room Archives - Page 14 of 139 - room

AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค

Akanee ร้านอาหารไทยโบราณ แรงบันดาลใจจากเตาไฟ ตั้งอยู่ภายในโครงการ Earth Ekamai โดยมีเชฟเป่าเป้ – เจสสิก้า หวัง และเชฟเอียน – พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย มาช่วยกันสร้างสรรค์เมนูอาหารจากสูตรตำรับดั้งเดิม เพื่อนำพาผู้คนยุคนี้ให้ได้สัมผัสกับรสชาติอาหารที่ไม่คุ้นเคย หรือหารับประทานยาก อิ่มอร่อยในบรรยากาศแบบ Casual Dining DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Tastespace.co จากชื่อ Akanee (อัคนี หรือไฟ) เป็นการตั้งชื่อร้านและสื่อสารอย่างตรงมาตรงไป เพราะไฟถือเป็นสิ่งสำคัญของการประกอบอาหาร จุดกำเนิดเมนูต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปิ้ง ย่าง ผัด ทอด ต้ม นึ่ง ฯลฯ ที่ล้วนแต่ต้องใช้ไฟทั้งสิ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการนำมาสู่การตีความในแง่ของการออกแบบ ทีมผู้ออกแบบจาก Tastespace.co จึงหยิบประเด็นของการใช้เตาไฟหรือ “เตาอั้งโล่” ที่ต้องควบคุมไฟโดยใช้พัดโบกเตาเครื่องจักสานไม้ไผ่ทรงสี่เหลี่ยมเพื่อใช้เร่งไฟ จากองค์ความรู้ดังกล่าว จึงถูกเลือกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์และแรงบันดาลใจในการออกแบบตกแต่งร้าน ดังนั้นเพื่อเน้นสื่อสารถึงความเป็นครัวไทย และบอกเล่าถึงเมนูเด่นของร้านที่เน้นการย่าง โดยคุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช จึงได้ทำการรีเสิร์ชข้อมูลต่าง ๆ หลังจากทราบความพิเศษของอาหารที่เชฟทั้งสองท่านตั้งใจรังสรร ก่อนตกตะกอนจนกลายเป็นร้านที่มีบรรยากาศหรูหรา แต่มีความแคชวลสบาย […]

neera retreat hotel โรงแรมดีต่อโลกและดีต่อใจ นิยามการพักผ่อนใหม่ริมแม่น้ำท่าจีน

neera retreat hotel ทอดใจไปกับวิวริมแม่น้ำท่าจีน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กับโรงแรมที่ให้ความสำคัญกับกาย ใจ และโลกไปพร้อมกัน neera retreat hotel โรงแรมที่มีแนวทางการสร้างสถานที่พักผ่อนให้เป็นมากกว่าแค่โรงแรม แต่เป็นเสมือนสถานที่สร้างแรงบันดาลใจแห่งการใช้ชีวิต คู่กับแนวคิด Eco-conscious เพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้แก่ธุรกิจโรงแรม ลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง และลดขยะเหลือทิ้งจากงานภาคบริการต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด กับภารกิจสำคัญที่อยากส่งต่อและแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ให้ผู้เข้าพักได้รับกลับไป จากชื่อ neera ซึ่งแปลว่า หยดน้ำ ที่นี่จึงเชื่อเรื่องการส่งต่อเปรียบดังหยดน้ำที่กระทบลงบนผิวน้ำ ก่อนกระเพื่อมเป็นวงกลมขนาดใหญ่แผ่กว้างออกไป จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่สามารถสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้นี้จึงสมกับสโลแกนของโรงแรมที่ว่า “be the start of the ripple.” โดยเฉพาะด้านการตระหนักรู้ที่มีต่อโลกและจิตใจของตนเอง แนวคิดดังกล่าวมาจาก 3 พี่น้อง ผู้ร่วมก่อตั้ง neera retreat hotel อย่างคุณซอย – วริวรรณ์ วิทยฐานกรณ์ คุณซาน – วิชฌ์ วิทยฐานกรณ์ […]

