People Archives - Page 5 of 21 - room

COFFEE J & HOSTEL คาเฟ่เชียงใหม่ ของคนรักรถคลาสสิก เท่กลมกล่อมด้วยสไตล์อินดัสเทรียล

คาเฟ่สีดำบรรยากาศอินดัสเทรียลสุดเท่นี้ ตั้งอยู่ในย่านถนนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเจ้าของตั้งใจเปิดควบคู่ไปกับธุรกิจโฮสเทลที่อยู่ด้านบน เพื่อให้คนทั่วไปแม้ไม่ใช่ลูกค้าโฮสเทลสามารถเข้ามานั่งเล่นได้ ภายใต้ความเข้มเท่คมคายตามแบบฉบับชายหนุ่มผู้หลงใหลรถคลาสสิก คาเฟ่เชียงใหม่ ที่นี่มีไอเดียการตกแต่งมาจากงานอดิเรกและความชื่นชอบในการสะสมรถคลาสสิกของคุณจักรพล นิยมสิริ ผู้เป็นเจ้าของ โดยทีมสถาปนิกจาก ALSO design studio ได้หยิบคาแรกเตอร์ดังกล่าว มาใช้ถ่ายทอดโดยล้อไปกับดีไซน์ของโฮสเทล ด้วยการนำกลิ่นอายที่จะพาทุกคนเชื่อมโยงเข้าสู่ยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือยุคแห่งการทำงานระหว่างคนกับเครื่องจักรในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการผลิตรถยนต์ การออกแบบคาเฟ่จึงอิงหลักการออกแบบในสไตล์อินดัสเทรียล โดดเด่นด้วยความสวยงามที่มาจากการแสดงเนื้อแท้ของวัสดุแต่ถูกลดทอนความเป็นดิบบางส่วนลงเพื่อให้เข้ากับฟังก์ชันการเปิดเป็นคาเฟ่ ภายใต้โทนสีเทา-ดำ อันเป็นสีที่มาจากเนื้อแท้ของวัสดุปูน/คอนกรีต และสีดำด้านของเหล็กโลหะ การตกแต่งเน้นวัสดุที่มีลักษณะเหมือนกับตัวอาคารของโฮสเทลอย่าง การนำคอนกรีตบล็อกมาทำเป็นฐานเคาน์เตอร์บาร์ ท็อปทำจากแผ่นคอนกรีตเปลือย ตลอดจนการปล่อยผิวผนังให้เป็นปูนเปลือยฉาบเรียบไม่ทาสี และโชว์ท่องานระบบที่เลียนแบบท่อรถยนต์แบบไร้ฝ้าปกปิด ส่วนเฟอร์นิเจอร์จัดวางแต่เพียงน้อยชิ้น เน้นเท่าที่จำเป็นในการใช้งานจริง เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของโฮสเทล โคมไฟและของตกแต่งรอบ ๆ ถอดรูปแบบมาจากลักษณะของรถ ความเงาของสเตนเลส และเหล็กสีดำที่ถูกสอดแทรกในองค์ประกอบต่าง ๆ โดดเด่นด้วยรูปภาพรถคลาสสิกสีขาว-ดำ บอกเล่าความชอบและรสนิยมของเจ้าของ ช่วยให้ร้านมีเสน่ห์ และแตกต่างจากคาเฟ่ในแนวอินดัสเทรียลทั่วไป แม้จะอยู่ท่ามกลางโครงสร้างดิบกระด้างและหนาหนัก แต่ก็ยังมีการเลือกใช้กระจกมาเป็นช่องแสงขนาดใหญ่ให้ร้านมีมิติจากแสงเงา อีกทั้งเส้นสายของเฟรมกระจกสีดำยังช่วยเพิ่มลูกเล่นให้การมองเห็น กำหนดแสงและบรรยากาศของร้าน ให้สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เผื่อการใช้งานคาเฟ่ที่อาจจะปรับเปลี่ยนเป็นบาร์ได้ในอนาคต  พักสายตากับวิวสวนสีเขียวด้านนอกที่เน้นงานฮาร์สเคปเป็นหลัก โดยทำล้อไปกับรูปแบบของการออกแบบเปลือกอาคารโฮสเทลด้านนอก ด้วยการนำคอนกรีตบล็อกมาจัดเรียงซ้อนกันเพื่อเป็นขอบที่นั่งแบบเรียบง่าย พื้นโรยด้วยหินกรวด และไม้ใบเขียวที่ช่วยเพิ่มความร่มรื่น ลดความดิบกระด้างของวัสดุและสเปซ ให้ผู้ใช้งานสามารถออกมานั่งพักผ่อนได้อย่างโปร่งสบาย […]

