room Archives - Page 38 of 139 - room

baan puripuri: Courtyard Pattanakarn ทาวน์โฮมตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง

baan puripuri : Courtyard Pattanakarn โครงการทาวน์โฮมที่มาพร้อมแนวคิดการออกแบบที่คงให้ความสำคัญกับการสร้างภาวะน่าสบายให้กับพื้นที่อยู่อาศัยในบริบทเมือง โดดเด่นด้วยคอร์ตกลาง ที่ทำให้ภายในบ้านโปร่งโล่ง ทลายข้อจำกัดของบ้านทาวน์โฮมได้อย่างน่าสนใจ บ้านทาวน์โฮม 3 ชั้น ขนาด 3 ห้องนอน โครงการใหม่ล่าสุดจากบ้านภูริปุรี – baan puripuri โดดเด่นด้วยสวนคอร์ตกลางบ้าน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างบรรยากาศโปร่งโล่ง ลดความทึบตัน และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งมักเป็นปัญหาหลักของบ้านแบบทาวน์โฮม ด้วยเหตุนี้ คอร์ตกลางจึงได้รับการออกแบบให้มีขนาดเกือบหนึ่งในสามของบ้าน โดยทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างพื้นที่ห้องนั่งเล่นด้านหน้า และพื้นที่ใช้สอยอื่นทางด้านหลัง   คอร์ตยาร์ดเปิดโล่งไม่มีหลังคา ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนอากาศภายในบ้าน พร้อมเปิดรับแสงธรรมชาติได้ตลอดวัน บริเวณพื้นที่ใช้งานออกแบบให้เป็นโครงสร้างทางภูมิสถาปัตยกรรมในรูปแบบขั้นบันไดที่มีความลาดชันต่ำ มีพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้หรือทำเป็นบ่อปลา สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งยังช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อของเส้นทางสัญจรที่ลื่นไหลต่อเนื่องจากห้องครัวชั้นล่างไปสู่ห้องนั่งเล่นบนชั้นลอย และเมื่อเปิดบานเลื่อนกระจก จะทำให้เกิดสเปซขนาดใหญ่ที่หลอมรวมพื้นที่ภายในและภายนอกเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ทุกพื้นที่ของบ้านยังเปิดมุมมองสู่พื้นที่สีเขียวบริเวณคอร์ตกลาง จึงช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานที่อยู่คนละบริเวณของบ้าน โดยยังคงมีความเป็นส่วนตัวเอาไว้ แนวคิดในการสร้างพื้นที่สีเขียวยังสะท้อนผ่านรูปแบบของสถาปัตยกรรมภายนอก ต้นไม้ใหญ่ในกระถางลูกบาศก์บนระเบียงดูโดดเด่นจนเหมือนเป็นเอกลักษณ์ของโครงการ ส่วนเปลือกอาคารด้านหน้าติดตั้งตะแกรงเหล็กสำหรับเป็นที่เกาะเกี่ยวของไม้เลื้อย ตอบโจทย์การสร้างพื้นที่สีเขียวแนวตั้งในอนาคต และในวันที่ไม้เลื้อยเติบโตเต็มพื้นที่ แนวกำแพงครีบที่ยื่นออกมาเหนือแนวระนาบเปลือกอาคาร จะช่วยสร้างการรับรู้และการมีตัวตนของงานสถาปัตยกรรม สันของกำแพงนั้นถูกออกแบบให้เอียงทำมุมที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดมิติตามแสงตกกระทบ เสริมกลิ่นอายวัฒนธรรมร่วมสมัยด้วยการประดับโมเสกกระจกสี ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากงานประดับกระจกในสถาปัตยกรรมไทย โครงการนี้ประกอบด้วยทาวน์โฮมทั้งหมด 37 […]