ออกแบบระดับที่นั่งในคาเฟ่ สูงเท่าไหร่? จึงเหมาะสม

ออกแบบคาเฟ่ อย่าลืม! เช็คระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ในคาเฟ่ ระดับไหนเหมาะสม นั่งแล้วสบาย อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือกเฟอร์นิเจอร์อย่าง โต๊ะ และเก้าอี้ สำหรับใช้เป็นที่นั่งในคาเฟ่ นอกจากจะเน้นดีไซน์ที่สวยงาม คำนึงถึงพฤติกรรมของลูกค้า และเข้ากับธีมการออกแบบตกแต่งแล้ว ในขั้นตอน ออกแบบคาเฟ่ อย่าลืมเช็คระดับความสูงของเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นให้สอดคล้องกัน เช่น สตูลบาร์ที่มีหลายความสูง ควรเลือกให้เหมาะกับความสูงของเคาน์เตอร์บาร์ หรือเก้าอี้สำหรับใช้ภายนอกที่มักมีความสูงมากกว่าเก้าอี้ที่ใช้ภายใน 3-5 เซนติเมตร จึงต้องเลือกให้พอดีกับความสูงของโต๊ะ เพื่อให้ลูกค้าสามารถรับประทานอาหารและเครื่องดื่มได้สะดวก ดังจะเห็นได้จากภาพแสดงระยะความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ 4 ตัวอย่าง ที่เรานำมาฝากกันนี้ ระยะความสูงของเก้าอี้และโต๊ะรับประทานอาหาร หากคาเฟ่มีเสิร์ฟอาหารจานหลักด้วย ก็ควรใช้โต๊ะที่มีความสูงตามมาตรฐานโต๊ะรับประทานอาหารทั่วไป เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานรับประทานอาหารได้สะดวก ระยะความสูงของสตูลบาร์กับเคาน์เตอร์ สำหรับคาเฟ่ที่มีเคาน์เตอร์ล้อมรอบส่วนครัว เคาน์เตอร์ไม่ควรมีความสูงมากจนเกินไป เพื่อให้ลูกค้าสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบาริสต้าหรือเชฟได้ ระยะความสูงของสตูลบาร์กับบาร์ มักเป็นความสูงของเคาน์เตอร์แบบสองระดับ ให้ผู้ใช้งานสังเกตการณ์การทำงานของบาริสต้าได้ ควรเลือกความสูงของเก้าอี้สตูลให้สอดคล้องกับความสูงของเคาน์เตอร์ และมีที่พักขาเพื่อให้ผู้ใช้งานนั่งได้สบาย เรียบเรียง : Phattararaphonภาพประกอบ : คณาธิป สามารถตามไปอ่านไอเดียดี ๆ เพิ่มเติมได้จากในเล่ม 100 BEST DESIGN CAFES 100 คาเฟ่ที่ได้รับการรวบรวมโดยกองบรรณาธิการ room […]

PINN’N PAN HOUSE บ้านฟาร์ม ดีไซน์โมเดิร์น

บ้านฟาร์ม ดีไซน์โมเดิร์นกลางแปลงเกษตร และฟาร์มสุกร อีกหนึ่งตัวอย่างพื้นที่ใช้ชีวิต ที่ผสานกับพื้นที่ธุรกิจอย่างลงตัว พร้อมบรรยากาศการอยู่อาศัยที่โปร่งสบายท่ามกลางธรรมชาติเรียบง่าย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Forx Design Studio บ้านฟาร์ม หลังนี้ ได้แรงบันดาลใจจากคู่สามี-ภรรยาเจ้าของบ้าน ที่ท่านหนึ่งทำงานด้านวิศวกรรมอากาศยาน และอีกท่านเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น การออกแบบบ้านหลังนี้เกิดขึ้นภายใต้โจทย์ ที่ต้องการให้ 10% ของที่ดินเป็นที่พักอาศัย 40% เป็นพื้นที่ของฟาร์มสุกร และ 50% ที่เหลือเป็นพื้นที่เกษตรกรรมแบบยั่งยืน บ้าน 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 1,400 ตารางเมตร เด่นสะดุดตาด้วยหลังคาทรงจั่ว ดีไซน์เฉียบเรียบตั้งอยู่กลางที่ดินผืนใหญ่ ขนาบข้างด้วยทุ่งนาและสระน้ำ ผังที่ดินผืนนี้ถูกจัดสรรออกเป็น 7 ส่วน ประกอบด้วยโรงเตรียมอาหารสำหรับสุกร โรงเรือนเลี้ยงสุกร โรงเพาะชำพันธุ์ไม้ สนามหญ้า ต้วบ้าน สระน้ำ ทุ่งนา และแปลงเพาะปลูก พื้นที่ใช้สอยภายในออกแบบให้ตอบโจทย์สมาชิกครอบครัว 6 คน โดยชั้นล่างประกอบด้วยที่จอดรถ 4 คัน พื้นที่ส่วนกลาง ที่เชื่อมกับส่วนรับประทานอาหารภายใต้บรรยากาศโปร่งโล่งของสเปซดับเบิ้ลวอลลุ่ม ต่อเนื่องกับส่วนครัว และโซนห้องแม่บ้าน ส่วนอีกด้านคือพื้นที่ส่วนตัวของคุณพ่อ-คุณแม่ […]

