปัญหาที่ถูกต้องจึงต้องลงไปที่ต้นตอ […]

เติมหลังคาให้ตึกเก่ากลายเป็นสวนดาดฟ้าและพื้นที่พบปะของชาวเมือง

โปรเจ็กต์การคืนชีพคฤหาสน์เก่าที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 กลางเมืองเม็กซิโก ซิตี ให้กลับมามีชีวิตชีวาในฐานะพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันของชาวเมือง โดดเด่นด้วย สวนดาดฟ้า ภายใต้หลังคาทรงหน้าจั่วที่ยาวตามแนวอาคารกว่า 50  เมตร เพื่อใช้ทดแทนหลังคาเก่าของอาคารที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างหนัก จนไม่สามารถบังแดดและฝนให้แก่พื้นที่ใช้งานด้านล่างได้ Rooftop Prim คือชื่อของโปรเจ็กต์นี้ ซึ่งมาจากคำถามที่ว่าจะอนุรักษ์อาคารเก่าหลังนี้ ไปพร้อม ๆ กับสร้างคุณค่าแก่สถาปัตยกรรมโบราณอย่างไร ให้ยังคงมีความสำคัญกับชุมชนรอบ ๆ สตูดิโอออกแบบ PRODUCTORA  ผู้รับหน้าที่รีโนเวตอาคารตั้งใจจะเก็บโครงสร้างเดิมเอาไว้ ต่อเติมเพียงส่วนของหลังคาให้กลายเป็น สวนดาดฟ้า  ด้วยโครงสร้างที่มีความโมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย ดึงดูดผู้คนให้อยากเข้ามาใช้งาน สมกับเจตนารมณ์ของเจ้าของ ที่ต้องการให้ที่นี่เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและงานรื่นเริงต่าง ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาและความคึกคักให้หวนคืนมาอีกครั้ง  โดยงานออกแบบหลังคาที่ครอบอยู่ด้านบนนั้นมีความยาวมากถึง 50 เมตร ตลอดแนวความยาวของอาคาร โครงสร้างประกอบด้วยโครงถักโลหะน้ำหนักเบา 45 ชิ้น วางเว้นระยะห่างกันทุก ๆ 1.2 เมตร โดยแบ่งน้ำหนักให้เท่า ๆ กันตลอดโครงสร้างที่มีอยู่ เน้นจังหวะและมุมมองผ่านรูปทรงหลังคาทรงสามเหลี่ยม วัสดุที่ใช้ในการมุงหลังคาเน้นน้ำหนักเบา และนิยมใช้ในอุตสาหกรรม เช่น พื้นพีวีซี แผ่นพอลิคาร์บอเนต รวมไปถึงราวบันไดที่ทำจากอวนไนลอน เพราะพยายามที่จะลดน้ำหนักของโครงสร้างให้มากที่สุด เนื่องจากเกรงว่าฐานที่เป็นอาคารเก่าจะรับน้ำหนักไม่ไหว […]

ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา สถาปัตย์+กสิกรรม อาคารโมเดิร์นผสานโคกหนองนาโมเดล

งานออกแบบอาคารของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียง ที่มีโจทย์ทางด้านการเกษตรเข้ามาเป็นหลักการใช้งานได้อย่างโดดเด่น และยังเกื้อหนุนต่อบริบทโดยรอบได้อย่างน่าชื่นชมผ่านสถาปัตยกรรมแบบ Tropical Modern ที่มีอิฐมอญเป็นองค์ประกอบหลัก สถาปนิก : VIN VARAVARN ARCHITECTS Ltd. ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา เป็น อาคารที่มีหลังคาทรงแปลกตา โดยอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เขาใหญ่ เพื่อรองรับกิจกรรมอบรมที่เกิดขึ้นภายในศูนย์ โดยคุณผึ้ง-พรรณราย พหลโยธิน เป็นผู้ก่อตั้ง จากแนวคิดของอ.ยักษ์-วิวัฒน์ ศัลยกำธร ซึ่งเมื่อสามปีกว่าก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดวิกฤตขึ้น จึงควรมีสถานที่ที่สามารถรองรับผู้คนประมาณหนึ่งพันคน โดยคุณผึ้งนั้นต้องการให้ผู้ที่เข้ามาภายในศูนย์เรียนรู้ทางด้านการเกษตรนี้ มีความสะดวกสบายมากขึ้นไม่อยู่อย่างลำบากจนเกินไป แต่ต้องอยู่กับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน มีความทันสมัยได้ไม่ได้จำกัดรูปแบบจากภาพเดิม คุณวิน-ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ สถาปนิกแห่ง Vin Varavarn Architects ผู้ออกแบบอาคารนี้เล่าถึงโจทย์ครั้งนี้ว่า คุณผึ้งต้องการอาคารที่มีความเรียบง่าย แต่ด้วยโปรแกรมการใช้งานอาคารที่ค่อนข้างมาก อาคารหลังนี้จึงต้องใหญ่พอควร และพื้นที่โดยรวมทั้งหมดของโครงการก็ใหญ่มาก จึงต้องการอาคารสักหลังที่เป็นแลนด์มาร์คให้กับผู้คน ส่วนแนวคิดด้านความพอเพียงก็อาจไม่ต้องตีกรอบว่าต้องอยู่บ้านไม้ไผ่ กระท่อมไม้ที่ดูลำบาก เพราะว่าการดูแลรักษาในระยะยาวก็เป็นสิ่งสำคัญ โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตผสมกับเหล็ก ปกคลุมด้วยหลังคาขนาดใหญ่ กรุด้วยวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่เรียงเป็นตับ โดยมีการศึกษาเรื่องการระบายอากาศ แสง และความโปร่งของโครงสร้างทั้งหมดก่อนก่อสร้างจริง ไม้ไผ่ที่เห็นดังกล่าวในอนาคตทางศูนย์ก็สามารถซ่อมแซมได้เองตามอายุการใช้งาน เนื่องจากมีปลูกเพื่อรองรับเอาไว้แล้ว จากการที่หลังคาเป็นหลังคาขนาดใหญ่ จึงเป็นเสมือนพื้นที่รับน้ำขนาดใหญ่ยามฝนตกไปด้วยในตัว ช่วงแรกสถาปนิกได้คิดถึงระบบท่อและถังในการเก็บน้ำ แต่เมื่อได้มีการพูดคุยกับคุณผึ้ง […]

KPIS KINDERGARTEN แปลงโฉมพื้นที่เล่น ยกระดับการเรียนรู้

ห้องเรียนสำหรับเด็กเล็กระดับก่อนวัยเรียนถึงชั้นอนุบาลของ KPIS International School ได้รับการแปลงโฉมใหม่ให้ตอบโจทย์การเรียนรู้ โดยเน้นการกระจายพื้นที่ “เล่น” ให้กว้างขวาง และมีรูปแบบที่หลากหลาย พร้อมกับแก้ไขปัญหาการจัดเก็บของในพื้นที่จำกัด เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Please Feel Invited KPIS International School หรือโรงเรียนนานาชาติกีรพัฒน์ นำเสนอโครงการปรับปรุงห้องเรียนสำหรับเด็กเล็กระดับก่อนวัยเรียนถึงชั้นอนุบาล โดยเป็นการเปลี่ยนโฉมห้องเรียน 2 ชั้น ขนาดรวมราว 1,400 ตารางเมตร ภายใต้แนวคิดการสร้างพื้นที่ “เล่น” ให้กับเด็กวัยกำลังเรียนรู้ เน้นกระจายพื้นที่เล่นให้เด็ก ๆ ให้มากที่สุด “เวลาที่เราทำงานออกแบบ เราจะใช้หลักเหตุผลต่าง ๆ มากมายใช่ไหมครับ แต่สำหรับเด็ก ๆ เขาไม่ได้สนใจหลักเหตุผลที่เราใช้หรอก เขาเพียงแค่อยากเล่น อยากสนุก อยากเรียนรู้” คุณธัชพล ธนบุญชัย และ คุณมนุเชษฐ์ ไชยโย จากสตูดิโอออกแบบ Please Feel Invited กล่าวถึงแนวคิด “การกระจาย” พื้นที่เล่นให้เด็ก ๆ ให้มากที่สุด […]

“เป็นส่วนตัว-ลดแพร่เชื้อ” ตอบรับแนวทาง Social Distancing ของร้านอาหารอินเดียในยุคโควิด-19

