Living Archives - Page 10 of 28 - room

POWELL STREET HOUSE รีโนเวตบ้านเก่ายุค 1930 ให้ร่วมสมัย

POWELL STREET HOUSE ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองยาร์รา (Yarra) ในกรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ตัวบ้านดั้งเดิมจากยุค 1930 แบ่งออกเป็นสองส่วนโดยมีทางเข้าแยกกัน สำนักงานสถาปนิก Robert Simeoni Architects จึงรีโนเวตบ้านเก่าเชื่อมต่อเป็นหลังเดียวอย่างสมบูรณ์ งานรีโนเวต ปรับปรุงเป็นไปภายใต้แนวคิดการเก็บรักษา และเคารพสภาพเดิมของอาคารให้มากที่สุด โดยคงผนังอาคารส่วนใหญ่ไว้ และมีการดัดแปลงเล็กน้อย เน้นการสร้างบรรยากาศที่เข้มขรึม นิ่งสงบ เช่นเดียวกับบ้านดั้งเดิม พร้อมทั้งสร้างมุมมองที่เชื่อมต่อกันตลอดผังพื้นเดิมที่ค่อนข้างเล็กและแคบ ส่วนต่อเติมใหม่ประกอบด้วยส่วนครัว พื้นที่รับประทานอาหาร และห้องซักรีด โดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุสมัยใหม่ที่ดูแตกต่างขัดแย้งอย่างชัดเจนกับบรรยากาศดั้งเดิม อาทิ เหล็กสีดำ กระจกลอนขุ่น และคอนกรีตขัดมัน บานหน้าต่างซิกแซกที่เปิดออกสู่คอร์ตยาร์ดคือจุดเด่นของบ้านและช่วยกรองแสงให้นุ่มนวล แตกต่างจากบ้านโดยทั่วไปมักนิยมเปิดรับรับแสงธรรมชาติให้มากที่สุด พื้นที่นี้ได้รับการออกแบบให้มีดับเบิ้ลสเปซสูงโปร่ง ซึ่งมาพร้อมกับการวางตำแหน่งหน้าต่างในระดับสูง การเลือกใช้โทนสีเข้ม และการควบคุมปริมาณแสงสร้างความรู้สึกเงียบสงบราวกับวิหาร ทำให้เกิดเส้นแบ่งที่กำกวมระหว่างความเก่า และความใหม่ พื้นที่ภายใน และภายนอก นอกจากนี้ การเลือกใช้ชุดสียังสอดคล้องกับพื้นที่ใช้สอย ตอบรับกับสเปซ และแสงสว่างที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งยังช่วยเชื่อมโยงทุกพื้นที่เข้าด้วยกัน ส่วนชั้นบนใช้เป็นห้องนอนหลัก และห้องน้ำ รวมถึงห้องแต่งตัว ภายในห้องน้ำได้รับการออกแบบโดยใช้วัสดุที่สะท้อนถึงสถาปัตยกรรมในยุค 1930 ของบ้านดั้งเดิม Robert Simeoni […]

ต่อเติมบ้าน เก่าให้โมเดิร์น พร้อมเชื่อมโยงสเปซเดิมผ่านเทอร์ราซโซ

บ้านรูปทรงกล่องภาพลักษณ์โมเดิร์นที่เกิดจากการปรับปรุง และ ต่อเติมบ้าน เก่าอายุสองทศวรรษ ให้ตอบโจทย์ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ร่วมกับบ้านหลังอื่นในที่ดินผืนเดียวกัน ดังนั้นนอกจากการ ต่อเติมบ้าน เพิ่มพื้นที่ใช้สอยแล้ว การออกแบบยังต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยด้วย เมื่อได้รับโจทย์เบื้องต้นจากทางเจ้าของบ้านให้รีโนเวตบ้านขนาดพื้นที่ 358 ตารางเมตร คุณเอกภาพ ดวงแก้ว ผู้ก่อตั้งสำนักงานสถาปนิก EKAR จึงเริ่มจากการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ต่าง ๆ ในการออกแบบ ทั้งด้านโครงสร้างเดิม พื้นที่ใช้สอย และรูปแบบของอาคาร โดยตัดสินใจปรับเปลี่ยนที่จอดรถใหม่ จากเดิมที่มีขนาดเล็ก คับแคบตามสไตล์บ้านยุคเก่า ให้กว้างขวางและเชื่อมต่อการใช้งานกับพื้นที่บ้านได้อย่างลงตัว พร้อมทั้งต่อเติมอาคารบริเวณด้านหน้าบ้าน สำหรับพื้นที่ห้องนั่งเล่นบนชั้นล่าง และห้องนอนที่มีห้องแต่งตัว และห้องน้ำขนาดใหญ่ตามโจทย์ที่ได้รับจากเจ้าของบ้านบนชั้นสอง โดยออกแบบให้มีการเชื่อมพื้นที่ใช้สอยกับบ้านเดิมอย่างต่อเนื่องกลมกลืน คอร์ตขนาดเล็กที่เกิดขึ้นระหว่างบ้านเดิมและพื้นที่ต่อเติมช่วยดึงแสงสว่างเข้ามาในพื้นที่ใช้งานได้ตลอดวัน นอกจากนี้ ในส่วนของบ้านเดิม เมื่อทุบพื้นชั้น 2 เหนือห้องรับประทานอาหารออก ทำให้เกิดพื้นที่เปิดโล่งจากชั้นหนึ่งขึ้นไปจรดหลังคาของชั้นสอง (Double space) สร้างบรรยากาศโปร่งสบาย และดูโอ่โถง โดยเลือกกรุฝ้าเพดานให้ขนานไปกับแนวหลังคาทรงจั่ว และสร้างความน่าสนใจให้ฝ้าเพดานด้วยโครงสร้างไม้สีอ่อน กล่องไฟส่องสว่างพาดยาวต่อเนื่องจากผนังด้านหนึ่งถึงอีกด้าน สร้างเส้นนำสายตาให้เกิดความรู้สึกเชื่อมต่อของพื้นที่ระหว่างส่วนบ้านเก่ากับส่วนที่ต่อเติมใหม่ สำหรับการตกแต่งภายในเน้นความโปร่งโล่ง เลือกใช้สีโทนสว่างและเฟอร์นิเจอร์หลักเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งาน ส่วนต่อเติมใหม่กรุพื้นไม้ลามิเนตสีอุ่น ช่วยดึงความขรึมของพื้นหินขัดในบ้านเดิมให้ภาพรวมดูโมเดิร์น และมีชีวิตชีวามากขึ้น หากมองจากภายนอก ส่วนของบ้านที่ต่อเติมใหม่ด้านหน้าจะไม่มีช่องเปิดบนชั้นสอง เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว […]