บ้านมินิมัล ในบรรยากาศแสงสลัว ที่มีพื้นที่ร่วมให้ครอบครัว

บ้านมินิมัล ขนาดสองชั้น สำหรับสมาชิกครอบครัว 3 คน พ่อ แม่ ลูกที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สมุทรปราการหลังนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่รายล้อมไปด้วยบ้าน และอาคารอื่น ๆ โดยรอบ จึงทำให้การออกแบบจำเป็นที่จะต้องสร้างให้เกิดความเป็นส่วนตัว ในขณะที่ต้องเปิดรับบริบท แสง และลมให้เข้าสู่ตัวบ้านได้สะดวกด้วยเช่นกัน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studio Path บ่อยครั้งที่ความโปร่ง โล่ง มักมาพร้อมกับแสงสว่างสดใส แต่แสงที่เจิดจ้าเกินไปก็อาจทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ยาก โดยเฉพาะกับประเทศไทยที่แดดช่างร้อนแรง สภาวะน่าสบายของบ้านหลังนี้ จึงเป็นการเปิดรับแสงธรรมชาติแต่พอดี ในเงาสลัวที่อบอุ่นและผ่อนคลาย ผสานพื้นที่พิเศษของครอบครัวใน บ้านมินิมัล การออกแบบฟาซาดทางทิศเหนือที่สูงจากพื้นจรดเพดานชั้นสองในพื้นที่แบบ Double Volume นั้น จึงทำหน้าที่ช่วยเปิดให้แสงธรรมชาติและลมให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ภายในได้สะดวก อีกทั้งระแนงไม้ที่ยึดติดไว้กับบานเปิดที่มีบานกระจกนั้น ยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดรับลมธรรมชาติ หรือใช้การปรับอากาศ แต่ระแนงไม้เหล่านี้ก็ยังช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว และกรองแสงภายนอกให้พอดีกับบรรยากาศผ่อนคลายภายในไปพร้อมกัน พื้นที่ภายในออกแบบให้เป็นโถงสูงแบบ Double Volume ที่รวมพื้นที่ส่วนกลางเพื่อให้สมาชิกครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทั้งยังเป็นการปรับใช้พื้นที่ของบ้านที่ไม่มากนักให้เกิดเป็นพื้นที่ซ้อนทับที่ลงตัวระหว่างห้องนั่งเล่น ส่วนรับประทานอาหาร และพื้นที่ห้องครัว เช่นเดียวกับพื้นที่ส่วนตัวที่ชั้นบนก็ยังสามารถเปิดเชื่อมถึงกันเป็นพื้นที่เดียวได้อีกด้วย การเลือกใช้วัสดุหลักอย่าง ไม้ และองค์ประกอบสีขาว ตัดกับคอนกรีตเปลือยผิวที่โครงสร้างบันได ยังช่วยให้แสงธรรมชาติที่เข้ามาสู่ภายในดูสว่างไสวโปร่งสบายตา นอกจากนี้พื้นผิวของวัสดุไม้ และคอนกรีตเปลือยยังสร้างความรู้สึกที่เชื่อมโยงสู่ธรรมชาติ รับกันดีกับแสงและเงาที่ส่องผ่านเข้ามาจากภายนอก […]

ความรื่นรมย์ในบ้านตึกกลางเมืองที่ออกแบบไว้อย่างแยบยล

บ้านหลังนี้เป็นบ้านในที่ดินหน้าแคบเพียง 8 เมตร ตั้งอยู่ในย่านสาทรลึกเข้าไปในพื้นที่ที่ค่อนข้างเงียบสงบ แต่ด้วยลักษณะที่ดิน และความต้องการพื้นที่ใช้สอย การออกแบบให้บ้านหลังนี้มีลักษณะแบบตึกสูง 4 ชั้น จึงเป็นคำตอบ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INchan Atelier ด้วยฝีมือการออกแบบของ INchan Atelier บ้านหลังนี้ จึงไม่ใช่เพียงบ้านตึกหน้าแคบธรรมดา แต่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยสุนทรียะ และความรื่นรมย์ ผ่านการผสานธรรมชาติ และการสร้างองค์ประกอบของความเป็นบ้านให้สอดประสานไปในทุกพื้นที่อย่างลงตัว บ้านที่หายใจได้ เพราะการออกแบบบ้านที่มีลักษณะแคบลึกยาวเข้าไปถึงด้านในของที่ดินนั้น มักประสบกับการที่ลักษณะของผังการใช้งานจะมีช่องเปิดที่ด้านหน้า และด้านหลัง แต่สำหรับบ้านหลังนี้นั้น มีการคิดคำนึงถึงการสร้างช่องเปิดที่สอดคล้องไปกับการใช้งาน จากชั้นล่างที่เป็นส่วนต้อนรับ และพื้นที่ส่วนกลางของตัวบ้าน ผู้ออกแบบได้เลือกใช้พื้นที่หลังบ้านเป็นโต๊ะกลางที่สามารถใช้รับแขก และเป็นพื้นที่รับประทานอาหารได้ พื้นที่ส่วนนี้มีการเปิดพื้นที่โดยรอบเป็นสวนขนาดเล็กที่ริมบ้าน ได้ทั้งความสงบ และความร่มรื่น ประกอบกับการออกแบบพื้นที่ให้มีลักษณะเป็น Double Volume จึงทำให้พื้นที่ชั้นล่าง และชั้นลอยที่เป็นพื้นที่นั่งเล่นของบ้านหลังนี้มีความเชื่อมโยง และยังคงไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ต่อกัน คำว่า “หายใจได้” นั้น ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่การเปิดรับลมธรรมชาติเพียงเท่านั้น แต่จังหวะของมวลที่ว่าง ภายในบ้านจะช่วยลดความอึดอัดของการเป็นบ้านแบบอาคารหลายชั้นลง สร้างความรู้สึกสบายอย่างที่บ้านควรจะเป็นได้มากขึ้น นอกจากนี้ในชั้น 3 และ 4 ของบ้านหลังนี้ ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวอย่างห้องนอนนั้น […]

