Studio Visit Archives - Page 3 of 17 - room

ออฟฟิศ ม่านไม้เลื้อยเพื่อสร้างความสุขในการทำงาน A&P OFFICE BUILDING

ออกแบบ ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน หากใครมีโอกาสผ่านเข้าไปในซอยประชาชื่น 31 จะพบอาคารคอนกรีตสูง 5 ชั้นที่ตั้งใจเลือกใช้ฟาซาดจากธรรมชาติ เป็นม่านไม้เลื้อย ซึ่งอาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท เอ แอนด์ พี เมนทิแนนซ์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ในแวดวงธุรกิจจะรู้จักกันดีในชื่อ A&P ซึ่งเป็นบริษัทรับคลีนนิ่งระดับประเทศ ที่รับทำความสะอาดทั้งอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ศูนย์การค้า สนามบิน ตลอดจนหน่วยงานราชการต่างๆ โดยอาคารสำนักงานดังกล่าวเป็นการออกแบบและสร้างใหม่บนที่ดินขนาด 1.5 ไร่ ออกแบบโดยคุณ ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน ภายใต้แนวความคิดการหลอมรวมธรรมชาติให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน เพื่อสร้างความสุขให้กับพนักงานขององค์กรอย่างยั่งยืน อาคารสำนักงานแห่งนี้นับว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของผู้ออกแบบไม่น้อย เนื่องจากต้องทำการออกแบบและก่อสร้างภายใต้ข้อจำกัดมากมาย ทั้งในเรื่องของระยะเวลาและการออกแบบเพื่อให้ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุด ในการออกแบบเบื้องต้น ผู้ออกแบบจึงกำหนดให้ตัวอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 2,000 ตร.ม. วางไว้ด้านในของที่ดิน เนื่องจากทางเจ้าของโครงการมีแผนจะสร้างอาคารเพิ่มเติมยังบริเวณด้านหน้าที่ดินในอนาคต อีกทั้งด้วยตำแหน่งของที่ตั้งทำให้จำเป็นต้องหันด้านหน้าอาคารไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นด้านที่จะได้รับความร้อนตลอดทั้งวัน ผู้ออกแบบจึงกำหนดให้มีชุดผนังกระจกบานเลื่อนซ้อนในทุกๆ ฟังก์ชันเผื่อในกรณีที่ต้องการเปิดรับลมได้มากสุด ก็จะทำให้อากาศนั้นหมุนเวียนไปได้ทั่วอาคาร เสริมกับการเลือกใช้ต้นลีกวนยูมาเป็นฟาซาดด้านหน้าอาคารก็เพื่อช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่เสมือนเป็นอุปกรณ์บังแดดทางธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมให้กับอาคารอีกชั้นหนึ่งด้วย ทั้งนี้ตัวอาคารยังออกแบบพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าด้วยการกำหนดผนังทั้ง 2 ด้านของอาคารนั้นเป็นผนังทึบ ทำให้ระยะร่นระหว่างจากอาคารถึงแนวเขตกำแพงนั้นมีน้อยลงตามที่ข้อกฎหมายได้กำหนด ส่งผลให้อาคารมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นเพื่อช่วยกันความร้อนและเพื่อย่นระยะเวลาในการก่อสร้าง […]

CHURN BUTTERY คาเฟ่สไตล์นอร์ดิก ที่สายละมุนคนชอบเบเกอรี่ห้ามพลาด!!

เอาใจคนชานเมืองย่านถนนร่มเกล้า กับคาเฟ่บรรยากาศดีน่านั่ง CHURN Buttery ซึ่งมีที่มาจากคำว่า “Churn” ในภาษาอังกฤษ หมายถึงเครื่องตีเนย และปั่นนม เพื่อบอกเล่าจุดเด่นของร้านที่เน้นเมนูเบเกอรี่สูตรโฮมเมด อร่อยจนลืมอ้วน กินคู่กับกาแฟออสเตรเลียรสละมุน เป็นสองความอร่อยที่ลงตัว ผสมผสานอยู่ในคาเฟ่บรรยากาศอบอุ่น ตกแต่งเรียบง่ายสไตล์นอร์ดิก CHURN Buttery มีจุดเริ่มต้นมาจากแพสชั่นความหลงใหลของคู่สามีภรรยา คือคุณนที เตชะอาภรณ์กุล สัตวแพทย์ผู้หลงใหลเรื่องราวของกาแฟ และคุณจุฑาภัค สีตบุตร ที่ชื่นชอบการทำเบเกอรี่ โดยมีสูตรขนมอร่อย ๆ จากคุณแม่ แม้ทั้งคู่จะมีงานประจำกันอยู่แล้ว แต่ก็เลือกนำความชอบส่วนตัวของแต่ละคนมาสร้างสรรค์เป็นคาเฟ่ โดยเลือกทำเลย่านถนนร่มเกล้าเพราะเห็นว่าถนนสายนี้แทบไม่มีคาเฟ่สำหรับนั่งพักผ่อน หรือหาที่นั่งคุยกันค่อนข้างยาก นำมาสู่การออกแบบคาเฟ่ผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารทรงจั่วที่ให้อารมณ์เหมือนบ้านหลังใหญ่ คุณกฤติน เจริญพรวรนาม สถาปนิกผู้ออกแบบเล่าให้ฟังว่า “ตอนดีไซน์เราอยากให้ที่นี่มีความรู้สึกสบาย ๆ ลักษณะของร้านจึงมีความเป็นนอร์ดิกขาว ๆ มีจั่วและหลังคาทรงสูง แทรกความอบอุ่นด้วยงานไม้ นอกจากนี้ยังนำเส้นสายของซุ้มโค้งมาใช้ในส่วนของกรอบหน้าต่าง ต่อเนื่องไปยังกำแพงฝั่งที่จอดรถ แล้วไปจบที่มุมซุ้มกำแพงสีขาวดูคล้ายสตูดิโอถ่ายรูปตรงโซนด้านหลัง ส่วนช่องเปิดได้ติดตั้งกระจกขนาดใหญ่ และมีช่องแสงสกายไลท์อยู่ด้านบน เพื่อให้แสงสามารถส่องเข้ามาในร้านได้ทั่วถึง ให้มิติของแสงเงาและบรรยากาศที่ดูอบอุ่นอย่างเต็มที่ และยังเป็นเหมือนการโฆษณาตัวร้านได้ด้วย” นอกจากความละมุนละไมของบรรยากาศภายในแล้ว จุดเด่นที่ถือเป็นไฮไลต์คืองานออกแบบแลนด์สเคปที่มีสระน้ำอยู่ทั้งสองฝั่งทางเข้า “การออกแบบให้มีสระน้ำ ผมอยากให้มีบรรยากาศแบบ Stepping stone […]