EI TERRENO COMMUNAL GARDEN ศาลาในสวน ดอกไม้ แหล่งเรียนรู้ของเด็กในชุมชนเมือง

ศาลาในสวน จากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง ที่เปิดให้เด็ก ๆ ในชุมชนได้มาพักผ่อนและเรียนรู้กลางทุ่งดอกไม้แห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก ที่นี่เกิดขึ้นจากความต้องการของ Michelle Kalach ผู้ก่อตั้งโครงการ ซึ่งต้องการให้ ศาลาในสวน แห่งนี้ เป็นสถานที่พักผ่อนและเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ในชุมชนเมือง โดยเฉพาะการปลูกฝังให้พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นพัฒนาการทางสังคมไปพร้อมกัน   ภายในพื้นที่ตั้งของโครงการ ผู้ออกแบบจาก Vertebral ได้จำลองบรรยากาศให้เหมือนเนินเขาขนาดย่อมตามธรรมชาติ โดดเด่นด้วยพาวิเลียน หรือศาลาอเนกประสงค์ที่สร้างจากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง เพราะสำหรับบริษัทแล้ว สิ่งสำคัญในการออกแบบก็คือการสร้างอาคารจากวัสดุรีไซเคิลร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยนำมาผ่านกระบวนการคิดและก่อสร้างในกระบวนการใหม่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้แก่โครงการนี้โดยเฉพาะ ตัวอาคารทำจากไม้ที่นำกลับมาใช้งานใหม่ มีท่อนเหล็กทำหน้าที่เป็นเสา เชื่อมเข้ากับผนังบรรจุหินที่ได้จากการขุดไซต์ก่อสร้าง โครงถักทั้งหมดถูกประกอบขึ้นโดยอาสาสมัครจากชุมชนท้องถิ่น ที่นี่จึงสามารถสร้างเสร็จได้อย่างรวดเร็วจากแรงกำลังของจิตอาสาทั้งหลาย นอกจากผู้ใช้งานจะเป็นกลุ่มเด็ก ๆ แล้ว ที่นี่ยังเปิดต้อนรับกลุ่มผู้ใช้งานอื่น ๆ เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นสถานที่เพื่อรับใช้ชาวชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากส่วนของศาลา พื้นที่สวนรอบ ๆ ยังส่งเสริมแนวคิดชุมชนแบบพอเพียง เพราะนอกจากพืชผักที่ปลูกไว้จะช่วยสร้างภูมิทัศน์อันสวยงามแล้ว ยังสามารถเก็บนำไปจำหน่ายได้อีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมการศึกษาเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนในชุมชน ขณะที่น้ำที่นำมาใช้รดต้นไม้ภายในสวนนั้น ส่วนหนึ่งมาจากหลังคาของศาลา ซึ่งไหลผ่านรางระบายน้ำมาตามท่อก่อนลงมายังบ่อเก็บน้ำ แล้วถูกสูบขึ้นมาใช้รดต้นไม้ด้วยพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องสูบน้ำ ซึ่งมีกำลังไฟมาจากแผงโซลาร์เซลล์ El […]

BURGER BROS DA NANG รีโนเวตบ้านเก่าให้เป็นร้านเบอร์เกอร์ บรรยากาศเหมือนรีสอร์ตริมชายหาด

รีโนเวตบ้านเก่า ในเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นร้านเบอร์เกอร์สไตล์บีชเฮ้าส์ โดยตั้งใจให้ลูกค้าได้สัมผัสและอิ่มเอมไปกับบรรยากาศสบาย ๆ พร้อมกับเบอร์เกอร์แสนอร่อยในมือ ขั้นตอนการ รีโนเวตบ้านเก่า สองคูหาขนาดสองชั้นนี้ เรียกว่าสถาปนิกจาก Studio anettai ได้ลอกคราบหน้าตาของอาคารเดิมออกจนเกือบหมด ไม่ว่าจะเป็นผนังด้านนอกอาคาร และห้องต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน ได้ถูกทุบและปรับผังการใช้งานใหม่ เหลือไว้แต่โครงสร้างหลัก ซึ่งต้องการโชว์เนื้อแท้ของพื้นผิวอันเปลือยเปล่า เช่น เสา คาน และโดยเฉพาะผนังอิฐที่ทาทับด้วยสีขาวบาง ๆ โดยมีมุมไฮไลท์อยู่ที่ผนังอิฐด้วยการนำหลอดไฟนีออนสีชมพูมาขดเป็นรูปเบอร์เกอร์ขนาดยักษ์ ประดับด้วยรูปกิจกรรมริมชายหาด ช่วยสร้างกิมมิกน่ารัก ๆ เข้ากับคอนเซ็ปต์ของร้าน ที่ต้องการให้ทุกคนนึกถึงบรรยากาศสบาย ๆ ยามไปเที่ยวทะเล ร่วมด้วยของตกแต่งอย่าง ไม้เนื้อแข็ง เฟอร์นิเจอร์และโคมไฟหวายสไตล์ทรอปิคัล พรรณไม้เขตร้อน ตลอดจนถึงฝ้าไม้ไผ่สำหรับตกแต่งใต้ท้องพื้นและฝ้าเพดาน โซนที่นั่งชั้นล่างนี้ สถาปนิกได้เจาะพื้นที่ทำเป็นโถงดับเบิ้ลสเปซทะลุขึ้นไปถึงชั้นสอง เพื่อสร้างบรรยากาศให้ที่นั่งรับประทานเบอร์เกอร์ชั้นล่าง และชั้นลอยดูโปร่งสบาย ขณะที่ชั้นสองสถาปนิกได้เปลี่ยนช่องแสงด้านหน้าให้เป็นกระจกใสสูงตั้งแต่พื้นจรดเพดาน ช่วยเปิดรับแสงให้สามารถส่องลงมาถึงด้านล่างได้ในช่วงกลางวัน ลูกค้าสามารถนั่งชมวิวถนนด้านนอกได้เต็มสายตา เป็นการเชื่อมต่อมุมมองและความรู้สึกถึงภายนอกเข้ามาสู่ภายใน โดยลูกค้าที่อยู่ชั้นบนสุดนี้ ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสีสันและความคึกคักของร้านไม่ถูกตัดขาด เชื้อเชิญให้อยากแวะเวียนมานั่งพูดคุย และกินเบอร์เกอร์อร่อย ๆ ดื่มด่ำกับช่วงเวลาแห่งความสุขได้แบบยาว ๆ ตั้งแต่ช่วงเวลากลางวัน […]