PUSAYAPURI HOTEL จากประวัติศาสตร์เมืองอู่ทอง ต่อยอดสู่โรงแรมใหม่สุพรรณบุรี

เพราะประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง นั่นจึงมีความหมายอย่างยิ่งกับผู้คนในท้องถิ่นอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนนำมาสู่โปรเจ็กต์การออกแบบ ปุษยปุรี Pusayapuri HOTEL เพื่อให้เป็นมากกว่าแค่ที่พัก แต่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำเมือง เพื่อช่วยเชื่อมโยงไปสู่ประวัติศาสตร์ของเมืองอู่ทองที่มีอายุยาวนานกว่าสองพันปี สู่ที่มาของการออกแบบโรงแรม ปุษยปุรี Pusayapuri HOTEL ผู้รับหน้าที่ออกแบบอย่าง EKAR Architects นำโดยคุณหนึ่ง-เอกภาพ ดวงแก้ว ทีมสถาปนิกได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างจริงจัง ก่อนนำมาซึ่งแนวคิดและเอกลักษณ์ด้านงานดีไซน์ ที่สร้างสรรค์จนเกิดเป็นอาคารสถาปัตยกรรมอันมีเอกลักษณ์น่าจดจำแห่งนี้ ต่อยอดจากประวัติศาสตร์ที่หลงเหลือ จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลก่อนเริ่มต้นโปรเจ็กต์การออกแบบ คุณหนึ่ง-เอกภาพ ดวงแก้ว แห่ง EKAR Architects ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นและกระบวนการทำงานของทีมสถาปนิกให้ฟังว่า “การออกแบบครั้งนี้ ว่าด้วยเรื่องของเมือง และเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ซึ่งอำเภออู่ทองเคยเป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์มาก่อน แต่คล้าย ๆ เป็นเมืองเก่าที่ถูกมองข้ามไป เป็นประวัติศาสตร์ที่คนหลงลืม คนในท้องถิ่นจึงช่วยกันเล่าเรื่องราวในท้องถิ่นของตนเอง จะเห็นว่ามีทั้งพิพิธภัณฑ์ มีสถานที่ท่องเที่ยวอย่าง พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ พระแกะสลักจากหน้าผาหิน แลนด์มาร์กใหม่ของสุพรรณฯ มีซากเจดีย์ลำดับต่าง ๆ ที่เราไปตระเวนดู พอไปถึงแต่ละที่ ก็จะเห็นว่าบางที่ดูเผิน ๆ ก็เหมือนเป็นสนามหญ้าเฉย ๆ พอดูดี ๆ ถึงจะเห็นกองอิฐที่เหลืออยู่ไม่มาก […]

บ้านคอนกรีตเปลือย สอดประสานองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมให้รับกับบรรยากาศกึ่งเอาต์ดอร์

บ้านคอนกรีตเปลือย หลังนี้ เป็น โฮม+ออฟฟิศ นั่นคือการมีพื้นที่สำนักงานอยู่ด้านหน้าบ้าน และตัวบ้านจริงจะซ่อนตัวอยู่หลังสำนักงานนั้นอีกที จึงทำให้บ้านหลังนี้มีบรรยากาศที่เงียบสงบ และมีความเป็นส่วนตัวที่สอดประสานกับองค์ประกอบกึ่งเอาต์ดอร์ภายในบริเวณบ้านได้อย่างน่าสนใจ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: D KWA Architect พื้นที่ด้านหน้าถูกออกแบบให้เป็นอาคารโกดัง และพื้นที่สำนักงานสำหรับผู้ที่มาติดต่อธุรกิจโดยเฉพาะ ข้อดีของการวางตัวอาคารเช่นนี้ คือความสะดวกในการเข้าถึง และสำนักงานนี้ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนพื้นที่ Buffer ที่ช่วยซ่อนความเป็นส่วนตัวของตัวบ้านไว้ด้านหลัง ผลพลอยได้จึงทำให้การออกแบบพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้าน สามารถมีพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ที่โปร่ง โล่ง ได้มากขึ้น บ้านคอนกรีตเปลือยผสานความโมเดิร์น ส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างสัจจะวัสดุ ความดิบ และความเนี้ยบ จัดวางองค์ประกอบร่วมกันไว้อย่างน่าสนใจ ส่วนที่เป็นพื้นที่ใช้งานนั้นจะเป็นผนังฉาบเรียบขาว และไม้สีอ่อนดูเรียบร้อยน่าสัมผัส แต่ในมุมที่ใกล้กับธรรมชาติ หรือพื้นที่ภายนอกจะเริ่มใช้องค์ประกอบเปลือยผิววัสดุ หยาบกร้านแต่งดงาม คล้ายเป็นการสร้างบทสนทนาเชื่อมโยงความเป็นสถาปัตยกรรมให้ค่อย ๆ เปลี่ยนไปสู่วัสดุตามธรรมชาติที่มีเสน่ห์ในร่องรอยและกาลเวลา การเชื่อมโยงพื้นที่ด้วยระนาบ และมุมมอง จากโถงทางเข้าจะรู้สึกถึงการเป็นห้องระนาบที่วางตัวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ก่อนเปลี่ยนถ่ายระดับที่ส่วนรับประทานอาหาร ในส่วนนี้ระนาบของห้องนั่งเล่นที่วางตัวขวางกับแกนทางเข้า ทำหน้าที่เชื่อมโยงเข้ามาเป็นอีกพื้นที่ที่มีมวลพื้นที่สร้างให้เกิดความรู้สึกหยุดนิ่ง เพดาน Double Volumn ในห้องนั่งเล่น ทำงานร่วมกับระนาบของทางเข้าที่แตกต่างกันทั้งวัสดุ และ Volume ของพื้นที่ได้อย่างดี เมื่อเดินเข้ามาถึงพื้นที่ภายใน ความรู้สึกของการ “พักผ่อน” […]

