Living Archives - Page 9 of 28 - room

Amornyont รีโนเวทตึกแถว สู่พื้นที่ของครอบครัวและธุรกิจ

หจก.อมรยนต์ จากธุรกิจของครอบครัวที่ก่อตั้งมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ถึงคราวจำเป็นจะต้องย้ายมายังที่ตั้งแห่งใหม่ในย่านหัวลำโพง จึงถือเป็นโอกาสดีที่เจ้าของรุ่นลูกจะได้ รีโนเวทตึกแถว ให้เหมาะสมกับการทำงาน พร้อมกับพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิตของครอบครัวในอาคารพาณิชย์ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ออกแบบ: Lynk Architect โดย คุณณัฐศิษฐ์ วงบุญ โปรเจ็คต์ รีโนเวทตึกแถว แห่งนี้ เกิดขึ้นภายใต้โจทย์ที่มาจากความต้องการอันหลากหลายของเจ้าของ แตกแขนงออกเป็นพื้นที่ขายปลีก พื้นที่คลังสินค้า และพื้นที่พักอาศัย ซึ่งอยู่ในอาคารหลังเดียวกัน ก่อนนำทุกอย่างมาเรียบเรียงใหม่ให้เรียบง่ายตรงไปตรงมา โดยใช้งานดีไซน์เป็นเครื่องมือจัดการทั้งเรื่องฟังก์ชันและความงาม เปลือกอาคารและการเลือกใช้สี จุดโดดเด่นและสะดุดตาที่สุดของอาคารแห่งนี้ คือเปลือกอาคารที่เป็นแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิตเจาะรูพับเป็นแพตเทิร์น เว้นจังหวะช่องเปิดของอาคารตามฟังก์ชันการใช้งานภายใน ส่วนเหตุผลที่เลือกใช้วัสดุนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดเริ่มต้น ที่ต้องการให้อยู่ในบรรทัดฐานของความเรียบง่ายและใช้งานได้จริง  “เปลือกอาคารเป็นสิ่งหนึ่งที่เราพยายามคิดถึงเรื่องวัสดุ และการตีความทุกอย่างแบบตรงไปตรงมา คำตอบที่ตรงโจทย์ที่สุดก็คือแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิตเจาะรู ซึ่งมีข้อดีเรื่องน้ำหนักเบาจึงเหมาะกับงานรีโนเวตอาคารเก่า ทั้งยังช่วยในเรื่องการควบคุมปริมาณแสงและความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะพื้นที่ภายในที่ต้องการแสงไม่เท่ากัน ถ้ามองจากด้านในจะเหมือนกับการมองผ่านผ้าม่านโปร่ง แต่คนที่อยู่ภายนอกมองเข้าไปจะทึบหมด ช่วยปกปิดส่วนที่ไม่อยากให้มองเห็น เช่น พื้นที่เก็บสินค้า ส่วนรีเทลก็จะเปิดมากหน่อยเพื่อต้อนรับ และส่วนที่พักอาศัยก็เปิดกลาง ๆ กำลังดี” เพราะแผ่นอะลูมิเนียมมีความแข็งแรงน้อย จึงต้องใช้การพับเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับตัวมันเองให้มากที่สุด แพตเทิร์นที่เลือกใช้ในการพับจึงร้อยเรียงมาจากบริบทของอาคารที่อยู่ในย่าน ไม่ว่าจะเป็นหัวลำโพง หรือเส้นสายของอาคารเพื่อนบ้านให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน แม้จะเกิดใหม่ในยุคสมัยที่แตกต่างกันก็ตาม ส่วนเรื่องการใช้สี แม้สีเขียวเป็นสีหลักของแบรนด์ แต่คุณแบงค์กลับที่จะเลี่ยงใช้สีนี้ แล้วหันไปใช้การจับคู่สีเพื่อมองหาสีอื่นที่จะมาเป็นแบ็กกราวน์ให้กับสีเขียวแทน เพื่อช่วยเน้นอัตลักษณ์ของแบรนด์ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น […]