Citizen Tea Canteen of Nowhere คาเฟ่ชาไทยในโชว์รูมหัตถกรรม

ตึกแถวในตรอกเล็กซอยน้อยคือวิถีชีวิตอันคุ้นเคยและเปี่ยมเสน่ห์ของย่านเมืองเก่าในกรุงเทพฯ​ เช่นเดียวกันกับที่ “ย่านตลาดน้อย” แม้วันนี้เราจะมีร้านชาเปิดใหม่อย่าง Citizen Tea Canteen of Nowhere เป็นเป้าหมายซึ่งอยู่ไม่ไกลข้างหน้านี้ แต่ก่อนเลี้ยวเข้าร้าน ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่าสุดปลายตรอกนี้จะมีอะไร และทะลุไปเดินเล่นที่ไหนต่อได้อีกบ้าง ช่วงสองสามปีนี้มานี้ คนรักงานออกแบบรับรองว่าต้องคุ้นเคยกันดีกับชื่อ Citizen of Nowhere แบรนด์หัตถกรรมร่วมสมัยของ คุณศรัณย์ เย็นปัญญา ดีไซเนอร์สุดป็อปแห่ง 56thStudio ผู้มุ่งมั่นปลุกวิญญาณศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาชายขอบที่ถูกลืมเลือนหรือด้อยค่า ให้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันยุคใหม่ และคอลเล็กชั่นหัตถกรรมของเขา ก็คือจุดเริ่มต้นของการเปิดแฟลกชิปสโตร์แห่งใหม่นี้ Citizen Tea Canteen of Nowhere ยังมาพร้อมคาเฟ่ชาไทยสีส้มหน้าตาคุ้นเคย ที่นำเสนอในภาษาใหม่ที่ละเมียดละไมขึ้น  “หลังจากแบรนด์เข้าสู่ปีที่สาม เรามีสินค้าค่อนข้างเยอะขึ้น เลยรู้สึกว่างานหัตถกรรมมันจะน่าสนใจและน่าซื้อมากขึ้นถ้าเราสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์ เลยเกิดเป็นโชว์รูมที่มีคาเฟ่ในตัว คนจะได้มอง ได้สัมผัส ได้สำรวจข้าวของได้แบบเพลิน ๆ” จากแกนหลักของแบรนด์หัตถกรรมที่ต้องการอุ้มชูวัฒนธรรมชายขอบ สวมเข้ากันพอดีกับคอนเซ็ปต์ของสภากาแฟหรือสภาชาแบบไทย ๆ ซึ่งเป็นเหมือนพื้นที่สำหรับการร่วมวงชวนคนใกล้เคียงมาสังสรรค์ แลกเปลี่ยนบทสนทนาผ่านเครื่องดื่มคาเฟอีนในมือ งานทั้งสองแบบแม้จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแง่ของระบบการจัดการ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการ Deconstruction – รื้อ ถอด ประกอบ […]