พื้นที่ธรรมชาติ ในบ้านทรอปิคัลโมเดิร์น ที่เปิดโปร่งสบายตา

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น สำหรับครอบครัวพ่อแม่ลูกหลังนี้จึงมีความพิเศษในเส้นสายที่บางเบา และมีบรรยากาศคล้ายพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ แม้จะอยู่ภายในบ้านก็ตาม ตอบรับกับแสงแดดและสายลมธรรมชาติอย่างพอดิบพอดี โดยบริษัทสถาปนิกที่รับหน้าที่รังสรรค์โจทย์นี้ได้อย่างลงตัวและน่าสนใจก็คือ Junsekino Architect and Design นั่นเอง ด้วยความที่คุณเติร์ท-ศักรภพน์ และคุณโจ-บุญสิตา จารยะพันธุ์ เจ้าของบ้านทำอาชีพเกี่ยวกับการบิน จึงทำให้โจทย์ของบ้านหลังนี้เริ่มต้นที่ความเบาสบายและกลมกลืนไปกับธรรมชาติตามสไตล์ที่อยากสร้างให้เป็นพื้นที่ซึ่งสื่อแทนความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง ทั้งยังต้องดูแลรักษาได้ง่ายและสามารถมองเห็นกันและกันได้จากทุกจุดภายในบ้าน การจัดวางพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้จึงใช้พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นดับเบิ้ลวอลลุ่มสร้างเป็นพื้นที่หลัก จากหน้าบ้านนั้น เมื่อเดินผ่านพื้นที่จอดรถและประตูหน้าบ้านเข้ามา จะพบกับโถงบันไดที่มองเห็นต้นซิลเวอร์โอ๊คโดดเด่นอยู่กลางบ้าน ก่อนจะหันกลับไปพบกับพื้นที่หลักของบ้านที่เป็นทั้งพื้นที่นั่งเล่น ทานข้าว และห้องครัว ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นพื้นที่เดียวแบบดับเบิ้ลสเปซ โดยมีทางเชื่อมไปยังบ้านเดิมที่ฝั่งซ้าย และสระว่ายน้ำที่อยู่ติดกับต้นซิลเวอร์โอ๊คที่ฝั่งขวา จนเมื่อขึ้นไปยังชั้น 2 บ้าน จะเป็นห้องนอน 3 ห้อง และทางเชื่อมออกไปยังระเบียงขนาดใหญ่ที่หน้าบ้าน ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดนี้ถูกห่อหุ้มอยู่ในฟาซาดเหล็กฉีก ซึ่งทั้งเป็นส่วนกรองแสงแดดและสร้างความปลอดภัยให้กับพื้นที่ในบ้านไปในตัว ความโดดเด่นของพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้คือการออกแบบที่ใส่ใจกับแสงธรรมชาติและการเปิดรับลมให้ไหลผ่านบ้านอย่างพอดี การวางองค์ประกอบต่าง ๆ ในบ้านจึงต้องออกแบบให้เป็นเส้นสายที่บางเบาของบ้านออกแบบเพื่อสร้างให้อาคารนั้นไม่ปิดกั้นผู้อยู่อาศัยกับธรรมชาติโดยรอบ ซึ่งนอกจากมุมมองแล้ว ยังมีการเปิดรับแสงธรรมชาติผ่านสกายไลท์ในหลายส่วน รวมทั้งการใช้เหล็กปรุเป็น ฟาซาด โดยรอบบ้านที่ช่วยกรองแสงแดดให้เบาบางลง แต่ไม่ปิดกั้นลมที่ไหลเวียน สร้างให้เกิดบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาให้กับบ้านในแบบ ทรอปิคัลโมเดิร์นอย่างพอดี พื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมโยงกับบ้านเดิม ทางด้านซ้ายของบ้านหลังนี้คือบ้านเดิมที่พ่อและแม่ของคุณเติร์ท ยังอาศัยอยู่ การออกแบบระเบียงรอบบ้านจึงไม่ใช่เพียงพื้นที่ที่ร่นเข้ามาเพื่อสร้างระยะชายคาที่พอดีกับร่มเงา เปรียบเสมือนหน้าบ้านอีกฝั่งหนึ่งที่เชื่อมโยงยุคสมัยของครอบครัวเข้าหากัน โดยที่หน้าบ้านฝั่งนี้จะตั้งอยู่ในแกนเดียวกับโต๊ะทานข้าว และสระว่ายน้ำ […]