EUPHORIA BRIDAL GALLERY โชว์รูมชุดเจ้าสาวที่ซ่อนอยู่ใน ตึกแถวหน้าแคบ คล้ายกล่องดีไซน์เรียบง่าย

รีโนเวต ตึกแถวหน้าแคบ ในเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นโชว์รูมชุดเจ้าสาวสีขาวละมุนตา ที่มองเผิน ๆ แล้วคล้ายกับกล่องกระดาษสีขาวเจาะรูดีไซน์เรียบง่าย ด้านหน้าร้านโดดเด่นด้วยดิสเพลย์ชุดแต่งงานในกล่องกระจก ซ้อนอยู่ภายในอาคารกล่องคอนกรีต เป็นโปรเจ็กต์การเปลี่ยนบ้านตึกแถวเก่าขนาด 3 ชั้น ซึ่งมีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะปัญหาหน้าแคบ แสงส่องเข้ามาไม่ถึง และข้อบกพร่องทางโครงสร้าง เช่น เสาหลายต้น เดิมพื้นที่เคยเต็มไปด้วยฉากกั้น และตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันตก จนทำให้ได้รับผลกระทบจากความร้อนตลอดเวลา จากปัจจัยดังกล่าวได้กลายมาเป็นภารกิจสำคัญของทีมออกแบบจาก ngoac.space ในการปรับปรุงอาคาร เพื่อเปิดเป็นโชว์รูมชุดเจ้าสาวแห่งใหม่บรรยากาศดี ช่วยส่งเสริมชุดเจ้าสาวให้ยิ่งทวีความสวยงาม ดึงดูดลูกค้าให้อยากเข้ามาเยี่ยมชม ทีมออกแบบมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์พื้นที่ เพื่อให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์กับชุดแต่งงาน ผ่านบรรยากาศและงานดีไซน์ที่ขับเสน่ห์ของชุดแต่งงานให้โดดเด่นขึ้น แถมด้วยการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ไปพร้อมกัน ไม่ได้เน้นการขายชุดเพียงอย่างเดียว  โดยชั้นล่างจัดแสดงนิทรรศการบอกเล่าที่มาที่ไปกว่าจะได้ชุดแต่งงานสวย ๆ ก่อนพาขึ้นสู่ชั้นสองเพื่อสัมผัสกับโซนดิสเพลย์จัดแสดงชุดแต่งงานให้ได้เลือกสรร ซึ่งแขวนประดับอยู่บนราวเสมือนเป็นฉากหลังขนานไปกับแนวผนัง ขณะที่ชั้นสามเป็นส่วนออฟฟิศสำหรับพนักงาน ภายใต้โครงสร้างเก่าผู้ออกแบบเลือกปิดผิวบางส่วนที่ไม่ประณีตไว้ แล้วเผยบางส่วนเพื่อสร้างความคอนทราสต์อย่างมีชั้นเชิง เห็นจากเสาคอนกรีตที่เผยให้เห็นร่องรอยความดิบกระด้าง และผิวสัมผัสเปลือยเปล่าขรุขระ ตัดกันกับภาพชุดแต่งงานสีขาวที่แสนนุ่มนวล และด้วยลักษณะอาคารที่เป็นตึกแถว เรื่องแสงสว่างถือเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้ออกแบบจึงกำหนดแหล่งกำเนิดแสงไว้ 2 แห่งบนหลังคา เพื่อดึงแสงลงมายังพื้นที่ชั้นล่าง แล้วกระจายต่อไปยังพื้นที่ส่วนต่าง ๆ […]

NGOI SPACE นำ กระเบื้องหลังคาดินเผา มาออกแบบคอมมูนิตีสเปซ โดดเด่นกลางแยกชานเมืองฮานอย