REFRACTION HOUSE บ้านผนังบล็อกแก้ว ช่วยกันร้อนและกระจายแสงให้บ้านโปร่ง

โปรเจ็กต์การทดลองจาก RAD + ar กับการตั้งคำถามถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างบ้าน ที่จำเป็นต้องหันหน้าเผชิญกับแสงแดดจากทิศตะวันออกและตะวันตก ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านออกมาสวยงามน่าอยู่ พร้อม ๆ กับการปกป้องพื้นที่ด้านในจากความร้อนของแสงแดด นำมาสู่การเลือกใช้ “บล็อกแก้ว” มาออกแบบเป็นองค์ประกอบของเปลือกอาคารขนาดใหญ่ จากปัญหาตำแหน่งที่ตั้งซึ่งขวางอยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก แน่นอนว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศอินโดนีเซีย ย่อมต้องเจอะเจอกับแสงแดดจัดจ้าและความร้อนตลอดทั้งวัน ไม่อำนวยต่อการเปิดรับแสงธรรมชาติโดยตรงสักเท่าไหร่นัก จึงต้องคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้การออกแบบผนังส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สามารถป้องกันแสงแดดและลดความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติของ บล็อกแก้ว ที่ช่วยหักเหแสง กันความร้อน กันเสียง และไม่ทำให้บ้านทึบ วัสดุชนิดนี้จึงกลายเป็นคำตอบเพื่อให้บรรลุถึงความยั่งยืน   ด้วยการนำบล็อกแก้วมาออกแบบเป็นผนังทั้งส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สำหรับทำหน้ากันแสงแดดและลดความร้อนให้บ้าน โดยยังยอมให้แสงสว่างส่องลึกเข้าไปยังตัวบ้านด้านในได้ ทั้งนี้พื้นที่ระหว่างเปลือกอาคารบล็อกแก้วกับพื้นที่ใช้งานภายในบ้าน สถาปนิกได้ออกแบบให้มีระเบียงขนาดใหญ่คั่นอยู่ตรงกลางเพื่อใช้พักผ่อน โดยการเว้นสเปซดังกล่าวนี้ เผื่อไว้ในเวลากลางคืนที่ความร้อนจะถูกปล่อยออกมาจากบล็อกแก้ว จึงไม่กระทบกับการอยู่อาศัยมากนัก ขณะเดียวกันห้องต่าง ๆ ที่หันหน้าไปยังหน้าบ้าน ก็จะรับแสงสว่างได้อย่างเพียงพอในช่วงกลางวัน จนแทบไม่ต้องเปิดไฟใด ๆ เลย    ขยับเข้ามายังพื้นที่ใช้งานด้านใน ออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง โอบล้อมด้วยผนังบล็อกแก้วทั้งสามด้าน สร้างความร่มรื่นด้วยการปลูกไม้ฟอร์มสวยอย่าง ต้นแปรงล้างขวด ซึ่งมีดอกสีแดง และกิ่งก้านห้อยระย้า ช่วยสร้างเส้นสายพลิ้วไหว ตัดกับความดิบกระด้างของวัสดุ และโครงสร้างของบ้านได้อย่างดี โดยที่แสงธรรมชาติจากคอร์ตยอร์ดยังส่องผ่านไปยังผนังบล็อกแก้ว ช่วยให้พื้นที่บ้านชั้นในดูสว่างขึ้นได้อีกทาง  นับเป็นการออกแบบบ้านที่ทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมของที่ตั้งได้อย่างแยบยล […]

