People Archives - Page 2 of 21 - room

การรีโนเวตของจุดกำเนิด แห่งแบรนด์คาร์เทียร์ THE NEW 13 rue de la Paix ศิลปะแห่งการแปลงโฉมอาคาร

เลขที่ 13 รูเดอลาเปซ์ คือสถานที่ซึ่งเป็นดั่งมหาวิหารแห่งคาร์เทียร์ แบรนด์แฟชั่นชั้นนำของโลก และนี่คือศิลปะแห่งการแปลงโฉม ที่สถาปนิกชั้นยอดกำลังจะปรับให้สถาปัตยกรรมแห่งนี้ก้าวสู่ยุคสมัยถัดไป เลขที่ 13 รูเดอลาเปซ์ คือจุดกำเนิดและแหล่งความทรงจำร่วมของเมซง จึงมีฐานะเป็นหนึ่งในสามวิหารแห่งคาร์เทียร์ โดยอีกสองแห่งอยู่ที่ถนนบอนด์สตรีท กรุงลอนดอน และถนนหมายเลข 5 (5th Avenue) ในนิวยอร์ก นั่นเอง ที่แห่งนี้คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของฌานน์ ตูแซงต์และหลุยส์ คาร์เทียร์ คือแหล่งกำเนิดรูปแบบเชิงสุนทรียศาสตร์และสร้างสรรค์ของแบรนด์ที่มีความเป็นหนึ่งแต่มีมากกว่าหนึ่ง มีเอกลักษณ์และเป็นสากล จึงเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจไม่รู้จบ สำหรับการรังสรรค์สมบัติล้ำค่าแห่งอดีตและอนาคต อาคารใหม่ที่ได้ฤกษ์เผยโฉมในวันนี้เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ไม่ได้เป็นของสมัยใด แต่ให้ความเคารพทุกสมัย ไม่ติดกับสไตล์ใด แต่เชิดชูทุกสไตล์โดยไม่มีการยกเว้น และได้นำรหัสแห่งปารีสมาตีความใหม่อย่างเสรีและใส่ความเป็นละครลงไป นำเสนอความเป็นเมืองหลวงฝรั่งเศสในแบบฉบับที่อลังการ งดงามดังบทกวี และไร้กาลเวลา จากวิวหลังคาไปจนถึงทัศนมิติ และสมบัติลับล้ำค่าของเมือง วิสัยทัศน์เชิงสถาปัตยกรรมนี้เป็นสไตล์คาร์เทียร์ทั้งหมด และค้นพบพลังในทุกยุคสมัย ทุกวัฒนธรรม ในการที่จะตรึงความงามและความเป็นสากลของแต่ละยุคและแต่ละวัฒนธรรมออกมา ไม่ว่าจะเป็นความงาม ความพิสุทธิ์ ความโอ่อ่าในสไตล์อพอลโลเนียนและไดโอนิเซียน  ด้วยพื้นที่ที่โอ่โถงและเปิดรับแสงสว่าง จึงเป็นสถานที่สำหรับใช้ชีวิตและพบปะกันเพื่อการสร้างสรรค์และจินตนาการ เลขที่ 13 รูเดอลาเปซ์ เชิญคุณมาร่วมการเดินทางอันล้ำค่า สู่ใจกลางจักรวาลคาร์เทียร์ ด้วยสถาปัตยกรรมที่มองลึกสู่ภายใน จึงทำให้อาคารนี้เป็นที่ตั้งอันอบอุ่นใกล้ชิดสำหรับอัญมณีที่เลิศล้ำและช่วงเวลาที่ไม่อาจลืม การมาบรรจบกันระหว่างอนาคตกับอดีต […]