ATHA YOGA STUDIO สุขสงบ ผ่อนคลายในดีไซน์แบบออร์แกนิก

Atha Yoga Studio สตูดิโอโยคะกลางกรุง สงบ อบอุ่นในโอบกอดของเส้นสาย และองค์ประกอบจากธรรมชาติ มาพร้อม Plant-based Café เสิร์ฟอาหารสุขภาพตอบโจทย์การดูแลร่างกายทั้งจากภายนอกและภายใน ในพื้นที่ขนาด 250 ตร.ม. ซึ่งถูกแบ่งเป็นสองส่วนของ Atha Yoga Studio ตั้งอยู่คนละฝั่งของทางเดินภายในอาคาร ด้านหนึ่งเป็นห้องสตูดิโอหลัก Surya และคาเฟ่ ส่วนอีกด้าน เป็นส่วนห้องอาบน้ำ และห้อง Private Studio จำนวน 2 ห้อง – Chandra และ Anata สเปซโดยรวมได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์กับกิจกรรมโยคะเป็นหลัก จากพื้นที่ต้อนรับ ก่อนที่จะเข้าสู่สตูดิโอหลัก Surya นักออกแบบสร้างพื้นที่เก็บรองเท้าให้กลายเป็นเหมือนถ้ำขนาดเล็ก เสมือนพื้นที่เปลี่ยนผ่าน เพื่อปรับอารมณ์ของผู้ใช้งาน ที่สับสนวุ่นวายจากภายนอก ให้มีสมาธิและปลอดโปร่ง พร้อมสำหรับการฝึกโยคะ Main Studio สตูดิโอหลักอยู่ด้านเดียวกับช่องเปิดอาคาร จึงรับแสงธรรมชาติและรับรู้ถึงห้วงเวลาภายนอกอาคาร รูปทรงและเส้นสายโค้งเว้าของฝ้าเพดาน และระนาบผนังที่โอบล้อมอยู่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ และความลื่นไหลของท่าฝึกโยคะ  สร้างอารมณ์ขัดแย้งกับความเป็นเหลี่ยมมุมกระด้างของตัวอาคารโดยรอบอย่างตั้งใจ และด้วยพื้นที่จำกัด สเปซภายในสตูดิโอจึงเชื่อมต่อกับส่วนคาเฟ่ผ่านผนังกระจกโค้ง เพื่อเปิดมุมมองที่โปร่งโล่งขึ้น    ภายในห้องเน้นการใช้ไฟซ่อนในผนัง หรือส่องไฟเข้าเพดานเพื่อสร้างแสง […]

LIL HOUSE คาเฟ่ในบ้าน ตอบโจทย์ธุรกิจและวิถีชีวิตกลางธรรมชาติ

Lil house คาเฟ่ในบ้านหลังคาจั่ว 2 ชั้น เรียบง่าย ที่ดูธรรมดาแต่โดดเด่นท่ามกลางสีเขียวของทุ่งนาและท้องฟ้า ผสานบริบทและกลิ่นอายของธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของเชียงราย ผ่านฝีมือการออกแบบของ ALSO Design studio ตัวบ้านมีพื้นที่ใช้สอย 159 ตารางเมตร ตอบโจทย์การอยู่อาศัย และมีฟังก์ชันของคาเฟ่ขนาด 38 ที่นั่ง การออกแบบจึงให้ความสำคัญกับมุมมองและความรู้สึกของผู้ใช้งาน ทั้งลูกค้าคาเฟ่และผู้อยู่อาศัยที่ต้องใช้สเปซร่วมกัน โดยสะท้อนข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งกลางธรรมชาติ ภายใต้งบประมาณที่สมเหตุสมผล Lil house จึงมีลักษณะเป็น “บ้าน” อย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทที่ตั้ง ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งของทุ่งนาและสวนต้นไม้ใหญ่ โดยมีการลดทอนฟังก์ชั่นของบ้านบางส่วน และเพิ่มเติมด้วยฟังก์ชั่นของคาเฟ่ สะท้อนวิถีชีวิตและความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ พร้อมแฝงความอบอุ่นไว้ทุกมุม บริเวณทางเข้าสร้างความน่าสนใจด้วยแผ่นเหล็กดัดโค้งสีขาว โค้งรับกับประตูทางเข้า เมื่อก้าวเข้าไปภายในร้าน บันไดวนสีขาวเป็นจุดนำสายตา และเป็นส่วนที่เชื่อมชั้นบนและชั้นล่างเข้าด้วยกัน โดยพื้นที่ชั้นล่างจะเป็นส่วนของคาเฟ่แบบอินดอร์ ในขณะที่บันไดวนพาขึ้นไปสู่ชั้นลอย ที่มีที่นั่งเป็นลักษณะบาร์ ต่อเนื่องกับระเบียงภายนอก ซึ่งมีที่นั่งแบบเอ้าต์ดอร์ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศ และการสัมผัสรับรู้ทั้งสายตา เสียง และความรู้สึกของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ ส่วนระเบียงของรองรับการใช้งานในฐานะ “บ้าน” เชื่อมต่อกับส่วนห้องนอนและห้องน้ำอีกด้วย คาเฟ่แห่งนี้ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์ในทุกมุมมอง ทั้งจากระยะไกล จากผู้ใช้งานภายนอก และผู้ใช้งานภายใน องค์ประกอบต่างๆ […]