“กระเบื้องหลังคาดินเผา” กับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการออกแบบคอมมูนิตี้สเปซขนาดยักษ์ที่มีชื่อว่า Ngói Space อาคารอเนกประสงค์ขนาด 5 ชั้น บนพื้นที่หัวมุมถนนนอกกรุงฮานอย ที่นี่มีความพิเศษโดดเด่นอยูที่การออกแบบฟาซาด หรือเปลือกอาคารจาก กระเบื้องหลังคาดินเผา กว่า 20,000 แผ่น เพื่อบอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมจากวัสดุธรรมดาที่คุ้นเคยกันดีในเวียดนาม จุดประสงค์ของการก่อสร้างอาคารหลังนี้ ก็เพื่อให้เป็นเสมือนห้องรับแขกของชุมชน เปิดโอกาสให้ผู้คนได้เข้ามาพักผ่อน หรือทำกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ มีพื้นที่ใช้สอยหลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยร้านกาแฟ พื้นที่อเนกประสงค์สำหรับการสัมมนา และโซนจัดนิทรรศการ และสวนดาดฟ้า มีแรงบันดาลใจของแนวคิดมาจากการแตกกิ่งก้านของต้นไม้ และห้องต่าง ๆ ในถ้ำ สถานที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อกำหนดลักษณะการใช้งานภายในอาคารแล้ว ภายนอกอาคาร สถาปนิกจาก H&P Architects ได้เลือกกระเบื้องหลังคาดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุที่คุ้นเคยกันดีของชาวเวียดนามมาใช้ออกแบบฟาซาด โดยหวังสร้างแรงบันดาลใจในการนำ ‘กระเบื้องที่เต็มไปด้วยหน่วยความทรงจำ’ กลับมาใช้ใหม่ แทนที่จะถูกมองข้ามและทิ้งขว้างไปอย่างเปล่าประโยชน์ เมื่อบ้านเก่าหรืออาคารดั้งเดิมต่างค่อย ๆ ต้องถูกรื้อถอน ตามการเปลียนแปลงของยุคสมัย โดยการนำกระเบื้องมาเรียงซ้อนกันเป็นรูปสามเหลี่ยม สำหรับเป็นชั้นผนังอาคารชั้นนอก ซึ่งถูกซ้อนด้วยผนังและบานหน้าต่างกระจกด้านในอาคารอีกที พื้นที่ว่างระหว่างผนังชั้นนอกกับชั้นใน ที่ได้ร่มเงาจากแผงกระเบื้องฟาซาดได้จัดวางที่นั่งสำหรับพักผ่อนดื่มกาแฟ และทำเปลตาข่ายให้ได้เพลิดเพลินไปกับกลุ่มเพื่อน […]

ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ Material & Design Innovation Center – TCDC

คลังข้อมูลวัสดุ หรือที่หลายคนที่เคยไปจะคุ้นชื่อกับ Material ConneXion Bangkok จนกระทั่งเมื่อ TCDC ได้ย้ายมาอยู่ที่เจริญกรุงจึงได้มีการปรับเปลี่ยนขยายพื้นที่ เป็นศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ Material & Design Innovation Center – TCDC โดยมี Material ConneXion Bangkok อยู่ภายในนั้นอีกที โดยหลังจากที่ย้ายมาได้มีแนวทางการทำงาน รวมทั้งขอบเขตการทำงานที่เข้มข้นมากขึ้น ซึ่งมีความน่าสนใจทั้งต่อผู้ประกอบการและนักออกแบบเป็นอย่างมาก โดยครั้งนี้ room magazine ได้รับเกียรติจาก ดร.ดารารัตน์ เมฆเกรียงไกร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยวัสดุจาก TCDC และเป็นผู้ดูแลศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ Material & Design Innovation Center รวมทั้ง Material ConneXion Bangkok มาบอกเล่าถึงสิ่งที่น่าสนใจ และสิ่งที่ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ จะสามารถช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการและนักออกแบบได้อย่างไรบ้าง จาก Material ConneXion Bangkok สู่ Material & Design Innovation Center […]

