Studio Visit Archives - Page 4 of 17 - room

โรงสีโภชนา ร้านอาหารเหลาร่วมสมัยในบรรยากาศไทย-จีน

ข้าวต้มกุ๊ย และอาหารเหลา ดูเหมือนจะกลายเป็นอาหารมื้อดึกสไตล์จีนที่แทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมสตรีทฟู้ดของไทยมายาวนาน เมื่อ โรงสีโภชนา พาข้าวต้มกุ๊ยพร้อมเมนูซีฟู้ดทะเลเผามาแปลงโฉมใหม่ให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น สาขาล่าสุดที่ย่านนางลิ้นจี่ จึงนำเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างให้มื้อพิเศษของครอบครัว ด้วยการแปลงโฉมโกดังเก่าริมถนนให้กลายเป็นร้านอาหารบรรยากาศไทย-จีน เปี่ยมชีวิตชีวา โรงสีโภชนา คืออีกหนึ่งแบรนด์ร้านอาหารในเครือ iberry Group ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการนำสตรีทฟู้ดหรืออาหารไทย ๆ ที่เราคุ้นชินมาสร้างสรรค์ในมิติใหม่ ผ่านการยกระดับวัตถุดิบ และการนำเสนอที่ร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็น กับข้าว’กับปลา รส’นิยม หรือแบรนด์ร้านยำน้องใหม่อย่าง เบิร์นบุษบา ฯลฯ โรงสี โภชนาต่อยอดมาจากร้าน โรงสีริมน้ำที่เดิมตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของโครงการ ล้ง 1919 (Lhong 1919) ย่านคลองสาน โดยเน้นเมนูอาหารแบบไทย-จีน ที่หนักไปทางอาหารจีนเมนูมื้อดึก ตามสโลแกน “ซีฟู้ดสดใหม่ ไทยจีนขึ้นเหลา ทะเลเผา ข้าวต้มกุ๊ย & เบียร์วุ้น” สาขาล่าสุดย่านนางลิ้นจี่โดดเด่นด้วยบรรยากาศร้านอาหารจีนร่วมสมัย กลิ่นอายความเป็นจีนที่สนุกสนานมีชีวิตชีวา ตอบโจทย์ลูกค้าครอบครัว ฝีมือการออกแบบของ Atelier2+ สตูดิโอออกแบบชั้นนำของไทย ผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบร้านอาหารหลายแบรนด์ของ iberry Group ตามไปฟังคุณวรพงศ์ มนูพิพัฒนพงศ์ ตัวแทนทีมออกแบบบอกเล่าเบื้องหลังกระบวนการออกแบบที่นี่ “ส่วนใหญ่แบรนด์ต่าง […]