HAIR ATELIER BRUNO ออกแบบร้านตัดผม สไตล์เรียบง่าย ด้วยเสาไม้และอะลูมิเนียม DIY

ออกแบบร้านตัดผม ที่ซ่อนอยู่ในอาคารเก่าอายุ 34 ปี ของเมืองอาตามิ จังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ให้มีบรรยากาศน่าสนใจกับการใช้วัสดุที่เรียบง่ายอย่าง เสาไม้ และอะลูมิเนียม ผสานด้วยเทคนิคและกระบวนการกึ่ง DIY สุดประณีต Hair Atelier Bruno คือตัวอย่างของการ ออกแบบร้านตัดผม ที่นำแนวคิดแบบ DIY มาจับ ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถใส่กระบวนการแนวคิดสุดสร้างสรรค์ เปลี่ยนชั้นล่างของอาคารขนาด 5 ชั้น ที่อยู่หันหน้าออกไปยังถนนใกล้สี่แยกของเมือง จากจุดเด่นของทำเลที่พลุกพล่าน Yuji Tanabe Architects จึงออกแบบร้านให้สามารถมองเห็นการตกแต่งที่น่าสนใจด้านใน ผ่านผนังกระจกใสที่กรุอยู่โดยรอบ ขณะเดียวกันก็พรางสายตาเพื่อความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ด้วยฉากกั้นที่ทำจากเสาไม้โค้งไปตามแนวพื้นที่ใช้งาน ฉากกั้นไม้ที่กล่าวถึงนี้ สถาปนิกใช้ชื่อเรียกว่า Ku-ki Bei (หมายถึงผนังอากาศ) เป็นเสาไม้ที่เรียงรายเป็นช่วง ๆ เพื่อแยกส่วนพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ยังยอมปล่อยให้แสง ลม และแมว! ของเจ้าของร้านเดินผ่านไปได้ และเมื่อมอง Ku-ki Bei ขนานไปกับแนวสายตา เสาไม้นี้ก็จะกลายเป็นแนวช่วยพรางสายตาไปในตัว โดยเสาไม้ทั้งหลายนี้จะถูกเชื่อมต่อด้วยแผ่นอะลูมิเนียมชุบอโนไดซ์หนา 1.5 มิลลิเมตร ซึ่งตัดด้วยเลเซอร์ […]

THAI HOUSE VIBE จำลองบรรยากาศบ้านไม้ไทย โซนพักผ่อนใหม่ใน THE BARISTRO ASIAN STYLE

หลังจาก The Baristro, Asian Style จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี จนทำให้ต้องออกแบบโซนพักผ่อนนั่งเล่นเพิ่มเติมต่อจาก Speed Bar และ Slow Bar จนกลายเป็นพื้นที่เฟสใหม่ภายใต้ธีม Thai house vibe DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio ด้วยการจำลองบรรยากาศบ้านไทย เพื่อสร้างความรู้สึกสบายเป็นกันเอง โดยไม่ละทิ้งโจทย์เด่นของการออกแบบ อย่างการสอดแทรกวัฒนธรรมสไตล์เอเชียที่ทุกคนคุ้นเคย เพราะต้องการให้ลูกค้าที่มาเยี่ยมเยือนเกิดความรู้สึกประทับใจ และมีประสบการณ์ร่วมไปพร้อมกัน ครั้งนี้ pommballstudio ได้ออกแบบเฟสใหม่ให้เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว กับการออกแบบที่ไม่ซับซ้อนได้มู้ดแบบบ้านไทย โดยจำลองบรรยากาศเหมือนเดินขึ้นมาบนบ้าน สิ่งแรกที่จะพบเห็นคือ “เติ๋น” หรือชานบ้าน (ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ) ซึ่งทำการจัดวางเบาะนั่งนุ่ม ๆ พร้อมหมอนอิงทรงสามเหลี่ยม ให้ลูกค้าได้นั่งผ่อนคลายอิริยบถ เหมือนมาพักผ่อนอยู่บนบ้านจริง ๆ ก่อนนำสู่ด้านในที่ออกแบบมุมด้านหนึ่งให้ยกพื้นสูง วางที่นั่งสไตล์ญี่ปุ่น และเบาะนั่งแบบไทย ซึ่งเป็นสองวัฒนธรรมที่นิยมการนั่งพื้นเหมือนกัน เหมาะกับคนที่ต้องการนั่งพักแบบสบาย ๆ ทั้งยังมีโซนที่นั่งแบบเก้าอี้ให้นั่งห้อยขา แล้วแต่ลูกค้าจะเลือกตามอัธยาศรัย  นอกจากฟังก์ชันการใช้งานที่เรียบง่ายแล้ว การออกแบบของที่นี่ยังคงมีแนวคิดเชื่อมโยงกับกลิ่นอายความเป็นธรรมชาติ ผ่านการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติอย่าง ไม้ ซึ่งเป็นไม้เก่าหาได้ง่ายทั้งจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน […]

