Design Archives - Page 13 of 43 - room

CHAIR 1:1 เก้าอี้ที่ผลิตง่าย ขายคล่อง ลดขยะ ตอบโจทย์วิถีร่วมสมัย

แนวคิดของเก้าอี้ CHAIR 1:1 เริ่มต้นจากการพยายามค้นหาเก้าอี้ที่เหมาะกับยุคร่วมสมัยอย่างแท้จริง ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีการผลิต การขาย และการใช้งาน ทำอย่างไรเราถึงจะสร้างสรรค์เก้าอี้ที่เป็นตำนาน เข้าถึงง่าย ขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้จำนวนมาก เพื่อให้เกิดผลกำไรคืนสู่ช่างฝีมือ รวมถึงคำนึงถึงการขนส่ง และการใช้งานจริงอีกด้วย หลังจากผ่านกระบวนการออกแบบที่ยาวนานกว่า 5 ปี MARTINELLI VENEZIA สตูดิโอออกแบบจากอิตาลีก็เปิดตัว CHAIR 1:1 ที่เสร็จสมบูรณ์ในรูปแบบของเก้าอี้แบบถอดประกอบได้ ทุกชิ้นส่วนได้รับการผลิตโดยแม่พิมพ์ชุดเดียว โดยออกแบบให้ใช้แม่พิมพ์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  เพิ่มความเร็วในการผลิต รวมถึงลดกระบวนการผลิตขยะในกระบวนการผลิตให้มากที่สุด หลังจากออกจากแม่พิมพ์ เก้าอี้แต่ละชุดก็พร้อมส่งขายได้ทันที ข้ามขั้นตอนอื่น ๆ และยกกระบวนการผลิตขั้นสุดท้ายให้ผู้ใช้งานเป็นผู้ประกอบเก้าอี้ของตัวเอง และนั่นจึงนำมาสู่แนวคิด Hyper-seriality หรือการให้ความสำคัญกับการผลิตเป็นชุดๆ มองดูเผิน ๆ นี่อาจทำให้เรานึกถึงแผงชิ้นส่วนของเล่นที่แถมมาในถุงขนมตอนเด็ก ๆ ซึ่งไม่ต้องใช้น็อตหรือสกรูในการประกอบ ทั้งยังประกอบได้รวดเร็ว สนุกและง่ายดาย เก้าอี้ตัวนี้ก็เช่นกัน โดยใช้เวลาประกอบเพียง 1 นาที โดยไม่ต้องใช้เครื่องมืออื่นช่วย และเมื่อประกอบเสร็จก็แทบไม่เห็นที่มาของกระบวนการผลิต  การประกอบเก้าอี้เองจะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเชื่อมโยงกับวัตถุ มองเห็นคุณค่า และสร้างสายสัมพันธ์บางอย่าง ที่ทำให้พวกเขาใช้งานมันนานขึ้น และด้วยดีไซน์เรียบง่าย นี่จึงเป็นเก้าอี้ที่เหมาะกับแทบทุกบ้าน นอกจากนี้ การผลิตเก้าอี้รูปแบบนี้ยังช่วยให้สามารถจัดเก็บสต๊อกได้ง่ายขึ้น […]

สายแคมป์ ต้องหยุดมองเพราะมองยังไงก็ภาพซ้อน แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะนี่คือชุดแต่งรถลากของ Toyota Racing Development หรือ TRD นั่นเอง

ตัวจบของกระบะสายแคมป์ TRD SPORT TRAILER

สายแคมป์ ต้องหยุดมองเพราะมองยังไงก็ภาพซ้อน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เพราะนี่คือชุดแต่งรถลากของ Toyota Racing Development หรือสำนักแต่งรถของโตโยต้าที่เรารู้จักกันในนาม TRD นั่นเอง อ่าน : จาก STUDIO 248 สู่ CAMP STUDIO ก้าวใหม่ที่สะท้อนความหลงใหลและประสบการณ์ในการออกแบบ TRD Sport Trailer มาด้วยรูปลักษณ์เข้าคู่กับกระบะของ Hilux USA ปี 2020 ซึ่งเอาจริง ๆ เราคิดว่า ทีมได้ตัดกระบะมาต่อเติมดื้อ ๆ นั่นแหละ แต่เอาเถอะก็มันสวยซะขนาดนี้ ของมันต้องมีแหละจริง ๆ นะ เจ้ากระบะพ่วงน้อยคันนี้ ไม่ได้เล็กอย่างหน้าตา เพราะเขาออกแบบมาให้เป็นกระบะสารพัดประโยชน์อย่างแท้จริง กับการออกแบบที่สามารถเปลี่ยนการใช้งานแบบโมดูลาร์ได้นั่นเอง ทำให้เจ้ากระบะพ่วงคันนี้เป็นทุกอย่างให้คุณแล้วตั้งแต่ห้องน้ำ ห้องส้วม ตู้เย็น รถปั่นไฟ ถังสำรองน้ำ เตาบาร์บีคิว ห้องครัวเคลื่อนที่ หรือแม้แต่เต็นท์ขนาด 4 คนนอน ก็ยัดรวมมาไว้ได้หมด จึงเรียกได้เต็มปากเลยว่าเจ้านี่ก็คือ […]