HAPPIELAND กัญชาไลฟ์สไตล์สโตร์ในบรรยากาศชวนฉงน

HAPPIELAND ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาย่านเจริญกรุง โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร พร้อมบรรยากาศน่าฉงนชวนให้ทุกคนค้นหาไปพร้อมกัน มองจากภายนอก คงยากจะบอกว่าตึกแถวห้องริมสุดบนหัวมุมถนนเจริญกรุง 82 เป็นสำนักงาน ร้านค้า ร้านอาหาร หรือมีอะไรซ่อนอยู่ภายใน และด้วยผนังสีเทาทึบที่ทั้งหลบเร้นเข้าไปภายใน รวมถึงชื่อ HAPPIELAND บนผนัง ที่ทิ้งให้เปลือยเปล่าไว้ราวกับยังทาสีไม่เสร็จ ก็ทำให้ที่นี่ยิ่งน่าค้นหาขึ้นไปอีก ที่นี่ริเริ่มและดำเนินกิจการโดยกลุ่มเพื่อนครีเอทีฟ และนักออกแบบที่มีความสนใจร่วมกันในพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยอย่างกัญชา โดยการออกแบบร้านค้าแห่งใหม่เพื่อรองรับกิจกรรมที่รอวันเสรีอย่างสมบูรณ์นี้ก็สอดคล้องไปกับการออกแบบแบรนด์ในภาพรวม ที่เน้นความสนุกสนานและความคิดสร้างสรรค์ โดยแรกสุดนั้น ชื่อร้านมาจากไอเดียสนุกของการเล่นคำอังกฤษผสมการพ้องเสียงไทย อย่างการรวมคำว่า Happy กับ Hippie กลายเป็น Happie รวมกับการตั้งใจให้อ่านชื่อแบรนด์ “HAPPIELAND” อย่างไทยเป็น “แฮบ – พี้ – แลน” ที่ก็พ้องความหมายไปกับกิจกรรมการใช้กัญชาในเชิงสันทนาการ อารมณ์ขันและความสนุกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะหนึ่งของกัญชา จึงเป็นเนื้อหาหลักในการแบรนด์และการออกแบบร้านค้าไปพร้อมกัน โดยในส่วนของร้านค้านั้น สิ่งที่ผู้เยี่ยมชมจะสัมผัสได้เป็นอย่างแรกหลังจากเดินเข้าสู่พื้นที่ภายในคือบรรยากาศของห้องสีขาว สะอาด สว่าง ซึ่งตรงกันข้ามทุกประการกับบริบทและสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายภายนอกของเมืองกรุงเทพฯ โดยภายในตัวร้านค้านี้ ผู้ออกแบบได้สร้างสเปซใหม่เป็นการเฉพาะสำหรับหน้าร้านด้วยการกั้นพื้นที่ชั้นหนึ่งของตึกแถวเดิมด้วยการวางแผงกระจกล้อมเป็นวงกลม และเอนแผงกระจกทั้งหมดนั้นออก ผลลัพธ์ที่ได้ จึงเป็นห้องวงกลมที่ให้ความรู้สึกเหมือนผู้เยี่ยมเยือนจะยืนอยู่ในห้องกระจกรูปทรงกรวยกลับหัวอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับการได้พื้นที่เศษเหลือโดยรอบจากการล้อมกรอบพื้นที่ใช้สอยใหม่ในห้องของตึกเก่า ที่ระบุรูปทรงไม่ได้ ที่เอื้อให้เกิดพื้นที่ใช้ประโยชน์อย่างเคาน์เตอร์ชำระเงิน ช่องสต็อกสินค้า […]

SUNNE VOYAGE และเรือลำใหม่ ในทะเลที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในระยอง

การเดินทางยังดำเนินต่อ เพราะนี่คือเรือลำใหม่ จาก Sunne Voyage ที่ตั้งใจสร้างบรรยากาศแบบเรือประมงดั้งเดิมของทะเลระยอง จากเรือลำแรก Sunne Voyager สู่เรือลำที่สอง Sunne Explorer ที่ยังคงวิ่งไปกลับท่าเรือแหลมตาล สู่เกาะมันนอก แต่สิ่งที่แตกต่างไปคือครั้งนี้ทาง Sunne Voyage ตั้งใจออกแบบลำเรือให้มีความดั้งเดิมมากที่สุด ด้วยความตั้งใจนำเสนอประสบการณ์ใหม่ ผ่านบรรยากาศของเรือท่องเที่ยวที่แตกต่าง ด้วยลำเรือขนาดกะทัดรัดเรียบง่าย แต่กลับโดดเด่นด้วยโครงสร้างไม้เนื้อแข็งสีธรรมชาติ พร้อมนำเสนอคุณค่าของฝีมือช่างต่อเรือประมงไทย ที่ส่งต่อประสบการณ์รุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน เรือ Sunne Explorer เกิดจากการต่อยอดประสบการณ์การทำเรือลำแรกของ Sunne Voyage ซึ่งได้เพิ่มความท้าทายในการออกแบบ โดยคงรูปแบบแปลนเรือประมงดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด เช่นการที่ห้องคนขับอยู่ด้านท้ายเรือ ปรับทรงเรือให้ออกมาสวยงาม สมดุล และแตกต่างจากเรือนำเที่ยวอื่น ๆ ที่สำคัญต้องเหมาะสมกับการล่องเรือ ทั้งการสู้คลื่นและแล่นได้อย่างราบรื่น เพื่อให้แขกที่มาใช้บริการได้ใกล้ชิด และได้รับความสุขจากธรรมชาติเต็มที่ ส่วนความแตกต่างจากเรือลำแรก เห็นได้ชัดที่สุดคือการนำที่นั่งมาไว้ด้านหน้าเรือ และห้องคนขับในเรือแบบเดิมถูกเปลี่ยนไปไว้ด้านหลัง ทรงเรือแบบนี้ หัวเรือจำเป็นจะต้องชันกว่าด้านหลังเพื่อสู้คลื่น แต่มีการปรับทรงเรือจนได้ที่นั่งที่มีองศาเหมาะสม มีความสบายขณะล่องเรือ สามารถชมวิวได้รอบทิศทาง แถมยังรับลมทะเลได้มากกว่าที่เคย บาร์หลังเรือ และห้องคนขับ ออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถดูแลผู้โดยสารได้ทั่วถึง เพื่อความปลอดภัยของทุกคนขณะอยู่ในน้ำตลอดเวลา ใต้ท้องเรือยังมีที่นั่งและห้องน้ำแบบ […]

เปิดแล้ว! LIXIL Experience Center  สัมผัสประสบการณ์ใหม่ของห้องครัวและห้องน้ำจากหลากแบรนด์ดัง