Schoonschip ชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน

ในเมื่อผืนน้ำกินพื้นที่กว่า 70% ของโลก ถ้าเรามองหาแนวทางที่จะอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างยั่งยืน ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อในเขตเมืองนับวันยิ่งมีอัตราการอยู่อาศัยที่หนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ Schoonschip จึงเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ที่ออกแบบทางเลือกใหม่ของการใช้ชีวิตบนน้ำของผู้คนสำหรับโลกยุคอนาคต Schoonschip ชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ตั้งอยู่ในคลอง Johan van Hasselt ทางเหนือของกรุงอัมสเตอร์ดัม ออกแบบโดย Space&Matter สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเนเธอแลนด์ ด้วยความตั้งใจที่จะออกแบบผังเมืองที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยยุคใหม่ พวกเขาร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา และผู้อยู่อาศัยท้องถิ่น เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนต้นแบบแห่งนี้ ซึ่งประกอบด้วย 30 ยูนิตลอยน้ำ โดยแต่ละยูนิตอยู่ร่วมกัน 2 ครอบครัว รวมบ้าน 46 หลังสำหรับสมาชิกชุมชนกว่าร่วม 100 คน โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2011 และบ้านหลังสุดท้ายจะแล้วเสร็จในปีนี้ เจ้าของบ้านสามารถร่วมออกแบบกับสถาปนิกที่ตนเลือก ส่งผลให้บ้านแต่ละหลังแตกต่างกัน ทั้งด้วยวัสดุ และรูปแบบเฉพาะตัว นอกจากนี้ แต่ละยูนิตของบ้านลอยน้ำ Schoonschip สามารถใช้เรือเคลื่อนย้ายไปก่อสร้างในพื้นที่อื่น โดยไม่ทำให้เกิดมลภาวะทางเสียง รบกวนเพื่อนบ้านรอบข้าง Space&Matter สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเนเธอแลนด์ ที่ทำงานออกแบบมากกว่าแค่งานสถาปัตยกรรม แต่ยังรวมไปถึงงานผังเมือง และการวางแผนพัฒนา เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น […]

baan puripuri: Courtyard Pattanakarn ทาวน์โฮมตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง

baan puripuri : Courtyard Pattanakarn โครงการทาวน์โฮมที่มาพร้อมแนวคิดการออกแบบที่คงให้ความสำคัญกับการสร้างภาวะน่าสบายให้กับพื้นที่อยู่อาศัยในบริบทเมือง โดดเด่นด้วยคอร์ตกลาง ที่ทำให้ภายในบ้านโปร่งโล่ง ทลายข้อจำกัดของบ้านทาวน์โฮมได้อย่างน่าสนใจ บ้านทาวน์โฮม 3 ชั้น ขนาด 3 ห้องนอน โครงการใหม่ล่าสุดจากบ้านภูริปุรี – baan puripuri โดดเด่นด้วยสวนคอร์ตกลางบ้าน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างบรรยากาศโปร่งโล่ง ลดความทึบตัน และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งมักเป็นปัญหาหลักของบ้านแบบทาวน์โฮม ด้วยเหตุนี้ คอร์ตกลางจึงได้รับการออกแบบให้มีขนาดเกือบหนึ่งในสามของบ้าน โดยทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างพื้นที่ห้องนั่งเล่นด้านหน้า และพื้นที่ใช้สอยอื่นทางด้านหลัง   คอร์ตยาร์ดเปิดโล่งไม่มีหลังคา ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนอากาศภายในบ้าน พร้อมเปิดรับแสงธรรมชาติได้ตลอดวัน บริเวณพื้นที่ใช้งานออกแบบให้เป็นโครงสร้างทางภูมิสถาปัตยกรรมในรูปแบบขั้นบันไดที่มีความลาดชันต่ำ มีพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้หรือทำเป็นบ่อปลา สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งยังช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อของเส้นทางสัญจรที่ลื่นไหลต่อเนื่องจากห้องครัวชั้นล่างไปสู่ห้องนั่งเล่นบนชั้นลอย และเมื่อเปิดบานเลื่อนกระจก จะทำให้เกิดสเปซขนาดใหญ่ที่หลอมรวมพื้นที่ภายในและภายนอกเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ทุกพื้นที่ของบ้านยังเปิดมุมมองสู่พื้นที่สีเขียวบริเวณคอร์ตกลาง จึงช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานที่อยู่คนละบริเวณของบ้าน โดยยังคงมีความเป็นส่วนตัวเอาไว้ แนวคิดในการสร้างพื้นที่สีเขียวยังสะท้อนผ่านรูปแบบของสถาปัตยกรรมภายนอก ต้นไม้ใหญ่ในกระถางลูกบาศก์บนระเบียงดูโดดเด่นจนเหมือนเป็นเอกลักษณ์ของโครงการ ส่วนเปลือกอาคารด้านหน้าติดตั้งตะแกรงเหล็กสำหรับเป็นที่เกาะเกี่ยวของไม้เลื้อย ตอบโจทย์การสร้างพื้นที่สีเขียวแนวตั้งในอนาคต และในวันที่ไม้เลื้อยเติบโตเต็มพื้นที่ แนวกำแพงครีบที่ยื่นออกมาเหนือแนวระนาบเปลือกอาคาร จะช่วยสร้างการรับรู้และการมีตัวตนของงานสถาปัตยกรรม สันของกำแพงนั้นถูกออกแบบให้เอียงทำมุมที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดมิติตามแสงตกกระทบ เสริมกลิ่นอายวัฒนธรรมร่วมสมัยด้วยการประดับโมเสกกระจกสี ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากงานประดับกระจกในสถาปัตยกรรมไทย โครงการนี้ประกอบด้วยทาวน์โฮมทั้งหมด 37 […]