เสื้อ “คนเลี้ยงช้าง” ที่บอกเล่าประเด็นสิ่งแวดล้อมโดย RENIM PROJECT

แบรนด์แฟชั่นที่ยั่งยืนอย่าง RENIM PROJECT บอกเล่าประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมไทยผ่านเสื้อผ้ามาแล้วหลากหลายคอลเล็กชั่น ไม่ว่าจะเป็นสายไฟในกรุงเทพฯ SS19 คนเก็บขยะรีไซเคิล FW 19 ไปจนถึงคนงานก่อสร้าง SS20 และล่าสุดสำหรับคอลเล็กชั่น Fall/Winter2020 หรือในชื่อว่า “Dark Forest” ที่ได้ร่วมเดินแฟชั่นโชว์ที่เวียนนาแฟชั่นวีค ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา มีแรงบันดาลใจจากหนังเรื่อง “คนเลี้ยงช้าง” โดย ม.ล.ชาตรีเฉลิม ยุคล ปี 2533 นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี เป็นคนเลี้ยงช้างชื่อนายบุญส่ง และขี่ช้างป่าชื่อ แตงอ่อน ที่คอยลากไม้จากคนลักลอบตัดไม้ เรื่องราวในหนังเป็นการต่อสู้ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับคนที่ลักลอบตัดไม้ป่า โดยมีนายทุนเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ท้ายที่สุดแล้วแตงอ่อนได้คอยขับไล่พวกลักลอบตัดไม้ไปจนพ้น เพื่อปกป้องผืนป่าไว้ โดยเรื่องราวในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อุทิศให้แก่ สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติไทย ด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับช้างและป่าไม้ จึงเป็นที่มาของชื่อคอลเล็กชั่นว่า “Dark Forest” เพื่อให้คนได้ตระหนักถึงช้างป่าไทยที่ลดลงเป็นจำนวนมาก ดังที่เห็นในข่าวว่า ช้างถูกรถชน ถูกล่างา และต้องตายจากการย้ายแหล่งหาอาหาร เพราะป่าไม้ถูกทำลาย […]

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

Prague Design week 2020 คืองานแสดงงานออกแบบซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปราก เมืองหลวงที่สุดแสนโรมแมนติกใจกลางยุโรป เป็นเวลา 7 วันเต็มๆ โดยคอนเซ็ปของการจัดงานและการคัดเลือกนักออกแบบในปีนี้ นอกจากจะเน้นการออกแบบที่ร่วมสมัยและสามารถใช้งานได้จริงแล้ว ยังเน้นการนำเสนอทักษะด้านงานฝีมือ และไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยี พร้อมเรื่องราวแนวคิดของแบรนด์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทางของผลิตภัณฑ์เลยทีเดียว ในวันนี้เราได้คัดสรรค์งานออกแบบสไตล์รักษ์โลก ที่มีความโดดเด่นทางนวัตกรรมด้านความคิดมาฝากกันถึง 4 งานด้วยกัน “ เมื่อฝูงผึ้ง..กลายเป็นนักออกแบบจำเป็นของแบรนด์ Beehive ” Seibert Eduard นักออกแบบผู้มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติและป่าเขาลำเนาไพร เกิดไอเดียเด็ดในการทำงานกับ “ผึ้ง” ใช่ค่ะ..เรากำลังพูดถึงผึ้ง! แมลงสีเหลือง-ดำปีกใสสุดน่ารัก ที่เป็นฮีโร่ในการออกแบบและสร้างสรรค์ colloection โคมไฟและเทียนไข รูปแบบสุดเอ็กซ์คลูซีฟในครั้งนี้ โดยขั้นตอนการสร้างสรรค์งานศิลปะจากผึ้งชิ้นนี้ Seibert Eduard เล่าว่า เขาเป็นผู้ริเริ่มทำโมลด์นวัตกรรม ที่มีส่วนผสมพิเศษ สามารถส่งกลิ่นหอม เย้ายวนให้ฝูงผึ้งเริ่มบินมาทำรัง และด้วยความสามัคคีของเหล่าผึ้งนี้เอง ทำให้รังเริ่มใหญ่ขึ้นและมีรูปร่างที่สวยงามแตกต่างกันไปจนเกิดเป็นผลงานชิ้นเอกในคอลเล็คชันนี้ขึ้น นอกจากนี้รายได้บางส่วนที่เกิดจากการจำหน่ายผลงานคอลเล็คชันนี้ ยังถูกส่งกลับไปสนับสนุนกลุ่มคนเลี้ยงผึ้งในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของพื้นที่อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงระบบนิเวศอย่างครบวงจรอย่างแท้จริง “ Tomas Holub เครื่องประดับมินิมอลจากขยะอลูมิเนียม ” คอลเล็คชันเครื่องประดับสไตล์มินิมอลเหล่านี้ หากเราไม่พูดคุยกับนักออกแบบ หรืออ่านเรื่องราวของแบรนด์ […]