ออก แบบคอนโด พื้นที่จำกัดให้ตอบโจทย์แบบมัลติฟังก์ชั่น

เมื่อพื้นที่จำกัดกลายเป็นความท้าทายรูปแบบใหม่ที่ผลักดันให้ทีมสถาปนิกจาก Please Feel Invited ออก แบบคอนโด ขนาด 37 ตารางเมตร แห่งนี้ให้กลายเป็นพื้นที่ใช้ชีวิตแบบ ‘Super Functional’ แนวคิดการออกแบบที่ทำให้ขนาดพื้นที่ไม่ใช่ข้อจำกัดของการใช้งานอีกต่อไป จุดเริ่มต้นของการออก แบบคอนโด เริ่มจากที่ คุณสุทิวัส ยานะวิบุตร และน้องสาวได้ตัดสินใจซื้อห้องรูปแบบดูเพล็กซ์ (duplex) ในโครงการ Knightsbridge Prime Sathorn เพื่อใช้เป็นที่พักหลักใจกลางเมืองหลังจากการทำงาน ดังนั้น ที่นี่จึงต้องตอบโจทย์ความต้องการต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน รวมถึงต้องมีบรรยากาศที่ดูอบอุ่น ผ่อนคลาย เน้นความเรียบง่าย และดูแลรักษาได้สะดวก เจ้าของห้องเปิดโอกาสให้ทางสถาปนิกออกแบบได้อย่างเต็มที่โดยไม่ปิดกั้นไอเดีย เพื่อต้องการให้เกิดการตกแต่งรูปแบบใหม่สำหรับคอนโด อีกทั้งยังตั้งใจให้ผู้ที่สนใจสามารถนำแบบไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม จากโจทย์สำคัญที่ต้องการให้พื้นที่ทุกตารางนิ้วสามารถใช้งานได้ สถาปนิกจึงออกแบบให้ตู้เก็บของแบบมัลติฟังก์ชั่น ทำหน้าที่คล้ายผนังซึ่งเคลื่อนย้ายได้ เป็นหัวใจสำคัญ ในการสร้างสเปซรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเปิดโล่ง ปิดทึบ นอกจากนี้ ตู้ยังรับหน้าที่เป็นชั้นเก็บของ โต๊ะรับประทานอาหาร ที่รีดผ้า ฯลฯ โดยมีตู้เก็บของทั้งหมด 5 ตำแหน่ง ซึ่งประกอบด้วยตู้ที่ออกแบบให้มีรางเลื่อนเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนสเปซชั้นล่างได้ และตู้บิลท์อินที่เน้นเพิ่มพื้นที่เก็บของ และสร้างขอบเขตการใช้งาน […]

CASA M รีโนเวตบ้านเก่า เป็นบ้านโมเดิร์นดีไซน์ขี้เล่น เด่นด้วยบันไดเส้นสายโฉบเฉี่ยว