Renesa Architecture Design Interiors สตูดิโอออกแบบสัญชาติอินเดีย นำเสนอการออกแบบสถาปัตยกรรมล่าสุดของพวกเขา กับรูปแบบร้านอาหารเวียดนามในกรุงนิวเดลี ให้ปลอดภัยและตอบสนองต่อนโยบายป้องกัน โควิด-19 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ไปทั่วโลก รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะอย่างร้านอาหาร ได้ถูกตั้งคำถามว่าจะปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับยุคโควิด ที่ผู้คนจำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคม นักออกแบบหลาย ๆ คนจึงต้องให้ความสำคัญและหาทางแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม เพื่อช่วยตอบสนองต่อนโยบายลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนี้ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน และสำหรับสตูดิโอออกแบบสัญชาติอินเดียรายนี้ ซึ่งรับหน้าที่ออกแบบร้านอาหารเวียดนามสาขานี้ในอินเดีย พวกเขาตอบสนองต่อการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างจริงจัง ผ่านผลงานในชื่อ “Social with Distancing” การออกแบบร้านอาหารแห่งนี้ เป็นการนำบรรยากาศความคึกคักตามตรอกซอกซอยในเวียดนามมาออกแบบ ร่วมกับวัสดุอย่าง ไม้ อิฐ สังกะสี ประตูเหล็กยืด ฯลฯ ซึ่งเป็นวัสดุที่บ่งบอกถึงสถาปัตยกรรมของเวียดนาม พร้อมกับแทรกด้วยเหล่าพรรณไม้เขตร้อนสีเขียวสด ตัดสลับกับสีน้ำตาลของโครงสร้างและเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ดูอบอุ่น ขณะที่มาตรการที่ใช้ในร้านเพื่อป้องกันโรคโควิด นอกจากพนักงานจะต้องใส่หน้ากากตลอดเวลา และมีตารางการทำความสะอาดที่บ่อยครั้งขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญคือการออกแบบพื้นที่แบบ Social Distancing เห็นได้จากการเว้นช่องทางเดินทุก ๆ 6 ฟุต หรือ 2 เมตร เพื่อลดความแออัด ขณะเดียวกันก็มีมุมนั่งรับประทานอาหารที่หลากหลายให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นมุมรับประทานอาหารสองชั้นที่สับหว่างที่นั่งกันแบบเว้นระยะ ระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นสอง […]

มือถือจอพับ พับ พับ จาก OPPO ที่ออกแบบโดย nendo

มือถือจอพับ ที่ไม่ใช่จอพับธรรมดา แต่พับมาถึงหลายตลบ เพราะ slide-phone โดย Nendo เครื่องนี้ออกแบบมาให้สะดวกทั้งการพกและการใช้ เมื่อพับเก็บทั้งหมด ขนาดของโทรศัพท์จะเหลือเท่ากับขนาดของเครดิตการ์ดเท่านั้น(54 mm x 86 mm) จึงทำให้ความรู้สึกเมื่อพกพา slide-phone นั้นเหมือนกับการพกกล่องนามบัตรเท่านั้น การใช้งานนั้นสามารถประยุกต์ได้หลากหลาย ทั้งการเปิดหน้าจอบางส่วนแบบ 1/4 หรือ 3/4 ก็สามารถใช้ดูได้ทั้งสายโทรเข้า ข้อมูลการเดินทางหรือพยากรณ์อากาศ จนเมื่อพับจอเปิดออกทั้งหมดโทรศัพท์เครื่องนี้จะมีหน้าจอยาว 7 นิ้ว ในอัตราส่วน 3.5 : 1 เลยทีเดียว ซึ่งทำให้สามารถโทร Video Call พร้อมแบ่งหน้าจอไปเสิร์ชข้อมูล หรือ Share Screen ได้พร้อม ๆ กัน ในยุคที่เทคโนโลยีการพับจอ OLED นั้นเริ่มกลายเป็นของสามัญมากขึ้นในปัจจุบัน ก็ทำให้เราได้เห็นแนวทางใหม่ ๆ ในการออกแบบสมาร์ทโฟนที่สนุกและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น คิด ๆ ไปก็นึกถึงสมัยมือถือรุ่นปุ่มกดที่แต่ละค่ายนั้นขยันออกดีไซน์ใหม่ ๆ กันมาทุกปี และ slide-phone […]

นอนเต็นท์ กันได้ทุกวันด้วย “Jupe travel pods”