ลิกซิล (LIXIL) ผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดการน้ำและที่อยู่อาศัย เปิดตัว LIXIL Experience Center หรือ LEC โชว์รูมมิติใหม่ในสไตล์การตกแต่งเรียบหรูแบบญี่ปุ่น ที่จะมอบประสบการณ์การเข้าชมที่เรียกว่า multi-sensory experience ให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสทั้งผลิตภัณฑ์จริง และผ่านโลกดิจิทัลด้วยตัวเองในรูปแบบที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน LIXIL Experience Center ได้รับการออกแบบเพื่อปลุกเร้าทุกประสาทสัมผัสด้วยดีไซน์ เสียง และกลิ่นที่ล้ำสมัยและเป็นเอกลักษณ์  โดยผู้เข้าชมจะได้สัมผัสนวัตกรรมจากพาวเวอร์แบรนด์ของลิกซิล ได้แก่ โกรเฮ่ (GROHE) อเมริกันสแตนดาร์ด(American Standard) และ อิแน็กซ์ (INAX) ที่มาพร้อมดีไซน์ที่โดดเด่นและโซลูชันที่หลากหลาย เพื่อสร้างความเป็นไปได้แบบไร้ขีดจำกัด นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์พิเศษราวกับอยู่ในสปาส่วนตัวในพื้นที่จัดแสดง GROHE SPA ที่มาพร้อม GROHE AquaSymphony ที่แสดงการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันน้ำตามความต้องการใช้งาน หรือชมการสาธิตนวัตกรรมการใช้น้ำ ณ  พื้นที่จัดแสดงพิเศษหลายจุดที่กระจายอยู่ทั่วทั้ง LEC ซาโตชิ โคนาไก (Satoshi Konagai) ลีดเดอร์ LIXIL Water Technology ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีเพื่อการจัดการน้ำ ลิกซิลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก ความใกล้ชิดของเรากับผู้บริโภคทำให้ได้รู้ข้อมูลตลาดเชิงลึกในส่วนที่ไม่มีใครเข้าถึงมาก่อน ซึ่งเรามองว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญหน้ากับแนวโน้มระดับมหภาค (macro trends) ที่สำคัญสามด้าน ทั้งด้านสุขภาพและความเป็นที่อยู่ที่ดี ความยั่งยืน และการขยายตัวของสังคมเมือง LEC กรุงเทพฯ จะช่วยปูทางประสบการณ์ส่วนบุคคลให้ได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์หลากหลายหมวดหมู่ และจากหลากหลายแบรนด์ภายใต้ลิกซิล […]

เปลี่ยนโฉม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร สู่ลุคโมเดิร์นขาวคลีน

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร โฉมใหม่ ที่เปลี่ยนคราบขนบอาคารราชการยุคเก่าทิ้งไป สู่สถาปัตยกรรมลุคโมเดิร์นเรียบง่ายทันสมัย ดึงดูดใจให้ผู้คนทั่วไปทุกระดับชั้น สามารถเข้ามาหาความรู้มากขึ้น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Supermachine Studio อาคาร ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เปิดใช้ทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 โดยตั้งใจให้เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลทางด้านมานุษยวิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งการรวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ และสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่ทางด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ความรู้ท้องถิ่นของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นที่ปรึกษาและให้การอุปถัมภ์จนกระทั่งถึงปัจจุบัน จากประวัติอาคารตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ด้วยสภาพตัวอาคารที่ค่อนข้างเก่า อีกทั้งยังมีความเป็นทางการ ตามแบบประเพณีนิยมการออกแบบอาคารราชการทั่วไป ที่มักมีรายละเอียดเด่น ๆ อย่างหลังคาทรงจั่ว บันไดทางขึ้นที่สูงชัน เสาโรมันขนาดใหญ่ พื้นทรายล้าง หลังคาแบบยื่นยาว รวมถึง Drop-off ขนาดใหญ่ และฯลฯ มาวันนี้ด้วยวิสัยทัศน์ของนายแพทย์ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ท่านต้องการเปลี่ยนบรรยากาศและภาพลักษณ์ของศูนย์มานุษยวิทยาฯ ใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย โดยมอบให้สถาปนิก Supermachine Studio เป็นผู้ออกแบบ […]