โรงสีโภชนา ร้านอาหารเหลาร่วมสมัยในบรรยากาศไทย-จีน

ข้าวต้มกุ๊ย และอาหารเหลา ดูเหมือนจะกลายเป็นอาหารมื้อดึกสไตล์จีนที่แทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมสตรีทฟู้ดของไทยมายาวนาน เมื่อ โรงสีโภชนา พาข้าวต้มกุ๊ยพร้อมเมนูซีฟู้ดทะเลเผามาแปลงโฉมใหม่ให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น สาขาล่าสุดที่ย่านนางลิ้นจี่ จึงนำเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างให้มื้อพิเศษของครอบครัว ด้วยการแปลงโฉมโกดังเก่าริมถนนให้กลายเป็นร้านอาหารบรรยากาศไทย-จีน เปี่ยมชีวิตชีวา โรงสีโภชนา คืออีกหนึ่งแบรนด์ร้านอาหารในเครือ iberry Group ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการนำสตรีทฟู้ดหรืออาหารไทย ๆ ที่เราคุ้นชินมาสร้างสรรค์ในมิติใหม่ ผ่านการยกระดับวัตถุดิบ และการนำเสนอที่ร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็น กับข้าว’กับปลา รส’นิยม หรือแบรนด์ร้านยำน้องใหม่อย่าง เบิร์นบุษบา ฯลฯ โรงสี โภชนาต่อยอดมาจากร้าน โรงสีริมน้ำที่เดิมตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของโครงการ ล้ง 1919 (Lhong 1919) ย่านคลองสาน โดยเน้นเมนูอาหารแบบไทย-จีน ที่หนักไปทางอาหารจีนเมนูมื้อดึก ตามสโลแกน “ซีฟู้ดสดใหม่ ไทยจีนขึ้นเหลา ทะเลเผา ข้าวต้มกุ๊ย & เบียร์วุ้น” สาขาล่าสุดย่านนางลิ้นจี่โดดเด่นด้วยบรรยากาศร้านอาหารจีนร่วมสมัย กลิ่นอายความเป็นจีนที่สนุกสนานมีชีวิตชีวา ตอบโจทย์ลูกค้าครอบครัว ฝีมือการออกแบบของ Atelier2+ สตูดิโอออกแบบชั้นนำของไทย ผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบร้านอาหารหลายแบรนด์ของ iberry Group ตามไปฟังคุณวรพงศ์ มนูพิพัฒนพงศ์ ตัวแทนทีมออกแบบบอกเล่าเบื้องหลังกระบวนการออกแบบที่นี่ “ส่วนใหญ่แบรนด์ต่าง […]

ANTIQUARIAN BOOK SHOP IN JIMBOCHO ออกแบบร้านหนังสือเก่า ที่มีดีไซน์ไม่เก่าเลย

เอาใจบรรดาหนอนหนังสือ กับการพาไปดูร้านหนังสือเก่าดีไซน์เท่ ที่ดีไซน์ไม่เก่าเลย ซึ่งตั้งอยู่ในย่านจิมโบโช (Jimbocho) ย่านรวมร้านขายหนังสือเก่าที่ใหญ่ที่สุดกลางกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น Antiquarian Book Shop in Jimbocho ดูโดดเด่นอยู่บริเวณหัวมุมของตรอกเล็ก ด้วยผนังที่ทำจากแผ่นอะลูมิเนียมมันวาว ต่างจากร้านทั่ว ๆ ไปในย่าน จุดเริ่มต้นของการออกแบบร้านหนังสือแห่งนี้ มาจากเจ้าของร้านกับหุ้นส่วนอีก 4 คน ตัดสินใจอยากปรับปรุงร้าน ซึ่งแต่ละคนต่างชื่นชอบและซื้อขายหนังสือโบราณ จึงต้องการสถานที่ที่สามารถจัดเก็บหนังสือโบราณทรงคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นหนังสือมือสองจากตะวันตก หนังสือญี่ปุ่นโบราณ ม้วนกระดาษแขวน และม้วนหนังสือ แต่ถึงแม้จะเป็นร้านหนังสือเก่า เจ้าของก็อยากให้มีบรรยากาศสบาย ๆ ดูทันสมัย สตูดิโอ n o t architects studio ผู้รับหน้าที่ออกแบบ จึงเลือกปิดผนังด้วยแผ่นอะลูมิเนียม วัสดุที่มีความทนทาน และสื่อถึงความสมัยใหม่ ซึ่งเป็นกิมมิกที่สร้างความคอนทราสต์กันได้อย่างดี ระหว่างหนังสือโบราณกับโลกยุคปัจจุบัน สถาปนิกเลือกใช้แผ่นอะลูมิเนียมมาห่อหุ้มผนังอาคารฝั่งที่อยู่ติดกับตรอกทางเดินเพียงด้านเดียว ก่อนจะม้วนกลับเข้ามาทำหน้าที่เป็นผนังให้แก่พื้นที่ด้านในด้วยดีไซน์ที่ดูพลิ้วไหวอิสระ เว้นตรงกลางสำหรับเป็นทางเดินดูหนังสือได้จากทั้งสองฝั่ง บนผิวผนังจะมีรูเล็ก ๆ เป็นระยะเท่ากัน สำหรับใช้ล็อกขาชั้นวางหนังสือตามความต้องการ ไม่ว่าจะเชื่อมชั้นวางให้เป็นชั้นยาวสำหรับตั้งหนังสือหลาย ๆ เล่ม หรือถอดชั้นวางออกเพื่อแขวนม้วนหนังสือบนผนังได้ […]