นอนเต็นท์ กิจกรรมยอมนิยมในพ.ศ.นี้ และถ้าจะอยู่แทนบ้านก็คงเหมือนพูดเป็นเล่น แต่เป็นไปได้จริงๆแล้วด้วย “Jupe travel pods” บ้านขนาดเล็กในแบบ Tiny House ที่ออกแบบมาเพื่อไลฟ์สไตล์แบบ Off Grid หรือการออกไปอยู่แบบไม่พึ่งพาระบบสาธารณูปโภค จะอยู่ถาวรก็ไม่ขัด หรือจะขนไปประกอบที่ไหนก็ได้ตามสบายเลย บรรยากาศ นอนเต็นท์ อ่าน : ไอเดียจัดมุมปิกนิกนั่งเล่นกลางแจ้งในสวนหลังบ้าน “Jupe travel pods” ออกแบบโดยทีมงานที่เคยทำงานกับ Airbnb Tesla และ Space X จึงแน่นอนว่าเจ้าเชลเตอร์สีขาวเรืองแสงทรงล้ำนี้ต้องไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน เพราะในแง่ของการออกแบบนั้น “Jupe travel pods” ได้ถูกวางเอาไว้เพื่อยกระดับและเป็นตัวเลือกของการท่องเที่ยวแบบ Glamping ที่ผสานการผจญภัย ความหรูหรา และบรรยากาศล้ำยุคเข้าไว้ด้วยกัน “เราก็แค่เปลี่ยนให้การนอนเต็นท์กลายเป็นไอเดียที่น่าตื่นใจและสร้างแรงบันดาลใจยิ่งขึ้น” Jeff Wilson หนึ่งในผู้ก่อตั้งของ Jupe กล่าว “ยังจำเจ้าแท่งปริศนาใน 2001: A Space Odyssey กันได้หรือไม่? มันได้ส่งสัญญาณไปยังดาวพฤหัสบดีจากดวงจันทร์ และเจ้าเชลเตอร์ของเราก็เหมือนถูกสร้างจากแบบร่างที่ส่งกลับมาจากดาวพฤหัสบดีนั่นเอง และนั่นคือวิธีที่เราสรรค์สร้าง […]

โรงเรียน ที่เน้นเล่นเพื่อเรียน(รู้) Kensington Learning Space

โรงเรียน แนวคิดใหม่ที่ออกแบบโดยบริษัท Plan Architect แห่งนี้ ไม่ใช่เพียงรูปทรงอาคารที่น่าสนใจและแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป แต่เบื้องหลังของรูปทรงที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากแนวคิดของการเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ใช้พื้นที่ตามจินตนาการ ค้นหาการรับรู้ใหม่ผ่านพื้นที่ “เล่น” ที่ปลุกเร้าความสนใจ ด้วยรูปทรงอิสระและผนังโค้งที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ และนี่ก็คือ Kensington Learning Space โรงเรียนสอนพิเศษ ที่เชื่อว่าการเล่นคือ การเรียนรู้ที่ดีที่สุด หรือที่เรียกว่าหลักสูตร Play-based Learning นั่นเอง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Plan Architect “เรียน ผ่าน การเล่น” กับโรงเรียนที่เป็นเหมือนกับโรงเรียนสอนพิเศษ มีกิจกรรมที่หลากหลาย การสร้างทักษะต่าง ๆ รวมถึงการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการเล่นเป็นหลัก เพื่อสร้างความรู้สึกให้ผู้เรียน “อยากไปโรงเรียน” เพราะในวัยแรกเรียนรู้เช่นนี้ การสร้างทัศคติที่ดีต่อการเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้พื้นที่ต่าง ๆ ของโรงเรียน ได้รับการออกแบบให้มีบรรยากาศน่าสนใจและไม่จำเจ เหมือนห้องเรียนที่อยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมอย่างที่เราทุกคนคุ้นชินเมื่อพูดถึง “โรงเรียน” จาก ห้องสี่เหลี่ยม สู่ อาคารรูปวงกลม สำหรับรูปทรงของอาคารแห่งนี้ ทีมสถาปนิกได้เริ่มต้นจากการกำหนดพื้นที่ใช้งานขึ้นก่อน และแบ่งพื้นที่สีเขียวออกตามขนาดที่ดิน จากนั้นได้มีการเรียบเรียงการเข้าถึงแต่ละพื้นที่ด้วยรูปแบบ Linear ไล่เรียงกันไป ด้วยวิธีการนี้ การเข้าถึงแต่ละพื้นที่ทั้งการใช้งานและธรรมชาติโดยรอบ จึงสามารถทำได้ทั้งสองฝั่งของอาคาร การออกแบบอาคารในรูปแบบ Linear ข้างต้นนั้น […]