CASA M บ้านในประเทศบราซิล ที่เกิดจากการ รีโนเวตบ้านเก่า ให้ดูโฉบเฉี่ยวขึ้นทันตา ด้วยเส้นโครงสร้างบันไดเหล็กที่ตกแต่งอาคารไปในตัว ย้อนกลับไปที่นี่ได้รับการปรับปรุงและบูรณะมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง จนทำให้สูญเสียคุณค่าทางสถาปัตยกรรมไป จนกระทั่งได้รับการ รีโนเวตบ้านเก่า ใหม่ อีกครั้งหนึ่ง บอกเลยว่าคราวนี้มาในรูปลักษณ์ที่โมเดิร์นทันสมัย แถมยังดูเรียบง่าย ด้วยการเลือกใช้สีขาวที่ไม่มีวันเชย เพราะทีมสถาปนิกจาก Felipe Hess Arquitetos ได้ลงมือปรับปรุงบ้านนี้ขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการรื้อหลังคาหน้าจั่วออกเพื่อปรับพื้นที่เป็นชั้นดาดฟ้าสำหรับพักผ่อน รวมถึงประตู บันได และผนังรอบบ้านที่เปลี่ยนไปทั้งหมด ก่อนจะเพิ่มเติมพื้นที่การใช้งานใหม่ลงไปให้ตอบโจทย์สไตล์ของเจ้าของบ้าน เช่น โรงรถ สระว่ายน้ำ ห้องซาวน่า และมุมพักผ่อนที่มีให้เลือกใช้หลากหลายมุมในวันหยุด เมื่อมองจากภายนอก บ้านที่ผ่านการรีโนเวตใหม่หลังนี้ ดูโดดเด่นขึ้นด้วยรูปลักษณ์ที่เกิดจากการใช้บันไดเหล็กทำสีขาวเป็นองค์ประกอบ เชื่อมต่อกับการก่อสร้างอาคารด้านนอก จนกลายเป็นเส้นสายโฉบเฉี่ยวใช้ตกแต่งอาคารไปในตัว โดยอยู่ในลักษณะที่ไต่ระดับความสูงจากชั้นดาดฟ้าลงมาถึงชั้นล่าง พาดผ่านเฉลียงของห้องส่วนต่าง ๆ ก่อนเชื่อมต่อไปยังพื้นที่สระว่ายน้ำ เป็นลูกเล่นสนุก ๆ ดูเผิน ๆ เหมือนสไลเดอร์ที่พาทุกคนเลื่อนไหลลงมาจนพบกับสระว่ายน้ำสีฟ้า รอบ ๆ แวดล้อมด้วยสวนไม้ใบสีเขียวสดชื่นสบายตา ตัดกันกับตัวบ้านสีขาวสะอาด ให้ความรู้สึกที่แสนสบายเหมาะกับการพักผ่อน สีขาวถูกเลือกให้เป็นโทนสีหลัก บ่งบอกถึงความเรียบง่าย และช่วยขับองค์ประกอบที่มีสีสันให้เด่นชัดยิ่งขึ้น สีขาวปรากฏให้เห็นทั้งบนพื้นกระเบื้องโมเสก พื้นที่ภายในและภายนอกบ้าน […]

บ้าน ภ บ้านสถาปนิกที่ออกแบบให้ดูแลง่าย

บ้านโมเดิร์นที่ออกแบบให้ดูแลรักษาง่าย อยู่สบาย เพื่อรองรับครอบครัวใหญ่ที่มีคนหลายวัยอยู่ด้วยกัน เน้นฟาซาดเรียบง่าย ตรงไปตรงมาและปิดทึบ แล้วเปิดคอร์ตยาร์ดด้านใน แต่ในความเรียบง่ายนี้ได้ซ่อนความพิเศษที่มีเพียง 8 คนบนโลกนี้จะรู้ซึ้งได้ ออกแบบ Atelier of Architects Co.,Ltd. โดย คุณศัลยเวทย์ ประเสริฐวิทยาการ เจ้าของ คุณศัลยเวทย์ – คุณปิยะสุดา ประเสริฐวิทยาการ เมื่อคุณเหลียง – ศัลยเวทย์ และคุณมิ้ม – ปิยะสุดา ประเสริฐวิทยาการ เปลี่ยนจากการอยู่คอนโดมิเนียมกว่า 20 ปี มาสร้างบ้านใหม่บนที่ดิน 130 ตารางวา เพื่อรองรับการเป็นครอบครัวใหญ่ที่มีคนหลายวัยอยู่ร่วมกัน 8 คน จึงต้องคิดกันอย่างรอบคอบ แล้วยังเป็นการออกแบบบ้านตัวเองของคุณเหลียง – ศัลยเวทย์ สถาปนิกแห่ง Atelier of Architects Co.,Ltd. จึงอยากให้เป็นบ้านที่รองรับอนาคต ทั้งด้านฟังก์ชัน การดูแลรักษา และสร้างความหมายชีวิตให้กับครอบครัว บ้านคอร์ตโมเดิร์น   ที่มาของชื่อ “บ้าน […]