โชว์สวนดอกไม้ ณ ป้อมมหากาฬ พื้นที่ที่แลกมาด้วยชุมชนชานกำแพงพระนครแห่งสุดท้าย

ก่อนจะเป็น สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ พื้นที่ตรงนี้คือชุมชนป้อมมหากาฬซึ่งเป็น “ชุมชนชานกำแพงพระนคร” ที่เหลืออยู่แห่งสุดท้ายของเกาะรัตนโกสินทร์ ผ่านมากว่า 2 ปีกับการรื้อถอนชุมชนออกเพื่อปรับเป็นสวนสาธารณะอย่างในปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ทางกรุงเทพมหานครได้จัดงาน “ยลป้อมมหากาฬยามสายัณห์…ในวันดอกไม้บาน” เป็นสวนดอกไม้ในพื้นที่ 4 ไร่ ที่เปิดให้คนกรุงได้ชมเชยระหว่างเวลา 05.00 – 21.00 น. ทุกวัน จนถึงต้นปีหน้ากันเลย สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ นอกเหนือจากการไปชมความสวยงามของดอกไม้แล้ว เราควรตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ จึงต้องย้อนกลับไปตั้งคำถามว่า สวนแห่งนี้ได้ทำหน้าที่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ตามที่ กทม.ใช้เป็นเหตุผลในการรื้อชุมชนกลบหน้าประวัติศาสตร์ออกไปหรือไม่ เรามาฟังความคิดเห็นของ ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปนิกผู้เป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และ คุณยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกผู้ชำนาญการพัฒนาเมืองและการมีส่วนร่วมของชุมชน ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นสถาปนิกและนักประวัติศาสตร์ผู้ทำวิจัยเรื่องบ้านโบราณในชุมชนมานานก่อนการไล่รื้อครั้งสุดท้าย และเป็นส่วนหนึ่งที่เสนอให้เก็บบ้านเก่าไว้คู่กับวิถีชีวิตชุมชนเพื่อทำให้เป็น “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” ร่วมกับหลายองค์กรภาคสังคม รวมถึงเป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมหลายแห่งรอบเกาะรัตนโกสินทร์มาเป็นเวลาไม่น้อย ได้ให้ความคิดเห็นว่า สวนสาธารณะที่ถูกปิดล้อม “ตั้งแต่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬมาเป็นสวนสาธารณะกว่า 2 ปี ตามที่เห็นกัน ถือเป็นสวนสาธารณะที่ล้มเหลวตามที่คาดการณ์ไว้ ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและบริบทไม่เหมาะกับการทำเป็นสวนสาธารณะอยู่แล้ว เพราะเป็นพื้นที่ค่อนข้างปิด ขนาบด้วยคลอง และกำแพงเมืองเก่า จึงเข้าถึงพื้นที่ด้านในยาก […]

ศูนย์บำบัดผู้พิการที่สร้างจากดินและไม้ไผ่โดยฝีมือชาวบ้านในชุมชน

Anandaloy คือศูนย์สำหรับผู้พิการที่มีสตูดิโอขนาดเล็กสำหรับทำงานสิ่งทอรวมอยู่ด้วย ที่นี่โดดเด่นด้วยการก่อสร้างด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่าง ดิน และ ไม้ไผ่ ออกแบบโดย Anna Heringer จาก Studio Anna Heringer ซึ่งเธอมีความเชื่อว่า “งานสถาปัตยกรรมคือเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน” เช่นเดียวกับโปรเจ็กต์อื่น ๆ ของเธอที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป แอฟริกา หรือเอเชีย ซึ่งล้วนแต่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก รวมไปถึงอาศัยฝีมือและแรงงานจากช่างท้องถิ่น เนื่องจากตัวอาคารทำจากดินเหนียวและ ไม้ไผ่ งบประมาณส่วนใหญ่จึงตกไปอยู่ที่ค่าแรงงานของช่างฝีมือหญิง ตัวอาคารนึ้จึงทำหน้าที่เป็นมากกว่างานสถาปัตยกรรม แต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาในระดับชุมชน โครงการนี้คือการนำประสบการณ์จาก 5 โครงการที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ นำมาพัฒนาร่วมกับ Montu Ram Shaw ผู้รับเหมาชาวบังกลาเทศ และทีมทำโครงสร้างดินและไม้ไผ่จากในหมู่บ้าน รวมไปถึงผู้พิการบางคนที่ขอเข้ามามีส่วนร่วม สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ของ Studio Anna Heringer นับเป็นกุญแจสำคัญที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ด้านการออกแบบและก่อสร้างได้ถูกส่งต่อไปยังผู้คนและชุมชนอย่างหยั่งรากลึก บ่อยครั้งที่ความเป็นคนพิการของคนบังกลาเทศมักถูกมองว่าเป็นเพราะพวกเขาถูกลงโทษจากพระเจ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องอยู่กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ และถูกทิ้งให้ใช้ชีวิตตามลำพัง ในขณะที่คนอื่น ๆ ในบ้านต้องออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ภายใต้ปัญหาความยากจน พื้นที่สำหรับบำบัดเยียวคนพิการจึงแทบหาได้ยากมาก […]