EUPHORIA BRIDAL GALLERY โชว์รูมชุดเจ้าสาวที่ซ่อนอยู่ใน ตึกแถวหน้าแคบ คล้ายกล่องดีไซน์เรียบง่าย

รีโนเวต ตึกแถวหน้าแคบ ในเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นโชว์รูมชุดเจ้าสาวสีขาวละมุนตา ที่มองเผิน ๆ แล้วคล้ายกับกล่องกระดาษสีขาวเจาะรูดีไซน์เรียบง่าย ด้านหน้าร้านโดดเด่นด้วยดิสเพลย์ชุดแต่งงานในกล่องกระจก ซ้อนอยู่ภายในอาคารกล่องคอนกรีต เป็นโปรเจ็กต์การเปลี่ยนบ้านตึกแถวเก่าขนาด 3 ชั้น ซึ่งมีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะปัญหาหน้าแคบ แสงส่องเข้ามาไม่ถึง และข้อบกพร่องทางโครงสร้าง เช่น เสาหลายต้น เดิมพื้นที่เคยเต็มไปด้วยฉากกั้น และตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันตก จนทำให้ได้รับผลกระทบจากความร้อนตลอดเวลา จากปัจจัยดังกล่าวได้กลายมาเป็นภารกิจสำคัญของทีมออกแบบจาก ngoac.space ในการปรับปรุงอาคาร เพื่อเปิดเป็นโชว์รูมชุดเจ้าสาวแห่งใหม่บรรยากาศดี ช่วยส่งเสริมชุดเจ้าสาวให้ยิ่งทวีความสวยงาม ดึงดูดลูกค้าให้อยากเข้ามาเยี่ยมชม ทีมออกแบบมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์พื้นที่ เพื่อให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์กับชุดแต่งงาน ผ่านบรรยากาศและงานดีไซน์ที่ขับเสน่ห์ของชุดแต่งงานให้โดดเด่นขึ้น แถมด้วยการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ไปพร้อมกัน ไม่ได้เน้นการขายชุดเพียงอย่างเดียว  โดยชั้นล่างจัดแสดงนิทรรศการบอกเล่าที่มาที่ไปกว่าจะได้ชุดแต่งงานสวย ๆ ก่อนพาขึ้นสู่ชั้นสองเพื่อสัมผัสกับโซนดิสเพลย์จัดแสดงชุดแต่งงานให้ได้เลือกสรร ซึ่งแขวนประดับอยู่บนราวเสมือนเป็นฉากหลังขนานไปกับแนวผนัง ขณะที่ชั้นสามเป็นส่วนออฟฟิศสำหรับพนักงาน ภายใต้โครงสร้างเก่าผู้ออกแบบเลือกปิดผิวบางส่วนที่ไม่ประณีตไว้ แล้วเผยบางส่วนเพื่อสร้างความคอนทราสต์อย่างมีชั้นเชิง เห็นจากเสาคอนกรีตที่เผยให้เห็นร่องรอยความดิบกระด้าง และผิวสัมผัสเปลือยเปล่าขรุขระ ตัดกันกับภาพชุดแต่งงานสีขาวที่แสนนุ่มนวล และด้วยลักษณะอาคารที่เป็นตึกแถว เรื่องแสงสว่างถือเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้ออกแบบจึงกำหนดแหล่งกำเนิดแสงไว้ 2 แห่งบนหลังคา เพื่อดึงแสงลงมายังพื้นที่ชั้นล่าง แล้วกระจายต่อไปยังพื้นที่ส่วนต่าง ๆ […]

NGOI SPACE นำ กระเบื้องหลังคาดินเผา มาออกแบบคอมมูนิตีสเปซ โดดเด่นกลางแยกชานเมืองฮานอย