103PAPER ของตกแต่งที่สร้างความหมายใหม่ให้เศษกระดาษไร้ค่า

คอลเล็กชั่นประติมากรรมจาก 103PAPER โดยคุณวิทยา ชัยมงคล และคุณอัจฉรา ตันนี นำเสนอแนวทางใหม่ของผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่างดินกระดาษ ที่ทำมาจากเศษกระดาษใช้แล้ว ผสานกับความงามเชิงศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้อย่างน่าสนใจ และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หลังจากจบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณวิทยาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาตลอด เขาคือผู้กำกับศิลป์ที่อยู่เบื้องหลังหนังดังหลายเรื่องไปจนถึงภาพยนตร์โฆษณามากมาย และเมื่ออาร์ตไดเร็กเตอร์หันมาสร้างแบรนด์ของตกแต่งบ้านจากงานอดิเรกที่เขาหลงใหล 103PAPER จึงเป็นเหมือนคอลเล็กชั่นงานศิลปะ ที่ถ่ายทอดแนวคิด และตัวตนของคุณวิทยาได้อย่างชัดเจน ก่อนเกิด 103PAPER “สิบกว่าปีก่อน ตอนที่ทำงานฟรีแลนซ์เป็นอาร์ตไดเร็กเตอร์ พอมีเวลาว่าง ผมมักหาพื้นที่แสดงออกด้านศิลปะของตัวเอง ลองหางานอดิเรกที่เราสนใจ ซึ่งช่วงนั้นผมสนใจงานปั้นเป็นพิเศษ แต่อย่างเซรามิกเราก็พอเข้าใจกระบวนการอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีทักษะ ก็เลยลองหาวัสดุที่ทำงานง่ายกว่านั้น” เมื่อโจทย์เริ่มต้นคืองานอดิเรก คุณวิทยาจึงเลือกทำงานปั้นด้วยวัสดุที่หาง่ายใกล้ตัวอย่างกระดาษใช้แล้วหลากหลายชนิด โดยนำมาทดลองหาส่วนผสม เพื่อขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ หลังจากลองผิดลองถูก และสนุกกับงานอดิเรกนี้อยู่หลายปี จนเกิดผลงานจำนวนหนึ่ง พาให้เขาลองหาแนวทางใหม่ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก “ย้อนกลับไปตอนนั้นเราไม่ได้คิดหรอกว่าทำแล้วจะขายได้ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจสร้างสรรค์เพื่อการตลาด ไม่ได้โฟกัสเลยว่าคนซื้อจะชอบอะไร เราแค่ทำในแบบที่เราชอบไปเรื่อย ๆ พองานเริ่มเยอะเลยลองเอาไปวางขายดู ที่แรกเป็นตลาดกลางคืน […]

SORVETE DA RESERVA ICE CREAM SHOP ออกแบบร้านไอศกรีมยุค NEW NORMAL

ร้านไอศกรีมอารมณ์ไม้ ที่ขอเน้นแบ่งพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน ตอบรับยุค New Normal ตอบโจทย์ความปลอดภัยด้านสุขภาพและงานบริการ อย่าง ร้านค้า และร้านอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจทั้งต่อตัวลูกค้าและผู้ให้บริการเอง ดังตัวอย่างการออกแบบร้านขายไอศกรีม ในประเทศบราซิลแห่งนี้ ดีไซเนอร์จากสตูดิโอ PORO Arquitetura ได้ออกแบบร้านไอศกรีมให้บรรจุอยู่ในอาคารขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพียง 40 ตารางเมตร โดยได้กำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วน ด้านหน้าเป็นพื้นที่นั่งพักคอยเล็ก ๆ ระหว่างกำลังรอสั่งซื้อไอศกรีม ซึ่งที่นี่เน้นการซื้อกลับไปรับประทานมากกว่าการนั่งรับประทานในร้าน ขณะที่เคาน์เตอร์ของพนักงานจะถูกกั้นด้วยแผ่นโปร่งใส ที่เจาะช่องว่างเล็ก ๆ ไว้สำหรับจ่ายเงินและรับไอศกรีม ลึกเข้าไปด้านในอีกชั้นคือส่วนของพื้นที่ครัว ฐานการผลิตไอศกรีมสูตรโฮมเมดรสชาติแสนอร่อย ขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งกลิ่นอายของงานดีไซน์ โดยมีไม้ และธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนช่วยเติมเต็มยุค New Normal นอกจากการวางผังพื้นที่ใช้งานเเล้ว ความโดดเด่นของที่นี่ คือการทำโครงสร้างไม้ตกแต่งไล่ลงมาจากฝ้าเพดาน ทำเป็นชั้นวางของ เรื่อยลงมาจนถึงการเป็นเคาน์เตอร์ไม้ริมผนังกระจกหน้าร้าน ไม่ลืมตกแต่งด้วยกระถางต้นไม้ที่ปลูกพรรณไม้ในร่มเขตร้อนหลายชนิด ช่วยเติมบรรยากาศความสดชื่นได้เป็นอย่างดี ก่อนเพิ่มสีสันให้ร้านด้วยกระเบื้องไฮดรอลิกสีน้ำเงิน ที่ดีไซเนอร์เลือกมาปูพื้น โดยอ้างอิงจากสีของทะเลสาบ Almécegas Lake ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของเมือง Pedrinhas ซึ่งเป็นที่ตั้ง เช่นเดียวกับกระเบื้องสีขาวด้านหน้าเคาน์เตอร์ ที่ออกแบบให้มีเส้นสีน้ำเงินตัดผ่านแบบทแยงมุม ก่อนนำมากรุลงไปแบบแรนดอมดูสนุกและสดใสมากขึ้น ออกแบบ : PORO […]