พื้นที่ธรรมชาติ ในบ้านทรอปิคัลโมเดิร์น ที่เปิดโปร่งสบายตา

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น สำหรับครอบครัวพ่อแม่ลูกหลังนี้จึงมีความพิเศษในเส้นสายที่บางเบา และมีบรรยากาศคล้ายพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ แม้จะอยู่ภายในบ้านก็ตาม ตอบรับกับแสงแดดและสายลมธรรมชาติอย่างพอดิบพอดี โดยบริษัทสถาปนิกที่รับหน้าที่รังสรรค์โจทย์นี้ได้อย่างลงตัวและน่าสนใจก็คือ Junsekino Architect and Design นั่นเอง ด้วยความที่คุณเติร์ท-ศักรภพน์ และคุณโจ-บุญสิตา จารยะพันธุ์ เจ้าของบ้านทำอาชีพเกี่ยวกับการบิน จึงทำให้โจทย์ของบ้านหลังนี้เริ่มต้นที่ความเบาสบายและกลมกลืนไปกับธรรมชาติตามสไตล์ที่อยากสร้างให้เป็นพื้นที่ซึ่งสื่อแทนความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง ทั้งยังต้องดูแลรักษาได้ง่ายและสามารถมองเห็นกันและกันได้จากทุกจุดภายในบ้าน การจัดวางพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้จึงใช้พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นดับเบิ้ลวอลลุ่มสร้างเป็นพื้นที่หลัก จากหน้าบ้านนั้น เมื่อเดินผ่านพื้นที่จอดรถและประตูหน้าบ้านเข้ามา จะพบกับโถงบันไดที่มองเห็นต้นซิลเวอร์โอ๊คโดดเด่นอยู่กลางบ้าน ก่อนจะหันกลับไปพบกับพื้นที่หลักของบ้านที่เป็นทั้งพื้นที่นั่งเล่น ทานข้าว และห้องครัว ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นพื้นที่เดียวแบบดับเบิ้ลสเปซ โดยมีทางเชื่อมไปยังบ้านเดิมที่ฝั่งซ้าย และสระว่ายน้ำที่อยู่ติดกับต้นซิลเวอร์โอ๊คที่ฝั่งขวา จนเมื่อขึ้นไปยังชั้น 2 บ้าน จะเป็นห้องนอน 3 ห้อง และทางเชื่อมออกไปยังระเบียงขนาดใหญ่ที่หน้าบ้าน ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดนี้ถูกห่อหุ้มอยู่ในฟาซาดเหล็กฉีก ซึ่งทั้งเป็นส่วนกรองแสงแดดและสร้างความปลอดภัยให้กับพื้นที่ในบ้านไปในตัว ความโดดเด่นของพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้คือการออกแบบที่ใส่ใจกับแสงธรรมชาติและการเปิดรับลมให้ไหลผ่านบ้านอย่างพอดี การวางองค์ประกอบต่าง ๆ ในบ้านจึงต้องออกแบบให้เป็นเส้นสายที่บางเบาของบ้านออกแบบเพื่อสร้างให้อาคารนั้นไม่ปิดกั้นผู้อยู่อาศัยกับธรรมชาติโดยรอบ ซึ่งนอกจากมุมมองแล้ว ยังมีการเปิดรับแสงธรรมชาติผ่านสกายไลท์ในหลายส่วน รวมทั้งการใช้เหล็กปรุเป็น ฟาซาด โดยรอบบ้านที่ช่วยกรองแสงแดดให้เบาบางลง แต่ไม่ปิดกั้นลมที่ไหลเวียน สร้างให้เกิดบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาให้กับบ้านในแบบ ทรอปิคัลโมเดิร์นอย่างพอดี พื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมโยงกับบ้านเดิม ทางด้านซ้ายของบ้านหลังนี้คือบ้านเดิมที่พ่อและแม่ของคุณเติร์ท ยังอาศัยอยู่ การออกแบบระเบียงรอบบ้านจึงไม่ใช่เพียงพื้นที่ที่ร่นเข้ามาเพื่อสร้างระยะชายคาที่พอดีกับร่มเงา เปรียบเสมือนหน้าบ้านอีกฝั่งหนึ่งที่เชื่อมโยงยุคสมัยของครอบครัวเข้าหากัน โดยที่หน้าบ้านฝั่งนี้จะตั้งอยู่ในแกนเดียวกับโต๊ะทานข้าว และสระว่ายน้ำ […]