“กระเบื้องหลังคาดินเผา” กับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการออกแบบคอมมูนิตี้สเปซขนาดยักษ์ที่มีชื่อว่า Ngói Space อาคารอเนกประสงค์ขนาด 5 ชั้น บนพื้นที่หัวมุมถนนนอกกรุงฮานอย ที่นี่มีความพิเศษโดดเด่นอยูที่การออกแบบฟาซาด หรือเปลือกอาคารจาก กระเบื้องหลังคาดินเผา กว่า 20,000 แผ่น เพื่อบอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมจากวัสดุธรรมดาที่คุ้นเคยกันดีในเวียดนาม จุดประสงค์ของการก่อสร้างอาคารหลังนี้ ก็เพื่อให้เป็นเสมือนห้องรับแขกของชุมชน เปิดโอกาสให้ผู้คนได้เข้ามาพักผ่อน หรือทำกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ มีพื้นที่ใช้สอยหลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยร้านกาแฟ พื้นที่อเนกประสงค์สำหรับการสัมมนา และโซนจัดนิทรรศการ และสวนดาดฟ้า มีแรงบันดาลใจของแนวคิดมาจากการแตกกิ่งก้านของต้นไม้ และห้องต่าง ๆ ในถ้ำ สถานที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อกำหนดลักษณะการใช้งานภายในอาคารแล้ว ภายนอกอาคาร สถาปนิกจาก H&P Architects ได้เลือกกระเบื้องหลังคาดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุที่คุ้นเคยกันดีของชาวเวียดนามมาใช้ออกแบบฟาซาด โดยหวังสร้างแรงบันดาลใจในการนำ ‘กระเบื้องที่เต็มไปด้วยหน่วยความทรงจำ’ กลับมาใช้ใหม่ แทนที่จะถูกมองข้ามและทิ้งขว้างไปอย่างเปล่าประโยชน์ เมื่อบ้านเก่าหรืออาคารดั้งเดิมต่างค่อย ๆ ต้องถูกรื้อถอน ตามการเปลียนแปลงของยุคสมัย โดยการนำกระเบื้องมาเรียงซ้อนกันเป็นรูปสามเหลี่ยม สำหรับเป็นชั้นผนังอาคารชั้นนอก ซึ่งถูกซ้อนด้วยผนังและบานหน้าต่างกระจกด้านในอาคารอีกที พื้นที่ว่างระหว่างผนังชั้นนอกกับชั้นใน ที่ได้ร่มเงาจากแผงกระเบื้องฟาซาดได้จัดวางที่นั่งสำหรับพักผ่อนดื่มกาแฟ และทำเปลตาข่ายให้ได้เพลิดเพลินไปกับกลุ่มเพื่อน […]

U-bolt Furniture เฟอร์นิเจอร์สุดอาร์ตจากฮาร์ดแวร์งานประปา

เปลี่ยน U-bolt สลักเกลียวรัดท่อให้เป็นข้อต่อเฟอร์นิเจอร์ระบบโมดูลาร์ดีไซน์สนุก ฝีมือการออกแบบของ 1/plinth studio สตูดิโอออกแบบจากกรุงโซล เกาหลีใต้ ที่ตั้งใจนำเสนอชิ้นส่วนอุตสาหกรรมเรียบง่ายให้กลายเป็นงานสร้างสรรค์ชิ้นใหม่ คอลเล็กชั่น U-bolt Furniture น่าสนใจด้วยการหยิบยกฮาร์ดแวร์งานประปา ซึ่งเป็นชิ้นส่วนในงานอุตสาหกรรมที่เห็นได้ทั่วไป มาเป็นหัวใจหลักในการสร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์คอลเล็กชั่นใหม่ได้อย่างน่าสนใจ เฟอร์ิเจอร์แต่ละชิ้นมีที่มาจากท่อ และฉากอะลูมิเนียม ประกอบกันเป็นโครงสร้างโดยใช้ ยูโบลต์ หรือที่ไทยเราเรียก สลักเกลียวรูปตัว U (ยู) ซึ่งมักใช้กับการติดตั้งท่อประปา มาใช้แทนข้อต่อ โดยไม่มีการเชื่อมหรือใช้วัสดุกาวยึดติดอื่นใด เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกผสมผสานวัสดุ และจับคู่สีสันของแต่ละชิ้นส่วน ทั้ง ยูโบลต์ ท่อหรือฉากอะลูมิเนียม รวมถึงท้อปกระจก ได้ตามใจชอบ 
คอลเล็กชั่นนี้มีทั้งรุ่นโต๊ะตัวเล็ก UM (u-bolt module) ที่สามารถนำแต่ละยูนิตมาวางซ้อนกันให้เป็นชั้นวางสูงได้ หรือจะขยับขยายทางกว้าง เพื่อให้เกิดฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมี UT (u-bolt trolley) ชั้นวางแบบรถเข็นติดล้อด้านล่าง   งานศิลปะที่เกิดจากอุตสาหกรรม คือความตั้งใจของนักออกแบบในการสร้างความขัดแย้งที่น่าสนใจ จากสินค้าอุตสาหกรรมที่ทำซ้ำจำนวนมาก ที่นำไปสู่อิสระในการสร้างสรรค์ของผู้ใช้งาน 1/plinth studio สตูดิโอออกแบบจากกรุงโซล […]