PAPA BEACH PATTAYA พักผ่อนสไตล์บีชเฮ้าส์ ในอาคารไม้ไผ่เลียนแบบเสากระโดงเรือ

Papa Beach Pattaya ร้านอาหารที่แฝงตัวอยู่อย่างลับ ๆ เชิงผาริมหาดบ้านอำเภอ โดดเด่นด้วยทำเลเยี่ยมที่มาพร้อมวิวทะเลแบบพานอรามาสุดสายตา นอกจากบรรยากาศน่าสบายที่เกิดจากธรรมชาติ การออกแบบให้มีมุมนั่งรับประทานอาหารหลากหลายรูปแบบ ยังช่วยสร้างบรรยากาศพักผ่อนให้ Papa Beach Pattaya มีสีสันได้อย่างน่าประทับใจ จากแรงบันดาลใจเหนือจินตนาการที่บอกเล่าเรื่องราวของ “เรือสำราญที่ลอยมาเทียบท่าบนเกาะ” ได้รับการตีความให้เกิดเป็นรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมตัวอาคารไม้ไผ่ ที่เปรียบเสมือนเรือลำใหญ่ที่จอดเทียบริมหาดทรายท่ามกลางต้นไม้น้อยใหญ่ที่สร้างความร่มรื่น รายล้อมด้วยประติมากรรมไม้ไผ่ดูแปลกตา ทางเข้าอาคารโดดเด่นด้วยโครงสร้างไม้ไผ่เรียงรายเหมือนเสากระโดงเรือ นำสายตาตลอดแนวทางเดินสู่ด้านใน ผนังเพ้นต์ภาพลวดลายไลฟ์สไตล์ชาวเกาะ ต้อนรับทุกคนเข้าสู่ด้านในร้านอาหาร ซึ่งตกแต่งในรูปแบบรีสอร์ตริมทะเล(Coastal Design) มุมเคาน์เตอร์บาร์ทรงโค้งออกแบบให้คล้ายกับห้องควบคุมเรือ กรุกระเบื้องสีขาวเรียบง่าย ขับเน้นให้โครงสร้างไม้ไผ่บนฝ้าเพดานโดดเด่นยิ่งขึ้น เสมือนพื้นที่พักผ่อนใต้ร่มมะพร้าวที่เรียงรายบนชายหาด เก้าอี้สานแพตเทิร์นขาว-ดำ และโต๊ะลายหินขัดสดใส เพิ่มรายละเอียดน่าสนุกให้ทุกมุม อาคารหลักเชื่อมต่อกับส่วนอัฒจันทร์สำหรับนั่งรับลมทะเล หรือชมพระอาทิตย์ตกดิน ส่วนด้านล่างมีมุมสระว่ายน้ำเล็ก ๆ สร้างบรรยากาศพักผ่อนแบบบีชคลับ รองรับการจัดงานสังสรรค์ริมสระได้ด้วย ทำให้ที่นี่เป็นทั้งร้านอาหาร และพื้นที่พักผ่อนสไตล์ชายหาดที่ไม่ซ้ำใคร IDEA TO STEAL ผนังด้านหน้าบริเวณทางเข้ามีแนวกำแพงไผ่สับฟาก เปรียบเสมือนกราบเรือ เว้นช่องให้แสงธรรมชาติสร้างแสงเงาที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา ส่วนกำแพงอาคารอีกด้านใช้การมุงจาก สร้างพื้นผิวธรรมชาติต่างสัมผัส เข้ากับโครงสร้างไม้ไผ่ได้อย่างดี ที่ตั้ง 137 ถนนสุขุมวิท ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี […]

COFFEE J & HOSTEL คาเฟ่เชียงใหม่ ของคนรักรถคลาสสิก เท่กลมกล่อมด้วยสไตล์อินดัสเทรียล