ANTIQUARIAN BOOK SHOP IN JIMBOCHO ออกแบบร้านหนังสือเก่า ที่มีดีไซน์ไม่เก่าเลย

เอาใจบรรดาหนอนหนังสือ กับการพาไปดูร้านหนังสือเก่าดีไซน์เท่ ที่ดีไซน์ไม่เก่าเลย ซึ่งตั้งอยู่ในย่านจิมโบโช (Jimbocho) ย่านรวมร้านขายหนังสือเก่าที่ใหญ่ที่สุดกลางกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น Antiquarian Book Shop in Jimbocho ดูโดดเด่นอยู่บริเวณหัวมุมของตรอกเล็ก ด้วยผนังที่ทำจากแผ่นอะลูมิเนียมมันวาว ต่างจากร้านทั่ว ๆ ไปในย่าน จุดเริ่มต้นของการออกแบบร้านหนังสือแห่งนี้ มาจากเจ้าของร้านกับหุ้นส่วนอีก 4 คน ตัดสินใจอยากปรับปรุงร้าน ซึ่งแต่ละคนต่างชื่นชอบและซื้อขายหนังสือโบราณ จึงต้องการสถานที่ที่สามารถจัดเก็บหนังสือโบราณทรงคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นหนังสือมือสองจากตะวันตก หนังสือญี่ปุ่นโบราณ ม้วนกระดาษแขวน และม้วนหนังสือ แต่ถึงแม้จะเป็นร้านหนังสือเก่า เจ้าของก็อยากให้มีบรรยากาศสบาย ๆ ดูทันสมัย สตูดิโอ n o t architects studio ผู้รับหน้าที่ออกแบบ จึงเลือกปิดผนังด้วยแผ่นอะลูมิเนียม วัสดุที่มีความทนทาน และสื่อถึงความสมัยใหม่ ซึ่งเป็นกิมมิกที่สร้างความคอนทราสต์กันได้อย่างดี ระหว่างหนังสือโบราณกับโลกยุคปัจจุบัน สถาปนิกเลือกใช้แผ่นอะลูมิเนียมมาห่อหุ้มผนังอาคารฝั่งที่อยู่ติดกับตรอกทางเดินเพียงด้านเดียว ก่อนจะม้วนกลับเข้ามาทำหน้าที่เป็นผนังให้แก่พื้นที่ด้านในด้วยดีไซน์ที่ดูพลิ้วไหวอิสระ เว้นตรงกลางสำหรับเป็นทางเดินดูหนังสือได้จากทั้งสองฝั่ง บนผิวผนังจะมีรูเล็ก ๆ เป็นระยะเท่ากัน สำหรับใช้ล็อกขาชั้นวางหนังสือตามความต้องการ ไม่ว่าจะเชื่อมชั้นวางให้เป็นชั้นยาวสำหรับตั้งหนังสือหลาย ๆ เล่ม หรือถอดชั้นวางออกเพื่อแขวนม้วนหนังสือบนผนังได้ […]

SORVETE DA RESERVA ICE CREAM SHOP ออกแบบร้านไอศกรีมยุค NEW NORMAL

ร้านไอศกรีมอารมณ์ไม้ ที่ขอเน้นแบ่งพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน ตอบรับยุค New Normal ตอบโจทย์ความปลอดภัยด้านสุขภาพและงานบริการ อย่าง ร้านค้า และร้านอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจทั้งต่อตัวลูกค้าและผู้ให้บริการเอง ดังตัวอย่างการออกแบบร้านขายไอศกรีม ในประเทศบราซิลแห่งนี้ ดีไซเนอร์จากสตูดิโอ PORO Arquitetura ได้ออกแบบร้านไอศกรีมให้บรรจุอยู่ในอาคารขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพียง 40 ตารางเมตร โดยได้กำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วน ด้านหน้าเป็นพื้นที่นั่งพักคอยเล็ก ๆ ระหว่างกำลังรอสั่งซื้อไอศกรีม ซึ่งที่นี่เน้นการซื้อกลับไปรับประทานมากกว่าการนั่งรับประทานในร้าน ขณะที่เคาน์เตอร์ของพนักงานจะถูกกั้นด้วยแผ่นโปร่งใส ที่เจาะช่องว่างเล็ก ๆ ไว้สำหรับจ่ายเงินและรับไอศกรีม ลึกเข้าไปด้านในอีกชั้นคือส่วนของพื้นที่ครัว ฐานการผลิตไอศกรีมสูตรโฮมเมดรสชาติแสนอร่อย ขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งกลิ่นอายของงานดีไซน์ โดยมีไม้ และธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนช่วยเติมเต็มยุค New Normal นอกจากการวางผังพื้นที่ใช้งานเเล้ว ความโดดเด่นของที่นี่ คือการทำโครงสร้างไม้ตกแต่งไล่ลงมาจากฝ้าเพดาน ทำเป็นชั้นวางของ เรื่อยลงมาจนถึงการเป็นเคาน์เตอร์ไม้ริมผนังกระจกหน้าร้าน ไม่ลืมตกแต่งด้วยกระถางต้นไม้ที่ปลูกพรรณไม้ในร่มเขตร้อนหลายชนิด ช่วยเติมบรรยากาศความสดชื่นได้เป็นอย่างดี ก่อนเพิ่มสีสันให้ร้านด้วยกระเบื้องไฮดรอลิกสีน้ำเงิน ที่ดีไซเนอร์เลือกมาปูพื้น โดยอ้างอิงจากสีของทะเลสาบ Almécegas Lake ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของเมือง Pedrinhas ซึ่งเป็นที่ตั้ง เช่นเดียวกับกระเบื้องสีขาวด้านหน้าเคาน์เตอร์ ที่ออกแบบให้มีเส้นสีน้ำเงินตัดผ่านแบบทแยงมุม ก่อนนำมากรุลงไปแบบแรนดอมดูสนุกและสดใสมากขึ้น ออกแบบ : PORO […]