RESTAURANT Y SEA โออ่าและดิบเท่ริมชายหาด ภายใต้สถาปัตยกรรม คอนกรีตหล่อในที่

ร้านอาหารริมทะเลที่เป็นส่วนหนึ่งของ Seashore Series มาพร้อมงานดีไซน์สุดสร้างสรรค์จาก คอนกรีตหล่อในที่ ถูกใจสำหรับคนรุ่นใหม่ในย่าน Beidaihe New District ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ที่นี่โดดเด่นด้วยงานดีไซน์จาก คอนกรีตหล่อในที่ ที่ไม่ได้เน้นการดึงทัศนียภาพทางทะเลมาใช้เป็นจุดสนใจของลูกค้า แต่โฟกัสสเปซภายในและให้ทะเลเป็นฉากหลัง มีพื้นที่กึ่งกลางแจ้งเพื่อช่วยระบายอากาศ นำแสงสว่างและธรรมชาติเข้ามาสู่ภายในร้าน สร้างสเปซด้านล่างโดยใช้กระจกและให้โครงสร้างคอนกรีตอยู่ด้านบน สื่อถึงสถาปัตยกรรมที่ดูคล้ายงานประติมากรรมที่ลอยอยู่เหนือภูมิทัศน์โดยรอบ  ผนังคอนกรีตหล่อในที่ทำหน้าที่เป็นผนังรับน้ำหนักของอาคารทั้งหมด แล้วใช้เสาเหล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 120 มิลลิเมตร รองรับน้ำหนักของชายคารอบอาคาร ด้วยไอเดียนี้เองเสาของอาคารจึงดูกลมกลืนไปกับลำต้นของต้นไม้รอบ ๆ เมื่อมาถึงร้านนี้จะไม่มีทางเข้าหลักที่ชัดเจน มีเพียงประตูบานเลื่อนกระจกตามแนวเส้นรอบอาคาร ลูกค้าจึงสามารถเข้าถึงพื้นที่รับประทานอาหารได้จากทุกทิศทุกทาง บริเวณกลางอาคารดีไซน์หลังคาให้ยกสูงเพื่อสร้างมุมมองสวยงามผ่านแสงเงาที่จะหักเหไปตามช่วงเวลา ซึ่งมาจากการใช้คานวอฟเฟิล(Waffle Slab)หรือแผ่นพื้นกระทงสองทาง มีข้อดีคือช่วยให้สเปซภายในดูโอ่โถง และลดจำนวนของผนังโครงสร้างลง ช่วยให้ผังของร้านอาหารที่ขนาดพื้นที่ใช้สอย 713 ตารางเมตร มีความลื่นไหล เป็นอาคารสไตล์โมเดิร์นที่นิ่งขรึม รุ่มรวยไปด้วยเสน่ห์ของความเรียบง่าย เผยความงดงามของสัจวัสดุได้อย่างแท้จริง IDEA TO STEAL คอร์ตกลางที่เปิดโล่งทำให้แสงและลมถ่ายเทเข้าสู่อาคารได้สะดวก สร้างบรรยากาศใกล้ชิดธรรมชาติ ดูรื่นรมย์สวยงาม ข้อมูล เจ้าของ : Beijing Rocfly Investment (Group)Co.,Ltd. ออกแบบ : […]

ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ Material & Design Innovation Center – TCDC

คลังข้อมูลวัสดุ หรือที่หลายคนที่เคยไปจะคุ้นชื่อกับ Material ConneXion Bangkok จนกระทั่งเมื่อ TCDC ได้ย้ายมาอยู่ที่เจริญกรุงจึงได้มีการปรับเปลี่ยนขยายพื้นที่ เป็นศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ Material & Design Innovation Center – TCDC โดยมี Material ConneXion Bangkok อยู่ภายในนั้นอีกที โดยหลังจากที่ย้ายมาได้มีแนวทางการทำงาน รวมทั้งขอบเขตการทำงานที่เข้มข้นมากขึ้น ซึ่งมีความน่าสนใจทั้งต่อผู้ประกอบการและนักออกแบบเป็นอย่างมาก โดยครั้งนี้ room magazine ได้รับเกียรติจาก ดร.ดารารัตน์ เมฆเกรียงไกร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยวัสดุจาก TCDC และเป็นผู้ดูแลศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ Material & Design Innovation Center รวมทั้ง Material ConneXion Bangkok มาบอกเล่าถึงสิ่งที่น่าสนใจ และสิ่งที่ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ จะสามารถช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการและนักออกแบบได้อย่างไรบ้าง จาก Material ConneXion Bangkok สู่ Material & Design Innovation Center […]

เปลี่ยนแก้วพลาสติกเหลือใช้ เป็นอาคารทรงล้ำ PEA ECO-PAVILION

เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการลด Carbon Foot Print PEA Plastic cup Eco-Pavilion จึงเกิดขึ้น โดยมีโจทย์คือการให้ชีวิตที่สองกับขยะและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หมดประโยชน์ในทุก ๆออฟฟิศสำนักงาน และในนิทรรศการที่จัดให้กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA ณ สำนักงานใหญ่นี้ Context Studio ได้รับแรงบันดาลใจจากแก้วพลาสติกที่ใช้แล้ว ซึ่งมีลักษณะที่ใสและแข็งแรงทนทาน ยากต่อการย่อยสลายของพลาสติกเหมาะสมมากกับการนำมาใช้เป็นวัสดุภายนอกของ Green office Pavilion ที่ต้องอยู่ภายนอกอาคาร และต้องทนทานต่อแดดและฝนตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่จัดแสดง เพราะพลาสติกไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป หากรู้จักใช้และเข้าใจในคุณลักษณะของพลาสติก ถ้าย่อยสลายได้ยาก ก็แปลว่ามันทนทาน ลักษณะของอาคารที่มีรูปทรงโค้งมนเป็นโดมขนาดใหญ่ 3 อาคาร มารวมกัน ซึ่งถูกกำหนดมาจาก Geometry ทรงโคนของแก้วพลาสติก สร้างให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการใช้พลาสติก โดยสามารถนำมาปรับใช้ในฟอร์มที่ดูคล้ายฟอร์มจากสิ่งมีชีวิต ทั้งยังโดดเด่นแตกต่างจากบริบทอาคารที่ดูแข็งและทึบตันรอบข้าง ภายในอาคารได้จัดนิทรรศการกรีนออฟฟิศ ส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้จากออฟฟิศต่าง ๆ มาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ DIY โครงสร้างของนิทรรศการทำมาจาก นั่งร้านเหล็กสีขาวที่สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมบางส่วนของบอร์ดนิทรรศการได้ทำมาจากท็อปโต๊ะสำนักงานที่ชำรุดแล้ว ในส่วนของพื้นภายในนิทรรศการได้ตั้งใจใช้กรวดแม่น้ำสีขาว มีเสียงเบา ๆ ระหว่างเดินรอบนิทรรศการ […]