คาเฟ่สีดำบรรยากาศอินดัสเทรียลสุดเท่นี้ ตั้งอยู่ในย่านถนนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเจ้าของตั้งใจเปิดควบคู่ไปกับธุรกิจโฮสเทลที่อยู่ด้านบน เพื่อให้คนทั่วไปแม้ไม่ใช่ลูกค้าโฮสเทลสามารถเข้ามานั่งเล่นได้ ภายใต้ความเข้มเท่คมคายตามแบบฉบับชายหนุ่มผู้หลงใหลรถคลาสสิก คาเฟ่เชียงใหม่ ที่นี่มีไอเดียการตกแต่งมาจากงานอดิเรกและความชื่นชอบในการสะสมรถคลาสสิกของคุณจักรพล นิยมสิริ ผู้เป็นเจ้าของ โดยทีมสถาปนิกจาก ALSO design studio ได้หยิบคาแรกเตอร์ดังกล่าว มาใช้ถ่ายทอดโดยล้อไปกับดีไซน์ของโฮสเทล ด้วยการนำกลิ่นอายที่จะพาทุกคนเชื่อมโยงเข้าสู่ยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือยุคแห่งการทำงานระหว่างคนกับเครื่องจักรในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการผลิตรถยนต์ การออกแบบคาเฟ่จึงอิงหลักการออกแบบในสไตล์อินดัสเทรียล โดดเด่นด้วยความสวยงามที่มาจากการแสดงเนื้อแท้ของวัสดุแต่ถูกลดทอนความเป็นดิบบางส่วนลงเพื่อให้เข้ากับฟังก์ชันการเปิดเป็นคาเฟ่ ภายใต้โทนสีเทา-ดำ อันเป็นสีที่มาจากเนื้อแท้ของวัสดุปูน/คอนกรีต และสีดำด้านของเหล็กโลหะ การตกแต่งเน้นวัสดุที่มีลักษณะเหมือนกับตัวอาคารของโฮสเทลอย่าง การนำคอนกรีตบล็อกมาทำเป็นฐานเคาน์เตอร์บาร์ ท็อปทำจากแผ่นคอนกรีตเปลือย ตลอดจนการปล่อยผิวผนังให้เป็นปูนเปลือยฉาบเรียบไม่ทาสี และโชว์ท่องานระบบที่เลียนแบบท่อรถยนต์แบบไร้ฝ้าปกปิด ส่วนเฟอร์นิเจอร์จัดวางแต่เพียงน้อยชิ้น เน้นเท่าที่จำเป็นในการใช้งานจริง เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของโฮสเทล โคมไฟและของตกแต่งรอบ ๆ ถอดรูปแบบมาจากลักษณะของรถ ความเงาของสเตนเลส และเหล็กสีดำที่ถูกสอดแทรกในองค์ประกอบต่าง ๆ โดดเด่นด้วยรูปภาพรถคลาสสิกสีขาว-ดำ บอกเล่าความชอบและรสนิยมของเจ้าของ ช่วยให้ร้านมีเสน่ห์ และแตกต่างจากคาเฟ่ในแนวอินดัสเทรียลทั่วไป แม้จะอยู่ท่ามกลางโครงสร้างดิบกระด้างและหนาหนัก แต่ก็ยังมีการเลือกใช้กระจกมาเป็นช่องแสงขนาดใหญ่ให้ร้านมีมิติจากแสงเงา อีกทั้งเส้นสายของเฟรมกระจกสีดำยังช่วยเพิ่มลูกเล่นให้การมองเห็น กำหนดแสงและบรรยากาศของร้าน ให้สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เผื่อการใช้งานคาเฟ่ที่อาจจะปรับเปลี่ยนเป็นบาร์ได้ในอนาคต  พักสายตากับวิวสวนสีเขียวด้านนอกที่เน้นงานฮาร์สเคปเป็นหลัก โดยทำล้อไปกับรูปแบบของการออกแบบเปลือกอาคารโฮสเทลด้านนอก ด้วยการนำคอนกรีตบล็อกมาจัดเรียงซ้อนกันเพื่อเป็นขอบที่นั่งแบบเรียบง่าย พื้นโรยด้วยหินกรวด และไม้ใบเขียวที่ช่วยเพิ่มความร่มรื่น ลดความดิบกระด้างของวัสดุและสเปซ ให้ผู้ใช้งานสามารถออกมานั่งพักผ่อนได้อย่างโปร่งสบาย […]

EI TERRENO COMMUNAL GARDEN ศาลาในสวน ดอกไม้ แหล่งเรียนรู้ของเด็กในชุมชนเมือง

ศาลาในสวน จากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง ที่เปิดให้เด็ก ๆ ในชุมชนได้มาพักผ่อนและเรียนรู้กลางทุ่งดอกไม้แห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก ที่นี่เกิดขึ้นจากความต้องการของ Michelle Kalach ผู้ก่อตั้งโครงการ ซึ่งต้องการให้ ศาลาในสวน แห่งนี้ เป็นสถานที่พักผ่อนและเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ในชุมชนเมือง โดยเฉพาะการปลูกฝังให้พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นพัฒนาการทางสังคมไปพร้อมกัน   ภายในพื้นที่ตั้งของโครงการ ผู้ออกแบบจาก Vertebral ได้จำลองบรรยากาศให้เหมือนเนินเขาขนาดย่อมตามธรรมชาติ โดดเด่นด้วยพาวิเลียน หรือศาลาอเนกประสงค์ที่สร้างจากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง เพราะสำหรับบริษัทแล้ว สิ่งสำคัญในการออกแบบก็คือการสร้างอาคารจากวัสดุรีไซเคิลร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยนำมาผ่านกระบวนการคิดและก่อสร้างในกระบวนการใหม่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้แก่โครงการนี้โดยเฉพาะ ตัวอาคารทำจากไม้ที่นำกลับมาใช้งานใหม่ มีท่อนเหล็กทำหน้าที่เป็นเสา เชื่อมเข้ากับผนังบรรจุหินที่ได้จากการขุดไซต์ก่อสร้าง โครงถักทั้งหมดถูกประกอบขึ้นโดยอาสาสมัครจากชุมชนท้องถิ่น ที่นี่จึงสามารถสร้างเสร็จได้อย่างรวดเร็วจากแรงกำลังของจิตอาสาทั้งหลาย นอกจากผู้ใช้งานจะเป็นกลุ่มเด็ก ๆ แล้ว ที่นี่ยังเปิดต้อนรับกลุ่มผู้ใช้งานอื่น ๆ เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นสถานที่เพื่อรับใช้ชาวชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากส่วนของศาลา พื้นที่สวนรอบ ๆ ยังส่งเสริมแนวคิดชุมชนแบบพอเพียง เพราะนอกจากพืชผักที่ปลูกไว้จะช่วยสร้างภูมิทัศน์อันสวยงามแล้ว ยังสามารถเก็บนำไปจำหน่ายได้อีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมการศึกษาเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนในชุมชน ขณะที่น้ำที่นำมาใช้รดต้นไม้ภายในสวนนั้น ส่วนหนึ่งมาจากหลังคาของศาลา ซึ่งไหลผ่านรางระบายน้ำมาตามท่อก่อนลงมายังบ่อเก็บน้ำ แล้วถูกสูบขึ้นมาใช้รดต้นไม้ด้วยพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องสูบน้ำ ซึ่งมีกำลังไฟมาจากแผงโซลาร์เซลล์ El […]