TROPICAL CHALET วิลล่าหลังใหญ่ริมทะเลสาบ ไอเดียออกแบบบ้านอิฐจากเมืองดานัง

วิลล่าริมทะเลสาบสำหรับครอบครัวใหญ่ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเรียบง่ายของบริบทอันงดงาม ผ่านการออกแบบที่มีการนำ “อิฐ” วัสดุท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม มาใช้เป็นวัสดุหลัก ออกแบบบ้านอิฐ  ซึ่งอิฐในประเทศเวียดนามนั้น ถือเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 4 เพราะเหมาะกับการสร้างบ้านในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เนื่องจากเนื้อวัสดุมีรูพรุนจึงทำหน้าที่ระบายความร้อนช่วยให้บ้านเย็น และเป็นฉนวนได้อย่างดี อีกทั้งยังนำมาสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมได้หลายรูปแบบ เช่นการเรียงต่อกันแบบเว้นช่องว่าง เพื่อสร้างลวดลายที่สวยงามอย่างบ้านหลังนี้ โดยจับคู่กับไม้ และพื้นผิวคอนกรีต ออกแบบบ้านอิฐ ตัวอาคารได้รับการออกแบบเป็นรูปตัวแอล (L) รอบบ้านเป็นสวนขนาดใหญ่ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ออกมาใช้เวลาในการพักผ่อนร่วมกัน องค์ประกอบหลัก ๆ ของอาคารมีอยู่ 2 ประการ ประการแรก คือช่องว่างของฟาซาดอิฐ ช่วยทำหน้าที่สร้างความสวยงามให้แก่อาคาร ไปพร้อม ๆ กับการทำหน้าที่เป็นแผงบังแดด เมื่อเข้ามาที่ชั้นล่างจะพบกับพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ห้องอาหาร ห้องนั่งเล่น และห้องครัว จะสามารถชื่นชมวิวสวนที่แสนร่มรื่น และสูดอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มปอด ประการที่สอง คือรูปแบบอันโดดเด่นของหลังคาทรงเรขาคณิตรูปสามเหลี่ยม ที่วางตัวต่อเนื่องกันคล้ายลูกคลื่น ช่วยทำให้เกิดมุมมองที่ไม่ซ้ำใคร เมื่อมองจากภายนอกจะเห็นส่วนผสมของวัสดุต่างชนิดกันอย่าง เสาและคานคอนกรีตแว็กซ์พื้นผิวเรียบ ทำหน้าที่เป็นกรอบโครงสร้างให้แก่หลังคากระเบื้องดินเผาที่ต่อเนื่องกัน และเป็นเส้นแนวยาวลงมาด้านล่าง หรือเป็นเสาให้แก่อาคาร เสริมความแข็งแรง และความทนทานให้แก่โครงสร้าง จากเหตุผลของการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ ร่วมกับการออกแบบพื้นที่ใช้สอยแบบโปร่งโล่ง […]

KHI HOUSE & ART SPACE บ้านสีขาวรูปเครื่องบินกลางสวนมะกอก เสพวิวทะเลแบบไม่มีอะไรกั้น

บ้านสีขาว ของคู่รักศิลปิน กับบ้านหน้าตาสุดล้ำดูคล้ายเครื่องบิน ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนมะกอกตอนใต้ของคาบสมุทรเพโลพอนนีส ประเทศกรีซ นอกจากวิวสวนมะกอกที่กว้างไกลแล้ว บ้านสีขาว รูปทรงแปลกตานี้ ยังเปิดรับวิวทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้อย่างเต็มอิ่ม จากข้อดีด้านทำเลดังกล่าว Theo Sarantoglou Lalis และ Dora Sweijd สถาปนิกจาก LASSA architects จึงเลือกหยิบทัศนียภาพที่ได้เปรียบนี้ มาเป็นแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม ให้สามารถเปิดรับวิวแบบอะเมซิ่งได้รอบทิศทาง แปลนของบ้านที่มีรูปทรงคล้ายเครื่องบิน หรืออักษรรูปตัวเอ็กซ์ (X) นั้น ถูกแบ่งพื้นที่การใช้งานหลัก ๆ ออกเป็นอาคารฝั่งตะวันออกที่ออกแบบให้มีระดับความสูงเท่ากับเรือนพุ่มของต้นมะกอก จึงมองเห็นวิวต้นมะกอกที่ปลูกเรียงเป็นแถวสีเขียวอยู่รายรอบบ้าน ทั้งยังเปิดรับแสงยามเช้าได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีดีเทลการออกแบบ อันเป็นเสมือนเครื่องมือช่วยกำหนดขอบเขตให้แก่ตัวบ้านอย่าง ผนังคอนกรีตหล่อ ที่ได้รับการดีไซน์ให้ดูคล้ายระลอกคลื่นสีขาวยาวต่อเนื่องกัน โดยความสูงของผนังจะไล่ระดับสูงต่ำตามพื้นที่ และเป็นเส้นโค้งไปตามรูปทรงของแบบบ้าน เป็นผลพลอยได้ให้เกิดเป็นฉากหลังรับเงาตกกระทบของต้นไม้ดูสวยงาม ภายในบ้านแต่ละห้องสามารถขยายมุมมองต่อเนื่องออกไปยังโถงกว้างด้านใน และระเบียงด้านนอกได้แบบไม่มีผนังกั้น ทำให้เกิดมุมมองเปิดกว้างเชิงขยาย ช่วยลดความเบื่อหน่ายที่จะต้องอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ โดยเฉพาะมุมปีกสวนกรวดเล็ก ๆ ที่ออกแบบให้มีขอบผนังทรงโค้งขนาดสูง ทำหน้าเป็นเสมือนเฟรมให้แก่วิวท้องฟ้าเบื้องบน ดูสวยงามเป็นพิเศษยามที่พระอาทิตย์ตกดิน เพราะแสงสีส้มอมชมพูจะดูตัดกันกับผนังสีขาวสร้างบรรยากาศที่ชวนสดใส อีกทั้งยังมีชั้นดาดฟ้าให้ขึ้นไปทอดสายตาชมวิวได้ด้วย นอกจากดีไซน์เรื่องรูปทรงที่แปลกตาไม่เหมือนใครแล้ว การใช้วัสดุก็เป็นอีกสิ่งที่สถาปนิกให้ความสำคัญ โดยให้ความเชื่อมั่นกับฝีมือของผู้รับเหมาในท้องถิ่น ภายใต้การควบคุมคุณภาพงานโดยสถาปนิกเองอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันก็ได้ร่วมมือกับบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์โพลีสไตรีน […]