PHU YEN HOUSE บ้านชั้นเดียว บรรยากาศแสนสบายกลางชนบทเวียดนาม 

บ้านชั้นเดียว ที่ตั้งอยู่กลางสวนในชนบทเวียดนาม โดดเด่นด้วยรูปทรงบ้านแบบปิดล้อม แต่ภายในโปร่งสบาย พร้อมรูปแบบการก่อสร้างเรียบง่าย เหมาะเป็นแบบบ้านพักตากอากาศในชนบท ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว แม้จะไปศึกษา ทำงาน และอยู่อาศัยในเมืองใหญ่ แต่ในใจก็ยังคิดถึงชีวิตที่สุข สงบ และเรียบง่ายตามวิถีชนบทในบ้านเกิด บ้าน Phu Yen House หลังนี้ จึงถูกสร้างขึ้นจากความต้องการของเจ้าของที่อยากมี บ้านชั้นเดียว ที่ต่างจังหวัดไว้ใช้พักผ่อนตากอากาศในวันหยุดฤดูร้อน และวันหยุดตามประเพณีของเวียดนาม รวมถึงการได้พาลูก ๆ ออกมาสัมผัสกับบรรยากาศและประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างจังหวัด หลบหนีจากความวุ่นวายทั้งปวง โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเมืองใหญ่ อย่างเช่นเวลานี้ บ้านสีขาวชั้นเดียวที่เห็นตั้งอยู่โดดเด่นกลางสวน เป็นผลงานการออกแบบโดยทีมสถาปนิกจาก Story Architecture รั้วด้านนอกที่โอบรอบบ้านไว้ ได้รับการออกแบบให้มีระดับที่สูง เพื่อความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว บดบังการมองเห็นจากสายตาคนภายนอก ก่อนจะตัดสีสันด้วยประตูทางเข้าทรงโค้งสีเขียวดูน่ารัก เมื่อเข้ามาด้านในจะพบกับบรรยากาศโล่งกว้าง ทุกพื้นที่เปิดทะลุถึงกันแบบไม่มีการติดตั้งประตู หรือบานกระจกใด ๆ ประกอบด้วยพื้นที่ใช้งานหลักอย่าง ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องรับประทานอาหาร เชื่อมโยงด้วยลานภายในและพื้นที่สีเขียว ช่วยให้พื้นที่ของบ้านโปร่งสบาย เข้าถึงธรรมชาติอย่างพื้นที่สนามหญ้า สระว่ายน้ำ และพื้นที่เล่นสนุกของเด็ก ๆ ได้จากทุกมุม ผ่านช่องผนังแบบซุ้มโค้งที่สามารถเดิน […]