NAYA CAFE AYUTTHAYA คาเฟ่อิฐรับวิวทุ่งนา พาให้เห็นวิถีชุมชนชนบท

นาย่า คาเฟ่ – NAYA Cafe Ayutthaya คาเฟ่อิฐที่อยากชวนคุณมาชื่นชมฤดูกาลผ่านผืนนา บอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของอาคารกึ่งสาธารณะกลางชุมชนชนบท DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: BodinChapa Architects นาย่า คาเฟ่ – NAYA Cafe Ayutthaya ตั้งอยู่ในตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดดเด่นด้วยรูปทรงสถาปัตยกรรมแปลกตาก่อสร้างจากอิฐสีส้มรับกับวิวทุ่งนาสีเขียว ซึ่งตอนนี้ต้นข้าวกำลังแตกกอหลังจากผ่านช่วงเวลาปักดำมาไม่นาน โดยเป็นผืนนามรดกของครอบครัวเจ้าของโครงการที่ยังคงหมุนเวียนทำนาปลูกข้าวกันทุกปี หลังจากคุณดรีม-พัชชาดา พึ่งกุศล เจ้าของ เปิดร้านเบเกอรี่ออนไลน์ของตนเองมาสักพักก็ถึงคราวต้องขยับขยายธุรกิจด้วยการมองหาทำเลเพื่อเปิดร้านแบบจริงจัง ก่อนมาลงตัวกับทำเลที่มีศักยภาพตอบโจทย์ทั้งธุรกิจ และสร้างความแปลกใหม่ให้แก่ชุมชนแห่งนี้ การออกแบบคาเฟ่ได้รับการถ่ายทอดโดยทีมออกแบบจาก BodinChapa Architects ผ่านสถาปัตยกรรมรูปทรงแปลกตากลางผืนนา ใช้อิฐแดงมาเป็นพระเอกเพื่อบอกเล่าความเป็นอยุธยา ภายใต้รูปทรงอาคารวงรีที่ตีความมาจากรูปทรงของเมล็ดข้าว อันสื่อความหมายถึงผลผลิตจากท้องนา และเป็นตัวแทนเพื่อให้เข้ากับชื่อ ตำบลข้าวเม่า ตามพิกัดที่ตั้งของคาเฟ่ จากถนนหลักด้านหน้าเข้าสู่ตัวคาเฟ่ ได้ออกแบบทางเดินไม้กั้นขอบทางเดินด้วยอิฐ เพื่อใช้เป็นเส้นทางที่ค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านอารมณ์เข้าสู่คาเฟ่ โดยระหว่างทางจะได้มองเห็นวิวและต้นไม้ซึ่งมีทั้งที่ปลูกและขึ้นเองตามธรรมชาติ ก่อนจะพบกับพื้นคอนกรีตรูปวงรี เสิร์ฟให้เห็นบริบทต่าง ๆ ด้วยทางเดินที่เชื่อมถึงกันได้รอบอาคาร การสร้างรูปทรงอาคารให้เข้ากับร้านกาแฟกลางนาข้าว ส่วนหนึ่งมาจากที่ตั้งซึ่งอยู่ในตำบลข้าวเม่า สถาปนิกจึงมองว่าน่าจะใช้รูปทรงของเมล็ดข้าว หรือข้าวเม่ามาขยายต่อจนกลายเป็นรูปทรงอาคาร […]

Wongar บาร์ลับ บนชั้น 8 ย่านอารีย์ ที่ใส่ใจในบรรยากาศเป็นกันเอง ด้วยวิวเมือง และงานศิลปะ