PHU YEN HOUSE บ้านชั้นเดียว บรรยากาศแสนสบายกลางชนบทเวียดนาม 

บ้านชั้นเดียว ที่ตั้งอยู่กลางสวนในชนบทเวียดนาม โดดเด่นด้วยรูปทรงบ้านแบบปิดล้อม แต่ภายในโปร่งสบาย พร้อมรูปแบบการก่อสร้างเรียบง่าย เหมาะเป็นแบบบ้านพักตากอากาศในชนบท ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว แม้จะไปศึกษา ทำงาน และอยู่อาศัยในเมืองใหญ่ แต่ในใจก็ยังคิดถึงชีวิตที่สุข สงบ และเรียบง่ายตามวิถีชนบทในบ้านเกิด บ้าน Phu Yen House หลังนี้ จึงถูกสร้างขึ้นจากความต้องการของเจ้าของที่อยากมี บ้านชั้นเดียว ที่ต่างจังหวัดไว้ใช้พักผ่อนตากอากาศในวันหยุดฤดูร้อน และวันหยุดตามประเพณีของเวียดนาม รวมถึงการได้พาลูก ๆ ออกมาสัมผัสกับบรรยากาศและประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างจังหวัด หลบหนีจากความวุ่นวายทั้งปวง โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเมืองใหญ่ อย่างเช่นเวลานี้ บ้านสีขาวชั้นเดียวที่เห็นตั้งอยู่โดดเด่นกลางสวน เป็นผลงานการออกแบบโดยทีมสถาปนิกจาก Story Architecture รั้วด้านนอกที่โอบรอบบ้านไว้ ได้รับการออกแบบให้มีระดับที่สูง เพื่อความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว บดบังการมองเห็นจากสายตาคนภายนอก ก่อนจะตัดสีสันด้วยประตูทางเข้าทรงโค้งสีเขียวดูน่ารัก เมื่อเข้ามาด้านในจะพบกับบรรยากาศโล่งกว้าง ทุกพื้นที่เปิดทะลุถึงกันแบบไม่มีการติดตั้งประตู หรือบานกระจกใด ๆ ประกอบด้วยพื้นที่ใช้งานหลักอย่าง ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องรับประทานอาหาร เชื่อมโยงด้วยลานภายในและพื้นที่สีเขียว ช่วยให้พื้นที่ของบ้านโปร่งสบาย เข้าถึงธรรมชาติอย่างพื้นที่สนามหญ้า สระว่ายน้ำ และพื้นที่เล่นสนุกของเด็ก ๆ ได้จากทุกมุม ผ่านช่องผนังแบบซุ้มโค้งที่สามารถเดิน […]

MESSICO&NUVOLE FLAT รีโนเวตห้องเก่าให้สดใส พร้อมฟังก์ชันใช้งาน และมุมจัดเก็บช่วยประหยัดพื้นที่