โรงสีโภชนา ร้านอาหารเหลาร่วมสมัยในบรรยากาศไทย-จีน

ข้าวต้มกุ๊ย และอาหารเหลา ดูเหมือนจะกลายเป็นอาหารมื้อดึกสไตล์จีนที่แทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมสตรีทฟู้ดของไทยมายาวนาน เมื่อ โรงสีโภชนา พาข้าวต้มกุ๊ยพร้อมเมนูซีฟู้ดทะเลเผามาแปลงโฉมใหม่ให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น สาขาล่าสุดที่ย่านนางลิ้นจี่ จึงนำเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างให้มื้อพิเศษของครอบครัว ด้วยการแปลงโฉมโกดังเก่าริมถนนให้กลายเป็นร้านอาหารบรรยากาศไทย-จีน เปี่ยมชีวิตชีวา โรงสีโภชนา คืออีกหนึ่งแบรนด์ร้านอาหารในเครือ iberry Group ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการนำสตรีทฟู้ดหรืออาหารไทย ๆ ที่เราคุ้นชินมาสร้างสรรค์ในมิติใหม่ ผ่านการยกระดับวัตถุดิบ และการนำเสนอที่ร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็น กับข้าว’กับปลา รส’นิยม หรือแบรนด์ร้านยำน้องใหม่อย่าง เบิร์นบุษบา ฯลฯ โรงสี โภชนาต่อยอดมาจากร้าน โรงสีริมน้ำที่เดิมตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของโครงการ ล้ง 1919 (Lhong 1919) ย่านคลองสาน โดยเน้นเมนูอาหารแบบไทย-จีน ที่หนักไปทางอาหารจีนเมนูมื้อดึก ตามสโลแกน “ซีฟู้ดสดใหม่ ไทยจีนขึ้นเหลา ทะเลเผา ข้าวต้มกุ๊ย & เบียร์วุ้น” สาขาล่าสุดย่านนางลิ้นจี่โดดเด่นด้วยบรรยากาศร้านอาหารจีนร่วมสมัย กลิ่นอายความเป็นจีนที่สนุกสนานมีชีวิตชีวา ตอบโจทย์ลูกค้าครอบครัว ฝีมือการออกแบบของ Atelier2+ สตูดิโอออกแบบชั้นนำของไทย ผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบร้านอาหารหลายแบรนด์ของ iberry Group ตามไปฟังคุณวรพงศ์ มนูพิพัฒนพงศ์ ตัวแทนทีมออกแบบบอกเล่าเบื้องหลังกระบวนการออกแบบที่นี่ “ส่วนใหญ่แบรนด์ต่าง […]

GARDEN HOTPOT RESTAURANT ฮ็อตพ็อตสไตล์จีนกลางสระบัว

Garden Hotpot Restaurant ร้านฮ็อตพ็อต ในเมืองเฉิงตู เมืองหลวงของมณฑณเสฉวน มหานครสีเขียวทางตะวันตกของประเทศจีน เมืองที่รุ่มรวยด้วยศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ เพื่อบอกว่า ฮ็อตพ็อต ไม่ใช่เป็นแค่วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตผู้คนที่นี่ MUDA-Architects จึงออกแบบร้านให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศทางธรรมชาติ ในรูปแบบอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพต่อบริบทเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์การรับประทานอาหารอันทันสมัย ร้านอาหารเเห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตชนบทของ Sansheng Township ล้อมรอบด้วยสระบัว และซ่อนตัวอยู่ในป่ายูคาลิปตัส งานสถาปัตยกรรมโดดเด่นดูโปร่งเบา ด้วยโครงสร้างน้ำหนักเบายกพื้นเหนือระดับพื้นดินและผืนน้ำ ดีไซน์ไร้ผนัง เสาสูงโปร่ง ช่วยให้อาคารหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ส่วนแรงบันดาลใจจากไอน้ำและควันจากหม้อฮอตพอทที่กำลังเดือด ถูกต่อยอดเป็นอาคารรูปทรงโค้งอิสระ เส้นโค้งของหลังคาดีไซน์ตามลักษณะของที่ตั้งและฟังก์ชันภายในร้าน พื้นอาคารด้านล่างสอดคล้องกับส่วนโค้งของหลังคาดูเหมือนสะท้อนภาพซึ่งกันและกัน สื่อให้เห็นถึงความมั่นคงและสมบูรณ์ ภายใต้พื้นที่ใช้สอยรวม 1,800 ตารางเมตร หลังคาอาคารทำจากเหล็กกัลวาไนซ์ เคลือบด้วยฟลูออโรคาร์บอนสีขาว เสาเหล็กมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 88 มิลลิเมตร ทำให้โครงสร้างดูกลมกลืนกับลำต้นของต้นยูคาลิปตัส ออกแบบให้มีราวกันตกไม้เพื่อแบ่งขอบเขตของทะเลสาบกับพื้นที่ร้าน ทั้งยังใช้เป็นที่นั่งได้ในตัวช่วยให้ลูกค้าใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น IDEA TO STEAL แบ่งขอบเขตระหว่างพื้นที่ด้วยราวกันตกไม้ที่ใช้งานได้แบบ 2 in 1 คือเป็นทั้งที่นั่งและราวกันตก ช่วยเชื่อมสเปซภายในกับภายนอกเข้าด้วยกัน เจ้าของ :  Xinhua […]