BURGER BROS DA NANG รีโนเวตบ้านเก่าให้เป็นร้านเบอร์เกอร์ บรรยากาศเหมือนรีสอร์ตริมชายหาด

รีโนเวตบ้านเก่า ในเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นร้านเบอร์เกอร์สไตล์บีชเฮ้าส์ โดยตั้งใจให้ลูกค้าได้สัมผัสและอิ่มเอมไปกับบรรยากาศสบาย ๆ พร้อมกับเบอร์เกอร์แสนอร่อยในมือ ขั้นตอนการ รีโนเวตบ้านเก่า สองคูหาขนาดสองชั้นนี้ เรียกว่าสถาปนิกจาก Studio anettai ได้ลอกคราบหน้าตาของอาคารเดิมออกจนเกือบหมด ไม่ว่าจะเป็นผนังด้านนอกอาคาร และห้องต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน ได้ถูกทุบและปรับผังการใช้งานใหม่ เหลือไว้แต่โครงสร้างหลัก ซึ่งต้องการโชว์เนื้อแท้ของพื้นผิวอันเปลือยเปล่า เช่น เสา คาน และโดยเฉพาะผนังอิฐที่ทาทับด้วยสีขาวบาง ๆ โดยมีมุมไฮไลท์อยู่ที่ผนังอิฐด้วยการนำหลอดไฟนีออนสีชมพูมาขดเป็นรูปเบอร์เกอร์ขนาดยักษ์ ประดับด้วยรูปกิจกรรมริมชายหาด ช่วยสร้างกิมมิกน่ารัก ๆ เข้ากับคอนเซ็ปต์ของร้าน ที่ต้องการให้ทุกคนนึกถึงบรรยากาศสบาย ๆ ยามไปเที่ยวทะเล ร่วมด้วยของตกแต่งอย่าง ไม้เนื้อแข็ง เฟอร์นิเจอร์และโคมไฟหวายสไตล์ทรอปิคัล พรรณไม้เขตร้อน ตลอดจนถึงฝ้าไม้ไผ่สำหรับตกแต่งใต้ท้องพื้นและฝ้าเพดาน โซนที่นั่งชั้นล่างนี้ สถาปนิกได้เจาะพื้นที่ทำเป็นโถงดับเบิ้ลสเปซทะลุขึ้นไปถึงชั้นสอง เพื่อสร้างบรรยากาศให้ที่นั่งรับประทานเบอร์เกอร์ชั้นล่าง และชั้นลอยดูโปร่งสบาย ขณะที่ชั้นสองสถาปนิกได้เปลี่ยนช่องแสงด้านหน้าให้เป็นกระจกใสสูงตั้งแต่พื้นจรดเพดาน ช่วยเปิดรับแสงให้สามารถส่องลงมาถึงด้านล่างได้ในช่วงกลางวัน ลูกค้าสามารถนั่งชมวิวถนนด้านนอกได้เต็มสายตา เป็นการเชื่อมต่อมุมมองและความรู้สึกถึงภายนอกเข้ามาสู่ภายใน โดยลูกค้าที่อยู่ชั้นบนสุดนี้ ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสีสันและความคึกคักของร้านไม่ถูกตัดขาด เชื้อเชิญให้อยากแวะเวียนมานั่งพูดคุย และกินเบอร์เกอร์อร่อย ๆ ดื่มด่ำกับช่วงเวลาแห่งความสุขได้แบบยาว ๆ ตั้งแต่ช่วงเวลากลางวัน […]

EUPHORIA BRIDAL GALLERY โชว์รูมชุดเจ้าสาวที่ซ่อนอยู่ใน ตึกแถวหน้าแคบ คล้ายกล่องดีไซน์เรียบง่าย