Messico&Nuvole Flat โปรเจ็กต์ รีโนเวตห้องเก่า ซึ่งอยู่ในชั้นใต้ดินของอาคารยุค70’s กลางเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ให้กลับมามีศักยภาพตอบโจทย์การอยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ แน่นอนว่าเพื่อให้เข้ากับบุคลิกที่สดใส Davide Beretta Studio จึงได้ออกแบบห้องพักนี้ ให้เต็มไปด้วยพลังที่สนุกสนานกระปรี้กระเปร่า สีสันสดใส ซุ้มโค้งน่ารัก เฟอร์นิเจอร์สั่งทำพิเศษ สลับกับไม้ และต้นไม้เขียวขจี ทั้งหมดเปรียบเหมือนวัตถุดิบที่ปรุงออกมาได้อย่างกลมกลม ภายในห้องพักที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 105 ตารางเมตร โดยมีโจทย์ รีโนเวตห้องเก่า จากเจ้าของว่า อยากได้พื้นที่โล่งกว้างและใช้งานได้เต็มที่ จากแผนผังการใช้งานเดิมดีไซเนอร์แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงทิศทางใด ๆ จะเน้นก็แต่เฉพาะการตกแต่งในแง่ของบรรยากาศ และการใช้งานพื้นที่ให้คุ้มค่ามากที่สุด จากทางเข้าก่อนเลี้ยวมาตามผนังสีน้ำเงินเข้ม ฝั่งตรงข้ามทางเดินได้ออกแบบผนังตู้เก็บของ สำหรับจุของได้เพียบและเป็นสัดส่วน ก่อนเปิดมุมมองสู่โถงกลางขนาดกว้างไว้ใช้พักผ่อน ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์แต่เพียงน้อยชิ้น ก่อนแต่งแต้มความสดใสด้วยสี่เหลี่ยมสีเหลืองขอบโค้งมนบนผนังด้านหนึ่ง ดูเข้ากับขอบประตูที่วาดกรอบเส้นโค้งสีน้ำเงิน ส่วนมุมด้านหนึ่งใกล้กับชั้นหนังสือบิลอินท์ ได้แรงบันดาลใจการตกแต่งมาจากประเทศเม็กซิโก ด้วยการแขวนเปลญวนสีแดงสด ใช้นอนเล่นสบาย ๆ ด้านบนแขวนประดับด้วยเหล่าพรรณไม้สีเขียวดูสดชื่น นอกจากนี้ถ้าไม่บอกแทบไม่มีใครรู้ว่ายังมีลูกเล่นซ่อนอยู่ นั่นคือเตียงนอนพับได้ ซึ่งดูแนบเนียนไปกับผนังราวกับติดภาพวาดขนาดใหญ่ เมื่อถึงเวลาพักผ่อนก็แค่ดึงลงมา กลายเป็นเตียงนอนขนาดใหญ่น่าสบาย แถมยังมีเคาน์เตอร์บาร์เล็ก ๆ สำหรับทำอาหารง่าย ๆ อีกหนึ่งจุด ที่พลางตัวมาในรูปแบบของตู้ขนาดย่อมสีขาว […]

WEATHER HOUSE บ้านสีขาวดีไซน์จากลวดตาข่ายถัก อยู่กับธรรมชาติได้ทุกฤดูกาล

บ้านที่ห่อหุ้มด้วยแผง ลวดตาข่ายถัก นี้  ใครได้เห็นแล้ว อาจต้องแอบงงว่า นี่คือ “บ้าน” หรือ “สวนสาธารณะ” กันแน่! เพราะถูกตกแต่งด้วยต้นไม้ พร้อมกับมีสนามหญ้าเล็ก ๆ ให้นั่งชมวิวบนชั้นดาดฟ้า ซึ่งมีแนวคิดมาจากบริบทของเมือง ที่เต็มไปด้วยสวนสาธารณะน้อยใหญ่ ร่วมถึงการอยากหยิบยกธรรมชาติให้เข้ามาใกล้ตัวมากที่สุด โดยที่นี่ตั้งอยู่ในเขตที่พักอาศัยในย่านชินากาวะ ทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่เต็มไปด้วยบ้านเรือน อาคารสำนักงาน และตึกสูงระฟ้า แต่ถ้าหากเราซูมเอ๊าต์ออกมาดู จะเห็นว่าพื้นที่เมืองถูกสอดแทรกด้วยสวนสาธารณะทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เชื่อมโยงกันด้วยทางเท้า สถาปนิกเจ้าถิ่นอย่าง n o t architects studio จึงเกิดไอเดียในการออกแบบบ้านที่มี ลวดตาข่ายถัก ทำหน้าที่เป็นผนังบ้านแบบโปร่ง โดยให้ชื่อว่า “Weather House” เพื่อช่วยเปิดมุมมอง ไปพร้อมกับแรงบันดาลใจที่มาจากบริบทของเมือง ทำให้การอยู่อาศัยไม่ต่างจากการเดินเล่นในสวนสาธารณะ โดยสามารถใช้ชีวิตในบ้าน ที่ปรับเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของวัน ฤดูกาล และสภาพแวดล้อม ตัวบ้านถูกห่อหุ้มด้วยแผงลวดตาข่ายโปร่ง เป็นเหมือนผนังบางเบาที่สร้างขอบเขตให้กับบ้าน แต่ขณะเดียวกันก็เปิดรับให้บริบทโดยรอบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับสภาพแวดล้อมภายใน และเนื่องจากตัวบ้านตั้งอยู่ติดกับถนนสาธารณะ เมื่อปลูกไม้เลื้อยปกคลุมพื้นที่บางส่วนของผนังลวดตาข่ายด้านติดถนน ยิ่งทำให้เส้นแบ่งระหว่าง “บ้าน” กับ “พื้นที่สาธารณะ” ดูคลุมเครือ […]