งานออกแบบในพื้นที่แห่งนี้ เลือกใช้วัสดุที่คุ้นชินอย่างคอนกรีตเปลือย และสังกะสี เป็นเหมือนแบ็คกราวน์ของพื้นที่ มีการเลือกใช้หินสีเขียวในส่วนบาร์เพื่อสร้างความแตกต่าง และเน้นความสำคัญให้กับพื้นที่ จากนั้นส่วนที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่มากที่สุดกลับเป็นกล่องแสงเหนือบาร์ที่สามารถเปลี่ยนสีเพื่อย้อมบรรยากาศให้กับพื้นที่ได้ในโอกาสต่าง ๆ กัน เข้ากับความตั้งใจที่จะทำให้บาร์แห่งนี้เป็นมากกว่าแค่พื้นที่รับประทานอาหาร แต่คือความเป็นไปได้ในการสร้างพื้นที่สังคมของคนที่ชอบศิลปะ และได้พบปะกับคนที่น่าสนใจในแนวทางเดียวกัน ด้วยเพราะเหล่าหุ้นส่วนของร้านก็เป็นนักออกแบบกราฟิกที่ตั้งออฟฟิศอยู่ติดกับร้านแห่งนี้นั่นเอง การเลือกใช้วัสดุที่คุ้นชินนั้น เป็นการเชื่อมโยงบรรยากาศเป็นกันเองของความเป็น “ร้านอาหารแบบไทยสตรีทฟู้ด” สู่ “บาร์ลับลอยฟ้าสไตล์ญี่ปุ่น” ให้เข้ากันอย่างแนบเนียน ข้อดีของวัสดุเหล่านี้คือช่วยให้แขกที่มาใช้บริการไม่รู้สึกเกร็ง ผ่อนคลาย และเป็นกันเอง ในขณะที่รายละเอียดของวัสดุอย่าง อิฐดินเผา บาร์หินจริง และการใช้วัสดุไม้ Plywood ก็เสริมรายละเอียดในบรรยากาศละเมียดแบบญี่ปุ่นเอาไว้ได้อย่างดี และนี่คือบาร์ที่ตั้งใจเป็นแหล่งรวมตัวหลังเลิกงาน ทั้งมานั่งทานอาหารเย็น หรือจะต่อยาวไปตลอดค่ำคืนกับ Vibe อันน่าสนใจของพื้นที่แห่งนี้ก็เข้าที ที่ตั้งWongarชั้น 8 โครงการ The Hub พหล-อารีย์พิกัด https://goo.gl/maps/Ldi1dM7uyUj5QjiZA?coh=178571&entry=ttเปิดวันอังคาร-พฤหัสบดี 17.00-23.00 น. และวันศุกร์-อาทิตย์ 17.00-24.00 น.โทร.08-4096-5551 ออกแบบ: space+craftภาพ: Thanapol Jongsiripipatเรียบเรียง: Wuthikorn Sut

ไอเดียมุมนั่งเล่น ริมหน้าต่าง รับวิวธรรมชาติ

เติมมุมสวยให้บ้านด้วย ไอเดียมุมนั่งเล่น ริมหน้าต่างสุดชิลไว้สำหรับใช้นั่งเล่น อ่านหนังสือ พร้อมกับชมวิวธรรมชาติสวย ๆ นอกบ้าน นั่งพักสายตา ทอดอารมณ์ไปกับวิวสวย ๆ นอกบ้าน น่าจะเป็นโมเม้นต์ที่ใคร ๆ ก็ชอบ โดยเฉพาะบ้านพักตากอากาศ หรือบ้านต่างจังหวัด ถ้าสามารถครีเอต ไอเดียมุมนั่งเล่น อย่างมุมนั่งเล่นริมหน้าต่างให้ออกมาสวยงาม รับรองว่าจะช่วยเต็มเติมวันพักผ่อนในบ้านที่แสนสบายได้อย่างดี ส่วนจะมีไอเดียไหนน่าสนใจบ้าง room รวมไอเดียมาฝาก ไอเดียมุมนั่งเล่น แบบยกพื้น ชิดหน้าต่างบานใหญ่บ้านไม้ชั้นเดียวในจังหวัดเชียงรายหลังนี้ ออกแบบห้องนอนและห้องนั่งเล่นให้รวมอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยมีมุมนั่งเล่นริมหน้าต่างสำหรับช่วยระบายอากาศ และเปิดมุมมองเพื่อรับวิวผ่านมุมหน้าต่างซึ่งมีถึง 3 ส่วน ทั้งส่วนบนแบบบานติดตาย ส่วนกลางเป็นหน้าต่างบานใหญ่ที่เปิดออกได้ โดยหน้าต่างบานนี้ได้ออกแบบให้มีขอบไม้สักขนาดใหญ่ยื่นลอยออกไป เพื่อให้สามารถออกไปนั่งเล่นด้านนอกได้ มองจากด้านนอกจะคล้ายกรอบไม้สี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ เป็นอีกมุมโปรดที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ ผนังด้านล่างมีระแนงฝาไหลพร้อมติดมุ้งลวด เลื่อนเปิดออกให้ลมผ่านได้ ช่วยให้หน้าร้อนอากาศเย็นสบายปลอดโปร่งเจ้าของ : คุณเพียงออ พัทธยากร และคุณทรงธรรม ศรีนัครินทร์ออกแบบ : 1922architectsรับเหมาก่อสร้าง : สล่าบุญทัมม์ โทร.08-2456-5678ภาพ : Songtam Srinakarin มองวิวทิวไม้ผ่านมุมนั่งเล่นแบบเบย์วินโดว์บ้านปูนเปลือยใต้ถุนสูงที่จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ในวงล้อมของต้นไม้ มีทั้งแนวไผ่และต้นจามจุรีขนาดใหญ่ช่วยให้ร่มเงา […]