แก่นและแกนของความเป็นไทยในความคิดของ จูน เซคิโน

ร่วมพูดคุยหัวข้อ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน สื่อด้วยผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ซึ่งเกิดจากการประกอบกันของไม้ขนาดเล็กเป็นโครงสร้างอย่างประณีต แต่เมื่อมองในองศาที่ต่าง แสงตกกระทบที่เปลี่ยนก็จะได้ภาพที่ต่างออกไป นั่นคือ คำตอบที่ชัดเจนที่สุดของ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน ผู้ก่อตั้ง Junsekino A+D สถาปนิกผู้ดึงคนรอบข้างที่เร่งรีบให้เดินช้าลง และพินิจกับความคิดให้มากขึ้น ช่วงเริ่มต้นการเป็นสถาปนิก บ้านในไทยมีกระแสนิยมอย่างไร ช่วงนั้นประมาณ 20 ปีก่อน กระแสบ้านสไตล์โอเรียนทัลและทรอปิคัลจะพูดถึงกันบ่อย สมัยนั้นบ้านจัดสรรโครงการต่างๆ จะทำกันมาเป็นรูปแบบซ้ำๆ ตามความคุ้นเคย แต่ยังไม่ได้ปรากฏเป็นรูปแบบที่ชัดเจน จนคนเริ่มอยากมีบ้านเดี่ยวของตัวเอง ความต้องการก็ชัดเจนขึ้น จึงจ้างสถาปนิกเพื่อช่วยนำทาง และจัดการความต้องการบ้านในแบบของเขาให้เป็นจริงขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยแกนหลัก 3 ส่วน คือ การใช้วัสดุ รูปแบบงานสถาปัตยกรรม และความต้องการของลูกค้า ความนิยมในการสร้างบ้านปัจจุบันเป็นอย่างไร จากลูกค้าที่เข้ามา ปัจจุบันคนต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ชอบความไม่เหมือนใคร ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็ไม่ใช่ภัตตาคารหรู แต่คือ Chef Table […]

มุมมอง “ไทยนิยม” ของสถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น ผศ. พิรัส พัชรเศวต

“สถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น” คำจำกัดความที่บ่งบอกแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ EAST architects ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลงานเด่นชัดในสถาปัตยกรรมสไตล์ทรอปิคัลโมเดิร์น ที่มีแก่นความคิดในการอยู่ร่วมกับดินฟ้าอากาศอย่างเข้าใจธรรมชาติ การออกแบบบ้านในอดีตและปัจจุบัน มีความต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ในเชิงความเป็นมนุษย์ คนที่อยากสร้างบ้านมีความต้องการคล้ายๆกัน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน คือ เป็นบ้านที่อยู่สบาย ความสบายเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนชอบ โดยภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เราอยู่ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลหลักอย่างหนึ่งในการออกแบบบ้าน ซึ่งประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อนชื้น บ้านจึงได้รับการออกแบบให้อยู่สบาย ไม่ร้อน และสั่งสมจนเป็นภูมิปัญญาไทย ส่วนรูปแบบอาคารที่มาห่อหุ้มนั้น เป็นไปตามคติความเชื่อ และเทคโนโลยีการก่อสร้าง ในส่วนรูปแบบบ้านที่นิยมในแต่ละสมัย เราต้องแยกกันเป็นสองส่วน คือ รสนิยม หรือ Taste เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเช่นนั้นในทุกยุคสมัย ส่วนความนิยมส่วนรวมน่าจะตรงกับความหมายของ -ism (อิส’ซึม) เช่น Modernism Minimalism คือ นิยมกันแพร่หลาย ซึ่งเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีโซเชียลมีเดียให้เข้าถึงความนิยมสากลอย่างรวดเร็ว ก็จะถูกคลี่คลายกลายเป็นรสนิยมส่วนบุคคล รูปแบบบ้านจึงมีการเปลี่ยนแปลง และมีหลายแนวคิดที่เพิ่มขึ้นมา เช่น เรื่องพลังงาน […]

บ้านไทยพื้นถิ่น ภาพสะท้อนวิถีชีวิตผ่านลายเส้นของ ศ.เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์