บ้านสามชั้นที่ถูก ต่อเติม จากบ้านจัดสรรเดิมเป็นพื้นที่พิเศษของครอบครัวขยาย

จากบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมต้องมีการ ต่อเติม เพราะด้วยความที่ปัจจุบันผู้อยู่อาศัยภายในบ้านนั้นแบ่งออกเป็นสองครอบครัวที่มีเด็กอยู่ 2 คน รวมทั้งผู้สูงอายุอีก 1 ท่าน จึงทำให้บ้านขนาด 150 ตารางเมตร เดิมนั้นเริ่มที่จะไม่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยภายในบ้านอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้เองการสร้างบ้านอีกหลังในที่ดินที่ยังเหลืออยู่จึงเกิดขึ้น เป็นส่วนต่อเติมที่เข้ามาเติมเต็มทั้งการใช้งาน และเสริมให้บ้านเดิมนั้นกลายเป็นบ้านแฝดสองหลังที่ลงตัวทั้งรูปลักษณ์และการใช้ชีวิต บ้านบนพื้นที่สวนเดิม ผู้ที่เข้ามารับหน้าที่ออกแบบต่อเติมบ้านหลังนี้คือ TOUCH Architect สิ่งที่ถูกและพื้นที่ที่ถูกนำมาใช้ในการสร้างบ้านอีกหลังก็คือพื้นที่สามเหลี่ยมทางทิศตะวันออกของบ้านที่เดิมเคยเป็นพื้นที่สวนเดิมนั่นเอง ทุกที่ในบ้านคือPlaygroundของเด็กๆ การออกแบบนั้น เน้นการใช้งานสำหรับเหล่าเด็ก ๆ ที่จะได้มีพื้นที่เล่น เรียนรู้ และเติบโตไปพร้อม ๆ กับบ้าน บ้านหลังใหม่นี้จึงเป็นบ้านที่มีพื้นที่แคบยาวออกแนวสูงจนถึงชั้นที่สามแต่กลับโปร่งโล่งด้วยการเชื่อมโยงพื้นที่และเปิดโถงจาก Play Area จนถึงชั้นบนที่เป็น Living room รวมทั้งการเลือกใช้บานกระจกเปิดรับแสงธรรมชาติเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ภายในภายนอกเข้าด้วยกันอีกทาง เปิดโล่งตั้งแต่พื้นจนถึงดาดฟ้า การออกแบบโดยยึดหลักMontessori(แนวการศึกษาที่เน้นความอิสระและสร้างสรรค์ของผู้เรียน)ทำให้พื้นที่เล่น สวน และองค์ประกอบถูกร้อยเรียงเป็น Playgroud ขนาดใหญ่ที่ลูก ๆ สามารถเรียนรู้ไปกับทุกพื้นที่ได้ ไม่ว่าจะเป็น Play Area ที่ชั้นล่าง สวนริมรั้ว หรือแม้แต่สวนดาดฟ้าที่ชั้นบน ประกอบกับพื้นที่นอกรั้วที่มีต้นไม้ใหญ่ถึง 3 ต้น จึงทำให้แม้พื้นที่สวนของบ้านหลังนี้แผ่ไกลออกไปจากรั้วของบ้านเอง ร้อยเรียงพื้นที่ด้วยเปลือกอาคาร […]