บ้านคอนกรีตเปลือย ที่ผสานสู่พื้นที่ของครอบครัว

บ้านคอนกรีตเปลือย ในอำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ ผสานคนต่างวัยให้อยู่ร่วมกันอย่างสบายและมีความสุข ที่นี่เป็นบ้านของสองทันตแพทย์ที่อยู่อาศัยร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ โดดเด่นด้วยการออกแบบที่แสดงออกถึงสัจวัสดุ ด้วยการเลือกใช้คอนกรีตเปลือยผิว ภายใต้รูปลักษณ์ของ บ้านคอนกรีตเปลือย พร้อมกับการกำหนดช่องเปิดของอาคารให้สอดคล้องกับธรรมชาติโดยรอบ รวมไปถึงการใช้องค์ประกอบที่ยอมให้แสงธรรมชาติเข้ามาเติมเต็มในพื้นที่ของบ้านวิวดอยสุเทพ ช่วยให้บ้านของคนต่างวัยหลังนี้ มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากเปิดรับธรรมชาติอย่างลงตัว พื้นที่ส่วนกลางพื้นที่ของครอบครัว พื้นที่หลักของบ้านหลังนี้ คือโต๊ะตัวใหญ่ที่อยู่ติดกับครัวเปิดของบ้าน พื้นที่นี้ตั้งอยู่กลางโถงที่รับแสงธรรมชาติจากสกายไลท์ด้านบน ช่วยให้บรรยากาศของพื้นที่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงที่สอดรับกับธรรมชาติโดยรอบตลอดทั้งวัน การมีพื้นที่อเนกประสงค์ที่ให้ความรู้สึกว่าเป็นที่ของทุกคน ช่วยให้ความสัมพันธ์ของทุกคนในครอบครัวมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เพราะในทุกครั้งที่สมาชิกในบ้านเดินผ่านพื้นที่นี้จะต้องได้พบกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้านอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับบ้านที่มีผู้สูงอายุอาศัยเช่นนี้ การได้ทักทายและมีพื้นที่ร่วมกันนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง สัจวัสดุที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติ พื้นที่เกือบทั้งหมดของบ้านเป็นเนื้อแท้ของตัววัสดุเอง ไล่มาตั้งแต่ผิวภายนอกที่เป็นคอนกรีตเปิดเปลือยผิวไม้แบบ ผนังด้านในที่ฉาบเรียบโชว์พื้นผิว พื้นหิวขัด ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ไม้ในหลากหลายส่วนของบ้าน ความตั้งใจของการออกแบบนี้ คือการเปิดโอกาสให้ความงามของธรรมชาติบนตัววัสดุได้แสดงตัวตนออกมาอย่างเต็มที่ผ่านการออกแบบทางภาษาสถาปัตยกรรม โดยวัสดุเปลือยผิวเหล่านี้จะทำงานได้ดีในยามต้องกับแสงธรรมชาติ ให้ความรู้สึกที่คล้อยตาม และเชื่อมโยงไปกับบริบทสวนโดยรอบ ตลอดไปจนถึงธรรมชาติและวิวเขาดอยสุเทพ ทั้งหมดคือการออกแบบที่ตั้งใจให้ผู้อยู่อาศัยสัมผัสได้ถึงความผ่อนคลาย และไม่อยู่ในพื้นที่ที่มีความประดิษฐ์ แข็งเกร็งจนเกินไป รับรู้ความสัมพันธ์ผ่านองค์ประกอบโปร่งแสง จุดเด่นของบ้านหลังนี้ คือการเปิดรับแสงธรรมชาติ ด้วยทิศของบ้านที่ไม่ได้รับแสงเจิดจ้าจนเกินความสบาย ผู้ออกแบบจึงได้เลือกเปิดเพดานสกายไลท์ที่โถงกลางของบ้าน เพื่อให้บรรยากาศภายในของบ้านเป็นไปตามบรรยากาศโดยรอบ เป็นการเลือกใช้ข้อดีของบริบทธรรมชาติในเมืองเชียงใหม่มาเสริมบรรยากาศให้กับบ้านได้อย่างน่าสนใจ ผนังบล็อกแก้วได้รับการออกแบบเพื่อการจัดสรรพื้นที่ภายใน ในขณะที่ตัวผนังเองก็ยังสร้างการรับรู้ทั้งต่อภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงสามารถมองเห็นสมาชิกในบ้านที่อยู่ในพื้นที่อื่น ๆได้โดยสะดวกอีกด้วย องค์ประกอบผนังบล็อกแก้วนี้จึงเหมือนกับเป็นส่วนที่ช่วยเชื่อมโยงทุกพื้นที่เข้าด้วยกันไปพร้อม ๆ กัน […]

ROLLING ROASTERS คาเฟ่เอกมัย คอนเซ็ปต์โลกคู่ขนาน ล้ำไปกับโลกกาแฟอนาคต

Rolling Roasters จากคาเฟ่ย่านฝั่งธนฯ กับการออกแบบสไตล์ Industrial Punk สู่คาเฟ่สไตล์สุดล้ำใจกลางเมือง ภายในโครงการ Earth Ekamai กับธีม Futuristic Coffee DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Tastespace.co สำหรับสาขาใหม่นี้ Rolling Roasters -Ekamai ต้องการสื่อถึงความล้ำสมัย พร้อมเสิร์ฟประสบการณ์ใหม่ด้วยเทรนด์ของโลกกาแฟที่ไม่เคยหยุดนิ่ง โดยครั้งนี้ขอตั้งใจตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองในย่านเอกมัยที่ไม่เคยหลับใหล ด้วยการรองรับลูกค้าได้แบบ Day and Night กลางวันเป็นคาเฟ่ กลางคืนเป็นบาร์ค็อกเทล สามารถใช้เวลากับคาเฟ่แห่งนี้ได้ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ นำมาสู่คอนเซ็ปต์ดีไซน์ที่เรียกว่า Parallel World ผ่านการตีความโดยคุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช และทีม Tastespace.co เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การมาคาเฟ่ที่แตกต่างออกไป โดยสะท้อนถึงคำว่าโลกไม่เคยหยุดหมุน เช่นเดียวกับโลกของกาแฟ ที่ Rolling Roasters ไม่เคยหยุดพัฒนา และขับเคลื่อนตนเองไปข้างหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด พร้อมโจทย์ที่คุณโจ๊ก-อิทธิพล ติยะวราพรรณ เจ้าของคาเฟ่ อยากมอบประสบการณ์การกินดื่มด้วยเทรนด์การดื่มกาแฟรูปแบบใหม่ โดยมีศาสตร์ของค็อกเทลเข้ามาผสม เพิ่มเติมไลน์อาหาร และของกินเล่น ที่จัดเสิร์ฟเฉพาะสาขาเอกมัยเท่านั้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขยายเวลา จากคาเฟ่ตอนกลางวัน สู่บาร์ค็อกเทลยามค่ำคืน […]