รีโนเวต ตึกแถวหน้าแคบ ในเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นโชว์รูมชุดเจ้าสาวสีขาวละมุนตา ที่มองเผิน ๆ แล้วคล้ายกับกล่องกระดาษสีขาวเจาะรูดีไซน์เรียบง่าย ด้านหน้าร้านโดดเด่นด้วยดิสเพลย์ชุดแต่งงานในกล่องกระจก ซ้อนอยู่ภายในอาคารกล่องคอนกรีต เป็นโปรเจ็กต์การเปลี่ยนบ้านตึกแถวเก่าขนาด 3 ชั้น ซึ่งมีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะปัญหาหน้าแคบ แสงส่องเข้ามาไม่ถึง และข้อบกพร่องทางโครงสร้าง เช่น เสาหลายต้น เดิมพื้นที่เคยเต็มไปด้วยฉากกั้น และตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันตก จนทำให้ได้รับผลกระทบจากความร้อนตลอดเวลา จากปัจจัยดังกล่าวได้กลายมาเป็นภารกิจสำคัญของทีมออกแบบจาก ngoac.space ในการปรับปรุงอาคาร เพื่อเปิดเป็นโชว์รูมชุดเจ้าสาวแห่งใหม่บรรยากาศดี ช่วยส่งเสริมชุดเจ้าสาวให้ยิ่งทวีความสวยงาม ดึงดูดลูกค้าให้อยากเข้ามาเยี่ยมชม ทีมออกแบบมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์พื้นที่ เพื่อให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์กับชุดแต่งงาน ผ่านบรรยากาศและงานดีไซน์ที่ขับเสน่ห์ของชุดแต่งงานให้โดดเด่นขึ้น แถมด้วยการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ไปพร้อมกัน ไม่ได้เน้นการขายชุดเพียงอย่างเดียว  โดยชั้นล่างจัดแสดงนิทรรศการบอกเล่าที่มาที่ไปกว่าจะได้ชุดแต่งงานสวย ๆ ก่อนพาขึ้นสู่ชั้นสองเพื่อสัมผัสกับโซนดิสเพลย์จัดแสดงชุดแต่งงานให้ได้เลือกสรร ซึ่งแขวนประดับอยู่บนราวเสมือนเป็นฉากหลังขนานไปกับแนวผนัง ขณะที่ชั้นสามเป็นส่วนออฟฟิศสำหรับพนักงาน ภายใต้โครงสร้างเก่าผู้ออกแบบเลือกปิดผิวบางส่วนที่ไม่ประณีตไว้ แล้วเผยบางส่วนเพื่อสร้างความคอนทราสต์อย่างมีชั้นเชิง เห็นจากเสาคอนกรีตที่เผยให้เห็นร่องรอยความดิบกระด้าง และผิวสัมผัสเปลือยเปล่าขรุขระ ตัดกันกับภาพชุดแต่งงานสีขาวที่แสนนุ่มนวล และด้วยลักษณะอาคารที่เป็นตึกแถว เรื่องแสงสว่างถือเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้ออกแบบจึงกำหนดแหล่งกำเนิดแสงไว้ 2 แห่งบนหลังคา เพื่อดึงแสงลงมายังพื้นที่ชั้นล่าง แล้วกระจายต่อไปยังพื้นที่ส่วนต่าง ๆ […]

NGOI SPACE นำ กระเบื้องหลังคาดินเผา มาออกแบบคอมมูนิตีสเปซ โดดเด่นกลางแยกชานเมืองฮานอย

“กระเบื้องหลังคาดินเผา” กับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการออกแบบคอมมูนิตี้สเปซขนาดยักษ์ที่มีชื่อว่า Ngói Space อาคารอเนกประสงค์ขนาด 5 ชั้น บนพื้นที่หัวมุมถนนนอกกรุงฮานอย ที่นี่มีความพิเศษโดดเด่นอยูที่การออกแบบฟาซาด หรือเปลือกอาคารจาก กระเบื้องหลังคาดินเผา กว่า 20,000 แผ่น เพื่อบอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมจากวัสดุธรรมดาที่คุ้นเคยกันดีในเวียดนาม จุดประสงค์ของการก่อสร้างอาคารหลังนี้ ก็เพื่อให้เป็นเสมือนห้องรับแขกของชุมชน เปิดโอกาสให้ผู้คนได้เข้ามาพักผ่อน หรือทำกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ มีพื้นที่ใช้สอยหลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยร้านกาแฟ พื้นที่อเนกประสงค์สำหรับการสัมมนา และโซนจัดนิทรรศการ และสวนดาดฟ้า มีแรงบันดาลใจของแนวคิดมาจากการแตกกิ่งก้านของต้นไม้ และห้องต่าง ๆ ในถ้ำ สถานที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อกำหนดลักษณะการใช้งานภายในอาคารแล้ว ภายนอกอาคาร สถาปนิกจาก H&P Architects ได้เลือกกระเบื้องหลังคาดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุที่คุ้นเคยกันดีของชาวเวียดนามมาใช้ออกแบบฟาซาด โดยหวังสร้างแรงบันดาลใจในการนำ ‘กระเบื้องที่เต็มไปด้วยหน่วยความทรงจำ’ กลับมาใช้ใหม่ แทนที่จะถูกมองข้ามและทิ้งขว้างไปอย่างเปล่าประโยชน์ เมื่อบ้านเก่าหรืออาคารดั้งเดิมต่างค่อย ๆ ต้องถูกรื้อถอน ตามการเปลียนแปลงของยุคสมัย โดยการนำกระเบื้องมาเรียงซ้อนกันเป็นรูปสามเหลี่ยม สำหรับเป็นชั้นผนังอาคารชั้นนอก ซึ่งถูกซ้อนด้วยผนังและบานหน้าต่างกระจกด้านในอาคารอีกที พื้นที่ว่างระหว่างผนังชั้นนอกกับชั้นใน ที่ได้ร่มเงาจากแผงกระเบื้องฟาซาดได้จัดวางที่นั่งสำหรับพักผ่อนดื่มกาแฟ และทำเปลตาข่ายให้ได้เพลิดเพลินไปกับกลุ่มเพื่อน […]