Full House บ้านทรงจั่วที่บรรจุความสุขจนเต็มพิกัด

บ้านทรงจั่ว โมเดิร์น สีขาวน่ารักดีไซน์มินิมัล 700 ตารางเมตร แต่ด้วยที่ดิน 106 ตารางวา จึงเป็นความ “แน่น” ในการออกแบบที่สถาปนิกต้องแก้ปัญหา เมื่อสถาปนิก คุณวิน-ธาวิน หาญบุญเศรษฐ แห่ง WARchitect ได้คลี่คลายฟังก์ชันให้สื่อสารถึงความเป็นครอบครัวที่อบอุ่น  บ้านทรงจั่ว โมเดิร์น สีขาวน่ารักหลังนี้เป็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ซึ่งมองดูภายนอกเสมือนเป็นบ้านหลังเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วเป็นบ้าน 2 หลังของ 2 พี่น้องที่สร้างบ้านของครอบครัวตัวเองให้มีส่วนเชื่อมต่อและแชร์พื้นที่กันได้ จนกลายเป็นบ้านที่รวมครอบครัวใหญ่ให้อยู่พร้อมหน้ากัน บ้านพี่ บ้านน้อง บ้านเราติดกัน ใน บ้านทรงจั่ว โมเดิร์น ที่ออกแบบให้ดูเป็นหลังเดียวกันนั้น แบ่งเป็น 2 หลังที่มีฟังก์ชันแยกออกจากกันอย่างชัดเจน บ้านหลังใหญ่ (บ้านฝั่งขวา) เป็นของพี่ชาย ส่วนบ้านหลังเล็ก (บ้านสูง 3 ชั้นฝั่งซ้าย) เป็นของน้องชาย ซึ่งต่างคนต่างมีครอบครัวและลูกวัยน่ารัก แต่ด้วยความผูกพันที่อยากให้ครอบครัวได้อยู่ใกล้กัน โดยมีคุณพ่อคุณแม่ (ปู่ย่าของหลานๆ) เป็นจุดศูนย์กลางของครอบครัว ให้ท่านได้มีความสุขกับการได้อยู่ด้วยกันพร้อมหน้าและได้เห็นการเติบโตของหลานๆ แล้วยังเป็นการได้กลับมารวมตัวกันของครอบครัวใหญ่ ที่ครอบครัวของน้องสาวได้มาอยู่พร้อมหน้ากันในวันหยุด ซึ่งนับรวมกันแล้วมีสมาชิกถึง 10 […]