82 District จุดเริ่มของชุมชนครีเอทีฟแห่งใหม่ย่านเจริญกรุง 82

เมื่อสำนักงาน คาเฟ่ ร้านค้า และม็อกเทลบาร์แห่งใหม่ได้สร้างความเคลื่อนไหวล่าสุดให้กับหัวมุมซอยเจริญกรุง 82 ที่นี่จึงได้ชื่อว่า 82 District ย่านใหม่ของชุมชนนักสร้างสรรค์ ที่ดูเหมือนจะมีจุดเริ่มต้นมาจากการขยับขยายสำนักงานใหม่ของ Trimode Studio หนึ่งในสตูดิโอออกแบบแนวหน้าของไทย อาจกล่าวได้ว่า การย้ายสำนักงานมายังอาคารแห่งใหม่ของ Trimode พร้อม ๆ กับการเปิดตัว Tangible ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่คาเฟ่ และไลฟ์สไตล์ช็อปในที่เดียวกันคือจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่ช่วยปลุกบรรยากาศของปากซอยเจริญกรุง 82 หรือ 82 District ให้เริ่มคึกคัก ทีมงานจึงอยากต่อยอด พร้อมความตั้งใจที่จะส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ใหม่ให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน พร้อมเสพงานดีไซน์ดี ๆ “ตั้งแต่มีร้าน Tangible คนก็เริ่มมาเดินเล่นในซอยกัน เราเลยนึกถึงโมเดลในต่างประเทศ ที่ร้านรวงต่าง ๆ จะช่วยสร้างความเป็นย่าน จึงพยายามดึงงานดีไซน์ หรือศิลปะมาสร้างจุดสนใจให้ย่านนี้” คุณชินภานุ อธิชาบดี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Trimode Studio เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่าเมื่อผู้เช่าอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้ามของร้าน Tangible ย้ายออกไปพอดี ทางทีมงานจึงทำการขยับขยายให้ภาพของย่านสร้างสรรค์แห่งนี้ชัดเจนขึ้น โดยปรับเปลี่ยนชั้นล่างของอาคารใหม่แห่งนี้ ให้กลายเป็นงานออกแบบร้านค้าหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแบบที่ Trimode ไม่เคยทำมาก่อน […]

FABCAFE NAGOYA โชว์ศิลปะงานไม้ดั้งเดิมหาชมยาก ให้คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ได้สัมผัส

หยิบศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่น มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ของ FabCafe Nagoya สะท้อนภูมิปัญญาการใช้ไม้แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัส ไปพร้อมกับไลฟ์สไตล์คาเฟ่ฮอปปิ้งที่คนยุคนี้นิยม FabCafe Nagoya โปรเจ็กต์งานออกแบบคาเฟ่ของสถาปนิกสัญชาติญี่ปุ่น Suppose Design Office ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการหยิบศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่น มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ของคาเฟ่ทรงกล่องคอนกรีตขนาด 280 ตารางเมตร ที่ “Hisaya-odori Park”แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองนาโกย่า ภายในได้รับการออกแบบให้บรรจุด้วยงานไม้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสะท้อนภูมิปัญญาการใช้ไม้มาออกแบบที่พักอาศัยของชาวญี่ปุ่น เด่นสะดุดตากับโครงหลังคาไม้ ที่อยู่ใต้ฝ้าเปล่าเปลือยโชว์ให้เห็นท่องานระบบ สร้างความรู้สึกราวกับยกบ้านไม้โบราณมาคลุมพื้นที่เอาไว้ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่สัมผัสได้ยาก ท่ามกลางความเจริญของเมืองคอนกรีตยุคใหม่ นอกจากนี้ยังมีการนำไม้มาตกแต่งบริเวณหน้าเคาน์เตอร์ รวมถึงเหล่าเฟอร์นิเจอร์ไม้หลายชิ้น โดยเฉพาะโครงขาที่โชว์ภูมิปัญญาการเข้าไม้ที่ไม่ใช้นอต หรือสกรูใด ๆ ทำให้ผู้มาเยือนคาเฟ่ได้สัมผัสทั้งบรรยากาศความอบอุ่นที่มีไม้เข้ามาเป็นส่วนประกอบ เหนือกว่านั้นคือการได้มองเห็นเสน่ห์อันน่าทึ่งของศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่นดั้งเดิม นำมาสู่การมองเห็นคุณค่าและการอนุรักษ์ตามมา Did You Know FabCafe ในไทยนั้น ดำเนินงานโดย FabCafe Bangkok ตั้งอยู่ที่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center(TCDC) สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือชมผลงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามลิงก์ข้างต้น […]