ภาพลายเส้นและภาพสีน้ำบ้านไทยพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ถ่ายทอดวิถีชีวิตผู้คนในชุมชนต่างๆ ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สถาปนิกและนักวิชาการที่จดบันทึกด้วยการวาดภาพในสมุดคู่ใจยามลงภาคสนาม เป็นส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ที่ท่านทุ่มเทศึกษามาตลอด 40 ปี ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ แรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ และคนรุ่นใหม่มากมาย กระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) ประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นปีแรกที่มีสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ บ้านและสวน ขอแสดงความยินดีมา ณ โอกาสนี้ การมีรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) เกิดขึ้นเป็นปีแรก อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง อาจารย์ดีใจกับลูกศิษย์มาก เพราะมีลูกศิษย์นักศึกษาหลายคนที่ให้ความสนใจในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตั้งแต่อาจารย์ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านมาหลายสิบปี ในช่วงปีแรกต้องลุยเดี่ยว แต่ในภายหลังมีลูกศิษย์ตามไปช่วยวิจัยด้วยทุกปี และเปลี่ยนรุ่นไปทุกปี เพราะฉะนั้นงานวิจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะไม่ประสบผลสำเร็จเลย หากขาดลูกศิษย์ที่ลงแรงไปช่วยวิจัยด้วยกัน แสดงให้เห็นว่ามีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพียงแต่เรายังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ทั้งที่จริงแล้วสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในต่างประเทศนั้นค่อนข้างเป็นที่รู้จัก การได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าบ้านเราเริ่มให้ความสำคัญกับสาขานี้มากขึ้น ทำให้ผู้ที่สนใจรุ่นถัดไปมีพื้นที่ยืนอย่างเต็มตัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าดีใจ และยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปให้ดีขึ้น นิยามของคำว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” […]

BAAN BRAIN CLINIC คลินิกในตึกแถวที่อบอุ่นเหมือนบ้าน

Baan Brain Clinic Chiang Rai เป็นโครงการออกแบบเปลี่ยนโฉมตึกแถวตำแหน่งหัวมุมให้กลายเป็นคลินิกด้านสมองและระบบประสาทของ นพ.วัชระรัตนชัยสิทธิ์ คุณหมอด้านประสาทวิทยาที่จังหวัดเชียงราย “อยากให้คนไข้ที่มาที่นี่รู้สึกเหมือนกลับบ้านมาให้ลูกหลานดูแล” คือโจทย์ตั้งต้นในการออกแบบที่คุณหมอให้ไว้ให้กับทีม 1922 Architects ตัวอาคารมีพื้นที่ใช้สอย 70 ตร.ม. ซึ่งมีลักษณะเดิมเป็นโถงสูงด้านหน้าและมีชั้นลอยด้านหลัง เมื่อเทียบกับพื้นที่ใช้งานที่จำเป็นต้องมี ซึ่งได้แก่ โถงพักคอย เคาน์เตอร์ต้อนรับ ห้องตรวจ ห้องหัตถการ ห้องน้ำ พื้นที่พักผ่อนของคุณหมอ และพื้นที่เก็บของ ขนาดพื้นที่ 70 ตร.ม. จึงถือเป็นพื้นที่ที่จำกัดมาก อีกทั้งช่องเปิดที่มีไม่มาก ทำให้ภายในค่อนข้างมืดและอึดอัดตามลักษณะของตึกแถวทั่วไป  ผู้ออกแบบจึงรักษาลักษณะของโถงสูงหรือ Double volume ไว้สำหรับทำเป็นพื้นที่พักคอยและเคาน์เตอร์ต้อนรับด้วยความสูงของฝ้าเพดานเดิม 4.75 ม. ส่วนห้องตรวจและห้องหัตถการที่อยู่ด้านหลังเคาน์เตอร์ ก็วางฝ้าเฉียงล้อไปกับท้องพื้นของบันไดเดิมเพื่อให้ห้องที่ถูกจำกัดหน้ากว้างด้วยความแคบของตึกแถวดูโล่งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อีกทั้งภายในระหว่างห้องตรวจและห้องหัตถการถึงแม้จะมีประตูแยกเข้า แต่ภายในกั้นแยกโดยใช้เพียงผ้าม่านที่สามารถเปิดโล่งเชื่อมกันได้ หากต้องการใช้ห้องตรวจใหญ่เพียงห้องเดียว ซึ่งห้องตรวจนี้หากมองจากโถงต้อนรับจะเห็นเป็นผนังสูงจรดฝ้า โดยตรงมุมห้องถูกออกแบบให้เป็นผนังโค้งแทนมุมห้องสี่เหลี่ยมแบบทั่วไป ช่วยลดความอึดอัดของพื้นที่ เส้นสายที่เกิดขึ้นช่วยสร้างบรรยากาศให้อ่อนละมุนขึ้น ลดทอนความแข็งในเส้นสายขององค์ประกอบอื่นๆ ในอาคารได้อย่างลงตัว แม้ฟังก์ชันจะเรียบง่ายแต่ก็แฝงไปด้วยทุกรายละเอียดในการออกแบบ โดยเฉพาะด้านการสร้างบรรยากาศแวดล้อมภายในคลินิกเพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับคนไข้ที่เข้ามารับบริการ โดยทางผู้ออกแบบได้นำประสบการณ์จากการเป็นหนึ่งในทีมออกแบบโรงพยาบาลราชพฤกษ์ จังหวัดขอนแก่นมาปรับใช้ โดยให้ความสำคัญกับแสงและลมธรรมชาติ เพราะแสงธรรมชาติมีผลต่อความรู้สึกเชิงบวกของผู้ป่วยโดยตรง หน้าต่างและบล็อกแก้วใสจึงถูกนำมาใช้แทนผนังทึบด้านใน […]