Infinity Ground นิทรรศการสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ย้อนสู่จุดเริ่มต้นผสานแผ่นดินไทย-ไต้หวัน

Infinity Ground นิทรรศการสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ที่จัดแสดงผลงานของสถาปนิกจาก 8 บริษัทของไทย และไต้หวัน ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ตั้งแต่ 18 กรกฎาคม – 6 สิงหาคม 2566 นอกเหนือไปจากผลงานการออกแบบทรงคุณค่า พื้นที่นิทรรศการยังได้รับการออกแบบให้โดดเด่นให้เป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม 9 ยูนิต บอกเล่าเรื่องราวของสถาปัตยกรรมจากสองแผ่นดิน พร้อมชวนผู้เข้าชมเปิดมุมมองถึงหน้าที่ของสถาปัตยกรรมต่อผืนดินที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน และอนาคต Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย โดยมี คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) ประธานคณะทำงานนิทรรศการจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ ร่วมกับคุณกุลธิดา ทรงกิตติภักดี ผู้ร่วมก่อตั้ง และสถาปนิกหลักจาก HAS Design and Research เป็นหัวหน้าภัณฑารักษ์ และผู้ออกแบบนิทรรศการ ย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน […]

TREE HOUSE BY THE LAKE บ้านต่างจังหวัด ในเวียดนาม หวนสู่ธรรมชาติกลางป่าริมทะเลสาบ

บ้านต่างจังหวัด หลังนี้ เกิดจากการเก็บเกี่ยวช่วงเวลา และความทรงจำอันน่าประทับใจ ทุกครั้งเมื่อหวนนึกถึงช่วงเวลาและภาพวัยเยาว์ ที่เจ้าของบ้านได้เล่นสนุกไปตามจินตนาการ ท่ามกลางธรรมชาติ และร่มไม้ใหญ่ “ภาพจำในวัยเยาว์ ผมยังจำวันนั้นได้เต็มตา ทุก ๆ ฤดูร้อน เราจะมารวมกันใต้ร่มไม้ใหญ่ แล้วกางเต็นท์เล็ก ๆ ร่วมกัน บ้างก็นำใบไม้มาทำเป็นกระโจมตกแต่งให้สวยงาม ซึ่งเราเรียกมันว่า “บ้าน” เพื่อหลบแดดและใช้เล่นสนุก” จากประสบการณ์และความทรงจำสมัยยังเด็กของเจ้าของบ้าน นำมาสู่การสร้าง บ้านต่างจังหวัด ในฝัน ผลงานการออกแบบโดยสถาปนิกสัญชาติเวียดนาม H2 architects บ้านต่างจังหวัด หรือบ้านต้นไม้ตามอย่างที่สถาปนิกเรียก ถูกสร้างขึ้นโดยแทรกตัวเองไปกับป่าริมทะเลสาบ Da Bang Lake อันเงียบสงบ ซึ่งเกิดจากความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากให้ลูกสาวได้เติบโตและมีประสบการณ์วัยเด็กที่น่าจดจำ แถมยังเสมือนเป็นการได้ปลุกจิตวิญญาณเล็ก ๆ ของตนเองที่เคยสนุกไปกับชีวิตชนบทในวันนั้นให้หวนคืนมาอีกครั้ง บ้านหลังนี้จึงได้รับการสร้างขึ้นให้อยู่ภายใต้ร่มไม้ริมทะเลสาบอันสวยงามและเงียบสงบ กับขนาดพื้นที่ใช้สอยรวม 120 ตารางเมตร โดดเด่นด้วยการสร้างขึ้นจาก “เศษวัสดุ” ที่หาได้ในท้องถิ่น ใต้ถุนชั้นล่างทำจากคอนกรีตเปิดโล่งรับวิวทะเลสาบ ลม และแสงแดดที่ปลอดโปร่ง มีบันไดวนหมุนไปตามลำต้นของต้นไม้เพื่อนำทางสู่ชั้น 2 แนวคิดหลักคือการเน้นใช้วัสดุประเภทเหล็กรีไซเคิลหลากหลายรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ด้วยสีสนิมซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยนำมาใช้เป็นโครงสร้างที่ช่วยสร้างจุดเด่นให้แก่บ้าน เหล็กเหล่านี้ผู้ออกแบบเล่าว่าเป็นเศษเหล็กที่รื้อจากงานเก่า หรือนำมาจากร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่ใกล้เคียง […]