THE BARISTRO ASIAN STYLE รีโนเวตบ้านเก่าเชิงดอยสุเทพ เป็นคาเฟ่ไม้กลิ่นอายโมเดิร์นเอเชียน

The Baristro Asian Style คาเฟ่สาขาใหม่ภายใต้แบรนด์ The Baristro ที่เกิดจากการรีโนเวตบ้านเก่าชั้นเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ ให้กลายเป็นคาเฟ่ไม้ โดดเด่นอยู่บนเนินหญ้าสีเขียว DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio ผลงานการออกแบบโดย pommballstudio ภายใต้คอนเซ็ปต์การนำภาพจำของบรรยากาศแบบเอเชียหลากหลายประเทศมาผสมผสานกันแบบหยิบเล็กผสมน้อย โชว์วัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อบอกเล่าภาพความเป็น Asian Style ให้ยิ่งชัดเจนขึ้น The Barissian ต้อนรับทุกคนด้วยอาคารหลักด้านหน้า โดยออกแบบให้เป็น Speed Bar สถาปนิกเล่าว่า เดิมพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นบ้านคอนกรีตชั้นเดียวมีสภาพทรุดโทรมมาก่อน หลังจากสำรวจพื้นที่แล้ว จึงนำมาสู่แนวคิดการออกแบบอาคาร ด้วยการยังคงเก็บรายละเอียดโครงสร้างที่แข็งแรงไว้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเสาเดิม และหลังคาแบบ Flat Slab เสมือนเป็นเครื่องช่วยย้ำเตือนถึงที่มาก่อนเปลี่ยนโฉมใหม่ ให้บ้านเก่ากลายเป็นคาเฟ่ไม้บนเนินหญ้า ที่มองทะลุเห็นบรรยากาศด้านในผ่านผนังกระจกใสรอบทิศ “ตอนวางมาสเตอร์แปลนเราพยายามวางอาคารให้แยกกัน รวมถึงอาคารหลังอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในเฟสต่อไป โดยมีแรงบันดาลใจมาจากหมู่บ้านของชาวเอเชีย ซึ่งมีอาคารอยู่คนละหลัง แล้วถูกเชื่อมด้วยคอร์ตยาร์ด ลานวัด หรือลานกลางหมู่บ้าน ดังนั้นเมื่อเข้าด้านในแล้ว เหมือนเรากำลังเดินอยู่ในหมู่บ้าน ผ่านเส้นทางสัญจรที่ลื่นไหล และค่อนข้างกว้าง สำหรับให้ลูกค้าได้ใช้เวลาพักผ่อนเดินเล่น ออกไปสัมผัสกับมุมมองภายนอกต่าง ๆ […]