OUR MOMENT IN MINE  ด้วยจังหวะและความบังเอิญ

OUR MOMENT IN MINE คือนิทรรศการภาพถ่ายเพื่อแบ่งปันความทรงจำของช่วงเวลาที่ไกลบ้านและความต่างของวัฒนธรรมและตะวันตกตลอดช่วงเวลา2-3ปีที่ผ่านมาของศิลปิน ผู้มาชมไม่เพียงได้เสพสุนทรียะจากภาพถ่ายที่น่าสนใจแต่หากสังเกตุทั้งการจัดวางและเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในนิทรรศการ อาจได้พบความหมายของการดูภาพและการเก็บภาพเป็นของตัวเองเป็นที่ระลึก และด้วยความไม่จงใจและเป็นอิสระจากกฎขณะที่ถ่ายภาพนั้น จิรันธนิน เธียรพัฒนพล หรือ “กัสจัง” ยูทูปเบอร์ นักศึกษา และช่างภาพอิสระวัย 18 ปี จึงผลงานคว้ารางวัล Gold Key จากงานประกวดภาพถ่ายเวที Scholastic Art & Writing Awards 2022 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา องค์ประกอบสำคัญคือการเชื่อมโยงรายละเอียดที่อยู่ภายใน “ก่อนอื่นผมต้องอธิบายก่อนว่าทำไมไตเติ้ลมันต้องเป็น Our Moment in Mine” กัสจังเล่าขณะที่ชี้ชวนให้เรามองไปยังมุมต่างๆของแกลลอรี่ “มันมีphaseภาษาอังกฤษอันนึงที่พูดว่า Moment in Time(ชั่วขณะหนึ่ง) ผมชอบวลีนี้มากเลยนะ ยิ่งพอมารวมกับ our(เรา) แล้วเปลี่ยนคำลงท้ายเล่นคำว่า time ให้เป็น mine(ของฉัน) มันเหมือน เราที่หมายถึงตัวผม และเราที่เป็นคนดูได้แชร์เรื่องราวเดียวกันอยู่ในชั่วเวลาหนึ่งครับ แล้วเรื่องราวนั้นมันก็ถูกรวบรวมเข้ามาไว้ในนิทรรศการนี้” “อย่างรูปตรงมุมโน้นคือรูปสถานีรถไฟใต้ดิน เป็นเรื่องการเดินทางของตะวันตก ส่วนฝั่งตรงข้ามกันผมตั้งใจวางรูปคนปั่นจักรยานในกรุงเทพไว้ ถ้าเรามายืนอยู่ตรงที่ว่างตรงกลางของสองภาพ […]