บ้านในสถาปัตยกรรม โมเดิร์นทรอปิคัล ริมน้ำแม่กลอง

ครอบครัวอารยอสนี เติบโตและประกอบธุรกิจที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มายาวนาน จึงตั้งใจจะสร้างบ้านหลังใหม่ในพื้นที่ที่ตนเองและครอบครัวมีความผูกพันมาตลอด กระทั่งได้ที่ดินผืนงามติดกับคุ้งน้ำ ซึ่งเป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสายสำคัญ 2 สาย อันเป็นเส้นทางหลักที่นักท่องเที่ยวมักนั่งเรือโดยสารไปทำบุญ 9 วัด และชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน  ด้วยศักยภาพของทำเลที่ตั้งดังกล่าว  จึงเป็นโจทย์ท้าทายให้สถาปนิกจาก D minus plus B ต้องออกแบบบ้านหลังใหม่สไตล์ โมเดิร์นทรอปิคัล ที่โดดเด่น หรือเป็นภาพจำให้แก่ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ราวกับเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กที่จะถูกกล่าวถึงในอัมพวา พร้อมๆ กับตอบโจทย์การอยู่อาศัยในทุกแง่มุม เนื่องจากบ้านหลังนี้ทางครอบครัวอารยอสนีตั้งใจจะให้เป็นบ้านที่อยู่ประจำ พื้นที่ใช้สอยจึงมีขนาดใหญ่ถึง 1,500 ตารางเมตร โดยใช้เวลาออกแบบและก่อสร้างนานถึง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ ทั้งนี้ทางเจ้าของบ้านได้เปิดโอกาสให้สถาปนิกเสนอไอเดียได้อย่างเต็มที่ เพียงแค่ขอให้บ้านอยู่แล้วรู้สึกโปร่งโล่งในสไตล์ โมเดิร์นทรอปิคัล สามารถรับวิวและธรรมชาติอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ของอัมพวาได้อย่างเต็มที่ เมื่อได้โจทย์เบื้องต้นมาแล้ว สถาปนิกจึงเริ่มกำหนดตำแหน่งพื้นที่ใช้สอย และขนาดห้องต่าง ๆ ไปพร้อมกับการออกแบบสถาปัตยกรรมภายนอกไปพร้อมกัน ส่วนพื้นที่ใช้สอยถูกแบ่งอย่างชัดเจนด้วยกำแพงขนาดใหญ่บริเวณทางเข้าหลักของบ้าน นอกจากจะสร้างเพื่อความเป็นส่วนตัวจากสายตาคนภายนอก ไม่ให้มองเข้ามาเห็นพื้นที่ส่วนตัวในบ้านแล้ว ยังใช้กำแพงหินนี้ช่วยสร้างมุมมองที่เรียกว่า Surprise Space ก่อนเปิดเข้าไปพบกับโถงทางเดินที่สามารถมองทะลุไปยังแม่น้ำแม่กลองได้ โดยสถาปนิกได้วางตำแหน่งของพื้นที่ใช้สอยไว้ทั้งสองฝั่งโถงทางเดินที่มีลักษณะเป็นพื้นที่กึ่งภายนอกอาคาร ฝั่งซ้ายเป็นห้องนอนแขก ห้องเกม และสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ เพื่อสร้างความรู้สึกว่าแม่น้ำและบ้านได้ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน […]

NT’s Habitat บ้านอิฐ กับลูกเล่นช่วยเพิ่มแสงและลมให้บ้านเย็น

บ้านอิฐ สีแดง NT’s Habitat เกิดจากการเปลี่ยนโกดังขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในเมืองฟานเทียต ประเทศเวียดนาม ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งตลอดทั้งปี ให้กลายเป็นบ้านที่น่ารักสำหรับครอบครัว 4 คน ให้การอยู่อาศัยรู้สึกถึงความสบายทั้งอากาศและบรรยากาศ ผลงานการออกแบบโดยสถาปนิกจาก Flex.atelier ได้เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจและสังเกตสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นก่อนออกแบบ บ้านอิฐ หลังนี้ ที่ไม่เพียงแต่ปรับปรุงการดำรงชีวิตให้มีความสุขเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกด้วย การออกแบบบ้านประกอบด้วยพื้นที่เปิดสำหรับเชื่อมต่อและพื้นที่ปิดเพื่อความเป็นส่วนตัว พื้นที่ปิดประกอบด้วยห้องนอน และห้องน้ำ ขณะที่พื้นที่เปิดโล่งประกอบด้วยพื้นที่ทำงาน ห้องครัว และสนามเด็กเล่น ทั้งหมดเชื่อมต่อกับสกายไลท์กลางบ้าน ซึ่งมีจุดประสงค์หลายประการ ประการแรกคือ ช่วยเพิ่มการระบายอากาศลดความร้อน และประการที่สองคือ ให้แสงธรรมชาติส่องสว่างได้อย่างทั่วถึงในเวลากลางวันเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า ด้านโครงสร้างสถาปนิกใช้เทคนิคคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป แต่มีความสูงกว่าปกติเพื่อกักเก็บอากาศเย็นให้ได้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจคือส่วนหน้าของอาคารที่ประกอบขึ้นจากอิฐดินเผาสีแดง วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ก่อนนำมาเรียงต่อกันเป็นแพตเทิร์นอย่างระมัดระวัง นอกจากเพิ่มความสวยงามให้แก่เปลือกอาคารด้านหน้าแล้ว ช่องว่างของอิฐยังทำหน้าที่ระบายอากาศ และยอมให้แสงลอดผ่านเข้ามาได้เพิ่มเติมจากสกายไลท์ชั้นหนึ่งของบ้านถือเป็นพื้นที่ที่ครอบครัวจะได้มาใช้เวลาร่วมกันมากที่สุด โดยออกแบบให้อยู่ในพื้นที่ที่มีมุมมองเปิดโล่งและดูแลบุตรหลานได้ง่าย มีห้องสมุดเล็ก ๆ อยู่ใต้บันได ให้เด็ก ๆ ได้นั่งอ่านหนังสือ นอกจากนี้ยังมีมุมรับประทานอาหารแบบสบาย ๆ ส่วนชั้นสองโดยเฉพาะห้องนอนใหญ่ด้านหน้า ออกแบบให้รู้สึกถึงความอบอุ่นด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ เข้ากันดีกับฟาซาดอิฐผืนใหญ่ มีความพิเศษอันเกิดจากแสงที่ลอดผ่านช่องอิฐเข้ามา เป็นแพตเทิร์นของเงาที่ทาบลงบนพื้นผิวต่าง ๆ ของห้อง โดยจะเปลี่ยนองศาไปตามแต่ละช่วงเวลา […]