CITY LIVING ROOM คอมมูนิตี้มอลล์ สุดคูลริมแม่น้ำ ห้องนั่งเล่นแห่งใหม่ประจำเมือง

โปรเจ็กต์งานออกแบบ คอมมูนิตี้มอลล์ สีขาว ให้เป็นพื้นที่พบปะและทำกิจกรรมใหม่ของเมืองจินหัว บนพื้นที่ทำเลดีริมแม่น้ำสายเล็ก ๆ ผลงานการออกแบบโดย Mur Mur Lab หลังจากชิงช้าสวรรค์ของเล่นชิ้นสุดท้ายถูกรื้อถอนออกไปจากสวนสนุกในเมืองจินหัว ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายเล็ก ๆ ห่างจากทะเลสาบ Mingyue ไปทางใต้ 300 เมตร ที่ดินผืนนี้ก็กลายเป็นพื้นที่รกร้าง และอยู่ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน จนกระทั่งปี 2021 ที่นี่ได้รับการพลิกฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้ง ภายใต้บทบาทใหม่ด้วยการออกแบบให้เป็น คอมมูนิตี้มอลล์ ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอยราว 1,050 ตารางเมตร ประกอบด้วยกลุ่มอาคารสีขาวขนาดใหญ่ เปลือกอาคารดีไซน์คล้ายชายกระโปรงโบกพลิ้ว โดยตั้งใจให้ที่นี่เป็นเสมือนห้องนั่งเล่นใหม่ของชาวเมือง “สัญลักษณ์ใหม่ของเมือง” ที่ว่านี้ คือผลงานการออกแบบโดย Mur Mur Lab โดยต้องการให้ที่นี่มีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมดูแตกต่างจากอาคารทั่วไป ขับเคลื่อนแนวคิดที่เป็นนามธรรมภายใต้โจทย์ว่า ที่นี่คล้ายโรงละคร หรือเปรียบการใช้ชีวิตของผู้คนเหมือนละครที่ดำเนินชีวิตไปตามบทบาทของตนเอง จากแนวคิดดังกล่าวถูกคลี่คลายออกมาเป็นรูปธรรม ผ่านตัวอาคาร และพื้นที่ใช้สอยที่ตอบสนองต่อการใช้ชีวิต เน้นให้เกิดความรู้สึกสบายและผ่อนคลาย ไม่ต่างจากชื่อ “City Living Room” แต่ละกลุ่มอาคารประกอบด้วยร้านกาแฟ ร้านค้า พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมต่าง […]

JOUER ชุมชนสร้างสรรค์ในกลุ่มบ้านเก่าย่านสุขุมวิท

ท่ามกลางความพลุกพล่านของย่านใจกลางกรุง ซอยสุขุมวิท 32 คือซอยเล็ก ๆ ที่แทรกตัวอยู่ข้างอาคารคอนโดมิเนียมสูงตระหง่าน โดยมี Jouer (ฌูเอ้) ชุมชนสร้างสรรค์ขนาดย่อมตั้งอยู่บนที่ดินด้านในสุด ประกอบไปด้วยร้านตัดผม คาเฟ่ขนมหวาน ร้านทำเล็บ ร้านเฟอร์นิเจอร์ สำนักงานสถาปนิก สตูดิโอสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์ Risograph ไปจนถึงแกลเลอรี่ศิลปะ ทั้งหมดนี้หลอมรวมอยู่ใน “กลุ่มบ้าน” ย้อนยุค 4 หลังท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่ม ที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งรวมคนทำงานสร้างสรรค์ เปิดให้ผู้ที่ชื่นชอบศิลปะเข้ามาเยี่ยมชมได้อย่างอิสระ แถมในบางช่วงยังมีตลาดนัดศิลปะตามวาระอีกด้วย Jouer มีจุดเริ่มต้นจาก Dai Mogi เจ้าของร้านตัดผม Rikyu ในเครือของ Boy Tokyo ที่มีชื่อเสียงมานานแล้วกว่า 20 ปี ในประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้านการผสมผสานการตัดผมเข้ากับศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ และได้เลือกกรุงเทพฯ เป็นสาขาแรกในต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2553 จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา Rikyu ได้ย้ายถิ่นฐานจากซอยสุขุมวิท 24 มายังซอยสุขุมวิท 32 แห่งนี้ แต่แทนที่จะทำร้านตัดผมเพียงอย่างเดียว พวกเขาได้ชักชวนเพื่อน ๆ ในวงการสร้างสรรค์หลายสาขาวิชาชีพให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกครอบครัวใหญ่ด้วยกัน […]

KAITHONG ORIGINAL สาขาใหม่สีขาวบริสุทธิ์ ตัวแทนความจริงใจที่บอกเล่ารสชาติอาหารคุณภาพ