Domestic Loom รีดีไซน์กี่ทอผ้าสู่การพัฒนาหัตถกรรมผ้าทอ

ในขณะเราพยายามนำพางานหัตถกรรมดั้งเดิมให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว แต่นอกเหนือไปจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ยุคสมัย ทั้งแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และกระบวนการเบื้องหลังงานฝีมือก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม และยังคงต้องการการพัฒนาไม่แพ้กัน Domestic Loom คือกี่ทอผ้าดีไซน์ใหม่ ที่ชวนให้เราหันกลับมามองต้นทางของงานหัตถกรรมสิ่งทออีกครั้ง Domestic Loom กี่ทอผ้าฝีมือการออกแบบของ คุณพิบูลย์ อมรจิรพร สถาปนิกและนักออกแบบจาก Plural Designs ถือเป็นตัวแทนบอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ในการ “รีดีไซน์” เครื่องไม้เครื่องมือเบื้องหลังงานหัตถกรรมสิ่งทอ ให้ตอบโจทย์ยุคสมัย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของช่างผีมือยุคใหม่ได้ดียิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นของโปรเจ็คต์นี้มาจากประสบการณ์ของคุณพิบูลย์ ที่ได้มีโอกาสเดินทางพบปะ ทำงานร่วมกับช่างทอ และนักออกแบบสิ่งทอในหลากหลายชุมชนหัตถกรรม ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมจะพบว่าเครื่องมือหลักของช่างทอทั่วประเทศ ล้วนเป็นกี่ไม้เรียบง่าย ที่ผลิตขึ้นใช้เองในท้องถิ่น และแน่นอนว่าคนทอไม่ได้เป็นผู้สร้าง และคนสร้างไม่เคยได้ลองใช้ทอ คุณพิบูลย์: “ในชุมชนช่างทอ เราจะเห็นกี่ทำจากโครงไม้เป็นส่วนใหญ่ คล้ายกันแทบทุกหมู่บ้าน อาจเป็นเพราะทำง่าย ใช้วัสดุในท้องถิ่นได้เลย แต่ก็ยังไม่เห็นกี่ที่มีการพัฒนาให้ดูสวยขึ้น ช่วยให้นั่งใช้งานได้สบายขึ้น กี่แบบดั้งเดิมมีเสา 4 ด้าน ดูเกะกะ มักใช้งานไม่สะดวกสำหรับช่างทอผู้เฒ่าผู้แก่ จริง ๆ ผมเคยคิดไว้นานแล้ว แต่ยังไม่เคยมีโอกาสได้ลองทำ คราวนี้ได้คุยกับอาจารย์นุสรา เตียงเกตุ ที่ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้า บ้านไร่ใจสุข จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์ก็บอกให้ลองทำดู เพราะส่วนใหญ่ช่างทอกับช่างทำกี่ […]

82 District จุดเริ่มของชุมชนครีเอทีฟแห่งใหม่ย่านเจริญกรุง 82

เมื่อสำนักงาน คาเฟ่ ร้านค้า และม็อกเทลบาร์แห่งใหม่ได้สร้างความเคลื่อนไหวล่าสุดให้กับหัวมุมซอยเจริญกรุง 82 ที่นี่จึงได้ชื่อว่า 82 District ย่านใหม่ของชุมชนนักสร้างสรรค์ ที่ดูเหมือนจะมีจุดเริ่มต้นมาจากการขยับขยายสำนักงานใหม่ของ Trimode Studio หนึ่งในสตูดิโอออกแบบแนวหน้าของไทย อาจกล่าวได้ว่า การย้ายสำนักงานมายังอาคารแห่งใหม่ของ Trimode พร้อม ๆ กับการเปิดตัว Tangible ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่คาเฟ่ และไลฟ์สไตล์ช็อปในที่เดียวกันคือจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่ช่วยปลุกบรรยากาศของปากซอยเจริญกรุง 82 หรือ 82 District ให้เริ่มคึกคัก ทีมงานจึงอยากต่อยอด พร้อมความตั้งใจที่จะส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ใหม่ให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน พร้อมเสพงานดีไซน์ดี ๆ “ตั้งแต่มีร้าน Tangible คนก็เริ่มมาเดินเล่นในซอยกัน เราเลยนึกถึงโมเดลในต่างประเทศ ที่ร้านรวงต่าง ๆ จะช่วยสร้างความเป็นย่าน จึงพยายามดึงงานดีไซน์ หรือศิลปะมาสร้างจุดสนใจให้ย่านนี้” คุณชินภานุ อธิชาบดี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Trimode Studio เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่าเมื่อผู้เช่าอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้ามของร้าน Tangible ย้ายออกไปพอดี ทางทีมงานจึงทำการขยับขยายให้ภาพของย่านสร้างสรรค์แห่งนี้ชัดเจนขึ้น โดยปรับเปลี่ยนชั้นล่างของอาคารใหม่แห่งนี้ ให้กลายเป็นงานออกแบบร้านค้าหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแบบที่ Trimode ไม่เคยทำมาก่อน […]