บ้านหน้าแคบ โชว์คานคอนกรีตดิบ ๆ กับฟาซาดมีชีวิตจากเหล่าต้นไม้สีเขียว

บ้านหน้าแคบ ขนาดจำกัด ที่เจ้าของอยากมีพื้นที่สวนสำหรับพักผ่อน ดื่มด่ำกับธรรมชาติได้ทุกอณูหลังนี้ ตั้งอยู่ที่จังหวัด Bac Ninh ประเทศเวียดนาม เด่นด้วยหน้าตาของ บ้านหน้าแคบ ทรงกล่องคอนกรีตสูงชะลูด ด้านหน้าเต็มไปด้วยแมกไม้สีเขียว ทำหน้าที่ราวกับเป็นฟาซาดธรรมชาติ ช่วยให้บ้านร่มรื่นเย็นสบาย และซ่อนพื้นที่พักอาศัยไว้ด้านใน เพื่อปกป้องสายตาจากภายนอกและมลภาวะของเมือง  จุดเริ่มต้นของการสร้างบ้านรูปทรงสะดุดตา อัดแน่นด้วยต้นไม้เกือบทุกพื้นที่หลังนี้ มีต้นทางมาจากการเอาชนะปัญหาหลาย ๆ ข้อที่บ้านนี้ต้องพบเจอ เช่น 1.ลักษณะของที่ดินที่ทั้งแคบและลึกเพียง 80 ตารางเมตร (4 x 20 เมตร) 2.มีเพียงหน้าบ้านที่ติดถนนด้านเดียว ที่เปิดรับแสงสว่างและอากาศได้ 3.เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น และอยู่ใกล้เขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้มักมีปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางเสียง ทีมผู้ออกแบบจาก Kien Truc NDT จึงต้องการหาวิธีแก้ปัญหาและข้อบกพร่องเหล่านี้ให้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยตั้งใจให้บ้านที่หันหน้าออกไปทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นทิศที่ไม่ได้รับแสงแดดตรง ๆ ให้มีพื้นที่ไว้นั่งเล่นยื่นยาวออกมา เจ้าของบ้านสามารถพักผ่อนนั่งเล่น หรือปลูกต้นไม้ได้ตามชอบใจ เปรียบเสมือนเป็นพื้นที่กันชนกลางแจ้งที่เหมาะกับทั้งการเจริญเติบโตของต้นไม้ รวมถึงช่วยนำแสงสว่างและระบายอากาศให้บ้านปลอดโปร่งตลอดทั้งวัน แล้วร่นระยะพื้นที่พักอาศัยให้ขยับไปไว้ด้านหลังแทนเพื่อความเป็นส่วนตัว นอกจากนี้การทำพื้นที่หน้าบ้านให้มีแต่ต้นไม้ราวกับเป็นกำแพงนี้ ยังเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงเสียงและฝุ่นละอองในเมืองได้ด้วย พื้นที่ภายในบ้านขนาด 4 ชั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วนแยกกัน […]

ทาวน์โฮม ใต้ถุนสูง แบ่งที่ว่างให้ปอดได้หายใจด้วยคอร์ตยาร์ดเล็ก ๆ สีเขียว

ทาวน์โฮม ใต้ถุนสูง ที่แสดงความเป็นตัวตนผ่านความเรียบง่าย เด่นด้วยการออกแบบอาคารให้สลับกับคอร์ตสวน ให้ลมและแสงไหลผ่านพื้นที่โล่งแบบใต้ถุนสูง ช่วยให้เจ้าของบ้านมีมุมทางเลือกในการพักอาศัยในบ้านที่ตั้งอยู่บนที่ดินขนาดแคบ แต่สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ไม่ต่างจากอยู่บ้านหลังใหญ่ ๆ เนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนที่มีความหนาแน่นในเมืองดานัง ซึ่งถูกปิดกั้นด้วยกำแพงจากอาคารบ้านเรือนรอบ ๆ ทางออกที่จะทำให้บ้านที่อยู่ในที่ดินขนาด 7.5 x 14.3 เมตร หลังนี้ หลุดพ้นความอุดอู้ได้ นั่นคือการออกแบบ ทาวน์โฮม ใต้ถุนสูง มีช่องว่างให้อากาศถ่ายเทมากที่สุด สถาปนิกจาก H-H studio จึงเลือกที่จะออกพื้นที่ใช้สอยให้มีลักษณะเปิดโล่งแบบมีใต้ถุน สำหรับเป็นพื้นที่นั่งเล่นพักผ่อน เว้นช่องว่างด้วยคอร์ตยาร์ดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบ้านสวนแบบดั้งเดิม แม้จะอากาศร้อน แต่บ้านนี้ก็ยังให้ความรู้สึกเย็นสบาย แถมประหยัดพลังงานด้วย จากการออกแบบดังกล่าวช่วยให้บ้านนี้ดูไม่เป็นก้อนอาคารทึบ เพราะมีสัดส่วนความโปร่งโล่งถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาอยู่ในที่พักอาศัยมากขึ้น ชั้นล่างถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สังสรรค์ของคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง นอกจากนั้นยังมีห้องทำงานที่เปิดโล่งสู่สวน โดยเจ้าของบ้านใช้ห้องนี้ในการประชุมบางครั้งคราว  ชั้นสองเชื่อมต่อกันด้วยบันไดด้านนอกที่เปิดสู่ท้องฟ้าด้านบนได้เต็มที่ บนชั้นนี้ใกล้กับกึ่งกลางบ้านมีแท่นบูชาพร้อมการแกะสลักรูปพระพุทธรูปนูนต่ำบนผนังสีขาวขนาดสูงใหญ่ มีลูกเล่นให้แสงธรรมชาติสาดลงมาจากสกายไลท์ ก่อนตกกระทบที่ภาพแกะสลักพอดี เป็นอีกหนึ่งไอเดียเก๋ ๆ ที่สามารถหยิบไปทำตามได้ ขณะที่วัสดุก่อสร้างบ้าน เน้นใช้วัสดุอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเหลือเศษวัสดุน้อยที่สุด อีกทั้งยังใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ช่วยลดมลพิษการชนส่งและแรงงาน ละเว้นสิ่งที่ไม่จำเป็นจากองค์ประกอบงานตกแต่งลงให้เหลือแต่เพียงความเรียบง่าย เทคนิคเด่น ๆ ที่จะกล่าวถึงในการออกแบบบ้านหลังนี้ของสถาปนิก […]