ไก่ทอง ออริจินัล  สาขาเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ถ่ายทอดบรรยากาศธรรมชาติอันบริสุทธิ์ เหมือนอาหารที่ปรุงจากใจทุกเมนู ไก่ทอง ออริจันัล ร้านอาหารไทยสไตล์ออเรียลทัลที่ส่งต่อความอร่อยมายาวนานกว่า 24 ปี ล่าสุดกับการเปิดสาขาที่ 4 ที่เซ็นทรัล เอ็มบาสซี โดยคุณหนู-แสงอรุณ มนตรีวัต ผู้บริหารและสานแบรนด์ต่อจากคุณแม่อรุณี มนตรีวัต ยังคงเน้นย้ำคุณภาพอาหารที่ปรุงจากใจ เพื่อมอบให้ลูกค้าได้รับประทานอาหารอร่อย ๆ ไม่ว่าจะสาขาไหนรับรองไม่ผิดหวัง และสำหรับสาขานี้ ขอเน้นการบริการที่โฟกัสและดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ กับจำนวนที่นั่งที่รองรับลูกค้าเพียง 12 โต๊ะเท่านั้น ท่ามกลางบรรยากาศปลอดโปร่งสบาย ๆ สัมผัสได้ถึงความฮาโมนี มีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนช่วยเติมเต็มเรื่องราว สื่อถึงความความรักอันบริสุทธิ์และจริงใจ เหมือนแม่ที่คัดสรรแต่อาหารคุณภาพดีให้คนในครอบครัวได้รับประทาน โดยครั้งนี้ดีไซเนอร์จาก Trimode Studio ขอเลือกหยิบแนวคิดความเป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ เพราะธรรมชาติถือเป็นต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง และเป็นผู้ให้อย่างไม่มีเงื่อนไข ดุจเดียวกับความรักของแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ร้านไก่ทองตั้งใจมอบให้แก่ลูกค้ามาโดยตลอด  จากความหมายอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ได้รับการคลี่คลายผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความเป็นงานคราฟต์ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างงานอันเป็นเอกลักษณ์ของ Trimode Studio รวมเข้ากับโจทย์ของคุณหนูที่ต้องการให้ร้านมีบรรยากาศลักชัวรี่เหนือกาลเวลาและเรียบง่ายไปพร้อมกัน ภายใต้ข้อดีของทำเลที่มีช่องแสงขนาดใหญ่ถึงสามด้าน ดีไซเนอร์จึงนำแสงมาเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพื่อเชื่อมโยงแสงภายนอกเข้ามาสู่ภายใน กลายมาเป็นงานดีไซน์ที่ชวนให้จินตนาการถึงถ้ำในธรรมชาติ ที่พาทุกคนลัดเลาะผ่านสเปซทางเข้าด้านหน้า ก่อนเผยให้เห็นสเปซโล่งกว้างด้านใน […]

EASTERNGLASS CAFE คาเฟ่ในโรงงานทำแก้วแฮนด์เมด ได้อารมณ์อินดัสเทรียลสุดเท่แบบแท้ ๆ

ปรับตัวเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในยุคโควิด-19 ให้คนไทยรู้จักแบรนด์แก้วทำมือสุดประณีตรายใหญ่แห่งเดียวในกรุงเทพฯ กับการเปลี่ยนพื้นที่ในโรงงานให้เป็นคาเฟ่ เต็มอิ่มกับบรรยากาศอินดัสเทรียลสุดเท่ ๆ พร้อมเล่าเรื่องราวความเป็นมาของโรงงานแก้วบูรพา หรือ EasternGlass Manufacturer Co., Ltd ที่ดำเนินงานมากว่า 70 ปี EasternGlass Cafe จากพื้นที่ที่เคยเป็นส่วนของสำนักงานด้านหน้า มาวันนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็น EasternGlass Cafe สไตล์อินดัสเทรียลสุดเท่ ให้บรรยากาศของการมาเยือนโรงงานแท้ ๆ เชื่อมต่อกับโกดังขนาดใหญ่ เปิดต้อนรับลูกค้าให้เข้ามาพักผ่อนจิบกาแฟอร่อย ๆ พร้อมกับช้อปปิ้งแก้วแฮนด์เมดสวย ๆ เกรดส่งออกสุดประณีต โดยฝีมือจากช่างเป่าแก้วชาวไทย ซึ่งยังคงดำรงวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมมาตลอด ที่นี่จึงถือเป็นโรงงานผลิตแก้วทำมือเพียงแห่งเดียวและเก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ ตลอดการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การทำโป๊ะแก้วครอบโคมไฟสมัยคุณปู่ เรื่อยมาถึงรุ่นคุณพ่อ คุณแม่ และคุณอา ที่เน้นส่งออกผลิตภัณฑ์แก้วหลากหลายรูปแบบ จนถึงทายาทรุ่นที่สามในยุคปัจจุบัน สินค้าของโรงงานเน้นส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศกว่าแปดสิบเปอร์เซ็นต์ กระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ไปทั่วโลก ทำให้ไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นโรงแรม ร้านอาหาร และแบรนด์ของตกแต่งบ้าน ในแถบประเทศยุโรปและสแกนดิเนเวียน โรงงานจึงถึงคราวต้องปรับตัวเร็วกว่าที่ตั้งใจไว้ ด้วยการบริหารของคุณปีเตอร์-พีรัท จงอัศญากุล โดยเขาได้เล่าถึงการกลับมาตีตลาดในไทย และเปิดพื้นที่ให้ลูกค้าได้เข้ามาสัมผัสคาเฟ่ในโรงงานว่า “ช่วงหลังเราเพิ่งเห็นเทรนด์เมืองไทยว่า ลูกค้าให้ความสนใจกับการตกแต่งบ้านมากขึ้น รวมทั้งเหล่าดีไซเนอร์ที่ต้องการพร็อปส์ที่เป็นงานคราฟต์ […]

IN HARMONY WITH NATURE CAFE ผสานสีเขียวตัวแทนธรรมชาติ ลงในคาเฟ่สไตล์ลอฟต์กลางกรุงนิวยอร์ก

คอนกรีตดิบกระด้างที่ถูกแต่งแต้ม และแทรกด้วยองค์ประกอบสีเขียวดูตัดกันภายใน คาเฟ่นิวยอร์ก แห่งนี้ หากมองให้ลึกลงไปถึงแนวคิด ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงการใช้สีเขียวเพื่อสร้างความสะดุดตาเท่านั้น แต่มีความหมายเชิงสัญญะซ่อนอยู่ เพื่อสื่อถึงเป็นธรรมชาติที่คนในเมืองส่วนใหญ่ต่างโหยหา ท่ามกลางการใช้ชีวิตแบบเร่งรีบวุ่นวาย จนแทบหามุมสงบ ๆ และผ่อนคลายอย่างแท้จริงไม่ค่อยจะเจอ สตูดิโอ Reutov Design จึงขอจัดเสิร์ฟความต้องการนั้น ให้บรรจุลงใน คาเฟ่นิวยอร์ก แห่งใหม่ อีกหนึ่งโปรเจ็กต์อันโดดเด่นของทีม ด้วยการบูรณะพื้นที่ขนาด 46 ตารางเมตร ที่อยู่บริเวณบนชั้นล่างของอาคารเก่าให้กลายเป็นคาเฟ่สีเขียวโปร่งโล่ง ผสมผสานการตีความสร้างสรรค์ของการออกแบบและองค์ประกอบที่หยิบยกไอเดียมาจากธรรมชาติ ผ่านการใช้งานที่สดใสและมีสีสัน ภายในห้องคอนกรีตเผยผิวเปลือยเปล่า สีเขียวถูกนำมาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ กระตุ้นให้ทุกคนเกิดความกระปรี้กระเปร่า สิ่งที่เห็นเด่นชัดคือเหล่าท่อตกแต่งที่ชวนให้จินตนาการถึงลำต้นของไผ่ขนาดใหญ่ผาดผ่านอยู่บนฝ้าเพดาน และโชว์ตัวสวยเท่ในแบบสไตล์ลอฟต์ ซึ่งให้ทั้งมุมมองที่แปลกตาและทันสมัย นอกจากนั้นยังมีไอเดียการนำแผ่นกระจกโทนสีเขียวมาติดตั้งให้ตัดกันกับพื้นหลังคอนกรีตผิวขรุขระ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนผนังด้านหลังที่นั่ง และด้านหน้าเคาน์เตอร์ พร้อมกับจัดวางเก้าอี้ PAPYRUS RONAN & ERWAN BOUROULLEC by Kartell ด้วยการผสมผสานกันทั้งวัสดุแก้วและท่อโลหะสีเขียว จึงนับเป็นการถ่ายทอดให้เห็นว่า รูปแบบธรรมชาติและสถาปัตยกรรมสมัยใหม่นั้น สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไร อีกทั้งสีเขียวยังช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ ผ่อนคลายและมีสมาธิขึ้น ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของการออกแบบคาเฟ่กลางเมือง เพื่อให้ที่นี่เป็นดังโอเอซิสใช้หลบพักจากความวุ่นวาย แล้วมาเพลิดเพลินไปกับกาแฟรสเลิศ และฟังดนตรีไพเราะ ก่อนก้าวออกไปนอกร้านพร้อมลุยชีวิตกลางมหานครนิวยอร์กอย่างกระปรี้กระเปร่า ออกแบบ […]