ผนังดินอัด La Terre (ลาแตร์) วัสดุธรรมชาติจากเทคโนโลยีโบราณสู่วัสดุสถาปัตยกรรมโมเดิร์น

ผนังดินอัด หนึ่งในวิธีการดั้งเดิมตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ในการสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ด้วยความสนใจในความเป็นธรรมชาติทั้งความงามและในแง่ของวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่คุณปัจจ์ บุญกาญจน์วนิชา แห่ง บริษัท ลาแตร์ จำกัด ได้เลือกศึกษาในระดับปริญญาโท ณ สถาบันวิจัยดินเพื่อการก่อสร้างนานาชาติ CRA-Terre ซึ่งเป็นที่ปรึกษาขององค์การ Unesco และดูแลหลักสูตร Post Master in Earth Architecture ณ โรงเรียนสถาปัตยกรรมชั้นสูง เมืองGrenoble ประเทศฝรั่งเศส (Ecole Nationale Superieure D’architecture De Grenoble, France) และในวันนี้ room Magazine ก็ได้ขอมาเยี่ยมเยือนออฟฟิศของสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญในทาง “ดิน” ที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในไทยคนนี้กันเลยทีเดียว เริ่มต้นกับดิน “ผมเรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตช่วงปี 2542 เป็นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งพอดี ซึ่งงานหายากมาก พอจบออกมาก็ไปทำงานอยู่บริษัทรับเหมา ทำได้อยู่ช่วงหนึ่งก็ย้ายไปทำงานสถาปนิกที่ภูเก็ต ช่วงนั้นก็ทำหลายอย่าง เป็นดีเจบ้าง รับวาดภาพบ้าง สุดท้ายก็ตัดสินใจย้ายไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส เรียนอยู่ 4 ใบ เรียนจบก็ลงเรียนใหม่ต่อวีซ่าไปเรื่อย ๆ […]

FABCAFE NAGOYA โชว์ศิลปะงานไม้ดั้งเดิมหาชมยาก ให้คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ได้สัมผัส

หยิบศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่น มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ของ FabCafe Nagoya สะท้อนภูมิปัญญาการใช้ไม้แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัส ไปพร้อมกับไลฟ์สไตล์คาเฟ่ฮอปปิ้งที่คนยุคนี้นิยม FabCafe Nagoya โปรเจ็กต์งานออกแบบคาเฟ่ของสถาปนิกสัญชาติญี่ปุ่น Suppose Design Office ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการหยิบศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่น มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ของคาเฟ่ทรงกล่องคอนกรีตขนาด 280 ตารางเมตร ที่ “Hisaya-odori Park”แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองนาโกย่า ภายในได้รับการออกแบบให้บรรจุด้วยงานไม้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสะท้อนภูมิปัญญาการใช้ไม้มาออกแบบที่พักอาศัยของชาวญี่ปุ่น เด่นสะดุดตากับโครงหลังคาไม้ ที่อยู่ใต้ฝ้าเปล่าเปลือยโชว์ให้เห็นท่องานระบบ สร้างความรู้สึกราวกับยกบ้านไม้โบราณมาคลุมพื้นที่เอาไว้ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่สัมผัสได้ยาก ท่ามกลางความเจริญของเมืองคอนกรีตยุคใหม่ นอกจากนี้ยังมีการนำไม้มาตกแต่งบริเวณหน้าเคาน์เตอร์ รวมถึงเหล่าเฟอร์นิเจอร์ไม้หลายชิ้น โดยเฉพาะโครงขาที่โชว์ภูมิปัญญาการเข้าไม้ที่ไม่ใช้นอต หรือสกรูใด ๆ ทำให้ผู้มาเยือนคาเฟ่ได้สัมผัสทั้งบรรยากาศความอบอุ่นที่มีไม้เข้ามาเป็นส่วนประกอบ เหนือกว่านั้นคือการได้มองเห็นเสน่ห์อันน่าทึ่งของศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่นดั้งเดิม นำมาสู่การมองเห็นคุณค่าและการอนุรักษ์ตามมา Did You Know FabCafe ในไทยนั้น ดำเนินงานโดย FabCafe Bangkok ตั้งอยู่ที่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center(TCDC) สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือชมผลงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามลิงก์ข้างต้น […]