CASA CLOUD บ้านที่เชื่อมโยงธรรมชาติสู่พื้นที่ภายใน

การบรรจบของ ธรรมชาติ อันสวยงามสู่พื้นที่พักอาศัยภายในสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “บ้าน” โดย BOONDESIGN เกิดเป็นเส้นสายอาคารที่งดงามบนความสงบนิ่ง สมชื่อ Casa Cloud ก้อนเมฆที่เป็นจุดบรรจบระหว่างผืนดินกับผืนฟ้า ออกแบบ: BOONDESIGN โดย คุณบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์เจ้าของ: คุณชาลี สมุทรโคจร พื้นที่สัมพันธ์ของธรรมชาติและการอยู่อาศัย บ้านหลังนี้ใช้การยกระดับพื้นที่ขึ้นมาสู่ชั้น 2 เป็นพื้นที่หลักโดย เชื่อมโยง สวนและธรรมชาติที่นอกบ้านนั้นจะมีการไล่ระดับตามกันขึ้นมาจนถึงระเบียงห้องรับแขก การยกพื้นที่หลักมาไว้ที่ชั้นสองนั้นสร้างความเป็นส่วนตัวที่ดีกว่าพื้นที่ชั้นล่าง ทั้งยังเปิดโอกาสให้สามารถเปิดรับธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ เพราะเป็นระดับที่พ้นจากสายตาโดยทั่วไปแล้วนั่นเอง เมื่ออยู่ในห้อง กระจกบานใหญ่สูง 4 เมตรจะสร้างบรรยากาศที่เหมือนสวนกับห้องรับแขกเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกัน ไม่มีการแบ่งกั้น พื้นที่ยาว 12 เมตรจึงให้ความรู้สึก คุณบุญเลิศตั้งใจออกแบบพื้นที่ส่วนนี้ให้มีความลื่นไหลต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นส่วนเดียวกันทั้งหมดเพราะไม่ต้องการให้พื้นที่ภายในถูกมองว่าเป็นเพียงอาคาร และพื้นที่ภายนอกเป็นเพียงแค่สวน แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นสัมพันธ์กันเกิดเป็นสถาปัตยกรรมนั่นเอง แม้แต่การเลือกวัสดุที่คำนึงถึงความการเชื่อมโยงธรรมชาติเข้ากับองค์ประกอบต่างๆเช่นเดียวกัน “ถ้านิยามว่าเป็นเพียงอาคาร นั่นอาจเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้าง แต่เราคิดไปมากกว่านั้น เราออกแบบพื้นที่ว่าง อย่างห้องนั่งเล่นนี้ที่ออกแบบเป็นพื้นที่ภายใน ดึงเอาธรรมชาติเข้ามา การยื่นชายคา การเลือกหินอ่อนดำที่จะไม่รบกวนทิวทัศน์ภายนอก ตลอดจนกรอบบานสีน้ำตาลเข้มที่กลมกลืนล้อไปกับแนวต้นไม้กิ่งไม้ก็เป็นความตั้งใจทั้งหมด เพราะธรรมชาติคือความงามที่สุดแล้ว ความโปร่งโล่งและสัมผัสได้ถึงธรรมชาติจึงเป็นการอยู่อาศัยในบ้านหลังนี้ที่ผมตั้งใจออกแบบให้กับเจ้าของบ้าน” อยู่สบาย เป็นส่วนตัว รับแดด ลม ฝน แม้บ้านหลังนี้จะหันหน้าทางทิศตะวันตก […]