FLAT+WHITE CAFE คาเฟ่ขาวนวลมินิมัลในย่านทองหล่อ

ถ้าถามว่าเมนูกาแฟอะไรคือเอกลักษณ์ของออสเตรเลีย ประเทศต้นกำเนิดกระแสกาแฟ Thrid Wave ก็คงบอกได้ทันทีว่าคือ Flat White ประกอบกับที่เจ้าของร้าน(และบ้านที่ชั้นบน) เคยไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เมื่อกลับมาไทยเขาจึงเปิดร้านกาแฟของตัวเองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า Flat+White Cafe เพื่อบ่งบอกตัวตนและความผูกพันกับกาแฟที่นั่น “ความนุ่มละมุนจากครีมนม” คือคอนเซ็ปต์ที่ถูกนำมาใช้ สองส่วนหลักที่เห็นได้ชัดคือ “สีสันบรรยากาศ” และ “เส้นสายโค้งรับต่อเนื่อง” ตลอดทั้งโครงการ การเลือกใช้ “สีขาว” เป็นหลักนี้ เพื่อสื่อถึงความนวลเนียนของนมบนกาแฟที่ถูกเจือด้วยสีน้ำตาลอ่อน ๆ ผนวกกับพื้นผิวที่ใช้เทคนิคปูนปั้นสร้างความนูนต่ำเกิดเป็นแสงเงาคล้ายคลื่นบาง ๆ ทำให้รู้สึกถึงความนุ่มละมุนมากยิ่งขึ้น เปรียบได้กับการที่เมื่อเข้าไปใช้บริการร้านแห่งนี้ ก็เหมือนได้เข้าไปอยู่ในครีมนมอันนวลเนียน อีกส่วนคือ “เส้นสายต่อเนื่อง” ที่ถูกใช้ตั้งแต่ฟาซาดภายนอก จนไหลเข้าสู่ภายในนั้นเปรียบเหมือนเทคนิค Latte Art ของการเทแบบ Free Pouring การสร้างลวดลายที่เกิดจากการซ้อนทับของชั้นเลเยอร์จากนม เมื่อถูกเทลงไปแล้วส่ายสะบัดจนเกิดเป็นลวดลาย ภายนอกนั้นใช้สเตนเลสแผ่นทำสีขาวด้านซ้อนเรียงกันและโค้งรับขับเน้นบริเวณทางเข้าไหลเข้าสู่ภายใน ทุกพื้นที่มีการเน้นด้วยเส้นและการซ้อนกันของฝ้าเพดาน สร้างความต่อเนืองโค้งมนช่วยลบความรู้สึกเป็นเหลี่ยมของอาคาร “เมื่อจะออกแบบร้านการแฟร้านนี้ ผมอยากให้มันร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกันไปตลอดทั้งอาคาร ตั้งแต่แรกเห็นที่จากภายนอกจนเข้าสู่ภายใน ไปจนถึงทุก ๆ องค์ประกอบ เช่น ลวดลาย สีสัน […]